Node Flagship

task_alt

โครงการ ส่งเสริมปลูกผักปลอดภัยสู่สุขภาพชุมชนบ้านตาราแดะ

แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 1

ชื่อโครงการ โครงการ ส่งเสริมปลูกผักปลอดภัยสู่สุขภาพชุมชนบ้านตาราแดะ

ชุมชน อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา

รหัสโครงการ 63-00175-0002 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2563 ถึง 31 มีนาคม 2564

รายงานงวดที่ : 1 จากเดือน มิถุนายน 2563 ถึงเดือน สิงหาคม 2563

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ประชุมขับเคลื่อนหน่วยจัดการระดับจังหวัด

วันที่ 1 มิถุนายน 2563 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.ได้รับความรู้ความเข้าใจในตัวโครงการเพิ่่มมากขึ้น 2.ได้ฝึกวิธีการทำบันไดผลลัพธ์โครงการส่งเสริมปลูกผักปลอดภัยสู่สุขภาพชุมชนบ้านตาราแดะ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

การพัฒนาศักยภาพพื่้นที่โครงการย่อย โดยหน่ยจัด จังหวัดยะลา

 

3 0

2. เวทีปฐมนิเทศ และทำสัญญาโครงการย่อย

วันที่ 3 มิถุนายน 2563 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2563 ได้เข้าร่วมกิจกรรม"เวทีปฐมสนิเทศ และทำสัญญาโครงการย่อย" ของโครงการส่งเสริมปลูกผักปลอดภัยสู่สุขภาพชุมชนบ้านตาราแดะ ได้ทำข้อสัญญาโครงการย่อยในการสร้างเสริมสุขภาพ ประเด็นผักปลอดภัย ในงบประมาณ 100,000 บาทอบรมโครงการย่อย เข้าใจหลักการ และเป้าหมายของโครงการไปในทิศทางเดียวกัน รวมถึงเข้าใจแนวทางการดำเนินงาน ดำเนินการตามสัญญาโครงการ การเงิน และแนวทางการรายงานผล การดำเนินงานตามงวด อย่างชัดเจน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2563 ได้เข้าร่วมกิจกรรม"เวทีปฐมสนิเทศ และทำสัญญาโครงการย่อย" ของโครงการส่งเสริมปลูกผักปลอดภัยสู่สุขภาพชุมชนบ้านตาราแดะ ได้ทำข้อสัญญาโครงการย่อยในการสร้างเสริมสุขภาพ ประเด็นผักปลอดภัย ในงบประมาณ 100,000 บาท

 

4 0

3. 1.1 ประชุมสมาชิกกลุ่มและผู้ประสานงาน ครั้งที่ 1 เพื่อชี้แจงเป้าหมายการดำเนินโครงการ เพื่อสร้างความเข้าในการขับเคลื่อนงานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

วันที่ 30 มิถุนายน 2563 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

คณะทำงานพร้อมด้วยแกนนำโครงการย่อย จำนวน 10 คน ร่วมกับเจ้าหน้าที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 4 คน ได้แก่ พี่เลี้ยงโครงการย่อย เกษตรตำบล และรพ.สต.บันนังสาเรง ร่วมในการประชุมสมาชิกกลุ่มและผู้ประสานงาน ครั้งที่ 1 เพื่อชี้แจงเป้าหมายการดำเนินโครงการ เพื่อสร้างความเข้าในการขับเคลื่อนงานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ณ ศูนย์ตาดีกาดารุลมุมีนีน ในการประชุมได้แลกเปลี่ยนประเด็นต่างๆ ได้แก่ 1.สมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการเข้าใจในกิจกรรม/โครงการ สมาชิกจำนวน 30 ครัวเรือน 2.ได้คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ จำนวน 10 คน 3.มีแผนการดำเนินกิจกรรม/โครงการ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

คณะทำงานโครงการ ร่วมบูรณาการหน่วยงาน สร้างความเข้าใจประเด็นผลิตผักปลอดภัยชุมชนบ้านตาราแดะ ตำบลบันนังสาเรง เปิดโครงการสร้างความเข้าใจในกิจกรรม กำหนดแผนการดำเนินกิจกรรม พร้อมทั้งแต่งตั้งคณะทำงาน

 

40 0

4. 1 เวทีพัฒนาศัยภาพการรายงานผลลัพธ์ของโครงการย่อยฯ (ส่วนที่ สสส. สนับสนุนเพิ่มเติ่มเพื่อพัฒนาศักยภาพ)

วันที่ 6 กรกฎาคม 2563 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผู้รับผิดชอบ โครงการ สามารถเพิ่ม ได้ เพิ่มกิจกรรม ได้ 15 กิจกรรม ได้ฝึก บันทึกกิจกรรม จำนวน 2 กิจกรรม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

ฝึกการใช้งานโปรแกรม รายงานผล - เพิ่มกิจกรรม - บันทึกกิจกรรม

 

2 0

5. 2.1 คณะทำงานสำรวจแปลง 10 คน โดยสำรวจแปลงผักทั้งที่ปลอดภัยและไม่ปลอดภัย รวมทั้งหมดจำนวน กี่แปลง กี่ไร่

วันที่ 9 กรกฎาคม 2563 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

คณะทำงานสำรวจแปลง จำนวน 10 คน ลงพื้นที่สำรวจแปลงผักทั้งที่ปลอดภัยและไม่ปลอดภัย รวมทั้งหมดจำนวน กี่แปลง กี่ไร่ ณ แปลงผักของสมาชิก บ้านตาราแดะ จากการลงพื้นที่สำรวจของกลุ่มคณะทำงาน ได้ลงพื้นที่สำรวจแปลงผักของกลุ่กสมาชิกจำนวน 30 ราย ได้ข้อมูล ส่วนใหญ่กลุ่มสมาชิกมีการเพาะปลูกใช้ปุ๋๋ยเคมีเป็นส่วนใหญ่ มีการปลุกผักแตงกวา ข้าวโพด ถั่วผักยาว พริก ฝักทอง มะเขือเปราะ ถั่วลิสง ขมิ้น ตะไคร้ ขา เป็นต้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

คณะทำงาน จำนวน 10 ลงพื้นที่สำรวจแปลงเพื่อจัดทำข้อมูลพื้นฐาน

 

10 0

6. จัดทำป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์ โครงการขับเคลื่อนหน่วยจัดการระดับจังหวัดในการสร้างสเริมสุขภาพ และป้ายโฟมบอร์ด สสส.

วันที่ 8 สิงหาคม 2563 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1ได้ป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ จำนวน 1 แผ่น 2 ได้ป้ายประชาสัมพันธ์บันไดผลลัพธ์ จำนวน  1 แผ่น 3 ป้ายโฟมบอร์ด สสส. จำนวน 1 แผ่น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

จัดทำป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์เพื่อการประชาสัมพันธ์ โครงการ ในเวทีการประชุม

 

0 0

7. 1.2 ประชุมสมาชิกกลุ่มและผู้ประสานงาน ครั้งที่ 2 เพื่อติดตามผลระหว่างการดำเนินโครงการ ให้เป็นไปตามแผน หรือสามารถปรับเปลี่ยนแผนงานให้บรรลุเป้าหมาย

วันที่ 11 สิงหาคม 2563 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. รายงานความก้าวหน้าในกิจกรรมของกลุ่มและพบปัญหา คือ ศักตรูพืชในแปลง พร้อมได้กำหนดแนวทางแก้ไขปัญหา ด้วยการให้ความรู้แก่สมาชิกในกิจกรรมอบรมหลักสูตรกำจัดศัตรูพืช 2.ได้ข้อมูลสมาชิก จากการตรวจแปลง ด้านการผลิต บริโภค ความต้องการผลิต และด้านตลาด เพื่อเป็นฐานข้อมูลดำเนินกิจกรรมอบรมการผลิตต่อไป 3.ได้กำหนดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพของกลุ่่มสมาชิก ศึกษาเรียนรู้นอกพื้นที่่ กำหนดเป็นวันที่ 18 สิงหาคม 2563

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2563 เวลา 09.00 น. ณ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 3 บ้านตาราแดะ ตำบลบันนังสาเรง อำเภอเมือง จังหวัดยะลา โครงการย่อยชุมชนบ้านตาราแดะ จัดเวทีประชุมสมาชิกกลุ่มและผู้ประสานงาน ครั้งที่ 2 เพื่ดติดตามผลระหว่างการดำเนินโครงการ โดยมีนายมะซารี ดอเลาะแซ ประธานกลุ่มเกษตกกรปลูกผักบ้านตาราแดะ พร้องด้วยเจ้าหน้่าที่สภาเกษตรจังหวัด ผู้ใหญ่บ้าน และกสมาชิกลุ่มเกษตรกร จำนวน 40 คน เข้าร่วมประชุมติดตามผลระหว่างการดำเนินโครงการให้เป็นไปตามแผนหรือสามารถปรับเปลี่ยนแผนงานให้เหมาะสม ทั้งนี้ได้ปรึกษาแลกเปลี่ยนปัญหาและการกำจัดศักตรูพืช การทำการเกษตรปลอดจากสารเคมี ด้วยการใช้ปุ๋ยชีวภาพแทน และมีการกำหนดกิจกรรมศึกษาเรียนรู้การทำการเกษตรปลอดภัยนอกพื้นที่ เพื่อแลกเปลี่ยนนำมาปรับใช้ในพื้นที่ของชุมชนตามบริบทพื้นที่ได้ ซึ่งจะทำให้สมาชิกกลุ่มเกษตรกร เกิดความรัก สามัคคี สร้างความเข้มแข็งในชุมชนได้

 

40 0

8. ประชุมทบทวนบันไดผลลัพธ์และออกแบบเก็บข้อมูลของโครงการย่อยฯ

วันที่ 15 สิงหาคม 2563 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ประชุมเพื่อพิจาราณายกร่างตารางข้อมูลผลลัพธ์เชิงประเด็นยุทธศาสตร์ระดับจังหวัด

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

บันไดผลลัพธ์โครงการ ส่งเสริมปลูกผักปลอดภัยสู่ชุมชนบ้านตาราแดะ

 

2 0

9. ประชุมขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เพื่อเชื่อมโยงกับหน่วยงานสนับสนุน

วันที่ 20 สิงหาคม 2563 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

โครงการย่อยฯ ได้นำเสนอความสำเร็จของกิจกรรม ให้กับประธานและภาคีขับเคลื่อนฯรวมถึงที่ประชุมได้รับทราบ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

ได้เข้าร่วมประชุมเวทีประชุมพิจารณายกร่างตารางข้อมูลผลลัพธ์เชิงประเด็นยุทธศาสตร์ โดยท่านรองผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา เป็นประธานและมีภาคีขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ ร่วมถึงผู้รับผิดชอบโครงการย่อยฯมีเป้าหมายในการประชุมครั้งนี้ คือ
1. ภาคีขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ ชัดเจนในหลักการและแนวทางรวมถึงรูปแบบ (Model)การดำเนินงานของหน่วยจัดการ 2.ภาคีขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ ได้เติมเต็มประเด็นหัวข้อของตารางการเก็บข้อมูลฯและให้การยอมรับแบบบันทึกข้อมูล เพื่อนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในภาพรวมของจังหวัดต่อไปได้

 

1 0

10. 3.1 พัฒนาศักยภาพและศึกษาดูงาน ณ ศูนย์จัดการศัตรูพืช(ศพก.) ต.ท่าประดู่ อ.นาทวี และศูนย์เรียนรู้ผักปลอดภัยลุงคำนึง ต.จะโหนง อ.จะนะ จ.สงขลา

วันที่ 25 สิงหาคม 2563 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

เมื่อวันที่ 18 ส.ค. 2563 เวลา 07.00 -17.00 น. นายมะซารี ดอเลาะแซ ประธานกลุ่มเกษตกรปลูกผักบ้านตาราแดะ พร้อมด้วยคณะทำงาน สมาชิกกลุ่มเกษตรกร จำนวน 40 คน พี่เลี้ยงโครงการย่อยอจำนวน 5 คน ได้เดินทางมาถึง เวลา 09.00 น. ณ ศูนย์เรียนรู้นวัตกรรมใหม่บ้านเขาจันทร์ ต.จะโหนง อ.จะนะ จ.สงขลา ได้นำเสนอมหัศจรรย์ล้อยาง(ปลูกพืชในล้อยาง)" โดย คำนึง นวลมณีย์ เทคนิคการตัดและกลับล้อยางสำหรับปลูกพืช แนะนำชนิดพันธ์ไม้เศรษฐกิจ และพันธ์พืชทีใช้สำหรับใช้ครัวเรือนและทีมคณะทำงาน พร้อมสมาชิกกลุ่มเกษตกร ได้ออกเดินทางไปถึงเวลา 13.oo น. ณ ศูนย์จักการศัตรูพืช(ศพก.) ต.ท่าประดู่ อ.นาทวี จ.สงขลา ได้ศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับ ไล่แมลงศัตรูพืช สูตรใช้ควบคุมแมลงศัตรูพืชทุกชนิด และได้เรียนรู้วิธีการทำสูตรฮอร์โมนไข่ และเรียนรู้วิธีการปรุงดินสำหรับพืชกินใบ พร้อมลงพื้นที่ดูแปลงผัก ทุ่งหัวเมือง ฟาร์ม โครงการเพิ่มศักยภาพการผลิดพืชอาหารในพื้นที่ป่าชุมชน ทุ่งหัวเมือง ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

