Node Flagship

แบบการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ (Process Evaluation)

กิจกรรมระยะเวลาเป้าหมาย/วิธีการผลการดำเนินงานปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
ตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริง
เวทีปฐมนิเทศ และทำสัญญาโครงการย่อย 3 มิ.ย. 2020 3 มิ.ย. 2020

 

  1. ปฐมนิเทศ
  2. สร้างการรับรู้ การเข้าใจ ในเรื่อง หลักการ เป้ายหมายโครงการ การทำสัญญาจ้าง การรายงานทางการเงิน และรายงานการดำเนินงานโครงการ

 

  1. แกนนำ จำนวน 3 คน เข้าร่วมกิจกรรมปฐมนิเทศ คิดเป็นร้อยละ 100
  2. แกนนำโครงการย่อย เข้าใจหลักการ และเป้าหมายของโครงการ
  3. จัดทำสัญญาจ้าง
  4. เข้าใจการดำเนินงานทางการเงิน
  5. เข้าใจแนวทางการรายงานการดำเนินงานตามงวดงานอย่างชัดเจน

 

จัดทำไวนิลโครงการ 15 มิ.ย. 2020 15 มิ.ย. 2020

 

จ้างร้านดำเนินการจัดทำป้ายโครงการและป้ายแสดงผลลัพธ์โครงการ

 

  1. โครงการมีป้ายจำนวน 2 ป้าย ได้แก่ ป้ายโครงการและป้ายแสดงผลลัพธ์
  2. ทีมงานและสมาชิกโครงการ ทราบชื่อโครงการ วัตถุประสงค์โครงการและทราบผลลัพธ์ของโครงการ

 

กิจกรรมที่ 1 ตั้งคณะทำงานดำเนินงานตามโครงการ : เปิดโครงการและจัดตั้งคณะทำงาน 27 มิ.ย. 2020 27 มิ.ย. 2020

 

ดำเนินการเปิดโครงการ โดยประธานชุมชนกลุ่มเกษตรผสมผสานเศรษฐกิจพอเพียงตำบลกอตอตือระ ซึ่งมีพี่เลี้ยง (อาหามะ ) ร่วมดำเนินการ มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 26 คน เวลา 09.00-16.30 น. และได้ดำเนินการบรรยายในหัวข้อ เรื่อง ต้นไม้ปัญหาชุมชนกอตอตอตือระ และได้ดำเนินการจัดตั้งคณะทำงานฝ่ายต่าง ๆ ตามประกาศกลุ่มเกษตรผสมผสานเศรษฐกิจพอเพียงตำบลกอตอตือระ และนำมาสรุป รายงานให้ที่ประชุมทราบในการประชุมครั้งต่อไป

 

ประธานกลุ่มพร้อมพี่เลี้ยง และผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 26 คน ร่วมกิจกรรมเปิดโครงการและจัดตั้งคณะทำงาน โดยมีพี่เลี้ยง ดำเนินการเป็นประธานเปิดโครงการในครั้งนี้ ผลการดำเนินงานโครงการย่อย ณ ศาลาอเนกประสงค์ศูนย์เกษตรผสมผสานเศรษฐกิจพอเพียงตำบลกอตอตือระ ในการประชุมได้แลกเปลี่ยนประเด็นต่างๆ ได้แก่ รับฟังการบรรยายในหัวข้อ เรื่อง ต้นไม้ปัญหาชุมชนกอตอตือระ และได้จัดตั้งคณะทำงานฝ่ายต่าง ๆ ตามประกาศ

 

เวทีพัฒนาศักยภาพการรายงานผลลัพธ์ของโครงการย่อย (สสส.ผู้จัด ณ มฟน.) 6 ก.ค. 2020 6 ก.ค. 2020

 

ฝึกการใช้งานโปรแกรม รายงานผล - เพิ่มกิจกรรม -บันทึกกิจกรรม

 

ประธานและตัวแทนกลุ่ม เข้าร่วมเวทีพัฒนาศักยภาพการรายงานผลลัพธ์ของโครงการย่อย จำนวน 2 คน ณ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี ได้เรียนรู้การพัฒนาการใช้โปรแกรม และรายงานผล รวมถึงการบันทึกกิจกรรมที่ได้ดำเนินการแล้ว

 

