directions_run

การมีส่วนร่วมของชุมชนต่อการแก้ไขปัญหาผู้กระทำความผิดในกระบวนการยุติธรรม และการเยียวยาให้กับผู้เสียหายทางอาญา : กรณีศึกษาต.ตากใบ อ.ตากใบ

แบบการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ (Process Evaluation)

กิจกรรมระยะเวลาเป้าหมาย/วิธีการผลการดำเนินงานปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
ตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริง
กิจกรรมเวทีประชุมสนทนากลุ่ม ครั้งที่ 1 และการประชุมคณะกรรมการโครงการฯ 1 ต.ค. 2560 7 ต.ค. 2560

 

กิจกรรมเวทีประชุมสนทนากลุ่ม ครั้งที่ 1 และการประชุมคณะกรรมการโครงการฯ

 

เพศ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 64.7 รองลงมาคือเพศหญิง ร้อยละ 35.3 ตามลำดับ สถานภาพ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรส ร้อยละ 70.6 รองลงมาคือโสด ร้อยละ 15.7 หย่าร้าง ร้อยละ 7.8 และอื่นๆ ได้แก่ แยกกันอยู่ เป็นต้น น้อยที่สุด ร้อยละ 5.9 ตามลำดับ ระดับความรู้ทางสามัญ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่สำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ร้อยละ 31.4 รองลงมาคือสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีขึ้นไป ร้อยละ 25.5 สำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ร้อยละ 23.5 และสำเร็จการศึกษาในระดับประถมศึกษา น้อยที่สุด ร้อยละ 19.9 ตามลำดับ ระดับความรู้ทางศาสนา กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่สำเร็จการศึกษาในระดับอิสลามตอนปลาย (ซานาวีห์) ร้อยละ 43.1 รองลงมาคือสำเร็จการศึกษาในการศึกษาระดับอิสลามตอนกลาง (มุตาวะซิตห์) ร้อยละ 31.4 สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี (กุลลียะห์) ร้อยละ 11.8 สำเร็จการศึกษาในระดับอิสลามตอนต้น (อิบติดาอีห์) ร้อยละ 9.8 และสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโทขึ้นไป น้อยที่สุด ร้อยละ 3.9 ตามลำดับ
การดำรงตำแหน่งอื่นในเขตชุมชน กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่ได้ดำรงตำแหน่งอื่นใดอีกในชุมชน ร้อยละ 45.1 รองลงมาคือดำรงตำแหน่งอื่นๆ ได้แก่ ครูสอนตาดีกา ทีมชุดรักษาความสงบหมู่บ้าน ประธานกรรมการชุมชน คณะกรรมการชุมชน และเจ้าหน้าที่ทำงานในองค์การบริหารส่วนตำบล ร้อยละ 37.3 ครูโรงเรียนเอกชนสอนศาสนา ร้อยละ 9.8 สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล น้อยที่สุด ร้อยละ 7.8 ตามลำดับ อาชีพ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง ร้อยละ 49.0 รองลงมาคือประกอบอาชีพอื่นๆ ได้แก่ ทำธุรกิจส่วนตัว ทำไร่ และทำสวนร้อยละ 29.4 ประกอบอาชีพค้าขาย ร้อยละ 15.7และประกอบอาชีพราชการน้อยที่สุด ร้อยละ 9.9 ตามลำดับ อายุ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุมากที่สุด 69 ปี รองลงมาคืออายุน้อยที่สุด 21 ปี ตามลำดับ ฐานะทางเศรษฐกิจหรือรายได้ต่อเดือนจากการประกอบอาชีพ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีรายได้จากการประกอบอาชีพที่เป็นรายเดือนและกรณีที่ไม่มีรายได้ต่อเดือนโดยประมาณการ มากที่สุดประมาณ 35,000 บาท และรองลงมาคือน้อยที่สุดประมาณ 5,000 บาท ตามลำดับ อาชญากรรมเกิดบ่อยที่สุด  ส่วนใหญ่อาชญากรรมเกิดบ่อยที่สุด พบว่าลักทรัพย์ ร้อยละ 41.2  รองลงมาคือทำลายทรัพย์ ร้อยละ 25.5 ทำร้ายร่างกาย ร้อยละ 21.6 ข่มขู่ ร้อยละ 7.8 และอื่น ๆ คือ คดีความมั่นคงของรัฐ วิ่งราวทรัพย์ ยิงกัน ตัดต้นไม้ของบุคคลอื่น  เป็นต้น น้อยที่สุด ร้อยละ 3.9 ตามลำดับ สิ่งที่ต้องการจากการเยียวยามาก  ส่วนใหญ่สิ่งที่ต้องการจากการเยียวยามาก พบว่าให้กำลังต่อจิตใจ/ความช่วยเหลือจากรัฐ ร้อยละ 33.3  รองลงมาคือการได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการ ร้อยละ 31.4 การให้เงินช่วยเหลือ ร้อยละ 25.5 และให้ของทดแทน น้อยที่สุด ร้อยละ 9.8 ตามลำดับ


การมีส่วนร่วมของชุมชนต่อการแก้ไขปัญหาผู้กระทำความผิดในกระบวนการยุติธรรมและการเยียวยาให้กับผู้เสียหายทางอาญาในตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส จากการสัมภาษณ์ด้วยการสนทนากลุ่มกับโต๊ะอิหม่ามและคณะกรรมการมัสยิด ประธานชุมชน และประชาชนในชุมชน รวมทั้งตัวแทนหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง ต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนในการแก้ไขปัญหาผู้กระทำความผิดในกระบวนการยุติธรรมและการเยียวยาให้กับผู้เสียหายทางอาญาในตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส มีประเด็นดังนี้

1 บทบาทของยุติธรรมชุมชนในการแก้ไขปัญหาผู้กระทำความผิดในกระบวนการยุติธรรมและการเยียวยาให้กับผู้เสียหายทางอาญาในตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส การสัมภาษณ์ด้วยการสนทนากลุ่มกับโต๊ะอิหม่ามและคณะกรรมการมัสยิด ประธานชุมชน และประชาชนในชุมชน รวมทั้งตัวแทนหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง พบว่า ภารกิจของยุติธรรมชุมชน เพื่อนำไปสู่การจัดระบบของภารกิจงานที่ภาครัฐ หรือภาคประชาชนเข้าไปดำเนินการในชุมชน ได้ดังนี้ 1) การเสริมพลัง คือการกระตุ้นให้ประชาชนซึ่งมีความรู้ ศักยภาพ ประสบการณ์ ตลอดจนภูมิปัญญาท้องถิ่นได้นำสิ่งเหล่านี้ขึ้นมาจัดการปัญหาอาชญากรรม หรือความขัดแย้ง หรือปัญหาใดๆ ที่เกิดขึ้นและเยียวยาให้กับผู้เสียหายทางอาญาในตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส 2) การป้องกันปัญหาอาชญากรรม และการกระทำผิดทางอาญา คือการกระทำใดๆ ที่เป็นการนำไปสู่การลด ละ เลิก หยุดยั้งในด้านการกระทำความผิดต่างๆ ที่ไม่ใช่อาชญากรรม เช่น การเกี่ยวข้องกับยาเสพติด การดื่มสุราและทำความเสียหาย หรือในด้านการกระทำผิดทางอาชญากรรมต่างๆ เป็นต้น ในตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส 3) การเยียวยา คือการชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากอาชญากรรม หรือการกระทำผิดกฎเกณฑ์ กติกาสังคมในการเยียวยาให้กับผู้เสียหายทางอาญาในตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส รวมทั้งการบรรเทาผลร้ายที่เกิดขึ้นกับทุกฝ่าย ได้แก่ ผู้เสียหาย ผู้กระทำผิด และชุมชนเอง 4) การจัดการความขัดแย้ง คือการกระทำใดๆ ที่ทำให้ข้อขัดแย้ง การทะเลาะวิวาท การไม่เข้าใจกันและพฤติกรรมที่นำไปสู่ความรุนแรง ลดน้อยลงและหายไปในที่สุดโดยคู่กรณีทั้งสองฝ่ายมีความเข้าใจกัน มีการชดใช้หรือบรรเทาความเสียหายที่เกิดขึ้น โดยโต๊ะอิหม่ามและคณะกรรมการมัสยิด ประธานชุมชน ประชาชนในชุมชนและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องได้พยายามส่งเสริมบทบาทของประชาชนตามหลักยุติธรรมชุมชนด้วยการส่งเสริมการจัดให้มีการรวมตัวเป็นเครือข่ายที่เรียกว่า “เครือข่ายยุติธรรมชุมชน” และได้ส่งเสริมให้เครือข่ายภาคประชาชนในตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาสมีบทบาทที่เป็นรูปธรรมหลายประการ เช่น - บทบาทในการช่วยดูแลให้คำแนะนำและแก้ปัญหาในเบื้องต้นกับผู้ที่ถูกละเมิดสิทธิและเสรีภาพ หรือต้องการคำแนะนำเบื้องต้นทางด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม - บทบาทในการลดข้อพิพาท และความขัดแย้งในชุมชน - บทบาทในการป้องกันอาชญากรรมต่างๆ ในชุมชน - บทบาทในการแจ้งข่าว แจ้งเบาะแส และให้ความร่วมมือในงานด้านนิติวิทยาศาสตร์

  • บทบาทในการเฝ้าระวัง แจ้งข่าว และแจ้งเบาะแสทางคดีความหรือกระทำความผิดกฎหมายใดๆ
  • บทบาทในการให้โอกาส แก้ไข ฟื้นฟู ช่วยเหลือ และสงเคราะห์ผู้กระทำความผิดและการเยียวยาให้กับผู้เสียหายทางอาญาในตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
  • บทบาทในการจัดการให้ความช่วยเหลือดูแลผู้ที่ได้รับความเสียหายและผลกระทบจากอาชญากรรมและการเยียวยาให้กับผู้เสียหายทางอาญาในตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
  • บทบาทในการจัดตั้งและดำเนินการใน “ศูนย์ยุติธรรมชุมชน” เพื่อเป็นจุดเชื่อมโยง ของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมในในตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
  • บทบาทในการเป็นแนวร่วมของกระบวนการยุติธรรมที่จะร่วมกับหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมในการดำเนินกิจกรรมรูปแบบต่างๆ ที่เป็นการเสริมสร้างความยุติธรรม ความเป็นธรรม และความสงบสุขในตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส

2  การมีส่วนร่วมของชุมชนร่วมกันหามาตรการต่อการป้องกันผู้กระทำความผิดในกระบวนการยุติธรรมและการเยียวยาให้กับผู้เสียหายทางอาญา ในตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ    จังหวัดนราธิวาส การสัมภาษณ์ด้วยการสนทนากลุ่มกับโต๊ะอิหม่ามและคณะกรรมการมัสยิด ประธานชุมชน และประชาชนในชุมชน รวมทั้งตัวแทนหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง พบว่า มาตรการในการป้องกันปัญหาผู้กระทำความผิดในกระบวนการยุติธรรมและการเยียวยาให้กับผู้เสียหายทางอาญา ในตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบดังนี้ 1) เรื่องการจัดทีมชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้านร่วมกับประชาชนที่มีจิตอาสา ซึ่งเป็นวิธีการที่มุ่งช่วยเป็นหูเป็นตาแทนกันในระหว่างที่ประชาชนทำธุระที่อื่น หรือต่างถิ่น โดยเฉพาะเมื่อไม่มีคนดูแลบ้าน ซึ่งนอกจากประชาชนเพื่อนบ้านจะเป็นหลักในการช่วยเอาใจใส่ดูแลเคหสถานแล้ว ยังสามารถร้องขอทีมชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน เพื่อสนับสนุนการดูแลของประชาชนเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะการเกิดปัญหาเหตุการณ์สร้างสถานการณ์หรือความรุนแรงขึ้น หรือการลักทรัพย์สินขึ้นบ้านในเวลากลางคืน เป็นต้น เพื่อป้องกัน คลี่คลายและแก้ไขความไม่สงบและอาชญากรรมทั่วไปด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในหมู่บ้านตำบลของตนเอง และเพื่อการยับยั้งผู้ที่มีแนวโน้มจะกระทำการให้เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบและอาชญากรรมทั่วไป เนื่องจากความเกรงกลัวการจับกุมของทีมชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้านตำบล ฉะนั้น การจัดทีมชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้านร่วมกับประชาชนที่มีจิตอาสาในชุมชนดังกล่าว มีหน้าที่ในการตรวจหมู่บ้านตำบลดังกล่าวโดยสม่ำเสมอต่อเนื่องจากการกำหนดพื้นที่รับผิดชอบของประชาชน โต๊ะอิหม่ามและคณะกรรมการมัสยิด ประธานชุมชน และผู้ใหญ่บ้าน ในการป้องกันความไม่สงบและอาชญากรรมทั่วไปด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน


2) ให้มีสายตรวจของฝ่ายปกครองร่วมกับประชาชนที่มีอายุ 20 ปี ขึ้นไปดูแลความสงบเรียบร้อยในหมู่บ้าน ในตำบลเจ๊ะเห โดยจัดให้มีขึ้นในการจัดการหมุนเวียน เพื่อรับผิดชอบตรวจตราในเขตพื้นที่ของตน นอกจากการทำหน้าที่สายตรวจบ้านเรือน เคหสถาน หรือสถานที่ที่ผิดจากสภาวะปกติแล้ว สายตรวจฝ่ายปกครองร่วมกับประชาชนดูแลความสงบเรียบร้อยในหมู่บ้าน ตำบลเจ๊เห ในแต่ละวันใช้เวลาในการดูแลเป็น 3 ช่วงๆ ละ 8 ชั่วโมง ได้แก่ ช่วงเช้า ช่วงเย็น และช่วงกลางคืน ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวจะให้อำนวยความสะดวกความเรียบร้อยแก่ประชาชนในหมู่บ้าน ตำบลเจ๊เห โดยมีเป้าหมายร่วมกันของสายตรวจของฝ่ายปกครองร่วมกับประชาชนดูแลความสงบเรียบร้อยในหมู่บ้าน ตำบลเจ๊เห ก็คือ ช่วยให้มีความปลอดภัยจากอาชญากรรมทั่วไปที่มีต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนมากที่สุด ทั้งนี้ ทำให้เกิดการส่งเสริมความสัมพันธ์ และความอบอุ่นภายในหมู่บ้าน ตำบลเจ๊เห ดังนั้น เมื่อสายตรวจของฝ่ายปกครองร่วมกับประชาชนดูแลความสงบเรียบร้อยในหมู่บ้าน ตำบลดังกล่าวได้ตรวจพบสถานการณ์ที่น่าสงสัยเกิดขึ้นในบริเวณใดจะแจ้งเหตุดังกล่าวให้กับโต๊ะอิหม่ามและคณะกรรมการมัสยิด ประธานชุมชน โดยไม่ชักช้า หลังจากนั้น ผู้ใหญ่บ้านจะเร่งมาถึงสถานที่เกิดเหตุพร้อมรับการให้ข้อมูลดังกล่าวของฝ่ายปกครองดูแลความสงบเรียบร้อยในหมู่บ้าน เพื่อให้ผู้ใหญ่บ้าน ได้มีการตัดสินใจร่วมกับประชาชนในการแก้ปัญหาไปในทิศทางใดแล้ว ฝ่ายปกครองดูแลความสงบเรียบร้อยในหมู่บ้าน จะดำเนินการตามแผนและขั้นตอนที่ได้มีการตัดสินใจของผู้นำดังกล่าวร่วมกับประชาชน เพื่อให้เกิดความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในหมู่บ้านและตำบลดังกล่าว เป็นสำคัญ 3) ให้ประชาชนเพื่อนบ้านแจ้งเหตุไม่ปกติและภัยกันเอง อันเป็นมาตรการหนึ่งจากหลายมาตรการของการป้องกันอาชญากรรมทั่วไปด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในหมู่บ้าน ตำบลเจ๊เห ที่อาศัยความร่วมมือร่วมใจของประชาชนในหมู่บ้าน ช่วยกันสอดส่องและแจ้งเหตุไม่ปกติและภัยพฤติกรรมบุคคล และยานพาหนะที่ต้องสงสัย ไปยังประชาชน โต๊ะอิหม่ามและคณะกรรมการมัสยิด ประธานชุมชน รวมทั้งผู้ใหญ่บ้าน ในหมู่บ้าน ตำบลของตนเอง ด้วยวิธีการทางโทรทรัพย์ หรือไลน์  ดังนั้น ประชาชนเพื่อนบ้านจะแจ้งเหตุไม่ปกติและเตือนภัยจึงทำให้ช่วยเพิ่มความเข้าใจและความร่วมมือระหว่างประชาชนกับโต๊ะอิหม่ามและคณะกรรมการมัสยิด ประธานชุมชน และผู้ใหญ่บ้าน ในการป้องกันความปลอดภัยแก่ทรัพย์สินตลอดจนชีวิตร่างกายของประชาชนในหมู่บ้าน ตำบลดังกล่าว ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเสริมสร้างความสามัคคีระหว่างกัน และการดำเนินกิจกรรมที่มีเป้าหมายร่วมกัน และเพื่อป้องกันและแก้ไขอาชญากรรมทั่วไปด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในหมู่บ้าน ตำบลเจ๊ะเห ได้ 4) มีมาตรการในการจัดโครงการสร้างเสริมความปลอดภัยในหมู่บ้านตำบลดังกล่าวของตนเองให้มีความปลอดภัยในทุกๆ ด้าน ดังตัวอย่างของโครงการให้ความปลอดภัยหมู่บ้าน ซึ่งเป็นโครงการสร้างเสริมความปลอดภัยของหมู่บ้านที่กำหนดพื้นที่ความปลอดภัยจากอาชญากรรมทั่วไป และปัญหาสารเสพติด เป็นต้น โดยมีการดำเนินงานในรูปแบบของจัดตั้งจุดตรวจความไม่ปลอดภัยและเป็นจุดเสี่ยงต่อการเกิดเหตุการณ์กระทำความผิดต่อกฎหมายอาญาและกฎหมายอื่นๆ เป็นต้น





 

กิจกรรมเวทีประชุมสนทนากลุ่ม ครั้งที่ 4 และการประชุมคณะกรรมการโครงการฯ 7 ธ.ค. 2560 7 ธ.ค. 2560

 

กิจกรรมเวทีประชุมสนทนากลุ่ม ครั้งที่ 4 และการประชุมคณะกรรมการโครงการฯ

 

การดำเนินโครงการเรื่องการมีส่วนร่วมของชุมชนต่อการแก้ไขปัญหาผู้กระทำความผิดในกระบวนการยุติธรรมและการเยียวยาให้กับผู้เสียหายทางอาญา : กรณีศึกษาตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส เป็นการจัดประชุมเวทีสนทนากลุ่มพร้อมกับการสัมภาษณ์ จำนวน 3 ครั้ง เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ตลอดจนการจัดประชุมเวทีนำเสนอผลการดำเนินโครงการสู่สาธารณะ อันเป็นองค์ความรู้ยุติธรรมชุมชนเบื้องต้นนำสู่ประชาชน สำหรับบทนี้ คณะผู้บริหารโครงการจะนำมาสรุปผล และแนวทางแก้ไขจากผลการดำเนินโครงการ ตามลำดับ ดังนี้

1.ข้อคิดเห็น
1.1ปัจจัยระดับบุคคลของกลุ่มตัวอย่าง ปัจจัยระดับบุคคลของกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ข้อมูลเกี่ยวกับเพศ สถานภาพ อายุ ระดับความรู้ทางสามัญ ระดับความรู้ทางศาสนา การดำรงตำแหน่งอื่นในชุมชน สถานภาพในชุมชน อาชีพ และฐานะทางเศรษฐกิจ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ เพศ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย รองลงมาคือเพศหญิง ตามลำดับ สถานภาพ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรส รองลงมาคือโสด หย่าร้าง และอื่นๆ ได้แก่ แยกกันอยู่ เป็นต้น ตามลำดับ ระดับความรู้ทางสามัญ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่สำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย รองลงมาคือสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีขึ้นไป สำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและสำเร็จการศึกษาในระดับประถมศึกษา ตามลำดับ ระดับความรู้ทางศาสนา กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่สำเร็จการศึกษาในระดับอิสลามตอนปลาย (ซานาวีห์) รองลงมาคือสำเร็จการศึกษาในการศึกษาระดับอิสลามตอนกลาง (มุตาวะซิตห์) สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี (กุลลียะห์) สำเร็จการศึกษาในระดับอิสลามตอนต้น (อิบติดาอีห์) และสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโทขึ้นไป ตามลำดับ การดำรงตำแหน่งอื่นในเขตชุมชน กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่ได้ดำรงตำแหน่งอื่นใดอีกในชุมชน รองลงมาคือดำรงตำแหน่งอื่นๆ ได้แก่ ครูสอนตาดีกา ทีมชุดรักษาความสงบหมู่บ้าน ประธานกรรมการชุมชน คณะกรรมการชุมชน และเจ้าหน้าที่ทำงานในองค์การบริหารส่วนตำบล ครูโรงเรียนเอกชนสอนศาสนา สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล ตามลำดับ อาชีพ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง รองลงมาคือประกอบอาชีพอื่นๆ ได้แก่ ทำธุรกิจส่วนตัว ทำไร่ และทำสวน ประกอบอาชีพค้าขาย และประกอบอาชีพราชการน้อยที่สุดตามลำดับ อายุ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุมากที่สุด 69 ปี รองลงมาคืออายุน้อยที่สุด 21 ปี ตามลำดับ ฐานะทางเศรษฐกิจหรือรายได้ต่อเดือนจากการประกอบอาชีพ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีรายได้จากการประกอบอาชีพที่เป็นรายเดือนและกรณีที่ไม่มีรายได้ต่อเดือนโดยประมาณการ มากที่สุดประมาณ 35,000 บาท และรองลงมาคือน้อยที่สุดประมาณ 5,000 บาท ตามลำดับ อาชญากรรมเกิดบ่อยที่สุดส่วนใหญ่อาชญากรรมเกิดบ่อยที่สุด พบว่าลักทรัพย์ รองลงมาคือทำลายทรัพย์ ทำร้ายร่างกาย ข่มขู่ และอื่น ๆ คือ คดีความมั่นคงของรัฐ วิ่งราวทรัพย์ ยิงกัน ตัดต้นไม้ของบุคคลอื่น เป็นต้น ตามลำดับ สิ่งที่ต้องการจากการเยียวยามากส่วนใหญ่สิ่งที่ต้องการจากการเยียวยามาก พบว่าให้กำลังต่อจิตใจ/ความช่วยเหลือจากรัฐ รองลงมาคือการได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการ การให้เงินช่วยเหลือ และให้ของทดแทน ตามลำดับ

1.2การมีส่วนร่วมของชุมชนต่อการแก้ไขปัญหาผู้กระทำความผิดในกระบวนการยุติธรรมและการเยียวยาให้กับผู้เสียหายทางอาญาในตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส จากการสัมภาษณ์ด้วยการสนทนากลุ่มกับโต๊ะอิหม่ามและคณะกรรมการมัสยิด ประธานชุมชน และประชาชนในชุมชน รวมทั้งตัวแทนหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง ต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนในการแก้ไขปัญหาผู้กระทำความผิดในกระบวนการยุติธรรมและการเยียวยาให้กับผู้เสียหายทางอาญาในตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส มีประเด็นดังนี้
1) บทบาทของยุติธรรมชุมชนในการแก้ไขปัญหาผู้กระทำความผิดในกระบวนการยุติธรรมและการเยียวยาให้กับผู้เสียหายทางอาญาในตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส พบว่า ภารกิจของยุติธรรมชุมชน เพื่อนำไปสู่การจัดระบบของภารกิจงานที่ภาครัฐ หรือภาคประชาชนเข้าไปดำเนินการในชุมชน คือการเสริมพลัง การป้องกันปัญหาอาชญากรรม และการกระทำผิดทางอาญา การเยียวยา คือการชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากอาชญากรรม การจัดการความขัดแย้ง รวมทั้งมีบทบาทของยุติธรรมชุมชนในการแก้ไขปัญหาผู้กระทำความผิดในกระบวนการยุติธรรมและการเยียวยาให้กับผู้เสียหายทางอาญาที่เป็นรูปธรรมหลายประการ ได้แก่ - บทบาทในการช่วยดูแลให้คำแนะนำและแก้ปัญหาในเบื้องต้นกับผู้ที่ถูกละเมิดสิทธิและเสรีภาพ หรือต้องการคำแนะนำเบื้องต้นทางด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม - บทบาทในการลดข้อพิพาท และความขัดแย้งในชุมชน - บทบาทในการป้องกันอาชญากรรมต่างๆ ในชุมชน - บทบาทในการแจ้งข่าว แจ้งเบาะแส และให้ความร่วมมือในงานด้านนิติวิทยาศาสตร์ - บทบาทในการเฝ้าระวัง แจ้งข่าว และแจ้งเบาะแสทางคดีความหรือกระทำความผิดกฎหมายใดๆ - บทบาทในการให้โอกาส แก้ไข ฟื้นฟู ช่วยเหลือ และสงเคราะห์ผู้กระทำความผิดและการเยียวยาให้กับผู้เสียหายทางอาญา - บทบาทในการจัดการให้ความช่วยเหลือดูแลผู้ที่ได้รับความเสียหายและผลกระทบจากอาชญากรรมและการเยียวยาให้กับผู้เสียหายทางอาญา - บทบาทในการจัดตั้งและดำเนินการใน “ศูนย์ยุติธรรมชุมชน” เพื่อเป็นจุดเชื่อมโยง ของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม - บทบาทในการเป็นแนวร่วมของกระบวนการยุติธรรมที่จะร่วมกับหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมในการดำเนินกิจกรรมรูปแบบต่างๆ ที่เป็นการเสริมสร้างความยุติธรรม ความเป็นธรรม และความสงบสุข

