ป้องกันและเฝ้าระวังโรคเรื้อรัง ชุมชนบ้านควน หมู่ที่ 5 ต.พร่อน อ.เมือง จ.ยะลา

เวทีคืนข้อมูลชุมชนกลุ่มเป้าหมายเพื่อกำหนดกติการ่วมในการบริโภคอาหารที่ปลอดโรคเรื้อรัง สามารถนำไปสู่ชุมชนต้นแบบการป้องกันโรคเรื้อรังอย่างยั่งยืนวันที่จัดกิจกรรม: 25 ธันวาคม 2560 ตั้งแต่ 08.30 น. – 16.00 น. (กลุ่มเป้าหมาย 200 คน)25 ธันวาคม 2560
25
ธันวาคม 2560รายงานจากพื้นที่ โดย สภาองค์กรชุมชน ต.พร่อน
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เป็นกิจกรรมติดตามด้วยการซุ่มตัวอย่างกลุ่มเป้าหมาย แลกเปลี่ยนประสบการณ์จริงในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา ได้มีการปรับพฤติกรรมอะไรอย่างไรบ้าง ด้วยการสัมภาษณ์ของทีมวิทยากร                   จากการให้คณะทีมงานลงติดตามกลุ่มเป้าหมา จำนวน 200 คน ปรากฎว่า จากตาราง พบว่าประชาชนกลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมโครงการฯ จำนวนทั้งสิ้น 200 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 78.79 และเพศชาย ร้อยละ 21.21 ส่วนใหญ่มีอายุ 35 – 59 ปี คิดเป็นร้อยละ 65.15 รองลงมามีอายุ 60 ปีขึ้นไป และอายุน้อยกว่า 35 ปี คิดเป็นร้อยละ 24.24 และ10.61 ตามลำดับ  ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง คิดเป็นร้อยละ 37.88 รองลงมาเป็นกลุ่มปกติและกลุ่มป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง  คิดเป็นร้อยละ 31.82 และ 30.30 ตามลำดับ  และส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน คิดเป็นร้อยละ 42.42 รองลงมาเป็นกลุ่มปกติและกลุ่มป่วยด้วยโรคเบาหวาน คิดเป็นร้อยละ 33.33 และ 22.73 ตามลำดับ
                  จากตาราง พบว่า ก่อนการเข้าร่วมกิจกรรมโครงการฯประชาชนกลุ่มเป้าหมาย จำนวนทั้งสิ้น 200 คน ส่วนใหญ่มีเส้นรอบเอวเกินเกณฑ์มาตรฐาน คิดเป็นร้อยละ 61.62 และมีเส้นรอบเอวปกติ ร้อยละ 38.38            หลังการเข้าร่วมกิจกรรมโครงการฯประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีเส้นรอบเอวเกินเกณฑ์มาตรฐาน ลดลงจากเดิมเป็นร้อยละ 59.60 และมีเส้นรอบเอวปกติ เพิ่มขึ้นจากเดิมเป็นร้อยละ 40.40                   จากตาราง พบว่า ภายหลังการเข้าร่วมกิจกรรมโครงการฯประชาชนกลุ่มเป้าหมาย จำนวนทั้งสิ้น 200  คน ส่วนใหญ่มีเส้นรอบเอวเท่าเดิม คิดเป็นร้อยละ 59.60 รองลงมามีเส้นรอบเอวลดลง คิดเป็นร้อยละ 28.78 และมีเส้นรอบเอวเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 11.62                   จากตาราง พบว่า ภายหลังการเข้าร่วมกิจกรรมโครงการฯประชาชนกลุ่มเป้าหมาย จำนวนทั้งสิ้น 198 คน ส่วนใหญ่มีน้ำหนักตัวเท่าเดิม คิดเป็นร้อยละ 68.18 รองลงมามีน้ำหนักตัวลดลง คิดเป็นร้อยละ 20.20 และมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 11.62                   จากตาราง พบว่า ก่อนการเข้าร่วมกิจกรรมโครงการฯประชาชนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด(ที่ได้ทำแบบประเมินพฤติกรรมเสี่ยงด้านสุขภาพ) จำนวนทั้งสิ้น 105 คน ส่วนใหญ่มีพฤติกรรมเสี่ยงด้านการรับประทานอาหาร คิดเป็น          ร้อยละ 100 รองลงมามีพฤติกรรมเสี่ยงด้านการออกกำลังกาย คิดเป็นร้อยละ 82.86  มีพฤติกรรมเสี่ยงด้านอารมณ์ คิดเป็นร้อยละ 17.14 และมีพฤติกรรมเสี่ยงด้านการสูบบุหรี่ คิดเป็นร้อยละ 0.95  หลังการเข้าร่วมกิจกรรมโครงการฯประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีพฤติกรรมเสี่ยงลดลง ได้แก่ มีพฤติกรรมเสี่ยงด้านการรับประทานอาหาร ลดลงเป็นร้อยละ 49.52 มีพฤติกรรมเสี่ยงด้านการออกกำลังกาย ลดลงเป็นร้อยละ 30.48 มีพฤติกรรมเสี่ยงด้านอารมณ์ ลดลงเป็นร้อยละ 2.86 และมีพฤติกรรมเสี่ยงด้านการสูบบุหรี่ ลดลงเป็นร้อยละ 0.00                   จากตาราง พบว่าก่อนการเข้าร่วมกิจกรรมโครงการฯประชาชนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด(ที่ได้ทำแบบประเมินพฤติกรรมเสี่ยงต่อการโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน) จำนวนทั้งสิ้น 200 คน ส่วนใหญ่มีพฤติกรรมเสี่ยงอยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 80.95  รองลงมามีพฤติกรรมเสี่ยงอยู่ในระดับน้อย คิดเป็นร้อยละ 17.14 และมีพฤติกรรมเสี่ยงอยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 1.90  หลังการเข้าร่วมกิจกรรมโครงการฯประชาชนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมดมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานลดลง ได้แก่ พฤติกรรมเสี่ยงระดับมาก ลดลงเป็นร้อยละ 0.00  พฤติกรรมเสี่ยงระดับปานกลาง ลดลงเป็นร้อยละ 29.52 และพฤติกรรมเสี่ยงระดับน้อย เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 70.48

