Node Flagship

task_alt

โครงการ ส่งเสริมปลูกผักปลอดภัยสู่สุขภาพคนเมือง เขตเทศบาลนครยะลา

แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 3

ชื่อโครงการ โครงการ ส่งเสริมปลูกผักปลอดภัยสู่สุขภาพคนเมือง เขตเทศบาลนครยะลา

ชุมชน เขตเทศบาลนครยะลา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา

รหัสโครงการ 63-00175-0001 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2020 ถึง 31 มีนาคม 2021

รายงานงวดที่ : 3 จากเดือน มกราคม 2021 ถึงเดือน เมษายน 2021

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ประชุมคณะกรรมการครั้งที่3

วันที่ 8 มกราคม 2021 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วันที่ 8 มกราคม 2563 ณ ชุมชนมะลิสัมพันธ์คณะทำงานโครงการปลูกผักปลอดภัย สู่สุขภาพคนเมือง เขตเทศบาลนครยะลา จัดประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 3 เรื่อง 1)พิจารณาร่างแบบการบันทึกข้อมูลการผลิตผัก 2) ทดสอบสภาพดินปลูกของสมาชิก โดยคณะทำงานเชิญ สมาชิกและหน่วยงานจากสถานีพัฒนาที่ดินมาให้ความรู้เรื่องดินและทดสอบดินปลูกของสมาชิก ด้วยเครื่องมือ LDO pH Tert Kit (ความเปฌนกรด-ด่างของดิน) ผลจากที่ประชุม 1)เห็นชอบแบบบันทึกการปลูกผักปลอดภัย และให้ฝ่ายเลขา ดำนเนินจัดทำ และมอบให้สมาชิกทุกคนบันทึกข้อมูลการปลูกผัก 2) สมาชิกได้ข้อมูลสภาพดิน ระดับ pH ของดิน ปลูกของตนเอง และได้รับคำแนะนำการโดโลไมท์ แก้ไขปัญหาดินเปรี้ยว ดินที่ใช้ทำการเกษตรเป็นเวลานานให้กลับมามีความอุดมสมบรณ์ ด้วยเกษตรที่ปลอดภัย 3) ได้กำหนดเวที่ การเรียนรู้ สอนวิธีการปรุงดิน ของสถานีพัฒนาที่ดิน ในเวทีต่อไป

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

คณะทำงานโครงการปลูกผักปลอดภัย สู่สุขภาพคนเมือง เขตเทศบาลนครยะลา ได้กำหนดจัดประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 3 ในวันที่ 8 มกราคม 2563 ณ ชุมชนมะลิสัมพันธ์ เรื่อง 1)พิจารณาร่างแบบการบันทึกข้อมูลการผลิตผัก 2) ทดสอบสภาพดินปลูกของสมาชิก

 

10 0

2. 2.4 ส่งเสริมครัวเรือนปลูกผักปลอดภัย แบบคนเมือง

วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2021 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วันที่ 14 กุมพาพันธ์ 2563 ณ ชุมชนตลาดเกษตร ชุมชนห้าแยกกำปงบาโงย ชุมชนมะลิสัมพันธ์ โครงการส่งเสริมปลูกผักคนเมืองสู่สุขภาพคนเมือง เขตเทศบาลนครยะลา ได้จัดกิจกรรม ส่งเสริมครัวเรือนปลูกผักปลอดภัย แบบคนเมือง ส่งเสริมอุปกรณ์จำเป็นแก่ สมาชิกครัวเรือน 45 ครัวเรือน ปลูกผัก ตามแนวทางที่ได้รับความรู้จากการอบรมตามหลักสูตรต่างๆ โดย 1) ปรุง หรือ ผสมดินปลูกเอง
2) ปลูกผัก อย่างน้อย ครัวเรือน ละ 7 ชนิด1)สมาชิก 45 ครัวเรือน ได้ปลูกผักปลอดภัย

ผลกิจกรรม ดังนี้ 1)สมาชิก 3ชุมชน ได้รับอุปกรณ์จำเป็นเบื้องต้นในการปลูกปลอดภัย เช่น เมล็ดพันธ์คนละ 7 ชนิด ถุงกระสอบปลูก กระถัง เป็นต้น 2) สมาชิกแต่ละชุมชน ร่วมลงแรง ปรุงดินเพื่อปลูกผัก โดยแบ่งการปรุงดินสูตรที่ 1 มีส่วนประกอบ ด้วย สูตรที่ 1   - แกลบเก่า หรือแกลบเผา
  -มูลวัว หรือแพะ
-ขุยมะพร้าว -หน้าดินรวน หรือทราย
  สัดส่วนเท่ากัน และพด3 ผสมนำ้ 100 ลิตร ราด ป้องกันเชื้อรา สูตรที่ 2 -ดิน -ขุยมะพร้าว - ขี่เลื่อย - แกลบ
สัดส่วนเท่ากัน - ปุ๋ยหมักอินทรีย์ 10 เปอร์เซ็น ของส่วนประกอบรวมทั้งหมด แล้วแบ่งกัน 3)พี่เลี้ยงได้ชี้แจง การบันทึกข้อมูล ในแบบบันทึกการปลูกผักปลอดให้กับสมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

โครงการส่งเสริมปลูกผักคนเมืองสู่สุขภาพคนเมือง เขตเทศบาลนครยะลา ได้กำหนดกิจกรรม ส่งเสริมครัวเรือนปลูกผักปลอดภัย แบบคนเมือง ในวันที่ 14 กุมพาพันธ์ 2563 ณ ชุมชนตลาดเกษตร ชุมชนห้าแยกกำปงบาโงย ชุมชนมะลิสัมพันธ์ ส่งเสริมอุปกรณ์จำเป็นแก่ สมาชิกครัวเรือน 45 ครัวเรือน ปลูกผัก ตามแนวทางที่ได้รับความรู้จากการอบรมตามหลักสูตรต่างๆ โดย 1) ปรุง หรือ ผสมดินปลูกเอง
2) ปลูกผัก อย่างน้อย ครัวเรือน ละ 7 ชนิด

 

45 0

3. ประชุมคณะกรรมการครั้งที่ 4

วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2021 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2564 ณ ชุมชนตลาเกษตร คณะทำงานโครงการส่งเสริมปลูกผักปลอดภัย สู่สุขภาพคนเมือง เขตเทศบาลนคร ได้ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 4 เรื่อง พิจาณาและกำหนดสถานที่ดูงาน และประสานงาน และวางแผนการเพาะเมล็ดผัก และแจกจ่ายให้กับสมาชิก พร้อมเชิญ สถานีพัฒนาที่ดินยะลา มาให้ความรู้การผสมดิน ใช้วัสดุชีวภาพ โดย นายกำธร รัตรช่วย ผู้แทนจากสถานีพัฒนาที่ยะลา รับผิดชอบอำเภอเมืองยะลา ผลจากการประชุม 1) ได้กำหนดวันศึกษาดูงาน วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2564 ณ สวนผักอินทรีย์ อำเภอปานาเระ จังหวัดปัตตานี 2) การส่งเสริมอุปกรณ์จำเป็น และเมล็ดพันธู์ให้แก่สมาชิก และใหมีการบันทึกข้อมูล ตามแบบบันทึกการปลูกผักปลอดภัย ภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 3) กำหนดวันตรวจแปลง ตั้งวันเบื้องต้นวันที่ 20 มีนาคม 2564 4) ได้เรียนรู้วัสดุที่สามารถนำมาผสมเป็นดินปลูกผักปลอดภัย

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

คณะทำงานโครงการส่งเสริมปลูกผักปลอดภัย สู่สุขภาพคนเมือง เขตเทศบาลนคร กำหนดจัดประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 4 ในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2564 ณ ชุมชนตลาเกษตร เรื่อง พิจาณาและกำหนดสถานที่ดูงาน และประสานงาน และวางแผนการเพาะเมล็ดผัก และแจกจ่ายให้กับสมาชิก

 

10 0

4. 2.1 เรียนรู้ รูปแบบการปลูกผักคนเมือง และสำรวจความต้องการรูปแบบการปลูกของสมาชิกแต่ละครัวเรือน เพื่อกำหนดรูปแบบการปลูกให้มีความเหมาสมต่อพื้นที่ปลูก หรือ บริเวณปลูก กับชนิดผัก

