directions_run

โครงการส่งเสริมกิจกรรมเพื่อสุขภาพเทศบาลตำบลอ่างทอง

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมกิจกรรมเพื่อสุขภาพเทศบาลตำบลอ่างทอง
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดพัทลุง
รหัสโครงการ ุ65-10156-027
วันที่อนุมัติ 16 กุมภาพันธ์ 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 16 กุมภาพันธ์ 2566 - 19 ธันวาคม 2566
งบประมาณ 106,300.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เทศบาลตำบลอ่างทอง
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางจริญา บุญมี
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ 0969414837
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ Chariya93000@gmail.com
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวจุฑาธิป ชูสงและนางสาวจิราภรณ์ บุญมาก
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลอ่างทอง อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 16 ก.พ. 2566 15 มิ.ย. 2566 16 ก.พ. 2566 31 ก.ค. 2566 53,150.00
2 16 มิ.ย. 2566 15 ก.ย. 2566 10 ต.ค. 2566 19 ธ.ค. 2566 42,520.00
3 16 ก.ย. 2566 15 ต.ค. 2566 25 ธ.ค. 2566 25 ธ.ค. 2566 10,630.00
รวมงบประมาณ 106,300.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แผนงานกิจกรรมทางกาย
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เทศบาลตำบลอ่างทอง ในตำบลอ่างทอง มี ประชากรทั้งหมด 1,144 ครัวเรือน ประชากรทั้งหมดจำนวน 4,382 คน 8 หมู่บ้าน  ในการดำเนินการเลือกพื้นที่นำร่อง 3 หมู่บ้านคือ หมู่ที่ 2 หมู่ที่ 3 หมู่ที่ 4 และสำนักงานเทศบาลตำบลอ่างทอง และแกนนำหมู่บ้านเรียนรู้อีก 5 หมู่บ้าน จำนวนประชากรพื้นที่หมู่บ้านนำร่องและสำนักงานเทศบาล กลุ่มเด็กก่อนวัยเรียน1-5ปี จำนวน 200 คน  กลุ่มเด็กและเยาวชน 6-25 ปี 1000 คน กลุ่มวัยทำงาน 26-59 ปี 2,343 คน กลุ่มผู้สูงวัย จำนวน 804 คน ประชาชนมีอาชีพส่วนใหญ่การเกษตร เช่น สวนยาง สวนสวน ปลูกพลู เป็นอาชีพดังเดิม ปัจจุบันเกษตรกรมีความเป็นอยู่ของคนมีความลำบากเพิ่มมากขึ้น เพราะการประกอบอาชีพเปลี่ยนไป คนในวัยทำงานไม่ได้ทำงานลงแรงเหมือนแต่ก่อน    ใช้เครื่องทุ่นแรง จ้างแรงงาน ส่วนของบุคลากรสำนักงานเทศบาลตำบลอ่างทองทำงานนั่งโต๊ะ ใช้คอมพิวเตอร์ ทำงานเอกการ ทำให้ร่างกายไม่ค่อยมีการขยับกาย วัยเด็กที่มีอายุระว่าง 12-25 ปี จำนวน 522 คน ไม่มีการขยับกาย 89 คนคิดเป็น 17.05 % คนในวัยทำงานอายุ 26-59 ปี จำนวน 2,343 คน ไม่มีการขยับกาย 252 คน มีปัญหาการขยับกายไม่ถึง 150 นาทีต่อสัปดาห์ คิดเป็น 6.49 %  ผู้สูงอายุที่มี่อายุ 60 ปีขึ้นไปจำนวน 804 คน ไม่มีการขยับกาย 126 คน คิดเป็น .15.67.% (ใช้ข้อมูล HDC) ในส่วนของบุคลากรของสำนักงานเทศบาลตำบลอ่างทอง มีทั้งหมด 66 คน ไม่มีการขยับกาย 50 คน และยังมีผู้ที่ออกกำลังกายไม่เพียงพอ ถ้าจำนวน 100 คน คิดเป็นร้อยละ 75.76 ที่ออกกำลังกายไม่เพียงพอ (ข้อมูลคน 3 หมู่บ้านและบุคลากรเทศบาล) จากสถานการณ์ปัญหาไม่มีการขยับการ/มีการขยับกายน้อยไม่ถึง 150 นาทีต่อสัปดาห์มีสาเหตุมาจาก 1. สาเหตุจากพฤติกรรมคน พฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่ถูกต้อง พักผ่อนไม่เพียงพอ มีปัญหาเรื่องความเครียดการใช้ชีวิตที่เร่งรีบแข่งขันกับเวลา ประชาชนไม่ให้ความสำคัญต่อการออกกำลังกาย มีทัศนคติต่อการออกกำลังกายที่ผิด ประชาชนขี้เกียจออกกำลังกาย ขาดความรู้ในการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับเวลาและโอกาส ทำให้ไม่สามารถจัดแบ่งเวลาสำหรับการออกกำลังกาย มีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ(น้อยกว่า 150 นาทีต่อสัปดาห์) 2.สาเหตุจากสภาพแวดล้อม ยังไม่มีกติกาในการออกกำลังกาย มีการออกกำลังกายกลุ่มน้อย ยังไม่มีแกนนำในการออกกำลังกาย มีจุดออกกำลังกายน้อย มีพื้นที่ออกกำลังกายไม่เพียงพอ ทำให้ขาดการดูแลสุขภาพตนเองและครอบครัว และ3.สาเหตุจากกลไกและระบบที่เกี่ยวข้อง
ผลกระทบที่เกิดจากการไม่มีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ ผลกระทบด้านสุขภาพเกิดภาวะเครียดส่งผลให้พนักงานเทศบาลและประชาชนในพื้นที่มีการเจ็บป่วยและมีสุขภาพร่างกายที่ไม่แข็งแรงมีน้ำหนักร่างกายที่ไม่ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานเกิดโรคภัยได้ง่ายต้องเสียทั้งค่ารักษาพยาบาล ค่ายา และเสียทั้งเวลา ร่างกายที่ไม่แข็งแรง มีโรคซึ่งอาจก่อให้เกิดกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 795 .คน เช่น โรคความดันโลหิต 456 คน โรคหัวใจ 38 คน โรคหลอดเลือดสมอง 48 คน และโรคเบาหวาน 195 .คน  ค่าดัชนีมวลกาย ต่ำกว่าเกณฑ์18.5-22.90 มี 117 คน ปกติสมส่วน23-24.90 893.คน น้ำหนักเกิน25-29.90 มี170.คน  อ้วนระดับ 1 มี 170.คน >30 อ้วนระดับ 2 มี 100 .คน ซึ่งธรรมชาติของงาน ต้องพบกับความกดดัน อาจปล่อยไว้ ไม่มีการผ่อนคลาย ความเครียดก็จะเพิ่มสูงขึ้นไปเรื่อยๆ เช่น มีคนที่โมโหง่ายมากขึ้น หลายคนมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น เริ่มมีคน ขี้ลืม ความจำเริ่มลดลง
ผลกระทบทางด้านสังคมการปฏิสัมพันธ์กันลดลง ครอบครัวขาดความอบอุ่น เนื่องจากสถานการณ์ในปัจจุบัน ผู้ที่ก่ออาชญากรรม ส่วนมาก คือบุคคลที่ทำงานในหน่วยงาน จึงควรมีการจัดกิจกรรมที่ผ่อนคลายความเครียดขึ้นในหน่วยงาน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีกิจกรรมทางกายที่น้อยเกินไปเช่นขาดการออกกำลังกายทำให้ร่างกายไม่แข็งแรง
เทศบาลตำบลอ่างทองเล็งเห็นความสำคัญด้านการส่งเสริมสุขภาพของพนักงานและแกนนำประชาชนในพื้นที่ จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมกิจกรรมเพื่อสุขภาพเทศบาลตำบลอ่างทอง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้พนักงานเทศบาลตำบลอ่างทองและประชาชนในพื้นที่ (แกนนำ)ได้มีกิจกรรมทางกายเพิ่มมากขึ้นมีการรับประทานผักผลไม้ที่เพียงพอมีกิจกรรมจัดสถานที่พักผ่อนขึ้นในหน่วยงานเพื่อให้พนักงานเทศบาลตำบลอ่างทองและประชาชนในพื้นที่ (แกนนำ) มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงขึ้น ผ่อนคลายอารมณ์ เสริมสร้างความสามัคคี ให้ความสำคัญในการรณรงค์ให้มีการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง จัดทำกิจกรรมที่ส่งผลดีต่อสุขภาพ ส่งผลให้สามารถปฏิบัติงานในหน้าที่ความรับผิดชอบได้อย่างมีประสิทธิภาพและที่สำคัญยังลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ ด้วย

