Node Flagship

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ เกษตรกรปลอดภัยและพอเพียงตำบลกาบัง
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดยะลา
รหัสโครงการ 63-00175-0019
วันที่อนุมัติ 1 มิถุนายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ -
งบประมาณ 95,200.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกผักปลอดภัยตำบลกาบัง อำเภอกาบัง จังหวัดยะลา
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางแมะนะ สาเร๊ะ
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ นางไอลดา เจ๊ะหะ
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอกาบัง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตำบลกาบัง ตั้งอยู่ ทางทิศเหนือของอำเภอกาบังระยะห่างจากอำเภอกาบัง 9 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้ ทิศเหนือติดต่อกับตำบลบาโหย อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา ทิศใต้ติดต่อกับตำบลบาละ อำเภอกาบังจังหวัดยะลา ทิศตะวันออกติดต่อกับตำบลบาโร๊ะ อำเภอยะหาจังหวัดยะลา ทิศตะวันตกติดต่อกับแม่น้ำเทพาอำเภอสะบ้าย้อยจังหวัดสงขลา ตำบลกาบังแบ่งการปกครองออกเป็น 8 หมู่บ้าน ราษฎร 99% นับถือศาสนาอิสลาม “กาบัง” แต่เดิมเรียกว่า "กาแบ" ซึ่งเป็นชื่อเรียกตามภาษาท้องถิ่นหรือภาษายาวี แปลว่า "ต้นไม้ใหญ่" และชาวบ้านเรียกกันมาจนเพี้ยนเป็น "กาบัง" ในปัจจุบัน จำนวนหลังคาเรือน1,262 หลังคาเรือน จำนวนประชากร 10,503 คนจำนวนผู้ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง 168 คน
จากการสำรวจในพื้นที่บ้านนิบงหมู่ที่ 2 ตำบลกาบัง พฤติกรรมการบริโภคของชุมชนบ้านนิบง ส่วนใหญ่ซื้อผักจากท้องตลาดมาบริโภคในครัวเรือน ไม่ได้มี การปลูกผัก ทั้งที่มีพื้นที่ในการเพาะปลูก เพราะหาซื้อง่าย สะดวกในการจับจ่ายใช้สอยผักจากตลาด ซึ่งในชุมชนมีตลาด นัดชุมชนขายของทุกวัน จึงนิยมซื้อผักมาบริโภค ส่วนใหญ่จะปลูกพืชสมุนไพร เช่น ขิง ข่า ตะไคร้ ที่ไม่ต้องให้การดูแล บำรุงรักษา ชุมชนมีค่าใช้จ่ายในการซื้อผักเพื่อบริโภค ประมาณ 60,000 บาท/เดือน โดยเฉลี่ยประมาณครัวเรือนละ 400 บาท/เดือน ชุมชนมีการปลูกผักอยู่บ้าง ประมาณ 50 ครัวเรือน โดยประมาณ 30 ครัวเรือน ปลูกผักโดยใช้ปุ๋ยเคมี ร่วมกับปุ๋ยชีวภาพบ้าง เพราะสะดวก หาซื้อง่าย และง่ายต่อการดูแล ผลกระทบจากการใช้สารเคมี ชุมชนเสียค่าใช่จ่ายในการซื้อปุ๋ยเพื่อใช้ในการเกษตร ในแต่ละปี เป็นเงินประมาณ 70,000 บาท ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม มีสารเคมีสารพิษปนเปื้อนในแหล่งน้ำสาธารณะของชุมชน และทำให้ดินเสื่อม ด้านสุขภาพ ประชาชนที่ปลูกผักโดยใช้สารเคมี หรือผู้ที่อยู่ใกล้เคียงได้รับสารพิษโดยตรง ทำให้สารพิษตกค้างสะสม ภายในร่างกาย ประชาชนที่บริโภคผักที่มีสารเคมีปนเปื้อน ร่างกายจะสะสมสารพิษ ส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาว เช่น มะเร็ง สาเหตุของปัญหาดังกล่าวนั้นเกิดจากการอะไร 1.2 แนวทางการแก้ไขปัญหาที่จะเสนอในโครงการนี้ ควรใช้ทุนเดิม จุดแข็งที่มี มาช่วยหนุนเสริมการดำเนินงานโครงการอย่างไร ในการแก้ปัญหาการใช้สารเคมีของเกษตรกรนั้น จำเป็นอย่างยิ่งต้องมีการปรับเปลี่ยน Mindset เกษตรกรผู้ผลิตและประชาชนผู้บริโภคให้ต้องตระหนักถึงความปลอดภัยของอาหารที่ผลผลิตทางการเกษตร ต้องสร้างความรู้ความตระหนักและการเป็นเกษตรกรมืออาชีพ การตระหนักรู้ด้านความหมายจากอาหาร การเชื่อมโยงตลาดทั้งในและนอกพื้นที่ และเชื่อมโยงแนวคิดความเชื่อศาสนา ธรรมเกษตรหรือเกษตรวิถีธรรม ซึ่งปัจจุบันทางเกษตรกรในพื้นที่ตำบลกาบังมีความรู้ผลิตผักอยู่แล้วในเบื้องต้น มีความสนใจการตระหนักในการเลิกใช้สารเคมีในการปลูกพืชผัก โดยหันมาปลูกผักปลอดภัยจำนวน 50 ราย อีกทั้งในพื้นที่มีตลาดที่สามารถรับรับผักที่เกษตรกรนำมาจำหน่าย หน่วยงายภาครัฐและเอกชนทั้งนโยบายจังหวัดเรื่องผักปลอดภัยก็สนับสนุนในเกษตรกรหันมามาปลูกแต่ยังขาดการขยายพื้นที่ให้ครอบคลุ่มทั้งจังหวัด โครงการนี้จึงเป็นโครงการที่สามารถขับเคลื่อนร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนโดนเฉพาะจากสำนักงานเกษตรกรจังหวัดยะลา บริษัทประชารัฐรักสามัคคีจังหวัดยะลา ดังนั้นการดำเนินงานโครงการจะทำให้เกิดประโยชน์ต่อการสร้างเสริมสุขภาพของระชาชนในชุมชนตำบลกาบัง ได้พืชผักที่มีคุณภาพ ไม่มีสารพิษตกค้าง มีความปลอดภัยแก่ผู้บริโภค มีสุขภาพอนามัยดีขึ้นเนื่องจากไม่มีการฉีดพ่นสารเคมีป้องกันและกำ จัดศัตรูพืช ทำ ให้เกษตรกรปลอดภัยจากสารพิษเหล่านี้ด้วย ลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรด้านค่าใช้จ่ายในการซื้อสารเคมีป้องกันและกำ จัดศัตรูพืช ลดปริมาณการนำ เข้าสารเคมีป้องกันและกำ จัดศัตรูพืชได้ เกษตรกรจะมีรายได้เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากผลผลิตที่ได้มีคุณภาพทำให้สามารถขายผลผลิต เกษตรกรได้รับความรู้ในด้านการปลุกผักปลอดสารพิษมากยิ่งขึ้น

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ครัวเรือนมีการผลิตผักปลอดภัยสำหรับการบริโภคอย่างเพียงพอ

1.1 เกษตรกรจำนวน 50 รายจำนวน50 แปลง มีการรวมกลุ่มเพื่อจัดการข้อมูลและวางแผนการผลิตผักตามความต้องการของตลาด 1.2 มีข้อมูลแปลงจำนวน50 แปลงปลูกและพัฒนาศักยภาพการผลิต 1.3 มีการติดตามและหนุนเสริม 2เดือนครั้ง

0.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 50
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
ประกอบด้วยตัวแทน จากกรรมการหมู่บ้าน ตัวแทนคุ้ม ปรา 50 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 857 96,200.00 1 0.00
20 มิ.ย. 63 ประชุมคณะทำงาน 30 19,500.00 -
20 มิ.ย. 63 กิจกรรมที่ 4 ศึกษาข้อมูล สถานการณ์ วิเคราะห์ชนิดพืชและพื้นที่เหมาะสม 10 1,950.00 -
20 มิ.ย. 63 จัดกระบวนการเรียนรู้ ถ่ายทอดเทคโนโลยี นวัตกรรม ด้านการผลิตผักปลอดภัย 105 31,800.00 -
20 มิ.ย. 63 เกิดกลไกตลาด ผักปลอดภัยเพิ่มขึ้น และกลไกหนุนเสริมจากจังหวัดยะลา 110 16,950.00 -
20 มิ.ย. 63 เกษตรกรปลูกผักและจำหน่ายผักปลอดภัยอย่างมีคุณภาพทดแทนการนำเข้าจากนอกพื้นที่ 50 7,500.00 -
20 มิ.ย. 63 ประชาสัมพันธ์ลด ละเลิกบุหรี่ เหล้า 500 10,000.00 -
6 ก.ค. 63 เวทีพัฒนาศักยภาพการรายงานผลลัพธ์ของโครงการย่อย 2 1,000.00 0.00
10 ก.ค. 63 ประชุมประชาคม 50 7,500.00 -
17 ก.ค. 63 เปิดโครงการเกษตรกรปลอดภัยและพอเพียงตำบลกาบัง 0 0.00 -

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 มิ.ย. 2563 14:26 น.