2)การมีส่วนร่วมของชุมชนร่วมกันหามาตรการต่อการแก้ไขปัญหาผู้กระทำความผิดในกระบวนการยุติธรรมและการเยียวยาให้กับผู้เสียหายทางอาญา ในตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส พบว่า มาตรการในการแก้ไขปัญหาผู้กระทำความผิดในกระบวนการยุติธรรมและการเยียวยาให้กับผู้เสียหายทางอาญา ในตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ คือ1) เรื่องการจัดทีมชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้านร่วมกับประชาชนที่มีจิตอาสา2) ให้มีสายตรวจของฝ่ายปกครองร่วมกับประชาชนที่มีอายุ 20 ปี ขึ้นไปดูแลความสงบเรียบร้อยในหมู่บ้าน ในตำบล3) ให้ประชาชนเพื่อนบ้านแจ้งเหตุไม่ปกติและภัยกันเอง 4) มีมาตรการในการจัดโครงการสร้างเสริมความปลอดภัยในหมู่บ้านตำบลดังกล่าวของตนเองให้มีความปลอดภัยในทุกๆ ด้าน

3) มีวิธีในการแก้ไขปัญหาผู้กระทำความผิดในกระบวนการยุติธรรมและการเยียวยาให้กับผู้เสียหายทางอาญาในตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส พบว่าวิธีในการแก้ไขปัญหาผู้กระทำความผิดในกระบวนการยุติธรรมและการเยียวยาให้กับผู้เสียหายทางอาญาในตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ คือ (1) ประชาชนมีส่วนร่วมกับโต๊ะอิหม่ามและคณะกรรมการมัสยิด ประธานชุมชนและผู้ใหญ่บ้าน ติดต่อ และประสานงานกับผู้ปกครอง หรือญาติสนิท หรือผู้ที่สามารถไว้วางใจได้ เพื่อเจราจาพามามอบตัวต่อทางการอำเภอ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐที่เกี่ยวข้อง โดยมีเงื่อนไขว่าจะให้ความเป็นธรรมและความยุติธรรมทุกฝ่าย จะดำเนินการใช้กระบวนการสันติวิธีเป็นหลักด้วยการเยียวยาที่เหมาะกับผู้เสียหายทางอาญาในการแก้ไขปัญหาคดีอาญาดังกล่าวในหมู่บ้าน ตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ
(2) หากจับกุมผู้กระทำความผิดอาญาดังกล่าวได้ ซึ่งโต๊ะอิหม่ามคณะกรรมการมัสยิด ประธานชุมชน ประชาชนในชุมชน ร่วมกับผู้ใหญ่บ้าน จะดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าว ด้วยวิธีการประนีประนอมยอมความกันระหว่างผู้กระทำความผิดกับประชาชนผู้เสียหาย ซึ่งจะไม่นำส่งให้แก่เจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือพนักงานสอบสวนดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย แต่จะดำเนินการตามขั้นตอนของกระบวนการสันติวิธีในหมู่บ้านดังกล่าว โดยร่วมกันแก้ปัญหาดังกล่าวด้วยการการเจราจา ไกล่เกลี่ย ตกลงให้ชดใช้ค่าเสียหาย หรือค่าสินไหมทดแทนให้กับผู้เสียหายตามความเหมาะสมและใช้หลักความยุติธรรมชุมชนให้เกิดความยุติธรรมทั้งสองฝ่าย

4) ปัจจัยเงื่อนไขสำคัญที่ผลักดันให้ยุติธรรมชุมชนในการแก้ไขปัญหาผู้กระทำความผิดในกระบวนการยุติธรรมและการเยียวยาให้กับผู้เสียหายทางอาญาเกิดความสำเร็จในสังคมตำบลเจ๊ะเห ตำบลตากใบ จังหวัดนราธิวาส พบว่าปัจจัยเงื่อนไขสำคัญที่ผลักดันให้ยุติธรรมชุมชนในการแก้ไขปัญหาผู้กระทำความผิดในกระบวนการยุติธรรมและการเยียวยาให้กับผู้เสียหายทางอาญาเกิดความสำเร็จในสังคมตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส สรุปได้คือ1) ปัจจัยเงื่อนไขเชิงนโยบายอาญาและทิศทางการพัฒนาระบบงานยุติธรรมแห่งอนาคต 2) ปัจจัยเงื่อนไขด้านการบริหารจัดการระบบยุติธรรมรัฐต้องให้ความสำคัญ “ยุติธรรมชุมชน” 3) ปัจจัยเงื่อนไขเกี่ยวกับสารัตถะของ “ยุติธรรมชุมชน” โดยกรอบและสารัตถะของ “ยุติธรรมชุมชน” ต้องชัดเจนและเหมาะสมกับ “ชุมชน” และ “ภูมิสังคม4) ปัจจัยเงื่อนไขเชิงคุณลักษณะของชุมชน และ 5) ปัจจัยเงื่อนไขว่าด้วยกฎหมาย สามารถใช้กฎหมายให้เกิดสัมฤทธิ์ผลในการยุติธรรมชุมชนได้ในทุก

5) การมีส่วนร่วมของชุมชนต่อการแก้ไขปัญหาผู้กระทำความผิดในการเยียวยาให้กับผู้เสียหายทางอาญาตำบลเจ๊ะเห ตำบลตากใบ จังหวัดนราธิวาส พบว่าชุมชนมีบทบาทสำคัญต่อการช่วยเหลือผู้เสียหายหรือเหยื่ออาชญากรรมในการใช้สิทธิดําเนินคดีแพ่งและคดีอาญากับผู้กระทําความผิด เพื่อให้มีการชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ตนเองจากการกระทําผิดกฎหมายทางอาญาได้ หรือเหยื่ออาชญากรรมที่จะฟ้องผู้กระทําผิดต่อศาล เพื่อนําผู้กระทําผิดมาลงโทษทางอาญาตามกฎหมาย อีกทั้งมีสิทธิฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญาเรียกค่าเสียหายจากผู้กระทําผิดเหยื่ออาชญากรรมที่สูญเสียทรัพย์สินเนื่องจากการกระทําความผิดของผู้กระทําความผิด สิ่งเหล่านี้จะมีความสําคัญและเป็นแนวความคิดหลักที่สําคัญอยางยิ่งในการดําเนินกระบวนการยุติธรรมตามแนวทางสันติวิธีในชุมชน โดยวิธีของการดําเนินกระบวนการยุติธรรมตามแนวทางสันติวิธีที่ต้องการให้ทุกฝ่าย หรือชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากอาชญากรรมได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาร่วมกนเพื่อให้เกิดสันติสุขขึ้นในตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
สำหรับการมีส่วนร่วมของชุมชนต่อการแก้ไขปัญหาผู้กระทำความผิดในการเยียวยาให้กับผู้เสียหายทางอาญาตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส ในเรื่องรูปแบบของการชดใช้ค่าเสียหายรูปแบบการชดใช้ค่าเสียหายของผู้กระทําความผิดควรต้องมี 3 รูปแบบ คือ 1) การชดใช้ค่าเสียหายทางจิตใจ 2) การชดใช้ค่าเสียหายแบบสร้างสรรค์ความรับผิดชอบ ซึ่งเป็นการหลีกเลี่ยงให้สู่กระบวนการยุติธรรมทางศาล 3) การชดใช้ค่าเสียหายโดยสมัครใจของผู้กระทําผิด
6)ปัจจัยที่ทำให้ยุติธรรมชุมชนไม่มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาผู้กระทำความผิดในกระบวนการยุติธรรมและการเยียวยาให้กับผู้เสียหายทางอาญาในหมู่บ้านในตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ
พบว่า เนื่องด้วยพระราชบัญญัติความมั่นคง ระดับความรู้ทางการศึกษา ภาวะความเป็นผู้นำ (บางคน) การกล่าวอ้างว่าเลือกปฏิบัติในการตัดสินปัญหา และบางส่วนของประชาชนไม่ให้ความร่วมมือต่อโต๊ะอิหม่ามและคณะกรรมการมัสยิด ประธานชุมชน และผู้ใหญ่บ้าน เป็นต้น ปรากฏข้อเท็จจริงว่าประชาชนบางส่วนในพื้นที่ดังกล่าวมองว่า ผู้ใหญ่บ้านถือว่าเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐส่วนกลางผ่านราชการส่วนภูมิภาคเป็นกลุ่มเดียวกันกับหน่วยงานของความมั่นคงของรัฐ คือเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ ส่งผลต่อการเกิดความไม่ไว้วางใจของประชาชนทั่วไปส่วนหนึ่งและประชาชนที่มีความคิดเห็นต่างจากรัฐ จึงทำให้ประชาชนสองกลุ่มดังกล่าวเกิดความหวาดระแวงและความไม่เข้าใจกันต่อผู้ใหญ่บ้านเอง และเจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่ดังกล่าว และอีกประการหนึ่งเกิดจากความไม่ไว้วางใจของเจ้าหน้าที่ตำรวจต่อโต๊ะอิหม่ามและคณะกรรมการมัสยิด ประธานชุมชน และผู้ใหญ่บ้านที่มองว่าเป็นกลุ่มเดียวกันกับผู้มีความคิดเห็นเห็นต่างจากรัฐเป็นฝ่ายตรงข้าม และอีกประเด็นที่สำคัญอย่างยิ่งคือ การไม่ให้ความร่วมมือของประชาชนส่วนหนึ่งที่มีความคิดเห็นต่างจากรัฐที่มองว่า ผู้ใหญ่บ้าน ประธานชุมชนและเจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นกลุ่มเดียวกัน และขณะเดียวกันความไม่ไว้วางใจของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่มีต่อโต๊ะอิหม่ามและคณะกรรมการมัสยิด ประธานชุมชน รวมถึงผู้ใหญ่บ้านที่มองว่าเป็นกลุ่มเดียวกันกับผู้ที่มีความเห็นต่างจากรัฐเป็นฝ่ายตรงข้าม จึงทำให้กระทบต่อการแก้ไขปัญหาผู้กระทำความผิดในกระบวนการยุติธรรมและการเยียวยาให้กับผู้เสียหายทางอาญาในหมู่บ้านในตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบสู่สังคมสันติสุขที่จะทำให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานของทุกฝ่าย

2.ข้อเสนอแนะ หรือแนวทางแก้ไขจากผลของการดำเนินโครงการดังกล่าวต่อชุมชนและชุมชนอื่นๆ นำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาผู้กระทำความผิดในกระบวนการยุติธรรมและการเยียวยาให้กับผู้เสียหายทางอาญา
2.1 ชุมชนควรนำมาตรการในป้องกันปัญหาผู้กระทำความผิดในกระบวนการยุติธรรมและการเยียวยาให้กับผู้เสียหายทางอาญา คือ 1) เรื่องการจัดทีมชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้านร่วมกับประชาชนที่มีจิตอาสา2) ให้มีสายตรวจของฝ่ายปกครองร่วมกับประชาชนที่มีอายุ 20 ปี ขึ้นไปดูแลความสงบเรียบร้อยในหมู่บ้านและตำบล3) ให้ประชาชนเพื่อนบ้านแจ้งเหตุไม่ปกติและภัยกันเอง และ 4) การจัดโครงการสร้างเสริมความปลอดภัยในหมู่บ้านตำบลของตนเองให้มีความปลอดภัยในทุกๆ ด้าน
2.2 ชุมชนควรมีวิธีในการแก้ไขปัญหาผู้กระทำความผิดในกระบวนการยุติธรรมและการเยียวยาให้กับผู้เสียหายทางอาญาในตำบล คือชุมชนต้องมีส่วนร่วมประกอบด้วยโต๊ะอิหม่ามและคณะกรรมการมัสยิด ประธานชุมชน ประชาชนและผู้ใหญ่บ้าน ติดต่อ และประสานงานกับผู้ปกครอง หรือญาติสนิท หรือผู้ที่สามารถไว้วางใจได้ โดยมีเงื่อนไขว่าจะให้ความเป็นธรรมและความยุติธรรมทุกฝ่าย โดยใช้กระบวนการสันติวิธีเป็นหลักด้วยการเยียวยาที่เหมาะกับผู้เสียหายทางอาญา ซึ่งร่วมกันแก้ปัญหาดังกล่าวด้วยการการเจราจา ไกล่เกลี่ย ตกลงให้ชดใช้ค่าเสียหาย หรือค่าสินไหมทดแทนให้กับผู้เสียหายตามความเหมาะสมและใช้หลักความยุติธรรมชุมชนให้เกิดความยุติธรรมทั้งสองฝ่าย 2.3 การมีส่วนร่วมของชุมชนต่อการแก้ไขปัญหาผู้กระทำความผิดในการเยียวยาให้กับผู้เสียหายทางอาญา ควรต้องมีรูปแบบของการชดใช้ค่าเสียหายรูปแบบการชดใช้ค่าเสียหายของผู้กระทําความผิดด้วย 3 รูปแบบ คือ 1) การชดใช้ค่าเสียหายทางจิตใจ 2) การชดใช้ค่าเสียหายแบบสร้างสรรค์ความรับผิดชอบ ซึ่งเป็นการหลีกเลี่ยงให้สู่กระบวนการยุติธรรมทางศาล 3) การชดใช้ค่าเสียหายโดยสมัครใจของผู้กระทําผิด
2.4 เมื่อเกิดเหตุการณ์อาชญากรรมทั่วไปขึ้น ชุมชนควรต้องมีส่วนร่วมประกอบด้วยโต๊ะอิหม่ามและคณะกรรมการมัสยิด ประธานชุมชน ประชาชนในชุมชน และผู้ใหญ่บ้านและตัวแทนหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ใช้กระบวนการสันติวิธีในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวที่เกิดขึ้นกับผู้กระทำผิดอาญา โดยหลีกเลี่ยงการใช้กระบวนการทางศาลยุติธรรมทางอาญาเป็นการแก้ปัญหาดังกล่าวแทน
2.5 การปรากฏภาพของการเกิดความเข้มแข็งของประชาชนในพื้นที่เกิดจากทั้งสองฝ่ายระหว่างโต๊ะอิหม่ามและคณะกรรมการมัสยิด ประธานชุมชน และผู้ใหญ่บ้าน รวมทั้งตัวแทนหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง กับประชาชนในหมู่บ้านและตำบลเกิดความร่วมมือ และประสานงานกันได้ดี ในการแก้ไขปัญหาผู้กระทำความผิดในกระบวนการยุติธรรมและการเยียวยาให้กับผู้เสียหายทางอาญาในตำบล