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนและบุุคลลากรเทศบาลเกิดความรู้และความตระหนักการดูแลสุขภาพและมีกิจกรรมทางกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 150 นาที
  1. ประชาชนและบุคลากรในเทศบาลอ่างทองมีความรู้และความตระหนักดูแลสุขภาพและมีกิจกรรมทางกายอย่างน้อยร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมาย
  2. มีครัวเรือนร่วมดูแลสุขภาพและมีกิจกรรมทางกายอย่างน้อยร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมาย
  3. สามารถออกแบบการดูแลสุขภาพและกิจกรรมทางกายที่เหมาะสมวัย
0.00
2 เกิดกลไกขับเคลื่อนการดูแลสุขภาพและมีกิจกรรมทางกายที่มีประสิทธิภาพ

1.  เกิดคณะทำงานที่มีส่วนร่วมจากท้องถิ่น  ผู้นำชุมชน  และตัวแทนครัวเรือนเข้าร่วมเป็นคณะทำงาน
2.  มีข้อมูลสถานการณ์และการดูแลสุขภาพ กิจกรรมทางกาย 3.  มีกติกาและแผนปฏิบัติการส่งเสริมการดูแลสุขภาพและมีกิจกรรมทางกาย
4.  มีกลไกการติดตามและส่งเสริมการดูแลสุขภาพ

3 เกิดสภาพแวดล้อมที่เอื้อและมีปฏิบัติการปรับเปลี่ยนมีกิจกรรมทางกาย
  1. เกิดกลุ่มเด็กวัยเรียน  เยาวชน และกลุ่มวัยทำงานมีกิจกรรมทางกายเพียงพอ(อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)
  2. มีบุคคลต้นแบบกิจกรรมขยับกายเพื่อสุขภาพจำนวน 10 คน
  3. มีแกนนำส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 30 คน
  4. มีพื้นที่ส่งเสริมกิจกรรมทางกายอย่างน้อย 3 จุด
4 ประชาชนมีการดูแลสุขภาพและส่งเสริมกิจกรรมเพื่อสุขภาพไม่น้อยกว่า 150 นาทีต่อสัปดาห์

ประชาชนมีการดูแลสุขภาพและส่งเสริมกิจกรรมเพื่อสุขภาพไม่น้อยกว่า 150 นาทีต่อสัปดาห์ อย่างน้อยร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมาย

stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 160
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
ครัวเรือนนำร่อง 60 -
ผู้บริหารและบุคคลากรเทศบาลอ่างทอง 70 -
แกนนำชุมชน 30 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 1653 106,396.00 25 106,514.00
21 มี.ค. 66 ประชุมจัดตั้งคณะทำงาน 14 920.00 920.00
1 พ.ค. 66 กิจกรรมที่ 2 เปิดโครงการส่งเสริมกิจกรรมเพื่อสุขภาพเทศบาลตำบลอ่างทอง 40 7,500.00 7,400.00
3 พ.ค. 66 กิจกรรมที่ 3 จัดทำข้อมูลเรื่องสถานการณ์กิจกรรมทางกาย ครั้งที่ 1 160 8,300.00 10,310.00
16 พ.ค. 66 กิจกรรมที่ 4 อบรมให้ความรู้การออกแบบกิจกรรมทางกาย ครั้งที่ 1 120 14,600.00 14,600.00
17 พ.ค. 66 อบรมให้ความรู้การออกแบบกิจกรรมทางกาย ครั้งที่2 120 13,200.00 13,200.00
26 พ.ค. 66 กิจกรรมที่ 5 ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 1 14 920.00 920.00
31 พ.ค. 66 กิจกรรมที่ 14 กำหนดสถานที่เขคปลอดเหล้าและบุหรี่ 15 6,300.00 0.00
9 มิ.ย. 66 กิจกรรมที่ 7. กิจกรรมขยับทางกายเพื่อสุขภาพ (กิจกรรมทางเลือก) 160 18,600.00 18,600.00
12 มิ.ย. 66 - 30 ก.ย. 66 กิจกรรมที่ 8 ครอบครัวมีสุข (สุขภาพ+มีความสุข) 160 0.00 0.00
12 ก.ค. 66 กิจกรรมที่ 5 ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 2 14 920.00 920.00
17 ก.ค. 66 กิจกรรมที่ 9 ประชุมติดตามและประเมินผล ARE ครั้งที่ 1 25 1,750.00 1,750.00
19 ก.ค. 66 กิจกรรมที่ 11 การแข่งขันกีฬามหาสนุก 200 6,600.00 6,600.00
24 ก.ค. 66 ติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาร่วมกับหน่วยจัดการ 3 0.00 360.00
27 ก.ค. 66 กิจกรรมที่ 12 ปั่นจักรยานเพื่อสุขภาพ 120 4,600.00 4,600.00
3 ต.ค. 66 กิจกรรมที่ 5 ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 3 24 920.00 920.00
4 ต.ค. 66 กิจกรรมที่ 9 รณรงค์และประชาสัมพันธ์ให้มีกิจกรรมทางกาย 0 1,600.00 1,800.00
11 ต.ค. 66 กิจกรรมที่ 3.จัดทำข้อมูลเรื่องสถานการณ์กิจกรรมทางกาย คร้ังที่2 160 1,700.00 2,100.00
18 ต.ค. 66 กิจกรรมที่ 5 ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 4 14 920.00 920.00
20 ต.ค. 66 กิจกรรมที่ 10 เดิน-วิ่งเพื่อสุขภาพ 120 6,600.00 6,600.00
27 ต.ค. 66 กิจกรรมที่ 6 ประชุมติดตามและประเมินผล ARE ครั้งที่ 2 25 1,750.00 1,750.00
31 ต.ค. 66 กิจกรรมที่ 13 สรุปผลการดำเนินงาน 120 8,600.00 8,600.00
31 ต.ค. 66 ติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา ร่วมกับหน่วยจัดการ (ARE) ครั้งที่ 2 3 0.00 384.00
8 ธ.ค. 66 ประชุมถอดบทเรียน 2 96.00 96.00
19 ธ.ค. 66 รวมพลคน 3 วัย 20 0.00 1,664.00
19 ธ.ค. 66 รายงานความก้าวหน้ากิจกรรมผ่านระบบเว็บไซต์ 0 0.00 1,500.00

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ประชาชนและ บุคลากรในเทศบาลอ่างทองมีความรู้ และตระหนักการดูแลสุขภาพและมีกิจกรรมทางกาย อย่างน้อยร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมาย 2. มีครัวเรือนร่วมดูแลสุขภาพและมีกิจกรรทางกาย อย่างน้อยร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมาย 3. สามารถออกแบบการดูแลสุขภาพและกิจกรรทาง กายที่เหมาะสมกับวัย 4.ประชาชนมีการปรับเปลี่ยนมาดูแลสุขภาพและมี กิจกรรมเพื่อสุขภาพไม่น้อยกว่า 150 นาทีต่อสัปดาห์ อย่างน้อย ร้อยละ 80

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ก.พ. 2566 22:12 น.