Node Flagship

directions_run

จัดการจุดเสี่ยงเพื่อป้องกันอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่ รพ.สต. สะเตงนอก

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

Node Flagship จังหวัดยะลา


“ จัดการจุดเสี่ยงเพื่อป้องกันอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่ รพ.สต. สะเตงนอก ”

ตำบลสะเตงนอก อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา

หัวหน้าโครงการ
นางสปีเนาะ กะโด

ชื่อโครงการ จัดการจุดเสี่ยงเพื่อป้องกันอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่ รพ.สต. สะเตงนอก

ที่อยู่ ตำบลสะเตงนอก อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา จังหวัด ยะลา

รหัสโครงการ 63001750022 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2020 ถึง 31 มีนาคม 2021


กิตติกรรมประกาศ

"จัดการจุดเสี่ยงเพื่อป้องกันอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่ รพ.สต. สะเตงนอก จังหวัดยะลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลสะเตงนอก อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ Node Flagship จังหวัดยะลา ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
จัดการจุดเสี่ยงเพื่อป้องกันอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่ รพ.สต. สะเตงนอก



บทคัดย่อ

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) จุดเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุทางถนนในชุมชนได้รับการปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องกับปัญหาในชุมชน (2) ส่งต่อจุดเสี่ยงที่ไม่สามารถแก้ไขเองร้อยละ100 (3) มีป้าย/สื่อรณรงค์ตามจุดเสี่ยงในชุมชน

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) เวทีปฐมนิเทศ และจัดทำสัญญาโครงกรย่อยฯ "Node Flagship จังหวัดยะลา" (2) คีย์ข้อมูลรายงาน (3) กิจกรรมที่ 1 จัดตั้งคณะทำงานโครงการและประชุมคณะทำงาน (4) เวทีพัฒนาศักยภาพการรายงานผลลัพธ์ของโครงการย่อยฯ (5) กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมพัฒนาคณะทำงาน (6) จัดทำป้ายชื่อโครงการฯและป้ายบรรไดผลลัพท์ (7) เวทีทบทวนบันไดผลลัพธ์และออกแบบเก็บข้อมูล (8) กิจกรรมที่ 3 อบรมให้ความรู้เรื่อง กฏจราจรและการขับขี่อย่างปลอดภัย (9) เวทีการประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา(ARE) ของหน่วยจัดการระดับที่มีจุดเน้นสำคัญ(์Node Flagship) ระดับจังหวัดยะลา ครั้งที่ 1 (10) กิจกรรมที่ 4 ปรับปรุงจุดเสี่ยงอันตราย (11) กิจกรรมที่ 5 การสำรวจข้อมูลอุบัตเหตุจากจุดเสี่ยงที่ได้รับการแก้ไข (12) เวทีติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE) ระดับหน่วยจัดการ (13) เวทีสังเคราะห์และสกัดบทเรียนโครงการย่อยฯ ระดับหน่วยจัดการฯ (14) กิจกรรมที่ 6 จัดเวทีคืนข้อมูลการสำรวจข้อมูลอุบัติเหตุจากจุดเสี่ยงที่ได้รับการแก้ไขแก่ชุมชน (15) กิจกรรมที่ 7 จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ผลลัพธ์ คนในชุมชนมีความรู้ที่เพิ่มขึ้นและเกิดความตระหนักในการที่จะป้องกันการเกิดอุบัติเหตุทางท้องถนนให้ลดลงมากขึ้น ทำให้ประชาชนมีความเฝ้าระวังการขับขี่ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น เนื่องด้วยสภาพแวดล้อมหลังจากได้ขับเคลื่อนและแก้ไขทำให้คนในชุมชนมีอุบัติเหตุทางท้องถนนลดลง ดังนี้ ประชาชนมีพฤติกรรมเสี่ยงในการขับขี่จราจร ลดลงร้อยละ 68.54 โดยมีพฤติกรรมสวมหมวดกันน็อกก่อน 1,236 คน หลัง 2,286คน สวมเพิ่มขึ้นจำนวน 1,050 คน คิดเป็นร้อยละ 84.95 มีพฤติกรรมขับรถเร็ว ก่อน 700 คน หลัง 420 คน ขับรถเร็วลดลง จำนวน 280 คน คิดเป็นร้อยละ 40.00 มีพฤติกรรมเมาแล้วขับก่อน 140 คน หลัง 70 คน เมาแล้วขับลดลง จำนวน 70 คน คิดเป็นร้อยละ 50.00 มีพฤติกรรม มีพฤติกรรมขับรถย้อนศรก่อน 144 คน หลัง 36 คน ขับรถย้อนศรลดลง จำนวน 108 คน คิดเป็นร้อยละ 75.00 การปรับปรุงสิ่งแวดล้อม (จุดเสี่ยง) รวมทั้งหมด 6 จุด ได้ดำเนินการปรับปรุงจุดเสี่ยงเอง จำนวน 2 จุด ได้แก่จัดตั้งทำป้ายเตือนในการขับขี่ และได้ส่งต่อให้เทศบาลเมืองสะเตงนอกดำเนินการจำนวน 4 จุด ได้แก่ ติดตั้งสัญญานไฟจราจร จำนวน 2 จุดเสี่ยง(สี่แยกนัดโต๊ะโมง,สี่แยกตือโล๊ะกือบอ) ติดตั้งป้ายเตือนจราจรจำนวน 1 จุด และติดตั้งเหล็กกั้นบริเวณสะพาน จำนวน 1 จุด มีการจัดปรับปรุงทัศนวิสัยในการมองเห็นในชุมชน โดยทำร่วมกับภาคีเครือข่ายเทศบาลเมืองสะเตงนอก มีการรณรงค์สวมหมวกกันน็อคในชุมชน และโรงเรียน ,เมาไม่ขับ , ไม่ขับย้อนศร , ไม่คุยโทรศัพท์ขณะขับรถ , จอดถูกที่ถูกทาง รณรงค์และประชาสัมพันธ์ตามจุดเสี่ยงต่างๆ มีการอบรมฟื้นฟูความรู้ด้านกฎหมายจราจร/การปฐมพยาบาลเบื้องต้น เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่มีความรู้และขับขี่อย่างปลอดภัย การเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน ก่อน135 ครั้ง หลัง 34 ครั้ง มีจำนวนลดลง 101 ครั้งคิดเป็นร้อยละ 74.81 โครงการนี้ได้มี คณะทำงาน และภาคีเครือข่าย ในการจัดกิจกรรม และขับเคลื่อน ซึ่งประกอบด้วย เทศบาลเมืองสะเตงนอก โรงพยาบาลยะลา ผู้นำชุมชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ชมรมจักรยาน อสม. เพื่อสามารถต่อยอด และขับเคลื่อนกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง และยั่งยืนได้