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. จากการดำเนินโครงการป้องกันและเฝ้าระวังโรคเรื้อรังชุมชนตำบลพร่อน อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ที่ผ่านมา ได้รับการตอบรับจากประชาชนในพื้นที่เกินความคาดหมาย เพราะเป็นโครงการที่ให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ของประมาชนอย่างแท้จริง และเป็นโครงการที่ยังไม่มีหน่วยใดดำเนินการ คุ้มกับการลงทุนของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นการลงทุนที่ขาดทุน แต่ มีผลกำไรอย่างมหาศาล ครั้งนี้ ถือเป็นคุณประโยชน์ยิ่งสำหรับกลุ่มเสี่ยงชาวตำบลพร่อน อำเภอเมือง จังหวัดยะลา แต่ยังมีกลุ่มเสี่ยงอีก จำนวน 380 คน ที่ยังไม่สามารถเข้าร่วมโครงการ เนื่องจากงบประมาณที่ได้รับการสนับสนุน จาก ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ อย่างจำกัด เพราะ ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้ใกล้ชิดกับคุณหมอ ๆ อยู่ได้ใกล้ชิดกับประชาชนเป็นระยะเวลา นาน 2 ชั่วโมง และกลุ่มเป้าหมายได้มีการแลกเปลี่ยนซักถามเป็นกันเอง ซึ่งต่างด้วยสิ้นเชิงจากที่ผู้ป่วยไปพบหมอที่โรงพยาบาล เห็นควรอย่าง ที่ทาง ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ต้องต่อยอดโครงการดังกล่าว ให้กับ สภาองค์กรชุมชนตำบลพร่อน ดำเนินการกับกลุ่มเสี่ยงอีก จำนวน 380 คนในปีต่อไป และควรมีการขยายพื้นที่อื่น ๆ อีกด้วย สุขของประชาชนไม่เท่ากับมีสุขภาพสมบูรณ์ อยู่ดี มีสุขภาพดี ซึ่งเป็นความสุขที่ยั่งยืนต่อไป 
circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 200 คน จากที่ตั้งไว้ 200 คน
ประกอบด้วย

5  เวทีคืนข้อมูลชุมชนกลุ่มเป้าหมายเพื่อกำหนดกติการ่วมในการบริโภคอาหารที่ปลอดโรคเรื้อรัง สามารถนำไปสู่ชุมชนต้นแบบการป้องกันโรคเรื้อรังอย่างยั่งยืนการจัดกิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงชุมชน ตำบลพร่อน อำเภอเมือง จังหวัดยะลา  ระหว่าง วันที่  21 พฤศจิกายน  2560 ถึง วันที่  20 ธันวาคม 2560  นำโดย  นางอวาทิพย์  แว  นักวิชาการสาธารณะสุขชำนาญการพิเศษ  รพ.ศุนย์ยะลา พร้อมด้วยทีมงาน จำนวน 11 คน และปิดโครงการ โดย นายบุญธรรม  มุณีกาญจน์  ผู้ช่วยเลขาธิการ ศอ.บต.วันที่จัดกิจกรรม: 25 ธันวาคม 2560  สถานที่: มสธ.ยะลา ลักษณะกิจกรรม การติดตามตั้งแต่ ตั้งแต่ 08.30 น. – 15.00 น. (กลุ่มเป้าหมาย 200 คน)  เป็นการซุ่มบุคคลตัวอย่างแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และ ตอบคำถาม