กิจกรรมที่ 2 คณะทำงานสำรวจข้อมูลของผู้ที่สนใจเข้าร่วม(สำรวจข้อมูลการปลูกผักแต่ละครัวเรือน ครั้งที่ 1) 14 ส.ค. 2020 14 ส.ค. 2020

 

ดำเนินการ - ประชุมหัวข้อ "ข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมการปลูกผักและการบริโภคผักแต่ละครัวเรือน" - ประชุมหัวข้อ "ค่าใช้จ่ายในการซื้อผักเฉลี่ยต่อสัปดาห์"
- ประชุมหัวข้อ "การใช้สารเคมี"

 

ประธานและคณะทำงาน จำนวน 20 คน ดำเนินการจัดกิจกรรม คณะทำงานสำรวจข้อมูลของผู้ที่สนใจเข้าร่วม (สำรวจข้อมูลการปลูกผักแต่ละครัวเรือน ครั้งที่ ) ณ ศาลาอเนกประสงค์ศูนย์เกษตรผสมผสานเศรษฐกิจพอเพียงตำบลกอตอตือระ ผลทำให้เกิด ดังนี้
- คณะทำงานให้ความสนใจต่อกิจกรรม - คณะทำงานมีความรู้ความเข้าใจในการปลูกผักและบริโภคผักและการใช้สารเคมี สามารถนำมาปรับใช้ในการปลูกผักของตัวเองได้

 

เวทีทบทวนบันไดผลลัพธ์และออกแบบเก็บข้อมูลของโครงการย่อย (สสส.ผู้จัด ณ โรงแรมปาร์ควิวยะลา) 15 ส.ค. 2020 15 ส.ค. 2020

 

รับฟัง    - คำชี้แจงวัตถุประสงค์/เป้าหมายของกิจกรรม           - หลักการ "บันไดผลลัพธ์ของโครงการย่อย และเชิงประเด็น"
แบ่งกลุ่มโครงการย่อยฯ ตามความรับผิดชอบเพื่อทบทวนบันไดผลลัพธ์ของแต่ละโครงการย่อยฯ
การออกแบบการเก็บข้อมูลเพื่อตอบผลลัพธ์เชิงประเด็น

 

ตัวแทนกลุ่ม จำนวน 2 คน เข้าร่วมเวทีทบทวนบันไดผลลัพธ์และออกแบบเก็บข้อมูลของโครงการย่อย ณ โรงแรมปาร์ควิวยะลา ผลที่ทำให้เกิด ดังนี้ - ทีมงานเข้าใจวัตถุประสงค์/เป้าหมายของกิจกรรม และหลักการ "บันไดผลลัพธ์ของโครงการย่อย และเชิงประเด็น"
- ทีมงานสามารถตอบโจรย์ในการออกแบบการเก็บข้อมูลเชิงประเด็นยุทธศาสตร์มากขึ้น

 

เวทีพิจารณายกร่างตารางข้อมูลผลลัพธ์เชิงประเด็นยุทธศาสตร์จังหวัดยะลา 20 ส.ค. 2020 20 ส.ค. 2020

 

พิจารณายกร่างตารางข้อมูลผลลัพธ์เชิงประเด็นยุทธศาสต์จังหวัดยะลา มติที่ประชุม มีการปรับแก้ไขตารางข้อมูลให้สอดคล้อง

 

ตัวแทนกลุ่ม จำนวน 1 คน เข้าร่วมเวทีพิจารณายกร่างตารางข้อมูลผลลัพธ์เชิงประเด็นยุทธศาสตร์จังหวัดยะลา ณ ศาลากลางจังหวัดยะลา ผลทำให้เกิด คือ ทีมงานสามารถตอบโจทย์ในการกรอกข้อมูลตามตารางมากขึ้น และทีมงานเข้าใจการพิจารณายกร่างตารางข้อมูลผลลัพธ์เชิงประเด็นยุทธศาสต์มากขึ้น

 

กิจกรรมที่ 3 คณะทำงานจัดประชุม/อบรม ประชาคมหมู่บ้าน 29 ส.ค. 2020 29 ส.ค. 2020

 

  1. สรุปข้อมูลเรื่อง การสำรวจครัวเรือที่ปลูกผัก (ปลูกผักรับประทาน หรือซื้อผัก)
  2. เชิญวิทยากร ให้ข้อมูล เรื่องพิษภัยของการใช้สารเคมีในการปลูก พืชผัก และพิษภัยของสารเคมีตกค้างในพืชผัก