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

สืบเนื่องจากองค์การสหประชาชาติได้เล็งเห็นปัญหาอุบัติเหตุทางท้องถนนว่าเป็นปัญหาสำคัญและเป็นสาเหตุของการสูญเสีย บาดเจ็บและเสียชีวิตของประชาชน จึงได้มีมติร่วมกันให้เป็นวาระสำคัญที่ทุกประเทศจะต้องเร่งดำเนินการแก้ไข โดยประกาศเป็น “ทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนน” (Decade of Action for Road Safety : 2011-2020) โดยตั้งเป้าลดผู้เสียชีวิตลงครึ่งหนึ่งในทศวรรษหน้า ประเทศไทยตอบรับปฏิญญาดังกล่าวโดยรัฐบาลไทยมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2556 ประกาศให้ปี 2554-2563 เป็นทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนนโดยบูรณาการการดำเนินการจากหน่วยงานทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่นรณรงค์ลดอุบัติเหตุและแก้ไขปัญหาดังกล่าว และตั้งเป้าหมายที่จะลดอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนให้เหลือไม่เกิน 10 คนต่อประชากรแสนคนภายในปี 2563 ทั้งนี้จากสภาพปัญหาการเกิดอุบัติเหตุทางท้องถนนเป็นสาเหตุที่ทำให้มีผู้บาดเจ็บอยู่ในอันดับต้นๆของประเทศ ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาแม้ว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐหายุทธการป้องกันอุบัติเหตุทางถนนในหลายๆรูปแบบ แต่ยังไม่สามารถลดปัญหาการเกิดอุบัติเหตุลงได้ ทั้งนี้ปัญหาอุบัติเหตุมีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นทุกปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งถนนในชุมชน โดยมีสาเหตุมาจากการขับขี่ด้วยความเร็ว ผู้ขับขี่ไม่สวมหมวกนิรภัย ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย และมีจุดเสี่ยงที่มักเกิดอุบัติเหตุในชุมชน จากสถิติการเกิดอุบัติเหตุในพื้นที่จังหวัดยะลา ปี พ.ศ. 2560 เกิดขึ้นจำนวน 8,026 ครั้ง ปี พ.ศ. 2561 เกิดขึ้นจำนวน 8,237 ครั้ง และปี พ.ศ. 2562 เกิดขึ้นจำนวน 8,390 ครั้ง สถิติการเกิดอุบัติเหตุในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ปี พ.ศ. 2560 เกิดขึ้นจำนวน 3,726 ครั้ง ปี พ.ศ. 2561 เกิดขึ้นจำนวน 3,909 ครั้ง และปี พ.ศ. 2562 เกิดขึ้นจำนวน 4,139 ครั้ง สถิติการเกิดอุบัติเหตุในพื้นที่ตำบลสะเตงนอก อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ปี พ.ศ. 2560 เกิดขึ้นจำนวน  1,148 ครั้ง ปี พ.ศ. 2561 เกิดขึ้นจำนวน 1,092 ครั้ง และปี พ.ศ. 2562 เกิดขึ้นจำนวน 1,245 ครั้ง สาเหตุหลักในการเกิดอุบัติเหตุของตำบลสะเตงนอก จากปัจจัยด้านคน โดยมีพฤติกรรมเสี่ยงในการใช้รถใช้ถนนของผู้ขับขี่และผู้ใช้เส้นทาง ความประมาท ความสามารถของผู้ ขับขี่ลดลงเนื่องจากสภาพร่างกายไม่พร้อม รวมถึงการไม่ชำนาญเส้นทาง การไม่เคารพกฎจราจร ขาดวินัยในการใช้รถใช้ถนนร่วมกันและการไม่ใช้อุปกรณ์นิรภัย ด้านยานพาหนะ ยังพบว่าขาดความพร้อมด้านอุปกรณ์ความปลอดภัย การปรับแต่งสภาพยานพาหนะและการบรรทุกหรือโดยสารที่ไม่ปลอดภัย ด้านสิ่งแวดล้อมพบว่าจุดเสี่ยง จุดอันตราย จุดที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยยังไม่ได้รับการแก้ไข ลักษณะทางกายภาพของถนนไม่สมบูรณ์ อาทิ ผิวถนนเป็นหลุม บ่อ และถนนอยู่ระหว่างก่อสร้างหรือซ่อมแซม รวมถึงอุปสรรคทางธรรมชาติและลักษณะภูมิอากาศ จากปัจจัยต่าง ๆ ข้างต้นการเกิดอุบัติเหตุทางถนน ส่งผลกระทบต่อผู้ที่ประสบภัยโดยก่อให้เกิดภาวะเครียดและวิตกกังวล บาดเจ็บ จนกระทั่งการเสียชีวิต ไม่เพียงเท่านั้นยังก่อให้เกิดความสูญเสียต่อเศรษฐกิจและสังคมโดยรวมอย่างมหาศาล เพราะการเสียชีวิตจากและบาดเจ็บทั้งทางกายและใจจากอุบัติเหตุทางท้องถนน ทำให้ผู้ประสบภัยและครอบครัวสูญเสียผลิตภาพ เกิดค่าใช้จ่ายในการรักษาตัว ติดหนี้ ขาดรายได้ในการประกอบอาชีพ รวมถึงทางสังคมที่ส่งผลให้เกิดการทะเลาะวิวาท เกิดข้อพิพาทกับคู่กรณี และอุบัติเหตุยังก่อให้เกิดต้นทุนอื่น ๆ เช่น ต้นทุนในการดำเนินคดี ต้นทุนจากผลกระทบต่อสภาพการจราจร ป้ายบอกทางชำรุด เสาไฟฟ้าหรือสัญญาณไปชำรุด บ้านเรือนเสียหาย เป็นต้น
ดังนั้น ทางพื้นที่หมู่ที่ 4, 6, 9 ตำบลสะเตงนอก มุ่งหวังเพิ่มประสิทธิภาพความครอบคลุม การลดอุบัติเหตุการใช้รถที่เพิ่มมากขึ้น และจากประชาชนขาดความรู้และไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบจราจรอย่างแท้จริง จึงจัดทำโครงการการจัดการจุดเสี่ยงเพื่อป้องกันอุบัติเหตุทางถนนในตำบลสะเตงนอก โดยมีวัตถุประสงค์ให้คนในชุมชน หน่วยงานตำรวจท้องถิ่น ตำรวจทางหลวง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน โรงเรียน ชมรมหรือสมาคมต่างๆ รวมไปถึงบุคคลสำคัญหรือผู้นำศาสนา ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดระเบียบการจราจรในชุมชน และเกิดการแก้ไขจุดเสี่ยงของชุมชนที่เกิดอุบัติเหตุ รวมถึงสมาชิกในชุมชนมีการปฏิบัติตามข้อตกลงร่วมกันในการแก้ไขจุดเสี่ยงและพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับจุดเสี่ยง เพื่อเป็นการลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุในชุมชนอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. จุดเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุทางถนนในชุมชนได้รับการปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องกับปัญหาในชุมชน
  2. ส่งต่อจุดเสี่ยงที่ไม่สามารถแก้ไขเองร้อยละ100
  3. มีป้าย/สื่อรณรงค์ตามจุดเสี่ยงในชุมชน

