Node Flagship

directions_run

โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบลดอุบัติเหตุทางถนนระดับตำบล โดยกระบวนการมีส่วนร่วมตำบลสะเอะ อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา (2)

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบลดอุบัติเหตุทางถนนระดับตำบล โดยกระบวนการมีส่วนร่วมตำบลสะเอะ อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา (2)
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดยะลา
รหัสโครงการ 0027
วันที่อนุมัติ 1 มิถุนายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2563 - 31 มีนาคม 2564
งบประมาณ 100,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มตำบลสะเอะ
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายมาหามะ มะเกะ
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ น.ส.ยามีละ เจ๊ะหลง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสะเอะ อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 0.00
รวมงบประมาณ 0.00

คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (0.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (100,000.00 บาท)

stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

1.1 สถานการณ์ปัญหาการเกิดอุบัติเหตุทางถนนในเขตพื้นที่ตำบลสะเอะ ข้อมูลประชากร รวมทั้งสิ้น
7,994 คน แยกเป็นเพศชาย จำนวน 4,042 คน เป็นเพศหญิง 3,952 คน ในพื้นที่ตำบลสะเอะเป็นพื้นที่มีความเสี่ยงสูง เนื่องจาก เป็นพื้นที่เส้นทางเข้าออกได้หลายสาย จากข้อที่ผ่านมา พื้นที่ที่เคยเกิดเหตุอาชญากรรม พื้นที่เสี่ยง เส้นทางเปลี่ยว และพื้นที่ที่ประชาชนรู้สึกหวาดกลัวหรือหวาดระแวงหรือรู้สึกไม่ปลอดภัย แต่ด้วยมาตรฐานการวางระบบของผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น และผู้นำศาสนา ในปัจจุบันมีการเกิดอุบัติเหตุในพื้นที่ ส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมของผู้ขับขี่ และปัจจัยด้านสภาพถนนเส้นทางจราจร ที่ผู้นำในพื้นที่สามารถควบคุมได้
ในเขตพื้นที่ตำบลสะเอะ มีเส้นทางการคมนาคมขนส่งทางบก เส้นทางหลัก ประกอบด้วยสายสะเอะ – คอรอราแม , สายบาตาบูแม– ราดู , สายสะเอะใน – ป่าหวัง, สายตะโล๊ะสโตร์– บาตูคอ ,สายบาโงยือรา– หน้าถ้ำ, สายยาแลบารู – หลักเขต, สายติงบาตู – บาจุ ซึ่งถนนของแต่ละสายสามารถเข้าออกได้ มีจุดเสี่ยง 7 จุด จำนวนอุบัติเหตุ 20 ครั้ง บาดเจ็บ 30 คน เสียชีวิต 2 คน จากการวิเคราะห์สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ในพื้นที่ตำบลสะเอะ พบว่าสาเหตุการ เกิดอุบัติเหตุจราจร คือ เมาแล้วขับ ไม่ชอบเปิดไฟเลี้ยว ขับรถเร็วเป็นประจำ ไม่ปฏิบัติตามเครื่องหมายจราจร ขาดความรู้การใช้ถนน ตัดสินใจช้าชอบเปลี่ยนเลนกะทันหัน ขับรถแซงปาดหน้า ความมักง่ายของผู้ประกอบการรับซื้อน้ำยางทางแยกไม่ชะลอความเร็ว คุยโทรศัพท์และเล่นโซเชียวขณะขับรถ และไม่เคารพกฎจราจร ประกอบกับสภาพของรถจักรยานยนต์ไม่ปลอดภัยยานพาหนะไม่ครบสมบูรณ์ เช่น ไม่มีไฟเลี้ยว ไฟท้าย ด้านกายภาพ ถนนมีหลุมมีบ่อ, ผิวถนนมีทราย ,ถนนไม่ผ่านมาตรฐาน , ถนนแคบไม่เพียงพอต่อการสัญจร, ถนนบางจุดไม่มีป้ายจราจรเตือนชัดเจน, ด่านตรวจไม่มีสัญลักษณ์ที่ชัดเจน ,ใช้ริมถนนในการประกอบการขาย ในพื้นที่มีผู้ประกอบการรับซื้อขี้ยาง ปล่อยน้ำยางลงบนถนน ระบบ กลไก ขาดการรณรงค์ในช่วงเทศกาล ไม่มีการประชาสัมพันธ์ในช่วงเทศกาล การสอบ และการต่อใบขับขี่ต้องเดินทางไกล สิ่งเหล่านี้ถือเป็น ปัจจัยก่อให้เกิดอุบัติเหตุดังกล่าว ผลกระทบด้านเศรษฐกิจขาดยานพาหนะ ในการประกอบอาชีพ ครอบครัวขาดรายได้ ค่าใช้จ่ายในการดูแล รักษามากขึ้น สร้างภาระหนี้สิน ครอบครัว สูญเสียรายได้ ด้านสุขภาพ บาดเจ็บ เสียชีวิต พิการ มีความวิตกกังวล มีภาวะสุขภาพจิตเสีย ด้านสิ่งแวดล้อม สภาพแวดล้อมเกิดมลพิษจากควันรถ ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติ(ต้นไม้)ได้รับความเสียหาย ด้านสังคม ทำให้สังคมเกิดความแตกแยก เกิดความวุ่นวาย เกิดความขัดแย้ง มีการฟ้องร้องค่าเสียหายมากเกินไป สูญเสียประชากร เกิดปัญหาในการใช้ชีวิตในครอบครัว ดังนั้น เพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกในด้านความปลอดภัยและวินัยจราจร เพื่อลดจำนวน อุบัติเหตุทางถนน จำนวนผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตลงให้ได้มากที่สุด เพื่อเตรียมความพร้อมของผู้ขับขี่และยานพาหนะ โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลสำคัญ ได้แก่ เทศกาลปีใหม่ เทศกาลสงกรานต์ และเทศกาลสำคัญของจังหวัด และรณรงค์ เพื่อกระตุ้นเตือนให้ประชาชนเกิดจิตสำนึก ในการช่วยกันป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน โดยมุ่งที่จะพัฒนา คุณภาพชีวิตของประชาชน รวมทั้ง สร้างจิตสำนึกให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบต่อสังคมด้วยการ เสริมสร้างความปลอดภัย ในระบบการ จราจร และเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมป้องกันการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน จึงเสนอ โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบลดอุบัติเหตุทางถนนระดับตำบล โดยกระบวนการมีส่วนร่วมตำบลสะเอะ 1.2 แนวทางการแก้ไขปัญหาการลดอุบัติเหตุบนท้องถนนในตำบลสะเอะ เป็นปัญหาสำคัญที่ก่อให้เกิดการ บาดเจ็บ การสูญเสียชีวิตของผู้ใช้ถนน และสร้างความสูญเสียต่อเศรษฐกิจในภาพรวม จำเป็นต้องตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาเพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหา ด้วยการสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน หน่วยทหารในพื้นที่ ภาคประชาสังคม ชุมขน หมู่บ้าน ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำท้องที่ อาสาสมัครต่างๆ และประชาชน ให้เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่ เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุทางถนน ทั้งจากคน ยานพาหนะ ถนน และสิ่งแวดล้อม ควบคู่กับการสร้างจิตสำนึกและความตระหนักด้านความปลอดภัยทางถนน ให้แก่ผู้ใช้ถนนและประชาชน รวมทั้งเพื่อดูแลความปลอดภัยในการเดินทางของประชาชนให้ครอบคลุมทุกมิติ โดยให้ความสำคัญในการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง เคร่งครัด ต่อเนื่อง และการให้ความรู้ในการสร้างวินัยจราจรและความปลอดภัยทางถนน เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดอุบัติเหตุทางถนนและยกระดับความปลอดภัยทางถนนในเขตพื้นที่ตำบลสะเอะ
1.3 การดำเนินโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบลดอุบัติเหตุทางถนนระดับตำบล โดยกระบวนการมีส่วนร่วม ตำบลสะเอะ อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา ส่งผลให้เกิดประโยชน์ในการลดอุบัติเหตุบนท้องถนนได้ อาทิ เช่น กลุ่มเป้าหมายที่ร่วมโครงการเกิดความรู้ ความเข้าใจ ความตระหนัก เกี่ยวกับกฎหมายจราจรปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด สร้างจิตสำนึกด้านความปลอดภัยในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการดำเนินชีวิต มีมารยาทในการขับขี่และรู้จักวิธีการป้องกันตัวเองขณะขับขี่ยานพาหนะ ตลอดจนวิธีแก้ปัญหาในขณะเกิดเหตุและหลังเกิดเหตุ

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อการพัฒนากลไกการทำงาน ขับเคลื่อนการลดอุบัติเหตุทางถนนระดับตำบล

ผลลัพธ์ที่ 1 การสร้างกลไกป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนระดับตำบล ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 1.1. สร้างคณะทำงานปฏิบัติงานลดอุบัติเหตุระดับตำบล จำนวน 1 คณะ ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 1.2. การวิเคราะห์พื้นที่การป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนระดับตำบล จำนวน 1 สาย ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 1.3. การสร้างแผนพัฒนาป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนระดับตำบล จำนวน 1 แผน ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 1.4. การสร้างกติกาป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนระดับตำบล ไม่น้อยกว่า 6 ข้อ ผลลัพธ์ที่ 2 การขับเคลื่อนกลไกลแผนในการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนตำบลตำบล ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 2.1. การขับเคลื่อนพฤติกรรมเสี่ยงด้านคน ด้านยานพาหนะ ด้านถนน ด้านสิ่งแวดล้อมเกิดอุบัติเหตุทางถนนระดับตำบล พฤติกรรมลดลงไม่น้อยกว่าร้อยละ 75
ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 2.2. การขับเคลื่อนแก้ไขสภาพแวดล้อมจุดเสียงของเกิดอุบัติทางถนนระดับตำบล ดีขึ้นทั้ง 7 จุด ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 2.3. การขับเคลื่อนรณรงค์การเฝ้าระวังการเกิดอุบัติทางถนนระดับตำบล จำนวน 3 จุด ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 2.4. การขับเคลื่อนปฏิบัติตามกลไกกติกาข้อตกลงในการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน มีการปฏิบัติใช้ ทั้ง 6 ข้อ

60.00
2 เพื่อปรับพฤติกรรมการใช้ถนนและสภาพแวดล้อมที่เป็นจุดเสี่ยง

ผลลัพธ์ที่ 3 การปฏิบัติการป้องกันลดอุบัติเหตุทางถนนระดับตำบล ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 3.1.การปรับกระบวนการในแก้ไขปัญหาปัจจัยเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุทางถนนระดับตำบลจุดเสี่ยงทั้ง 7 จุด ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 3.2. กระบวนการมีส่วนร่วมของป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนระดับนำไปบังคับใช้ปฏิบัติ เพิ่มขึ้นร้อยละ 70
ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 3.3. การปฏิบัติตามกฏเกณฑ์ กลไก การลดอุบติเหตุทางถนนระดับตำบล คิดเป็นร้อยละ 100 ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 3.4. ความรู้ที่ได้จากการขับเคลื่อนสามารถได้มีการต่อยอดขยายผลอย่างต่อเนื่อง คิดเป็นร้อยละ 80 ของประจำนวนผู้ใช้ถนน ผลลัพธ์ที่ 4 การประเมินผลของการขับเคลื่อนกลไกการลดอุบัติเหตุทางถนนในระดับตำบล ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 4.1.อัตราการเสียชีวิตต้องลด ร้อยละ 90 ต่อปี
ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 4.2. อัตราจำนวนอุบัติเหตุต้องลดลง คิดเป็นร้อยละ 20 ต่อปี ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 4.3. ปัจจัยที่มีความเสียงมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น            คิดเป็นร้อยละ 80

60.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 250
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายรอง ได้แก่ ผู้ปกครอง เยาวชน และประชาช 200 -
กลุ่มเป้าหมายหลัก ได้แก่ ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำท้องที 50 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 5 1,000.00 0 0.00
3 มิ.ย. 63 การพัฒนาศักยภาพคณะทำงาน 2 400.00 -
15 ส.ค. 63 เวทีทบทวนบันไดผลลัพธ์และออกแบบเก็บข้อมูลของโครงการย่อย 3 600.00 -

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 ก.ค. 2563 10:41 น.