เวทีประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเกี่ยวการการเฝ้าระวังและการป้องกันโรคเรื้อรังชุมชนตำบลพร่อน

กิจกรรม : เวทีประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเกี่ยวการการเฝ้าระวังและการป้องกันโรคเรื้อรังชุมชนตำบลพร่อน
วันที่ 12/10/2017 - 12/10/2017
งบประมาณที่ตั้งไว้ 52,500.00 บาท
กลุ่มเป้าหมาย 200 คน
รายละเอียดกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้เป็นโรคเรื้อรังและผู้เลี้ยง ตำบลพร่อน อำเภอเมือง จังหวัดยะลา
รายละเอียดกิจกรรม :
เวทีประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเกี่ยวการการเฝ้าระวังและการป้องกันโรคเรื้อรังชุมชนตำบลพร่อน ซึ่งมีผู้เข้าร่วม 200 คน ได้รับเกียรติจาก นายปรีชา ชนะกิจกำจร ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาบุคลากร ศอ.บต. เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเกี่ยวการการเฝ้าระวังและการป้องกันโรคเรื้อรังชุมชนตำบลพร่อน และ ประธานสภาองค์กรชุมชนตำบลพร่อน นายอับดุลย์เลาะ ยูโซ๊ะ กล่าวรายงานโครงการ โดยมีวัตถุประสงค์
1. เพื่อส่งเสริมความตระหนักและได้เรียนรู้ในการป้องกัน ตลอดถึงวิถีการดูแลและการเฝ้าระวังรักษาโรคเรื้อรัง ด้วยตนเองอย่างจริงจัง
2. เพื่อส่งเสริมให้ผู้นำชุมชนเกิดการเรียนรู้ร่วมกันในการแก้ปัญหาสังคมแบมีส่วนร่วม โดยเฉพาะการแก้ปัญหาสุขภาพของชุมชนในระดับหมู่บ้านและระดับตำบล
3. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนและผู้ได้รับผลกระทบได้ปฏิบัติและเฝ้าระวัง ตลอดถึงการดูแลซึงกันและในด้านสุขภาพ
นายปรีชา ชนะกิจกำจร ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาบุคลากร ศอ.บต. ให้เกียรติมาประธานในพิธีเปิดโครงการ ประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเกี่ยวการการเฝ้าระวังและการป้องกันโรคเรื้อรังชุมชนตำบลพร่อน พร้อมให้คำแนะนำถึงกระบวนการการขับเคลื่อนงานให้ประสบผลความสำเร็จ และได้พบปะพี่น้องประชาชนผู้เข้าร่วมเวที
วิทยากร นางสมสกนธ์ ศิริมานนท์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลศูนย์ยะลา และ ผศ.อับดุลลาตีฟ การี รองคณะบดีฝ่ายบริหารและแผนคณะอิสลามศึกษาและนิติศาสตร์มหาวิทยาบลัย ฟาฏอนี ผู้ดำเนินการเสวนา นายรุสดี ยูโซ๊ะ ที่ปรึกษา ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี
เนื้อหาสาระสำคัญของผู้เสวนา ผู้ที่เป็นโรคเรื้อรังและโรคอื่น ๆ
1) การมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารของตนเองและครอบครัว
2) ความไม่เข้าใจและไม่ให้ความสำคัญต่อการดูแลสุขภาพตนเองย่างสม่ำเสมอ
3) ไม่ค่อยให้ความสำคัญในการออกกำลังกาย
4) ไม่ค่อยปฏิบัติตามคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ รพ.สต.,อสม.และ โรงพยาบาลศูนย์ยะลา
5) เชื่อฟังการแนะนำของเพื่อนมากกว่าหมอ
และวิทยากรได้เน้นในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตัวเองในด้าน ป้องกัน – สะอาด – ดูอา (ขอพร) และในการปรับพฤติกรรม จะต้องเริ่มที่ ตัวเอง – ครอบครัว – ชุมชน
หลังจากนั้น ช่วงบ่าย 13.30 น. – 15.30 น. กิจกรรมแบ่งกลุ่มเป็น 6 กลุ่ม เพื่อร่วมกันระดมความคิดพร้อมแนวทางแก้ไข ในหัวข้อ “เราจะมีแนวทางป้องกันและเฝ้าระวังโรคเรื้อรังในชุมชนได้อย่างไร” ทุกกลุ่มได้มีการระดมความคิดในการค้นหาแก้ปัญหาและแนวทางแก้ไขที่สามารถจะปฏิบัติได้จริง และทุกกลุ่มจัดผู้แทนออกนำเสนอ
เพื่อเป็นโจทย์การต่อยอดกับกิจกรรมที่ 2 และ 3 โดยสรุป คือ
1) บริโภคตามใจตนเอง
2) รับประทานอาหารไม่เป็นเวลา
3) ชอบทานอาหารที่มีไขมันสูง ที่มีรสเค็ม และ หวานจัด
4) ไม่ค่อยออกกำลังกาย
5) ไม่ยอมไปตรวจสุขภาพและไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่และแพทย์