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. เวทีปฐมนิเทศ และจัดทำสัญญาโครงกรย่อยฯ "Node Flagship จังหวัดยะลา"
  2. คีย์ข้อมูลรายงาน
  3. กิจกรรมที่ 1 จัดตั้งคณะทำงานโครงการและประชุมคณะทำงาน
  4. เวทีพัฒนาศักยภาพการรายงานผลลัพธ์ของโครงการย่อยฯ
  5. กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมพัฒนาคณะทำงาน
  6. จัดทำป้ายชื่อโครงการฯและป้ายบรรไดผลลัพท์
  7. เวทีทบทวนบันไดผลลัพธ์และออกแบบเก็บข้อมูล
  8. กิจกรรมที่ 3 อบรมให้ความรู้เรื่อง กฏจราจรและการขับขี่อย่างปลอดภัย
  9. เวทีการประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา(ARE) ของหน่วยจัดการระดับที่มีจุดเน้นสำคัญ(์Node Flagship) ระดับจังหวัดยะลา ครั้งที่ 1
  10. กิจกรรมที่ 4 ปรับปรุงจุดเสี่ยงอันตราย
  11. กิจกรรมที่ 5 การสำรวจข้อมูลอุบัตเหตุจากจุดเสี่ยงที่ได้รับการแก้ไข
  12. อื่นๆ (ค่าวัสดุในการจัดอบรม)
  13. เวทีติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE) ระดับหน่วยจัดการ
  14. เวทีสังเคราะห์และสกัดบทเรียนโครงการย่อยฯ ระดับหน่วยจัดการฯ
  15. กิจกรรมที่ 6 จัดเวทีคืนข้อมูลการสำรวจข้อมูลอุบัติเหตุจากจุดเสี่ยงที่ได้รับการแก้ไขแก่ชุมชน
  16. กิจกรรมที่ 7 จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายหลัก 120

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ได้ต้นแบบการดำเนินการแก้ไขจุดเสี่ยงทางถนน


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. กิจกรรมที่ 4 ปรับปรุงจุดเสี่ยงอันตราย