1.กลุ่มเกษตรกรได้ความรู้วิธีการปลูกผักในล้อยาง และได้เรียนรู้พันธ์ไม้เศรษฐกิจ และพันธ์พืชที่ใช้ในครัวเรือน 2.กลุ่มเกษตรกรได้ด้ศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับ ไล่แมลงศัตรูพืช สูตรใช้ควบคุมแมลงศัตรูพืชทุกชนิด และได้เรียนรู้วิธีการทำสูตรฮอร์โมนไข่ และเรียนรู้วิธีการปรุงดิน 3.วิธีการการปลูกผักทุ่ของชุมชนทุ่งหัวเมือง ฟาร์ม สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับแปลงของตนเองได้

 

40 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 42 11                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 100,000.00 43,030.00                  
คุณภาพกิจกรรม 44                    

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

 

 

 

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

  1. ประชุม ARE คณะทำงานและภาคี โครงการส่งเสริมปลูกผักปลอดภัยสู่สุขภาพชุมชนบ้านตาราแดะ ครั้งที่ 1 ( 4 ก.ย. 2563 )
  2. 1.3) ประชุมสมาชิก ครั้งที่ 3 เพื่อถอดบทเรียน สรุปข้อมูลและติดตามความก้าวหน้าการดำเนินโครงการ ( 10 ก.ย. 2563 )
  3. กิจกรรมสมาชิกกลุ่มฯลงพื้นที่ปลูกถั่วลิสง ณ ศูนย์แปลงเกษตรใหญ่ของชุมชน ( 6 ต.ค. 2563 )
  4. เวทีประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา ARE ครั้งที่ 1 ( 23 ต.ค. 2563 - 25 ต.ค. 2563 )
  5. 1.4) ประชุมสมาชิกกลุ่มและผู้ประสานงาน ครั้งที่ 4 เพื่อรายงานสรุปผลการดำเนินโครงการ ( 4 พ.ย. 2563 - 4 ธ.ค. 2563 )
  6. 1.4.1จัดเตรียมวัสดุ ผสมปุ๋ยให้กับสมาชิกกลุ่มปลูกผักบ้านตาราแดะ ( 4 พ.ย. 2563 )
  7. 1.4.2 คณะทำงานและสมาชิกลงพื้นที่ใส่ปุ๋ยต้นถั่วลิสงในแปลงรวมของกลุ่ม ( 5 พ.ย. 2563 )
  8. 5.3 ป้ายไวนิลแปลงผักปลอดภัยต้นแบบของกลุ่ม ( 1 ธ.ค. 2563 - 31 ธ.ค. 2563 )
  9. 5.4 มีแปลงผักปลอดภัยที่เป็นของกลุ่ม เพื่อนำไปต่อยอดเมล็ดพันธุ์ โดยมีพื้นที่ 2 ไร่ ( 1 ธ.ค. 2563 - 31 ธ.ค. 2563 )
  10. 8.1 การบันทึกความร่วมมือกับ (MOU) เป็นการสร้างโอกาสขยายตลาดสู่โรงเรียนในชุมชน โรงพยาบาลยะลา โรงแรมในยะลา และร้านอาหารยะลา ตลาดสด/ตลาดเช้า ตลาดเมืองใหม่ ตลาดเขียวหลังเกษตรจังหวัดยะลา เพื่อเชื่อมโยงตลาดนำการผลิต สร้างช่องทางหลายๆ ช่องทาง และเพื่อให้เกิดความ ( 1 ธ.ค. 2563 - 31 ธ.ค. 2563 )
  11. 4.1 อบรมให้ความรู้ ความเข้าใจและพัฒนาทักษะคณะทำงานในด้านการทำปุ๋ยเศษเหลือใช้จากครัวเรือน การเลี้ยงและทำปุ๋ยไส้เดือน AF การทำปุ๋ยจากมูลสัตว์ และการกำจัดศัตรูพืชผักให้ได้ผลอย่างมีประสิทธิภาพ ( 2 ธ.ค. 2563 )

(................................)
นายมะซารี ดอเลาะแซ
ผู้รับผิดชอบโครงการ