2.6 ชุมชนต้องมีส่วนร่วมประกอบด้วยโต๊ะอิหม่ามและคณะกรรมการมัสยิด ประธานชุมชน ประชาชนในชุมชน และผู้ใหญ่บ้าน รวมทั้งตัวแทนหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง ในพื้นที่ควรมีมาตรการหรือแนวทาง และสร้างเสริมความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนให้เกิดขึ้น หรืออาจมีกระบวนการสร้างเสริมความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนโดยมีขั้นตอน ลำดับและรูปแบบของการดำเนินงาน หรือการจัดกิจกรรมสร้างเสริมความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนที่ยึดหลักการร่วมแรงร่วมใจกันของประชาชนเป็นพื้นฐานสำคัญ 2.7 ชุมชนต้องมีส่วนร่วมในการแก้ไขสถานการณ์ความไม่สงบ หรือเหตุรุนแรงในเขตพื้นที่ดังกล่าวได้ หรือสามารถคลี่คลายและหลีกเลี่ยงต่อการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในหมู่บ้านและตำบลได้ด้วยภาวะความเป็นผู้นำ กล้าตัดสินใจ สร้างความศรัทธา ความความร่วมมือ และความไม่ไว้วางใจของประชาชน ที่มีต่อโต๊ะอิหม่ามและคณะกรรมการมัสยิด ประธานชุมชน และผู้ใหญ่บ้าน รวมทั้งตัวแทนหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง อันเป็นเครื่องมือสำคัญในการแก้ไขปัญหาผู้กระทำความผิดในการเยียวยาให้กับผู้เสียหายทางอาญาในพื้นที่ได้ เพื่อนำพาสู่สถานการณ์ภาวะปกติโดยเร็วที่สุด 2.8 ประสิทธิผลและประสิทธิภาพในการมีส่วนร่วมของชุมชนต่อการแก้ไขปัญหาผู้กระทำความผิดในการเยียวยาให้กับผู้เสียหายทางอาญาในพื้นที่ ชุมชนต้องมีส่วนร่วมประกอบด้วยโต๊ะอิหม่ามและคณะกรรมการมัสยิด ประธานชุมชน และผู้ใหญ่บ้าน ควรต้องปรับใช้ปัจจัยภายนอก คือการนำนโยบายของรัฐบาลที่มีต่อการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคภาคใต้ และนโยบายของหน่วยงานภาครัฐที่เปลี่ยนแปลงตามผู้บังคับบัญชา และความร่วมมือ ความศรัทธา และความไว้วางใจของประชาชน มาเป็นฐานและใช้ประโยชน์ในการแก้ปัญหาอาชญากรรมในพื้นที่ปกครองของตนเอง เป็นต้น รวมทั้งปรับปัจจัยภายใน คือนำความรู้ความสามารถทางการศึกษา ทักษะในการปกครอง ภาวะความเป็นผู้นำในการปกครอง และความมั่นใจ ความเชื่อมั่นของตนเองและความกล้าของผู้นำดังกล่าวในการตัดสินใจในการแก้ปัญหาดังกล่าว 2.9 ชุมชนควรสร้างความไว้วางใจ ประสานงาน บูรณาการในการแก้ไขปัญหาผู้กระทำความผิดในการเยียวยาให้กับผู้เสียหายทางอาญาในพื้นที่ของตนกับเจ้าหน้าที่ของรัฐทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีประประสิทธิผลและประสิทธิภาพขึ้น

 

กิจกรรมเวทีประชุมสนทนากลุ่ม ครั้งที่ 2 และการประชุมคณะกรรมการโครงการฯ 15 ก.ค. 2561 24 ต.ค. 2560

 

กิจกรรมเวทีประชุมสนทนากลุ่ม ครั้งที่ 2 และการประชุมคณะกรรมการโครงการฯ

 

เพศ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 64.7 รองลงมาคือเพศหญิง ร้อยละ 35.3 ตามลำดับ สถานภาพ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรส ร้อยละ 70.6 รองลงมาคือโสด ร้อยละ 15.7 หย่าร้าง ร้อยละ 7.8 และอื่นๆ ได้แก่ แยกกันอยู่ เป็นต้น น้อยที่สุด ร้อยละ 5.9 ตามลำดับ ระดับความรู้ทางสามัญ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่สำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ร้อยละ 31.4 รองลงมาคือสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีขึ้นไป ร้อยละ 25.5 สำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ร้อยละ 23.5 และสำเร็จการศึกษาในระดับประถมศึกษา น้อยที่สุด ร้อยละ 19.9 ตามลำดับ ระดับความรู้ทางศาสนา กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่สำเร็จการศึกษาในระดับอิสลามตอนปลาย (ซานาวีห์) ร้อยละ 43.1 รองลงมาคือสำเร็จการศึกษาในการศึกษาระดับอิสลามตอนกลาง (มุตาวะซิตห์) ร้อยละ 31.4 สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี (กุลลียะห์) ร้อยละ 11.8 สำเร็จการศึกษาในระดับอิสลามตอนต้น (อิบติดาอีห์) ร้อยละ 9.8 และสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโทขึ้นไป น้อยที่สุด ร้อยละ 3.9 ตามลำดับ
การดำรงตำแหน่งอื่นในเขตชุมชน กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่ได้ดำรงตำแหน่งอื่นใดอีกในชุมชน ร้อยละ 45.1 รองลงมาคือดำรงตำแหน่งอื่นๆ ได้แก่ ครูสอนตาดีกา ทีมชุดรักษาความสงบหมู่บ้าน ประธานกรรมการชุมชน คณะกรรมการชุมชน และเจ้าหน้าที่ทำงานในองค์การบริหารส่วนตำบล ร้อยละ 37.3 ครูโรงเรียนเอกชนสอนศาสนา ร้อยละ 9.8 สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล น้อยที่สุด ร้อยละ 7.8 ตามลำดับ อาชีพ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง ร้อยละ 49.0 รองลงมาคือประกอบอาชีพอื่นๆ ได้แก่ ทำธุรกิจส่วนตัว ทำไร่ และทำสวนร้อยละ 29.4 ประกอบอาชีพค้าขาย ร้อยละ 15.7และประกอบอาชีพราชการน้อยที่สุด ร้อยละ 9.9 ตามลำดับ อายุ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุมากที่สุด 69 ปี รองลงมาคืออายุน้อยที่สุด 21 ปี ตามลำดับ ฐานะทางเศรษฐกิจหรือรายได้ต่อเดือนจากการประกอบอาชีพ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีรายได้จากการประกอบอาชีพที่เป็นรายเดือนและกรณีที่ไม่มีรายได้ต่อเดือนโดยประมาณการ มากที่สุดประมาณ 35,000 บาท และรองลงมาคือน้อยที่สุดประมาณ 5,000 บาท ตามลำดับ อาชญากรรมเกิดบ่อยที่สุด  ส่วนใหญ่อาชญากรรมเกิดบ่อยที่สุด พบว่าลักทรัพย์ ร้อยละ 41.2  รองลงมาคือทำลายทรัพย์ ร้อยละ 25.5 ทำร้ายร่างกาย ร้อยละ 21.6 ข่มขู่ ร้อยละ 7.8 และอื่น ๆ คือ คดีความมั่นคงของรัฐ วิ่งราวทรัพย์ ยิงกัน ตัดต้นไม้ของบุคคลอื่น  เป็นต้น น้อยที่สุด ร้อยละ 3.9 ตามลำดับ สิ่งที่ต้องการจากการเยียวยามาก  ส่วนใหญ่สิ่งที่ต้องการจากการเยียวยามาก พบว่าให้กำลังต่อจิตใจ/ความช่วยเหลือจากรัฐ ร้อยละ 33.3  รองลงมาคือการได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการ ร้อยละ 31.4 การให้เงินช่วยเหลือ ร้อยละ 25.5 และให้ของทดแทน น้อยที่สุด ร้อยละ 9.8 ตามลำดับ

การมีส่วนร่วมของชุมชนต่อการแก้ไขปัญหาผู้กระทำความผิดในกระบวนการยุติธรรมและการเยียวยาให้กับผู้เสียหายทางอาญาในตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส จากการสัมภาษณ์ด้วยการสนทนากลุ่มกับโต๊ะอิหม่ามและคณะกรรมการมัสยิด ประธานชุมชน และประชาชนในชุมชน รวมทั้งตัวแทนหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง ต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนในการแก้ไขปัญหาผู้กระทำความผิดในกระบวนการยุติธรรมและการเยียวยาให้กับผู้เสียหายทางอาญาในตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส มีประเด็นดังนี้


