ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของเด็กและเยาวชนเพื่อร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่ในเขตพื้นที่ชุมชนกูแบอีเต๊ะ จังหวัดปัตตานี และบ้านสาวอ จังหวัดนราธิวาส

4 กิจกรรมพัฒนาสาธารณประโยชน์หรือกิจกรรมสร้างสรรค์ที่เด็กร่วมออกแบบ12 พฤศจิกายน 2560
12
พฤศจิกายน 2560รายงานจากพื้นที่ โดย สมาคมศิษย์เก่าบัณฑิตอาสา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สศ.มอ.
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กระบวนการดำเนินกิจกรรมที่เกิดจากการคิดริเริ่มของเด็กที่อยากทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์และเกิดประโยชน์ เกิดรายได้แก่กลุ่มของเด็ก โดยมีความคิดมิติด้านอาชีพที่สามารถทำร่วมกันและสามารถพัฒนาความรู้ พัฒนากลุ่มควบคู่กันไป มีผู้ใหญ่ให้การสนับสนุนทางด้านความรู้ กระบวนการ และแนะนำการทำงานของเด็ก กระบวนการสร้างบ่อปลาและโรงเรือนที่พัก เริ่มจากการประชุมวางแผนร่วมกันเกี่ยวกับรายละเอียดของการเลี้ยงปลาดุกว่าต้องมีองค์ประกอบอะไรบ้าง ร่วมกันคิดจนตกผลึกว่าจะสร้างบ่อปลาดุกขนาด 33 เมตร จำนวน 3 บ่อ สำหรับเลี้ยงปลาดุกจำนวน 2,000 ตัว ได้ประเมินราคาเบื้องต้น เช่น โรงเรือนที่พักขนาน 44 เมตร ใช้ต้นทุนประมาณ 8,000 บาท ในการซื้ออุปกรณ์ เช่น เส้า สังกะสี ตะปู เป็นต้น ส่วนไม้สร้างโครงและพื้น เด็กและเยาวชนจะช่วยกันหา ซึ่งมีอยู่ในชุมชน กระบวนการสร้างมีผู้ใหญ่ร่วมกันออกแบบและกำกับการสร้างโรงเรือนที่พักอย่างใกล้ชิด สามารถสร้างจนแล้วเสร็จและเป็นที่ชื่นชมของผู้ใหญ่หลายๆท่าน สำหรับกระบวนการสร้างบ่อปลาดุก 3*3 เมตร จำนวน 3 บ่อ ได้ประเมินราคาเบื้องต้นว่าต้องใช้งบประมาณจำนวน 10,000 บาทในการซื้อวัสดุอุปกรณ์ เริ่มแรกเด็ก เยาวน ร่วมกันวางแผนกับผู้ใหญ่ในการสร้างบ่อให้ได้มาตรฐานเพราะต้องใช้ระยะยาว หากทำไม่ได้มาตรฐาน ไม่สามารถกักน้ำได้ หรือโครงสร้างจะพังได้ หลังจากที่ได้พูดคุยเด็กเยาวชน พร้อมผู้ใหญ่  วัดขนาด ปักไม้ ดึงสายวัดระดับ แล้วดำเนินการขุดหลุมวางเส้าจำนวน 8 ต้น  ขุดร่องระหว่างเส้าเพื่อทำคาน ดำเนินการวางอิฐก้อนแรก และทำต่อเนื่องจนเสร็จทั้ง 3 บ่อ หลังจากนั้นร่วมกันฉาบผนังทุกๆด้านจนแล้วเสร็จ ต่อด้วยเทพื้นบ่อ รอจนแห้งพร้อมใส่น้ำพักเพื่อล้างบ่อ เตรียมพร้อมต้อนรับลูกปลาที่กำลังเดินทางจำนวน 2,000 ตัว ราคาตัวละ 2 บาท เป็นเงิน 4,000 บาท  เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 60 ได้ร่วมกันปลาลูกปลาดุกลง ล่ออนุบาลก่อนขยายลงสู่บ่อซีเมนต์ที่เตรียมไว้ สิ่งที่ได้เรียนรู้ 1.กระบวนการเตรียมการวางแผนก่อนการดำเนินกิจกรรมที่ต้องมีการพูดคุยถึงรายละเอียดให้ทุกคนได้เข้าใจ และแบ่งบทบาทหน้าที่อย่างชัดเจน 2.ได้เรียนรู้กระบวนการสร้างโรงเรือนและบ่อปลา ด้วยร่วมกันคิดและลงมือทำ ทั้งนี้งานที่ต้องใช้ทักษะบางอย่างต้องมีผู้ใหญ่คอยให้คำแนะนำ 3.การร่วมกลุ่มทำให้เกิดพลัง บางอย่างที่คิดว่าไม่น่าทำได้แล้วเราก็ทำได้สำเร็จ 4.ได้เรียนรู้วิธีการเลี้ยงปลาดุก ตั้งแต่การเตรียมบ่อ การเตรียมน้ำ การให้อาหารเป็นต้น 5.ได้ร่วมกลุ่มอย่างสร้างสรรค์ที่คิดเอง ลงมือทำด้วยตนเอง และร่วมกันดูแลอย่างต่อเนื่อง ก้าวต่อไปของพื้นที่บ้านสาวอ
1.การตั้งจุดรับหัวปลา พุงปลา พุงไก่ เพื่อเป็นอาหารเสริม ลดการใช้อาหารเม็ด 2.พัฒนาฝีมือให้สามารถผลิตอาหารปลาได้ด้วยตนเอง 3.เรียนรู้การผลิตลูกพันธุ์ปลาดุกด้วยตนเอง พื้นที่บ้านกูแบอีเต๊ะ ตำบลนานา อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ได้ดำเนินกิจกรรมของเด็กและเยาวชนได้แก่ กิจกรรมร่วมกลุ่มเยาวชนสร้างสรรค์ปลูกอ้อยสร้างรายได้  กลุ่มเยาวชนกูแบอีเต๊ะจำนวน 20 คน รวมกลุ่มกันพูดคุยกับแกนนำในพื้นที่สร้างกิจกรรมสร้างสรรค์โดยการรวมกลุ่มกัน ใช้พื้นที่บริเวณชุมชนให้เกิดประโยชน์โดยการปลูกอ้อยบนเนื้อที่ประมาณเกือบ 2 ไร่ โดยการพูดคุยกับเจ้าของที่ดินขออนุญาตใช้ประโยชน์ ร่วมกันจัดหาพันธุ์อ้อย และลงมือยกร่อง และลงกล้าอ้อย สำหรับพื้นที่ส่วนนี้เป็นการส่งเสริมให้เยาวชน ได้พบปะกันยามบ่ายหลังจากเลิกเรียน พื้นที่ฝึกประสบการณ์เรียนรู้วิถีการทำเกษตร ที่สามารถสร้างอาชีพ สร้างรายได้แก่กลุ่มเยาวชน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

พื้นที่บ้านสาวอ กลุ่มเยาวชนได้ร่วมกันสร้างบ่อปลาดุก จำนวน 4 บ่อ ลงปลาดุก 2000 ตัว และแบ่งบทบาทการดูแลให้อาหารปลา ปัจจุบันสามารถขายปลาดุกเป็นกองทุนเยาวชนระดับหมู่บ้าน พื้นที่บ้านกูแบอีเต๊ะ ตำบลนานา อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ได้ดำเนินกิจกรรมของเด็กและเยาวชนได้แก่ กิจกรรมร่วมกลุ่มเยาวชนสร้างสรรค์ปลูกอ้อยสร้างรายได้  กลุ่มเยาวชนกูแบอีเต๊ะจำนวน 20 คน รวมกลุ่มกันพูดคุยกับแกนนำในพื้นที่สร้างกิจกรรมสร้างสรรค์โดยการรวมกลุ่มกัน ใช้พื้นที่บริเวณชุมชนให้เกิดประโยชน์โดยการปลูกอ้อยบนเนื้อที่ประมาณเกือบ 2 ไร่ โดยการพูดคุยกับเจ้าของที่ดินขออนุญาตใช้ประโยชน์ ร่วมกันจัดหาพันธุ์อ้อย และลงมือยกร่อง และลงกล้าอ้อย สำหรับพื้นที่ส่วนนี้เป็นการส่งเสริมให้เยาวชน ได้พบปะกันยามบ่ายหลังจากเลิกเรียน พื้นที่ฝึกประสบการณ์เรียนรู้วิถีการทำเกษตร ที่สามารถสร้างอาชีพ สร้างรายได้แก่กลุ่มเยาวชน

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 60 คน จากที่ตั้งไว้ 105 คน
ประกอบด้วย

กลุ่มเด็กและเยาวชนทั้ง 2 พื้นที่