วันที่ 20 มกราคม 2020

กิจกรรมที่ทำ

กิจกรรมที่ 1 ปรับปรุงสภาพแวดล้อมที่เสี่ยงต่อการเกิดอันตราย - ติดป้ายเตือนผู้ใช้รถ ป้ายทางแยก ป้ายทางโค้ง ป้ายลดคงามเร็วในชุมชน - ทำความสะอาดผิวถนน - ตัดแต่งบริเวณรืมถนนให้สะดวกในการวิ่งของรถ กิจกรรมที่ 2 เก็บข้อมูลจุดเสี่ยงที่ไม่สามารถแก้ไขปรับปรุงได้ ส่งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-มีป้ายบริเวณจุดเสี่ยงที่กำหนด -บนถนน และข้างทางมีความสะอาดและปลอดภัยในการขับขี่

 

45 0

2. เวทีปฐมนิเทศ และจัดทำสัญญาโครงกรย่อยฯ "Node Flagship จังหวัดยะลา"

วันที่ 3 มิถุนายน 2020

กิจกรรมที่ทำ

กิจกรรมปฐมนิเทศ และจัดทำสัญญาโครงกรย่อยฯ "Node Flagship จังหวัดยะลา" มีกิจกรรมดังนี้ -อธิบายทำความเข้าใจหลักการ และเป้าหมายของโครงการย่อยฯ ไปในทิศทางเดียวกัน -อธิบายแนวทางการดำเนินงานในนามของผู้รับทุน สสส. ได้แก่ การดำเนินการตามสัญญาโครงการ,การเงิน และแนวทางการรายงานผลการดำเนินงานตามงวดงานอย่างชัดเจน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-แกนนำโครงการย่อยฯ เข้าใจหลักการ และเป้าหมายของโครงการ ไปในทิศทางเดียวกัน -แกนนำเข้าใจแนวทางการดำเนินงานในนามของผู้รับทุน สสส. ได้แก่ การดำเนินการตามสัญญาโครงการ,การเงิน และแนวทางการรายงานผลการดำเนินงานตามงวดงานอย่างชัดเจน

 

3 0

3. กิจกรรมที่ 1 จัดตั้งคณะทำงานโครงการและประชุมคณะทำงาน

วันที่ 3 กรกฎาคม 2020

กิจกรรมที่ทำ

ครั้งที่ 1 วันที่ 3 กรกฎาคม 2563 ประชุมคลี่โครงการ  โดยมีนางสปีเนาะ กะโด เป็นประธานการประชุม กิจกรรมประชุมครั้งนี้ 1.ชี้แจ้งทำความเข้าใจโครงการร่วมกัน พร้อมการจัดตั้งคณะกรรมการ 2.แบ่งบทบาทหน้าที่
3.วางแผนการดำเนินงานร่วมกัน ครั้งที่ 2 วันที่ 25 กันยายน 2563 ประชุมสรุปข้อมูลการติดตามครั้งที่ 1 โดยนางสปีเนาะ กะโด เป็นประธาน มีลายอะเอียดกิจกรรมดังนี้ 1.ติดตามการดำเนินโครงการย่อยๆ 2.ประเมินคณะกรรมทำงาน 3.ติดตามการคีย์ข้อมูลโครงการย่อยๆ ครั้งที่ 3 วัน 29 มกราคม 2564 ประชุมติดตามผลการดำเนินงาน ครั้งที่ 2 1.สรุปผล ติดตามผลงานตามบันไดผลลัพธ์ของโครงการฯ 2.เสนอปัญหา อุปสรรคในการดำเนินงานในกิจกรรมที่ดำเนินการไปแล้ว 3.เสนอแนะ แนวทางในการแก้ปัญหากิจกรรมในโอกาสต่อไป 4.จัดทำแผนปฏิบัติการในงวดที่ 3 ครั้งที่ 4 วันที่ 9 เมษายน 2564 ประชุมติดตามผลการดำเนินงาน ครั้งที่ 3 1.สรุปผล ติดตามผลงานตามบันไดผลลัพธ์ของโครงการฯ 2.เสนอปัญหา อุปสรรคในการดำเนินงานในกิจกรรมที่ดำเนินการไปแล้ว 3.สรุปโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลลัพท์ประชุมครั้งที่1
1. ได้จัดตั้งคณะทำงานโครงการ จำนวน 45 คน
2. กำหนดโครงสร้างหน้ารับผิดชอบของคณะทำงาน 3. คณะทำงานสามารถหาสาเหตุของปัญหาได้
4. มีแนวทางแก้ไขปัญหา

 

45 0

4. เวทีพัฒนาศักยภาพการรายงานผลลัพธ์ของโครงการย่อยฯ

วันที่ 6 กรกฎาคม 2020

กิจกรรมที่ทำ

การพัฒนาศักยภาพโครงการย่อยกิจกรรมเวที่สนับสนุนการดำเนินงานด้านการจัดการข้อมูลผลลัพธ์ โดยมีกิจกรรมดังนี้ - นายประพันธ์ สีสุข ได้กล่าวเปิดประชุม และชี้แจ้งวัตถุประสงค์และเป้าหมายของกิจกรรม - นายรุสลาม สาร๊ะ หน่วยจัดการ เน้นย้ำในการบันทึกข้อมูลผลการดำเนินงานตามกิจกรรมของโครงการ - น.ส.วัลมา หะยีสะมะแอ หน่วยจัดการฯ ชี้แจ้งเอกสารด้านการเงินและหลักการเบิกจ่ายงบประมาณ - วิทยากร ได้ถ่ายทอดแนวทางและวิธีการสำคัญในการเข้าบันทึกผลการดำเนินงานกิจกรรมของโครงการย่อยฯ ทุกขั้นตอน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

กิจกกรรมฝึกการใช้งานโปรแกรม รายงานผล
ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ ดังนี้ - ได้ทราบถึงวัตถุประสงค์/เป้าหมายในการใช้โปรแกรมรายงาน - ได้เรียนรู้แนวทาง/ขั้นตอนการรายงานผลการดำเนินงานของโครงการย่อยฯ