1 มีวิธีในการแก้ไขปัญหาผู้กระทำความผิดในกระบวนการยุติธรรมและการเยียวยาให้กับผู้เสียหายทางอาญาในตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส การสัมภาษณ์ด้วยการสนทนากลุ่มกับโต๊ะอิหม่ามและคณะกรรมการมัสยิด ประธานชุมชน และประชาชนในชุมชน รวมทั้งตัวแทนหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง พบว่าวิธีในการแก้ไขปัญหาผู้กระทำความผิดในกระบวนการยุติธรรมและการเยียวยาให้กับผู้เสียหายทางอาญาในตำบลเจ๊ะเห ดังนี้ 1) เมื่อทางการอำเภอ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐที่เกี่ยวข้องให้ผู้ใหญ่บ้านในหมู่บ้าน ตำบลเจ๊ะเห ดำเนินการแจ้งให้ผู้มีรายชื่อในบัญชีดำของทางการที่มีประวัติทางอาชญากรรมที่มีต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในหมู่บ้าน ตำบลเจ๊ะเห ให้มามอบตัวที่หลบหนีคดีดังกล่าวซ่อนตัวในหมู่บ้าน โดยประชาชนมีส่วนร่วมกับโต๊ะอิหม่ามและคณะกรรมการมัสยิด ประธานชุมชนและผู้ใหญ่บ้าน ติดต่อ และประสานงานกับผู้ปกครอง หรือญาติสนิท หรือผู้ที่สามารถไว้วางใจได้ เพื่อเจราจาพามามอบตัวต่อทางการอำเภอ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐที่เกี่ยวข้อง โดยมีเงื่อนไขว่าจะให้ความเป็นธรรมและความยุติธรรมทุกฝ่าย แต่ทางประชาชนกับโต๊ะอิหม่ามและคณะกรรมการมัสยิด และประธานชุมชน ร่วมกับผู้ใหญ่บ้านจะดำเนินการแจ้งและติดประกาศในที่ทำงานทางราชการและที่สถานที่สำคัญของชุมชน ให้ประชาชนในหมู่บ้าน ตำบลเจ๊ะเห ทราบโดยทั่วกัน และส่วนใหญ่บุคคลที่มีประวัติทางอาชญากรรมในพื้นที่ของตนในคดีอาญา เช่น ลักทรัพย์ ทำลายทรัพย์ และคดีอาญาอื่นๆ เป็นต้น ซึ่งมีให้พบเห็นเกิดขึ้นนานๆ ครั้ง โดยประชาชนร่วมกับโต๊ะอิหม่ามและคณะกรรมการมัสยิด ประธานชุมชน และผู้ใหญ่บ้าน จะดำเนินการใช้กระบวนการสันติวิธีเป็นหลักด้วยการเยียวยาที่เหมาะกับผู้เสียหายทางอาญาในการแก้ไขปัญหาคดีอาญาดังกล่าวในหมู่บ้าน ตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ
2) เมื่อเกิดปัญหาอาชญากรรมทั่วไปที่มีต่อความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในหมู่บ้าน ตำบลเจ๊ะเห ซึ่งเป็นความผิดอาญาทั่วไป เช่น การลักทรัพย์ และการทำลายทรัพย์ของบุคคลอื่น เป็นต้น หากจับกุมผู้กระทำความผิดอาญาดังกล่าวได้ ซึ่งโต๊ะอิหม่ามคณะกรรมการมัสยิด ประธานชุมชน ประชาชนในชุมชน ร่วมกับผู้ใหญ่บ้าน จะดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าว ด้วยวิธีการประนีประนอมยอมความกันระหว่างผู้กระทำความผิดกับประชาชนผู้เสียหาย ซึ่งผู้นำในตำแหน่งดังกล่าวกับประชาชนในชุมชนจะไม่นำส่งให้แก่เจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือพนักงานสอบสวนดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย แต่จะดำเนินการตามขั้นตอนของกระบวนการสันติวิธีในหมู่บ้านดังกล่าว โดยร่วมกันแก้ปัญหาดังกล่าวด้วยการการเจราจา ไกล่เกลี่ย ตกลงให้ชดใช้ค่าเสียหาย หรือค่าสินไหมทดแทนให้กับผู้เสียหายตามความเหมาะสมและใช้หลักความยุติธรรมชุมชนให้เกิดความยุติธรรมทั้งสองฝ่าย ซึ่งปัญหาดังกล่าวจะได้รับการแก้ปัญหาผู้กระทำผิดกลับสู่สังคมอย่างปกติ อีกทั้งผู้เสียหานทางอาญาได้รับการเยียวยาให้เรียบร้อยโดยการประนีประนอมด้วยการใช้กระบวนการสันติวิธี จึงเป็นที่มาส่วนหนึ่งของความร่วมมือ การยอมรับ ความศรัทธาและความไว้วางใจของประชาชน ต่อโต๊ะอิหม่ามและคณะกรรมการมัสยิด ประธานชุมชน รวมทั้งผู้ใหญ่บ้านในหมู่บ้าน ตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ อย่างกรณีปัญหาอาชญากรรมซึ่งจากการสัมภาษณ์ด้วยการสนทนากลุ่มดังกล่าว พบว่าผู้ต้องหาเป็นคนในหมู่บ้านตำบล เป็นผู้บุกรุกบริเวณสถานที่ของบุคคลอื่นเวลากลางคืนหลังเที่ยงเข้าไปในคอกวัวของผู้เสียหายคือประชาชนในหมู่บ้านตำบลเจ๊ะเห โดยเจตนาเอาทรัพย์สินอันมีค่า คือวัวที่เลี้ยงไว้จำนวน 3 ตัว ทั้งตัวผู้และตัวเมียของประชาชนผู้เสียหาย จากจำนวนวัวดังกล่าว 10 ตัว จากไปของประชาชนผู้เสียหาย โดยไม่ทราบว่าเป็นผู้ใดกระทำความผิดอาญาฐานลักทรัพย์ในเวลากลางคืน คือลักวัวดังกล่าวของผู้เสียหายไปในคอก  ซึ่งในขณะนั้นทีมชุดร่วมกับประชาชนจิตอาสารักษาความปลอดภัยหมู่บ้านดังกล่าวเห็นผู้ต้องหาจูงวัวของผู้เสียหายในเวลากลางคืน เพื่อหลบหนีออกไปจากหมู่บ้านตำบลดังกล่าว ซึ่งมีพฤติการณ์ผิดสังเกตและมีท่าทางพิรุธ ทีมชุดร่วมกับประชาชนจิตอาสารักษาความปลอดภัยหมู่บ้านดังกล่าว จึงได้เข้าไปสอบถามผู้ต้องหาสองคนดังกล่าว ซึ่งได้คำตอบอย่างมีพิรุธและน่าสงสัย ในที่สุดจึงปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้ต้องหาได้ลักวัวของประชาชนผู้เสียหายในหมู่บ้านตำบลดังกล่าวมา แล้วทำการจับตัวผู้ต้องหาได้หนึ่งคนและอีกคนหนึ่งหนีได้ เรื่องปัญหาอาชญากรรมดังกล่าวจึงแจ้งแก่โต๊ะอิหม่ามและคณะกรรมการมัสยิด ประธานชุมชน และผู้ใหญ่บ้าน เพื่อช่วยแก้ปัญหาเรื่องดังกล่าว ทางโต๊ะอิหม่ามและคณะกรรมการมัสยิด ประธานชุมชน และผู้ใหญ่บ้านร่วมกับประชาชนได้ประสานกับผู้ปกครอง หรือบุคคลที่ใกล้ชิดและไว้วางใจของผู้ต้องหาดังกล่าว แล้วผู้นำดังกล่าวได้ใช้หลักการของกระบวนการสันติวิธี และยุติธรรมชุมชนด้วยการอาศัยการเจราจา ไกล่เกลี่ย และพิจารณาด้วยเหตุและผลตามลำดับขั้นตอนที่เหมาะสมและให้ความยุติธรรมทั้งสองฝ่าย จนในที่สุดประชาชนผู้เสียหายกับผู้ปกครอง หรือบุคคลที่ใกล้ชิดและไว้วางใจของผู้ต้องหายอมความกันโดยให้ฝ่ายผู้ต้องหาคืนทรัพย์ดังกล่าวให้แก่ประชาชนผู้เสียหาย รวมทั้งไม่เอาความทางคดีดังกล่าว และส่วนผู้ต้องหายอมรับผิด ขออภัย และได้รับโอกาสในการร่วมกับสังคมในตำบลดังกล่าว แต่ผู้กระทำผิดอาญาดังกล่าวตกลงสัญญากับชุมชนว่าหากกระทำเช่นนี้อีก จะไม่อยู่ในหมู่บ้านตำบลนี้อีกต่อไป อันเป็นการหลีกเลี่ยงกระบวนการยุติธรรมทางอาญา และใช้สันติวิธีเป็นหลักในการเยียวยาที่เหมาะกับผู้เสียหายทางอาญาในการแก้ไขปัญหาคดีอาญาในหมู่บ้าน ตำบลดังกล่าว

