Node Flagship

directions_run

พลังชุมชนร่วมใจ สร้างความปลอดภัยทางถนนตำบลเนินงาม อำเภอรามัน จังหวัดยะลา

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ พลังชุมชนร่วมใจ สร้างความปลอดภัยทางถนนตำบลเนินงาม อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดยะลา
รหัสโครงการ ุ63-00175-0025
วันที่อนุมัติ 1 มิถุนายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2563 - 31 มีนาคม 2564
งบประมาณ 103,800.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลเนินงาม
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอับดุลฮาเล็ม แสแตแล
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวรัยฮาน กีไร
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.496912,101.36791place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มิ.ย. 2563 31 ส.ค. 2563 40,000.00
2 1 ก.ย. 2563 15 ธ.ค. 2563 50,000.00
3 1 ม.ค. 2564 15 มี.ค. 2564 13,800.00
รวมงบประมาณ 103,800.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 พื้นที่เนินงามมีการเกิดอุบัติเหตุทางถนนโดยมีสถิติผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุ
80.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

องค์การบริหารส่วนตำบลเนินงาม มีประชากร ทั้งสิ้น 6,949 คน มีพื้นที่รับผิดชอบ จำนวน 7 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 1 - หมู่ที่ 7 ตำบลเนินงาม อำเภอรามัน จังหวัดยะลา ในพื้นที่เนินงามมีการเกิดอุบัติเหตุทางถนนโดยมีสถิติผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุย้อนหลังที่เพิ่มสูงขึ้นในระยะเวลา 3 ปี ตั้งแต่ปี 2560 - 2562 ดังนี้
ปี 2560 ยอดผู้เสียชีวิต เป็น 0 ราย บาดเจ็บ 23 ราย ปี 2561 ยอดผู้เสียชีวิต เป็น 1 ราย บาดเจ็บ 30 ราย ปี 2562 ยอดผู้เสียชีวิต เป็น 1 ราย บาดเจ็บ 41 ราย (ข้อมูลจากสำนักงานสาธารณสุขอำเภอรามัน) ถือเป็นสาเหตุสำคัญในลำดับต้นๆ ของการบาดเจ็บและเสียชีวิตของประชาชนโดยมีปัจจัยหลายๆด้านที่ทำให้เกิด อุบัติเหตุทางถนนทั้งด้านพฤติกรรม ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านกายภาพรวมทั้งการปล่อยสัตว์เลี้ยงบนถนน โดยในพื้นที่เสี่ยง ที่สามารถรวบรวมได้ จำนวน 16 จุดเสี่ยง จัดลำดับได้ดังนี้ หมู่ที่ 1 จำนวน 2 จุด, หมู่ที่ 2 จำนวน 3 จุด และหมู่ที่ 3 จำนวน 4 จุด หมู่ที่ 5 จำนวน 1 จุด หมู่ที่ 6 จำนวน 2 จุด หมู่ที่ 7 จำนวน 3 จุด ให้เกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจ เกิดค่าใช้จ่ายในการรักษาตัวทั้งผู้ขับขี่และคู่กรณี ในแง่ทางสังคมเกิดข้อพิพาทและต้องหาคนกลางมาช่วยไกล่เกลี่ย และด้านสุขภาพ หากเกิดการบาดเจ็บไปถึงขั้นพิการจะเป็นภาระให้ครอบครัวต้องดูแล ซึ่งรัฐบาลต้องใช้งบประมาณในการเยียวยาและแก้ปัญหา ในแต่ละปีจำนวนอุบัติเหตุเหล่านี้มักมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัยด้วยกัน อาทิ ปัจจัยด้านพฤติกรรมของผู้ขับขี่ พบว่าไม่มีความรู้เรื่องกฎหมายจราจร ไม่เคารพกฎจราจร เป็นต้น ในส่วนของปัจจัยด้านรถหรือยานพาหนะ พบว่า รถที่ใช้ในพื้นที่มักไม่มีการต่อทะเบียนภาษี เนื่องจากสภาพรถไม่สามารถต่อทะเบียนได้ (รถเก่ามาก) ปัจจัยด้านถนนและสิ่งแวดล้อมพบว่าท้องถนนในพื้นที่ที่เป็นจุดเสี่ยงมีสภาพเป็นหลุมบ่อรวมถึงไม่มีป้ายสัญลักษณ์เตือนให้ระวัง และปัจจัยด้านบริหารจัดการ (ระบบ/กลไก) ผู้นำชุมชนยังไม่ให้ความสำคัญในประเด็นอุบัติเหตุทางถนนเท่าที่ควร เพื่อลดจำนวนอุบัติเหตุทางถนน, จำนวนผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตลงให้มากที่สุด องค์การบริหารส่วนตำบลเนินงาม ได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว ถือเป็นอำนาจหน้าที่ที่จะต้องดำเนินการป้องกันและบรรเทาอุบัติภัยต่างๆ โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ปรับปรุงสภาพแวดล้อมและสร้างระบบกลไกจากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในพื้นที่ เพื่อให้สามารถลดปัญหาอุบัติเหตุทางถนนอย่างยั่งยืน ทั้งนี้จึงได้จัดทำ “โครงการพลังชุมชนร่วมใจ สร้างความปลอดภัยทางถนน” เพื่อเตรียมความพร้อมของผู้ขับขี่และยานพาหนะ สร้างการรับรู้ของคนในชุมชน รวมทั้งรณรงค์เพื่อกระตุ้นเตือนประชาชนในท้องถิ่นให้เกิดจิตสำนึก มีส่วนร่วมในการรับผิดชอบต่อสังคมเพื่อการป้องกันและลดอุบัติเหตุบนท้องถนนซึ่งน่าจะเป็นทางเลือกใหม่ที่มีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติต่อไป

