พัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศแก่ชุมชนบางปู อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี

เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพิ่มศักยภาพชุมชน 21 ตุลาคม 2018
21
ตุลาคม 2018รายงานจากพื้นที่ โดย เครือข่ายวิทยุชุมชน จ.ปัตตานี
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วิธีการดำเนินงาน อบรมเจ้าบ้านที่ดี 1.ออกแบบกิจกรรม 2.ประสานงานวิทยากร 3.ประสานสถานที่ 4.ประสานผู้เข้าร่วมในพื้นที่ 5.จัดซื้ออุปกรณ์ฝึกอบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 6.จัดเวที 7.สรุปผลกิจกรรม

สรุปกิจกรรมที่ 2  เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพิ่มศักยภาพชุมชน อบรมการเป็นเจ้าบ้านที่ดี

      พิธีกร คุณอัสรา  รัฐการัณย์ กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมและเข้าสู่กระบวนการอบรมการเป็นเจ้าบ้านที่ดี และได้กล่าวว่า “เนื่องจากชุมชนที่ติดชายฝั่งสามารถที่จะเป็นการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ  ซึ่งทางทีมงานได้ดำเนินโครงการนี้เพื่อให้ความรู้ในเรื่องการเป็นเจ้าบ้านที่ดีให้กับนักท่องเที่ยวในการการเตรียมตัว  การต้อนรับ  หรือต้องเพิ่มองค์ประกอบที่ต้องเน้นในจุดไหนบ้าง เพื่อให้เป็นเจ้าบ้านที่ดีให้นักท่องเที่ยวเกิดความประทับใจ  เพราะความประทับใจจะสร้างให้เกิดอาชีพและรายได้ก็จะเกิดขึ้นในบ้านเราต่อไป” คุณอัสรา  รัฐการัณย์ ได้เชิญอีหม่าม อาซิ  ดาราแม  อิหม่ามมัสยิดอัตตะอาวุนบางปู กล่าวต้อนรับและเปิดด้วยดุอาร์(ขอพร)  ท่านได้กล่าวไว้ว่า “วันนี้โอกาสอยู่กับเราแล้ว เราควรเอาสิ่งที่ดีจากการอบรมนำไปใช้ในการเป็นเจ้าบ้านที่ดี  อีหม่ามกล่าวขอบคุณทีมงานที่เอากิจกรรมดีๆ และได้ขอบคุณทีมงานที่ได้เชิญประธานสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัด  มาเป็นวิทยากรในการให้ความรู้ในครั้งนี้  ในนามอีหม่ามขออวยพรให้งานในวันนี้บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ได้วางไว้เช่นกัน” หลังจากนั้นคุณอัสรา รัฐการัณย์ ได้เชิญ คุณยะห์  อาลี หัวหน้าโครงการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศแก่ชุมชนบางปู  ได้ชี้แจงถึงวัตถุประสงค์ในการจัดการอบรมในครั้งนี้คุณยะห์ อาลี ได้กล่าวไว้ว่า  “รู้สึกเป็นเกียรติที่ได้เข้ามาเยี่ยมเยียนชุมชนแห่งนี้ และได้มาพบปะ แกนนำชุมชนบางปู  เมื่อก่อนเครือข่ายวิทยุชุมชนจังหวัดปัตตานี  ทำเรื่องของสื่อ  พัฒนาศักยภาพเยาวชน จัดรายการวิทยุ  ผลิตสื่อ ทำสารคดี แต่ตอนนี้ ทางเครือข่ายวิทยุจะลงพื้นที่  พบปะกับชุมชนเพื่อส่งเสริมเรื่องการท่องเที่ยวให้เป็นที่รู้จัก  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้คนในชุมชนมีความตระหนักและเห็นคุณค่าถึงทรัพยากรในพื้นที่เพื่อให้เยาวชนที่อยู่ในพื้นที่ เอาเรื่องดีๆ  ในพื้นที่นำไปสื่อสาร  สามารถทำคลิปสั้นๆ ได้ โดยจะส่งเสริมให้เยาวชนเป็นนักสื่อสารสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้เกิดในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คุณยะห์ อาลีได้กล่าวอีกว่า “สิ่งที่เราคาดหวัง  คือ  การเกิดสันติภาพในพื้นที่  หากว่าคนในพื้นที่กินอิ่ม  นอนหลับมันก็ทำให้คนเรามีความสุข  ความขัดแย้งในพื้นที่บ้านเราไม่สามารถแก้ไขได้  แต่เราสามารถจัดการตนเองให้เป็นระบบในชุมชนได้  โดยเฉพาะชุมชนท่องเที่ยว  ถ้านักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวบ้านเรา เราควรมีเทคนิคอย่างไรในการเป็นเจ้าบ้านที่ดี วันนี้วิทยากรจะเป็นคนให้ความรู้แก่พวกเราให้เราเป็น เจ้าบ้านที่ดีได้อย่างไร และช่วงบ่ายจะมีการแบ่งกลุ่ม เรียนรู้ถึงเทคนิคการเป็นเจ้าบ้านที่ดี”             หลังจากนั้นคุณอัสรา  รัฐการัณย์ได้ เชิญ รักษาการประธานอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดปัตตานี, ผู้ช่วยประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย คุณรดา  จิรานนท์ มาเป็นวิทยากร
