Node Flagship

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ลดอุบัติเหตุบนท้องถนนตำบลธารโต
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดยะลา
รหัสโครงการ 63001750008
วันที่อนุมัติ 1 มิถุนายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2563 - 31 มีนาคม 2564
งบประมาณ 100,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ Node Flagship Yala
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสะแปอิง อาแด
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาววราภรณ์ เงินราษฎร์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลธารโต อำเภอธารโต จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 24 มิ.ย. 2563 31 ส.ค. 2563 24 มิ.ย. 2563 31 ส.ค. 2563 40,000.00
2 1 ก.ย. 2563 15 ธ.ค. 2563 50,000.00
3 1 ม.ค. 2564 15 มี.ค. 2564 10,000.00
รวมงบประมาณ 100,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

อุบัติเหตุทางท้องถนนเป็นสาเหตุสําคัญของการบาดเจ็บและเสียชีวิตของประชาชน รวมทั้งทําให้เกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งเหตุเหล่านี้มักมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัยด้วยกัน อาทิเช่น ป้จจัยด้านพฤติกรรมของผู้ขับขี่ ปัจจัยด้านรถหรือยานพาหนะ ปัจจัยด้านถนนและสิ่งแวดล้อม และปัจจัยด้านบริหารจัดการ และจากข้อมูลสถานการณ์อุบัติเหตุของจังหวัดยะลา (ข้อมูล 3 ฐาน) พบว่าในปี พ.ศ. 2562 มีผู้เสียชีวิต จำนวน 49 ราย คิดเป็นอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนเท่ากับ 10.9 ต่อแสนประชากร และเมื่อพิจารณาอัตราการเสียชีวิตจำแนกตามพื้นที่โดยใช้ข้อมูล ปี พ.ศ. 2561 พบว่า อำเภอกรงปินัง มีอัตราการเสียชีวิตสูงสุด (23.1 ต่อแสนประชากร) และรองลงมาอำเภอธารโต (22.6 ต่อแสนประชากร) ข้อมูลการเสียชีวิตของผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินในกรณีอุบัติเหตุภายใน 24 ชั่วโมง ของหน่วยบริการ (รพ.) ในภาพรวมจังหวัด ปี พ.ศ. 2562 มีจำนวน 74 คน คิดเป็นร้อยละ 6.3 เมื่อจำแนกตามรายอำเภอ พบว่าเมืองยะลา ร้อยละ 6.0 (53 คน), เบตง 10.4 (12 คน) ปี 2560 อัตราตาย 7.6 ,ปี 2561 อัตราตาย 6.3

1.1 สถานการณ์ปัญหาการเกิดอุบัติเหตุทางถนนในชุมชน/หมู่บ้าน พื้นที่ของอำเภอธารโต มี 4 ตำบล 37 หมู่บ้าน ประกอบ ตำบลธารโต 7 หมู่บ้าน ต.บ้านแหร 11 หมู่บ้าน ตำบลแม่หวาด 12 หมู่บ้าน ตำบลคีรีเขต 7 หมู่บ้าน ประชากร ชาย 11,066 คน หญิง 10187 คน รวม 21,253 คน จำนวนครัวเรือ 7,388 ครัวเรือน โดยพื้นที่ที่เกิดเหตุบ่อยที่สุดคือพื้นที่ตำบลธารโต มี 7 หมู่บ้าน ดังนี้หมู่ที่ 1 บ้านธารโต หมู่ที่ 2 บ้านหน้าเกษตร หมู่ที่ 3 บ้านจาเราะแป หมู่ที่ 4 บ้านศรีท่าน้ำ หมู่ที่ 5 บ้านบันนังกระแจะ หมู่ที่ 6 บ้านมายอ หมู่ที่ 7 บ้านหลังเกษตร มีจำนวนประชากรทั้งหมด 4347 คน 1284 ครัวเรือน มีหมู่บ้านที่ตั้งอยู่บนถนนสายหลักเส้น 410 ที่ผ่านไปเบตง มี 3 หมู่บ้านคือ หมู่ 2 บ้านหน้าเกษตร หมู่ 1 บ้านธารโต และหมู่ 5 บ้านบันนังกระแจะ ซึ่งมีการเกิดอุบัติเหตุเกิดขึ้นบ่อย สาเหตุมาจากการที่ผู้ขับขี่ไม่มีจิตสํานึก วินัยจราจร ขับรถด้วยความเร็วสูง เมาสุรา ขณะขับขี่ทั้งรถจักรยานยนตและรถยนต์ เนื่องจากพฤติกรรมการขับขี่ การไม่เคารพกฎจราจร และมีทางแยกเข้าหมู่บ้านหลายจุด ถนนเป็นทางโค้ง มีต้นไม้บังในบางจุด และส่วนใหญ่จะไม่มีไฟส่องสว่างทำให้เกิดอุบัติเหตุทางถนนขึ้นได้ในเวลากลางคืน ตลอดจนจุดที่มีทางแยก ทางโค้ง ไม่มีสัญลักษณ์และป้ายเตือน ทำให้ผู้ขับขี่รถขาดความระมัดระวัง อีกหนึ่งสาเหตุคือมีสัตว์ (สุนัข) วิ่งบนถนน

ในส่วนของสาเหตุการเสียชีวิตจากสถิติปี 2560-2562 โดยส่วนใหญ่เกิดจากอุบัติเหตุรถใหญ่ชนกับรถมอเตอร์ไซด์ โดยผู้ขับขี่รถมอเตอร์ไซด์ไม่ได้สวมหมวกกันน็อคทำให้ได้รับแรงกระแทกและเกิดการบาดเจ็บที่ศรีษะจนทำให้เสียชีวิต

โดยสาเหตุของการอุบัติเหตุทางถนนเหล่านี้เกิดจาก ด้านพฤติกรรมหลับใน ขับรถย้อนศร ไม่เคารพกฎจราจร เมาแล้วขับ สภาพร่างกายไม่พร้อมแล้วขับ เด็กแว๊น ประมาท ไม่มีความตระหนักและขับรถเร็ว ด้านกายภาพ ที่เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อม คือฝนตกถนนลื่น รถเสื่อมสภาพ ถนนชำรุด ทางโค้ง เป็นแหล่งชุมชุน มีร้านคาริมทางทำให้มีการจอดรถบนไหล่ทาง มีสัตว์เลี้ยงบนท้องถนน ส่วนด้านสังคม คือเด็กขับรถ ผู้สูงอายุใช้รถ และวัยรุ่นขับรถซิ่ง

ด้านกลไก ได้แก่ ไม่มีการบังคับใช้กฎหมายและไม่มีแกนนำ ซึ่งจากสาเหตุต่างๆ ส่งผลให้กิดผลกระทบทั้งทางด้านสุขภาพ สังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมดังนี้ จากพฤติกรรมการขับรถเร็ว ไม่สวมหมวกนิรภัยส่งผลให้เกิดความรุนแรงกับสุขภาพเมื่อเกิดอุบัติเหตุ ได้แก่ การได้รับบาดเจ็บ การเสียชีวิตและพิการไม่สามารถประกอบอาชีพได้ ส่งผลต่อทางด้านสังคมคือ ครอบครัวขาดผู้นำ ทำให้มีปัญหาครอบครัวและขาดยานพาหนะในการประกอบอาชีพ ทำให้ส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจ คือทำให้มีหนี้สินเพิ่มมากขึ้น ส่วนสภาพแวดล้อมทำให้การจราจรติดขัด
1.2 แนวทางการแก้ปัญหาการลดอุบัติเหตุบนท้องถนนตำบลธารโต จึงมีความจําเป็นที่ต่องดําเนินการอย่างจริงจัง เพื่อลดจํานวนอุบัติเหตุทางถนนและจํานวนผู้บาดเจ็บและ เสียชีวิตลงให้มากที่สุด โดยการรณรงค์เพื่อกระตุ้นเตือนประชาชนให้เกิดจิตสํานึก มีส่วนร่วมในการรับผิดชอบต่อสังคมในการป้องกันอุบัติเหตุบนท้องถนน ซึ่งน่าจะเป็นทางเลือกใหม่ที่มีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ ควรมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังทั้งเรื่องการให้สวมหมวกกันน็อค การขับรถย้อนศร การจัดการเรื่องการจอดรถบนไหล่ทาง เป็นต้น ซึ่งหากมีการปฏิบัติอย่างจริงจัง โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและหน่วยงานที่รับผิดชอบเข้ามามีส่วนร่วมในการช่วยกันแก้ไขปัญหา และหากแกนนำ และผู้นำชุมชนทำตัวเป็นแบบอย่างก็จะสามารถช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุได้
1.3 หากเราสามารถจัดการเรื่องการลดอุบัติเหตุได้ อัตราการเกิดอุบัติเหตุ การเสียชีวิต การบาดเจ็บจากการเกิดอุบัติเหตุก็ลดลง ไม่มีการสูญเสีย ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ครอบครัวไม่ต้องรับภาระเลี้ยงดูในกรณีทุพพลภาพ ทำให้ครอบครัวมีความอบอุ่นไม่ขาดผู้นำครอบครัว สามารถทำมาหาเลี้ยงชีพและใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุข

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เกิดแกนนำและการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการจุดเสี่ยงเพื่อป้องกันอุบัติเหตุทางถนนในชุมชน

ผลลัพธ์ที่ 1 เกิดแกนนำในชุมชนที่สามารถขับเคลื่อนงานได้ ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 1.1 มีโครงสร้างแบ่งงานชัดเจน ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 1.2 มีข้อมูล
ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 1.3 มีแผนการดำเนินงาน ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 1.4 แกนนำมีทักษะ ผลลัพธ์ที่ 2คนในชุมชนและผู้ประกอบการเกิดความตระหนัก ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 2.1 เกิดกติกา ข้อตกลง ตลาดร้านค้า ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 2.2 เกิดกติกาชุมชน ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 2.3 การขับรถย้อนศรเป็นศูนย์

20.00
2 2.เพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุทางถนนให้น้อยลง

ผลลัพธ์ที่ 3 เกิดกลไกเฝ้าระวังเรื่องอุบัติเหตุ ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 3.1 แกนนำมีการติดตามเฝ้าระวัง
ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 3.2 มีข้อมูลการปรับพฤติกรรม
ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 3.3 เกิดการบังคับใช้กฎหมาย เช่น มีการตักเตือนเรื่องการให้สวมหมวกกันน็อค การไม่ขับรถย้อนศร เป็นต้น
ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 3.4 แกนนำมีการทบทวนทบทวนแผนการทำงานอย่างต่อเนื่อง
ผลลัพธ์ที่ 4 -คนในชุมชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสวมหมวกกันน็อค           -สภาพแวดล้อมได้รับการปรับเปลี่ยนการแก้ไขลดลง ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 4.1 ประชาชนมีการสวมหมวกกันน็อคเพิ่มขึ้น 50% จากประชากรผู้ขับขี่ ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 4.2 จุดเสี่ยงจำนวน 5 จุดได้รับการแก้ไข  5 จุด ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 4.3 ตลาดนัดได้รับการจัดการให้มีความปลอดภัยต่อการสัญจร (การจราจร) ผลลัพธ์ที่ 5อุบัติเหตุลดลง ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 5.1 KPI 1 อัตรา การตายลดลง 50% ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 5.1 KPI 2 อัตรา บาดเจ็บ ลดลง 50% ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 5.1 KPI 3 อัตราความรุนแรง การเกิดอุบัติเหตุลดลง 50%

50.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 115 115
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
ประชาชน 3 ชุมชนๆ ละ 30 คน 90 95
แกนนำ 25 25
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
1 จัดเก็บข้อมูล กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 1071 6,300.00 2 6,300.00
20 ส.ค. 63 จัดทำแบบสำรวจการสวมหมวกกันน็อคของผู้ขับขี่้มอเตอร์ไซด์ ถนนสาย 410 1,050 2,100.00 2,100.00
30 ก.ย. 63 เก็บข้อมูล 21 4,200.00 4,200.00
2 สร้างกลไกการเฝ้าระวังเรื่องการเกิดอุบัติเหตุ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 50 13,300.00 3 13,300.00
4 ก.พ. 64 อบรมให้ความรู้แก่ผู้นำชุมชน 25 5,650.00 5,650.00
17 ก.พ. 64 รณรงค์เรื่องการสวมหมวกกันน็อค 25 5,650.00 5,650.00
24 เม.ย. 64 จัดทำป้ายไวนิลรณรงค์สวมหมวกกันน็อค 2 ป้าย 0 2,000.00 2,000.00
3 จัดตั้งคณะทำงานโครงการและประชุมคณะทำงาน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 1221 12,800.00 8 12,800.00
11 มิ.ย. 63 จัดประชุมคณะทำงานโครงการฯ ครั้งที่ 1 25 1,250.00 1,250.00
7 ก.ค. 63 ประชุมคณะทำงานโครงการฯ ครั้งที่ 2 25 1,250.00 1,250.00
10 ก.ค. 63 เชิญชวน ชี้เป้าและเก็บข้อมูล 25 750.00 750.00
11 ก.ค. 63 จัดทำแบบสอบถามผู้ขับขี่มอเตอร์ไซด์ในชุมชน 1,050 2,100.00 2,100.00
14 ก.ค. 63 เก็บข้อมูล 21 4,200.00 4,200.00
11 ส.ค. 63 วิเคราะห์ข้อมูลและจุดเสี่ยง 25 750.00 750.00
30 ต.ค. 63 ประชุมคณะทำงานโครงการฯ ครั้งที่ 3 25 1,250.00 1,250.00
30 มี.ค. 64 ประชุมคณะทำงานโครงการฯ ครั้งที่ 4 25 1,250.00 1,250.00
4 การพัฒนาศักยภาพทีมจัดทำโครงการย่อย กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 17 10,000.00 9 10,000.00
3 มิ.ย. 63 เข้ารับการปฐมนิเทศกับ Node Flagship 3 960.00 960.00
27 มิ.ย. 63 จัดทำป้ายโครงการ จำนวน 2 แผ่น 0 1,000.00 1,000.00
1 ก.ค. 63 - 31 มี.ค. 64 จัดทำรายงานและอินเตอร์เน็ต 1 2,000.00 2,000.00
6 ก.ค. 63 เวทีพัฒนาศักยภาพการรายงานผลลัพธ์ของโครงการย่อยฯ 2 980.00 980.00
15 ส.ค. 63 ทบทวนบันไดผลลัพธ์และออกแบบการเก็บข้อมูลของโครงการย่อย 2 780.00 780.00
20 ส.ค. 63 ประชุมพิจารณายกร่างตารางข้อมูลผลลัพธ์เชิงประเด็นยุทธศาสตร์ 1 480.00 480.00
23 - 25 ต.ค. 63 เวทีการประเมินเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE) Node Flagship จังหวัดยะลา ครั้งที่ 1 4 2,860.00 2,860.00
16 ก.พ. 64 ติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE) ระดับหน่วยจัดการ 2 480.00 480.00
24 มี.ค. 64 เวทีสังเคราะห์และสกัดบทเรียนฯ 2 460.00 460.00
5 สร้างความตระหนักให้เกิดขึ้นในชุมชนและร้านค้า กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 240 31,200.00 7 31,200.00
11 ก.ค. 63 สร้างความเข้าใจแก่คนในชุมชน ม.5 บ้านบันนังกระแจะ 30 3,900.00 3,900.00
13 ก.ค. 63 สร้างความเข้าใจแก่คนในชุมชน ม.2 บ้านหน้าเกษตร 30 3,900.00 3,900.00
8 ส.ค. 63 สร้างความเข้าใจแก่คนในชุมชน ม. 1 บ้านธารโต 30 3,900.00 3,900.00
16 ส.ค. 63 ติดตามผลกับคนในชุมชน 90 11,700.00 11,700.00
8 เม.ย. 64 สร้างความเข้าใจกับร้านค้า 30 3,900.00 3,900.00
9 เม.ย. 64 ติดตามผลร้านค้า 30 3,900.00 3,900.00
11 เม.ย. 64 ร่วมรณรงค์ในกิจกรรม 7 วันอันตราย 0 0.00 0.00
6 ประเมินเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา ARE กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 75 0.00 2 0.00
16 ก.ย. 63 ประเมินเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา ARE ครั้งที่ 1 25 0.00 -
21 ม.ค. 64 ประเมินเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา ARE ครั้งที่ 2 25 0.00 0.00
23 เม.ย. 64 ประเมินเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา ARE ครั้งที่ 3 25 0.00 0.00
7 ถอดบทเรียนจัดเวทีชื่นชม มอบประกาศนียบัตรให้ชุมชนที่ลดอุบัติเหตุได้ตามเป้า และคืนข้อมูล กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 20 450.00 2 450.00
23 เม.ย. 64 ส่งมอบข้อมูลให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 20 300.00 300.00
24 เม.ย. 64 มอบประกาศนียบัตรพร้อมกรอบ 0 150.00 150.00
8 พาแกนนำไปศึกษาดูงาน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 25 13,250.00 1 13,250.00
7 เม.ย. 64 คณะทำงานไปศึกษาดูงาน 25 13,250.00 13,250.00
9 ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสวมหมวกกันน็อคและปรับสภาพแวดล้อม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 12,700.00 3 12,700.00
3 พ.ย. 63 จัดการจุดเสี่ยง 0 0.00 0.00
21 ม.ค. 64 รณรงค์ ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ เรื่องการสวมหมวกกันน็อค 0 6,400.00 6,400.00
30 มี.ค. 64 จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์เพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุ 0 6,300.00 6,300.00

ประชุมชี้แจงโครงการและจัดตั้งคณะทำงาน

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

มีคณะทำงานในการดำเนินงานโครงการ

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 มิ.ย. 2563 19:41 น.