 

1 0

5. จัดทำป้ายชื่อโครงการฯและป้ายบรรไดผลลัพท์

วันที่ 9 กรกฎาคม 2020

กิจกรรมที่ทำ

1.เสนอรูปแบบป้ายไวนิลโครงการฯและป้ายไวนิลบันไดผลลัพธ์ 2.ขนาด ยาว 2 เมตร สูง 1 เมตร

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

มีป้ายไวนิลโครงการ ขนาด ยาว 2 เมตร สูง 1 เมตร จำนวน 2 ป้าย คือ ป้ายโครงการ และ ป้ายบันไดผลลัพธ์ โดยมีสัญลักษณ์ สสส. สัญลักษณ์รณรงค์ห้ามสูบบุหรี่ และสัญลักษณ์หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้ในการจัดกิจกรรมทุกกิจกกรรมในโครงการฯ

 

1 0

6. กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมพัฒนาคณะทำงาน

วันที่ 10 กรกฎาคม 2020

กิจกรรมที่ทำ

อบรมคณะทำงาน จำนวน 2 วัน มีขั้นตอนตั้งนี้ 1) วันที่ 9 กรกฎาคม 2563 เชิญวิทยากร นายอับดุลรอฮิม โตงนุแย จากโรงเรียนสอนขับรถย์ มาให้ความรู้คณะทำงานเรื่องกฎหมายจราจร ปัจจัยที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุทางท้องถนน เพื่อให้คณะทำงานมีความรู้ ความเข้าใจในการวิเคราะห์จุดเสี่ยงในพื้นที่ และแนวทางในการแก้ไขจุดเสี่ยง 2) วันที่10 กรกฎาคม 2563 คณะทำงานร่วมวิเคราะห์จุดเสี่ยงในพื้นที่ ลงพื้นที่ดูจุดเสี่ยง และหาแนวทางในการแก้ไขจุดเสี่ย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.คณะทำงานมีความรู้ความเข้าใจเรื่องกฎหมายจราจร 2.คณะทำงานมีความรู้ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดอบุติเหตุทางท้องถนน 3.คณะทำงานได้วิเคราะห์จุดเสี่ยงในพื้นที่ และกำหนดจุดเสี่ยงเพื่อแก้ปัญหา 4.สรุปแนวทางการแก้ปัญหาจุดเสี่ยง และมาตรการแก้ปัญหา

 

45 0

7. เวทีทบทวนบันไดผลลัพธ์และออกแบบเก็บข้อมูล

วันที่ 15 สิงหาคม 2020

กิจกรรมที่ทำ

1 ลงทะเบียน 2 ชี้แจงวัตถุประสงค์/เป้าหมายของกิจกรรม โดยนายประพันธ์ สีสุข 3 เรียนรู้หลักการบันไดผลลัพธ์ของโครงการย่อย และเชิงประเด็น โดย อจ.สุวิทย์ หมาดอะดำ 4 ทบทวนบันไดผลลัพธ์ของโครงการที่รับผิดชอบ แก้ไขให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ 5 การออกแบบการเก็บข้อมูลเพื่อตอบผลลัพธ์เชิงประเด็น

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1 มีการแก้ไขบันไดผลลัพธ์ของโครงการย่อย เพื่อให้มีความสอดคล้องกับโครงการย่อยที่รับผิดชอบ 2 มีรูปแบบการเก็บข้อมูลเพื่อตอบผลลัพธ์เชิงประเด็น

 

1 0

8. กิจกรรมที่ 3 อบรมให้ความรู้เรื่อง กฏจราจรและการขับขี่อย่างปลอดภัย

วันที่ 20 สิงหาคม 2020

กิจกรรมที่ทำ

ลงทะเบียน เปิดโครงการ โดย นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองสะเตงนอก กล่าวนำความเป็นมาของโครงการ โดยนางสปีเนาะ กะโด ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะเตงนอก อบรมแกนนำ จำนวน 120 คน โดยเชิญวิยากรมาให้ความรู้ ดังนี้ 1.เรื่องกฎหมายจราจร โดย คณะทำงาน ที่ผ่านการอบรมวันที่ 10-11 กรกฏาคม 2563 2.การปฐมพยาบาลเบื้องต้น โดย นายอับดุลเลาะห์ บาเหะ พยาบาลวิชาชพชำนาญการ 3.การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน CPR และสาธิตด้วยหุ่นโดย นายอับดุลเลาะห์ บาเหะ พยาบาลวิชาชพชำนาญการ และคณะ 4.การช่วยชีวิตโดยเครื่องกรตุ้นหัวใจอัตโนมัติ AEDและสาธิต โดย นายอับดุลเลาะห์ บาเหะ พยาบาลวิชาชพชำนาญการ และคณะ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.ประชาชนมีความรู้เรื่อง กฏหมายจราจร และนำความรู้ไปใช้ได้จริงในการขับขี่ยานพาหนะในชีวิตประจำวัน 2.ประชาชนสามารถปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้ กรณีมีอุบัติเหตุทางท้องถนน เพื่อลดการบาดเจ็บรุนแรง 3.ประชาชนสามารถช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน CPR และสมารถใช้เครื่องกระตุ้นหัวใจอัตโนมัติ AED กรณีพบผู้ประสบอุบัติเหตุทางท้องถนน ที่หมดสติและหัวใจหยุดเต้น เพื่อลดจำนวน และอัตราการเสียชีวิตทางท้องถนน

 

120 0

9. เวทีการประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา(ARE) ของหน่วยจัดการระดับที่มีจุดเน้นสำคัญ(์Node Flagship) ระดับจังหวัดยะลา ครั้งที่ 1

วันที่ 23 ตุลาคม 2020

กิจกรรมที่ทำ

วันที่ 23 ตุลาคม 2563 ถึงที่พัก ประชุมวางแผน และเตรียมตัวนำเสนอ วันที่ 24 ตุลาคม 2563 1.ลงทะเบียน 2.แลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินโครงการฯ ตามโซน 3.บททวนบันไดผลลัพธ์ 4.นำเสนอผลการดำเนินงานบนเวทีกลาง วันที่ 25 ตุลาคม 2563 1.ลงทะเบียน 2.ฟังบรรยายวิธีการรายงานความคืบหน้าของกิจกรรมในระบบอิเล็กทรอนิกส์ 3.เดินทางกลับบ้านโดยสวัสดิภาพ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้นำเสนอความก้าวหน้าในการดำเนินโครงการ และข้อแนะนำในการปรับปรุง แก้ไขกิจกรรม

 

2 0

10. กิจกรรมที่ 5 การสำรวจข้อมูลอุบัตเหตุจากจุดเสี่ยงที่ได้รับการแก้ไข

วันที่ 18 มกราคม 2021

กิจกรรมที่ทำ

คณะทำงานลงเก็บข้อมูลบริเวณจุดเสี่ยง 3 ครั้ง -ข้อมูลประชาชนสวมหมวกกันน็อก ก่อน-หลัง -ข้อมูลความเร็วของรถที่ขับขี่ เก็บข้อมูลการเกิดอุบัติเหตุในพื้นที่

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะทำงานวิเคราะห์ข้อมูลที่สำรวจ - ผลการสำรวจประชาชนใส่เครื่องป้องกันขณะขับขี่ ไม่ค่อยแตกต่างหลังปรับจุดเสี่ยง - ผลการสำรวจประชาชนขับขี่ด้วยความเร็วไม่เกินกำหนดตามกฏหมาย ดีขึ้นหลังปรับจุดเสี่ยง

 

15 0

11. อื่นๆ (ค่าวัสดุในการจัดอบรม)

วันที่ 23 มกราคม 2021

กิจกรรมที่ทำ

ดำเนินในการจัดกิจกรรมอบรมต่างๆ -จัดอบรมให้ความรู้ วางแผนการทำงานร่วมกัน ของคณะทำงาน -จัดทำกิจกรรมต้นไม้ปัญหา -จัดทำกิจกรรมสำรวจข้อมูลอุบัติเหตุก่อนและหลังแก้ไข -จัดทำกิจกรรมสรุปผลเวทีแลกเปลี่ยนร่วมกัน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลที่เกิดขึ้น -ทำให้สามารถจัดกิจกรรมดำเนินงานได้สะดวก สบาย และสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี -ช่วยในการสื่อสาร ในการประชุม ให้เข้าเข้าง่ายขึ้น และลดขั้นตอนในการทำความเข้าใจ -ทำให้ความควบคุมในเรื่องของระยะเวลาในการจัดอบรม และทำกิจกรรมต่างๆได้

 

120 0

12. เวทีติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE) ระดับหน่วยจัดการ

วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2021

กิจกรรมที่ทำ

1.ลงทะเบียน 2.รองนายแพทย์สสจ.ยะลา กล่าวเปิดพิธี 2.นำเสนอผลการดำเนินงานแต่ละโครงการ 3.สรุปปัญหา และแนวทางแก้ไขปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

นำเสนอผลการดำเนินงานโครงการฯ เพื่อเป็น Model ในภาพจังหวัด

 

1 0

13. เวทีสังเคราะห์และสกัดบทเรียนโครงการย่อยฯ ระดับหน่วยจัดการฯ

วันที่ 24 มีนาคม 2021

กิจกรรมที่ทำ

1.ลงทะเบียน 2.สังเคราะห์และสกัดบทเรียน 3.สรุปผล

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

จากการดำเนินงานโครงการอุบัติเหตุ ต้องมีหน่วยงานต่างๆหลายภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อความยังยื่นและบรรลุวัตถุประสงค์ตามยุทธศาสตร์ของจังหวัดยะลา

 

2 0

14. กิจกรรมที่ 6 จัดเวทีคืนข้อมูลการสำรวจข้อมูลอุบัติเหตุจากจุดเสี่ยงที่ได้รับการแก้ไขแก่ชุมชน

วันที่ 25 มีนาคม 2021

กิจกรรมที่ทำ

คืนข้อมูลแก่ชุมชนดังต่อไปนี้ 1.คณะกรรมการสำรวจสถิติอุบัติเหตุจากจุดเสี่ยงในพื้นที่ก่อนและหลังปรับปรุงแก้ไข
2.คณะกรรมการสำรวจสถิติอุบัติเหตุในพื้นที่เขต รพ.สต.สะเตงนอก เปรียบเทียบก่อนและหลังดำเนินโครงการ
3.ประสานหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง ประชาชนที่สนใจ จำนวน 120 คน 4.นำเสนอผลงานการดำเนินกิจกรรมโครงการ การปรับปรุงจุดเสี่ยง และข้อมูลสถิตอุบัติเหตุบริเวณจุดเสี่ยงที่ได้รับการแก้ไข และข้อมูลอุบัติเหตุในพื้นที่ รพ.สต.สะเตงนอก 5.รวมกันเสนอ และวิเคราะห์หาแนวทางปรับปรุงจุดเสี่ยงในพื้นเพิ่มเติม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.หน่วยงานในพื้นที่และประชาชนรับรู้ผลจากการจัดทำโครงการฯ ส่งผลให้อุบัติเหตุในพื้นที่ลดลง 2.ประชาชนตระหนักเรื่องกติกาชุมชนมากขึ้นเพื่อให้อุบัติเหตุลดลง
3.มีสถิติเปรียบเทียบอุบัติเหตุ ก่อนและครั้งดำเนินโครงการ

