คนสร้างสุข

พัฒนาระบบและกลไกอาสาสมัครชายแดนภาคใต้เพื่อเสริมสร้างสันติภาพโดยการมีส่วนร่วมของพื้นที่

การอบรม "ค่ายพัฒนาทักษะด้านความปลอดภัยแก่เยาวชน"24 กรกฎาคม 2561
24
กรกฎาคม 2561รายงานจากพื้นที่ โดย ศูนย์อาสาสร้างสุข
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วิธีดำเนินการ/กิจกรรมย่อย

 ประสานงานองค์กรเครือข่าย  ประสานงานวิทยากรแต่ละด้าน  ประชาสัมพันธ์ไปยังเครือข่ายเพื่อคัดเลือกเยาวชนเข้าร่วมรับการอบรม  จัดอบรมค่ายเสริมทักษะด้านความปลอดภัยแก่เยาวชน โดยมีทักษะที่สำคัญ ได้แก่ 1. อบรม “ทฤษฎีทักษะการว่ายน้ำและการช่วยเหลือคนจมน้ำ” 2. บรรยายและฝึกปฏิบัติ “วิธีปฏิบัติการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน หรือ CPR” 3. อบรมเสริมทักษะ "การรับมือน้ำท่วมสำหรับเยาวชน” 4. อบรม “การใช้งานโซเชียลมีเดียอย่างปลอดภัย และฝึกตั้งค่าความปลอดภัยด้วยตนเอง” 5. เรียนรู้แนวทางการเอาตัวรอดในภาวะวิกฤต  ประเมินผลการจัดอบรม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลการดำเนินงาน 1. อบรม “ทฤษฎีทักษะการว่ายน้ำและการช่วยเหลือคนจมน้ำ " โดย วิทยากรจากสมาคมศิษย์เก่าบัณฑิตอาสามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ก่อนที่จะให้เยาวชนได้ปฏิบัติจริงวิทยากรให้ความรู้ด้านการว่ายน้ำและการช่วยเหลือคนจมน้ำโดยให้เยาวชนเล่าประส บการณ์ที่เคยจมน้ำว่าแต่ละคนเคยจมแบบไหนบ้าง มีการสะท้อนที่น่าสนใจจากเยาวชน ดังนี้ - น้องอาอีซะ เคยลงเล่นน้ำทะเล โดนน้ำพัดห่างจากฝั่งลงทะเล พยายามเรียกแม่ให้ลงไปช่วยแต่แม่ก็ว่ายน้ำไม่เป็น แต่โชคดีที่มีนักท่องเที่ยวลงไปช่วยได้ทัน ตอนนั้นสำลักน้ำไปพอสมควรก่อนที่จะถึงมือคนช่วย และมาครั้งนี้จึง็อยากฝึกให้ตัวเองสามารถลอยตัวในน้ำได้ก็ดีใจแล้ว - น้องยา ไปเที่ยวทะเลกับญาติ แล้วลงเล่นน้ำทะเลกันประมาณ5 คน ทุกคนว่ายน้ำไม่เป็น ตอนแรกเล่นอยู่ที่ตื้น แต่โดนน้ำทะเลพัดพาไป แล้วเป็นน้ำวนด้วย

ตอนนั้นเพื่อนที่โดนน้ำพัดออกไปด้วยกันพยายามเอาตัวรอดโดยกดหัวเราเองทำให้ตัวเองจมอยู่ใต้น้ำ สุดท้ายช่วยได้ทันทั้งหมดโดยดึงตัวต่อๆ กัน จนปลอดภัยทุกคน สรุปเนื้อหาโดยย่อจากการอบรม 1. การว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด บางครั้ง คนจมน้ำปลอดภัยแต่คนช่วยไม่รอด ส่วนใหญ่คนช่วยไม่ถูกวิธี เพราะไม่มีทักษะการช่วยเหลือคนจมน้ำที่ถูกต้อง เพราะคนจมน้ำเฉลี่ยแล้ว 4 คนต่อวัน มากกว่าอุบัติเหตุทางบกจากทั่วประเทศ จังหวัดที่เด็กจมน้ำภาคใต้คือสงขลาที่มีผู้ประสบภัยมากสุด ช่วงที่เด็กเกิดเหตุมากสุดคือหน้าร้อน ส่วนใหญ่เกิดจากเพื่อนช่วยเพื่อน ดังนั้น เราต้องมีความรู้ก่อนที่จะไปช่วยเหลือคนอื่นได้ เพื่อให้เรามีความรู้สภาพแวดล้อมต่างๆ วิธีลงน้ำอย่างถูกวิธีสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเราไม่รู้ว่าสภาพน้ำตรงนั้นมีอะไรบ้าง เราควรเอาเท้าลงค่อยๆ หย่อนลงไปเรื่อยๆ และต้องระมัดระวังด้วย และมือต้องเกาะขอบให้แน่น การทำความคุ้นชินกับน้ำ ร่างกายรู้ว่าแรงต้านประมาณไหน ค่อย ๆ เดินแหวกน้ำ การหายใจใต้น้ำ คนที่กลัวน้ำไม่สามารถหายใจได้เพราะกังวลไม่มีสติ การฝึกตัวเองหายในน้ำเพื่อฝึกให้คุ้นชินกับน้ำเล่นกับน้ำลงน้ำ การหายใจในน้ำสูดลมหายใจเข้าไปในปอดแล้วค่อยๆปล่อยออกมาในน้ำ พื้นฐานของการช่วย ชีวิตโดยใช้ท่าผีจีน การลอยโดยใช้ท่าปลาดาวสามารถลอยได้ทั้งวัน ท่านอนหงาย ท่าแม่ชีลอยน้ำ การใช้ขวดน้ำช่วยเหลือคนอื่น สามารถช่วยชีวิตคนอื่นได้โดยถือขวดแนบชิดกับตัวเอง สำหรับคนที่เคยผ่านการอบรมมาก่อนสามารถใช้ขวดเล็กๆ เอาตัวรอดได้เพราะรู้วิธีการใช้ที่ถูกต้อง การเตะเท้าคว่ำ ใช้มือนำประสานมือแล้วกระพือน้ำทำให้ลอยตัวได้เร็ว การเตะเท้าหงายใช้ขาตีน้ำลอยตัวไป ข้อแนะเพื่อความปลอดภัย ไม่ว่ายน้ำคนเดียว ว่ายน้ำขนานฝั่ง ไม่เล่นน้ำเวลากลางคืนร่างกายเย็นอาจเกิดอาการตะคริว (กล้ามเนื้อเกร็ง) ไม่กระโดกลงน้ำทันที ไม่ดื่มสุราขณะเล่นน้ำ พักผ่อนไม่เต็มที่ทำให้จมน้ำได้ ไม่ควรใส่กางเกงยีนส์เล่นน้ำ เด็กเล็กขณะว่ายน้ำต้องมีคนดูแลและต้องใส่เสื้อชูชีพตลอด การช่วยชีวิตคนตกน้ำ โดยหลักการ “ตะโกน โยน ยื่น” วิธีการ ตะโกน ว่า “ช่วยด้วยๆ มีคนตกน้ำ โทรเรียก 1169” วิธีการโยน ต้องมีการวางเท้านำ เท้าตาม โดยใช้ขวดหรือแกลอนใช้เชือกผูกมือโยนออกไปจนกว่าคนจมน้ำจะได้เชือกที่เราโยน ให้ใกล้ตัวคนที่กำลังจะจมน้ำให้มากที่สุด วิธีการยื่น ต้องมีเท้านำ เท้าตาม ยื่นโดยใช้ไม้ยาวสะกิดตัวผู้ที่กำลังจะจมน้ำให้รู้สึกตัว ฝึกปฏิบัติการว่ายน้ำในสระจริง และฝึกปฏิบัติการช่วยเหลือคนจมน้ำ ผลการประเมินผลการอบรม โดยการสะท้อนความรู้สึก ความคิดเห็น - เมื่ออบรมแล้ว ช่วยให้ตนเองสามารถลอยตัวได้ ไม่ว่าจะคว่ำหรือหงาย - ได้รู้ว่าวิธีการช่วยเหลือคนจมน้ำ ได้รู้ทักษะใหม่ๆ สามารถไปช่วยคนที่จมน้ำได้ - ไปเผยแพร่และไปช่วยเหลือคน - ภูมิใจที่ได้เจอเพื่อนๆ ทุกคนและได้ฝึกทักษะการลอยตัวและการว่ายน้ำช่วยเหลือคนจมน้ำ - ได้ความรู้ใหม่ๆ มากมาย เช่น การช่วยเหลือทางน้ำ - สนุกมากได้รู้ทักษะการว่ายน้ำจะกลับไปสอนเด็กๆ ที่บ้าน - ดีใจที่ได้มีโอกาสมาเข้าร่วมครั้งนี้ ความรู้ไม่ได้มีเฉพาะในห้องเรียน มาเรียนวันนี้พร้อมปฏิบัติเลย แล้วจะนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้ - ดีใจที่ได้เรียนรู้ทักษะใหม่ๆ เช่น การว่ายน้ำลอยตัว - ภูมิใจที่ได้มาศึกษาเกี่ยวกับทักษะการว่ายน้ำและจะนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน - ได้พบเพื่อนใหม่ๆ ได้ทำในสิ่งที่ไม่เคยทำเช่นการลอยตัวในน้ำ - ดีใจที่ได้เข้าร่วมค่ายครั้งนี้ ถ้ามีโอกาสพบเจอคนที่จมน้ำก็จะเอาความรู้ที่ได้จากวันนี้ไปช่วยเหลือ - วันนี้เราได้เรียนทั้งทฤษฎีและภาคปฏิบัติและนำไปใช้ได้ และจะนำไปสอนน้องๆ - เดิมทีไม่กล้าที่จะลงเล่นน้ำ ดีใจที่ได้มาค่าย ทำให้กล้าเล่นน้ำอีกครั้ง และจะกลับไปฝึกใช้เก่งขึ้น - มีประสบการณ์ในการว่ายน้ำมากขึ้น - มีสติได้รู้ว่าคนจมน้ำควรทำอะไรก่อน - ได้เรียนรู้ทฤษฎี การปฏิบัติ และสามารถไปช่วยเหลือคนอื่นได้

สรุปผลการประเมินทักษะหลังการอบรมว่ายน้ำ ดังนี้  ก่อนการอบรม มีเยาวชนที่ว่ายน้ำได้ จำนวนร้อยละ 30 เกือบทั้งหมดเป็นผู้ชาย  ก่อนการอบรม เยาวชนทั้งหมดไม่มีทักษะการลอยตัว การว่ายน้ำท่าลูกหมา และการช่วยเหลือคนจมน้ำอย่างถูกต้อง  หลังการอบรม เยาวชนเริ่มว่ายน้ำได้ในระยะสั้น (จ้วงมืิอ เตะขา หายใจ) เพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 20  หลังการอบรม เยาวชนจำนวนร้อยละ 90 สามารถลอยตัวได้  หลังการอบรม เยาวชนร้อยละ 40 สามารถว่ายน้ำท่าลูกหมาได้ในระยะสั้น  หลังการอบรม เยาวชนร้อยละ 100 ผ่านการประเมินผลการช่วยเหลือคนตกน้ำได้อย่างถูกต้อง 2. อบรมเสริมทักษะ การรับมือน้ำท่วมสำหรับเยาวชน” สรุปเนื้อหาโดยย่อจากการอบรมก่อนน้ำท่วม วิธีการป้องกันเวลาน้ำเข้าท่วม จมน้ำ เพื่อไม่ให้น้ำเข้าบ้านมีหลากหลายวิธีเช่นใส่น้ำในถุงพลาสติกแล้ววางกั้นประตูไว้ สำหรับระดับน้ำที่ไม่สูงเกินไป ถ้าเรารู้ก่อนที่น้ำจะเข้าเราก็สามารถเตรียม การเตรียมรับมือน้ำท่วม เช่นไฟฉายอาหารแห้งน้ำปลากระป๋องเตรียมไว้ก่อน ควรเตรียมอาหารที่ทำง่ายๆ ถุงพลาสติกถุงดำไว้ใส่ขยะและไว้ขับถ่าย -ระหว่างน้ำท่วม ติดตามข้อมูลข่าวสารตามสื่อต่างๆ เช่น เว็บไซต์ hatyaicityclimate.orgภาพถ่ายดาวเทียม สิ่งที่ต้องระวัง อุปกรณ์ในบ้าน สวิตช์ไฟ น้ำเชี่ยว การเตรียมน้ำดื่มเพื่อให้เราได้กินช่วงที่น้ำท่วมถ้าไม่มีน้ำดื่มหาน้ำที่สะอาดใส่ขวดแล้วตากแดด เอาน้ำใส่ขวด 3 ใน 4 ขวดเขย่าให้ฟองขึ้นหลังจากนั้นตากแดดทำไว้หลายๆ ขวดไว้ดื่มตอนไม่มีน้ำ การตากแดดสามารถฆ่าเชื้อได้ดี และสิ่งที่สามารถทำให้เราเอาตัวรอดได้ช่วงน้ำท่วม คือเสื้อชูชีพแต่ส่วนใหญ่ไม่มีตามบ้านทั่วไป เพราะฉะนั้นเราสามารถทำเสื้อชูชีพฉุกเฉินได้โดยการใช้ขวดน้ำ เสื้อ 2 ตัว แล้วตัดแขนเสื้อออกเอาขวดใส่ในเสื้อ แล้วเย็บติดด้วยกัน ไม่ให้ขวดหลุดออกไป ช่วงน้ำท่วมเท้าเราส่วนใหญ่อยู่ในน้ำทำให้เท้าเปื่อย น้ำกัดเท้า เราสามารถทำร้องเท้าบูทเองได้ โดยใช้ถุงดำสวมตั้งแต่เท้าถึงเข่า รัดด้วยเชือกหรือเทปกาว แล้วใส่รองเท้าผ้าใบเพื่อให้แน่น แล้วก็เดินไปแบบไม่ต้องกลัวเท้าเปื่อยช่วงน้ำท่วม - หลังน้ำท่วม ต้องใส่ใจเรื่องโรคที่มากับน้ำท่วม เช่น โรคฉี่หนู โรคเครียด เชคสวิทช์ไฟเพื่่อป้องกันไฟรั่ว 3. บรรยายและฝึกปฏิบัติ “ วิธีปฏิบัติการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานสำหรับประชาชนทั่วไป หรือ CPR” บรรยายเรื่องการช่วยชีวิตคนขณะที่หัวใจหยุดเต้นเรียกว่า CPR คือช่วยให้ปอดและหัวใจกลับมาทำงานอีกครั้งหนึ่ง หลักการเรียนรู้การปั๊มหัวใจเรียกว่าห่วงโซ่แห่งการรอดชีวิตมี อยู่ 5ห่วง 1. โทรศัพท์ขอความช่วยเหลือ 2. การปั๊มหัวใจอย่างมีประสิทธิภาพทันที 3. การกระตุ้นหัวใจด้วยเครื่อง AED 4. การช่วยเหลือขั้นพื้นฐานเรียกรถฉุกเฉิน 5.การรักษาต่อเนื่องขั้นสูงภายในโรงพยาบาลภายหลัง คำสำคัญของ CPR คือ “ปลุก โทร ปั้ม แปะ” รู้ได้อย่างไรว่าหมดสติ ข้อสังเกตคือหมดสติไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจ หรือหายใจดังเฮือก เรียกไม่ตอบสนอง การเตรียมความพร้อมตั้งสติของเราให้ดีจัดท่านอนหงายบนพื้นแข็ง “ปลุก” สังเกตการหายใจตะโกนขอความช่วยเหลือทำให้เร็วภายใน 10 วินาที “ปั้ม” หน้าอก ตำแหน่งที่กดครึ่งล่างของกระดูกหน้าอก กดลึก 2 นิ้ว 5 เซนติเมตร อัตราเร็ว 100-

120 ครั้งต่อนาที เปลี่ยนกดหน้าอกทุก 2 นาที ให้เร็วน้อยกว่า 10 วินาที การสาธิตการปั๊มหัวใจ โดยจะให้เยาวชนทำหรือปฏิบัติทุกคนเพื่อให้รู้ตำแหน่งที่ต้องกดและแรงที่ต้องใช้ในการกดลงให้สม่ำเสมอ กิจกรรมนี้ทำให้เด็กที่เข้าร่วมมีความอยากรู้อยากลองและเป็นประโยชน์กับเด็กมากและสามารถไปถ่ายทอดและไปบอ กกับคนในบ้านหรือเพื่อนๆได้ เด็กแต่ละคนมีความสนใจที่อยากเรียนรู้การ CPR และตั้งใจ แล้วทุกคนก็ปฏิบัติได้ดี โดยมีวิทยากรให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด 4. อบรม “การใช้งานโซเชียลมีเดียอย่างปลอดภัย และฝึกตั้งค่าความปลอดภัยด้วยตนเอง” โดย ผศ. ดร. ฤทัยชนนี สิทธิชัย จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี การใช้งาน Social Media อย่างปลอดภัยและฝึกตั้งค่าความปลอดภัยด้วยตัวเอง เป็นกิจกรรมเกี่ยวกับทักษะขั้นพื้นฐานเรื่องการสืบค้นข้อมูลต่างๆ การใช้สื่อสังคมออนไลน์ เช่น ไลน์ การบล็อกการแจ้งเตือน การสร้างกลุ่มไลน์ การใช้ Facebook ตั้งค่าเป็นส่วนตัวการล็อคอินตัวอย่างไรกรณีลืม logout การสร้างเพจ การเรียนรู้การใช้โซเชียลให้ถูกต้องการรู้ทันพายุออนไลน์ ทำให้เด็กได้ตระหนักความสำคัญในการใช้โทรศัพท์เพื่อให้เกิดความปลอดภัยมากขึ้น และสิ่งที่เด็กได้เรียนรู้วันนี้คือการได้รู้ถึงภัยคุกคามที่อยู่ใกล้ตัวโดยไม่รู้ว่ากำลังตกอยู่ในอันตรายซึ่งง่ายมากที่จะเกิดเหตุ การณ์แบบนี้ เช่น การใช้ทำอนาจาร คุกคามทางเพศแบบออนไลน์ การนำความลับ รูปภาพลับของเพื่อนมาเปิดเผย การสร้างตัวตนของผู้อื่นไปใช้หลอกลวง เป็นต้น จะเห็นได้ว่าภัยต่างๆ เหล่านี้ง่ายมากที่จะทำให้เราหลงไปอย่างไม่รู้ตัว เราควรดูแลตัวเองอย่างไรเพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงและรู้เท่าทันโลกออนไลน์ เช่น อย่าคุยกับคนแปลกหน้าหรือคุยกับคนที่ไม่รู้จัก ถ้าจะนัดเจอไม่ควรไปคนเดียว เราต้องมีสติใช้ความระมัดระวังในการคลิกลิงค์ต่างๆเป็นที่อยู่ของเว็บไซต์โดยตรง วิจารณญาณอย่างสูงในการรับข่าวสาร สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการใช้โซเชียลวันนี้ ทำให้เด็กรู้ว่าการใช้โซเชียลอย่างถูกต้องต้องทำอย่างไรบ้าง 5. เรียนรู้แนวทางการเอาตัวรอดในภาวะวิกฤต โดย พ.ต.ท.ประลอง นนท์ณรงค์ รอง ผกก.ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กก.2 บก.สส.จชต. ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มีเหตุการณ์ความสูญเสียมากมายทำให้การใช้ชีวิตประจำวันของเราทุกคนนั้นต้องอยู่ด้ว ยความระมัดระวังอยู่เสมอเพราะไม่รู้ว่าเมื่อไหร่จะเกิดขึ้นกับตัวเองวิธีการเอาตัวรอดเมื่อเกิดเหตุการณ์นั้นสำคัญมาก สิ่งที่ได้เรียนรู้การเอาตัวรอด คือการปฏิบัติตัวเมื่อพบวัตถุต้องสงสัย 1. ห้ามเคลื่อนย้ายของโดยเด็ดขาด 2. ได้แจ้งเจ้าหน้าที่ทันที 3. จดจำลักษณะของวัตถุต้องสงสัยและแจ้งให้เจ้าหน้าที่รับทราบการแจ้งเตือนเมื่ออยู่ในเหตุการณ์ควรแจ้ง 191 แจ้งผ่านสมาร์ทโฟน App “Police i lert you” ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ - เกิดหลักสูตรการจัดอบรมเสริมทักษะด้านความปลอดภัยแก่เด็กในรูปแบบกิจกรรม 2 วัน 1 คืน ประกอบด้วย 4 ทักษะย่อยที่เยาวชนต้องรู้ 1 หลักสูตร - เกิดเครือข่ายวิทยากรอาสาเสริมทักษะด้านความปลอดภัยที่พร้อมจัดอบรมเสริมทักษะแก่เยาวชน โดยเป็นตัวแทนจากหน่วยงานต่างๆ ที่เก่ี่ยวข้อง 1 เครือข่าย - เกิดเครือข่ายอาสาสมัครมีทักษะความรู้ทักษะชีวิตด้านความปลอดภัย ด้านการว่ายน้ำและการช่วยเหลือคนจมน้ำ การรับมือน้ำท่วมสำหรับเยาวชน การปฏิบัติการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน หรือ CPR การใช้งานโซเชียลมีเดียอย่างปลอดภัย และการอบรมเรียนรู้แนวทางการเอาตัวรอดในภาวะวิกกฤติ จำนวน 72 คน - เยาวชนสามารถเป็นแกนนำหรือตัวเชื่อมประสานงานด้านอาสาสมัครช่วยเหลือชุมชน ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ - งานอาสาสมัครด้านทักษะชีวิตด้านความปลอดภัยมีความรู้ความเข้าใจอย่างแท้จริง - เยาวชนมีผู้ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องในด้านด้านการว่ายน้ำและการช่วยเหลือคนจมน้ำ การรับมือน้ำท่วมสำหรับเยาวชน การปฏิบัติการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน หรือ CPR การใช้งานโซเชียลมีเดียอย่างปลอดภัย และการอบรมเรียนรู้แนวทางการเอาตัวรอดในภาวะวิกฤติ

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 70 คน จากที่ตั้งไว้ 70 คน
ประกอบด้วย

กลุ่มเยาวชนในพื้นที่ชายแดน พื้นที่ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสงขลา