Node Flagship

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ปลูกผักปลอดสารพิษในชุมชนกอตอตือร๊ะ
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดยะลา
รหัสโครงการ 63001750010
วันที่อนุมัติ 1 มิถุนายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2563 - 31 มีนาคม 2564
งบประมาณ 100,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายนาวี สะหะเม๊าะ
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ นายอาหามะ สะอะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกอตอตือร๊ะ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 3 มิ.ย. 2563 31 ต.ค. 2563 3 มิ.ย. 2563 31 ต.ค. 2563 40,000.00
2 1 พ.ย. 2563 15 เม.ย. 2564 50,000.00
3 3 มิ.ย. 2563 12 เม.ย. 2564 10,000.00
รวมงบประมาณ 100,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบัน การซื้อผักผลไม้ตามท้องตลาดมาบริโภคนั้นมีความเสี่ยงในเรื่องสารพิษตกค้าง ซึ่งหากบริโภคเป็นประจำอาจเกิดการสะสม และส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว ทั้งในเรื่องของประสาทสัมผัส การเคลื่อนไหวบกพร่อง เกิดความผิดปกติทางกายภาพของต่อมไทรอยด์ นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าสารป้องกันกำจัดแมลงบางชนิดมีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็ง เช่น มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งตับอ่อน มะเร็งเต้านม และมะเร็งผิวหนัง ชุมชนตำบลกอตอตือร๊ะ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา มีจำนวนประชากรทั้งหมด 5,209 คน มีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 1,051 ครัวเรือน มีจำนวนหมู่บ้านทั้งหมด 5 หมู่บ้าน ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำสวน ทำไร่ และเกษตร แต่ชาวบ้านยังขาดองค์ความรู้ เรื่องการทำเกษตรปลอดสารพิษ
พฤติกรรมการบริโภคของชุมชนกอตอตือร๊ะ ส่วนใหญ่ซื้อผักจากท้องตลาดมาบริโภคในครัวเรือน ไม่ได้มีการปลูกผัก ทั้งที่มีพื้นที่ในการเพาะปลูก เพราะหาซื้อง่าย สะดวกในการจับจ่ายใช้สอยผักจากตลาด ซึ่งในชุมชนมีตลาดนัดชุมชน จึงนิยมซื้อผักมาบริโภค ส่วนใหญ่จะปลูกพืชสมุนไพร เช่น ขิง ข่า ตะไคร้ ที่ไม่ต้องให้การดูแลบำรุงรักษา ชุมชนมีการปลูกผักอยู่บ้าง ประมาณ 42 ครัวเรือน และมีการปลูกที่ใช้สารเคมี ประมาณ 10 ครัวเรือน ผลกระทบจากการใช้สารเคมี ชุมชนเสียค่าใช่จ่ายในการซื้อปุ๋ยเพื่อใช้ในการเกษตร ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม มีสารเคมีสารพิษปนเปื้อนในแหล่งน้ำสาธารณะของชุมชน และทำให้ดินเสื่อม ด้านสุขภาพ ประชาชนที่ปลูกผักโดยใช้สารเคมี หรือผู้ที่อยู่ใกล้เคียงได้รับสารพิษโดยตรง ทำให้สารพิษตกค้างสะสมภายในร่างกาย ประชาชนที่บริโภคผักที่มีสารเคมีปนเปื้อน ร่างกายจะสะสมสารพิษ ส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาว เช่น มะเร็ง เป็นต้น สาเหตุของปัญหาดังกล่าวนั้นเกิดจาก จากพฤติกรรมการปลูกผักของชุมชน พบว่าพฤติกรรมของบุคคลในชุมชนไม่มีการปลูกผักในการบริโภค ด้วยขาดความรู้ ความตระหนัก ต้องการความสะดวก ประกอบกับมีต้นทุนการผลิตสูง เป็นปัจจัยภายใน และการมีตลาดชุมชนเป็นทางเลือกทำให้สะดวกในการใช้บริการ นั่นแสดงว่าชุมชนมีทางเลือก การใช้สารเคมีประกอบการเกษตร ไม่เห็นความสำคัญของการบริโภคผักปลอดสารพิษ ปลูกโดยไม่สนใจผู้บริโภคและตนเอง พ่อค้าชอบผักที่ดี แต่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค ใช้สารเคมีไม่ใช่ปัญหาของพ่อค้า เกษตรกรจึงไม่เห็นความสำคัญของการปลูกผักปลอดสารเคมี ขาดองค์ความรู้ด้านการใช้สารเคมี ไม่มีศูนย์การเรียนรู้ หรือต้นแบบในการเพาะปลูกพืชผักปลอดสารเคมี ขาดหน่วยงานที่มาส่งเสริมและสนับสนุนการปลูก/บริโภคผักปลอดสารพิษในหมู่บ้าน ไม่มีกฎกติกา/ระเบียบของชุมชนในการบริโภคผักปลอดสารพิษ ไม่มีระบบการทำงาน กลไกลที่ดีในการจัดการชุมชนด้านการเกษตร กรรมการชุมชนขาดทักษะ ขาดความเชื่อมั่น ทำให้เกษตรกรในชุมชนขาดต้นแบบที่ดี อีกทั้งการประชาสัมพันธ์ สื่อโฆษณาด้านการเกษตร ยังไม่ทั่วถึง ทำให้ประชาชนไม่ได้รับข่าวสารเกี่ยวกับการเกษตร
การที่ใช้สารเคมีนั้นยังกระทบถึงสุขภาพและสาธารณสุขระดับประเทศ อีกทั้งพื้นที่สำหรับเพาะปลูกที่มีสารเคมีเจือปนก็ได้มีแมลงที่เป็นศัตรูพืชเจริญเติบโตและสร้างปัญหาให้กับเกษตรกรผู้อยู่ในพื้นที่นั้น ๆ และในปัจจุบันนี้ ศัตรูพืชที่มีพิษมากกว่า ๑๐๐ ชนิด
ชุมชน ฯ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมและสนับสนุนการผลิตและบริโภคผักปลอดภัยในครัวเรือนและเพื่อจำหน่ายตามตลาดทั้งภายในชุมชนหรือกระจายตามชุมชนต่างๆมากยิ่งขึ้น เพื่อมุ่งเน้นสร้างรายได้และอาชีพแก่เกษตรกรในชุมชน และมีตลาดรองรับผลผลิตของเกษตรกร ชุมชนมีพื้นฐานเกษตรสามารถทำการผลิตได้ มีความร่วมมือจากหน่วยงานอื่น ๆ ในด้านปัจจัยพื้นฐานการผลิต (ดิน ปุ๋ย ที่ดิน สารชีวภัณฑ์ ) และยังได้รับมาตรฐานอาหารปลอดภัย (GAP) อีกด้วย รวมทั้งแสดงให้เห็นความร่วมมืออื่นใดจากเครือข่ายต่าง ๆ เช่น ตำบลสันติสุข งบกาองทุนตำบล เป็นต้น

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนในตำบลกอตอตือร๊ะ มีองค์ความรู้ เรื่องการทำเกษตรปลอดสารพิษ (เพื่อให้ครัวเรือนปลูกผักปลอดภัย สำหรับการบริโภคในครัวเรือนและการจำหน่าย)

ผลลัพธ์ที่ 1 เกษตรกรมีการรวมกลุ่มและเครือข่ายเป็นคณะทำงาน ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 1.1 เกิดคณะทำงาน อย่างน้อย 20 คน ที่มาจากกรรมการหมู่บ้านและตัวแทน ที่เห็นชอบร่วมกัน
ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 1.2 เกิดการกำหนดบทบาทหน้าที่ของคณะทำงาน ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 1.3 มีแผนการปฏิบัติงาน ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 1.4 มีการติดตามผลการปฏิบัติงานและเก็บข้อมูลอย่างต่อเนื่อง ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 1.5 มีการสรุปผลการดำเนินงาน ผลลัพธ์ที่ 2 เกษตรกรมีความรู้ สามารถผลิตผักปลอดภัย ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 2.1 เกษตรกรมีทักษะ สามารถทำเกษตร อินทรีย์ ได้ผักปลอดสารพิษมาบริโภคและจำหน่าย ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 2.2 เกษตรกรเกิดการรวมกลุ่มและนำความรู้เรื่องการทำปุ๋ย/ สารชีวภาพไปใช้  อย่างน้อยร้อยละ 80 ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 2.3 มีการกำหนดข้อตกลงและนำไปปฏิบัติร่วมกันในการปลูกผัก แบบไม่ใช้สารเคมี

100.00
2 เพื่อสร้างระบบการจัดจำหน่ายผักปลอดภัยเพื่อการสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร

ผลลัพธ์ที่ 3 เกษตรกรปลูกและจำหน่ายผักปลอดภัยอย่างมีคุณภาพทดแทนการนำเข้าผักจากนอกจังหวัด ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 3.1 มีตราสัญลักษณ์ผักปลอดภัยที่ได้รับรองมาตรฐาน GAP
ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 3.2 หน่วยงานราชการ สถานพยาบาลในจังหวัด ใช้ผักปลอดภัยในพื้นที่โครงการ ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 3.3 มีตลาดสินค้าเกษตรกรปลอดภัยไม่น้อยกว่า 4 แห่ง

100.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 75 75
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
เกษตรกรในชุมชน 75 75
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 986 100,000.00 27 100,000.00
3 มิ.ย. 63 เวทีปฐมนิเทศ และทำสัญญาโครงการย่อย 3 600.00 600.00
15 มิ.ย. 63 จัดทำไวนิลโครงการ 0 1,000.00 1,000.00
27 มิ.ย. 63 กิจกรรมที่ 1 ตั้งคณะทำงานดำเนินงานตามโครงการ : เปิดโครงการและจัดตั้งคณะทำงาน 20 2,915.00 2,915.00
6 ก.ค. 63 เวทีพัฒนาศักยภาพการรายงานผลลัพธ์ของโครงการย่อย (สสส.ผู้จัด ณ มฟน.) 2 400.00 400.00
14 ส.ค. 63 กิจกรรมที่ 2 คณะทำงานสำรวจข้อมูลของผู้ที่สนใจเข้าร่วม(สำรวจข้อมูลการปลูกผักแต่ละครัวเรือน ครั้งที่ 1) 20 3,140.00 3,140.00
15 ส.ค. 63 เวทีทบทวนบันไดผลลัพธ์และออกแบบเก็บข้อมูลของโครงการย่อย (สสส.ผู้จัด ณ โรงแรมปาร์ควิวยะลา) 1 400.00 400.00
20 ส.ค. 63 เวทีพิจารณายกร่างตารางข้อมูลผลลัพธ์เชิงประเด็นยุทธศาสตร์จังหวัดยะลา 2 200.00 200.00
29 ส.ค. 63 กิจกรรมที่ 3 คณะทำงานจัดประชุม/อบรม ประชาคมหมู่บ้าน 75 12,150.00 12,150.00
11 ก.ย. 63 กิจกรรมที่ 4 ประชุมติดตามความก้าวหน้า (ครั้งที่ 1) 20 2,600.00 2,600.00
13 ก.ย. 63 เวทีติดตาม ประเมินและพัฒนา ARE ครั้งที่ 1 20 2,685.00 2,685.00
27 ก.ย. 63 กิจกรรมที่ 5 รวมกลุ่มให้ความรู้ รณรงค์และกระตุ้นให้มีการปลูกผักโดยไม่ใช้สารเคมีและตระหนักเห็นประโยชน์การปลูกไว้บริโภค 75 18,723.00 18,723.00
23 - 25 ต.ค. 63 เวทีประเมินเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาระดับหน่วยจัดการ (ARE-Node) ครั้งที่ 1 4 2,640.00 2,640.00
27 พ.ย. 63 เวทีนำเสนอผลการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์และเชื่อมโยงการทำงานระหว่างพื้นที่กับหน่วยงาน 2 400.00 400.00
29 พ.ย. 63 กิจกรรมที่ 6 ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกผักในแปลงต้นแบบ โดยให้บันทึกข้อมูลการปลูก 75 18,750.00 18,750.00
19 ธ.ค. 63 กิจกรรมที่ 7 ติดตามความก้าวหน้า (ครั้งที่ 2) 20 3,030.00 3,030.00
2 ม.ค. 64 กิจกรรมที่ 8 ติดตามการปลูกผัก ครั้งที่ 1 75 2,250.00 2,250.00
16 ม.ค. 64 กิจกรรมที่ 9 ติดตามการปลูกผัก ครั้งที่ 2 75 2,250.00 2,250.00
29 ม.ค. 64 เวทีติดตาม ประเมินและพัฒนา ARE ครั้งที่ 2 75 2,250.00 2,250.00
30 ม.ค. 64 กิจกรรมที่ 10 ติดตามการปลูกผัก ครั้งที่ 3 75 2,250.00 2,250.00
13 ก.พ. 64 กิจกรรมที่ 11 ติดตามการปลูกผัก ครั้งที่ 4 75 2,250.00 2,250.00
24 มี.ค. 64 เวทีถอดบทเรียน Noode Flagship 2 200.00 200.00
25 มี.ค. 64 กิจกรรมที่ 12 ส่งเสริมให้มีการบริโภคผักที่ปลูกแบบไม่ใช้สารเคมีในครัวเรือน (การประกวดจากการปลูกผัก) 75 4,317.00 4,317.00
26 - 27 มี.ค. 64 กิจกรรมที่ 13 จำหน่ายตามร้านค้าในชุมชน 75 0.00 0.00
31 มี.ค. 64 กิจกรรมที่ 14 สำรวจข้อมูลการปลูกผักแต่ละครัวเรือน ครั้งที่ 2 20 3,140.00 3,140.00
9 เม.ย. 64 กิจกรรมที่ 15 เวทีแลกเปลี่ยนและสรุปผลการดำเนินการ 75 7,500.00 7,500.00
12 เม.ย. 64 เวทีถอดบทเรียน ARE ครั้งที่ 3 5 900.00 900.00
15 เม.ย. 64 กิจกรรมที่ 16 ติดตามความก้าวหน้าและสรุปโครงการ 20 3,060.00 3,060.00

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 มิ.ย. 2563 06:20 น.