 

ประธานและคณะทำงาน จำนวน 75 คน ร่วมกิจกรรม....คณะทำงานจัดประชุม/อบรม ประชาคมหมู่บ้าน ณ ศาลาอเนกประสงค์ศูนย์เกษตรผสมผสานเศรษฐกิจพอเพียงตำบลกอตอตือระ ผลทำให้เกิด ดังนี้
1. ได้รับความร่วมมือจากคณะทำงานในการสำรวจครัวเรือนในตำบลฯ 2. ผู้เข้าร่วมอบรมฯ ได้รับความรุ้เรื่องพิษภัยของการใช้สารเคมีในการปลูก พืชผัก และพิษภัยของสารเคมีตกค้างในพืชผัก เพิ่มขึ้น 3. ผู้เข้าร่วมอบรมเข้าใจในเรื่องของพิษภัยในผักมากขึ้น

 

กิจกรรมที่ 4 ประชุมติดตามความก้าวหน้า (ครั้งที่ 1) 11 ก.ย. 2020 11 ก.ย. 2020

 

ประธานชี้แจง ขอความร่วมมือคณะทํางานดําเนินงานตามประกาศแต่งตั้งของกลุ่มฯ ด้านการประสานงาน การประชาสัมพันธ์  การสำรวจ  การช่วยเหลือเมื่อมีกิจกรรมต่าง ๆ - แจ้งถึงการปัญหาการลงงานในระบบในทุกกิจกรรมที่ผ่านมา
- แจ้งกิจกรรมที่กำลังจะดำเนินการในครั้งต่อไป

 

ประธานและคณะทำงาน จำนวน 20 คน ประชุมคณะทำงานจัดประชุม/อบรม ประชาคมหมู่บ้าน ณ ศาลาอเนกประสงค์ศูนย์เกษตรผสมผสานเศรษฐกิจพอเพียงตำบลกอตอตือระ ผลทำให้เกิด คณะทำงานเข้าใจและให้ความร่วมมือ ทราบถึงกระบวนการจัดกิจกรรม และทราบปัญหา อุปสรรคต่าง ๆ ที่ผ่านมา

 

เวทีติดตาม ประเมินและพัฒนา ARE ครั้งที่ 1 13 ก.ย. 2020 13 ก.ย. 2020

 

หัวหน้าหน่วยจัดการและพี่เลี้ยงพร้อมคณะทำงานได้ดำเนินการคิดกติกา-ข้อตกลง  จำนวน 6 ข้อ ในการปลูกผักปลอดภัย เพื่อให้ในที่ประชุมช่วยดูเพิ่มเติม แก้ไข และรับทราบต่อไป แนะนำให้เพิ่มเติมที่ปรึกษาคณะทำงานตามประกาศแต่งตั้งเพื่อให้หน่วยงานราชการในพื้นที่ได้มีส่วนร่วมและขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆ และเพิ่มเติมการลงระบบตามกิจกรรมที่ได้ดำเนินการที่ผ่านมาให้ดำเนินการลงระบบทุกครั้งที่ดำเนินการจัดกิจกรรมเสร็จสิ้นทุกครั้ง

 

คณะทำงานเข้าใจในระบบมากขึ้น คณะทำงานเข้าใจถึงปัญหาการดำเนินงาน คณะทำงานพร้อมให้ความร่วมมือ

 

กิจกรรมที่ 5 รวมกลุ่มให้ความรู้ รณรงค์และกระตุ้นให้มีการปลูกผักโดยไม่ใช้สารเคมีและตระหนักเห็นประโยชน์การปลูกไว้บริโภค 27 ก.ย. 2020 27 ก.ย. 2020

 

  • สรุปประเด็นเวทีติดตาม ประเมินและพัฒนา ARE ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2553 ที่ผ่านมาและดำเนินการกำหนดกติกา-ข้อตกลงในการปลูกผัก 6 ข้อ ตามมติที่ประชุม
  • เชิญวิทยากรจากสำนักงานเกษตรอำเภอรามัน บรรยายในหัวข้อ "การปลูกผักตามฤดูกาล  ผักพื้นถิ่น"
  • เชิญวิทยากรจากสภาเกษตรตำบลกอตอตือร๊ะบรรยายหัวข้อ "การสาธิตการทำปุ๋ยหมัก วิธีการทำปุุ๋ยหมักคุณประโยชน์ของการทำปุ๋ยหมัก

 

  • คณะทำงานให้ความร่วมมือ
  • คณะทำงานเข้าใจในการทำงานร่วมกันมากขึ้น
  • คณะทำงานทราบถึงการประเมินที่ผ่านมา
  • คณะทำงานและความรู้ความเข้าใจในเรื่องของผักและปุ๋ยหมักมากขึ้น

 

เวทีประเมินเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาระดับหน่วยจัดการ (ARE-Node) ครั้งที่ 1 23 ต.ค. 2020 24 ต.ค. 2020

 

ร่วมเวที ประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE-Node) /ชี้แจงวัตถุประสงค์และขั้นตอนกระบวนการ ARE โดยสังเขป /แลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามประเด็นยุทธศาสตร์ /นำเสนอ PPT /ทบทวนผลลัพธ์-ความก้าวหน้าของโครงการย่อยฯ / แบ่งกลุ่มตามประเด็นยุทธศาสตร์ /นำเสนอผลของกลุ่ม/การคีย์รายงานผลในระบบ/สรุปผลภาพรวมของเวทีการประเมินเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE)

 

-ได้แลกเปลี่ยนรู้เพิ่เติมจากกลุ่มย่อยต่างๆ -ได้รู้รายละเอียด/ข้อมูลการปลูกผักเพิ่มขึ้น -ได้เรียนรู้การคีย์ข้มูลให้ถูกต้อง

 

เวทีนำเสนอผลการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์และเชื่อมโยงการทำงานระหว่างพื้นที่กับหน่วยงาน 27 พ.ย. 2020 27 พ.ย. 2020

 

นำเสนอผลงานกิจกรรมที่ผ่านมาให้ที่ประชุมทราบ รวมถึงขั้นตอนในการจัดกิจกรรมในแต่ละครั้ง พื้นที่กับหน่วยงานในพื้นที่สามารถทำงานร่วมกันได้

 

ผู้เข้าร่วมประชุมเข้าใจในด้านต่างๆที่พี่เลี้ยงหรือหน่วยจัดการได้เสนอแนะในการแก้ปัญหาหรือแนะนำเพิ่มเติม สามารถนำผลการนำเสนอในการขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆในแต่ละพื้นที่มาปรับใช้ในกิจกรรมต่อไป

 

กิจกรรมที่ 6 ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกผักในแปลงต้นแบบ โดยให้บันทึกข้อมูลการปลูก 29 พ.ย. 2020 29 พ.ย. 2020

 

  • สรุปกิจกรรมที่ผ่านมาให้ผู้เข้าร่วมประชุมทราบ
  • ดำเนินการแจกเมล็ดพันธุ์ เพื่อให้กลับไปดำเนินการปลูกในแปลงของตนเอง
  • แจ้งให้ทราบถึงการติดตามการปลูกผัก

 

  • ผู้เข้าร่วมประชุมมีความเข้าใจและทราบถึงปัญหาในการจัดกิจกรรมที่ผ่านมา
  • ผู้เข้าร่วมประชุมเข้าใจในการปลูกผักมากขึ้น

 

กิจกรรมที่ 7 ติดตามความก้าวหน้า (ครั้งที่ 2) 19 ธ.ค. 2020 19 ธ.ค. 2020

 

ดำเนินการแจ้งกิจกรรมที่ผ่านมา ถึงการดำเนินการ ปัญหาต่าง ๆ ระหว่างจัดทำกิจกรรม
และแจ้งกิจกรรมที่จะดำเนินการต่อไป

 

คณะทำงานเข้าใจในกระบวนการดำเนินการตามกิจกรรมต่าง ๆ
และคณะทำงานทราบถึงปัญหาต่าง ๆ

 

กิจกรรมที่ 8 ติดตามการปลูกผัก ครั้งที่ 1 2 ม.ค. 2021 2 ม.ค. 2021

 

ดำเนินการตรวจตามครัวเรือน แต่ละครัวเรือน
สอบถามปัญหาในการปลูกผัก
บางครัวเรือน กำลังเพาะเมล็ด/กำลังลงดิน

 

ประธานและคณะทำงาน ลงพื้นที่เพื่อสำรวจการปลูกผักของแต่ละครัวเรือน เพื่อให้เกิดการปลูกผักจริงๆ ตามพื้นที่ของแต่ละครัวเรือน บางครัวเรือน กำลังเพาะ บางครัวเรือน

 

กิจกรรมที่ 9 ติดตามการปลูกผัก ครั้งที่ 2 16 ม.ค. 2021 16 ม.ค. 2021

 

ดำเนินการลงตรวจพื้นที่แต่ละครัวเรือน ครั้งที่ 2

 

ผักที่ปลูก บางครัวเรือน ออกผลผลิต สามารถอุปโภค บริโภค และบางครัวเรือน กำลังลงดินปลูก รอวันที่สามารถเก็บได้

 

เวทีติดตาม ประเมินและพัฒนา ARE ครั้งที่ 2 29 ม.ค. 2021 29 ม.ค. 2021

 

รายงานกิจกรรมที่ผ่านมาให้กับพี่เลี้ยงและผู้เข้าร่วมประชุมทราบ รายงานปัญหาที่เกิดขึ้นในการดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมา ขอคำแนะนำคำปรึกษาจากที่เลี้ยงเพื่อเป็นแนวทางในกิจกรรมต่อไป รายงานกิจกรรมที่กำลังจะเกิดขึ้นจนสิ้นสุดโครงการ รายงานงบประมาณทั้งหมดที่ได้รับการสนับสนุน

 

ผู้เข้าร่วมประชุมให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการเข้าร่วมกิจกรรม ผู้เข้าร่วมประชุมทราบถึงกิจกรรมที่จัดไปแล้วและที่กำลังจะดำเนินการต่อไป ผู้เข้าร่วมประชุมได้รับคำแนะนำที่ดีจากพี่เลี้ยง ผู้เข้าร่วมประชุมได้รับทราบงบประมาณทุกกิจกรรมที่ผ่านมาและกิจกรรมต่อไปทั้งหมด

 

กิจกรรมที่ 10 ติดตามการปลูกผัก ครั้งที่ 3 30 ม.ค. 2021 30 ม.ค. 2021

 

ดำเนินการลงตรวจพื้นที่ในการปลูกผักแต่ละครัวเรือน สอบถามปัญหาต่าง ๆ ในการปลูกผัก

 

ได้ผลผลิตที่ดี ขึ้นตามลำดับ
บางครัวเรือน สามารถนำไปจำหน่ายในชุมชนได้แล้ว

 

กิจกรรมที่ 11 ติดตามการปลูกผัก ครั้งที่ 4 13 ก.พ. 2021 13 ก.พ. 2021

 

ดำเนินการลงตรวจพื้นที่แต่ละครัวเรือน ครั้งสุดท้าย
สอบถามปัญหาต่าง ๆ

 

ได้ผลผลิตเป็นที่น่าพอใจ
บางครัวเรือน สามารถนำไปจำหน่ายได้ มีรายได้
บางครัวเรือน สามารถนำมาบริโภค ทำให้ลดรายจ่ายภายในครัวเรือน

 

เวทีถอดบทเรียน Noode Flagship 24 มี.ค. 2021 24 มี.ค. 2021

 

จัดกลุ่มย่อยฯ ถอดบทเรียนกิจกรรมที่ผ่านมา ความคุ้มค่าต่อการทำกิจกรรม เจอปัญหาอะไรในการทำกิจกรรม กิจกรรมนี้มีประโยชน์อย่างไร

 

-ผู้เข้าร่วมประชุมได้ทราบและเข้าใจถึงความคุ้มค่าในการจัดทำกิจกรรมต่างๆที่ผ่านมา -ผู้เข้าร่วมประชุมได้ทราบและเข้าใจถึงการแก้ปัญหาในระหว่างการดำเนินกิจกรรม -ผู้เข้าร่วมประชุมทราบและเข้าใจถึงความคุ้มค่าของการจัดทำกิจกรรมที่ผ่านมา

 

กิจกรรมที่ 12 ส่งเสริมให้มีการบริโภคผักที่ปลูกแบบไม่ใช้สารเคมีในครัวเรือน (การประกวดจากการปลูกผัก) 25 มี.ค. 2021 25 มี.ค. 2021

 

กรอกใบสมัครผู้เข้าร่วมกิจกรรม ประกวดคัดเลือกโดยมีเกณฑ์การตัดสิน ประกวด ประกาศผลการคัดเลือก มอบรางวัล

 

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมให้ความสนใจในกิจกรรมนี้เกินเป้าหมาย ได้ผลผลิต เกินเป้าหมาย

 

กิจกรรมที่ 13 จำหน่ายตามร้านค้าในชุมชน 26 มี.ค. 2021 26 มี.ค. 2021

 

ขายตามร้านค้าในชุนชนกอตอตือระ

 

มีคนสนใจผักปลอดภัย

 

กิจกรรมที่ 14 สำรวจข้อมูลการปลูกผักแต่ละครัวเรือน ครั้งที่ 2 31 มี.ค. 2021 31 มี.ค. 2021

 

สำรวจข้อมูลการปลูกผักของแต่ละครัวเรือน สำรวจข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมการปลูกและบริโภคผักที่ไม่ใช้สารเคมีในแต่ละครัวเรือน เปรียบเทียบข้อมูล

 

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถบริโภคผักที่ปลูกเอง สามารถนำมาจำหน่าย เพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือนเพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่ายใรครัวเรือน

 

กิจกรรมที่ 15 เวทีแลกเปลี่ยนและสรุปผลการดำเนินการ 9 เม.ย. 2021 9 เม.ย. 2021

 

ประธานแจ้งกิจกรรมที่ดำเนินการแล้วเสร็จ / แลกเปลี่ยนความคิดในการดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมา / คณะทำงานสรุปผลการดำเนินการที่ผ่านมา

 

 

 

เวทีถอดบทเรียน ARE ครั้งที่ 3 12 เม.ย. 2021 12 เม.ย. 2021

 

  • วิเคราะห์ ถอดบทเรียนประเด็นต่าง ๆ จากผลการดำเนินงานโครงการระยะเวลา 1 ปี
  • สรุปงานการดำเนินงานโครงการเพื่อส่งมอบโครงการ

 

คณะทำงาน จำนวน 5 คน ร่วมกับพี่เลี้ยง ร่วมกิจกรรมเวทีถอดบทเรียน ARE ครั้งที่ 3 ณ โรงเรียนบ้านพร่อน
ร่วมถอดบทเรียนประเด็นต่าง ๆ จากผลการดำเนินงานโครงการระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา ซึ่งคณะทำงานสามารถวิเคราะห์ถอดบทเรียนได้ เข้าใจในกิจกรรมที่ผ่านมาทั้งหมด

 

กิจกรรมที่ 16 ติดตามความก้าวหน้าและสรุปโครงการ 15 เม.ย. 2021 15 เม.ย. 2021

 

ดำเนินการแจ้งกิจกรรมที่ผ่านมา
แจ้งปัญหาต่าง ๆ ระหว่างดำเนินการ แจ้งความสำเร็จ ที่ได้จัดทำกิจกรรมนี้
แจ้งความแตกต่าง ระหว่างก่อนทำ และหลังทำ
แจ้งความคุ้มค่าที่มีต่อโครงการนี้
แจ้งค่าใช้จ่ายลดลง เพิ่มรายได้ขึ้น

 

ประธานพร้อมคณะทำงานโครงการย่อย จำนวน 20 คน ร่วมในการประชุมเวทีติดตาม ผลการดำเนินงานโครงการย่อย ณ ศาลาอเนกประสงค์ศูนย์เกษตรผสมผสานเศรษฐกิจพอเพียงตำบลกอตอตือระ ในการประชุมได้แลกเปลี่ยนประเด็นต่างๆ ได้แก่ 1 การรับทราบถึงปัญหา อุปสรรค ในระหว่างการดำเนินกิจกรรมทั้งหมด ร่วมถึงแนวทางการแก้ไข โดยประเด็นปัญหา หลักๆ คือ ไม่มีพื้นที่ในการปลูกผัก แนวทางแก้ไข คือ ดำเนินการปลูกผัก รอบๆบ้าน
ผลทำให้เกิด ผู้เข้าร่วมสามารถเพิ่มรายได้ ลดค่าใช้จ่าย จำนวน 1 คน/ 100 บาท ผู้เข้าร่วมสามารถบริโภคผักปลอดภัยมากขึ้น จำนวน 10 ครัวเรือน ผู้เข้าร่วมสามารถเรียนรู้การทำกิจกรรมร่วมกัน ได้แก่ กิจกรรม การอบรม/การสาธิต