Node Flagship

directions_run

โครงการ ส่งเสริมปลูกผักปลอดภัยสู่สุขภาพชุมชนบ้านตาราแดะ

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ ส่งเสริมปลูกผักปลอดภัยสู่สุขภาพชุมชนบ้านตาราแดะ
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดยะลา
รหัสโครงการ 63-00175-0002
วันที่อนุมัติ 1 มิถุนายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2563 - 31 มีนาคม 2564
งบประมาณ 100,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายมะซารี ดอเลาะแซ
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวอาดีละห์ กาโฮง
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มิ.ย. 2563 31 ส.ค. 2563 1 มิ.ย. 2563 31 ส.ค. 2563 40,000.00
2 1 ก.ย. 2563 15 ธ.ค. 2563 50,000.00
3 1 ม.ค. 2564 30 เม.ย. 2564 10,000.00
รวมงบประมาณ 100,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตำบลบันนังสาเรง เป็นตำบล 1 ใน 13 ตำบล ที่อยู่ในเขตปกครองของอำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา  มีจำนวนหมู่บ้านทั้งสิ้น 6 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 1 บ้านพงยือไร หมู่ที่ 2 บ้านบันนังบูโย หมู่ที่ 3 บ้านตาราแดะ หมู่ที่ 4 บ้านตะโล๊ะสาลี หมู่ที่ 5 บ้านกูแบปุโรง และหมู่ที่ 6 บ้านกะตุปะ ตำบลบันนังสาเรง มีครัวเรือนจำนวนทั้งสิ้น 1,487 ครัวเรือน        มีประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม คิดเป็นร้อยละ 100 เปอร์เซ็นต์ โดยทั่วไปประชากรจะใช้ภาษายาวีเป็นภาษาท้องถิ่น มีการแต่งกายเป็นแบบท้องถิ่นดั้งเดิม สภาพสังคมเป็นสังคมที่มีขนบธรรมเนียมและวัฒนธรรมที่ยึดถือปฏิบัติกันมายาวนาน ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางด้านเกษตรกรรม คิดเป็นร้อยละ 60.80 ที่เหลืออีกร้อยละ 30.20 ประกอบอาชีพรับจ้าง ค้าขาย และอาชีพอื่นๆ การทำการเกษตรในพื้นที่ตำบลบันนังสาเรง อันดับที่หนึ่ง คือ ทำสวนยางพารา        มีเนื้อที่ปลูกประมาณ 4,792 ไร่ ปลูกมากที่สุด คือ หมู่ที่ 3 จำนวน 1,073 ไร่ รองลงมาคือ หมู่ที่ 5 จำนวน 1,050 ไร่ และหมู่ที่ 2 จำนวน 856 ไร่ ตามลำดับ เกษตรกรปลูกยางพาราพันธุ์ดี มีผลผลิตเฉลี่ย 260 กิโลกรัมต่อไร่ ยางพันธุ์พื้นเมืองมีผลผลิตเฉลี่ย 170 กิโลกรัมต่อไร่ มีมูลค่ารวม 67.93 ล้านบาทต่อปี อันดับที่สอง ทำนา มีเนื้อที่ปลูกข้าวประมาณ 3,588 ไร่ ปลูกมากที่สุดคือ หมู่ที่ 2 จำนวน 856 ไร่ รองลงมาคือ หมู่ที่ 4 จำนวน 852 ไร่ และหมู่ที่ 5 จำนวน 830 ไร่ ตามลำดับ เกษตรกรปลูกข้าวนาปี (เพียง 1 ครั้งต่อปี) มีผลผลิตเฉลี่ย 350 กิโลกรัมต่อไร่ มีมูลค่ารวม 18.84 ล้านบาทต่อปี อันดับที่สาม ทำสวน แบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้ ประเภทที่หนึ่ง คือ ไม้ผล มีพื้นที่ปลูกประมาณ 1,308 ไร่ ได้แก่ ทุเรียน ลองกอง ส้มโอ เงาะ มังคุด ตามลำดับ มีมูลค่ารวม 12.51 ล้านบาทต่อปี ประเภทที่สอง ไม้ยืนต้น มีพื้นที่ปลูกประมาณ 792 ไร่ ได้แก่ มะพร้าว หมาก และมะนาว ตามลำดับ มีมูลค่ารวม 14.23 ล้านบาทต่อปี ประเภทที่สาม พืชผัก มีพื้นที่ปลูกประมาณ 217 ไร่ ได้แก่ ถั่วฝักยาว แตงกวา พริกขี้หนู และมะเขือ ตามลำดับ มีมูลค่ารวม 7.9 ล้านบาทต่อปี ประเภทที่สี่ พืชไร่ มีพื้นที่ปลูกประมาณ 344 ไร่ ได้แก่ ข้าวโพดหวาน อ้อย และแตงโม ตามลำดับ มีมูลค่ารวม 11.54 ล้านบาทต่อปี อันดับที่สี่ ทำปศุสัตว์ ได้แก่ เลี้ยงวัว แพะ และไก่พื้นเมือง อันดับที่ห้า ทำประมง ได้แก่ ปลานิล และปลาตะเพียน        สรุปสินค้ามูลค่ารวมของตำบลบันนังสาเรง สามารถสร้างรายได้ 132.95 ล้านบาทต่อปี ในส่วนพืชผัก มีมูลค่า 7.9 ล้านบาทต่อปี ถือว่าเกษตรกรมีรายได้สูง มีความมั่นคงด้านอาหาร และความมั่นคงด้านคุณภาพชีวิตที่ดี ลักษณะพื้นที่ส่วนใหญ่ที่ราบลุ่ม และเขาบือยอสูงอยู่ทางด้านตะวันออก ทอดยาวในแนวด้านเหนือ – ใต้ มีลักษณะเป็นเขาสูงสลับซับซ้อน และใช้สันเขาเป็นแนวแบ่งเขตระหว่างเทศบาลตำบลบุดีกับตำบลบันนังสาเรง นอกจากนี้เขาบือยอยังเป็นต้นน้ำของคลองบันนังบูโยและคลองบือยอ และมีสภาพพื้นที่ลาดลงมาทางตอนกลางเป็นที่ดอนและพื้นที่ราบลุ่ม พื้นที่ทางด้านตะวันตกมีแม่น้ำปัตตานีไหลผ่านในแนว เหนือ – ใต้ และใช้กึ่งกลางแม่น้ำปัตตานีเป็นแนวแบ่งเขตระหว่างตำบลบันนังสาเรงกับตำบลเปาะเส้ง อำเภอเมืองยะลา และตำบลปุโรง อำเภอกรงปินัง ระยะทางประมาณ 6 กิโลเมตร ในเขตบันนังสาเรงและมีบึงธรรมชาติ 19 แห่ง มีลักษณะเป็นแนวยาวในด้าน เหนือ – ใต้ อยู่ใกล้กับแม่น้ำปัตตานี ซึ่งเป็นแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรกรรมที่สำคัญของพื้นที่ นอกจากนี้ยังมีทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 410 เป็นถนนสายหลักของตำบลอยู่ติดกับบริเวณเขาบือยอ ตัดผ่านในแนวเหนือ – ใต้ และเชื่อมต่อกับถนนสายรองในตำบล ลักษณะภูมิอากาศจัดอยู่ในเขตภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน ซึ่งเป็นลักษณะภูมิอากาศที่ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุม ทำให้เกิดฤดูกาล 2 ฤดู คือ ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์จนถึงเดือนกรกฎาคม เป็นช่วงที่ได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดมาจากมหาสมุทรอินเดีย ผ่านพื้นที่ภาคใต้ทางฝั่งตะวันตกทำให้มีอากาศร้อน ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนสิงหาคมถึงเดือนมกราคม เป็นช่วงที่ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดผ่านอ่าวไทย นำความชื้นมาทำให้เกิดฝน  สำหรับบ้านตาราแดะ หมู่ที่ 3 มีประชากรจำนวนทั้งสิ้น 1,531 คน ชาย 788 คน หญิง 743 จำนวน 277 ครัวเรือน เนื้อที่ประมาณ 2,318 ไร่ ประชาชนส่วนใหญ่ของบ้านตาราแดะ จะประกอบอาชีพทางด้านการเกษตรกรรม คือ การทำนา ทำสวนยางพารา ทำสวนผลไม้ เช่น เงาะ ทุเรียน ลองกอง เลี้ยงสัตว์ เช่น โค แพะ ไก่พื้นเมือง ทำไร่อายุสั้น เช่น ข้าวโพด และประกอบอาชีพรับจ้างบางส่วน ประชาชนที่ปลูกผักกินเอง ประมาณ 200 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 72 และประชาชนที่ไม่ปลูกผักกินเอง ประมาณ 77 ครัวเรือน คิดเป็นร้อย 28 บ้านตาราแดะเป็นหมู่บ้านที่ขับเคลื่อนด้านเศรษฐกิจพอเพียง ตามเกษตรทฤษฎีใหม่ ผู้ใหญ่บ้านให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนด้านการเกษตร เพื่อให้ชุมชนปลูกผักกินเอง เหลือสามารถจำหน่าย สร้างความเข้มแข็ง พึ่งตนเอง และเกิดรายได้แก่ประชาชนในพื้นที่ โดยมีทั้งพืช ประมง ปศุสัตว์ และยังเป็นเมืองต้นแบบด้านปศุสัตว์ เป็นนโยบายของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) แต่จากการวิเคราะห์ปัญหาผ่านเวทีประชาคมกลุ่มเกษตรกรที่ปลูกผัก พบว่า พฤติกรรมปลูกผักของเกษตรกรบ้านตาราแดะ โดยใช้ปุ๋ยเคมี เชื่อว่าให้ผลผลิตดี โตเร็ว ผักสวย สะดวกในการซื้อ มีตลาดรองรับ ขาดความเชื่อมั่นในปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยอินทรีย์ เนื่องจากประสบการณ์ของตัวเกษตรเองที่ใช้แล้วได้ผลไม่ดีเท่าทีควร จึงหันมาใช้ปุ๋ยเคมีแทน ไม่มีแผนการปลูกผักแต่จะปลูกผักตามกระแสราคาในตลาด ขาดการเชื่อมโยงตลาดทั้งในและนอกพื้นที่ นอกจากนี้ยังพบว่า เกษตรกรยังขาดความรู้ ทักษะการทำปุ๋ยหมักที่สามารถผลิตได้จากเศษวัสดุในหมู่บ้าน ขาดความรู้เรื่องผลกระทบการใช้ปุ๋ยเคมีต่อสภาพดิน และสุขภาพ แรงเสริมคือมีผู้นำชุมชนที่เข้มแข็ง มีแปลงผักกลางพร้อมที่จะพัฒนาเป็นต้นแบบการปลูกผักปลอดภัย  เกษตรกรมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาการปลูกผลักให้ปลอดภัย แต่ไม่ได้คำนึงถึงสาเหตุที่อาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพจากการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ อาหารที่มีการปลอมปนสารเคมี หรือ ผักที่ไม่ปลอดสารพิษ  หรือปลอดภัย เพราะหากเกษตรกรผู้ผลิตใช้สารกำจัดศัตรูพืช อย่างไม่ถูกวิธีจะทำให้สารเคมีที่เป็นโทษเหล่านั้นตกอยู่กับผู้บริโภคอย่างยากที่จะหลีกเลี่ยง ถือว่าเป็นการทำร้ายเพื่อนทางอ้อม ที่สำคัญยังทำให้ดินเสื่อมสภาพ มีค่าใช้จ่ายที่แพงกว่าใช้ปุ๋ยจากธรรมชาติ ซึ่งทางชุมชนได้เล็งเห็นความสำคัญในการจัดทำโครงการส่งเสริมปลูกผักปลอดภัยสู่ชุมชนตาราแดะ เพื่อปรับเปลี่ยนวิธีคิดในการทำเกษตรที่ปลอดภัยทั้งคนปลูกและคนกิน เพื่อส่งเสริมสุขภาพชุมชน ให้อยู่ดี กินดี ห่างไกลจากโรคภัยต่างๆ และเป็นแนวทางการพัฒนาผักที่ไม่ปลอดภัยสู่ผักที่ปลอดภัย (ฮาลาลลันตอยยีบัน)  ดังนั้น แนวทางในการป้องกันปัญหาที่เป็นการแก้ที่ต้นเหตุแบบยั่งยืน คือการให้องค์ความรู้แก่ประชาชนในพื้นที่ส่งเสริมการปลูกผักเพื่อบริโภคในครัวเรือน การปลูกผักรับประทานเองผักอินทรีย์หรือผักปลอดภัย  โดยไม่ใช้สารเคมีหรือใช้ในปริมาณที่ปลอดภัย และลดการซื้อผักจากรถเร่ และร้านค้าที่นำผักในตลาด มาขายในหมู่บ้าน ซึ่งเป็นหนทางหนึ่งที่จะช่วยใช้ผู้บริโภคได้รับสารอาหารที่ดีมีประโยชน์อย่างแท้จริง เพื่อลดโรค และเป็นการให้ชุมชนหันกลับมาดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวทางศาสตร์พระราชา คือ เกษตรทฤษฎีใหม่ เพื่อการป้องกันโรค และลดต้นทุนการผลิต เน้นในด้านการป้องกันโรคมากกว่าการรักษา ทั้งนี้ ให้เกษตรกรได้เรียนรู้กระบวนการผลิตผักปลอดภัยสู่ตลาดภายนอก เรียนรู้การวางแผนการผลิต การจัดการที่ดี ที่ครอบคลุมถึงด้านการตลาด มีอำนาจในการตั้งราคาเอง โดยไม่ให้พ่อค้าคนกลางกดราคาได้ เพื่อเกษตรกรสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน สร้างรายได้เสริม ให้เป็นรายได้หลักแทนยางพาราและให้เป็นพื้นที่แหล่งอาหารที่สำคัญของจังหวัดยะลาต่อไป

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

ชุมชนบ้านตาราแดะ มีประชากร ทั้งหมด 253 ครัวเรือน ประกอบอาชีพเกษตรกร เป็นหลัก แต่เดิมเกษตรกรได้มีวิธีการแบบใช้สารเคมี บริโภคในครัวเรือนและจำหน่าย ในชุมชนและส่งพ่อค้าแม่ค้าคนกลางไปขายต่อเกษตรกรประสบปัญหาต้นทุนการผลิตสูงและปัญหาด้านสุขภาพ สาเหตุเกิดจากการใช้สารเคมีในปริมาณมากเป็นระยะเวลายาวนาน หลังจากที่ชุมชนได้ร่วมโครงการส่งเสริมปลูกผักปลอดภัยสู่สุขภาพชุมชนบ้านตาราแดะ มีการจัดตั้งกลุ่มคณะทำงานในกลุ่ม อบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพคณะทำงาน และสร้างความเข้าใจร่วมกันถึงวัตถุประสงค์ของโครงการ เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลและหาแนวทางในการแก้ปัญหาที่อิงจากบริบทชุมชน ได้พัฒนาอบรมให้ความรู้การปลูกผักปลอดภัย การทำปุ๋ยหมัก การทำสารกำจัดศัตรูพืชโดยวิธีธรรมชาติ ทำให้เกษตรกรมีความรู้เพิ่มมากขึ้น มีการเปลี่ยนพฤติกรรมจากที่เคยใช้สารเคมี
มาเปลี่ยนแปลงรูปเกษตรแบบใหม่ไม่ใช้สารเคมี จากสมาชิกจำนวน 30 คน ประชาชนมีความสนใจการปลูกผักปลอดสารเคมีเพิ่มขึ้นเป็น จำนวน 35 คน ชุมชนมีหน่วยงานที่เข้ามามีส่วนร่วม จากหน่วยงานสำนักงานเกษตรอำเภอเมืองยะลา สำนักงานเกษตรจังหวัดยะลา และศูนย์วิจัยพัฒนาการเกษตรยะลา เพื่อต้องการพัฒนาผลผลิตของเกษตรให้ได้รับรองมาตรฐานผักปลอดภัย (GAP) และมีตลาดรองรับได้ในอนาคต

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อปลูกผักโดยไม่ใช้สารเคมีบริโภคในครัวเรือนและจำหน่าย

1.ครัวเรือนมีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถผลิตปลอดภัยอย่างยั่งยืน ผลลัพธ์ 1.1 ครัวเรือนในกลุ่มสมาชิกมีทักษะสามารถผลิตผักปลอดภัยในแปลงของตนเอง 1.2 สมาชิกในกลุ่มนำความรู้ไปใช้ในแปลง อย่างน้อยร้อยละ 80  2.มีแปลงผักปลอดภัยของกลุ่ม ผลลัพธ์ 2.1 แปลงผักกลางของเพื่อขยายพืชผัก และเป็นแปลงมาตรฐาน PGS

0.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 35
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
ครัวเรือนชุมชนบ้านตาราแดะ 30 ครัวเรือน 35 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
1 กิจกรรมที่ 7 เวทีคืนข้อมูลให้ชุมชน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 150 21,400.00 1 21,400.00
1 - 28 ก.พ. 64 7.1 เวทีคืนข้อมูลให้กับชุมชน 1 เวที 150 21,400.00 21,400.00
2 กิจกรรมที่ 1 ประชุมสมาชิกและประสานงาน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 232 25,050.00 7 25,050.00
19 มิ.ย. 63 จัดทำป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์ โครงการขับเคลื่อนหน่วยจัดการระดับจังหวัดในการสร้างสเริมสุขภาพ และป้ายโฟมบอร์ด สสส. 0 1,950.00 1,950.00
30 มิ.ย. 63 1.1 ประชุมสมาชิกกลุ่มและผู้ประสานงาน ครั้งที่ 1 เพื่อชี้แจงเป้าหมายการดำเนินโครงการ เพื่อสร้างความเข้าในการขับเคลื่อนงานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน 40 6,800.00 6,800.00
11 ส.ค. 63 - 11 ก.ย. 63 1.2 ประชุมสมาชิกกลุ่มและผู้ประสานงาน ครั้งที่ 2 เพื่อติดตามผลระหว่างการดำเนินโครงการ ให้เป็นไปตามแผน หรือสามารถปรับเปลี่ยนแผนงานให้บรรลุเป้าหมาย 40 5,200.00 5,200.00
10 ก.ย. 63 1.3) ประชุมสมาชิก ครั้งที่ 3 เพื่อถอดบทเรียน สรุปข้อมูลและติดตามความก้าวหน้าการดำเนินโครงการ 30 3,900.00 3,900.00
4 พ.ย. 63 - 4 ธ.ค. 63 1.4) ประชุมสมาชิกกลุ่มและผู้ประสานงาน ครั้งที่ 4 เพื่อรายงานสรุปผลการดำเนินโครงการ 40 5,200.00 5,200.00
4 พ.ย. 63 1.4.1จัดเตรียมวัสดุ ผสมปุ๋ยให้กับสมาชิกกลุ่มปลูกผักบ้านตาราแดะ 40 0.00 0.00
5 พ.ย. 63 1.4.2 คณะทำงานและสมาชิกลงพื้นที่ใส่ปุ๋ยต้นถั่วลิสงในแปลงรวมของกลุ่ม 42 2,000.00 2,000.00
3 กิจกรรมที่ 2 สำรวจแปลงเพื่อจัดทำข้อมูลพื้นฐาน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 10 1,650.00 1 1,650.00
9 ก.ค. 63 2.1 คณะทำงานสำรวจแปลง 10 คน โดยสำรวจแปลงผักทั้งที่ปลอดภัยและไม่ปลอดภัย รวมทั้งหมดจำนวน กี่แปลง กี่ไร่ 10 1,650.00 1,650.00
4 กิจกรรมที่ 3 พัฒนาศักยภาพและศึกษาดูงานในจังหวัดที่ผ่านมาตรฐาน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 40 21,500.00 1 21,500.00
18 ส.ค. 63 3.1 พัฒนาศักยภาพและศึกษาดูงาน ณ ศูนย์จัดการศัตรูพืช(ศพก.) ต.ท่าประดู่ อ.นาทวี และศูนย์เรียนรู้ผักปลอดภัยลุงคำนึง ต.จะโหนง อ.จะนะ จ.สงขลา 40 21,500.00 21,500.00
5 กิจกรรมที่ 4 อบรมการเตรียมแปลงก่อนการเพาะปลูก การปรับปรุงดิน ปุ๋ยหมัก ชีวภาพ และการกำจัดศัตรูพืช กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 172 14,220.00 5 14,220.00
6 ต.ค. 63 กิจกรรมสมาชิกกลุ่มฯลงพื้นที่ปลูกถั่วลิสง ณ ศูนย์แปลงเกษตรใหญ่ของชุมชน 42 0.00 0.00
2 ธ.ค. 63 4.1 อบรมให้ความรู้ ความเข้าใจและพัฒนาทักษะคณะทำงานในด้านการทำปุ๋ยเศษเหลือใช้จากครัวเรือน การเลี้ยงและทำปุ๋ยไส้เดือน AF การทำปุ๋ยจากมูลสัตว์ และการกำจัดศัตรูพืชผักให้ได้ผลอย่างมีประสิทธิภาพ 40 14,220.00 14,220.00
6 ม.ค. 64 4.2 อบรมให้ความรู้การทำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ 40 0.00 0.00
16 ม.ค. 64 4.3 ประชุมสมาชิกกลุ่มวางแผนการปลูกผักในล้อยาง 10 0.00 0.00
19 ม.ค. 64 4.4 อบรมการปรับพฤติกรรมการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร 40 0.00 0.00
6 กิจกรรมที่ 5 ส่งเสริมการปลูกผักปลอดภัย กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 131 7,430.00 5 7,430.00
1 - 31 ธ.ค. 63 5.3 ป้ายไวนิลแปลงผักปลอดภัยต้นแบบของกลุ่ม 1 900.00 900.00
1 - 31 ธ.ค. 63 5.4 มีแปลงผักปลอดภัยที่เป็นของกลุ่ม เพื่อนำไปต่อยอดเมล็ดพันธุ์ โดยมีพื้นที่ 2 ไร่ 40 4,530.00 4,530.00
11 ก.พ. 64 สมาชิกกลุ่มปลูกผักลงพื้นที่วางแผนเพื่อปลูกผักในแปลงรวม 40 0.00 0.00
16 มี.ค. 64 5.1 การประกวดแปลงผักปลอดภัย 100 เปอร์เซ็นต์ 40 1,000.00 1,000.00
16 มี.ค. 64 5.2 การประกวดความตั้งใจในการลดการใช้ปุ๋ยเคมี 10 1,000.00 1,000.00
7 กิจกรรมที่ 6 ประชุมร่วมกับหน่วยจัดการ ARE จำนวน 2 ครั้ง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 65 1,260.00 3 1,260.00
4 ก.ย. 63 ประชุม ARE คณะทำงานและภาคี โครงการส่งเสริมปลูกผักปลอดภัยสู่สุขภาพชุมชนบ้านตาราแดะ ครั้งที่ 1 10 0.00 0.00
25 ม.ค. 64 ประชุม ARE คณะทำงานและภาคี โครงการส่งเสริมปลูกผักปลอดภัยสู่สุขภาพชุมชนบ้านตาราแดะ ครั้งที่ 2 40 1,200.00 1,200.00
29 เม.ย. 64 ประชุม ARE คณะทำงานและภาคี โครงการส่งเสริมปลูกผักปลอดภัยสู่สุขภาพชุมชนบ้านตาราแดะ ครั้งที่ 3 (ถอดบทเรียน) 15 60.00 60.00
8 ชื่อกิจกรรมที่ 8 การบันทึกความร่วมมือกับ (MOU) กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 40 1,440.00 1 1,440.00
1 - 31 ธ.ค. 63 8.1 การบันทึกความร่วมมือกับ (MOU) เป็นการสร้างโอกาสขยายตลาดสู่โรงเรียนในชุมชน โรงพยาบาลยะลา โรงแรมในยะลา และร้านอาหารยะลา ตลาดสด/ตลาดเช้า ตลาดเมืองใหม่ ตลาดเขียวหลังเกษตรจังหวัดยะลา เพื่อเชื่อมโยงตลาดนำการผลิต สร้างช่องทางหลายๆ ช่องทาง และเพื่อให้เกิดความ 40 1,440.00 1,440.00
9 กิจกรรม พัฒนาศักยภาพพื้นที่โครงการย่อย จัดโดย Node Flagship ยะลา กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 17 6,050.00 9 6,050.00
1 มิ.ย. 63 ประชุมขับเคลื่อนหน่วยจัดการระดับจังหวัด 3 300.00 300.00
3 มิ.ย. 63 เวทีปฐมนิเทศ และทำสัญญาโครงการย่อย 4 400.00 400.00
6 ก.ค. 63 1 เวทีพัฒนาศัยภาพการรายงานผลลัพธ์ของโครงการย่อยฯ (ส่วนที่ สสส. สนับสนุนเพิ่มเติ่มเพื่อพัฒนาศักยภาพ) 2 400.00 400.00
15 ส.ค. 63 ประชุมทบทวนบันไดผลลัพธ์และออกแบบเก็บข้อมูลของโครงการย่อยฯ 2 200.00 200.00
20 ส.ค. 63 ประชุมขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เพื่อเชื่อมโยงกับหน่วยงานสนับสนุน 1 100.00 100.00
23 - 25 ต.ค. 63 เวทีประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา ARE ครั้งที่ 1 2 2,450.00 2,450.00
16 ก.พ. 64 เวทีประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา ARE ครั้งที่ 2 1 100.00 100.00
24 มี.ค. 64 ประชุมวิเคราะห์ สังเคราะห์โครงการ 1 100.00 100.00
16 เม.ย. 64 1.1 คีย์ข้อมูลเข้าระบบคนใต้สร้างสุข 1 2,000.00 2,000.00
  1. วิธีรายงานผลลัพธ์ของโครงการ   การรายงานผลลัพธ์ของโครงการให้รายงานตามผลลัพธ์ที่กำหนดไว้ในโครงการ โดยโครงการจะต้องออกแบบข้อมูลที่จะเก็บและวิธีการเก็บข้อมูลตามตัวชี้วัดที่กำหนด โดยให้เป็นไปตามบริบทของพื้นที่
  2. ข้อมูลที่จะเก็บ 1.1 เป็นข้อมูลสำคัญที่จะบอกว่าโครงการบรรลุผลลัพธ์ เช่น จำนวนแกนนำ บทบาทแกนนำ กฎ/ระเบียบ/กติกา
    พฤติกรรมที่เปลี่ยนไป เป็นต้น 1.2 ข้อมูลที่นำมาประกอบคำอธิบายตัวชี้วัดควรมีลักษณะเป็นการเปรียบเทียบให้เห็นการเปลี่ยนแปลงจากสถานการณ์เดิมอย่างชัดเจน

  3. วิธีเก็บข้อมูล
    2.1 ให้ชุมชนร่วมออกแบบการเก็บข้อมูลและดำเนินการจัดเก็บที่สอดคล้องกับตัวชี้วัด และหน่วยจัดการ (Node) ร่วมวิเคราะห์ข้อมูลที่ชุมชนจัดเก็บร่วมกับชุมชนที่สอดคล้องกับผลลัพธ์ระดับต่างๆ 2.2 ตัวอย่างวิธีเก็บข้อมูล เช่น การสอบถาม การสัมภาษณ์ การสังเกตการณ์ การประชุมกลุ่ม ภาพถ่าย คลิปวิดีโอการสำรวจ การสรุปบทเรียน เรื่องเล่า บันทึกการประชุม แบบประเมินความรู้ความเข้าใจ แบบบันทึกการติดตาม เป็นต้น

  4. ทุกโครงการจะต้องนำเสนอรายงานความก้าวหน้าและรายงานปิดโครงการให้คณะทำงานรับทราบและรับรองรายงานก่อนนำส่ง สสส.) ตัวชี้วัดผลลัพธ์ (ยกมาจากตัวชี้วัดผลลัพธ์ที่ระบุในหัวข้อที่ 2) ข้อมูลอะไรบ้างที่จะเก็บ วิธีเก็บข้อมูล เกิดคณะทำงานที่ประกอบด้วย (ผู้นำชุมชน/แกนนำเกษตรกร/เกษตรกรผู้ปลูกผัก/พ่อค้า-แม่ค้าในชุมชน อย่างน้อย 3 คน) - แปลงผักใช้สารเคมี    - แปลงผักใช้ปุ๋ยชีวภาพ ลงพื้นที่ติดตามแต่ละครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ โดยใช้แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ การสังเกตการณ์
    เครือข่ายนำความรู้ไปใช้ในแปลง อย่างน้อยร้อยละ 80      แปลงผักปลอดภัย ลงพื้นที่ติดตามแต่ละครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ โดยใช้แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ การสังเกตการณ์
stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ครัวเรือนมีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถผลิตผักปลอดภัยอย่างยั่งยืน
  2. มีแปลงปลูกผักปลอดภัย ของกลุ่ม
  3. เกษตรกรจำหน่ายผักที่ปลอดภัย และลดการนำเข้าจากพื้นที่อื่นๆ
  4. การขยายตลาดชุมชน สู่ตลาดจังหวัด
stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 ก.ค. 2563 18:02 น.