จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวการบริโภคอาหารที่ถูกต้อง นำโดย นพ.ซาฟารีบินหลีนายแพทย์ชำนาญการพิเศษ ด้านเวชกรรม สาขาอายุรศาสตร์ทั่วไป รพ.ศุนย์ยะลา พร้อมด้วยทีมงาน จำนวน 11 คน วันที่จัดกิจกรรม: 21พฤศจิกายน 2560

กิจกรรม : จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวการบริโภคอาหารที่ถูกต้อง นำโดย นพ.ซาฟารีบินหลีนายแพทย์ชำนาญการพิเศษ ด้านเวชกรรม สาขาอายุรศาสตร์ทั่วไป รพ.ศุนย์ยะลา พร้อมด้วยทีมงาน จำนวน 11 คน วันที่จัดกิจกรรม: 21พฤศจิกายน 2560
วันที่ 21/11/2017 - 22/11/2017
งบประมาณที่ตั้งไว้ 38,000.00 บาท
กลุ่มเป้าหมาย 200 คน
รายละเอียดกลุ่มเป้าหมาย ผู้เป็นโรคเรื้อรังและกลุ่มเลี้ยง
รายละเอียดกิจกรรม :
นพ.ซาฟารี บินหลี นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ ด้านเวชกรรม สาขาอายุรศาสตร์ทั่วไป รพ.ศุนย์ยะลา ทำหน้าที่ทั้ง 2 วัน
ถือเป็นคุณประโยชน์ยิ่งสำหรับกลุ่มเสี่ยงชาวตำบลพร่อน อำเภอเมือง จังหวัดยะลา
สระสำคัญจากวิทยากรเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง
1. โรคความดันโลหิตสูง คือ ภาวะที่แรงดันของเลือดที่อยู่ในหลอดเลือดมีค่าสูงเกินปกติ (โดยค่าความดันโลหิตปกติ ควรน้อยกว่า 120/80 มิลิเมตรปรอท) หากมีค่า ตั้งแต่ 120/80 มิลลิเมตรปรอท ถือว่ามีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง เป็นภาวะที่ต้องทำการควบคุม แต่ถ้าความดันโลหิต มีค่าตั้งแต่ 140/90 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป ถือว่ามีภาวะความดันโลหิตสูง
2. ความดันโลหิตสูง ทำให้เกิดความเสียหายและการเสื่อมสภาพของหลอดเลือดแดงทั่วร่างกาย ซึ่งจะนำไปสู่สภาวะหลอดเลือดแดงแข็งและอุดตันหรือหลอดเลือดแตก
3. โรคความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของโรคหลอดเลือดสมอง (อัมพฤกษ์ อัมภาต) ไตวาย โรคหลอดเลือดหัวใจขาดเลือด หัวใจล้มเหลว ส่วนใหญ่เป็นสาเหตุของแห่งการเสียชีวิตที่สำคัญของไทย และเป็นภัยเงียบที่คุกคามชีวิต เนื่องส่วนใหญ่ไม่มีอาการเตือน
ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง
1. เกิดจาก กรรมพันธุ์เป็นความดันโลหิตสูง อายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป
2. เกิดจาก รับประทานอาหารที่มีรสเค็มจัด หวานจัด มัมจัด ไขมันในเลือดสูง ขาดการออกกำลังกาย อ้วน หรือ มีน้ำหนักตัวที่เพิ่มขี้น เครียดเรื้อรัง สูบบหรี่ หรือ ดื่มสุรา หรือ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
สระสำคัญจากวิทยากรเกี่ยวกับโรคเบาหวาน
โรคเบาหวาน เป็นความผิดปกติของร่างกาย ที่ไม่สามารถนำน้ำตาลในร่างกายไปใช้ได้อย่างเต็มที่ สาเหตุ จากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน หรือ ไม่ขาดฮอร์โมน แต่ร่างกายไม่ตอบรับต่อฮอร์โมนชนิดนี้ ผลที่ตามมา คือ ระดับน้ำตาลสูงกว่าปกติ โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและปัสสาวะให้เป็นปกติได้
โรคเบาหวานแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
เบาหวานชนิดที่ 1 ร่างกายมีการผลิตอินซุลินน้อยมาก หรือ ขาดอินซุลินโดยสิ้นเชิง ส่วนใหญ่เป็นเพราะร่างกายสร้างแอนติบอดี้ทำลายเบต้าเซลล์ที่สร้างอินซูลิน พบประมาณร้อยละ 5 – 10 จากการวินิจฉัยเบาหวานทั้งหมด
เบาหวานชนิดที่ 2 ร่างกายไม่สามารถใช้อินซูลินที่ผลิตมาได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เนื่องจากมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน พบประมาณ ร้อยละ 90 – 95 จากการวินิจฉัยโรคเบาหวาน สำหรับเบาหวานชนิดอื่น ๆ ที่อาจพบได้ ได้แก่ เบาหวานที่เกิดในขณะตั้งครรภ์ หรือ เบาหวานที่เกิดจากสาเหตุเฉพาะเจาะจง เช่น ความบกพร่องทางพันธุกรรม โรคของตับอ่อน ความผิดปกติของฮอร์โมน เป็นต้น
ฉะนั้น เบาหวานชนิดที่ 1 ไม่สามารถป้องกันได้ ส่วน เบาหวานชนิดที่ 2 สามารถป้องกันได้มากกว่าร้อยละ 80% ด้วยการรับประทานอาหารอย่างเหมาะสมและเพิ่มการออกกำลังกาย/มีกิจกรรมทางกายอย่างสม่ำเสมอ
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน
1. ที่ไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้ เกิดจาก กรรมพันธุ์ อายุที่เพิ่มขึ้น ประวัติเบาหวานขณะตั้งครรภ์ หรือ น้ำหนักเด็กแรกเกิดมากกว่า 4 กิโลกรัม
2. สามารถปรับเปลี่ยนได้ ได้แก่ อ้วน ความดันโลหิตสูง ความผิดปกติของไขมันในเลือด การขาดการออกกำลังกาย การใช้ยาบางชนิด
อาการของโรคเบาหวาน
1. อาการปัสสาวะบ่อย และ อาจพบว่าปัสสาวะมีมดตอม
2. หิวน้ำบ่อย เนื่องจากต้องทดแทนน้ำที่ถูกขับออกทางปัสสาวะ
3. กินเก่ง หิวเก่ง แต่น้ำหนักลด น้ำหนักลดเกิดจากการสลายไขมัน และ โปรตีนจากกล้ามเนื้อ
4. คันตามผิวหนัง มีการติดเชื้อรา โดย เฉพาะอย่างยิ่ง บริเวณช่องคลอดของผู้หญิง
5. เห็นภาพไม่ชัด ตาพร่ามัว
6. ชาไม่มีความรู้สึก หย่อนสมรรถภาพทางเพศ เนื่องจาก น้ำตาลในเลือดสูง นาน ๆทำให้เส้นประสาทเสื่อมเกิดแผลที่เท้าได้ง่ายเพราะไม่รู้สึก
การรักษา
1. ควบคุมอาหาร ออกกำลังสม่ำเสมอ
2. ควบคุมอาหาร ออกกำลังไม่ได้ผล อาจต้องใช้ยารักษาเบาหวาน
3. ไปตรวจตามนัดทุกครั้ง
4. ควรหมั่นดูแลรักษาเท้าเป็นพิเศษ ระวังอย่าให้เกิดบาดแผล หรือ การอักเสบ
หลังจากนั้น ตั้งแต่ 11.00 น. – 12.00 น. เป็นแบ่งกลุ่ม 5 ฐานการเรียนรู้ ในแต่ละฐานมีสมาชิกกลุ่ม 20 คน โดยจะเป็นการเวียนการเรียนรู้พร้อม ๆ กัน ใช้เวลารอบละ 45 นาที
ฐานที่ 1 การเรียนรู้ด้วยตนเองเกี่ยวกับความอ้วน (คลินิกไร้พุง)
