Node Flagship

directions_run

โครงการ ส่งเสริมปลูกผักปลอดภัยสู่สุขภาพคนเมือง เขตเทศบาลนครยะลา

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้เกิดกลุ่มเครือข่ายปลูกผักปลอดภัย
ตัวชี้วัด : ผลลัพธ์ที่ 1ครัวเรือนมีการร่วมกลุ่มและสร้างเครือข่ายชุมชน เป็นคณะทำงาน ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 1.1.มีคณะทำงานขับเคลื่อน ผักปลอดภัย และเกิดชมรมผักปลอดภัย ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 1.2. มีข้อมูล ด้านการผลิต การบริโภค และการตลาด ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 1.3.มีการประชุมคณะทำงานร้อย 100
45.00 45.00

ผู้แทนจาก 3 ชุมชน ร่วมเป็นคณะทำงานขับเคลื่อน จำนวน 10 คน

2 เพื่อปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษไว้บริโภคและใช้สอย สำหรับกลุ่มครัวเรือนในชุมชนเมืองอย่างต่อเนื่อง
ตัวชี้วัด : ผลลัพธ์ที่ 2 ครัวเรือนมีความรู้ สามารถผลิตผักปลอดภัย ตัวชี้วัดผลลัพ 2.1.ครัวเรือน ได้เรียนรู้ปลูกผักคนเมืองร้อยละ 100 ตัวชี้วัดผลลัพ 2.2 ครัวเรือน มีความรู้ สามารถผลิตผักปลอดภัยร้อยละ 80 % ตัวชี้วัดผลลัพ 2.3. การผลิต และบริโภคผักปลอกภัย ของชุมชน ตัวชี้วัดผลลัพ 2.4. มีการเรียนรู้ด้านการตลาด ร้อยละ 100 และ สามารถเชื่อมกับตลาดในพื้นที่ อย่างน้อย 1 แห่ง ตัวชี้วัดผลลัพ 2.5. ครัวเรือนปฏิบัติตามกฎ กติกา ร้อยละ100 ผลลัพธ์ที่ 3 ครัวเรือนผลิตผักปลอดภัยและได้รับการรับรองผลผลิต ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 3.1.มีผักได้รับการรับรองผักปลอดภัย แบบPGs อย่างน้อย 5 ชนิด ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 3.2.มีกลไกเครือข่ายผักปลอดภัย ตัวชี้วัดผลลัพ ธ์3.3.เกิดคนต้นแบบปลูกผักปลอดภัยแบบเมือง ผลลัพธ์ที่ 4 มีผักปลอดภัยเพิ่มขึ้น ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 4.1.ชนิดผักปลอดภัยของแต่ละครัวเรือนปลูกเพิ่มขึ้น อย่างน้อย 5 ชนิด ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 4.2.ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการบริโภคผักที่ปลูกและปลอดภัยอย่างน้อยร้อนละ 80
45.00 25.00

การปลูกผักที่ดูแลง่าย ไม่ซำ้ซ้อนครัวเรือนจะปลูกซำ้ๆ และชนิดผักที่มีตลาดชัดครัวเรือนสามารถปลูกให้ได้ปริมาณและปลอดภัยได้

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 45
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
ครัวเรือนเขตเทศบาลนครยะลา จำนวน 45 ครัวเรือน 45

บทคัดย่อ*

โครงการส่งเสริมปลูกผักปลอดภัยสู่สุขภาพคนเมือง เขตเทศบาลนครยะลา มีวัตถุประสงค์1) เพื่อให้เกิดกลุ่มปลูกผักปลอดภัย 2) เพื่อปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษไว้บริโภค สำหรับกลุ่มครัวเรือนในชุมชนเมืองอย่างต่อเนื่อง กลุ่มเป้าหมายหลัก จำนวน 45 ครัวเรือน ใน 3 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนตลาดเกษตรจำนวน 24 ครัวเรือน ชุมชนห้าแยกกำปงบาโงย จำนวน 12 ครัวเรือน และชุมชนมะลิสัมพันธ์ จำนวน 9 ครัวเรือน มีการดำเนินกิจกรรม 1) ประชุมสร้างความเข้าใจโครงการ/กิจกรรม แต่งตั้งคณะทำงานและจัดทำฐานข้อมูล 2)ฝึกอบรมให้ความรู้การผลิตพืชผักปลอดภัย การจัดการ และการกำหนดกฎ กติกา 3)การติดตาม ตรวจแปลง และรับรองผักปลอดภัย และ4)การการเรียนรู้การตลาดและการเชื่องโยงตลาด ผลการดำเนินการ มีสมาชิกเข้าร่วม 45 ครัวเรือน มีพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้น จำนวน 1 ไร่ มีกฎกติกา 7 ข้อ 1) สมาชิกทุกครัวเรือนปลูกผักจริง 2) ปลูกผักให้ปลอดสารพิษ (ไม่ใช้สารเคมี) 3) ใช้ปุ๋ยชีวภาพ/ปุ๋ยอินทรีย์ 4) ต้องได้ผลผลิต เพื่อบริโภค/แบ่งปัน/ขาย 5) ต้องปรุงและเพิ่มธาตุอาหารแก่ดินสำหรับปลูกผักเอง 6) ต้องมีเวลา ร่วมกิจกรรม พัฒนาความรู้ ประชุมกลุ่มอย่างต่อเนื่อง 7) บันทึกข้อมูลการปลูกผักปลอดภัยทุกรอบการผลิต ครัวเรือนมีการบริโภคผัก 400 กรัม/วัน จำนวน 93 ครัวเรือน (คิดทั้งชุมชน) มีจำนวน 25 ครัวเรือน มีความตระหนักด้านสุขภาพ มีการปลูกผักกินเอง ได้แก่ ผักชี คะน้า ผักบุ้ง ต้นอ่อนทานะตะวัน ผักสลัด ขึ้นฉ่าย มะเขือเทศ พริก มะเขือ แตงกวา กุ้ยฉ่าย โดยเฉพาะผักบุ้งบางครัวเรือนปลูกซ้ำ 3 รอบต่อเนื่อง มีชนิดผักปลอดภัยอย่างน้อย 7 ชนิดต่อครัวเรือน และเกิดคนเมืองต้นแบบปลูกผักปลอดภัย สามารถผลิต บริโภคและจำหน่วยได้

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh