Node Flagship

task_alt

โครงการ ส่งเสริมปลูกผักปลอดภัยสู่สุขภาพคนเมือง เขตเทศบาลนครยะลา

แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 1

ชื่อโครงการ โครงการ ส่งเสริมปลูกผักปลอดภัยสู่สุขภาพคนเมือง เขตเทศบาลนครยะลา

ชุมชน เขตเทศบาลนครยะลา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา

รหัสโครงการ 63-00175-0001 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2020 ถึง 31 มีนาคม 2021

รายงานงวดที่ : 1 จากเดือน มิถุนายน 2020 ถึงเดือน สิงหาคม 2020

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. เวทีประฐมนิเทศและทำสัญญาโครงการย่อย

วันที่ 3 มิถุนายน 2020 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผู้แทนโครงการย่อยจำนวน 6 คน เข้าร่วมประชุม เรื่อง จัดประชุมชี้แจง และทำสัญญากับโครงการย่อยของหน่วยจัดการ สสส. จังหวัดยะลา ณ ห้องประชุม ตึกศรีฟ้า สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา ผลที่เกิดขึ้น 1) ผู้แทนโครงการย่อยฯ ได้เข้าใจ ในกระบวนการที่จะขับเคลื่อนงาน กิจกรรมโครงการ โดยใช้กรอบของบันไดผลลัพธ์เป็นตัวนำ 2) โครงการย่อยฯ ได้ทำสัญญาโครงการฯ เพื่อรับสนับสนุนงบประมาณดำเนินกิจกรรม/โครงการ จำนวนเงิน 100,000 บาท

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

โครงการย่อยฯ เข้าร่วมประชุม เรื่อง จัดประชุมชี้แจง และทำสัญญากับโครงการย่อยของหน่วยจัดการ สสส. จังหวัดยะลา ณ ห้องประชุม ตึกศรีฟ้า สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา

 

3 0

2. ป้ายไวนิลโครงการฯและโฟมบอร์ด สสส.

วันที่ 19 มิถุนายน 2020 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

โครงการย่อย ได้จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ โครงการส่งเสริมปลูกผักปลอดสู่สุขภาพคนเมือง เขตเทศบาลนครยะลา จำนวน 3 แผ่น ดังนี้ 1.ป้ายไวนิลชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมปลูกผักปลอดสู่สุขภาพคนเมือง เขตเทศบาลนครยะลา จำนวน 1 แผ่น 2.ไวนิลบันไดผลลัพธ์โครงการส่งเสริมปลูกผักปลอดสู่สุขภาพคนเมือง เขตเทศบาลนครยะลา จำนวน 1 แผ่น 3.โฟมบอร์ดประชาสัมพันธ์ สสส. จำนวน 1 แผ่น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

โครงการย่อย ได้กำหนดกิจกรรมจัดทำป้าย เพื่อใช้ในช่วงดำเนินโครงการ เป็นสื่อประชาสัมพันธ์การขับเคลื่อนความปลอดภัยในการบรืโภคอาหาร เพื่อดูแลสุขภาพที่ดีและปลอดสารพิษ โดยจะจัดทำป้าย 3 แผ่น ได้แก่ 1.ป้ายไวนิลโครงการขับเคลื่อนหน่วยจัดการระดับจังหวัดในการสร้างเสริมสุขภาพ โดย มีชื่อโครงการย่อย คือ โครงการส่งเสริมปลูกผักปลอดสู่สุขภาพคนเมือง เขตเทศบาลนครยะลา
2.ไวนิลบันไดผลลัพธ์โครงการฯ 3.โฟมบอร์ดประชาสัมพันธ์ สสส.

 

0 0

3. เวทีพัฒนาศักยภาพการรายงานผลลัพธ์ของโครงการย่อย

วันที่ 6 กรกฎาคม 2020 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วันที่ 6 กรกฎาคม 2563 เวลา 08.30 - 16.30 น ณ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี ตำบลเขาตูม อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี ผู้แทนโครงการย่อยฯ จำนวน 2 คน เข้าร่วมกิจกรรมฝึกอบรมการใช้โปรแกรมรายงานผลกิจกรรมโครงการ การพัฒนาศักยภาพการรายงานผลลัพธ์ของโครงการ ภายใต้กิจกรรมพัฒนาศักยภาพ ของหน่วยจัดการ สสส. ระดับจังหวัดยะลา  ได้ผลการอบรม ดังนี้ 1) ผู้แทนโครงการ ได้เรียนรู้ และสามารถใช้ระบบในการดำเนินการรายงานผลกิจกรรม โครงหาร 2) โครงการย่อย ได้เปิดบัญชี อีเมล์โครงการ จำนวน 1 บัญชี เพื่อใช้รายงานผล และใช้ประมวลเป็นเล่มรายงานโครงการส่งเสริมปลูกผักปลอดภัย สู่สุขภาพคนเมืองเขตเทศบาลนครยะลา ต่อไป

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

โครงการย่อยเข้าร่วมกิจกรรมฝึกอบรมการใช้โปรแกรมรายงานผลกิจกรรมโครงการ เวทีพัฒนาศักยภาพการรายงานผลลัพธ์ของโครงการย่อย ภายใต้กิจกรรมพัฒนาศักยภาพ โครงการย่อย ของหน่วยจัดการ สสส. ระดับจังหวัดยะลา ณ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี ตำบลเขาตูม อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี  และเพิ่มกิจกรรม เพิ่มรายงาน

 

2 0

4. 1.1 เวทีประชุมสร้างความเข้าใจโครงการ สร้างความตระหนักประเด็นผักปลอดภัย แต่งตั้งคณะทำงาน และจัดตั้งชมรมผักปลอดภัย

วันที่ 2 สิงหาคม 2020 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วันที่ 2 กรกฎาคม 2563 เวลา 09.00 - 16.30 น ณ ห้องประชุมศรีญาลอ องค์กรบริหารส่วนจังหวัดยะลา คณะทำงานโครงการย่อยฯ ร่วมบูรณาการหน่วยงาน โดยมีหน่วยงานเข้าร่วม คือ สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดยะลาศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรยะลา องค์การบริการส่วนจังหวัดยะลา สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองยะลา เทศบาลนครยะลา และผู้นำชุมชนเขตเทศบาลนครยะลา ชุมชนตลาดเกษตร ชุทชนห้าแยกกำปงบาโงยและชุมชนมะลิสัมพันธ์  ได้เปิดโครงการ สร้างความเข้าใจในกิจกรรม กำหนดแผนการดำเนินกิจกรรม พร้อมทั้งแต่งตั้งคณะทำงาน ผลจากเวที ดังนี้
1.สมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการเข้าใจในกิจกรรม/โครงการ 2.ได้คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ จำนวน 10 คน 3.ได้งานแผนการดำเนินกิจกรรม/โครงการฯ ที่กำหนดพร้อมหน่วยงานจำนวน 1 แผน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

โครงการย่อย ได้กำหนดจัดเวทีประชุมสร้างความเข้าใจโครงการ  สร้างความตระหนักประเด็นผักปลอดภัย แต่งตั้งคณะทำงาน และจัดตั้งชมรมผักปลอดภัย วันที่ 2 กรกฎาคม 2563 เวลา 09.00 - 16.30 น ณ ห้องประชุมศรีญาลอ องค์กรบริหารส่วนจังหวัดยะลา

 

50 0

5. เวทีทบทวนบันไดผลลัพธ์และออกแบบเก็บข้อมูลของโครงการย่อยฯ

วันที่ 15 สิงหาคม 2020 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วันที่ 15 สิงหาคม2563 ณ โรงแรมปาร์วิว ยะลา อำเภอเมือง ยะลา จังหวัดยะลา  ผู้แทนโครงการย่อยฯ จำนวน 2 คนเข้าร่วมกิจกรรมเวทีทบทวนบันไดผลลัพธ์และออกแบบเก็บข้อมูลของโครงการย่อยฯ ภายใต้เวทีพัฒนาศักยภาพโครงการย่อย ของหน่วยจัดการ สสส. ระดับจังหวัดยะลา
ผลจากดวที ดังนี้ 1) โครงการได้ทบทวนบันไดผลลัพธ์และออกแบบบันไดผลลัพธ์ใหม่
จากเดิ่ม ขั้นที่ 1ครัวเรือนมีการร่วมกลุ่มและสร้างเครือข่ายชุมชน เป็นคณะทำงาน ขั้นที่ 2 ครัวเรือนมีความรู้ สามารถผลิตผักปลอดภัย ขั้นที่ 3 ครัวเรือนผลิตผักปลอดภัยและได้รับการรับรองผลผลิต ขั้นที่ 4 มีตลาดผักปลอดภัย ปรับใหม่ เป็น ขั้นที่ 1ครัวเรือนมีการร่วมกลุ่มและสร้างเครือข่ายชุมชน เป็นคณะทำงาน ขั้นที่ 2 ครัวเรือนมีความรู้ สามารถผลิตผักปลอดภัย
ขั้นที่ 3 เกิดกลไก เครือข่าย
ผักปลอดภัย ขั้นที่ 4 มีผักปลอดภัยเพิ่มขึ้น 2.ได้ร่วมออกแบบตารางเก็บข้อมูลของโครงการย่อยฯ ปลูกผักปลอดภัย เพิ่มเติม เรื่องครัวเรือนที่ปลูกผักปลอดภัย ก่อนเข้าร่วมโครงการ และหลังเข้าร่วมโครงการ เป็นต้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

หน่วยจัดการ สสส. ระดับจังหวัดยะลา กำหนดเวทีทบทวนบันไดผลลัพธ์และออกแบบเก็บข้อมูลของโครงการย่อยฯ ในวันที่ 15 สิงหาคม2563 ณ โรงแรมปาร์วิว ยะลา อำเภอเมือง ยะลา จังหวัดยะลา

 

2 0

6. 2.3 ประชุมกำหนด กฎ กติกา ชมรมฯ

วันที่ 17 สิงหาคม 2020 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วันที่ 17 สิงหาคม 2563 ณ สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดยะลา คณะทำงานโครงการย่อยฯ จำนวน 10 ได้ประชุมกำหนดกฎ กติกา การปลูกผักปลอดภัย
ได้กฎ กติกา ปลูกผักปลอดภัย “ชุมชนเขตเทศบาลนครยะลา” ให้สมาชิก ถือปฏิบัติร่วมกัน ดังนี้ 1. สมาชิกทุกครัวเรือนปลูกผักจริง 2. ปลูกผักให้ปลอดสารพิษ (ไม่ใช้สารเคมี) 3. ใช้ปุ๋ยชีวภาพ/ปุ๋ยอินทรีย์ 4. ต้องได้ผลผลิต เพื่อบริโภค/แบ่งปัน/ขาย 5. ต้องปรุงและเพิ่มธาตุอาหารแก่ดินสำหรับปลูกผักเอง 6. ต้องมีเวลา ร่วมกิจกรรม พัฒนาความรู้ ประชุมกลุ่มอย่างต่อเนื่อง 7. บันทึกข้อมูลการปลูกผักปลอดภัยทุกรอบการผลิต

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

คณะทำงานได้กำหนด จัดประชุมกำหนดกฎ กติกา การปลูกผักปลอดภัย ในวันที่ 17 สิงหาคม 2563 ณ สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดยะลา เพื่อกำหนด กติกา การดำเนินงาน กิจกรรม โครงการปลูกผักปลอดภัยให้สมาชิก ถือปฏิบัติร่วมกัน

 

10 0

7. ประชุมพิจารณายกร่างตารางข้อมูลผลลัพธ์เชิงประเด็นยุทศาสตร์ (พัฒนาศักยภาพพื้นที่โครงการย่อย)

วันที่ 20 สิงหาคม 2020 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วันที่ 20 สิงหาคม 2563 ณ ห้องประชุม ศาลากลางจังหวัดยะลา  ผู้แทนโครงการย่ยอฯ จำนวน 1 คนเข้าประชุม เรื่อง พิจารณายกร่างตารางข้อมูลผลลัพธ์เชิงประเด็นยุทศาสตร์ (พัฒนาศักยภาพพื้นที่โครงการย่อย) ของหน่วยจัดการ สสส. ระดับจังหวัดยะลา
ผลจากการประชุม ดังนี้ 1) ผู้แทนโครงการย่อยฯ ได้แนะนำตัวและรายงานพื้นที่เป้าหมายที่จะดำเนินการ ได้แก่ ชุมชนตลาดเกษตร ชุมชนห้าแยกกำปงบาโงย และชุมชนมะลิสัมพันธ์ รวม จำนวน 45 ครัวเรือน
2) ร่วมพิจารณายกร่างตารางข้อมูลผลลัพธ์เชิงประเด็นยุทศาสตร์ ทราบข้อมูลตาราง รายละเอียด เป้าหมาย ของกิจกรรย่อย และรายงานผล

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

หน่วยจัดการ สสส. ระดับจังหวัดยะลา กำหนดจัดประชุมเรื่อง พิจารณายกร่างตารางข้อมูลผลลัพธ์เชิงประเด็นยุทศาสตร์ (พัฒนาศักยภาพพื้นที่โครงการย่อย) ในวันที่ 20 สิงหาคม 2563 ณ ห้องประชุม ศาลากลางจังหวัดยะลา  ประชุมพิจารณายกร่างตารางข้อมูลผลลัพธ์เชิงประเด็นยุทศาสตร์

 

1 0

8. ประชุมคณะกรรมการครั้งที่1

วันที่ 22 สิงหาคม 2020 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วันที่ 22 สิงหาคม 2563 เวลา 08.30 - 16.30 น ณ สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัด คณะทำงานโครงการส่งเสริมปลูกผักปลอดภัย สู่สุขภาพคนเมือง เขตเทศบาลนครยะลา ได้ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 1 เรื่อง กำหนดผนการดำเนินกิจกรมมส่งเสริมปลูกผักปลอดภัยสู่สุขภาพคนเมือง เขตเทศบาลนครยะลา ผลการประชุม ดังนี้ 1) คณะทำงานได้กำหนดแผนการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมปลูปผักปลอดภัยสู่สุขภาพคนเมือง ในแต่กิจกรรม (ลงวัน เดือน และสถานที่จัดกิจกรรม) 2) กำหนดรูปแบบการจัดประชุม การฝึกอบรม โดยแบ่งการรับผิดชอบกิจกรรมและเวียนสถานที่จัดประชุมและอบรม ใน 3 ชุมชนที่เข้าร่วมโครงการ ได้แก่ -การอบรมฝึกปฏิบัติ การปลูกผักปลอดภัย จัดอบรมที่ ชุมชนตลาดเกษตร ณ ชุมนุมสหกรณ์ยะลา -การอบรมฝีกปฏิบัติ การปรุงดิน และทำปุ๋ยชีวภาพ จัดอบรมที่ ลานกิจกรรมมะลิสัมพันธ์ ณ ชุมชนมะลิสัมพันธ์ -การอบรมการรับรองมาตรฐาน GAP PGS และจัดทำแผนร่วมกับหน่วยงาน จัดอบรมที่ ห้องประชุมเทศบาลนครยะลา
-การประชุมคณะทำงาน เวียนสถานที่ประชุม ได้แก่ ชุมชนตลาดเกษตร ชุมชนห้าแยกกำปงบาโงย และชุมชนมะลิสัมพันธ์

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

คณะทำงานโครงการส่งเสริมปลูกผักปลอดภัย สู่สุขภาพคนเมือง เขตเทศบาลนครยะลา ได้กำหนดกิจกรรม ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 1 เรื่อง กำหนดผนการดำเนินกิจกรมมส่งเสริมปลูกผักปลอดภัยสู่สุขภาพคนเมือง ในวันที่ 22 สิงหาคม 2563 เวลา 08.30 - 16.30 น ณ สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดยะลา

 

10 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 31 9                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 100,050.00 13,550.00                  
คุณภาพกิจกรรม 36                    

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

 

 

 

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

  1. 2.2 อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้การผลิตผักปลอดภัย วันที่ 1 (หลักสูตร ที่ 1 และหลักสูตร ที่ 2) ( 12 ก.ย. 2020 )
  2. 2.2 อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้การผลิตผักปลอดภัย วันที่ 2 (หลักสูตร ที่ 3) ( 13 ก.ย. 2020 )
  3. 2.5 ประชุมติดตามการปฏิบัติ ตามกฏกติกา ชมรม ( 1 ต.ค. 2020 )
  4. 2.2 อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้การผลิตผักปลอดภัย วันที่ 3 (หลักสูตร ที่ 4 และหลักสูตร ที่ 5) ( 21 ต.ค. 2020 )
  5. เวทีประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา ARE ครั้งที่ 1 ( 24 ต.ค. 2020 - 25 ต.ค. 2020 )

(................................)
นางรอปีอะห์ กูทา
ผู้รับผิดชอบโครงการ