Node Flagship

directions_run

ขับเคลื่อนเกษตรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดโรค กลุ่มจือนือรงดาแล

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ขับเคลื่อนเกษตรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดโรค กลุ่มจือนือรงดาแล
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดยะลา
รหัสโครงการ 63-00175-0017
วันที่อนุมัติ 1 มิถุนายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 31 มีนาคม 2564 -
งบประมาณ 100,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มจือนือรงดาแล
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวมุลกิส มะซง
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ นางไอลดา เจ๊ะหะ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มี.ค. 2563 31 ส.ค. 2564 40,000.00
2 1 ก.ย. 2563 15 ธ.ค. 2563 50,000.00
3 1 ม.ค. 2564 30 เม.ย. 2564 10,000.00
รวมงบประมาณ 100,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตำบลปุโรง อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา มีเนื้อที่ 17.88 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย 4 หมู่บ้าน ได้แก่หมู่ที่ 1 บ้านโฉลง หมู่ที่ 2 บ้านปุโรง หมู่ที่ 3 บ้านตะโล๊ะปานะ และหมู่ที่ 4 บ้านลูโบ๊ะกาโล และมีจำนวนประชากร 1,027 ครัวเรือน ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรม เป็นตำบลที่มีความพร้อมในด้านการเกษตร ด้วยสภาพภูมิประเทศเป็นเนินสูงมีภูเขาตลอดแนว ด้านทิศตะวันตกช่วงบริเวณตอนกลางของตำบลเป็นที่ราบสูง และตลอดแนวด้านทิศตะวันออกเป็นที่ราบลุ่มติดแม่น้ำปัตตานี ทำให้มีภูมิอากาศที่เอื้ออำนวยแก่การเพาะปลูกพืชพันธุ์อันหลากหลาย ทำให้การเพาะปลูกพืชผักเศรษฐกิจได้ผลผลิตดี และสามารถส่งออกสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร ในปัจจุบันมีการส่งเสริมเกษตรกรและเกษตรกรรุ่นใหม่ หันมาทำเกษตรอินทรีย์ เกษตรปลอดสารพิษ ด้วยรูปแบบการเพาะปลูกรูปแบบใหม่ แล้วนำไปต่อยอดสร้างรายได้เกิดเป็นเกษตรอุตสาหกรรม เกษตรเชิงท่องเที่ยว
      กลุ่มจือนือรงดาแล ตำบลปุโรง อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา เป็นการรวมตัวเกษตรกรปลูกผักปลอดภัย จำนวน 30 คน ในพื้นที่ ม. 1 บ้านโฉลง ตำบลปุโรง อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา ผักที่ปลูกเป็นประจำ ได้แก่ แตงกวา ถั่วฝักยาว ข้าวโพด พริก มะเขือ และผักบุ้ง ซึ่งส่วนใหญ่พบว่า เกษตรกรใช้ยังใช้สารเคมีในการเพาะปลูก และไม่สามารถรวบรวมพื้นที่การเพาะปลูกที่ชัดเจน เนื่องจากยังไม่มีการส่งเสริมที่เป็นระบบ และสร้างระบบรับรองเกี่ยวกับผักปลอดสารพิษ และเกษตรอินทรีย์ที่ได้มาตรฐานอย่างแท้จริง ทั้งในด้านการผลิต และการตลาด ดังนั้น ทางกลุ่มควรได้ร่วมขับเคลื่อนงาน กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องระดับพื้นที่ เช่น โรงเรียนบ้านโฉลงซึ่งอยู่ในพื้นที่ ม.1 ตำบลปุโรง สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี องค์การบริหารส่วนตำบลปุโรง และหน่วยงานระดับจังหวัด อาทิเช่น สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดยะลา สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดยะลา สำนักงานเกษตรจังหวัดยะลา พัฒนาที่ดินจังหวัดยะลา ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรจังหวัดยะลา และหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดแนวทางการส่งเสริม ให้กลุ่มมีกระบวนการการปลูกผักปลอดสารพิษ โดยการใช้ปุ๋ยชีวภาพ และสารกำจัดศัตรูพืชจากสมุนไพร เพื่อการขับเคลื่อนเกษตรปลอดภัยในพื้นที่จังหวัดยะลาต่อไป

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กลุ่มเกษตรกร และสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับเกษตรกรในด้านเกษตรปลอดภัยครบวงจร

ตัวชี้วัดที่ 1.1 เกษตรกรในกลุ่มจือนือรงดาแล มีการจัดประชุมทุก 2 เดือน และประชุมพร้อมหน่วยงาน 3 เดือนครั้ง จัดตั้งคณะทำงาน ตัวชี้วัดที่ 1.2 เกษตรกรในกลุ่มจือนือรงดาแล มีทักษะสามารถผลิตผักปลอดภัยตามแผนการจัดการของกลุ่ม นำความรู้ในการปลูกผักปลอดภัยไปใช้ในกลุ่ม อย่างน้อย ร้อยละ 80 โดยทางกลุ่มมีเกณฑ์การประเมิน การปลูกผักปลอดภัยของสมาชิกในกลุ่ม

0.00
2 เพื่อสร้างมาตรฐานรับรองผลผลิตทางการเกษตรของกลุ่มจือนือรงดาแล ตำบลปุโรง ขยายช่องทางการตลาด และเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร

ตัวชี้วัดที่ 2.1 กลุ่มจือนือรงดาแล มีตราสัญลักษณ์นับรองผลผลิต ตามมาตรฐาน PGS หรือ GAP
ตัวชี้วัดที่ 2.2 โรงเรียนบ้านโฉลง และหน่วยงานอื่นๆในพื้นที่ มีการใช้ผักปลอดภัยจากกลุ่ม ตัวชี้วัดที่ 2.3 พื้นที่ ม.1 ต.ปุโรง ขยายพื้นที่ปลูกผัก เพิ่มขึ้นร้อยละ 20

0.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
1 กิจกรรมที่ 1 ประชุมกลุ่มและจัดตั้งคณะทำงานร่วมกับหน่วยงานระดับตำบล อำเภอ จังหวัด กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 230 29,005.00 11 25,105.00
20 มิ.ย. 63 ป้ายไวนิลโครงการและโฟมบอร์ด สสส. 0 1,950.00 1,950.00
23 มิ.ย. 63 ประชุมกลุ่มเกษตรกรจือนือรงดาแล ครั้งที่ 1 30 3,900.00 3,900.00
3 ก.ค. 63 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 1 10 1,300.00 1,300.00
2 ส.ค. 63 สำรวจแปลงเพื่อจัดทำข้อมูลพื้นฐาน 10 1,950.00 1,950.00
7 ส.ค. 63 ประชุมกลุ่มเกษตรกรจือนือรงดาแลครั้งที่ 2 30 3,900.00 3,900.00
24 ส.ค. 63 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 2 10 1,300.00 1,300.00
12 ต.ค. 63 ประชุมกลุ่มเกษตรกรจือนือรงดาแลครั้งที่ 3 30 3,900.00 3,900.00
3 ม.ค. 64 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 3 10 1,300.00 1,300.00
23 ม.ค. 64 สำรวจแปลงและติดตามแปลงครั้งที่ 2 30 405.00 405.00
26 ม.ค. 64 ประชุมกลุ่มเกษตรกรจือนือรงดาแลครั้งที่ 4 30 3,900.00 -
27 ม.ค. 64 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 4 10 1,300.00 1,300.00
5 ก.พ. 64 ประชุมสมาชิกลุ่มจือนือรงดาแลครั้งที่ 4 30 3,900.00 3,900.00
2 กิจกรรมที่ 2 พัฒนาศักยภาพ/ศึกษาดูงานต้นแบบความสำเร็จของการจัดการสวนผักปลอดภัย กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 35 19,900.00 1 19,900.00
18 ส.ค. 63 พัฒนาศักยภาพ/ศึกษาดูงานต้นแบบความสำเร็จของการจัดการสวนผักปลอดภัย 35 19,900.00 19,900.00
3 กิจกรรมที่ 3 อบรมการทำปุ๋ยชีวภาพและการกำจัดศัตรูพืช กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 135 33,945.00 2 28,775.00
20 มิ.ย. 63 อบรมทำปุ๋ย 30 9,070.00 3,900.00
15 ก.ย. 63 อบรมการทำปุ๋ยชีวภาพและการเตรียมดิน 105 24,875.00 24,875.00
4 กิจกรรมที่ 4 อบรมและพัฒนาผักปลอดภัยให้ได้มาตรฐาน PGS /GAP กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 60 9,100.00 2 9,100.00
4 ม.ค. 64 ประชุมหน่วยงานพร้อมสมาชิกในกลุ่มทำความเข้าใจมาตรฐานPGS 30 4,550.00 4,550.00
21 ม.ค. 64 ประชุมหน่วยงานพร้อมสมาชิกในกลุ่มทำความเข้าใจมาตรฐานGAP 30 4,550.00 4,550.00
5 กิจกรรมที่ 5 ประชุมร่วมกับหน่วยจัดการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 26 4,528.00 10 4,528.00
1 มิ.ย. 63 - 31 มี.ค. 64 ประชุมขับเคลื่อน หน่อยงานจัดการระดับจังหวัด 0 800.00 800.00
3 มิ.ย. 63 เวทีปฐมนิเทศ และทำสัญญาโครงการย่อย 4 800.00 800.00
6 ก.ค. 63 เวทีพัฒนาศักยภาพการรายงานผลลัพธ์ของโครงการย่อย 2 528.00 528.00
15 ส.ค. 63 เวทีทบทวนบันไดผลลักธ์และออกแบบเก็บข้อมูลโครงการย่อย 2 400.00 400.00
20 ส.ค. 63 เวทีพิจารณายกร่างตารางข้อมูลผลลัพธ์เชิงประเด็นยุทธศาสตร์ 2 400.00 400.00
27 พ.ย. 63 เวทีพัฒนาศักยภาพการรวมรายงานผลลัพธ์ของโครงการย่อย 2 400.00 400.00
3 ธ.ค. 63 เวทีสมัชชา 0 400.00 400.00
13 ม.ค. 64 เวทีถอดบทเรียน3 10 0.00 0.00
16 ก.พ. 64 เวทีติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา 2 400.00 400.00
24 มี.ค. 64 เวทีสังคราะห์และสกัดบทเรียนโครงการย่อย 2 400.00 400.00
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 60 9,070.00 1 9,070.00
27 เม.ย. 64 อบรมให้ความรู้และทักษะการทำปุ๋ยอินทรีย์ 30 9,070.00 9,070.00
20 ก.ค. 64 สรุปโครงการ 30 0.00 -

การประชุมกลุ่ม และจัดตั้งคณะทำงานร่วมกับหน่วยงานระดับตำบล อำเภอ จังหวัด พัฒนาศักยภาพอบรมการทำปุ๋ยชีวภาพ การกำจัดศัตรูพืช และการทำบัญชีครัวเรือน(กลุ่มเป้าหมายหลักและรอง)/ศึกษาดูงานต้นแบบความสำเร็จของการจัดการสวนผักปลอดภัย (กลุ่มเป้าหมายหลัก)

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 มิ.ย. 2563 13:36 น.