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2021 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2563 ณ สวนผักอินทรีย์ อำเภอปานาเระ จังหวัดปัตตานี โครงการปลูกผักปลอดภัยสู่สุขภาพคนเมืองเขตเทศบาลนครยะลา ได้นำสมาชิก 45 ครัวเรือน ไปเรียนรู้ รูปแบบการปลูกผักคนเมือง ให้สมาชิกได้เรียนและกลับมาปรับใช้ในการปลูกผักปลอดภัย ให้มีความเหมาสมต่อพื้นที่ปลูก หรือ บริเวณปลูก กับชนิดผัก ในพื้นที่ตนเอง และเพื่อรับความรู้จากการถ่ายทอดประสบการณ์จากคนผลิตผักอินทรีย์ โดยใช้พื้นที่รอบบ้าน ใช้ภาชนะถุงกระสอบ ยกแคร่ในการปลูกผัก และการทำการตลาดตัวตนเอง
ผลจากการเรียนรู้
1) ครัวเรือน ได้เรียนรู้การปลูกผัก รอบบ้าน ในภาชนะ กระถัง กระสอบ แคร่ 2) ครัวเรือน ได้เรียนรู้ และได้สูตร การปรุงดิน ปลูกผักเอง ที่สามารถลดต้นทุนการปลูก 3) ครัวเรือน ได้เรียนรู้ การเก็บเกี่ยวผลผลิต การขายทำตลาดผ่านเฟสบุ๊ค ไลน์ 4) ได้ทราบแห่งซื้อ วัสดุ อุปกรณ์ และการเทียบราคา กับคุณภาพ จากประสบการณ์ของวิทยากร

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

โครงการปลูกผักปลอดภัยสู่สุขภาพคนเมืองเขตเทศบาลนครยะลา ได้กำหนดกิจกรรม  เรียนรู้ รูปแบบการปลูกผักคนเมือง และสำรวจความต้องการรูปแบบการปลูกของสมาชิกแต่ละครัวเรือน เพื่อกำหนดรูปแบบการปลูกให้มีความเหมาสมต่อพื้นที่ปลูก หรือ บริเวณปลูก  กับชนิดผัก ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2563 ณ สวนผักอินทรีย์ อำเภอปานาเระ จังหวัดปัตตานี เพื่อรับความรู้จากการถ่ายทอดประสบการณ์จากคนทำจริง และประสบผลสำเร็จ

 

45 0

5. 2.5 ประชุมติดตามการปฏิบัติ ตามกฏกติกา ชมรม

วันที่ 7 มีนาคม 2021 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วันที่ 7 มีนาคม 2564 ณ ชุมชนตลาดเกษตร ชุมชนห้าแยกกำปงบาโงย และชุมชนมะลิสัมพันธ์ คณะทำงาน ได้ดำเนินการกิจกรรม ประชุมติดตามการปฏิบัติ ตามกฏกติกา ชมรม  โดยคณะทำงานแต่ละชุม เดินตรวจเยี่ยมและติดตามแปลงผัก ของสมาชิก และแลกเปลี่ยนข้อมูล การผลิต การดูแล ผักของสมาชิก ผลจากการตรวจเยี่ยมและติดตาม 1) สมาชิกได้แลกเปลียนข้อมูลการผลิต การดูแล และการจัดการ 2) สมาชิกสวนใหญ่ปลูกผักแล้ว มีปัญหาหลัก 2 อย่าง 1 )ดินไม่ค่อยดี 2) มีศัตรูรบกวน ได้แก่ หนอนช้อนไชใบ และหอยทาก จัดกินใบและยอด
3) สรุปแนวทางการแก้ไข เพื่อให้เกิดผลสำเร็จของการปลูก 1) ให้เชิญ จนท.เกษตรอำเภอเมือง มาดูแปลงเพื่่อหาทางแก้ไขและการกำจัดและป้องกันการรบกวนของศัตรูพืช 2 ชนิด
4) ให้เชิญ จนท. สถานีพัฒนาที่ดิน มาทดสอบดินปลูก และสอนวิธีการปรุงดิน และปรับดินให่้มีประสอทธิภาพ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

คณะทำงานได้กำหนดกิจกรรม ประชุมติดตามการปฏิบัติ ตามกฏกติกา ชมรม ในวันที่ 7 มีนาคม 2564 ณ ชุมชนตลาดเกษตร ชุมชนห้าแยกกำปงบาโงย และชุมชนมะลิสัมพันธ์  โดยคณะทำงานแต่ละชุม เดินตรวจเยี่ยมและติดตามแปลงผัก ของสมาชิก เพื่อ แลกเปลี่ยนข้อมูล ถึงการผลิต การดูแล

 

10 0

6. ประชุมวิเคราะห์ สังเคราะห์โครงการ

วันที่ 24 มีนาคม 2021 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วันที่ 24 มีนาคม 2564 ณ ห้องประชุมโรงแรมปาร์วิว ยะลา อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ผู้แทนโครงการปลูกผักปลอดภัยสู่สุขภาพคนเมือง เขตเทศบาลนครยะลา จำนวน 1 คน ได้เข้าร่วมประชุมวิเคราะห์ สังเคราะห์โครงการ เวทีของหน่วยจัดการ สสส. ระดับจังหวัดยะลา เพื่อสะท้อนข้อมูล จากการดำเนินโครงการ ผลสะท้อนจากเวที นำเสนอโดยผู้แทน ดังนี้
1.โครงการส่งเสริมปลูกผักปลอดภัย มีคุณค่า เป็นกระบอกเสียง ในจุดประกาย และกระตุ้นให้คนมารักสุขภาพ เริ่มดูแลสุขภาพจากการบริโภคผักที่ปลอดภัย
2.ประโยชน์ที่ได้รับโครงการ คือ เกิดการสร้างกลุ่ เครือข่าย ผู้ปลูกผักปลอดภัย มีพื้นที่ปลูกผักปลอดภัยเพิ่มขึ้น สามารถทำให้คนในชุมชนดข้าถึงผักสุขภาพมากขึ้น ซึ่งอาจต่อยอดการร่วมเป็นเครือข่ายผู้ขายผักปลอดภัย แห่งใหม่ในจังหวัดได้ 3.อุปสรรคปัญหาที่เกิดขึ้น มีด้านการผลิตผัก ดินปลูกที่ยังไม่เข้าสูตร มีศัตรูพืชรบกวน
4.ต้องการให้หน่วยงาน  เกษตรอำเภอแนะนำการปลูกที่ถูกหลัก ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรมาวางระบบเพื่อรับรอง GAP ได้ สถานีพันาที่ดิน ให้ความรู้เรื่องดิน และปุ๋ยที่เหมาะสม สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดยะลา มาพัฒนากระบวนการและเชื่อมกับส่วนงานต่างๆ ซึ่งทางชุมชนได้รับการสนับสนุนบางส่วนมาแล้ว และต้องการโอกาสในการพัฒนาในระดับต่อไปอีก 5.การปฏิบัติตามข้อตกลง ของโครงการย่อยฯ จากเวที สรุปการติดตามสมาชิกครัวเรือนปลูกผัก จำนวน 45 ครัวเรือน มี 25 ครัวเรือนที่สามารถตามข้อตกลง 7 ข้อ ตามที่โครงการย่อยได้กำหนด 7.มีแผนการตลาด โดยกำหนด จัดส่งผักให้กับสมาชิกในชุมชน ที่เปืดร้านอาหาร และตั้งโต๊ะขายตลาดนัดชุมชนตลาดเกษตรทุกวันศุกร์ 9.การเพิ่มชนิดการปลูกผัก ได้มีแผนการส่งเสริมการผลิตผักปลอดภัย อย่างน้อย 7 ชนิดต่อครัวเรือน แต่เพิ่มขึ้นตามความสามารถ แต่จะเสริมพืชสมุนไพรที่ใช้ประจำวัน เช่น ขมิ้น ข่า ตะไคร้ มะกรูด เป็นต้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

หน่วยจัดการ สสส. ระดับจังหวัดยะลา ได้กำหนดจัด ประชุมวิเคราะห์ สังเคราะห์โครงการ โครงการย่อย ทุกโครงการ ในวันที่ 24 มีนาคม 2564 ณ ห้องประชุมโรงแรมปาร์วิว ยะลา อำเภอเมือง จังหวัดยะลาโดยเชิญคณะกรรมการ โครงการย่อยเข้าร่วมการประชุมเพื่อสะท้อนข้อมูล จากการดำเนินโครงการ

 

1 0

7. 3.1 รับรองผักปลอดภัย คณะทำงาน 10 คน และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง

วันที่ 10 เมษายน 2021 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วันที่ 10 เมษายน 2564 เวลา 08.30 - 16.30 น. ณ ชุมชนตลาดเกษตร ชุมชนห้าแยกกำปงบาโงย ชุมชนมะลิสัมพันธ์ คณะทำงานได้จัดกิจกรรม การรับรองผักปลอดภัย คณะทำงาน 10 คน และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง โดยมี นางฮาบีบ๊ะ บูระพา  นักส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ จาก สนง.เกษตรอำเภอเมือง และนางสาวอาดีละห์ กาโฮง นักวิชาการเกษตร สำนักงนสภาเกษตรกรจังหวัดยะลา ร่วมกับคณะทำงาน ติดตามและตรวจแปลงผักของสมาชิกแต่ละชุมชน
ผลการตรวจแปลงผัก มีดังนี้ 1) มีครัวเรือนที่ปลูกผักปลอดภัย จำนวน 45 ครัวเรือน 2) มีครัวเรือนที่ปลูกผักปลอดภัยและมีผลผลิตออกน้อยกว่า 5 ชนิด จำนวน 20 ครัวเรือน 3) มีครัวเรือนที่ปลูกผักปลอดภัยและมีผลผลิตออกมากกว่า 5 ชนิด จำนวน 25 ครัวเรือน 4) สมาชิก 25 ครัวเรือน ต้องการความรู้ เรื่องการปุงดิน และการกำจัดแลัป้องกันศัครูพืชเพิ่มเติม 5) จนท.เกษตรอำเภอเมืองยะลา ให้ชุมชนกำหนดวัน เพื่อจะอบรม เรื่องการกำจัดศัตรูพืช  และอบรมการผลิตเชื้อไตรโคเดอร์มา
6) ได้ต้นแบบคนเมืองปลูกผักปลอดภัย 1 คน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

คณะทำงานได้กำหนด จัดกิจกรรม การรับรองผักปลอดภัย คณะทำงาน 10 คน และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ในวันที่ 10 เมษายน 2564 ณ ชุมชนตลาดเกษตร ชุมชนห้าแยกกำปงบาโงย ชุมชนมะลิสัมพันธ์ คณะกรรมแต่ชุมชน ติดตามและตรวจแปลงผักของสมาชิกแต่ละชุมชน พร้อมผู้แทนจากเกษตรอำภอเมืองยะลา

 

25 0

8. 3.3 การประกวดคนเมืองต้นแบบปลูกผักปลอดภัย 1 คน มอบรางวัลเพื่อเป็นขวัญกำลังใจ

วันที่ 10 เมษายน 2021 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

10 เมษายน 2564 โครงการส่งเสริมปลูกปลอดภัยสู่สุขภาพคนเมือง เขตเทศบาลนครยะลา ได้กิจกรรม การประกวดคนเมืองต้นแบบปลูกผักปลอดภัย 1 คน มอบรางวัลเพื่อเป็นขวัญกำลังใจ
ผลการคัดเลือก  คุณวอภารัตน์ ทองธรรมชาติ เป็นต้นแบบคนเมืองปลูกผักปลอดภัย ซึงคุณวิภารัตน์ทองธรรมชาติ ได้ผ่านอบรม เรียนรู้การปลูกผักปลอดภัย และปลูกผักปลอดภัย มากกว่า 10 ชนิดบริเวณรอบบ้าน ผลผลิตที่ได้นำมาบริโภคเอง แบ่งปันเพื่อนบ้าน และนำไปขาย ให้กับร้านย่าอิ่ม ตำบลตาชี ชนิดผักที่นำไปขาย ได้แก่ กระเพราะ โหระพา ขายมัดละ 5 บาท ส่วน กุ้ยช่าย ไซซิ้ม แบ่งขายแบบชั่งกิโล ขีดละ 8 บาท เป็นต้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

โครงการส่งเสริมปลูกปลอดภัยสู่สุขภาพคนเมือง เขตเทศบาลนครยะลา กำหนดกิจกรรม การประกวดคนเมืองต้นแบบปลูกผักปลอดภัย 1 คน มอบรางวัลเพื่อเป็นขวัญกำลังใจ คัดเลือกคนเมืองปลูกผักปลอดภัย เพื่อเป็นต้นแบบ 1 คน ในวันที่ 10 เมษายน 2564

 

1 0

9. 4.1 เวทีสรุปการขับเคลื่อน

วันที่ 17 เมษายน 2021 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วันที่ 17เมษายน 2564 ณ ห้องประชุมผังเมือง 4 และชุมชนตลาดเกษตร โครงการส่งเสริมปลูกผักปลอดภัยสู่สุขภาพคนเมือง เขตเทศบาลนครยะลา ได้จัดเวทีถอดบทเรียนโครงการย่อย เพื่อสรุปผลการดำเนินโครงการฯ โดยคณะทำงานโครงการ จำนวน 10 คนและสมาชิก จำนวน  21 คน และมีหน่วยงาน จากเกษตรอำเภอเมือง สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดยะลา และผู้นำชุมชน ร่วมเวทีถอดบทเรียนในครั้งนี้ด้วย สรุปจากเวที ดังนี้ 1) ผู้รับผิดชอบโครงการ หลัก ได้ รายงานผลการดำเนินโครงการ โดยมีครัวเรือน เข้าร่วมโครงการ 45 ครัวเรือน และสามารถผลิตผักปลอดได้ 45 ครัวเรือนและสามารถผลิตผักปลอดภัยได้มากว่า 5 ชนิด 25 ครัวเรือน
2) เสนอเพื่อพัฒนาต่อไป ต้องส่งเสริมให้สมาชิกเกิดการเรียนรู้ การผสมดินให้ได้สูตรที่เหมาะสม มีธาตุอาหาร เพื่อปลูกผักให้ได้ผลผลิต และวิธีการการดูแล การจัดการกับศัตรูพืชต่างๆ 2 อย่างข่้างต้นนี้ คือหัวใจหลัก ของการปลูกผักปลอดภัยแบบคนเมืองจะต้องรู้
3) ผลการดำเนินการงานโครงการ ได้ดำเนินการสิ้นสุด ตามขั้นบันได้ 4 ขั้น
4) การปลูกผักรอบรอบยังไม่ได้รับการรับ มาตรฐาน GAP ซึ่งจะต้องเข้าระบบ ของหน่วยงานตั้งแต่ต้น และสมาชิกจะต้องมีพื้นที่่ และจำนวนผัก ตามที่หน่วยรับรองลกำหนด พื้นที่โดยประมาณ ครึ่งไร่ และจำนวนผักที่ใช้ทดสอบ ชนิดละ 1 กิโลกรัม 5)เกษตรอำเภอเมืองให้ความรู้เรื่อง เชื้อไตรโคเดอมา การใช้ประโยชน์ ขั้นตอนการทำและวิธีการขยายเชื้อ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

โครงการส่งเสริมปลูกผักปลอดภัยสู่สุขภาพคนเมือง เขตเทศบาลนครยะลา ได้กำหนดเวทีถอดบทเรียนโครงการย่อย เพื่อสรุปผลการดำเนินโครงการฯ ในวันที่ 17เมษายน 2564 ณ ห้องประชุมผังเมือง 4 และชุมชนตลาดเกษตร

 

10 0

10. บันทึกข้อมูลโครงการ

วันที่ 20 เมษายน 2021 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

โครงการส่งเสริมปลูกผักปลอดภัย สู่สุขภาพคนเมืองเขตเทศบาลนครยะลา ได้มอบหมายให้ประธาน เลขา และการเงิน เป็นผู้ดำเนินการร่วมกันในการรายงานผลโครงการ ผลการดำเนินการดังนี้ 1) โครงการย่อย ได้เรียนรู้การใช้เทคโนโลยี ช่วยในการทำงาน เกิดความสะดวก และรวดเร็วขึ้น 2) โครงการย่อยได้บันทึกการรายงานผลการดำเนินกิจกรรม/โครงการฯ ในระบบ เวปไซส์ https://happynetwork.org/project/3785/info.action
3 โครงการย่อยฯ ได้รายงานผลโครงการโครงการส่งเสริมปลูกผักปลอดภัยสู่สุขภาพคนเมือง เขตเทศบาลนครยะลา เพื่อส่งผลดำเนินการให้หน่วยจัดการ สสส. ระดับจังหวัดยะลา

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

โครงการส่งเสริมปลูกผักปลอดภัย สู่สุขภาพคนเมืองเขตเทศบาลนครยะลา ได้กำหนดให้มีการบันทึกการรายงานผลการดำเนินกิจกรรม/โครงการฯ ในระบบ เวปไซส์ https://happynetwork.org/project/3785/info.action ของหน่วยจัดการ สสส. ระดับจังหวัดยะลา  เพื่อให้ได้รายงานผลโครงการ

 

1 0

11. ร่วมเวทีประเมินผลเพื่อการเรียนรู็และพัฒนา (are)ครั้งที่ 2

วันที่ 24 เมษายน 2021 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ในวันที่ 24 เมษายน 2564 ณ ห้องประชุม ตึกศรีฟ้า สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา ผู้แทนโครงการย่อย จำนวน 2 คน เข้าร่วมเวทีประเมินผลเพื่อการเรียนรู็และพัฒนา (are)ครั้งที่ 2 ของหน่วยจัดการ สสส. ระดับจังหวัดยะลา เพื่อสะท้อนผลลัพธ์ ที่ สสจ.ยะลา โดยได้เสนอข้อมูลแลกเปลี่ยน 1) ได้สะท้อนข้อมูลของโครงการที่รับผิดชอบ ได้แก่ การปลูกผักในพื้นที่จำกัด เช่นในกระถัง จะต้องจัดการเรื่องดินปลูกให้มีสารอาหารให้ครบ และสภาพดินควรเป็นกลาง เพื่อได้ผลผลิตที่ดี เจริญ งอกออกมาดี
2 ได้ปรับแผนและแนวทางการดำเนินการในกิจกรรมที่เหลือ โดยดำเนินการปรับแผนเรื่อง กิจกรรมการศึกษาเรียนรู้ของคณะทำงาน เพื่อพัฒนาศักยภาพ ปรับเปลี่ยนเป็นการเพิ่มงบในกิจกรรม ส่งเสริมครัวเรือนปลูกผักแบบคนเมือง เนื่องจากสถานการณ์โรคระบาด โควิด 19 ต้องระมัดระวังเรื่องการเดินทาง คณะกรรมจึงสรุปปรับกิจกรรม และเพื่อเพิ่มให้สมาชิกได้มีวัสดุและอุปกรณ์จำเป็นในการผลิต ให้เกิดผลปรโยชน์แก่สมาชิกทุกคน เพื่อตอบโจทย์บันไดผลผลัพธ์ได้ยิ่งขึ้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

หน่วยจัดการ สสส. ระดับจังหวัดยะลา ได้เชิญโครงการย่อยฯ เข้าร่วมเวทีประเมินผลเพื่อการเรียนรู็และพัฒนา (are)ครั้งที่ 2 ในวันที่ 24 เมษายน 2564 ณ ห้องประชุม ตึกศรีฟ้า สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา  คณะกรรมการเข้าร่วม กระบวนการเพื่อสะท้อนข้อมูลโครงการย่อยที่รับผิดชอบ โดยการนำเสนอข้อมูลที่ได้ดำเนินการ

 

2 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 31 0                    
การใช้จ่ายงบประมาณ 100,050.00 0.00                    
คุณภาพกิจกรรม 0                    

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

 

 

 

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

(................................)
นางรอปีอะห์ กูทา
ผู้รับผิดชอบโครงการ