พัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศแก่ชุมชนบางปู อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี

สรุปเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสื่อมวลชน/สื่อชุมชนกับชุมชนท่องเที่ยวเชิงนิเวศบ้านบางปู28 พฤศจิกายน 2017
28
พฤศจิกายน 2017รายงานจากพื้นที่ โดย เครือข่ายวิทยุชุมชน จ.ปัตตานี
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วิธีการดำเนินงาน 1.ประสานวิทยากร 2.ประสานสถานที่ 3.ประสานผู้เข้าร่วมในพื้นที่ 4.ประสานสื่อมวลชน/สื่อวิทยุ/นักข่าว/สื่อออนไลน์
5.จัดซื้ออุปกรณ์และของที่ระลึก 6.จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้/ลงดูงานพื้นที่ท่องเที่ยวเชิงนิเวศในชุมชนบ้านบางปู 7.สรุปผลกิจกรรม

สรุปกิจกรรมที่ 4 เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสื่อมวลชน/สื่อชุมชนกับชุมชนท่องเที่ยวเชิงนิเวศบ้านบางปู เริ่มประชุมเวลา 9.00 น. พิธีกร คุณอิบรอเฮง  มาเละ  พูดคุยทักทายผู้เข้าร่วมและเข้าสู่กระบวนเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสื่อมวลชน/สื่อชุมชน ด้วยการ ชม คลิปสารคดีมัสยิดอัตตะอาวุน  อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี ชุมชนมีส่วนร่วม
คุณอาซิ ดาราแม อิหม่ามมัสยิดตะอาวุนบางปู อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี กล่าวต้อนรับนายกสมาคมสื่อมวลชนเพื่อการท่องเที่ยว  สื่อมวลชน และแกนนำชุมชนบางปูที่ได้เข้าร่วมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสื่อมวลชน/สื่อชุมชน ท่านได้กล่าวว่า  “มีความรู้สึกภาคภูมิใจที่ได้ต้อนรับวิทยากร และสื่อมวลชน เนื่องด้วยสถานที่มัสยิดอัตตะอาวุนแห่งนี้มีสถานีวิทยุที่เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ของชุมชน รู้สึกดีที่คณะผู้จัดเครือข่ายวิทยุชุมชนจังหวัดปัตตานีได้จัดกิจกรรมแบบนี้ที่มัสยิด  สถานที่แห่งนี้ไม่ใช่เป็นเพียงที่นมัสการทางศาสนาเพียงอย่างเดียว หากแต่เป็นสถานที่ๆ  ได้หลอมรวมชุมชนอย่างหลากหลาย  มีกลุ่มเยาวชน  มีสถานีวิทยุ สามารถจัดการชุมชนได้อย่างเป็นระบบ และเป็นศูนย์รวมจิตใจของชุมชนบางปู  นำสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดี หวังว่าอนาคตจะเป็นพื้นที่ต้นแบบหรือแบบอย่างให้กับชุมชนอื่นๆ ได้
            หลังจากนั้น  พิธีกรได้กล่าวขอบคุณอิหม่าม  และได้เชิญคุณยะห์  อาลี  หัวหน้าโครงการกล่าวแนะนำตัวพร้อมชี้แจงความเป็นมาของโครงการ
คุณยะห์ อาลี กล่าวว่า “โครงการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศแก่ชุมชนบางปู อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี จัดขึ้นมา โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก  ศอ.บต.  ให้กับคนทำงานภาคประชาสังคม  ในการทำงานในระดับพื้นที่  ซึ่งเครือข่ายวิทยุจังหวัดปัตตานี  ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญเรื่องชุมชนจัดการตนเองด้านการท่องเที่ยว แต่ด้วยงบประมาณที่มีจำกัดจึงจำเป็นต้องเลือกพื้นที่เดียว โดยก่อนหน้านี้มีการลงพื้นที่สำรวจข้อมูล พบปะแกนนำในพื้นที่ เพื่อสร้างความเข้าใจต่อโครงการฯ  หลังจากนั้นได้จัดอบรมความรู้เรื่องของการเป็นเจ้าบ้านที่ดี  และมีการอบรมศักยภาพเยาวชนในการทำคลิปสั้นในพื้นที่  ตามด้วยกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสื่อมวลชน/สื่อชุมชน  ที่กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้  และหลังจากนี้จะมีกิจกรรมการจัดรายการวิทยุ  รายการบางปูอเมซซิ่ง ชุมชนท่องเที่ยว โดยตอนแรก ได้เชิญ คุณมูฮำมัดอายุบ  ปาทาน และท่านอีหม่ามตะอาวุน  มาพูดคุยเรื่องบทบาทสื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างไรบ้าง?  และกิจกรรมสุดท้ายจะมีกิจกรรมการถอดบทเรียน  โดยจะจัดกิจกรรมทั้งหมดภายในเดือนธันวาคมนี้”           หลังนั้นทีมงานแจกกระดาษ  2 แผ่น  เพื่อให้ผู้เข้าร่วมเขียนความคาดหวัง กับ ความรู้สึกที่ได้ร่วมงานวันนี้ แผ่นที่ 1 (สีเขียว) ความคาดหวังในฐานะสื่อเกี่ยวกับการท่องเที่ยวของชุมชนบางปู - ยินดีที่จะนำสิ่งดีๆ ของบางปูนำเสนอต่อไป - อยากให้พื้นที่บางปูเป็น  ตัวอย่างการท่องเที่ยวเพื่อคนในสามจังหวัดชายแดนใต้ - ค้นพบคุณค่าในชุมชน  ศักยภาพชุมชนในการจัดการด้านการท่องเที่ยว
- เปิดภาพลักษณ์ใหม่ด้านการท่องเที่ยว - การสร้าง  story  telling  เรื่องราวของชุมชนบางปูที่น่าสนใจ  สามารถจูงใจให้ทุกคนมาเที่ยวได้ - ความร่วมมือในการสร้างเครือข่ายไม่หยุดนิ่ง - อยากให้มีการจัดกิจกรรมในลักษณะแบบนี้อีกครั้ง ที่ รีสอร์ทตะโละสะมิแล - อยากให้ชุมชนท่องเที่ยวบางปูเป็นชุมชนท่องเที่ยวที่ครบวงจรและเป็นที่รู้จักของคนทั้งประเทศ - อยากเห็นความเข้มแข็งของชุมชนในการต่อยอด  สร้างสรรค์งานพื้นที่ท่องเที่ยวเชิงนิเวศให้เป็นที่รู้จัก  ประชาชนอยากมาสัมผัสต่อไป - อยากเห็นมุมมอง  ภาพลักษณ์ใหม่ของชุมชนบางปู  เพราะบางปูมีทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์หลายอย่าง
- อยากให้ต่อยอดกิจกรรมแบบนี้อย่างต่อเนื่อง  โดยมีกลุ่มเป้าหมายหลายส่วน - อยากให้มีสื่อเชื่อมโยงบางปูกับแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์  วิถีชีวิต  วัฒนธรรม  ทรัพยากรธรรมชาติ  พหุวัฒนธรรม  และการเยียวยาผ่านการสื่อสาร - การประชาสัมพันธ์เชิงรุก - พัฒนาร้านอาหาร - แต่งกายย้อนยุคเน้นตามอัตลักษณ์ของจังหวัดปัตตานี

