คนสร้างสุข

พัฒนาศักยภาพคณะทำงานเครือข่ายสภาองค์กรชุมชน จ.ปัตตานี

เวทีอบรมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับ พระราชบัญญัติ สภาองค์กร พ.ศ.25513 ตุลาคม 2560
3
ตุลาคม 2560รายงานจากพื้นที่ โดย เครือข่ายสภาองค์กรชุมชนจ.ปัตตานี
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่ 03 ตุลาคม 2560 สนับสนุนจากภาคประชาสังคมตามโครงการขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนา จชต. ดำเนินกระบวนการ โดย นายณรงค์ มะเซ็ง มีผู้เข้าร่วมของหน่วยงานต่างๆ ประกอบด้วย นายพิสันต์ พรรณราย  ปลัดอาวุโส นายแวยูโซ๊ะ อาแย สารวัตรกำนัน นางรสนา มูซอดี เจ้าหน้าที่ปกครองตำบลสะนอ นางปัสยะห์ ยานยา เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ นายบือราเฮง  เต๊ะเด็ง ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๔ และผู้แทนจากสภาองค์กรชุมชน รวมทั้งหมดจำนวน 200 คน

ช่วงแรก นำเสนองานพัฒนาเครือข่ายสภาองค์กรชุมชนจังหวัดปัตตานีโดย นายวศิน สาเมาะ ประธานคณะกรรมการเครือข่ายสภาองค์กรชุมชนจังหวัดปัตตานี

ช่วงที่ 2 อบรมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับพระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชน พ.ศ. 2551 โดยคุณพัชณี พนิตอังกูร
      การขับเคลื่อนงานพัฒนาของภาคประชาชนโดยมีหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ให้การส่งเสริม และสนับสนุนอย่างต่อเนื่องตลอดมา ทำให้เกิดการรวมตัวของกลุ่มต่างๆ อย่างต่อเนื่องจนกลายเป็นพื้นที่รูปธรรม ในลักษณะของเวทีปรึกษาหารือร่วมกันของกลุ่มคนในหมู่บ้าน/ตำบล ทำให้เกิดผลดีต่อการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น ชุมชนเข้มแข็ง มีความสามารถในการจัดการงานพัฒนาด้านต่างๆ ทำให้เครือข่ายชุมชนที่มีประสบการณ์และเห็นความสำคัญของเรื่องนี้ ได้ร่วมกันร่าง พ.ร.บ.สภาองค์กรชุมชนขึ้น เพื่อให้มีพ.ร.บ.ที่จะช่วยหนุนเสริม รับรองให้การทำงานแบบมีเวทีปรึกษาหารือกันอย่างต่อเนื่องมีสถานะเป็นที่ยอมรับร่วมกันของทุกฝ่าย เสนอผ่านรัฐบาล และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ จนเป็นกฎหมายที่มีผลบังคับใช้

    ช่วงที่ 3 บทบาทสภากับการพัฒนาชุมชน
โดยนายศุภนิมิต ศิลา สภาองค์กรชุมชนประกอบด้วยตัวแทนกลุ่มองค์กรในชุมชน และบุคคลที่มีบทบาทสำคัญในชุมชน เข้ามาทำงานด้วยจิตอาสาโดยไม่จำกัดจำนวนเรียกว่าเป็นระบบประชาธิปไตยแบบทางตรง ไม่มีอำนาจในการอนุมัติแผนงานงบประมาณ ไม่มีอำนาจในเชิงยับยั้ง ถอดถอน ยกเลิก แต่จะให้ความเห็นโดยการออกเสียงประชามติ ด้วยความรู้ภูมิปัญญา ดังนั้นสภาองค์กรชุมชนจึงเป็นสภาที่ทำหน้าที่หนุนเสริมการทำงานพัฒนา และปิดช่องโหว่ของระบบที่มีอยู่เดิมแล้ว จึงไม่มีบทบาทอำนาจหน้าที่ที่ซ้ำซ้อน แต่หนุนเสริมระบบเดิมให้สมบูรณ์มากขึ้น กล่าวคือทำหน้าที่คล้ายกับสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

    ช่วงที่ 4 บทบาทสมมุติการประชุมสภาอย่างมีส่วนร่วม การประชุมสภาองค์กรชุมชนตำบลครั้งแรก ให้สมาชิกสภาองค์กรชุมชนตำบลเลือกกันเองเป็นประธานสภาคนหนึ่ง และรองประธานสภาสองคนเป็นรองประธานสภาคนที่หนึ่งและรองประธานสภาคนที่สอง

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.สมาชิกสภาองค์กรชุมชนจังหวัดปัตตานี 90 ตำบล จำนวน 200 คน ได้ความรู้เข้าใจเกี่ยวกับ พระราชบัญญัติ สภาองค์กร พ.ศ.2551 และนำไปขยายผลในพื้นที่ตำบล 90 ตำบลคณะทำงานเ กิดความเข้าใจเกี่ยวกับ พระราชบัญญัติ สภาองค์กรชุมชน
2. เกิดการเปิดเวทีกลางให้คนในชุมชนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการเสนอปัญหาและแนวทางการแก้ไข 90 ตำบล 3. เกิดการเชื่อมโยงภาคีเครือข่ายในการขับเคลื่อนสภาองค์กรชุมชน ในการสร้างสันติสุข สันติภาพระดับตำบล 4. เกิดการพัฒนาสภาองค์กรชุมชนตำบลเกิดความเข้มแข็ง ให้สามารถเรียนรู้ /นำเสนอเชิงนโยบาย/มีส่วนร่วม การแก้ปัญหาความไม่สงบ ชายแดนใต้

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 200 คน จากที่ตั้งไว้ 200 คน
ประกอบด้วย

สภาองค์กรชุมชนจังหวัดปัตตานีและภาคีเครือข่าย จำนวน 200 คน ณ ศูนย์การเรียนรู้องค์กรชุมชนตำบลสะนอ