 

120 0

15. คีย์ข้อมูลรายงานผลการดำเนินกิจกรรมผ่านระบบคอมพิวเตอร์

วันที่ 29 มีนาคม 2021

กิจกรรมที่ทำ

จ้างเจ้าหน้าที่จัดทำรายงานความก้าวหน้าและพิมพ์ในระบบออนไลน์ คนใต้สร้างสุข

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

งวดที่ 1 มีรายละเอียดดังนี้ 1.คีย์รายงานการดำเนินกิจกรรมในระบบติดตามความก้าวหน้าออนไลน์ครบถ้วนทุกกิจรรมในงวดที่ 1 2.จัดทำรายงานต่างๆตามรายละเอียดไฟล์ที่แนบในระบบรายงานออนไลน์
2.1 รายงานการประชุมครั้งที่ 1 และคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการ
2.2 รายงานการอบรมคณะกรรมการโครงการฯ 2.3 รายงานการประชุมติดตามงานของคณะกรรมการ ครั้งที่ 3 งวดที่ 2,3 มีรายละเอียดดังนี้ 1.พิมพ์รายงานการดำเนินกิจกรรมในระบบติดตามความก้าวหน้าออนไลน์ครบถ้วนทุกกิจรรมในงวดที่ 2,3 2.จัดทำรายงานต่างๆตามรายละเอียดไฟล์ที่แนบในระบบรายงานออนไลน์
2.1 รายงานสถิติอุบัติเหตุบริเวณที่ได้รับการแก้ไข
2.2 รายงานสถิติอุบัติเหตุในพื้นที่รพ.สต.สะเตงนอก
2.3 สื่อนำเสนอในเวทีติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา ARE

 

1 0

16. กิจกรรมที่ 7 จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้พร้อมสรุปผลการดำเนินงานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

วันที่ 29 มีนาคม 2021

กิจกรรมที่ทำ

1.ลงทะเบียน 2.คืนข้อมูลโครงการ 3.เปิดโอกาสให้หน่วยงานที่เข้าประชุมเสนอความเห็นและแนวทางในการแก้ไขปัญหาต่อไป 4.นำข้อมูลการแลกเปลี่ยนไปนำเสนอและพูดคุยในเวทีสถาสันติสุขอีกครั้ง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

หน่วยงานในพื้นที่ตั้งเทศบาลเมืองสะเตงนอก ผู้นำศาสนา ผู้ใหญ่บ้าน อสม ในพื้นที่ รพ.สต.สะเตงนอก เข้าร่วมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ฯ โดยแต่ละส่วนเมื่อฟังข้อมูลจากการคืนข้อมูลแล้ว เสนอให้แต่ละหน่วยงานแบ่งหน้าที่ดูแล และสานต่อเพื่อให้โครงการฯ บรรลุวัตถุประสงค์และยั่งยืน ดังนี้ 1.เทศบาลเมืองสะเตงนอก ปรับปรุงเส้นทางจราจร ปิดป้ายสัญลักษณ์แบบถาวร รอเข้าแผนงบเทศบาลเมืองสะเตงนอก 2.ผู้นำศาสนา ผู้ใหญ่บ้าน อสม สอดส่งดูแล ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ด้านกฎจราจร และรายงานข้อมูลอุบัติเหตุ 3.รพ.สต. ส่งแผนอบรมฟื้นฟูกฎหมายจราจร การปฐมพยาบาล และรณรงค์การสวมหมวกกันน็อค โดยของบประมาณจาก งบกองทุนฯ เทศบาลเมืองสะเตงนอก      เมื่อมีการพูดคุย แลกเปลี่ยนเรียนรู้แล้ว นำข้อมูลที่ได้ไปนำเสนอในเวทีสภาสันติสุขอีกครั้ง

 

120 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 จุดเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุทางถนนในชุมชนได้รับการปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องกับปัญหาในชุมชน
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 60 ของจำนวนจุดเสี่ยงประเภทที่ชุมชนแก้ไขได้เอง
60.00 100.00

 

2 ส่งต่อจุดเสี่ยงที่ไม่สามารถแก้ไขเองร้อยละ100
ตัวชี้วัด : ส่งต่อจุดเสี่ยงที่ไม่สามารถแก้ไขเองร้อยละ100
100.00 100.00

 

3 มีป้าย/สื่อรณรงค์ตามจุดเสี่ยงในชุมชน
ตัวชี้วัด : มีป้าย/สื่อรณรงค์ตามจุดเสี่ยงในชุมชนอย่างน้อย1ที่
1.00 5.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 120 120
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายหลัก 120 7,000

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) จุดเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุทางถนนในชุมชนได้รับการปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องกับปัญหาในชุมชน (2) ส่งต่อจุดเสี่ยงที่ไม่สามารถแก้ไขเองร้อยละ100 (3) มีป้าย/สื่อรณรงค์ตามจุดเสี่ยงในชุมชน