แผ่นที่ 2 (สีชมพู) เขียนถึงความรู้สึกในการเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ - เห็นความตื่นตัวของสื่อท้องถิ่นต่อการนำเสนอแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่  เพื่อสร้างสมดุลกับข่าวความรุนแรง - หายจากการเครียด  ชาวบ้านต้อนรับเป็นอย่างดี - มีความรู้สึกซาบซึ้งอย่างยิ่งที่ได้รับเกียรติมาร่วมประชุม  พี่ๆ น้องๆ ทุกท่านน่ารักมากเป็นกันเอง  มีความรู้สึกอบอุ่น โอบอ้อมอารี  ไม่เหมือนอย่างที่ทุกคนคิดว่าดุร้าย  ไม่จริงอย่างที่คิดเลยค่ะ - รู้สึกดีใจ  มีความสุข  ตื่นเต้น  กระตือรือร้น - เป็นกิจกรรมที่ดี  จัดแบบเป็นกันเองมาก  ได้ใกล้ชิดสื่อมากขึ้น  พูดคุย  ถ่ายทอดประสบการณ์ที่ดีต่อกัน  อยากให้จัดต่อเนื่อง  เพราะสื่อไม่ค่อยได้มีโอกาส  ร่วมกิจกรรมแบบนี้ - ยินดีมากที่ได้มาร่วมงานครั้งนี้  และ  ขอขอบคุณทีมงานทุกท่าน  กับการต้อนรับในครั้งนี้ - ยินดีที่ได้รับเชิญมาร่วมงาน  ได้มารู้จักชุมชนบางปู  แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่มาจากศักยภาพของชุมชนได้อย่างแท้จริง - รู้สึกดีที่มีการพบปะกับพี่น้องสื่อมวลชนและได้ทำกิจกรรมร่วมกัน - ขอบคุณการต้อนรับที่อบอุ่นจากผู้จัดงาน  และอิหม่ามมัสยิดอัตตะอาวุนบางปู  ขอให้ร่วมกันส่งเสริมกิจกรรมดีๆ  แบบนี้ต่อๆ ไป - รู้สึกดีที่มาร่วมกิจกรรมวันนี้  เพราะที่นี่เป็นมิตร  มีความเป็นกันเองมาก  มีขนมพื้นบ้านที่หาทานได้ยาก  อร่อยมาก  ขอบคุณที่เปิดโอกาสให้ร่วมงานวันนี้

บรรยายพิเศษโดย ดร.สว่าง  ทองไพ  “บทบาทสื่อมวลชนและชุมชนกับการนำเสนอและการมีส่วนร่วมด้านการท่องเที่ยว”
ดร.สว่าง  ทองไพ  หรือที่เรียกว่า  อาจารย์โต ท่านเป็นนายกสมาคมสื่อมวลชนเพื่อการท่องเที่ยว ท่านได้แนะนำทีมงานที่มาด้วย คุณพัฒนพงค์ จารุลักขณา  คุณแวมาแซหรือพี่ต่วน อดีตช่างเทคนิค สวท.ปัตตานี  และคุณจงรัตน์  คงเพชรภักดี ดร.สว่าง ทองไพ  ได้กล่าวว่า “เมื่อวันที่ 23-24 พฤศจิกายนที่ผ่านมา  ได้เปิดตัวสมาคมสื่อมวลชนเพื่อการท่องเที่ยวอย่างเป็นทางการ  ซึ่งได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลที่ต้องตามถูกกฎหมาย  มีสมาชิค 47 จังหวัดทั่วประเทศ  กำลังจะเพิ่มสมาชิก อีก 2 จังหวัด  คือ จ.บึงกาฬ  กับ  จ. ลำพูน  สมาคมจะมีบัตรประจำตัวซึ่งบ่งบอกถึงสังกัดของทางสมาคมฯ โดยที่ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นคนเซนต์ ดังนั้นถ้าทางสมาคมร่วมงานแถลงข่าวหรืองานอื่นๆ หมายถึงว่าผู้ว่าฯ หรือส่วนราชการรับรู้รับทราบว่ามาจากสมาคมสื่อสารมวลชนเพื่อการท่องเที่ยว  หากว่าสมาคมลงพื้นที่ใดก็ตามสมาคมต้องแจ้งไปยังจังหวัดทุกๆ  ครั้ง  ตอนนี้มีสื่อในสังกัด  5 สถานีเป็นเชิงธุรกิจทั้งหมด เช่น การโฆษณา  ขายของต่างๆ ดร.สว่าง ทองไพ  ได้เปรียบเทียบภารกิจงานของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กับ ท่องเที่ยวการกีฬาจังหวัด(ทกจ.) ซึ่งอยู่ภายใต้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เหมือนกันแต่ต่างเนื้องานกัน ททท.จะรับผิดชอบด้านการตลาด รับผิดชอบเชิงนโยบายและงานใหญ่ๆ  ด้านการกีฬา  ไม่ว่าจะเป็นสนามกีฬาซึ่งปัจจุบัน  ททท.ได้เอาสมาคมเป็นส่วนหนึ่งหรือเป็นสมาชิกในงานของ ททท. เพราะสมาคมสื่อมวลชนเพื่อการท่องเที่ยว  เป็นสมาคมแรกที่ยังไม่มีใครจัดตั้งมาก่อน  สมาคมจะเน้นสื่อที่สร้างสรรค์ นำเสนอสิ่งดีๆ  ที่เอาข้อเท็จจริง ไม่ได้เน้นการเสนอสื่อในเชิงลบหรือโต้ตอบด่าทอกัน  สื่อ  คือ มีหน้าที่ มีบทบาทการนำเสนอ ปลายทางของสื่อ  คือ  การนำเสนอข้อเท็จจริงให้เป็นจริง  โทรศัพท์มือถือเป็นสื่อที่ทำให้ประเทศไทยตอนนี้มีสื่อ 60 กว่าล้านคน  แต่สื่อแบบนี้ไม่มีมวลชน  สื่อมวลชน  กับ คำว่าสื่อ  กับคำว่า มวลชน  หลายคนไม่สามารถแยกความหมายออกได้  ซึ่งเราต้องแยกก่อน  แต่เวลาทำงานเราต้องทำด้วยกัน  เรามีสื่อ  คณะเดียวกันเราก็มีมวลชนภายในตัวด้วยเช่นกัน บางคนมีสื่อในมืออยู่แต่ไม่มีมวลชน ซึ่งปลายทางของการนำเสนอ  คือ  เราต้องมีกระแสที่อยู่บนข้อเท็จจริง
          ท่านดร.สว่าง ทองไพ ได้กล่าวว่า  หากการนำเสนอแล้วไม่มีกระแส  เสมือนการพูดอยู่คนเดียว  ไม่มีการเคลื่อนไหวต่อการรับรู้ของประชาชน เราต้องตั้งคำถามว่าทุกวันนี้  เรามีสื่อแต่เรามีมวลชนไหม  การขยายมวลชนจะทำได้อย่างไร การรวมสื่อที่มีความหลากหลายที่จะเป็นสื่อในสมาคมเดียวกันนั้นมันยาก  ไม่ได้ง่าย  เพราะมีหลากหลายของสื่อ  ที่มีสื่อสิ่งพิมพ์  สื่อวิทยุ  เคเบิ้ลทีวี  และทีวี  และวันเปิดตัวสมาคมฯ  เรามี
1. ATPM  การท่องเที่ยวและการตลาด  ซึ่งเป็นเจ้าของเอเชียที่หัวหิน  ที่จะมาขับเคลื่อนร่วมกับเรา  ซึ่งเขาจะมีตลาดอีกหลายๆ แห่ง 2. แอตต้า  สมาคมการโรงแรมเพื่อการท่องเที่ยวไทย ซึ่งมีโรงแรมอยู่ทั่วประเทศ  เกือบ  10,000 กว่าแห่ง 3. มีสมาคมเคเบิ้ลทีวี 4. มีอีต้า  คือสื่ออิเล็คทรอนิคเพื่อการท่องเที่ยวเชิงพาณิชย์

แต่ทั้งหมดนี้ก็ยังไม่เพียงพอในระยะยาว เพราะเราต้องการกระแสและเกิดการเรียนรู้ให้ได้  สมาคมฯ ตั้งมา  เมื่อวันที่  3 กุมภาพันธ์ 2560  อายุ 10 เดือน การท่องเที่ยว  คือการทำเส้นเลือดของประเทศ  เพราะการท่องเที่ยวสร้างรายได้ที่อยู่อันดับ  3  ของประเทศ  การท่องเที่ยวนำเป็นยุทธศาสตร์ในการทำเป็นรายได้เข้าประเทศ  เช่น  ประเทศลาว  เวียดนาม  เขมร  พม่า ถ้าดูการท่องเที่ยวในบ้านเราถือเป็นการลงทุนที่ต่ำมาก  แต่สิ่งที่จะเข้ามาในพื้นที่มีมาก  และสามารถทำรายได้ที่ยั่งยืนให้เราได้  เพราะฉะนั้นเราต้องคิดว่า  บ้านเรามีอะไรดี  ที่เป็นที่สร้างสรรค์  ซึ่งถ้าใครจะมาทำงานทางนี้  เราต้องตอบตัวเองก่อนว่าเรามาทำอะไร แต่ถ้าเราคิดว่าจะเป็นสื่อด้วยจิตวิญญาณ  คุณก็สามารถเอาข้อเท็จจริงมานำเสนอ ถ้าตัวเองคิดว่าพร้อมสามารถทำได้  แต่ถ้าไม่พร้อมคุณควรถอยตัวเอง  เพราะถ้าความไม่พร้อมนำเสนอสื่อ  สิ่งที่ตามมาจะมีความเสียหายตามมา เกลือหวาน  นำเสนอวันแรก  นาย ก.ท้องเสียอย่างรุนแรงเพราะกินเกลือหวาน  แต่ถ้าการนำเสนอข่าวออกมามุมนั้น  ทำให้คนทั่วประเทศจะมีความตื่นกลัวและไม่ยอมกินเกลือภาคใต้  มองว่าเป็นสัญญาที่ดี
อนาคตอันใกล้นี้ทางสมาคมฯ จะเอาสื่อมวลชยเชียงรายลงมาปัตตานี  และให้เจ้าบ้านต้อนรับ  3 วัน 3 คืน
การเป็นเจ้าบ้านที่ดีไม่ต้องเตรียมอะไรเยอะ เช่น เจอนักท่องเที่ยวต่างประเทศแค่ยิ้ม คำพูด  และมีความจริงใจ  อัธยาศัยที่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่  ถือว่าเป็นเจ้าบ้านที่ดีแล้ว  การสำรวจพบว่านักท่องเที่ยวต่างประเทศมีความประทับใจในการเทศไทย  คือ  การยิ้ม  เป็นอันดับต้น การท่องเที่ยวในบทบาทของสื่อมีความสำคัญมาก สื่อในบ้านเรา  เช่น ทีวี  วิทยุ หนังสือพิมพ์  โซเชียล  ที่นี่เราคุ้นเคยแค่สื่อ  วิทยุ  กับ  โซเชียล เท่านั้นเอง การทำดีไม่มีที่ไป  เหมือนกับเราถ่ายรูปไม่มีที่ลง แต่ต่อไปนี้ช่องทางในการนำเสนอที่สามารถส่งให้ทางสมาคมฯได้เลย เราเคยพูดอยู่ตลอดเวลาว่า  เรามีทางไป  ทำคลิปได้  ถ่ายภาพได้  แล้ว  ส่งมาทางสมาคมฯได้  ตอนนี้เรามีอนุกรรมการของจังหวัดปัตตานี ท่านสามารถเป็นตัวแทนของจังหวัดปัตตานีของทางสมาคมได้  มีหน้าที่ในการส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมในพื้นที่  ซึ่งในหนึ่งจังหวัดเราจะมีแค่ชุดเดียว  ไม่มีการตั้งเพิ่ม  แต่พวกเราสามารถเป็นสมาชิกได้  เพราะสมาชิกเป็นตัวสำคัญที่จะส่งข่าวเข้ามา • สื่อสิ่งพิมพ์ ส่งไปทาง  Email ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายด้วย  ของสมาคม ไม่ออกไทยรัฐก็ออกไทยเรานี่แหล่ะ  ทางสิ่งพิมพ์ของสมาคม
• ช่องของเคเบิ้ล  คือทางทีวี  ส่งให้สมาคมในการออกสื่อได้ แต่ก่อนส่งต้องมีการตัดต่อก่อน  อาจจะออกในรูปของ อินทลูต
• วิทยุ  ออกเป็นสปอร์ตสั้น  เชิญชวนคนมาเที่ยวจังหวัดปัตตานี  ซึ่งจะออกวิทยุที่จังหวัดไหนก็ได้เพราะถือเป็นการประชาสัมพันธ์และเป็นการหาเครือข่าย

สิ่งที่เกี่ยวข้องกับวิทยุ บัตรผู้ประกาศ เปรียบเสมือนใบขับขี่ของสื่อวิทยุ  ซึ่งเป็นตัวการันตีอาชีพ  สื่อวิทยุมีข้อเสีย 1 อย่าง  คือ  เรามักจะนำเสนอบางอย่างโดยใช้ทัศนคติของตัวเอง  อันนี้ต้องระวัง เพราะมันไม่ได้มาจากข้อมูลหรือข้อเท็จจริง  คือไม่ได้เอามุมอื่นมานำเสนอ  เราต้องคำนึงว่าคนฟังวิทยุคือคนที่มีจินตนาการเพราะคนฟังจะได้ยินแค่เสียง  แต่ไม่ได้เห็นหน้าคนจัด ทำให้คนฟังมักจินตนาการความเป็นคนพูดหลากหลายรูปแบบ แต่เอาความรู้สึกของตัวเองมานำเสนอ  ความเป็นสื่อเป็นเรื่องที่สำคัญมาก บทบาทที่ 2 การส่งเสริม  สมาคมจะอยู่ในฐานะผู้ส่งเสริมด้วย  เช่น  คุณมีกิจกรรมดีๆ เอาของ  ททท.  เอาของเจ้าบ้านที่ดีลงมาทำกันไหม  แล้วเอามาขับเคลื่อนอย่างเป็นระบบ และมาตรวจสอบความถูกต้องได้  ชี้วัดได้  ในการประมวลผล  ซึ่งเป็นอีกหนึ่งบทบาทของสื่อที่ไม่มีใครทำมาก่อน  เพราะแต่ก่อนสื่อจะเป็นเหมือนพ่อค้า  คือ  ส่งข่าวเสร็จ ได้ค่าตอบแทนก็จบ สื่อสร้างสรรค์ต้องนำเสนอข้อเท็จจริง และที่สำคัญอะไรที่มันเป็นการบั่นทอนต้องงดการนำเสนอ  แต่ใช้วิธีการบอกต่อ  สิ่งที่ได้  คือมิตรภาพ  ได้ภาพลักษณ์ที่ดี  ในฐานะสื่อ เราคือทำการรักษาผลประโยชน์ของชาติ  รักษาภาพลักษณ์ที่ดี  ได้ช่วยให้ธุรกิจของเขาไปต่อได้ ต่อไปนี้ใต้กับเหนือ  ใต้กับอีสาน  จะใกล้ชิดกัน  โดยพวกเราที่จะเป็นสะพานคอยเชื่อมด้วยสื่อของพวกเรานี่แหละ เริ่มที่พวกเราก่อน แต่จะเริ่มแบบไหนนั้น ทางสมาคมฯ จะเป็นผู้ขับเคลื่อนร่วมกับพวกเรา ตอนนี้ทางสมาคมฯ ได้มีการเชื่อมโยงกับพม่า  ลาว  ต่อไปเรามีโอกาสในการรับฟังลาว  เราได้เป็นภาคีกัน  โลกก็จะแคบด้วย  เพียงสร้างทีละนิด  สร้างเวลา  แต่อย่าท้อ

ดร.สว่าง ทองไพ ได้  เปิดโอกาสในการตั้งคำถาม คำถามจาก คุณมูฮำมัด ดือราแม อดีต บก. DSJ โรงเรียนนักข่าวชายแดนใต้
1.    ในเรื่องของการส่งเสริมและสนับสนุน  อยากทราบว่าทางสมาคมจะสนับสนุนอย่างไร? ท่านดร.สว่าง ทองไพ ได้ตอบคำถาม การสนับสนุนมันมีหลายทางอาจไม่ใช่ในรูปแบบงบประมาณเสมอไป  สนับสนุนโดยการนำมวลชนก็ถือเป็นการสนับสนุนพื้นที่ให้ได้เห็นว่าพื้นที่มีอะไรดี  แต่ถ้าโอกาสที่เราเอางบประมาณของสื่อปลอดภัย  ร้อยลงมาในเรื่องมิติของการท่องเที่ยว สมาคมฯจะเขียนโครงการใหญ่แล้วให้พวกเราได้ขับเคลื่อน  แต่จะไม่ทำงานแบบกองทุนของ  สสส.  หรือประชารัฐ เพราะทางสมาคมฯจะมีการประเมินผลการทำงานอย่างมีหลัก  สมาคมฯจะทำให้เห็นว่าเป็นการทำงานอย่างมีคุณภาพ  สมาคมฯจะพยายามแสวงหาแหล่งทุนทำโครงการเพื่อให้พวกเราได้เอาตั้งสมมุติฐาน  เอาความรู้ที่เรามีลองมาพิสูจน์ดูซิว่าเราจะทำเหมือนอย่างที่เราวางไว้ไหม? ตอนนี้ทางสมาคมกำลังทำโพสเตอร์  รณรงค์เพื่อพิทักษ์ผลประโยชน์ชาติด้านการท่องเที่ยว  เพราะการท่องเที่ยวเป็นเส้นเลือดใหญ่ของประเทศ  เนื่องจากเราเป็นสมาคมใหม่แต่เรามีแนวร่วมเยอะ  มีแหล่งทุน  ความรู้  ตัวบุคคลของสมาคมมีนักวิชาการผ่านสมาคม  ผ่านตัวบุคคลนำเขามาสนับสนุน  สมาคมเองมีนักวิชาการด้านการท่องเที่ยว  ซึ่งอยู่ในกลุ่มงานทางวิชาการของสมาคมฯ  มีงบของกองทุนหมู่บ้าน/ชุมชน ซึ่งเป็นกองทุนใหญ่ เพื่อส่งเสริมชุมชน  วิถีชุมชนอาจจะมาแบ่งให้เหมาะสมในแต่ละพื้นที่  ในมุมนี้อาจเป็นทางหนึ่งที่สมาคมจะช่วยท่านได้

