วันนี้ที่นราธิวาส เครือข่ายสมัชชาสุขภาพจังหวัดนราธิวาส

by chonpadae @15 พ.ค. 54 12.00 ( IP : 119...3 ) | Tags : จับกระแสสมัชชา , นราธิวาส

เช้าวันที่ 3 พฤษภาคม 2554  ณ ห้องประชุม สสจ.นราธิวาส
          ทีมกลไกวิชาการประสานงานพัฒนานโยบายสาธารณะผ่านกระบวนการสมัชชาสุขภาพพื้นที่ภาคใต้ นำทีมโดย
อ.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ และคณะ นัดประชุมร่วมกับเครือข่ายสมัชชาสุขภาพจังหวัดนราธิวาส เพื่อหาแนวทางการขับเคลื่อนกระบวนการนโยบายสาธารณะในพื้นที่นราธิวาส
          ผู้เข้าร่วมประชุมในพื้นที่มีจากทั้ง ตัวแทนสสจ.นราธิวาส ตัวแทนเครือข่ายที่ดินทำกินเทือกเขาบูโด เครือข่ายสื่อ  เครือข่ายเยาวชน เครือข่ายบ้านมั่นคง เครือข่ายผู้สูงอายุ และนักวิชาการจากม.นราธิวาสราชนครินทร์
โดยมีคุณคอยรูซามัน มะ เป็นผู้ประสานงานหลัก
          กระบวนการพูดคุยเริ่มจาก อ.พงค์เทพ สุธีรวุฒิให้ความหมายเปิดกรอบความเข้าใจสุขภาพ=สุขภาวะ ที่ปัจจุบันไม่ใช่เป็นเพียงเรื่องของหมอ เรื่องการเจ็บป่วย แต่สุขภาพในความหมายสุขภาวะ ที่ครอบคลุมทั้ง  4 มิติ ทั้งมิติกาย จิต สังคม ปัญญา และเป้าหมายชุมชนเป็นสุข มีหลายมิติ  ได้แก่ ปัจเจกบุคคล / ครอบครัว /ชุมชน /สาธารณะ ซึ่งการนำไปสู่ชุมชนเป็นสุขต้องมีนโยบายสาธารณะ /แผน /ยุทธศาสตร์ แต่ที่ผ่านมาเป็นนโยบายของภาครัฐเป็นหลัก นโยบายที่ขึ้นมากจากรากหญ้า/ฐานล่าง แทบไม่มีช่องทาง แต่ปัจจุบัน ตามพรบ.สุขภาพแห่งชาติ ปี 2550 ได้ สร้างช่องทางในการพัฒนานโยบายสาธารณะ โดยมีการใช้ความรู้ การรวมพลัง และ พลังจากอำนาจรัฐ/การเมือง เรียกว่า [/b] “กระบวนการสมัชชาสุขภาพ”[/b] ซึ่งถ้าทำตามหลักเกณฑ์จะสามารถส่งข้อเสนอนโยบายไปที่ คสช. ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ถ้าผ่าน คสช. และต้องการขยายผลในระดับชาติก็สามารถส่งไปที่ ครม. ถ้าผ่านครม.เป็นมติให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปดำเนินการ
          ที่ผ่านมามีมติที่ผ่านกระบวนการสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ผ่าน  คสช.ของภาคใต้ เช่น ปี 2551 ได้แก่ ประเด็นนโยบายแห่งชาติเพื่อการพัฒนาระบบสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมในจังหวัดชายแดนภาคใต้(แผนพัฒนาในพื้นที่พหุวัฒนธรรม)  และปี 2552 ได้แก่ประเด็นแผนพัฒนาที่ยั่งยืนบนฐานการพึ่งตนเอง ด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม กรณีภาคใต้ (แผนพัฒนาภาคใต้) แต่ต้องจัดสมัชชาสุขภาพถูกต้องตามหลักเกณฑ์
• ใช้ความรู้ ไม่ใช้ความเห็น
• ใช้การรวมพลัง (ในฐานะพลเมือง )
• ใช้ช่องทางของรัฐ/ท้องถิ่น ซึ่งกระบวนการสมัชชาสามารถแบ่งได้เป็น
1.ต้นน้ำ : การพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบาย
- การจัดทีมพหุภาคี
- การจัดทำข้อมูลสถานการณ์
- การเลือกประเด็น
- การจัดทีมทำงานประเด็นเพื่อการวิเคราะห์สาเหตุ ปัจจัย แนวทางการจัดการและทำร่างข้อเสนอเชิงนโยบาย(ร่าง 1)
- การพิจารณาร่างข้อเสนอ(ร่าง1) โดยภาคีที่เกี่ยวข้อง
- ทีมทำงานประเด็น ทบทวนปรับปรุงเป็นข้อเสนอเชิงนโยบาย(ร่าง2) ส่งให้ภาคีที่เกี่ยวข้องพิจารณา
2.กลางน้ำ: การพิจารณาข้อเสนอเชิงนโยบาย(เวทีสมัชชาสุขภาพพื้นที่จังหวัด)
- ตัวแทนภาคีที่เกี่ยวข้อง(สมาชิกสมัชชาสุขภาพ)พิจารณา ร่างข้อเสนอ(ร่าง 2)
- มีฉันทามติต่อข้อเสนอเชิงนโยบาย(ฉันทามติของสมาชิกสมัชชาสุขภาพ)
3.ปลายน้ำ: การผลักดันข้อเสนอเชิงนโยบายสู่การปฏิบัติและการประเมินผล
- การจัดทีมติดตาม ผลักดันมติ
- การแจ้งมติไปยังภาคีที่เกี่ยวข้องโดยหนังสือและการประชุมร่วมกับภาคีฯอันนำไปสู่การทำนโยบาย ยุทธศาสตร์ การจัดทำแผน การจัดทำโครงการ ของภาคีที่เกี่ยวข้อง
- การติดตามการปฏิบัติตามมติต่างๆจากภาคีที่เกี่ยวข้อง
- การประเมินผลกระทบจากการปฏิบัติตามมติ
ที่ประชุมร่วมแลกเปลี่ยนแนวทางการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะของจังหวัดนราธิวาส
- สมัชชาสุขภาพเป็นช่องทางการพัฒนานโยบายของคนนราธิวาส
- ควรเลือกประเด็นสำคัญในการดำเนินการ
- โจทย์สำคัญ คือ การสร้างความเข้าใจ และเห็นความสำคัญของกระบวนการสมัชชาสุขภาพ
แนวทางการขับเคลื่อนงานในปี 2554 - สร้างฐานของกระบวนการสมัชชาสุขภาพ สร้างแกนนำ ได้แก่ นักวิชาการ / ประชาสังคม /ภาครัฐ ท้องถิ่น สื่อ  ทั้งระดับผู้นำ และปฏิบัติการ
โดยมีวิธีการ
- ในระดับผู้นำ ใช้การอธิบาย / และให้ความเห็น
- ระดับปฏิบัติการ / ใช้การอบรม
- วิธีการโดยให้กลุ่มปฏิบัติการไปสัมภาษณ์ผู้นำ
โจทย์/สัมภาษณ์
1. กระบวนการนโยบายทั้งการกำหนด การปฏิบัติตามขององค์กร/หน่วยงานเป็นอย่างไร
2. ปัจจัยที่เอื้อและเป็นอุปสรรคของการขับเคลื่อนโยบายคืออะไร
3. เล่ากระบวนการสมัชชา และข้อความเห็นต่อการใช้กระบวนการสมัชชาสุขภาพในกระบวนการนโยบายจะทำอย่างไร
4. ถ้าจะขับเคลื่อนกระบวนการสมัชชาสุขภาพในระดับจังหวัดจะทำอย่างไร / ใครต้องทำอะไรบ้าง
- คณะทำงานนำข้อมูลจากการสัมภาษณ์มาพัฒนาร่างข้อเสนอแนวทางการพัฒนานโยบายสาธารณะผ่านกระบวนการสมัชชาสุขภาพ(ร่าง1)
- ส่งข้อเสนอให้ผู้นำองค์กรให้ความเห็นต่อ ร่าง 1
- นำความเห็นของผู้นำองค์กรปรับข้อเสนอเป็นร่าง 2
- ส่งข้อเสนอร่าง 2 ให้ผู้นำองค์กร/เครือข่ายพิจารณา
- มีเวทีสมัชชาจังหวัดให้ผู้นำองค์กร /เครือข่ายมาพิจารณาข้อเสนอที่ 2
- ตั้งทีมติดตามมติเพื่อขับเคลื่อนมติในปีต่อไป
      วันนี้ที่นราธิวาสริ่เริ่มก่อตัวคณะทำงาน มีทั้งแกนนำภาคประชาชน  ภาคราชการ จาก สสจ. และนักวิชาการจาม.นราธิวาสเข้ามาร่วมทำงาน มีแนวทางการชัดเจนในการจะสร้างฐานพัฒนาแกนนำ ทั้งอบรมแกนนำระดับปฏิบัติการ และใช้วิธีการไปสัมภาษณ์ผู้นำองค์กร/เครือข่ายในการสร้างความเข้าใจในกระบวนการนโยบายสาธารณะผ่านกระบวนการสมัชชาสุขภาพ นับเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างทิศสร้างทางจัดการตนเองของจังหวัดนราธิวาสต่อไป

Relate topics