คนสร้างสุข

พัฒนาระบบและกลไกอาสาสมัครชายแดนภาคใต้เพื่อเสริมสร้างสันติภาพโดยการมีส่วนร่วมของพื้นที่

รวบรวมและพัฒนาเครือข่ายอาสาสมัครในพื้นที24 กรกฎาคม 2561
24
กรกฎาคม 2561รายงานจากพื้นที่ โดย ศูนย์อาสาสร้างสุข
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

-ประชุมวางแผนกำหนดกิจกรรมต่างๆ - แบ่งบทบาทหน้าที่รับผิดชอบ - ประสานกลุ่มเป้าหมาย - จัดประชุมร่วมกับองค์กรเครือข่ายเพื่อกำหนดกลไกในการทำงานร่วมกัน - เผยแพร่ข่าวสาร ติดตามและสนับสนุนองค์กรเครือข่าย

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

การประชุมครั้งนี้เป็นการรวมตัวของกลุ่มองค์กรด้านงานอาสาสมัครที่ทำงานด้านการเยียวยาและสร้างความสมานฉัน ท์ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้มาช่วยกันออกแบบและเติมส่วนที่ขาดในพื้นที่ โดยองค์กรผู้เข้าร่วม 20 องค์กร จำนวน 53 คน (จากเดิม มีองค์กรยืนยันเข้าร่วมจำนวน 39 องค์กร แต่ในช่วงวันดังกล่าวเกิดฝนตกหนัก น้ำท่วมบางพื้นที่ ทำให้หลายองค์กรยกเลิกการเข้าร่วมประชุม) โดยโครงการได้ชวนเครือข่ายแลกเปลี่ยนแนวทางการดำเนินงาน ปัญหา และความต้องการการสนับสนุนเพื่อให้สามารถทำงานได้ดีขึ้นในอนาคต สรุปผลจากการประชุม ดังนี้ 1. รู้จักภาคีอาสาสมัคร เป้าหมายด้านงานอาสาสมัครของแต่ละองค์กร - กลุ่มสตรีจิตอาสา > ทำตัวเองให้เป็นประโยชน์มากที่สุดเพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน คอยประสานงานช่วยเหลือคนที่ต้องการความช่วยเหลือไปยังหน่วยงานภาครัฐ - มูลนิธิเพื่อการเยียวยาและสร้างความสมานฉันท์ชายแดนใต้ (มยส.) >

ทำกิจกรรมกับเยาวชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้โดยแกนนำเยาวชนในพื้นที่มาร่วมเข้าค่าย แล้วมอบทุนสนับสนุนให้น้องๆ ทำกิจกรรมในพื้นที่ของตัวเอง เป็นโครงการที่เปิดทำกิจกรรมเป็นพื้นที่สร้างสรรค์ลิขสิทธิ์ในพื้นที่ 3จังหวัดชายแดนภาคใต้ - บ้านพิราบขาวชายแดนใต้ > ทำงานกับเด็กนอกระบบ คณะทำงานจะต้องเรียนรู้และค้นหา การเสริมพลังใจให้เพื่อนๆ ทุกคนได้เรียนรู้ระหว่างบ้าน เมื่อพบปัญหาทางเราก็จะลงไปเยี่ยมเยียนให้กำลังใจ และเราก็จะมีกิจกรรม ความหวังเล็กๆ ของพิราบขาวทำให้คนคนหนึ่งลุกขึ้นให้ได้จากความยากลำบากและจากที่เขาขาดโอกาสเพื่อให้เขาไปช่วยเหลือคนอื่น ต่อเมื่อเขาเข้มแข็งขึ้น สร้างฐานข้อมูลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแล้วลงไปแก้ปัญหากับชุมชนและการสร้างเครือข่ายในการทำงานสร้างพื้นที่ใน 4 จังหวัดระดับชุมชนและเด็กเยาวชนในพื้นที่ - กลุ่มอามีน > มีการเสริมการทำงานส่วนพลังของเยาวชน การผลักดันเยาวชนเสริมศักยภาพให้เข้าสู่ระบบ - สมาคมศิษย์เก่าบัณฑิตอาสา > ทำงานด้านการจุดประกายในพื้นที่ผ่านมาสร้างสุขภาวะชุมชนด้วยตัวของชุมชนเองและพยายามจะสร้างกลไกในพื้นที่ใ ห้เด็กและเยาวชนมีส่วนร่วม การเสริมพลังทำงานด้านชุมชน คาดหวังเรื่องเกี่ยวกับเด็กและเยาวชนการสร้างสภาพแวดล้อมในพื้นที่ให้เอื้อต่อการทำงาน - ธนาคารใจอาสายะลา > ผลิตสื่อและทำงานเพื่อชุมชนการสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้เด็ก - กลุ่มสันติใจอาสา ม.อ. > เน้นการขับเคลื่อนกิจกรรมและกระบวนการสันติภาพองค์กรเราจะใช้รถไฟแล้วไปแลกเปลี่ยนระหว่างพื้นที่อื่นให้เขาใช้ บริบทของคุณที่บ้านเราเช่นการจัดแสดงวัฒนธรรมหมู่บ้านเราให้กับพื้นที่อื่นได้รู้จักกับชุมชน - เครือข่ายคนดี > สร้างความเข้าใจให้กับคนในพื้นที่เสริมพลัง - ธนาคารใจอาสานราธิวาส > ประโยชน์ยาคนในชุมชนให้ความรู้กับเด็กการเป็นอยู่ในปัจจุบันและชี้แนวทางในการอยู่ในสังคม หรือเป็นพี่เลี้ยงให้น้องๆ - สมาคมสร้างสรรค์เยาวชนชายแดนใต้ > การสนับสนุนการศึกษา สานต่อการศึกษาความคิดการเป็นอยู่ในสังคม เราจะดึงเด็กจากสายอาชีพเข้าร่วมกิจกรรมกับเราด้วย และยังสนับสนุนเด็กที่ขาดโอกาสทางด้านการศึกษาเพื่อให้มีคุณภาพที่ดีขึ้นและมีความคิดที่เปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น - กลุ่ม beach for life > การดูแลสภาพชายหาด อันดับแรกเราสร้างความรู้ให้เด็กๆ ในพื้นที่ให้เกิดความรักกับชายหาดของตัวเองและการรักษาสถานนี้ยังไง ความหวังอยู่ในเขตสงขลา เราพยายามจะขยายมาปัตตานี หวังว่ามีการนำเสนอเพื่อการเพิ่มขึ้นมากกว่านี้ - กลุ่มอนุรักษ์โลมาอิรวดีบ้านแหลม และ hope And Life > ยากให้คนในประเทศไทยมาช่วยกันอนุรักษ์และรักษาให้คงอยู่ต่อไป มีกิจกรรมดำน้ำดูวาฬบรูด้า ฉลามวาฬ และโลมาอิรวดี เอาโลมาเป็นเป้าหมายในการทำงานแต่จะเน้นการทำงานอย่างอื่นได้ด้วย - มูลนิธิคีนัน > ทำงานด้านเด็กและเยาวชนเป็นการจุดประกายให้เด็กมีกิจกรรมและมีกำลังใจในการทำงานในชุมชนของตัวเอง

การเพิ่มทักษะให้กับเด็กเยาวชนในการทำงานในชุมชนของตนเองเช่นทำแผนที่เดินดิน Timeline กิจกรรมสันทนาการที่เราจะเสริมให้กับเด็กๆ - มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก > การขับเคลื่อนพื้นที่สร้างสรรค์งานอาสาสมัครประสานงานทุกภาคส่วนในการขับเคลื่อนงานเกี่ยวกับเด็กเราจะหาวิธีแล ะพื้นที่ที่มีความเด่นด้านการทำงานมาบรรยายให้ความรู้และให้กำลังใจ - มูลนิธิฮิลาลอะมัร > ทำงานด้านการช่วยเหลืออุบัติเหตุทั่วไปในพื้นที่ - เยาวชนตำบลป่าไร่ > สร้างเยาวชนในพื้นที่ ตอนนี้มีมวลชนประมาณ 20 คนที่ได้จัดตั้งขึ้นมา -องค์กรบ้านพิราบขาวชายแดนใต้ > โดยจะเน้นการสร้างงานสร้างอาชีพให้กับเยาวชน เช่น งานหัตถกรรม คาดหวังอยากให้ชุมชนมีจิตอาสาเพื่อเพื่อชุมชนมีรักบ้านเกิด เราต้องมีการปลูกฝังจิตสำนึกเพื่อการพัฒนาของพวกเราเองและมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ที่ต้องการมีคนที่ดูแลรมเยาวชนมี งานมีอาชีพแล้วจะไปตอบโจทย์ในเรื่องคุณภาพชีวิตสุดท้าย - บ้านเด็กกำพร้าและผู้ด้อยโอกาสตากใบ > เป็นคนดูแลศูนย์เด็กกำพร้าอยากจะสร้างมนุษย์อาสาแล้วกระจายไปช่วยเหลือคนอื่นต่อกันไป - โครงการบัณฑิตอาสา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ > คาดหวังให้คนรุ่นใหม่เตรียมความพร้อมก่อนทำงานจริง การใช้เครื่องมือต่างๆ ในการทำงานในชุมชน 1 ปีเพื่อแก้ไขปัญหาชุมชนและเชื่อมงานกิจกรรมกับมหาวิทยาลัยการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ ทำให้เราได้อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข - โรงเรียนใต้ร่มไม้ > พาเด็กๆ ทำกิจกรรมจัดค่ายเยาวชนเด็กโดยจัดกิจกรรมที่หลากหลายเชิงการศึกษาเรียนเพื่อตามความต้องการของตัวเอง 2. ผลการสะท้อนสถานการณ์ เกี่ยวกับปัญหา อุปสรรค และข้อจำกัดที่มีร่วมกันของเครือข่าย และแนวทางในการหาทางออกร่วมกัน ได้แก่

2.1การเข้าถึงแหล่งทุน หรือการระดมทุน โดยหน่วยงานทั้งหมดยังขาดความมั่นคงทางการเงิน

ส่วนมากดำเนินงานภายใต้การขอรับการสนับสนุนงบประมาณก้อนเล็ก ๆ หรือทำโครงการย่อยภายใต้การสนับสนุนจากองค์กรในพื้นที่ ทำให้การทำงานขาดความยั่งยืน ไม่สามารถทำตามแนวทางที่องค์กรวางไว้ได้ ต้องผันแปรไปตามเป้าหมายของแหล่งทุน ทางออกร่วมกัน : ได้ร่วมกันแสวงหาทางออกเพื่อแก้ปัญหาเกี่ยวกับงบประมาณดำเนินงาน ดังนี้ 1. องค์กรที่มีเป้าหมายการดำเนินงานใกล้เคียงกันให้พัฒนาข้อเสนอโครงการขนาดใหญ่ร่วมกัน

แล้วจัดทำข้อเสนอโครงการไปยังหน่วยงานเอกชนขนาดใหญ่ หรือองค์กรภาครัฐเพื่อขอรับการสนับสนุนดำเนินกิจกรรมระยะยาวร่วมกัน (หลายองค์กร หนึ่งเป้าหมายร่วม) 2. ระดมทุนผ่าน crowd funding หรือรับบริจาคจากมวลชนเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมจากคนทั้งประเทศ โดยการพัฒนาโครงการที่น่าสนใจสำหรับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ แล้วขอรับบริจาคผ่านเวบระดมทุน เช่น เทใจดอทคอม เพื่อให้ประชาชนร่วมลงขันบริจาค ซึ่งการระดมทุนในลักษณะนี้จะต้องใช้เวลาในการขอรับบริจาคราว 3-4 เดือน แต่ทำให้ได้งบประมาณเพื่อทำกิจกรรมเฉพาะด้าน และมีความยืดหยุ่นด้านการใช้เงินมากขึ้น สามารถทำกิจกรรมตามเป้าหมายที่เรากำหนดได้เต็มที่ 2.2 เครือข่ายขาดทักษะ ช่องทาง

และสื่อในการเผยแพร่ข่าวสารการดำเนินงานของตนเองให้มีประสิทธิภาพ เช่น ไม่สามารถเขียนรายงานได้อย่างน่าสนใจ ไม่สามารถเชียนเรื่องเล่าเพื่อจูงใจสาธารณะได้ ทำให้ไม่สามารถบอกเล่าการทำงานของตนเองไปยังกลุ่มเป้าหมายได้

ทางออกร่วมกัน :

ศูนย์อาสาสร้างสุขจะรับหน้าที่ในการรวบรวมการดำเนินงานที่น่าสนใจของเครือข่าย นำไปเผยแพร่ผ่านสื่อสาธารณะ สื่อมวลชน สืิ่อโซเชียล และสื่อของศูนย์อาสาสร้างสุข ได้แก่ จดหมายข่าวอาสาสร้างสุข volunteer guide map เวบอาสาสร้างสุข โซเชียลมีเดีย พร้อมทั้งวางแผนพัฒนาทักษะในการสื่อสารการทำงานของเครือข่าย และติดตามการนำทักษะไปใช้งานจริง ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ 1. เกิดเครือข่ายอาสาสมัครด้านการสร้าง 2. สันติภาพในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้จำนวน 53 คน 20 องค์กร

  1. เกิดช่องทางในการสื่อสารการดำเนินงานของเครือข่าย อย่างน้อย 4 ช่องทาง ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ
  2. งานอาสาสมัครด้านการสร้างสันติภาพในพื้นที่ที่มีแผนการทำงานร่วมกันอย่างชัดเจน
  3. มีผู้ได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับงานอาสาสมัครผ่านสื่อใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น
  4. เกิดแนวทางและข้อตกลงในการทำงานร่วมกัน ได้แก่ a. การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารการดำเนินงานขององค์กรผ่านช่องทางโซเชียลออนไลน์ (ไลน์กลุ่ม)

พร้อมทั้งหารือแนวทางการทำงาน

b.

เกิดการแลกเปลี่ยน/ส่งต่อข้อมูลด้านงานอาสาสมัครเพื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรมที่ต้องการให้อาสาสมัครจากภายนอกเ ข้าไปมีส่วนร่วมด้านการเยียวยาและสมานฉันท์

c. นำเสนอข้อมูลองค์กรเครือข่ายผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น เว็บไซต์ volunteer guide map

จดหมายข่าว

d. ร่วมกันหาแนวทางการระดมทุนหรือแสวงหาแหล่งทุนร่วมกัน e. ระดมทรัพยากรระหว่างองค์กรเครือข่าย เช่น ทุน กำลังคน สื่อ

เพื่อจัดกิจกรรมด้านการเยียวยาและสร้างความสมานฉันท์ในพื้นที่

f. กำหนดให้จัดประชุมพบปะเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลการดำเนินงานขององค์กรทุก 6 เดือน

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 53 คน จากที่ตั้งไว้ 70 คน
ประกอบด้วย

กลุ่มคนองค์กรเครือข่ายงานอาสาสมัคร และองค์กรที่ทำงานด้านอาสาสมัคร ในพื้นที่ชายแดน พื้นที่ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสงขลา จำนวน 70 คน