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างกลไกการลดอุบัติเหตุทางถนน

ผลลัพธ์ที่ 1มี ศปถ.ตำบล ที่มีบทบาทหน้าที่ชัดเจนในการดำเนินงาน ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 1.1มีข้อมูล มีแผนดำเนินงานที่ถูกต้องครบถ้วน ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 1.2 เกิดข้อตกลงและกติการ่วมกัน

80.00
2 เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ใช้ถนน

ผลลัพธ์ที่ 2ประชาชนในพื้นที่มีความรู้ในการขับขี่ปลอดภัย ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 2.1 ร้อยละ 70 ของประชาชนมีความรู้ในการขับขี่ปลอดภัย

80.00 80.00
3 เพื่อปรับสภาพแวดล้อม(จุดเสี่ยงในพื้นที่)

ผลลัพธ์ที่ 3 สภาพแวดล้อม(จุดเสี่ยง)ได้รับการแก้ไข ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 3.1 ร้อยละ 70 ของถนนที่เป็นหลุมเป็นบ่อพร้อมใช้งานอยู่เสมอ ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 3.2 ร้อยละ 60 ของผู้ประกอบการสามารถจัดการระบบการขนส่งน้ำยาง ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 3.3 ร้อยละ 60 ของจุดเสี่ยงได้รับการแก้ไข

80.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 511 87,332.00 7 96,732.00
5 ก.ค. 63 - 31 ส.ค. 63 กิจกรรมที่1 ประชุมชี้แจงทำความเข้าใจโครงการร่วมกัน แบ่งบทบาทหน้าที่ พร้อมวางแผนการดำเนินงานร่วมกัน 20 2,500.00 2,500.00
6 ก.ค. 63 เวที่พัฒนาศัยภาพการรายงานผลลัพธ์ของโครงการ 3 432.00 432.00
26 ก.ค. 63 - 15 ธ.ค. 63 เพื่อเสนอข้อตกลงในที่ประชุม 200 10,000.00 10,000.00
8 ส.ค. 63 อบรมให้ความรู้เรื่องการขับขี่ปลอดภัย 200 39,010.00 39,010.00
12 ก.ย. 63 สานพลังชุมชนซ่อมแซมผิวถนนในหมู่บ้านและจัดทำป้าย/สื่อรณรงค์/สร้างการรับรู้เรื่องวินัยจราจร 20 30,550.00 30,550.00
21 พ.ย. 63 จัดเวทีทำข้อตกลงกับผู้ประกอบการซื้อขี้ยางและผู้เลี้ยงสัตว์ 20 600.00 10,000.00
1 ม.ค. 64 - 15 มี.ค. 64 ถอดบทเรียนสู่ชุมชน 48 4,240.00 4,240.00

1.จัดตั้ง ศปถ. ตำบลและพัฒนาทักษะคณะทำงาน โดยหน่วยจัดการระดับตำบล รายละเอียดกิจกรรม ครั้งที่ 1 ประชุมชี้แจงทำความเข้าใจโครงการร่วมกัน แบ่งบทบาทหน้าที่ พร้อมวางแผนการดำเนินงานร่วมกัน ครั้งที่ 2 - 4 สรุปข้อมูลการติดตาม ครั้งที่ 1 และสอบถาม/ทบทวนกรณีอุบัติเหตุหรือเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.กลุ่มเป้าหมายสามารถป้องกันอุบัติเหตุใช้เส้นทางจราจรเกิดพฤติกรรมการใช้รถใช้ถนนที่ถูกต้องและปลอดภัย 2.อัตราการเกิดอุบัติเหตุและการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนนในพื้นที่ลดลง 3.เกิดภาคีเครือข่ายในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนนในระดับพื้นที่

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 ก.ค. 2563 11:44 น.