Node Flagship

directions_run

โครงการ ส่งเสริมปลูกผักปลอดภัยสู่สุขภาพคนเมือง เขตเทศบาลนครยะลา

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ ส่งเสริมปลูกผักปลอดภัยสู่สุขภาพคนเมือง เขตเทศบาลนครยะลา
ภายใต้โครงการ Node Flagship จังหวัดยะลา ปี 2563
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดยะลา
รหัสโครงการ 63-00175-0001
วันที่อนุมัติ 1 มิถุนายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2563 - 31 มีนาคม 2564
งบประมาณ 100,050.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางรอปีอะห์ กูทา
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวอาดีละห์ กาโฮง
พื้นที่ดำเนินการ เขตเทศบาลนครยะลา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มิ.ย. 2563 31 ส.ค. 2563 1 มิ.ย. 2563 31 ส.ค. 2563 40,000.00
2 1 ก.ย. 2563 15 ธ.ค. 2563 50,000.00
3 1 ม.ค. 2564 30 เม.ย. 2564 10,000.00
รวมงบประมาณ 100,000.00

คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (100,000.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (100,050.00 บาท)

stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 เทศบาลนครยะลา มีเนื้อที่ทั้งหมด 19.7 ตารางกิโลเมตร หรือ 12,125 ไร่ มีทั้งหมด 40 ชุมชน จำนวน 25,476 ครัวเรือน จำนวนประชากรทั้งหมด 60,746 คน แบ่งเป็นประชากรช่วงอายุไม่เกิน 18 ปี จำนวน 35,380 คน และอายุเกิน 25 ปีขึ้นไป จำนวน 38,528 คน (สำนักทะเบียนท้องถิ่นเท
1.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เทศบาลนครยะลา มีเนื้อที่ทั้งหมด 19.7 ตารางกิโลเมตร หรือ 12,125 ไร่ มีทั้งหมด 40 ชุมชน จำนวน 25,476 ครัวเรือน จำนวนประชากรทั้งหมด 60,746 คน แบ่งเป็นประชากรช่วงอายุไม่เกิน 18 ปี จำนวน 35,380 คน และอายุเกิน 25 ปีขึ้นไป จำนวน 38,528 คน (สำนักทะเบียนท้องถิ่นเทศบาลนครยะลา, 2562)ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ ค้าขาย รับจ้าง รับราชการ รองลงมา ทำธุรกิจบ้านเช่า หอพัก และทำเกษตรกรรม ด้วยสภาพความเป็นเมือง มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบ ประชาชน/ครัวเรือนสามารถเข้าถึงปัจจัย 4 เพื่อการดำรงชีพได้ง่าย โดยเฉพาะด้านอาหารและผัก มีตลาดและร้านค้าที่ประชาชน/ครัวเรือนสามารถไปจับจ่ายซื้อได้ตลอดเวลา ทำให้การบริโภคพืชผักของประชาชน/ครัวเรือนเขตทศบาลมีความเสี่ยงสูงที่จะรับพืชผักที่ไม่ปลอดภัย
การบริโภคพืชผักของประชาชน/ครัวเรือนเขตเทศบาลนครยะลา ส่วนใหญ่นำเข้ามาจากข้างนอก ส่งมายังตลาดใหญ่ 2 แห่ง คือ ตลาดเช้าถนนรถไฟ และตลาดเมืองใหม่ แล้วกระจายไปตามร้านค้าทั่วทั้งเมือง ผักที่นำเข้านั้นไม่มีใครรับรองได้ว่าปลอดภัย ไม่มีสารเคมีตกค้าง เท่ากับว่าประชาชน/ครัวเรือนเขตเทศบาลนครยะลามีความเสี่ยงสูงที่จะได้รับสารเคมีจากการบริโภคผัก และสะสมตกค้างในร่างกาย ในส่วนการผลิตผักของครัวเรือนในเขตเทศบาล ถือว่าแถบหาได้ยาก หรืออาจจะมีปลูกบ้างเพียงเล็กน้อย เนื่องด้วยครัวเรือนเขตเทศบาลมีสภาพแวดล้อมด้านพื้นที่มีบริเวณที่จำกัด ดินไม่ดี ดินไม่มีธาตุอาหาร ปลูกแล้วขึ้นยาก และประชาชนเองไม่มีองค์ความรู้การปลูก บางครัวเรือนปลูกผักบ้างแต่ขาดการดูแล การจัดการ และยังเป็นระบบใช้ปุ๋ยสูตรสำเร็จ ซึ่งทำให้การบริโภคผักที่ปลูกเองก็มีความเสี่ยงต่อการได้รับอันตรายจากสารเคมีตกค้างในผลผลิตสูง เมื่อสำรวจตลาดหลัก และตลาดชุมชนในเขตเทศบาลนครยะลา พบว่า สถานประกอบการ ร้านอาหาร ใช้ผักจำนวนมากในการประกอบอาหาร และส่วนใหญ่ใช้ผักจากตลาดสด และตลาดใหม่ หากครัวเรือนสามารถผลิตผักได้ ถือเป็นโอกาสทางการตลาดที่อยู่ในพื้นที่ สามารถเป็นช่องทางการสร้างรายได้ และครัวเรือนเองมีผักที่ปลอดภัยสำหรับบริโภค ชุมชนตลาดเกษตร ได้เล็งเห็นถึงปัญหาและความสำคัญในเรื่องนี้ จึงได้หาแนวทางที่จะให้ครัวเรือคนเมืองจะได้รับบริโภคพืชผักที่ปลอดภัย ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ลดปริมาณการซื้อและมีแปลงผักแบบคนเมืองเพื่อบริโภค และอาจสามารถจำหน่ายได้ ตามโมเดล “คลองทรายโมเดล” (ตลาดชุมชน: ปลูกหลังบ้าน ขายเองหน้าบ้าน) ซึ่งจะนำร่องเป็นแบบอย่างการผลิตผักแบบคนเมือง ในเขตเทศบาลนครยะลา
ชุมชนตลาดเกษตร เดิมอยู่ในในพื้นที่ของชุมชนห้าแยกกำปงบาโงย ได้แยกมาจัดตั้งเป็นชุมชนตลาดเกษตร อยู่ถนนสาย 15 มีประชากร จำนวน 1,200 คน จำนวน 261 ครัวเรือน ประกอบอาชีพ ทำสวน และรับจ้างบรรจุผลไม้ ในชุมชนมีพื้นที่การเกษตร 90 ไร่ และพื้นที่ทำสวน 20 ไร่ สมาชิกบางส่วนมีการปลูกผักสำหรับบริโภคและจำหน่าย แต่ยังขาดความรู้ทักษะการปลูกผัก การเตรียมดิน บำรุงดิน การทำปุ๋ยชีวภาพ รูปแบบการปลูกผักและชนิดของผักเขตเมือง ไม่มีการรวมกลุ่ม การเชื่อมโยงตลาด และแนวทางการประเมินมาตรฐานผักปลอดภัย ซึ่งชุมชนฯ ได้ตระหนักและเห็นความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการปลูกผักปลอดภัย เพื่อลดการซื้อผักจากข้างนอก และชุมชนมีผักปลอดภัยสำหรับบริโภค และสร้างโอกาสด้านการตลาดผักปลอดภัยในพื้นที่

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

การพัฒนากลุ่มเกษตรกร หรือชุมชน ผลิตผักปลอดภัย เพื่อบริโภค ในครัวเรือน ชุมชน ลดการซื้อจากข้างนอก และเเพิ่มจำนวน ชนิดผักปลอดภัย พื้นที่ปลูกผัก

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เกิดกลุ่มเครือข่ายปลูกผักปลอดภัย

ผลลัพธ์ที่ 1ครัวเรือนมีการร่วมกลุ่มและสร้างเครือข่ายชุมชน เป็นคณะทำงาน ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 1.1.มีคณะทำงานขับเคลื่อน ผักปลอดภัย และเกิดชมรมผักปลอดภัย
ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 1.2. มีข้อมูล ด้านการผลิต การบริโภค และการตลาด ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 1.3.มีการประชุมคณะทำงานร้อย 100

45.00
2 เพื่อปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษไว้บริโภคและใช้สอย สำหรับกลุ่มครัวเรือนในชุมชนเมืองอย่างต่อเนื่อง

ผลลัพธ์ที่ 2 ครัวเรือนมีความรู้ สามารถผลิตผักปลอดภัย
ตัวชี้วัดผลลัพ 2.1.ครัวเรือน ได้เรียนรู้ปลูกผักคนเมืองร้อยละ 100
ตัวชี้วัดผลลัพ 2.2 ครัวเรือน มีความรู้ สามารถผลิตผักปลอดภัยร้อยละ 80 % ตัวชี้วัดผลลัพ 2.3. การผลิต และบริโภคผักปลอกภัย ของชุมชน ตัวชี้วัดผลลัพ 2.4. มีการเรียนรู้ด้านการตลาด ร้อยละ 100 และ สามารถเชื่อมกับตลาดในพื้นที่ อย่างน้อย 1 แห่ง ตัวชี้วัดผลลัพ 2.5. ครัวเรือนปฏิบัติตามกฎ กติกา ร้อยละ100 ผลลัพธ์ที่ 3 ครัวเรือนผลิตผักปลอดภัยและได้รับการรับรองผลผลิต
ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 3.1.มีผักได้รับการรับรองผักปลอดภัย แบบPGs อย่างน้อย 5 ชนิด ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 3.2.มีกลไกเครือข่ายผักปลอดภัย ตัวชี้วัดผลลัพ ธ์3.3.เกิดคนต้นแบบปลูกผักปลอดภัยแบบเมือง ผลลัพธ์ที่ 4 มีผักปลอดภัยเพิ่มขึ้น ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 4.1.ชนิดผักปลอดภัยของแต่ละครัวเรือนปลูกเพิ่มขึ้น อย่างน้อย 5 ชนิด ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 4.2.ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการบริโภคผักที่ปลูกและปลอดภัยอย่างน้อยร้อนละ 80

45.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 45
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
ครัวเรือนเขตเทศบาลนครยะลา จำนวน 45 ครัวเรือน 45 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
1 กิจกรรมที่ 4 เวทีถอดบทเรียนและสรุปข้อมูล กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 10 1,000.00 1 1,000.00
30 ส.ค. 64 4.1 เวทีสรุปการขับเคลื่อน 10 1,000.00 1,000.00
2 กิจกรรมที่ 1 ประชุมสร้างความเข้าใจโครงการ แต่งตั้งคณะทำงานและจัดทำฐานข้อมูล กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 100 18,200.00 6 18,300.00
30 ส.ค. 64 1.1 เวทีประชุมสร้างความเข้าใจโครงการ สร้างความตระหนักประเด็นผักปลอดภัย แต่งตั้งคณะทำงาน และจัดตั้งชมรมผักปลอดภัย 50 6,750.00 6,750.00
30 ส.ค. 64 1.2 ประชุมอบรมพัฒนาศักยภาพ คณะทำงาน และจัดทำข้อมูล จำนวน 10 คน โดยการสำรวจครัวเรือน จำนวน 45 ครัวเรือน 10 2,050.00 2,050.00