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) เวทีปฐมนิเทศ และจัดทำสัญญาโครงกรย่อยฯ "Node Flagship จังหวัดยะลา" (2) คีย์ข้อมูลรายงาน (3) กิจกรรมที่ 1 จัดตั้งคณะทำงานโครงการและประชุมคณะทำงาน (4) เวทีพัฒนาศักยภาพการรายงานผลลัพธ์ของโครงการย่อยฯ (5) กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมพัฒนาคณะทำงาน (6) จัดทำป้ายชื่อโครงการฯและป้ายบรรไดผลลัพท์ (7) เวทีทบทวนบันไดผลลัพธ์และออกแบบเก็บข้อมูล (8) กิจกรรมที่ 3 อบรมให้ความรู้เรื่อง กฏจราจรและการขับขี่อย่างปลอดภัย (9) เวทีการประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา(ARE) ของหน่วยจัดการระดับที่มีจุดเน้นสำคัญ(์Node Flagship) ระดับจังหวัดยะลา ครั้งที่ 1 (10) กิจกรรมที่ 4 ปรับปรุงจุดเสี่ยงอันตราย (11) กิจกรรมที่ 5 การสำรวจข้อมูลอุบัตเหตุจากจุดเสี่ยงที่ได้รับการแก้ไข (12) เวทีติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE) ระดับหน่วยจัดการ (13) เวทีสังเคราะห์และสกัดบทเรียนโครงการย่อยฯ ระดับหน่วยจัดการฯ (14) กิจกรรมที่ 6 จัดเวทีคืนข้อมูลการสำรวจข้อมูลอุบัติเหตุจากจุดเสี่ยงที่ได้รับการแก้ไขแก่ชุมชน (15) กิจกรรมที่ 7 จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ผลลัพธ์ คนในชุมชนมีความรู้ที่เพิ่มขึ้นและเกิดความตระหนักในการที่จะป้องกันการเกิดอุบัติเหตุทางท้องถนนให้ลดลงมากขึ้น ทำให้ประชาชนมีความเฝ้าระวังการขับขี่ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น เนื่องด้วยสภาพแวดล้อมหลังจากได้ขับเคลื่อนและแก้ไขทำให้คนในชุมชนมีอุบัติเหตุทางท้องถนนลดลง ดังนี้ ประชาชนมีพฤติกรรมเสี่ยงในการขับขี่จราจร ลดลงร้อยละ 68.54 โดยมีพฤติกรรมสวมหมวดกันน็อกก่อน 1,236 คน หลัง 2,286คน สวมเพิ่มขึ้นจำนวน 1,050 คน คิดเป็นร้อยละ 84.95 มีพฤติกรรมขับรถเร็ว ก่อน 700 คน หลัง 420 คน ขับรถเร็วลดลง จำนวน 280 คน คิดเป็นร้อยละ 40.00 มีพฤติกรรมเมาแล้วขับก่อน 140 คน หลัง 70 คน เมาแล้วขับลดลง จำนวน 70 คน คิดเป็นร้อยละ 50.00 มีพฤติกรรม มีพฤติกรรมขับรถย้อนศรก่อน 144 คน หลัง 36 คน ขับรถย้อนศรลดลง จำนวน 108 คน คิดเป็นร้อยละ 75.00 การปรับปรุงสิ่งแวดล้อม (จุดเสี่ยง) รวมทั้งหมด 6 จุด ได้ดำเนินการปรับปรุงจุดเสี่ยงเอง จำนวน 2 จุด ได้แก่จัดตั้งทำป้ายเตือนในการขับขี่ และได้ส่งต่อให้เทศบาลเมืองสะเตงนอกดำเนินการจำนวน 4 จุด ได้แก่ ติดตั้งสัญญานไฟจราจร จำนวน 2 จุดเสี่ยง(สี่แยกนัดโต๊ะโมง,สี่แยกตือโล๊ะกือบอ) ติดตั้งป้ายเตือนจราจรจำนวน 1 จุด และติดตั้งเหล็กกั้นบริเวณสะพาน จำนวน 1 จุด มีการจัดปรับปรุงทัศนวิสัยในการมองเห็นในชุมชน โดยทำร่วมกับภาคีเครือข่ายเทศบาลเมืองสะเตงนอก มีการรณรงค์สวมหมวกกันน็อคในชุมชน และโรงเรียน ,เมาไม่ขับ , ไม่ขับย้อนศร , ไม่คุยโทรศัพท์ขณะขับรถ , จอดถูกที่ถูกทาง รณรงค์และประชาสัมพันธ์ตามจุดเสี่ยงต่างๆ มีการอบรมฟื้นฟูความรู้ด้านกฎหมายจราจร/การปฐมพยาบาลเบื้องต้น เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่มีความรู้และขับขี่อย่างปลอดภัย การเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน ก่อน135 ครั้ง หลัง 34 ครั้ง มีจำนวนลดลง 101 ครั้งคิดเป็นร้อยละ 74.81 โครงการนี้ได้มี คณะทำงาน และภาคีเครือข่าย ในการจัดกิจกรรม และขับเคลื่อน ซึ่งประกอบด้วย เทศบาลเมืองสะเตงนอก โรงพยาบาลยะลา ผู้นำชุมชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ชมรมจักรยาน อสม. เพื่อสามารถต่อยอด และขับเคลื่อนกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง และยั่งยืนได้

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


จัดการจุดเสี่ยงเพื่อป้องกันอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่ รพ.สต. สะเตงนอก จังหวัด ยะลา

รหัสโครงการ 63001750022

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางสปีเนาะ กะโด )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด