อบรมอาสาสมัครสร้างสันติภาพ

กิจกรรม : อบรมอาสาสมัครสร้างสันติภาพ
วันที่ 22/11/2017 - 22/11/2017
งบประมาณที่ตั้งไว้ 26,100.00 บาท
กลุ่มเป้าหมาย 70 คน
รายละเอียดกลุ่มเป้าหมาย เด็กเยาวชนในพื้นที่จังหวัดปัตตานียะลาและนราธิวาสจำนวน 70 คน
รายละเอียดกิจกรรม :
2.ความสำคัญของการเยียวยา
การแนะนำสิทธิการเยียวยากรณีเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบต้องทำหรือต้องไปติดต่อหน่วยงานความช่วยเหลือเยียวยาเ
มื่อคนในครอบครัวหรือในหมู่บ้านประสบเหตุซึ่งมีความสำคัญมากสำหรับผู้ได้รับผลกระทบถ้ามีคนที่รู้เรื่องสิทธิตรงก็ส
ามารถยื่นไปช่วยได้เพราะคนที่เกิดบางคนไม่รู้ต้องไปยื่นรับสิทธิที่ไหนและได้อะไรบ้างที่ควรจะได้
กรณีเสียชีวิตหรือพิการจะได้รับ5แสนบาท ได้รับบาดเจ็บสาหัส บาดเจ็บเล็กน้อย
ทางศอ.บต.จะอัตราการช่วยเหลือเยียวยาตามระดับ
และทายาทของผู้ได้รับผลกระทบสามารถใช้สิทธิค่าเล่าเรียนที่รัฐบาลกำหนดไว้ตั้งแต่อนุบาลจนถึงปริญญาตรี สิ่งต่างๆ
เหล่านี้มีความสำคัญและมีประโยชน์มากสำหรับผู้ได้รับผลกระทบ
เยาวชนที่มาอบรมครั้งนี้ได้เรียนรู้เรื่องสิทธิการเยียวยาซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งเพราะทุกคนไม่เคยรู้มาก่อนเลยว่ามีสิท
ธิต่างๆเมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้นมา ทำให้เยาวชนที่เข้าร่วมได้เรียนรู้ในสิ่งที่ใหม่และเป็นเรื่องใกล้ตัวมากแต่ไม่เคยรู้มาก่อน
ทำให้เยาวชนสนใจในการรับฟังข้อมูลและจะนำความรู้ที่ได้ไปเล่าประสบการณ์ให้คนในชุมชนหรือกลุ่มเพื่อนรับรู้ในสิ่ง
ที่ตัวเองได้รับมา
แลกเปลี่ยนประสบการณ์จากผู้ได้รับผลประทบโดย มาเรียม โสะ
จากที่เคยเป็นแม่บ้านธรรมดาเมื่อเกิดเหตุการณ์ทำให้เรารู้สึกแย่มากแต่ได้รับกำลังใจมากมาจากลูกอยู่เพื่อลูกเมื่อท้อแ
ท้ไม่มีกำลังใจ แต่ตอนนี้ได้ผันตัวเองมาเป็นอาสาสมัครมาดูแลช่วยผู้ได้รับผลกระทบให้ดีขึ้น
จุดเริ่มต้นการช่วยเหลือกับผู้ได้รับผลกระทบเข้าไปให้กำลังใจปลอบใจก่อนแล้วค่อยถามว่าอยากทำอะไรต่อไป
สิ่งที่อยากฝากเมื่อแม่ไม่มีพ่อและต้องเป็นพ่อและแม่ในคนๆเดียว ขออย่างเดียวให้ลูกเป็นเด็กดีที่แม่ขอ
สิ่งที่ลูกเห็นคือแม่เวลาลูกพลาดหรือเกิดเหตุการณ์ต่างๆขอให้นึกถึงแม่
3.กิจกรรม รู้ทันสิทธิของตนเองขั้นพื้นฐาน การปกป้องคุ้มครองเด็ก
สิทธิของความเป็นมนุษย์ การฝึกให้มนุษย์มีความเท่าเทียมกันนั้น
เรามาฝึกให้เยาวชนมีความคิดที่เท่าเทียมกันถึงแม้แต่ละคนจะโตขึ้นมาจะเป็นอะไรก็แล้วแต่ เช่น เป็นนักบวช หมอ
เด็กเกเร กระเทย ผู้ก่อความไม่สงบ แม้ค้าส้มตำ ทหาร เป็นต้น

แต่ละคนก็เลือกสิ่งที่ตัวคิดว่าดีที่สุดแล้วสำหรับการดำรงชีวิต
กิจกรรมนี้ให้เยาวชนออกมาหน้าห้องแล้วสมมุติให้เยาวชนรับบทเป็นตัวละครที่ได้กล่าวข้างต้น
แล้วสอนให้เยาวชนคิดว่าแต่ละคนมีใครบ้างที่ตัวไม่สามารถเลือกเส้นทางชีวิตว่าสิ่งไหนดีหรือไม่ดี
แต่ทุกคนมีสิทธิที่เท่าเทียมกันไม่ว่าแต่ละคนจะเป็นอะไรก็ตาม
กฎหมาย เกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรม สิ่งที่เยาวชนควรรู้เกี่ยวกับการกระทำความผิด กฎหมายขั้นพื้นฐาน
มีโทษแบบไหนบ้างสำหรับผู้ที่กระทำความผิด เช่น กักขัง จำคุก ประหารชีวิต ยึดทรัพย์สิน เป็นต้น
สำหรับสามจังหวัดชายแดนภาคใต้และสี่อำเภอของสงขลา จะมีกฎหมายอีกแบบ คือ กฎหมายพิเศษ คือ
กฎอัยการศึก และพ.ร.ก.ฉุกเฉิน โดยเจ้าหน้าที่ทหารจะควบคุมตัวโดยไม่ต้องใช้อำนาจศาล เพียงแค่รู้ว่า
มีคนต้องสงสัย ก็สามารถเชิญไปควบคุมตัวและสอบสวนได้เลย
การรับมือหรือองค์ความรู้ที่เยาวชนหรือคนทั่วไปจำเป็นต้องเรียนรู้เกี่ยวกฎหมายพิเศษนี้ สิ่งที่ต้องรับมือ เช่น
มาหาใคร เราต้องถามว่าเจ้าหน้าที่มาหาใคร ชื่ออะไร
ก่อนที่ทหารจะมาจับเราต้องแจ้งให้ผู้ใหญ่บ้านหรือผู้นำชุมชนมารับทราบก่อน
หลังจากนั้นก็ไปทำบันทึกประจำวันที่สถานีตำรวจให้เป็นหลักฐาน
แล้วไปตรวจร่างกายที่โรงพยาบาลต่อเพื่อให้หมอตรวจร่างกายมีความเป็นปกติเพื่อยืนยันความบริสุทธิ์ใจ ก่อน
แล้วค่อยไปตามที่เจ้าหน้าที่เชิญ
หลังจากเจ้าหน้าที่ปล่อยตัวออกมานั้น สิ่งที่เราต้องขอคือหนังสือการปล่อยตัว
เพื่อรับรองว่าเราได้รับการปล่อยตัวแล้วเป็นการยืนยันที่ชัดเจนเพื่อไม่ให้โดนจับไปอีกครั้งและหลีกเลี่ยงการแวะเวียนม
าของเจ้าหน้าที่ซึ่งทำให้เรารู้สึกว่าไม่ปลอดภัย
และที่สำคัญหนังสือรับรองการปล่อยตัวนั้นสามารถไปเบิกเงินค่าเยียวยาจิตใจ 35,000 บาท
ที่ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.)
กรณีคนในครอบครัวหรือญาติพี่น้องเราโดนจับต้องจำคุกหรือสูญเสียอิสรภาพ
แต่สู้คดีแล้วชนะศาลยกฟ้องไม่มีความผิด รัฐต้องชดเชยวันละ 500 บาท
นับตั้งแต่วันแรกโดนฝากขังจนถึงวันที่ได้รับอิสรภาพ และจ่ายเพิ่มตามค่าจ้างแรงขั้นต่ำของแต่ละจังหวัดนั้นๆด้วย
ความเสมอภาคที่เราต้องรู้คือกระทรวงยุติธรรม มีกองทุนยุติธรรม
เพื่อประกันตัวออกมาสู้คดีในชั้นศาลอีกด้วยเพื่อช่วยเหลือคนที่มีรายได้น้อยให้เหมือนกับคนคนรวยทั่วไปเมื่อกระทำคว
ามผิดแล้วสามารถประกันตัวออกมาสู้คดีอยู่ที่บ้านไม่ต้องไปอยู่ในเรือนจำขณะสู้คดี
สำหรับบ้านเราการจับผิดตัวเกิดขึ้นบ่อยครั้งเพราะการทำงานของเจ้าหน้าที่หรือกระบวนการยุติธรรมเป็นระบบกล่าว
หา จับคนก่อนแล้วค่อยหาพยานหลักฐานมาพิสูจน์ว่าใครผิดใครถูก