  1. ถ้ามีการรวมกลุ่มสื่อที่อยู่ที่นี่  แล้วผลิตสื่อด้านการท่องเที่ยวโดยเฉพาะ ประสานสมาคมในการสนับสนุน สมาคมสามารถทำได้ไหม  เพราะถ้าดูสถานการณ์ในพื้นที่ตัวต้นทุนหรือตัวทรัพยากรที่จะมาทำในเรื่องของการท่องเที่ยว  สามารถทำได้หลายอย่าง ถ้าเริ่มจากบางปูโดยเริ่มจากการเชื่อมโยง  เช่น  ด้านประวัติศาตร์  ธรรมชาติ  วิถีชีวิต  พหุวัฒนธรรม หรือเชื่อมโยงในเรื่องของการช่วยเหลือ  เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบอาจเป็นในเรื่องของผลิตภัณฑ์ของผู้ได้รับผลกระทบ  ทั้งหมดนี้ทำเป็นเพ็กเก็จได้ ดร.สว่าง ทองไพ ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ต้องคิดอย่างมีหลักว่าสิ่งที่เราเสนอมันตอบโจทย์และทำให้มันเกิดกระแสได้ไหม ตอนนี้เราตั้งให้สมาคมมาเป็นหัว แล้วเอาภาคประชาชนเป็นฐานราก  อันนี้ต้องปรับแนวคิดนี้ก่อน เพราะต่อให้เปลี่ยนรัฐบาลโครงสร้างที่สมาคมวางไว้ก็จะยังคงเดิม เพราะสื่อจะอยู่ในวัตถุประสงค์ที่ 2  ในเรื่องส่งเสริมบทบาท
    สมาคมยังขาดศูนย์เรียนรู้ของข้อมูลที่เรียนรู้วิถีชุมชน  หรือศูนย์ข้อมูลประวัติศาสตร์ชุมชน  เพราะการท่องเที่ยวเป็น story  ซึ่งการท่องเที่ยวจะไม่จบที่จุดเดียวแน่นอน แนะนำให้แต่งตั้งทีมบริหารชุมชนท่องเที่ยว  และต้องคุมเส้นทางการทำเดินงานให้ชัด

คุณพัชรา ยิ่งดำนุ่น จากวิทยุ  ม.อ. ได้เสนอแนะ 3.  โดยส่วนตัวชอบสนใจกิจกรรมด้านการท่องเที่ยว  เคยเข้าร่วมกับอาจารย์  ม.อ. พานักศึกษามาสำรวจเส้นทางการท่องเที่ยวในพื้นที่อ แต่ยังผิวเผินอยู่ เวทีวันนี้สามารถทำให้เห็นประเด็นที่จะเชื่อมโยง อย่างที่ ท่าน ดร.สว่าง ทองไพ  ได้หยิบยกในเรื่องของวิถี อาจจะประเด็นเดียวแต่นำเสนอให้ได้หลายช่องทาง content ออกไป  คิดว่าอาจมีทิศทางในการขับเคลื่อนเพื่อขยายผลจากข้อมูลที่เราได้ลงพื้นที่ คิดว่าเพื่อนนักสื่อสารอาจจะใช้เวทีนี้ในการร่วมกันนำเสนอ  เช่น  เสียงของชุมชน  คุณค่าของชุมชน

  1. สื่อกับสมาคมสื่อมวชชนเพื่อการท่องเที่ยวมีบทบาทในการทำงานเฉพาะเรื่องใช่ไหมคะ ท่านดร.สว่าง ทองไพ  ตอบว่า การเอาราชการ  เพื่อมาวิเคราะห์จุดอ่อน  จุดแข็งเพื่อวางกรอบนักวิชาการ สามารถมาช่วยด้วยได้  อาจเขียนหนังสือส่งมาที่สมาคมได้  เราต้องพยายามมองว่าการสร้างการรับรู้มันไม่ได้จำกัด  ใครมีเรื่องส่งมา เพราะมันเป็นวิธีการสร้างกระแสคือถ้าเห็นช่องทางควรไปให้หมด  พยายามสร้างเครือข่ายให้ได้  เพราะเครือข่ายเป็นสิ่งสำคัญของสื่อมวลชน สิ่งที่ต้องคำนึง  คือ  ข้อความกับรูปภาพต้องมีความสมดุลกัน  อย่าเขียนเยอะไป  เช่นเดียวกับหนังสือพิมพ์ที่เป็นสี คือไม่ต้องเขียนมาก

คำถามจาก อาจารย์อาทิตยา สมโลก  (จากคณะวิทยาการสื่อสาร)  ม.อ.ปัตตานี 5. เรื่องของการป้องกันในการดูแล  เรื่องของจริยธรมในการดูแล  ทางสมาคมมีแนวทางอย่างไร? ท่านดร.สว่าง ทองไพ  จริงๆ แล้วเป็นวัตถุประสงค์ของสมาคมข้อที่ 1 ถ้าหากทำมากเกินกว่านั้นสมาชิกต้องรับผิดชอบเอง  หลายกรณีก็เป็นคดีความและได้ปลดจากการเป็นอนุกรรมการไป  จริยธรรมของสมาชิกมีกรอบว่าอะไรทำได้  อะไรทำไม่ได้  แต่ถ้าทำได้แล้วมีปัญหา  ทางสมาคมจะมีการดูแล  แต่ถ้าคุณมีเจตนา  ทางสมาคมจะทำการเตือนก่อน 3 ครั้ง ถ้ามีการกระทำอีกจะต้องจัดในลำดับต่อไป    ตอนนี้ทางสมาคมมีการมอบอำนาจให้กับสมาชิกเกือบทุกจังหวัด  เพื่อให้พวกเราประหยัดค่าใช้จ่ายของสมาคม
พัฒนพงค์ จารุลักขณา เรื่องการใช้สื่อวิทยุ  สะท้อนปัญหาของชุมชนเป็นสื่อทางสงขลา  สื่อสารของภาคใต้  สื่อทางสงขลา  มีประมาณ 15 ความคิด  กลุ่มที่เราทำเป็นของธุรกิจส่วนตัว  ล่าสุดเรื่องของน้ำท่วมที่ผ่านมา  แต่  ณ เวลานั้นมีแค่คลื่นเดียว  ทางเราถือว่าถ้าเป็นเรื่องการช่วยเหลือเราจะทำทันที  เพราะสื่อกระแสหลักเข้าถึงช้าเรามองว่าสื่อกระแสหลักนั้นเอาภาษีของประชาชน แต่ไม่ค่อยเห็นในการมาช่วยเหลือ  สื่อของเราลงพื้นที่  5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในกลุ่ม  ศอ.บต.  ทำมาได้ 3-4 ปี เป็นสื่อสัญจร  เช่น จังหวัดสตูลทางเราเอาของไปช่วยเหลือที่มัสยิดต่างๆ  การทำงานแบบนี้ถือว่าดี  เพราะเรามีฐานล่างที่เป็นนักศึกษา มอ.  หรือเยาวชน ศอ.บต.ช่วยเหลือจากข้างล่างได้ดี

สรุปจาก ท่านดร.สว่าง ทองไพ  “  บทบาทของการเป็นสื่อ สามารถทำได้หลากหลาย  ซึ่งการช่วยเหลือในระดับประเทศมีผลมาก  เพราะสามารถเสนอข้อเท็จจริงให้เป็นปัจจุบันได้  และยังสามารถช่วยกันเป็นหูเป็นตา  หรือบำเพ็ญตน  ท่องเที่ยวถือเป็นเส้นเลือดของประเทศไทย ปัตตานีอยู่ปลายด้ามขวาน  ไม่ต้องรอให้เขามาหาเรา  ขอให้เอาความรู้ที่เราได้รับไปใช้ ผมเชื่อว่าสื่อสร้างสรรค์มันมีจริง” หลังจากนั้นนายอาชิ ดือราแม  อิหม่ามมัสยิดอัตตะอาวุน ได้มอบของที่ระลึกแทนคำขอบคุณจากจังหวัดปัตตานีให้  ดร.สว่าง  ทองไพ  และทีมงาน 





มอบของที่ระลึกแก่สื่อมวลชน

เวลา13.00 น อ.กามาสูดิน  หะยียามา  นักประวัติศาสตร์ชุมชน/อาจารย์โรงเรียนบำรุงอิสลาม  ได้ให้ความรู้ประวัติศาสตร์ชุมชนบางปูย้อนรอยประวัติศาสตร์บางปู








ประวัติการตั้งถิ่นฐานของชุมชนบางปูตะอาวุนนักเรียนตามันฟัรดูอีน สุเหร่าบางปู ปี พ.ศ.2507 ที่ตั้งของตำบลบางปู  ในเขตอำเภอยะหริ่ง  ที่ตั้งของตำบลบางปูจะเป็นทะเล  ที่เรียกว่าอ่าวบางปูเป็นบริเวณที่อุดมสมบูรณ์ด้วยสัตว์ทะเล  มีโกงกางอุดมสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย  ส่วนทางทิศใต้ก็เป็นที่ทำนา มีพืชผักที่อุดมสมบูรณ์และกว้างใหญ่  และตรงข้ามที่พวกเราอยู่  ณ  ตอนนี้จะเป็นที่นาอันกว้างใหญ่มาก  บางปูจึงเป็นดินแดนที่มีคนมาอยู่อาศัยกันเป็นเวลานาน  นอกจากนั้นบางปูยังอยู่ใกล้กับเมืองปาตานีในอดีต  คือตันหยงลูโล๊ะ  กรือแซะในตอนนี้ มีอาณาเขตติดต่อกัน  การขยายตัวของชุมชนและความเจริญต่างๆ  จึงขยายมายังบางปูโดยปริยาย  บางปูจึงน่าจะเป็นชุมชนเก่าแก่มาแต่สมัยอาณาจักรมลายู  ฉะนั้นความเจริญของอาณาจักรของปัตตานีในสมัยก่อนแน่นอนน่าจะมาทางบางปูด้วยเช่นกัน เพราะมีพื้นที่ๆ ติดชายทะเลเหมือนกัน ใกล้ๆ กัน
มีการสันนิฐานว่า  บางปู  น่าจะเป็นชุมชนโบราณตั้งแต่ยุคสมัยของอาณาจักรของมลายูปาตานี  บางท่านบอกว่าสมัยราชินีฮีเยา  หรือราชินีบีรู ก่อนหน้านั้น  มีการปกครองปี  2159 – 2167  ซึ่งตรงกับสมัยราชวงศ์สุโขทัยและอาณาจักรอยุธยา  หรือก่อนหน้านั้นในสมัยราชินีฮีเยา ที่ถือเป็นสมัยที่รุ่งเรืองที่สุด  มีเรือสินค้าจากจีน  ยุโรปและอาหรับที่มาเทียบท่าที่ปัตตานีดารุสสาลาม  ที่กรือเซะกับชายแดนที่ติดกับบางปู








อุสตาซ แวอาลี หะยีอาวัง หน้าสุเหร่าบางปู กับบรรยากาศเก่าๆ

หลักฐานที่สำคัญที่สุดที่สามารถยืนยันได้ว่าบางปูเป็นเมืองโบราณ  คือ  มีโบราณสถาน มีมัสยิดหรือที่ชาวบ้านเรียกว่าสุเหร่าบางปู  เป็นสุเหร่าที่เก่าแก่มาก  สร้างด้วยไม้ทั้งหลัง  สร้างด้วยสถาปัตยกรรมพื้นเมืองที่เก่าแก่มาก  บางคนบอกว่าเป็นสถาปัตยกรรมสมัยลังกาสุกะ ตัวอักษรจะเป็นมลายู  และมีนักโบราณคดีจากรัฐกลันตันประมาณ  25 ปี  มาสำรวจมัสยิดแห่งนี้ว่า  เขาสันนิฐานว่า  น่าจะมีอายุมากกว่ามัสยิดตะโล๊ะมาเนาะ  เพราะสังเกตุจากเสาของสุเหร่าที่สลักจากหินและเสาไม้บนสุเหร่าที่ขรุขระ  ไม่ราบเรียบ  เนื่องจากเครื่องมือที่ใช้ในการก่อสร้างเป็นเครื่องมือพื้นฐานสมัยก่อน  เช่น  ขวาน  และผึ่ง เป็นต้น  ซึ่งมัสยิดตะโล๊ะมาเนาะในตอนนี้ก็มีน่าจะมีอายุประมาณ 393 ปี เพราะตะโละมาเนาะสร้างขึ้นในปี  2167  ถ้าเป็นจริงตามที่นักโบราณคดีกลันตันกล่าวไว้  แสดงว่าที่บางปูแห่งนี้ก็มีชุมชนมาตั้งรกรากมากกว่า 393 ปีแล้วเช่นกัน
แต่อย่างไรก็ตามที่กล่าวมาเป็นเพียงการสันนิฐานจากหลักฐานที่พอจะเป็นไปได้เท่านั้น  เราไม่สามารถจะยืนยันถึงข้อเท็จจริงจากการสันนิฐานนั้นได้จนกว่าจะมีนักโบราณคดีมาพิสูจน์หลักฐานการสร้างสุเหร่าบางปูแห่งนี้อย่างจริงจัง รอบๆ สุเหร่า จากการสัมภาษณ์ผู้อาวุโสของชุมชนบางปู หมู่ที่ 3  จำนวนสิบท่านที่มีอายุ  ระหว่าง  70  ปีขึ้นไป  จนถึง ปี พ.ศ. 2559  ซึ่งปัจจุบันทุกคนยังมีชีวิตอยู่  โดยทีมงาน Bangpoo  Story พอจะสรุปเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของชุมชนบางปู
หมู่ที่ 3  (ชุมชนบางปูตะอาวุน)  ย้อนหลังได้ถึงเพียง  พ.ศ. 2440 เป็นต้นมาเท่านั้น  ส่วนก่อนหน้านั้นไม่มีใครสามารถให้ข้อมูลได้ดังนี้


<br />



คำว่าบางปู  ไม่มีใครทราบถึงที่มาได้  บางคนบอกว่าชื่อเดิมคือ  กือลอ  บางปูนั้นใช้เรียกตามราชการในตอนหลัง ซึ่งอาจจะเรียกตามสภาพที่เด่นของบางปูที่เขาเห็น  กล่าวคือ  หน้าโรงเรียโรงเรียนบ้านบางปูปัจจุบัน  สมัยก่อนมีปูเปลือกแข็ง  ชาวบ้านเรียกว่า  “กือแตบาตู (ปูหิน)”  และ  “ปูม้า”  ที่ชาวบ้านเรียกว่า “กือแตแป”  จำนวนมาก  ซึ่งชาวบ้านไม่นิยมกินปูชนิดนี้  พวกมันขึ้นมาขุดรูทำเป็นรังมาอาศัยอยู่  ทำให้เกิดเป็นจอมปลวก (ปูซู)  ขึ้นเต็มไปหมด  คนไทยและทางราชการจึงเรียกที่นี่ว่า  บางปู  คนท้องถิ่นเรียกว่า  บาปู จากการเล่าของลูกหลานอดีตเจ้าเมืองยะหริ่งคนหนึ่ง  เขาบอกว่า  เมืองยามู(ยะหริ่ง)สมัยก่อน  มีอาณาเขตจากบ้านตันหยงไปถึงบางปู  บางปูจะรวมอยู่ในยามู  เรียกชื่อรวมกับยามู  ส่วนที่ชื่อ บางปู  นั้นเป็นชื่อที่ทางการตั้งให้ภายหลัง  แต่คนในท้องถิ่นสมัยก่อนจะรู้จักและเรียกชื่อบางปูว่า  กาลอหรือกือลอ  สุเหร่าบางปู  คือมัสยิดประจำเมืองยามู  และคนที่เป็นมุฟตีหรือกอฏี (ที่ปรึกษาฝ่ายศาสนาอิสลาม) จะพำนักอยู่ใกล้มัสยิด  ส่วนแดนประหารนักโทษสมัยก่อนจะอยู่ระหว่างสะพานบางปูเชื่อมต่อกับยามู (สะพานอาแวเบ๊าะ)  และจือแร ข้อมูลดังกล่าวสอดคล้องกับคำบอกเล่าของ นางฮัจยะฮฺตีเยาะ  ฮะยียาม  ว่าบิดาของท่านคือ นายฮะยีมะแซ  ฮะยียามา เคยเป็นอีหม่ามสุเหร่าบางปู  เป็นโต๊ะครูสอนกีตาบยาวี ที่บ้านท่านใกล้มัสยิด  และเคยเป็นมุฟตีของเจ้าเมืองยะหริ่ง  บ้านท่านอยู่ติดกับสุเหร่าบางปู (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของบ้านนางสามีฮะ หะยียามะ)  และสอดคล้องกับคำบอกเล่า  ของนายอิบรอฮิม  หะยีสือแม  (สัมภาษณ์เมื่อ  26/2/59)  อายุ 84 ปี  เล่าว่า นายนิเดร์และนิหะ เคยเป็นฮูลูบาแล(อำมาตย์/ทหารเจ้าเมือง)  ของเจ้าเมืองยะหริ่ง  ท่านทั้งสองไม่ยอมให้ชาวบ้านเสียภาษีแก่เจ้าเมือง  ท่านทั้งสองจึงถูกประหารชีวิต  ศพของท่านถูกฝังไว้ที่ตำบลบานา  ท่านคือต้นตระกูลนิเดร์หะในปัจจุบัน
และจากการสัมภาษณ์ นายสือแม  หะยีสือแม  อายุ  81 ปี  ใน  พ.ศ. 2559  ท่านเล่าว่าเจ้าเมืองยะหริ่งเป็นผู้แต่งตั้งนายหะยีนิมะ  นิเดร์หะ  เป็นอีหม่ามสุเหร่าบางปูในสมัยก่อน จากหลักฐานและข้อมูลดังกล่าว  แสดงว่าบางปูสมัยก่อนรวมอยู่กับยามู  มีความสัมพันธ์และเกี่ยวโยงกับเจ้าเมืองยะหริ่ง  และอยู่ใต้การปกครองของเจ้าเมืองยะหริ่ง  เหตุการณ์ดังกล่าวน่าจะอยู่ในสมัยพระยาพิพิธเสนามาตยาธิบดีศรีสุรสงคราม  ซึ่งอยู่ในสมัยตอนปลายรัชการที่  5 สุเหร่าบางปูตั้งอยู่  ม. 3  ตำบลบางปู  อำเภอยะหริ่ง  จังหวัดปัตตานี  เป็นสุเหร่าที่เก่าแก่ของอาณาจักรมลายูปตานี  สร้างด้วยไม้ทั้งหลัง  ยกพื้นเตี้ย  อาคารสุเหร่าใช้สลักไม้ยึดแทนตะปูและเหล็ก  สร้างด้วยศิลปะมลายูลังกาสุกะ  เสาของสุเหร่าสลักจากหินภูเขา(หินแกรนิต) นำมาจากตรังกานูประเทศมาเลเซียโดยทางเรือสำเภา  ลำเลียงมาขึ้นปกที่ท่าเรือบางปู  ซึ่งอยู่หลังสุเหร่าบางปู  เป็นสุเหร่าที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์  งดงามและโดดเด่นทางสถาปัตยกรรม  เป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่าของชนชาวมลายูในจังหวัดชายแดนใต้
นอกจากเสาสุเหร่าที่สลักจากหินแล้ว  ส่วนประกอบอื่นๆ  ของสุเหร่า  เช่นผนังที่กั้นระหว่างข้างในและข้างนอกสุเหร่า  ฝาผนัง  ประตู  หน้าต่างจะเป็นงานแกะสลัก  ฉลุลายกลึง  ประดับประดาเป็นสถาบัตยกรรมหลากหลายรูปแบบ  ผสมผสานกันอย่างลงตัวสวยงามและประณีตบรรจง  ทาเป็นสีสันสวยงามสดใสด้วยสีที่สกัดมาจากเปลือกไม้  มีมิมบัร(ที่แสดงธรรมเทศนา) ที่แกะสลัก  กรงและฉลุลายเป็นศิลปะสมัยลังกาสุกะที่งดงามทาด้วยสีขาว  มีไม้คทาสำหรับคอเต็บถือขณะอ่านคุตบะห์ ที่สลักด้วยอัญมณีสีขาวแวววาวคล้ายเพชร  ส่วนหัวของคทาทำเป็นรูปจันทร์เสี้ยว  มีกลองสำหรับตีเชิญชวนคนมาละหมาดทั้งห้าเวลาที่ชาวบ้านเรียกว่า  ฆือแนรายอ  ซึ่งแปลว่ากลองใหญ่ทำด้วยลำต้นตาลขนาดใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ  3 ฟุตและยาวประมาณ 6 ฟุต บุด้วยหนังวัว ตอกด้วยลิ่มไม้โอน  มีกอเลาะ(อ่างอาบน้ำละหมาดขนาดใหญ่) สร้างด้วยไม้แผ่นใหญ่ประกบกันเป็นอ่างสี่เหลี่ยม  มีบ่อสร้างด้วยหินรอบๆ  มัสยิด  3  บ่อ  เป็นบ่อ 6 เหลี่ยมหนึ่งบ่อและบ่อกลมอีกสองบ่อ ปัจจุบันสุเหร่าบางปูแห่งนี้ถูกรื้อและเคลื่อนย้ายจากที่เดิมไปทางทิศใต้นิดหน่อยและถูกยกให้สูงขึ้น  ต่อเติมเป็นสองชั้น  เพื่อเป็นที่สอนศาสนาฟัรดูอีนให้แก่เด็กๆ ในหมู่บ้าน (ตาดีกา) คงเหลือแต่อาคารหลักบางส่วน  สมบัติล้ำค่าอันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมและศาสนา  โบราณสถานและโบราณวัตถุอันเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์การตั้งถิ่นฐานและความเจริญรุ่งเรืองของบรรพบุรุษชุมชนบาวบางปูในอดีตได้สูญหายไป  คงเหลือแต่ความทรงจำของผู้เฒ่าผู้แก่ที่เคยคลุกคลีและใช้สุเหร่าแห่งนี้ในการประกอบศาสนกิจต่างๆ  อย่างเช่น ละหมาดฟัรดูห้าเวลา  ละหมาดญุมอัต  ละหมาดตะรอวีหฺ  ละศีลอด  อิอฺติกาฟ  กียาม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลคาดว่าจะได้รับและตัวชี้วัด ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ 1.สื่อมวลชน, แกนนำชุมชนบางปู, กลุ่มเยาวชน, ผู้ประกอบการเรือ ได้รับความรู้ความเข้าใจ ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างกัน 2.สื่อมวลชน, แกนนำชุมชนบางปู, กลุ่มเยาวชน,  ผู้ประกอบการเรือ ได้รับความรู้ความเข้าใจในเรื่องป่าชายเลน และประวัติศาสตร์ชุมชนบางปูมากยิ่งขึ้น
3.สื่อมวลชนได้นำเรื่องราวในเวทีแลกเปลี่ยนฯ ไปนำเสนอต่อ ผ่านรายการวิทยุ  และผ่านโซเซียลมีเดีย
          4.ทำให้ชุมชนเห็นความสำคัญของการท่องเที่ยวชุมชนเชิงนิเวศ การอนุรักษ์ทรัพยากรในพื้นที่         5.  เกิดความร่วมมือ เกิดความสามัคคี ทำงานร่วมกันอย่างแข็งขันและเป็นเอกภาพ

ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ สื่อมวลชนได้นำเรื่องราวในเวทีไปนำเสนอผ่าน รายการวิทยุ และ Facebook live ดังนี้
1.รายการวิทยุร่วมแรงร่วมใจชายแดนใต้ ออกอากาศทางสถานีวิทยุ ม.อ.ปัตตานี เวลา 15.00. - 17.00 น. โดย คุณเสาวณีย์ ดาโอ๊ะ และ คุณพัชรา ยิ่งดำนุ่น
2.รายการ อสมท.เพื่อชุมชน ออกอากาศทางสถานีวิทยุ อสมท. เวลา 13.10 – 14.00 น. โดย คุณญารัชนี คงจันทร์ 3.รายการวิทยุเพื่อชุมชน ออกอากศทางสถานีวิทยุ ม.อ.ปัตตานี วันเสาร์และอาทิตย์ เวลา 19.30 – 20.00 น. โดยดีเจซูเฮ็ง
4.รายการ Sinarpetang คุยสบายๆ ยามเย็น  ออกอากาศทางสถานีวิทยุ อสมท. วันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 16.00-17.00 น. จัดโดยดีเจซูเฮ็ง
5.รายการเสียงวานีตา ออกอากาศทางสถานีวิทยุ ม.อ.ปัตตานี วันพุธ-พฤหัสบดี เวลา 19.30-20.00 น.จัดโดย คุณยะห์ อาลี ,  คุณหายาตี บูสะมัน ,  คุณวาซินีย์ แวโต 6.คุณยะห์ อาลี Live สด เวทีแลกเปลี่ยนกับสื่อมวลชน ทาง Facebook Live ช่วงที่ ดร.สว่าง ทองไพ บรรยายพิเศษ
7.คุณญารัชนี คงจันทร์ Live สด เวทีแลกเปลี่ยนกับสื่อมวลชน ทาง Facebook Live บรรยากาศในเวที และสัมภาษณ์ผู้เข้าร่วมงาน


circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 40 คน จากที่ตั้งไว้ 40 คน
ประกอบด้วย

สื่อมวลชน 15 คน จากชุมชน 19 คน คณะทำงาน 6 คน