Node Flagship

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ลดอุบัติเหตุบนท้องถนนรอบรั้วพัฒนาวิทยา
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดยะลา
รหัสโครงการ 0026
วันที่อนุมัติ 1 กรกฎาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2563 - 31 พฤษภาคม 2564
งบประมาณ 102,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนพัฒนาวิทยา
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางยูใบดะห์ หะยีสแลแม
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ น.ส.ยามีละ เจ๊ะหลง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสะเตง อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 22 มิ.ย. 2563 9 พ.ย. 2563 40,000.00
2 10 พ.ย. 2563 4 มี.ค. 2564 50,000.00
3 1 ม.ค. 2564 30 เม.ย. 2564 12,000.00
4 0.00
รวมงบประมาณ 102,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถานการณ์ปัจจุบันโรงเรียนพัฒนาวิทยา พบปัญหาการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนของนักเรียน บุคลากรและคนในชุมชน ซึ่งนับปัญหาสำคัญในระดับมาก(ปัญหาขนาดใหญ่) โดยส่งผลกระทบในด้านสุขภาพของประชากรดังนี้ ประชากรได้รับบาดเจ็บจากการเกิดอุบัติเหตุ ในที่นี้พิการ 3 ราย ต้องงดกิจกรรมที่หนักตลอดชีวิตเพราะผ่านการผ่าตัดศีรษะ และบางรายถึงขั้นเสียชีวิต ซึ่งภายหลังการเกิดอุบัติเหตุจะเกิดภาวะเครียดสะสม ในกรณีบางรายที่ไม่สามารถดำเนินชีวิตเช่นเดิมได้ และทำให้ผู้ประสบอุบัติเหตุหรือคู่กรณีจำเป็นต้องขาดเรียนหรือหยุดทำงาน ซึ่งในภาวะนี้อาจส่งผลต่อการก่อโจรกรรมหรืออาชญากรรมตามมา อีกทั้งยังส่งผลกระทบในด้านเศรษฐกิจของผู้ประสบอุบัติเหตุและคู่กรณี เช่น ผู้ประสบอุบัติเหตุไม่สามารถประกอบอาชีพได้ ทำให้ไม่มีรายได้เข้ามา จึงส่งผลกระทบไปยังค่าใช้จ่ายในการรักษาและค่าใช้จ่ายต่างๆต่อคู่กรณี ทั้งนี้ ทำให้เกิดการกู้ยืมเงิน ทั้งในระบบและนอกระบบ ในสถานการณ์ดังกล่าว ส่งผลกระทบในด้านสิ่งแวดล้อมเช่นกัน การเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนไม่เพียงแค่ผู้ประสบภัยหรือคู่กรณีเท่านั้นที่ได้รับผลกระทบ แต่ยังส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมใกล้ที่เกิดเหตุเกิดความเสียหายจึงนำไปสู่การไกล่เกลี่ย โดยที่ต้องหาบุคคลอื่นมาไกล่เกลี่ย เพื่อคลี่ปัญหาที่เกิดขึ้น อุบัติเหตุบนท้องถนนที่เกิดขึ้นของนักเรียน บุคลากร และคนในชุมชน มีสาเหตุมาจากพฤติกรรมการใช้รถใช้ถนน ได้แก่ ประชากรส่วนมากอายุยังน้อยไม่มีใบขับขี่ ทำให้ไม่มีความรู้ในเรื่องกฎจราจรการใช้ถนน จึงมีการขับรถย้อนศร ขับรถเร่งรีบฝ่าไฟแดง แว๊นกันเป็นกลุ่ม ที่สำคัญประชากรไม่มีความตระหนักในความปลอดภัยการใช้ถนน คือ ไม่สวมหมวกกันน็อค เลี้ยวทันทีไม่เปิดไฟเลี้ยว ประมาท เล่นโทรศัพท์ในขณะที่กำลังขับรถจักรยานยนต์ กระโปร่งเข้าล้อ ง่วงแล้วขับทำให้หลับใน มีการขับรถแซงในเขตห้ามแซง ผู้ใช้รถขาดทักษะในการคาดการณ์อุบัติเหตุ การควบคุมรถและไม่สามารถตัดสินใจได้อย่างถูกต้องเมื่อตกอยู่ในสถานการณ์ฉุกเฉิน ดังรายละเอียดต่อไปนี้

  1. รูปแบบการเกิดอุบัติเหตุที่พบบ่อยมากที่สุด คือ การเลี้ยวตัดกระแสจราจรทางตรง ณ จุดตัดประเภทต่าง ๆ เช่น จุดกลับรถ ทางแยก ทางเข้าออกซอยต่างๆ ในรูปแบบการชนด้านหน้า และการชนท้ายรถคันอื่น รวมถึงการชนกับรถขณะกำลังเลี้ยวในบริเวณจุดตัดต่าง ๆ 2.สาเหตุสำคัญของการเกิดอุบัติเหตุ มาจากปัจจัยด้านบุคคลเป็นหลัก แบ่งเป็นสาเหตุเกิดจากความผิดพลาดของผู้ขี่รถจักรยานยนต์ และสาเหตุเกิดจากความผิดพลาดของคนขับรถยนต์คันอื่น ส่วนสาเหตุจากถนนและยานพาหนะ มีเพียงเล็กน้อย 3.ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นกับผู้ขับขี่และเป็นสาเหตุทำให้เกิดอุบัติเหตุ ได้แก่ ความผิดพลาดของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ในการประเมินสถานการณ์ (Perception Failure) ความผิดพลาดในการตัดสินใจเมื่อต้องเผชิญหน้ากับสถานการณ์ฉุกเฉิน (Decision Failure) และความผิดพลาดในการควบคุมรถ (Reaction Failure)
    นอกจากนี้ ยังพบว่าอุบัติเหตุทั้งหมด มีเหตุจากความไม่ตั้งใจในการขับขี่ (Attention Failure) และเกิดจากการทำผิดกฎจราจรของผู้ขับขี่รถ (Faulty in Traffic Strategy)

  2. อุบัติเหตุ เกิดจากการผู้ขับขี่ไม่หลบหลีกหรือเบรก เพื่อหลีกเลี่ยงการชน (Collision Avoidance) ส่วนใหญ่มีสาเหตุจากผู้ขับขี่ไม่สามารถหลบหลีกหรือเบรกได้ทัน เพราะเกิดกะทันหัน อีกทั้งผู้ขับขี่กลุ่มนี้ยังมีสภาพร่างกายปกติ ไม่มีอาการง่วงหรือเมา และขับขี่ด้วยความเร็วปกติระหว่าง 30-60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

  3. ผู้ขับขี่ที่ประสบอุบัติเหตุส่วนใหญ่ไม่มีใบอนุญาตขับขี่ อย่างไรก็ตามในกลุ่มผู้ที่มีใบอนุญาตขับขี่ ปรากฏว่าร้อยละ 50 เป็นการชนที่ผู้ขับขี่ไม่หลบหรือเบรกเพื่อเลี่ยงการชนเช่นเดียวกัน ชี้ให้เห็นว่า ถึงแม้ว่าผู้ขับขี่จะมีใบอนุญาต แต่ก็ยังขาดทักษะในการหลีกเลี่ยงการชน

  4. อุบัติเหตุนั้นเกิดขึ้นกับผู้ขับขี่ที่ไม่ได้ผ่านการฝึกอบรมขับขี่ปลอดภัย แต่เรียนรู้วิธีการขับขี่จากสมาชิกในครอบครัว เพื่อน หรือฝึกขับขี่ด้วยตนเอง

  5. ผู้ขับขี่มีพฤติกรรมเสี่ยงอุบัติเหตุ ได้แก่ การไม่สวมหมวกนิรภัย เมื่อเกิดอุบัติเหตุ ทำให้บาดเจ็บรุนแรงบริเวณศีรษะจนถึงขั้นเสียชีวิต ขับขี่ในลักษณะที่ไม่ปลอดภัย ทั้งการขับรถเร็ว ขับย้อนศร ขับรถปาดหน้า และแซงรถในระยะกระชั้นชิด ขับขี่ในลักษณะผาดโผน ประกอบกิจกรรมอื่นขณะขี่รถจักรยานยนต์ อาทิ การใช้โทรศัพท์ ทำให้มีมือเพียงข้างเดียวในการควบคุมรถ อาจเสียหลักล้ม และเกิดอุบัติเหตุได้ การนำเด็กไว้ด้านหน้ารถ หรืออุ้มเด็กซ้อนท้าย เป็นต้น

  6. การดัดแปลงสภาพรถ โดยนำกระจกมองข้างออก ทำให้ผู้ขับขี่ต้องหันไปมองด้านหลังเมื่อเปลี่ยนช่องทาง หรือเลี้ยวรถ การต่อเติมพ่วงด้านข้าง หรือด้านหลังสำหรับขนส่งสิ่งของ และบรรทุกผู้โดยสาร จะส่งผลต่อการทรงตัวและประสิทธิภาพในการขับรถ อีกทั้งการปรับแต่งเครื่องยนต์ให้ใช้ความเร็วได้สูงขึ้น จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ

  7. อุบัติเหตุบางส่วนมีสาเหตุมาจากสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ เช่น ความไม่พร้อมของรถ และสภาพถนนในบางช่วงเวลา เช่น ฝนตกถนนลื่น หรือเกาะชะลอความเร็วมีความสูงจนทำให้ผู้ขับขี่ตกใจในระยะที่เห็นกะทันหัน จากสภาพการณ์และผลเสียที่เกิดจากการเกิดอุบัติเหตุดังกล่าว โรงเรียนพัฒนาวิทยา จึงทำโครงการนี้ขี้น เพื่อสร้างความตระหนักและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการขับขี่ให้แก่ทุกกลุ่มผู้ขับขี่ให้ขับขี่อย่างปลอดภัย

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

กรอบแนวคิด   ด้วยทำเลที่ตั้งของโรงเรียนพัฒนาวิทยา อยู่ในพื้นที่ที่มีโรงเรียน หน่วยงานราชการ และชุมชนล้อมรอบโรงเรียน มีจำนวนประชากรในชุมชนรอบโรงเรียนหนาแน่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวลาช่วงเช้าและเย็นที่ประชาชนทั้งที่อาศัยอยู่ในชุมชนรอบโรงเรียนและประชาชนที่มาจากต่างพื้นที่ ต่างมารวมตัวกันรับส่งบุตรหลานในโรงเรียนต่าง ๆ ในเวลาพร้อมๆ กัน ส่งผลให้จำนวนรถทุกชนิด และจำนวนคนที่สัญจรไปมาบนท้องถนนรอบบริเวณโรงเรียนมีจำนวนมากจนถึงระดับหนาแน่นแออัด ประกอบกับช่วงเวลาดังกล่าว เป็นเวลาที่ทุกคนต่างเร่งรีบ จึงก่อให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนรอบรั้วโรงเรียนบ่อยครั้ง ก่อให้เกิดการบาดเจ็บและสูญเสียทั้งสุขภาพ เวลา และทรัพย์สิน โรงเรียนพัฒนาวิทยา ได้ตระหนักถึงผลเสียข้างต้น จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นโดยมียุทธศาสตร์ที่สอดคล้องกับสภาพการณ์ของโรงเรียน ทั้งในด้านจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และข้อจำกัดของระบบงานจราจรของโรงเรียน สู่การปรับเปลี่ยนพัฒนาพฤติกรรมการใช้รถใช้ถนนของบุคคลทุกกลุ่ม อันส่งผลต่อการป้องกันและลดอุบัติเหตุบนท้องถนนรอบรั้วโรงเรียนให้เป็นศูนย์ ตลอดจนการปลูกฝังจิตสำนึกในการเฝ้าระวัง การป้องกันอุบัติเหตุบนท้องถิ่นให้แก่บุคคลที่เกี่ยวข้องตลอดจนขยายเครือข่ายไปยังผู้สนใจในวงกว้าง ยุทธศาสตร์หลัก 1. พัฒนาศักยภาพทีมจัดทำโครงการย่อย 2. จัดตั้งคณะทำงานโครงการและวางแผนการดำเนินงาน 3. สร้างความตระหนักเรื่องอุบัติเหตุ 4. สร้างกลไกเฝ้าระวังเรื่องอุบัติเหตุ 5. ปรับเปลี่ยน เปลี่ยนแปลง เพื่อลดอุบัติเหตุ 6. สร้างเครือข่ายเฝ้าระวังอุบัติเหตุให้ลดลง ความปลอดภัยเพิ่มขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เกิดแกนนำและการมีส่วนร่วมของนักเรียน บุคลากร และประชาชนรอบรั้วโรงเรียนพัฒนาวิทยา ในการจัดการจุดเสี่ยงเพื่อป้องกันอุบัติเหตุทางถนนในชุมชน
  1. เพื่อให้เกิดแกนนำและการมีส่วนร่วมของนักเรียน บุคลากร และประชาชนรอบรั้วโรงเรียนพัฒนาวิทยา ในการจัดการจุดเสี่ยงเพื่อป้องกันอุบัติเหตุทางถนนในชุมชน
    ผลลัพธ์ที่ 1 เกิดแกนนำในโรงเรียนที่สามารถขับเคลื่อนงานได้ ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 1.1 มีโครงสร้างการดำเนินงานเกิดขึ้นในโรงเรียน ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 1.2 มีข้อมูล แผนการดำเนินงาน ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 1.3 แกนนำมีทักษะการดำเนินงาน ผลลัพธ์ที่ 2 คนในโรงเรียนเกิดความตระหนักเรื่องอุบัติเหตุ ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 2.1 เกิดกติกาและข้อตกลงภายในโรงเรียน ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 2.2 เกิดการปฏิบัติตามกฎวินัยจราจร ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 2.3 พฤติกรรมเสี่ยงลดลง ร้อยละ 50
0.00
2 เพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุทางถนน
  1. เพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุทางถนน ผลลัพธ์ที่ 3 เกิดกลไกลเฝ้าระวังเรื่องอุบัติเหตุ ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 3.1 นักเรียน บุคลากร และคนในชุมชนรู้ข้อมูลอุบัติเหตุ ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 3.2 มีข้อมูลการเปลี่ยนแปลงของนักเรียน บุคลากรและคนในชุมชน ร้อยละ 80 ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 3.3 แกนนำมีการทบทวนแผนการทำงานอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 80 ผลลัพธ์ที่ 4 คนในโรงเรียนและชุมชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสวมหมวกกันน็อค สภาพแวดล้อมได้รับการเปลี่ยนแปลง ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 4.1 นักเรียน บุคลากรและคนในชุมชนสวมหมวกกันน็อคเพิ่มขึ้น ร้อยละ 50 จากประชากรผู้ขับขี่ ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 4.2 จุดเสี่ยงได้รับการแก้ไข ร้อยละ 50 ของจุดเสี่ยง ผลลัพธ์ที่ 5 การเกิดอุบัติเหตุของนักเรียน บุคลากรในโรงเรียนและผู้ปกครองในชุมชนลดลง ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 5.1 จำนวนการเกิดอุบัติเหตุลดลง ร้อยละ 50 ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 5.2 อัตราการเสียชีวิตและการบาดเจ็บลดลง ร้อยละ 50 ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 5.3 อัตราการเกิดความรุนแรงทางอุบัติเหตุลดลง ร้อยละ 50
0.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 2530
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
เป้าหมายรอง ได้แก่ชาวบ้านในชุมชนใกล้เคียง 30 -
เป้าหมายหลัก ได้แก่นักเรียนและบุคลากร 2,500 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
1 พัฒนาศักยภาพที่จัดโดย Node Flagship ยะลา กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 12 10,000.00 5 10,000.00
3 มิ.ย. 63 ปฐมนิเทศ 3 784.00 784.00
6 ก.ค. 63 เวทีการพัฒนาศักยภาพการายงานพร้อมผลลัพธ์ของโครงการย่อย (พัฒนาศักยภาพกับ Node หรือ สสส.) 3 1,754.00 1,754.00
15 ส.ค. 63 เวทีทบทวนบันไดผลลัพธ์และออกแบบเก็บข้อมูลของโครงการย่อย @โรงแรมปาร์ควิวยะลา 2 464.00 464.00
24 ต.ค. 63 โครงการขับเคลื่อนหน่วยจัดการระดับจังหวัดในการสร้างเสริมสุขภาพ 2 2,998.00 2,998.00
15 ก.พ. 64 จัดทำรายงานความก้าวหน้าระบบออนไลน์ 2 4,000.00 4,000.00
2 จัดตั้งคณะทำงานโครงการและวางแผนการดำเนินงาน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 1280 25,400.00 10 25,400.00
20 ก.ค. 63 สมุดบันทึกงานและข้อมูลต่างๆ 50 1,250.00 1,250.00
22 ก.ค. 63 ประชุมคณะทำงาน แกนนำนักเรียนและคลี่โครงการ ครั้งที่1 30 900.00 900.00
9 ก.ย. 63 ประชุมคณะทำงาน และแกนนำ ครั้งที่2 30 900.00 900.00
17 ก.ย. 63 กิจกรรมศึกษาดูงานนอกสถานที่เพื่อการพัฒนาวินัย และการช่วยเหลือจากอุบัติเหตุ 25 11,750.00 11,750.00
25 ก.ย. 63 เชิญชวนให้ความรู้และเก็บข้อมูล 30 900.00 900.00
14 ต.ค. 63 อบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาแกนนำอาสาจราจร ภาคปฏิบัติ ร่วมกับชุมชนและภาคี หรือเครือข่าย ครั้งที่3 30 900.00 900.00
10 พ.ย. 63 ประชุมคณะทำงานแกนนำโครงการและแกนนำนักเรียน ครั้งที่4 30 900.00 900.00
26 ม.ค. 64 วิเคราะห์ข้อมูล 30 900.00 900.00
5 ก.ย. 64 แบบสอบถาม 1,000 2,000.00 2,000.00
5 ก.ย. 64 ตอบแทนทีมงานเก็บข้อมูล 25 5,000.00 5,000.00
3 ตระหนักเรื่องอุบัติเหตุ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 167 28,000.00 4 28,000.00
18 ส.ค. 63 สร้างความเข้าใจแก่คนในชุมชนรอบรั้วโรงเรียน 0 6,500.00 6,500.00
7 ต.ค. 63 สร้างความเข้าใจแก่นักเรียน บุคลากรและเวทีกำหนดกติการ่วมกันภายในโรงเรียนและอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาแกนนำอาสาจราจร ภาคทฤษฎี ร่วมกับชุมชนและภาคี หรือเครือข่าย 150 15,000.00 15,000.00
19 ต.ค. 63 กิจกรรมมอบรางวัล และเกียรติบัตร การประกวดวาดภาพระบายสี เรียงความ และคำขวัญ หนังสั้น ในหัวข้อ "ลดอุบัติเหตุบนท้องถนนรอบรั้วพัฒนาวิทยา" 10 3,000.00 3,000.00
5 ก.ย. 64 จัดทำป้ายไวนิลรณรงค์ขับขี่ปลอดภัย 7 3,500.00 3,500.00
4 กลไกเฝ้าระวัง เรื่องอุบัติเหตุ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 20 1,000.00 1 1,000.00
30 ก.ค. 63 ประชุมเตรียมข้อมูลเพื่อคืนข้อมูลอุบัติเหตุให้นักเรียน บุคลากรและคนในชุมชน 20 1,000.00 1,000.00
5 ปรับเปลี่ยน เปลี่ยนแปลง เพื่อลดอุบัติเหตุ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 500 20,600.00 5 20,600.00
1 ก.ค. 63 กิจกรรมบูรณะทางม้าลายและบูรณะพื้นที่ห้ามจอด (ขาว-แดง) 0 4,000.00 4,000.00
25 - 26 ส.ค. 63 รณรงค์การสวมหมวกกันน็อค (ประชาสัมพันธ์สื่่อสารความเสี่ยงอุบัติเหตุ) 0 4,000.00 4,000.00
18 ก.ย. 63 วางแผนการเรียนรู้และทดสอบการเก็บข้อมูลที่ถูกต้อง 0 7,600.00 7,600.00
5 ก.ย. 64 จัดทำป้ายไวนิลเตือนจุดเสี่ยงในบริเวณโรงเรียนและพื้นที่ใกล้เคียง 0 4,000.00 4,000.00
5 ก.ย. 64 เอกสารประชาสัมพันธ์สื่อสารความเสี่ยงอุบัติเหตุ 500 1,000.00 1,000.00
6 อุบัติเหตุลดลง ความปลอดภัยเพิ่มขึ้น กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 165 10,750.00 3 10,750.00
10 พ.ย. 63 สร้างความเข้าใจแก่คนในชุมชนรอบรั้วโรงเรียน 0 2,500.00 2,500.00
12 ม.ค. 64 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ 150 6,000.00 6,000.00
5 ก.ย. 64 มอบประกาศนียบัตรสำหรับผู้ขับขี่ดีเด่น 15 2,250.00 2,250.00
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 30 6,250.00 16 21,155.00
6 ก.ค. 63 จัดทำป้ายโครงการ 0 0.00 12,625.00
31 ก.ค. 63 ประชุมวางแผนแก้ไขจุดเสี่ยง 0 0.00 2,280.00
31 ก.ค. 63 - 18 เม.ย. 49 ส่งข้อมูลให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 10 2,250.00 2,250.00
11 ก.ย. 63 ประชาสัมพันธ์เรื่องการประกวดวาดภาพในหัวข้อ "ลดอุบัติเหตุรอบรั้วพัฒนาวิทยา" 0 0.00 0.00
11 ก.ย. 63 นางฟ้าจราจร (ตลอดปีการศึกษา) 0 0.00 0.00
16 ก.ย. 63 เวทีติดตามประเมิน และพัฒนา ART 0 0.00 0.00
18 ก.ย. 63 การประกวดวาดภาพในหัวข้อลดอุบัติเหตุรอบรั้วพัฒนา 20 4,000.00 4,000.00
22 ก.ย. 63 กิจกรรมมอบเกียรติบัตรการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาแกนนำ อาสาจราจร ภายใต้โครงการ "ลดอุบัติเหตุบนท้องถนนรอบรั้วพัฒนาวิทยา" 0 0.00 0.00
23 ก.ย. 63 รวมพลังชุมชนจิตอาสา รักษาวินัยจราจร 0 0.00 0.00
25 ก.ย. 63 กิจกรรมประกวดเรียงความ "การลดอุบัติเหตุบนท้องถนนรอบรั้วพัฒนาวิทยา" 0 0.00 0.00
2 ต.ค. 63 กิจกรรมประกวดคำขวัญรณรงค์ "การลดอุบัติเหตุรอบรั้วพัฒนาวิทยา" 0 0.00 0.00
27 พ.ย. 63 ภาคคีขับเคลื่อนยุทธศาสตร์จังหวัดยะลา โครงการย่อยระดับพื้นที่ 0 0.00 0.00
22 ม.ค. 64 ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการสวม หมวกกันน็อค สภาพแวดล้อมได้รับการเปลี่ยนแปลง 0 0.00 0.00
29 ม.ค. 64 เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ติดตาม ประเมินและพัฒนา ARE ครั้งที่2 (หมายเหตุ ใช้งบประมาณโรงเรียน) 0 0.00 0.00
16 ก.พ. 64 การประชุมเชิงปฏิบัติการ การประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา ARE Node ครั้งที่2 0 0.00 0.00
24 มี.ค. 64 เวทีสังเคราะห์และสกัดบทเรียน 0 0.00 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 เพื่อให้เกิดแกนนำและการมีส่วนร่วมของนักเรียน บุคลากร และประชาชนรอบรั้วโรงเรียนพัฒนาวิทยา ในการจัดการจุดเสี่ยงเพื่อป้องกันอุบัติเหตุทางถนนในชุมชน ผลลัพธ์ที่ 1 เกิดแกนนำในโรงเรียนที่สามารถขับเคลื่อนงานได้ ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 1.1 มีโครงสร้างการดำเนินงานเกิดขึ้นในโรงเรียน ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 1.2 มีข้อมูล แผนการดำเนินงาน ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 1.3 แกนนำมีทักษะการดำเนินงาน ผลลัพธ์ที่ 2 คนในโรงเรียนเกิดความตระหนักเรื่องอุบัติเหตุ ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 2.1 เกิดกติกาและข้อตกลงภายในโรงเรียน ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 2.2 เกิดการปฏิบัติตามกฎวินัยจราจร ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 2.3 พฤติกรรมเสี่ยงลดลง ร้อยละ 50

ชื่อกิจกรรมที่ 1 การพัฒนาศักยภาพทีมจัดทำโครงการย่อย(1 กรกฎาคม 63 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2564) 'งบ 10,000 บาท รายละเอียดกิจกรรม 1. ค่าเดินทางร่วมพัฒนาศักยภาพกับ Node หรือ สสส. 7,000 บาท 2.ค่าจัดทำรายงาน 2,000 บาท 3.ค่าป้ายโครงการ  1,000 บาท รวมงบกิจกรรมที่ 1 10,000 บาท

ชื่อกิจกรรมที่ 2 การจัดตั้งคณะทำงานโครงการและวางแผนการดำเนินงาน(1 กรกฎาคม 63 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2564) งบ 26,000 บาท รายละเอียดกิจกรรม 1. ประชุม 4 ครั้ง(แกนนำโครงการและแกนนำนักเรียน) 3,600 บาท ค่าอาหารว่าง 30 คน x 30 บาท x 1วัน x 4 ครั้ง = 3,600 บาท รวมเป็นเงิน 3,600 บาท
2. เชิญชวน ให้ความรู้และเก็บข้อมูล(แกนนำโครงการและแกนนำนักเรียน) ค่าอาหารว่าง 30 คน x 30 บาท x 1วัน = 900 บาท 900 บาท 3. วิเคราะห์ข้อมูล ค่าอาหารว่าง 30 คน x 30 บาท x 1วัน = 900 บาท 900 บาท 4. ค่าตอบแทนทีมงานเก็บข้อมูล 200บาท x 25คน 5,000 บาท 6. ค่าแบบสอบถาม 1,000 ชุดx 2 บาท    2,000 บาท 7. สมุดบันทึกงานและข้อมูลต่างๆ 50คน x 25บาท 1,250 บาท 8. ศึกษาดูงาน 11,750 บาท ค่าเช่ารถตู้ 2 คันๆ ละ 1,800 บาท = 3,600 บาท ค่าน้ำมันรถคันละ 2,000 บาท = 4,000 บาท ค่าอาหารว่าง 25 คน x 30 บาท x 2 มื้อ x 1 วัน = 1,500 บาท ค่าอาหารกลางวัน 25 คน x 70 บาท x 1 มื้อ x 1 วัน = 1,750 บาท
ค่าสถานที่  1,500 บาท ค่าของที่ระลึก 1,200 บาท ค่าวิทยากร ชม.ละ 600 x 4ชม. = 2,400 บาท รวมเป็นเงิน 11,750 บาท รวมงบกิจกรรมที่ 2 26,000 บาท

ชื่อกิจกรรมที่ 3 ความตระหนักเรื่องอุบัติเหตุ(สิงหาคม 63–พฤศจิกายน63) งบ 25,000 บาท
รายละเอียดกิจกรรม 1 .สร้างความเข้าใจแก่นักเรียน และบุคลากร        15,000 บาท - นักเรียน 100 คน ค่าอาหารว่าง 100 คน x 30 บาท = 3,000 บาท
- บุคลากร 50 คน ค่าอาหารว่าง 50 คน x 30 บาท = 2,000 บาท - ค่าอาหารกลางวัน 150 คน x 70 บาท x 1 มื้อ x 1 วัน = 10,500 บาท รวมเป็นเงิน 15,500 บาท
2 .สร้างความเข้าใจแก่คนในชุมชนรอบรั้วโรงเรียน        6,500 บาท - ประชาชน 50 คน ค่าอาหารว่าง 50 คน x 30 บาท x 2 มื้อ x 1 วัน = 3,000 บาท
- ค่าอาหารกลางวัน 50 คน x 70 บาท x 1 มื้อ x 1 วัน = 3,500 บาท รวมเป็นเงิน 6,500 บาท
3. ป้ายไวนิลรณรงค์ขับขี่ปลอดภัย 7 ป้าย x 500บาท = 3,500 บาท  3,500บาท รวมงบกิจกรรมที่ 3  25,000 บาท

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 เพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุทางถนนให้น้อยลง ผลลัพธ์ที่ 3 เกิดกลไกลเฝ้าระวังเรื่องอุบัติเหตุ ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 3.1 นักเรียน บุคลากร และคนในชุมชนรู้ข้อมูลอุบัติเหตุ ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 3.2 มีข้อมูลการเปลี่ยนแปลงของนักเรียน บุคลากรและคนในชุมชน ร้อยละ 80 ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 3.3 แกนนำมีการทบทวนแผนการทำงานอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 80 ผลลัพธ์ที่ 4 คนในโรงเรียนและชุมชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสวมหมวกกันน็อค สภาพแวดล้อมได้รับการเปลี่ยนแปลง ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 4.1 นักเรียน บุคลากรและคนในชุมชนสวมหมวกกันน็อคเพิ่มขึ้น ร้อยละ 50 จากประชากรผู้ขับขี่ ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 4.2 จุดเสี่ยงได้รับการแก้ไข ร้อยละ 50 ของจุดเสี่ยง ผลลัพธ์ที่ 5 การเกิดอุบัติเหตุของนักเรียน บุคลากรในโรงเรียนและผู้ปกครองในชุมชนลดลง ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 5.1 จำนวนการเกิดอุบัติเหตุลดลง ร้อยละ 50 ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 5.2 อัตราการเสียชีวิตและการบาดเจ็บลดลง ร้อยละ 50 ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 5.3 อัตราการเกิดความรุนแรงทางอุบัติเหตุลดลง ร้อยละ 50

ชื่อกิจกรรมที่ 4 กลไกเฝ้าระวังเรื่องอุบัติเหตุ(1 กรกฎาคม 63 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2564) งบ 1,000 บาท รายละเอียดกิจกรรม 1. ประชุมคืนข้อมูลอุบัติเหตุให้นักเรียน บุคลากรและคนในชุมชน  1000 บาท และทบทวนแผนงานติดตามเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง ค่าอาหารว่าง 20 คน x 25 บาท x 2 มื้อ x 1 วัน = 1000 บาท
รวมงบกิจกรรมที่ 4 1,000 บาท

ชื่อกิจกรรมที่ 5 ปรับเปลี่ยน เปลี่ยนแปลง เพื่อลดอุบัติเหตุ(1 สิงหาคม 63 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 63) งบ 25,000 บาท รายละเอียดกิจกรรม วางแผนเรียนรู้และทดสอบการเก็บข้อมูลที่ถูกต้อง 7,600 บาท 1 .ค่าอาหารว่าง 20 คน x 30 x 4 มื้อ x 2 วัน = 4,800 บาท
ค่าอาหารกลางวัน 20 คน x 70 บาท x 2 มื้อ x 2 วัน = 2,800 บาท รวมเป็นเงิน 7,600 บาท 2. อุปกรณ์ซ่อมแซมพื้นที่เสี่ยงหรือชำรุด 4,000 บาท 3. ป้ายไวนิลเตือนจุดเสี่ยงในบริเวรโงเรียนและพื้นที่ใกล้เคียง 8 ป้าย x 500 บาท = 4,000 บาท
4. ค่าเอกสารประชาสัมพันธ์ 2 บาท x 500 แผ่น 1,000 5 .ค่าตอบแทนทีมประชาสัมพันธ์ 200 บาท x10 คน x 2 วัน 4,000 บาท รวมงบกิจกรรมที่ 5 25,000 บาท

ชื่อกิจกรรมที่ 6 อุบัติเหตุลดลง ความปลอดภัยเพิ่มขึ้น (มกราคม 64 ถึง กุมภาพันธ์ 64 ) งบ 15,000 บาท รายละเอียดกิจกรรม 1. ค่าอาหารว่าง                5,000 บาท - นักเรียน 100 คน ค่าอาหารว่าง 100 คน x 30 บาท = 3,000 บาท
- บุคลากร 50 คน ค่าอาหารว่าง 50 คน x 30 บาท = 2,000 บาท รวมเป็นเงิน 5,000 บาท
2. ประกาศนียบัตรสำหรับผู้ขับขี่ดีเด่น 15 รางวัล x 150 บาท    2,250 บาท (นักเรียน บุคลากรและคนในชุมชนใกล้เคียง) รวมเป็นเงิน 2,250 บาท
3. ของที่ระลึกมอบแก่ภาคีเครือข่ายและชุมชน        2,500 บาท 4. ค่าวิทยากรแลกเปลี่ยนความรู้ 500 บาท x 2 ชั่วโมง = 1,000 บาท 1,000 บาท 5. ค่าตอบแทนทีมงาน 200 บาท x 20 คน        4,000 บาท 6. ค่าส่งข้อมูลให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง          2,250 บาท รวมงบกิจกรรมที่ 6 15,000 บาท งบประมาณรวมทั้งโครงการ 102,000 บาท

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลลัพธ์ที่1 เกิดแกนนำในโรงเรียนที่สามารถขับเคลื่อนงานได้ ผลลัพธ์ที่2 คนในโรงเรียนเกิดความตระหนักเรื่องอุบัติเหตุ ผลลัพธ์ที่3 เกิดกลไกเฝ้าระวังเรื่องอุบัติเหตุ ผลลัพธ์ที่4 คนในโรงเรียนและชุมชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสวมหมวกกันน็อค สภาพแวดล้อมได้รับการเปลี่ยนแปลง ผลลัพธ์ที่5 การเกิดอุบัติเหตุของนักเรียน บุคลากรในโรงเรียนและผู้ปกครองในชุมชนลดลง

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 ก.ค. 2563 10:45 น.