คุณรดา จิรานนท์ ได้แนะนำประวัติส่วนตัว  และประวัติการทำงาน เมื่อปี 2542 “ได้รับภารกิจจากผู้ว่าสมพร ใช้บางยาง ให้มีการจัดตั้งชุมชนท่องเที่ยวในจังหวัดปัตตานี จนได้จัดตั้งชุมชนท่องเที่ยวทั้งหมด 12 ชุมชน”
วิทยากรได้กล่าวอีกว่า “ยังส่งเสริมการเป็นมัคคุเทศก์ด้วยซึ่งจะเป็นมัคคุเทศก์ประจำจังหวัดปัตตานี การเรียนเป็นมัคคุเทศก์ เรียนด้านภาษาอังกฤษ ต้อนรับนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ  หากเอกอัคราชทูตมาเยี่ยม จะเป็นคนบรีฟหรือแปลภาษาแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดปัตตานีที่เป็นภาษาอังกฤษให้ฟัง ส่วนตัวมีรากเหง้าเป็นคนไทย คนปัตตานี เป็นลูกคุณหมอวิทยา ท่านเป็นคนเรียกร้องให้ตั้งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เป็นแห่งแรกในภาคใต้ในตอนนั้น คุณพ่อเป็นประธานสภาจังหวัดปัตตานี ช่วงนั้นรัฐมนตรีศึกษาธิการมาปัตตานีคุณพ่อได้ทำแผน ให้มีการเดินขบวนเพื่อเรียกร้องให้ตั้งมหาวิทยาลัย  ไทยรัฐมีการตีข่าวแพร่หลาย จนสามารถตั้งมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของภาคใต้  อย่างที่เห็นในปัจจุบันได้  และคุณพ่อได้เป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาล ช่วงนั้นคนไข้จะมีมากกว่าเตียงที่โรงพยาบาล  ทำให้คนไข้ต้องมาพักรักษาตัวอยู่ที่บ้านและทุกๆ เช้า คุณพ่อจะปั่นจักรยานไปเยี่ยมคนไข้ตามบ้าน วีรกรรมของคุณพ่อทำให้ตัวเองได้เห็นความยากลำบาก  เห็นถึงความสัมพันธ์ของพี่น้องมุสลิม ยิ่งวันฮารีรายอเราจะมีความสุขมากไปเยี่ยมกันทุกบ้านเลย  ไปกินละแซ  กินสะเต๊ะ บ้านโน้นบ้านนี้ แต่สมัยนี้ไม่เห็นบรรยากาศแบบนั้นแล้ว  เราต้องเข้าใจประวัติศาสตร์ปัตตานีก่อนว่าเป็นอย่างไร ซึ่งตอนนี้ประวัติศาสตร์มันมีหลายเล่ม อย่างมัสยิดกรือเซะไม่ใช่มี 512 ปี ประวัติศาสตร์มีไว้เรียนรู้และดูแลปัจจุบันให้มันดีขึ้น  ประวัติศาสตร์เราต้องรู้ว่าประวัติศาสตร์ใครเป็นคนเขียน อารยธรรม อารยสถาปัตย์
วิทยากรได้พูดถึง “คุณค่าของทรัพยากร เช่น ต้นของลูกหยี ที่คนเอามาผลิตทำเป็นโต๊ะ เมื่อทราบว่าไม้นั้นอายุ 100 กว่าปี ตัวเองน้ำตาร่วง มันมีคุณค่าทางด้านจิตใจ มันเป็นผลไม้ของจังหวัดปัตตานี  มันสร้างเศรษฐกิจกับคนยะลา  คนสะดาวา คนสายบุรีมากมาย ปัจจุบันกำลังทำผลิตภัณฑ์ของปัตตานี เอาเกลือไปใส่กลิ่น และให้ทีมงานสปา เอาไปขัดตัว และเอาดอกเกลือใส่กลิ่นไว้โรยกาแฟ เพื่อให้ได้กลิ่น ทำไก่อบบูดี ไก่ย่างบูดี ไก่ต้มบูดี โดยให้อาจารย์ทาง ม.อ.ทำสเตอรีไรส์  ทำผ้าโดยการพิมพ์ผ้าจากลายช่องลมของบ้าน มาใส่ลงบนผ้า รวมไปถึงผ้าปาเต๊ะ เป็นบอร์ดประธานอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย  มีหน้าที่ตรวจแหล่งท่องเที่ยวทั่วประเทศ” วิทยากรได้เข้าสู่เนื้อหา  เริ่มจากพูดถึง “เมืองโบราณยะรังเจอสี่เหลี่ยมยาวถึง  9 กิโลเมตร นั่นคือเมืองเก่าลังกาสุกะ  เรารู้จักลังกาสุกะครั้งแรกจากเอกสารของประเทศจีน  จะเจอคำว่าลังกาสุกะ  เราไม่รู้เลยจนกระทั่งสมเด็จพระเทพ พระองค์ท่านเสด็จไปต่างประเทศ  ไปพิพิธภัณฑ์ที่ ฮอลแลนด์ เนเธอแลนด์  ฝรั่งเศส อังกฤษ  พระองค์ท่านไปเจอพิกัดละติจูดที่ 6.432 และละติจูดนี้ในเอเชียอาคเนย์ มันคือจังหวัดปัตตานี แล้วให้กรมศิลปากรไปสำรวจก็ไม่เจอ แต่คนที่เจอ คือชาวบ้านที่ไปขุดดินจะทำสวนส้มโอ
มันคือส้มโอพันธุ์ทับทิมสยามนครศรีธรรมราช แต่สายพันธุ์เป็นของยะรังบ้านเรา สมัยท่านผู้ว่าวีรพงศ์  ตั้งชื่อส้มโอสายพันธุ์นี้ว่า “เพชรยะรัง” ถ้าพูดถึงลังกาสุกะ ต้องท้าวความประมาณกว่า 1,800 ปี ประวัติศาสตร์ของปัตตานีไม่ได้อยู่แค่กรือเซะๆ อยู่ในยุคที่ 3 แล้ว
ยุคแรกของปัตตานีจะเป็น ซันซาเซมัตอาสลี คนอัสลี พวกนี้เก่งจะที่ใช้หินขวานฟ้า เราไปเจอหินขวานฟ้าที่เป็นอาวุธ และตรวจสอบหินขวานฟ้ามีอายุมากกว่า 2,000 กว่าปี เจอที่ปัตตานี เจอที่ยะลาตรงท่าสาปเจอเยอะมาก ซึ่งเป็นประวัติศาสตร์ที่เชื่อมกัน เจอภาพวาดในถ้ำศิลปะมีอายุมากกว่า 2,000 กว่าปี ซึ่งมันอยู่ในพื้นที่เรา สมัยก่อนในพื้นที่นี้นับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ผีสางเทวดา เป็นการสืบทอดทางด้านจิตวิญญาณของคนจนถึงปัจจุบัน แต่ก่อนชุมชนบางปู  ชุมชนบราโหมจะมีคนจีนมาอยู่เยอะมาก จนวันหนึ่งสุลต่านอิสมาแอลชาร์หรือว่าพระยาอินทิรา ได้รับอิสลาม คนจีนก็อพยพไปอยู่อาเนาะรู  คนจีนชุดแรกเข้ามาที่สายบุรีมีหลักฐานที่ว่าเก่าแก่ที่สุด บริษัทพิธานเศรษฐีใหญ่ข้ามเรือจากจีนขึ้นจากสายบุรี  เมืองสายบุรีจะมีแม่น้ำสองสายมาบรรจบกันเป็นเมืองท่า เป็นเมืองใหญ่ ที่มีความเจริญมาก สมัย ร.5 เสด็จพระพาสมาสายบุรีท่ านเลยตั้งเมืองสายบุรีเป็นจังหวัดสายบุรี แต่ก่อนสายบุรีดูแล นราธิวาส ต่อมาพอมี ตำบล  อำเภอขึ้นมา สายบุรีถูกยุบมาอยู่กับจังหวัด ซึ่งถูกแบ่งด้วยเส้นภูมิศาสตร์ยุคที่พระยาอินทิราย้ายไปอยู่ที่เมืองกรือเซะ  ช่วงนี้จะมีตำนานเยอะมาก เช่น ซีตีคอดีเยาะ ลูกของเจ้าเมืองสายบุรีนั่งช้างจะมาหาเมือง และหยุดตรงนี้จะสร้างเมืองตรงนี้ คือตรงวัดช้างไห้ในปัจจุบันแต่ลูกสาวไม่เอา ลูกสาวอยากได้ริมทะเล  และไปเดินเล่นใกล้ ทะเล  จากนั้นเห็นกระจงเผือก (เป็นตราของปัตตานี) แล้วให้ทหารวิ่งตามไปเอากระจงเผือก และถามว่าไหนละกระจงเผือก หายที่ไหน ทหารบอกว่า “ปาตาอีนีง” และอีกกรณีหนึ่ง สมัยกรือเซะที่ปาตานีเป็นเพื่อนกับอยุธยา  ด้วยความเป็นเพื่อนกันปาตานีนั่งเรือไปช่วยรบพม่า คนหนุ่มถูกเกณฑ์ไปหมดเลย  เหลือแต่คนแก่ที่อยู่เฝ้าเมืองปัตตานี  ใคร? ปะ -ตานี (ปะ ที่หมายถึง คนแก่) แล้วคนหนุ่มก็ไปช่วยอยุธยาในการรบกับพม่า ซึ่งมันคือความผูกพันระหว่างกัน แต่สิ่งเหล่านี้ไม่มีใครพูดถึง ศาลจังหวัดปัตตานี แต่ก่อนมันจะล้อมไปด้วยกระบอกปืนใหญ่ล้อมด้วยที่ถูกล่ามโซ่ ฝังไว้ในดินแล้วก็เชื่อมต่อกัน ตอนนี้หายหมดเลยท่านผู้ว่าวีรนันท์ เพ่งจันทร์ ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัตตานี  พยายามที่จะอนุรักษ์สิ่งดีไว้ พยายามจะสร้างพิพิธภัณฑ์ในปัตตานีให้เกิดขึ้น  ต้องติดตามกันต่อไปเรื่องประวัติศาสตร์ที่เล่ามานั้น วิทยากรได้เล่าจากหลักฐานที่เจอและเก็บได้  ยังมีความภาคภูมิใจกับ 4 ราชินีของเรา  และอารยธรรมของเราคือโครงโดมที่มัสยิดกรือเซะ สร้างไว้เป็นสัญลักษณ์ของนักรบจากญี่ปุ่นที่แพ้ปัตตานี
ส่วนเรื่องปัจจุบันที่อยู่ใกล้เคียงในบ้านเรา จะมีกรือเซะ บานา  ตันหยงลูโละ ดาโต๊ะ ตะโละสะมิแล บูดี แหลมตาชี บราโหม  วังยะหริ่ง ตะโละกาโปร์  มันไม่ใช่คู่แข่ง เป็นเครือข่าย สามารถจะพึ่งพาอาศัยได้  กรณีการบริการใช้เรือ ถ้าที่ไหนเรือไม่ว่าง เราสามารถจะใช้เรือจากเครือข่ายได้ สิ่งที่เราจะต้องทำและคุยกันให้จบ สมมุติว่า ค่าเรือ 500 บาท หักไว้เลย 50 บาท หรือ 100 บาท ไว้เป็นกองกลาง ค่าเดินเรือเท่าไหร่ ค่าอาหารต่อหัวเท่าไร สิ่งเหล่านี้เราต้องเราต้องเปิดใจ ในการทำข้อตกลงไว้ให้เกิดการยอมรับกัน เคยทำเรือซีคายัค เที่ยวบางปู แต่ตอนนี้เรือใช้ไม่ได้แล้ว อีก 4 ลำอยู่ที่ป่าไม้ ให้คนปะเสยะวอเขียนลายลงในเรือ เพื่อให้เป็นสัญลักษณ์ว่ามันเป็นของคนปัตตานี   เรามีนักกีฬายิ่งธนู ที่ติดทีมชาติ จากจังหวัดปัตตานี  และเอาวัฒนธรรมของปัตตานีที่เป็นสัญลักษณ์ปัตตานี มาแกะสลักบนธนูเพื่อให้คนทั่วโลกได้เห็นเวลานักกีฬาไปแข่งตามชาติต่างๆ ว่ามาจากปัตตานี ตอนนี้ปัตตานีกำลังผลิตแพะสายพันธุ์พื้นเมืองแท้ของปัตตานี เพราะวิถีมุสลิมของปัตตานีจะผูกพันกับแพะมาตั้งแต่เกิด ทำเป็นฟาร์ม และให้นักท่องเที่ยวซื้อผักร้านที่สะอาดป้อนแพะ เพื่อให้นักท่องเที่ยวเก็บรูปไว้เป็นสิ่งที่ประทับใจ ซึ่งกิจกรรมแบบนี้กำลังจะเกิดขึ้นในจังหวัดปัตตานี 40 กว่าปีเศรษฐกิจของปัตตานีไม่ฟื้น  แต่จะไปฟื้นอยู่ใต้ดิน เช่นคนบ้านเราไปของทางอินเตอร์เน็ต ขายออนไลน์ ขายหมวกกะปิเยาะไปโลกตะวันออก เดือนหนึ่ง 2 ตัน เป็นอุตสาหกรรมที่ส่งออกต่างประเทศ  ซึ่งก็ได้เงินมานิ่งๆ ไม่สามารถตรวจสอบได้ เพราะไม่สามารถเก็บภาษีได้อย่างคนทำอาชีพประมงในบ้านเรา คนทำประมงหลังจากที่ออกเรือเสร็จก็ไม่มีอาชีพเสริมทำ เราควรส่งเสริมการท่องเที่ยว การเป็นเจ้าบ้านที่ดีในการต้อนรับเพื่อให้เกิดความประทับใจ  และเป็นการสร้างรายได้เสริมให้เกิดขึ้น  เพราะทรัพยากร 3 จังหวัดอุดมสมบูรณ์ • ยะลา จะมีป่าบาลาฮาลา ป่าดิบชื้น • นราธิวาส จะมีป่าพรุโต๊ะแดงชุ่มน้ำ • ปัตตานี ที่น้ำตกทรายขาว จะมีป่าสันกาลาคีรี เป็นป่าดิบ • บ้านเรามีป่าชายเลน • หิ่งห้อย เป็นตัวบอกความสมบูรณ์ของป่า • ปู เรามีปูดำ ปูทะเล  แถวบางปูเราเห็นคือธนาคารปู กรณีปูดำเป็นไปไม่ได้ เพราะชีวิตของปู เวลาไข่แก่จะไปปล่อยที่ปากอ่าว แต่ถ้าปูม้าไม่เป็นเช่นนั้น • ครั้งหนึ่งบ้านเรามีหอยแครงเยอะมาก แต่ตอนนี้ต้องไปซื้อจากข้างนอก • ปลาที่เข้ามาอนุบาลในทะเลบ้านเรา ที่มีมากที่สุด ส่วนใหญ่จะมีปลากระบอก  ปลาขี้ตัง  สามารถเอามาใช้เป็นเมนูอาหาร • รู้จักชนิดของป่าโกงกาง ยางจากตะปูนดำ เป็นยาพิษ  สมัยก่อนใช้อาบหัวธนู • ขลู สามารถทำชา ช่วยในเรื่องของผิวพรรณ การลดน้ำหนักได้ขลู จะช่วยในการขับเลือดลม  ผิวพรรณ
          ลดน้ำหนัก ริดสีดวง ต้นถอบแถบ • ลิงแสม คนบ้านเรามักให้อาหารทั้งถุงพลาสติก  เป็นการให้ของแปลกปลอมเข้าไป และการที่ให้อาหารมัน แบบนั้นบ่อยๆ ส่งผลให้ลิงไม่สามารถหาอาหารกินเองได้  และจะทำให้ลิงเกิดอาการก้าวร้าวถ้าไม่ได้อาหาร • ลำพู ลำแพน • ต้นตาตุ่มทะเล ปัตตานีบ้านเรามีเยอะตะปูนดำ ชะคราม  ทานได้ ลวกสัก 2 – 3 ครั้ง จิ้มน้ำพริก • หลาวชะโอน บ้านเรายังน้อยอยู่ • โกงกางใบเล็ก บ้านเรามีเยอะมาก • เหงือกปลาหมอเครือ เป็นยาสมุนไพร  ทาแผล เป็นหนองได้  สกัดทำเป็นครีมได้ • นกกินปลา  จะมีสีสันสวยงามมาก  เพราะแคลเซี่ยมจากปลาทำให้นกมีสีสวยงาม • แม่หอบ ตัวจะเหมือน ก้าง • เมนูที่กินได้  จาก ปลาทะเล ผักหวานทะเล การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ  จะพยายามทำลายสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุดเพื่อไม่ให้รบกวนสัตว์ตัวอื่น  เช่น เรื่องเสียง กลิ่น(การสูบบุหรี่) การท่องเที่ยวอุโมงค์โกงกาง  จะต้องมีผู้นำ

ความสำคัญของ และประโยชน์ของป่าชายเลน 1. เป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำ 2. ช่วยรักษาสมดุลของระบบนิเวศน์ทะเล 3. ช่วยป้องกันดินทลายชายฝั่ง 4. ดูดสรรพสิ่งที่เป็นสิ่งปฏิกูล 5. ช่วยปกป้องจากอุทุกภัย ภาคบ่าย เวลา 13.00 น. วิทยากร คุณรดา  จิรานนท์  รักษาการประธานอุตสาหกรมท่องเที่ยว จ.ปัตตานี  ให้ผู้เข้าร่วมดูคลิปสั้นหนัง เกี่ยวกับการท่องเที่ยวของฝรั่งที่มาเที่ยวในประเทศไทย แล้วกระเป๋าเงินหาย  จนมีสาวชาวไทยมาให้ความช่วยเหลือจนเกิดความประทับใจ  จนสามารถลบความอคติที่อยู่ในใจออกมาทั้งหมด  และนักท่องเที่ยวต่างชาติมีความประทับใจในหลวงรัชกาลที่ 9

หลังจากดูคลิปสั้นจบ  มีกิจกรรมแบ่งกลุ่ม  โดยมีหัวข้อดังนี้ 1. บ้านเกิดของฉัน มีอะไรบ้าง? แพะ, ป่าชายเลน, นก,  ปู,  กุ้ง(กุ้งแม่น้ำ), หอย, ปลา (ปลากะพงในกระชัง), เรือ(ใน ม.3 มี 33 ลำ),  ปลาแห้ง, ข้าวเกรียบ, สาหร่ายผมนาง,  มัสยิดที่สวยงาม, ขนมพื้นบ้านที่อร่อย ขนมบาดา, ขนมมาดูกาตง, ใส้อั่ว, หอยจาน 2. ถ้านักท่องเที่ยวมา จะดูแลอย่างไรบ้าง? - นำเสนอตัวเองให้เขารู้จัก - ทำความรู้จักเขาเช่นกัน - แนะนำสิ่งดีๆ ที่มีในชุมชน  เช่น  วิถีชีวิต  ความเป็นอยู่ - แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวในชุมชน - พาไปกินของอร่อยๆ  เช่น อาหารพื้นบ้าน - เยี่ยมชมสถานที่สำคัญในชุมชน - มีห้องน้ำสะอาดไว้บริการ ชาย 15 ห้อง  หญิง 15 ห้อง - พาไปซื้อของฝาก/ของที่ระลึก 3. บ้านเรามีกิจกรรมอะไรให้นักท่องเที่ยวบ้าง? - เล่นน้ำ - หาหอย - เก็บขยะในอ่าวปัตตานี - ชมวีถีอาชีพประมงพื้นบ้าน - ชมวิถีชีวิตพื้นบ้าน (ปลาแห้ง) - ปลูกต้นโกงกาง - ชมเกาะนกหลากหลายชนิด - ลอดอุโมงค์ป่าโกงกางธรรมชาติ

4.ลักษณะของผู้ประกอบการเรือ 1. แต่งกายสะอาดเรียบร้อย 2. กิริยาวาจาสุภาพนุ่มนวล 3. ใจเย็น  อดทน  อดกลั้น 4. ยิ้มแย้มแจ่มใส 5. มีมิตรไมตรี 6. ทักทายถูกต้องเหมาะสม 7. เอาใจใส่  และจริงใจ 8. พร้อมตอบคำถาม 9. ช่วยแก้ไขปัญหาเมื่อเกิดกับขัดข้อง 10. มีบุคลิกภาพดี

กติกาการลงเรือ 1. สวมใส่เสื้อชูชีพ  ทุกครั้งทุกคน 2. กวดขันดูแลเรื่องการขึ้นลงเรือ  ไม่กระโดดขึ้นก่อนเรือจอด 3. เตือนและใส่ใจ  การวางมือที่กราบเรือของนักท่องเที่ยว 4. ห้ามทิ้งขยะลงในน้ำให้เก็บกลับมาทิ้งบนฝั่งทั้งหมด 5. ห้ามเด็ด  ตัด  หรือทำลายทรัพยากร  หรือนำมาเป็นสมบัติของตัวเอง 6. แจ้งนักท่องเที่ยวให้ทราบอัตราค่าใช้จ่ายให้ชัดเจนทุกครั้ง 7. ตรงต่อเวลา 8. พูดจาด้วยความสุภาพ 9. มีรอยยิ้ม 10. กระตือรือร้นในการให้คำอธิบาย 11. เปิดทัวร์ให้น่าสนใจ  เพื่อให้นักท่องเที่ยวกลับมาอีก 12. ความปลอดภัยของผู้โดยสาร

ข้อเสนอแนะ 1. จัดทำเอกสารเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ และแนะนำให้ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตนเพื่อความปลอดภัยในการสัญจรทางน้ำ  รวมทั้งการช่วยเหลือตัวเองในยามฉุกเฉินและการรักษาสิ่งแวดล้อมทางน้ำ 2. จัดการสัมมนา  บรรยาย  ให้ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตนเพื่อความปลอดภัยในการสัญจรทางน้ำ และผลกระทบต่อการทิ้งของเสียหรือน้ำมัน และการรักษาสภาพแวดล้อมของแหล่งน้ำสาธารณะแก่ประชาชนผู้ใช้บริการอย่างต่อเนื่อง 3. จัดเจ้าหน้าที่คอยให้คำแนะนำการปฏิบัติตัวในการเดินทางทางเรือ 4. จัดตั้งกลุ่มอาสาสมัครเข้าร่วมในโครงการรณรงค์เพื่อความปลอดภัยทางน้ำ 5. จัดเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์รับแจ้งเหตุทางน้ำ 6. รณรงค์ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการสอดส่องดูแลพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของเจ้าของกิจการบนเรือ  คนประจำเรือ  และเจ้าหน้าที่ของรัฐ  หรือมูลนิธิเอกชนในกิจการเดินเรือโดยสารหรือท่าเทียบ.

หลังจากนั้นเวลา16.30 น ท่านอิหม่ามอาชิ  ดาราแม  อิหม่ามมัสยิดอัตตะอาวุน บางปู  กล่าวปิดการอบรม  “การเป็นเจ้าบ้านที่ดี”

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลคาดว่าจะได้รับและตัวชี้วัด ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ 1. แกนนำชุมชนบางปูได้รับความรู้ความเข้าใจการเป็นเจ้าบ้านที่ดี 2. แกนนำชุมชนบางปูได้รับความรู้ความเข้าใจในเรื่องป่าชายเลน 3. แกนนำชุมชนบางปูได้รับความรู้ความเข้าใจในเรื่องประวัติศาสตร์ชุมชนบางปู 4. ทำให้ชุมชนเกิดความร่วมมือ เกิดความสามัคคี ทำงานร่วมกันอย่างแข็งขันและเป็นเอกภาพ

ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ 1. แกนนำชุมชนบางปู ผู้ประกอบการ แกนนำเยาวชนได้เรียนรู้การเป็นเจ้าบ้านที่ดี 100% 2. แกนนำชุมชนบางปูเกิดความร่วมมือ เกิดความสามัคคี ทำงานร่วมกันอย่างแข็งขันและเป็นเอกภาพ100%











circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 28 คน จากที่ตั้งไว้ 29 คน
ประกอบด้วย

ผู้เข้าร่วมจากชุมชนบางปู 17  คน ชุมชนบ้านบาลาดูวอ 2 คน จากชุมชนบ้านตะโล๊ะกาโปร์ 3 คน คณะทำงาน 6 คน วิทยากร 1 คน รวมทั้งสิ้น 28 คน