30 ส.ค. 64 ประชุมคณะกรรมการครั้งที่1 10 2,350.00 2,350.00
30 ส.ค. 64 ประชุมคณะกรรมการครั้งที่2 10 2,350.00 1,850.00
30 ส.ค. 64 ประชุมคณะกรรมการครั้งที่3 10 2,350.00 2,950.00
30 ส.ค. 64 ประชุมคณะกรรมการครั้งที่ 4 10 2,350.00 2,350.00
3 กิจกรรมที่ 2 ฝึกอบรมให้ความรู้การผลิตพืชผักปลอดภัยการจัดการและการกำหนดกฎ กติกา กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 260 68,600.00 7 66,180.00
12 ก.ย. 63 2.2 อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้การผลิตผักปลอดภัย วันที่ 1 (หลักสูตร ที่ 1 และหลักสูตร ที่ 2) 50 12,200.00 11,860.00
13 ก.ย. 63 2.2 อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้การผลิตผักปลอดภัย วันที่ 2 (หลักสูตร ที่ 3) 50 10,900.00 12,520.00
1 ต.ค. 63 2.5 ประชุมติดตามการปฏิบัติ ตามกฏกติกา ชมรม 10 1,000.00 1,000.00
21 ต.ค. 63 2.2 อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้การผลิตผักปลอดภัย วันที่ 3 (หลักสูตร ที่ 4 และหลักสูตร ที่ 5) 50 10,150.00 10,150.00
1 ม.ค. 64 - 28 ก.พ. 64 2.4 lส่งเสริมครัวเรือนปลูกผักปลอดภัย แบบคนเมือง 45 7,850.00 17,150.00
21 ก.พ. 64 2.1 เรียนรู้ รูปแบบการปลูกผักคนเมือง และสำรวจความต้องการรูปแบบการปลูกของสมาชิกแต่ละครัวเรือน เพื่อกำหนดรูปแบบการปลูกให้มีความเหมาสมต่อพื้นที่ปลูก หรือ บริเวณปลูก กับชนิดผัก 45 25,500.00 12,500.00
30 ส.ค. 64 2.3 ประชุมกำหนด กฎ กติกา ชมรมฯ 10 1,000.00 1,000.00
4 กิจกรรมที่ 3 การติดตาม ตรวจแแปลง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 26 3,400.00 2 3,400.00
30 ส.ค. 64 3.1 รับรองผักปลอดภัย คณะทำงาน 10 คน และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง 25 2,400.00 2,400.00
30 ส.ค. 64 3.3 การประกวดคนเมืองต้นแบบปลูกผักปลอดภัย 1 คน มอบรางวัลเพื่อเป็นขวัญกำลังใจ 1 1,000.00 1,000.00
5 1 พัฒนาศักยภาพ โครงการย่อย จัดโดย Node Flagship ยะลา กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 19 11,750.00 10 11,750.00
1 มิ.ย. 63 ประชุมขับเคลื่อนหน่วยงานจัดการระดับจังหวัด 3 300.00 300.00
3 มิ.ย. 63 - 31 มี.ค. 64 บันทึกข้อมูลโครงการ 1 2,000.00 2,000.00
19 มิ.ย. 63 ป้ายไวนิลโครงการฯและโฟมบอร์ด สสส. 0 1,950.00 1,950.00
6 ก.ค. 63 เวทีพัฒนาศักยภาพการรายงานผลลัพธ์ของโครงการย่อย 2 300.00 300.00
15 ส.ค. 63 เวทีทบทวนบันไดผลลัพธ์และออกแบบเก็บข้อมูลของโครงการย่อยฯ 2 200.00 200.00
20 ส.ค. 63 ประชุมพิจารณายกร่างตารางข้อมูลผลลัพธ์เชิงประเด็นยุทศาสตร์ (พัฒนาศักยภาพพื้นที่โครงการย่อย) 1 100.00 100.00
24 - 25 ต.ค. 63 เวทีประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา ARE ครั้งที่ 1 4 6,000.00 6,000.00
16 ก.พ. 64 ร่วมเวทีประเมินผลเพื่อการเรียนรู็และพัฒนา (are)ครั้งที่ 2 2 200.00 200.00
24 มี.ค. 64 ประชุมวิเคราะห์ สังเคราะห์โครงการ 1 100.00 100.00
30 ส.ค. 64 เวทีประฐมนิเทศและทำสัญญาโครงการย่อย 3 600.00 600.00

วิธีรายงานผลลัพธ์ของโครงการ   การรายงานผลลัพธ์ของโครงการให้รายงานตามผลลัพธ์ที่กำหนดไว้ในโครงการ โดยโครงการจะต้องออกแบบข้อมูลที่จะเก็บและวิธีการเก็บข้อมูลตามตัวชี้วัดที่กำหนด โดยให้เป็นไปตามบริบทของพื้นที่

  1. ข้อมูลที่จะเก็บ 1.1 เป็นข้อมูลสำคัญที่จะบอกว่าโครงการบรรลุผลลัพธ์ เช่น จำนวนแกนนำ บทบาทแกนนำ กฎ/ระเบียบ/กติกา
    พฤติกรรมที่เปลี่ยนไป เป็นต้น 1.2 ข้อมูลที่นำมาประกอบคำอธิบายตัวชี้วัดควรมีลักษณะเป็นการเปรียบเทียบให้เห็นการเปลี่ยนแปลงจากสถานการณ์ เดิมอย่างชัดเจน
  2. วิธีเก็บข้อมูล
    2.1 ให้ชุมชนร่วมออกแบบการเก็บข้อมูลและดำเนินการจัดเก็บที่สอดคล้องกับตัวชี้วัด และหน่วยจัดการ (Node) ร่วม
    วิเคราะห์ข้อมูลที่ชุมชนจัดเก็บร่วมกับชุมชนที่สอดคล้องกับผลลัพธ์ระดับต่างๆ 2.2 ตัวอย่างวิธีเก็บข้อมูล เช่น การสอบถาม การสัมภาษณ์ การสังเกตการณ์ การประชุมกลุ่ม ภาพถ่าย คลิปวิดีโอ
    การสำรวจ การสรุปบทเรียน เรื่องเล่า บันทึกการประชุม แบบประเมินความรู้ความเข้าใจ แบบบันทึกการติดตาม เป็นต้น
  3. ทุกโครงการจะต้องนำเสนอรายงานความก้าวหน้าและรายงานปิดโครงการให้คณะทำงานรับทราบและรับรองรายงานก่อน นำส่ง สสส.)
stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ครัวเรือนมีการร่วมกลุ่มและสร้างเครือข่ายชุมชน เป็นคณะทำงาน
  2. ครัวเรือนมีความรู้ สามารถผลิตผักปลอดภัย
  3. ครัวเรือนผลิตผักปลอดภัยและได้รับการรับรองผลผลิต
  4. ครัวเรือนเกิดเรียนการรู้ด้านการตลาดผักปลอดภัย
stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 ก.ค. 2563 16:49 น.