สาระสำคัญของฐานที่ 1 ลดอ้วน ลดพุง ลดเอว ลดโรค ด้วยหลัก 3 อ2 ส. เกณฑ์มาตรฐานรอบเอว ชาย ไม่มากกว่า 90 ซม. หรือ 36 นิ้ว หญิงไม่มากกว่า 80 ซม. หรือ 32 นิ้ว อันตรายจากโรคอ้วนลงพุง การมีไขมันในช่องท้องมากทำให้เกิดกลไกการเผาผลาญน้ำตาลในร่างกายผิดปกติ ระดับน้ำตาลในเลือดจะสูงขึ้น นำไปสู่การเกิดโรคเบาหวานในที่สุด และ ความอ้วนจะส่งผลให้ระบบหมุนเวียนเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายผิดปกติ ส่งผลให้มีภาวะความดันโลหิตที่สูงขึ้น
ฐานที่ 2 เรียนพฤติกรรมสุขภาพของตนเอง
สาระสำคัญของฐานที่ 2 เป็นการเรียนรู้พฤติกรรม 3 อ. 2 ส. เพื่อ เป็นประเมินสุขภาพของตนเองอยู่ในความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ในระดับใด เสี่ยงน้อย เสี่ยงปานกลาง หรือ เสี่ยงมาก ด้วยการทำเครื่อง / ในข้อปฏิบัติเป็นประจำ (5 วันขึ้นไป รอบ 1 สัปดาห์) จะคำถาม 10 ข้อ ถ้าได้มีการปฏิบัติน้อยกว่า 3 ข้อ ถือว่า มีความเสี่ยงน้อย ถ้าได้มีการปฏิบัติน้อยกว่า 6 ข้อ ถือว่า มีความเสี่ยงปานกลาง ถ้าได้มีการปฏิบัติเกิน 6 ข้อ ถือว่า มีความเสี่ยงมาก
ฐานที่ 3 เรียนรู้กินให้ดี ไม่มีโรค
สาระสำคัญของฐานที่ 3 เป็นการเรียนรู้พฤติกรรมการกิน คือ หลีกเลี่ยงการกินอาหารที่มีไขมันสูง เช่น อาหารทอด อาหารที่มีกะทิ อาหารที่มีแป้ง ลดการกินอาหารที่มีรสหวานมาก เช่น น้ำชา กาแฟ ขนมหวาน ลดการกินอาหารเค็ม ใช้เกลือในการปรุงอาหารไม่เกินวันละ 1 ช้อนชา ขอให้เน้นกินผักและผลไม้ที่มีรสหวานน้อย เช่น
แอปเปิ้ล ส้ม ฝรั่ง องุ่นเขียว โดยยึดสูตร 6 – 6 -1
ฐานที่ 4 เรียนรู้การออกกำลังเพื่อสุขภาพ
สาระสำคัญของฐานที่ 4 เป็นการเรียนรู้การออกกำลังกาย
1) ควรออกกำลังกายต่อเนื่อง นาน 45 นาทีขึ้นไป อย่างน้อย 5 วัน/สัปดาห์ เช่น การเดินเร็ว ปั่นจักรยาน แอโรบิค ฟิตเนส ฯลฯ
2) มีการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ ก่อนและหลังออกกำลังกาย เพื่อป้องกันอาการบาดเจ็บและปวดเมื่อย
3) หลังรับประทานอาหารไม่ควรนั่ง หรือ นอนทันที่ ควรทำงานบ้านเบา ๆ เช่น ล้างจาน กวาดบ้าน รดน้ำต้นไม้ หรือ เดินช้า เพื่อเพิ่มการเผาผลาญ
4) มีการบริหารร่างกายกระชับสัดส่วน เพื่อให้ร่างกายกระชับ และกระตุนร่างกายให้เผาผลาญ เช่น ฮูลาฮูป,โยคะ 5 ท่ากระชับสัดส่วน คือ การเขย่าพุง สะดุ้ง นกเพนกวิน ปลาโลมา นกกระยาง เป็นต้น
และ ฐานที่ 5 เรียนรู้เป้าหมายชีวิต เป็นฐานการเรียนรู้ฐานสุดท้าย จะเป็นการตั้งเป้าหมายของชีวิต ทุกคนไม่ต้องการเป็นโรคเรื้อรังหรือโรคติดต่อ ฐานนี้วิทยากรจะอธิบายความจริงของผู้เป็นโรค เป็นโรคแล้วอะไรจะตามมากับตนเองและครอบครัว และจะเสียอะไรไปบ้าง ในฐานนี้วิทยากรสรุปได้ว่า ถ้าจะให้มีสุขภาพดีแข็งแรง ปลอดจากโรคภัยไข้เจ็บ ต้องปรับพฤติกรรมเดิม ๆ ที่ได้ทำไว้ที่ตรงข้ามกับทั้งสี่ฐาน และต้องปฏิบัติตามที่วิทยากรแนะนำ ตั้งแต่ฐานที่ 1 – 4 อย่างสม่ำเสมอ เราต้องมีความเชื่อมั่นกับตนเอง สามารถทำได้เพื่อสุขภาพของตนเอง