  1. ปัจจัยเงื่อนไขสำคัญที่ผลักดันให้ยุติธรรมชุมชนในการแก้ไขปัญหาผู้กระทำความผิดในกระบวนการยุติธรรมและการเยียวยาให้กับผู้เสียหายทางอาญาเกิดความสำเร็จในสังคม        ตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส จากการสัมภาษณ์ในการสนทนากลุ่มกับโต๊ะอิหม่ามและคณะกรรมการมัสยิด ประธานชุมชน ประชาชนในชุมชน รวมทั้งตัวแทนหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง พบว่าปัจจัยเงื่อนไขสำคัญที่ผลักดันให้ยุติธรรมชุมชนในการแก้ไขปัญหาผู้กระทำความผิดในกระบวนการยุติธรรมและการเยียวยาให้กับผู้เสียหายทางอาญาเกิดความสำเร็จในสังคมตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส สรุปได้ดังนี้ 1) ปัจจัยเงื่อนไขเชิงนโยบายอาญาและทิศทางการพัฒนาระบบงานยุติธรรมแห่งอนาคต รัฐต้องมีทิศทางที่ชัดเจน โดยในระดับรัฐบาลนั้นต้องกำหนดนโยบายอาญาเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายรัฐบาลที่แถลงต่อรัฐสภาให้ชัดเจน รัฐบาลต้องมีทิศทางที่ชัดเจนเกี่ยวกับการกระจายอำนาจและการประสานงานระหว่างรัฐบาลและองค์กรชุมขนว่า อาชญากรรมประเภทใด (อาชญากรรมพื้นฐาน/อาชญากรรมพิเศษ) ใคร (ส่วนกลาง/ส่วนท้องถิ่น) ควรจะมีหน้าที่รับผิดชอบอย่างไร ชุมชนควรจะมีบทบาทหน้าที่หรือมีส่วนร่วมแค่ไหน เพียงไร และรัฐต้องกำหนดทิศทางการพัฒนาระบบรองรับ 2) ปัจจัยเงื่อนไขด้านการบริหารจัดการระบบยุติธรรมรัฐต้องให้ความสำคัญ “ยุติธรรมชุมชน” ต้องเร่งรัดติดตามและกำกับดูแลให้ส่วนราชการและผู้เกี่ยวข้องเร่งรัดผลักดันกฎหมายที่ส่งเสริมให้ใช้กระบวนการยุติธรรมทางเลือกมากขึ้น เช่น ร่าง พ.ร.บ.ชลอการฟ้อง ร่าง พ.ร.บ. การไกล่เกลี่ยคดีอาญาในชั้นพนักงานสอบสวน ร่าง พ.ร.บ. การระงับข้อพิพาทนอกศาล เป็นต้น นอกจากนี้ ต้องกระตุ้นให้ประชาสังคมผนึกกาลังรวมตัวกันเป็นเครือข่าย กำหนดภารกิจการควบคุมจริยธรรมและมาตรฐานงานยุติธรรม และการมีหน่วยงานกลาง และรับผิดชอบงานยุติธรรมชุมชน - ยุติธรรมจังหวัด เป็นต้น 3) ปัจจัยเงื่อนไขเกี่ยวกับสารัตถะของ “ยุติธรรมชุมชน” โดยกรอบและสารัตถะของ “ยุติธรรมชุมชน” ต้องชัดเจนและเหมาะสมกับ “ ชุมชน” และ “ภูมิสังคม” เช่น มีรูปแบบ โครงสร้าง ความสัมพันธ์ที่เหมาะสมมีแบบจำลองยุติธรรมชุมชนที่เหมาะสมกับตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาสและจังหวัดอื่น ซึ่งพบว่าแบบจำลองยุติธรรมชุมชนที่ดีที่ พบส่วนใหญ่ใช้รูปแบบหุ้นส่วน ซึ่งเน้นการสร้างความร่วมมือในการป้องกันอาชญากรรม และปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะพัฒนาไปสู่รูปแบบตัวกลาง ซึ่งเน้นการสร้างความร่วมมือในการส่งเสริมศักยภาพของชุมชน ส่วนภารกิจหลักของยุติธรรมชุมชนควรใช้ภารกิจ 4 ประการ คือ การป้องกันและควบคุมอาชญากรรม ความไร้ระเบียบของชุมชน การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งต่างๆ ที่เกิดขึ้นด้วยวิธีการเชิงสมานฉันท์ การเยียวยาความรุนแรงที่เกิดจากอาชญากรรม และการรับผู้กระทำผิดกลับคืนสู่ชุมชน เพราะมีความครอบคลุมภารกิจรวมทั้งหมดของแนวคิดยุติธรรมชุมชนไว้แล้ว 4) ปัจจัยเงื่อนไขเชิงคุณลักษณะของชุมชน การศึกษาพบคุณลักษณะสำคัญของยุติธรรมชุมชนในตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาสและจังหวัดอื่น ประกอบด้วย การสร้างจิตสานึกชุมชนด้านความยุติธรรม องค์กรจัดการงานยุติธรรมชุมชน การสร้างเครือข่ายยุติธรรมชุมชน และทุนทางสังคมโดยทุนทางสังคมของระบบยุติธรรมชุมชนได้แก่ ระบบคุณค่าและความเชื่อ ผู้นำ ปราชญ์ท้องถิ่น จารีต ภูมิปัญญาท้องถิ่น โครงสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมของชุมชน เวทีสำหรับการประชุมหารือ และจัดการความขัดแย้งเชิงสมานฉันท์ รวมทั้งข้อตกลงเพื่อความสมานฉันท์ในชุมชนที่ได้มีการกำหนดขึ้น (ซึ่งเป็นธรรมนูญชุมชนอันทรงคุณค่า) ฉะนั้น ต้องนำคุณลักษณะที่ดีของชุมชนดังกล่าวมาใช้ประโยชน์ 5) ปัจจัยเงื่อนไขว่าด้วยกฎหมาย สามารถใช้กฎหมายให้เกิดสัมฤทธิ์ผลในการยุติธรรมชุมชนได้ในทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นระดับกำหนดนโยบายของรัฐบาล ระดับบริหารจัดการของฝ่ายบริหาร ระดับปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติ ในการส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วม ส่งเสริมให้องค์กรชุมชนในชุมชนมีบทบาทสนับสนุนงานยุติธรรมชุมชน และการให้อำนาจแก่ชุมชนจัดการความผิดตามกฎหมายอาญาบางลักษณะที่สามารถยอมกันได้

 

กิจกรรมเวทีประชุมสนทนากลุ่ม ครั้งที่ 3 และการประชุมคณะกรรมการโครงการฯ 15 ก.ค. 2561 15 พ.ย. 2560

 

กิจกรรมเวทีประชุมสนทนากลุ่ม ครั้งที่ 3 และการประชุมคณะกรรมการโครงการฯ

 

เพศ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 64.7 รองลงมาคือเพศหญิง ร้อยละ 35.3 ตามลำดับ สถานภาพ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรส ร้อยละ 70.6 รองลงมาคือโสด ร้อยละ 15.7 หย่าร้าง ร้อยละ 7.8 และอื่นๆ ได้แก่ แยกกันอยู่ เป็นต้น น้อยที่สุด ร้อยละ 5.9 ตามลำดับ ระดับความรู้ทางสามัญ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่สำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ร้อยละ 31.4 รองลงมาคือสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีขึ้นไป ร้อยละ 25.5 สำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ร้อยละ 23.5 และสำเร็จการศึกษาในระดับประถมศึกษา น้อยที่สุด ร้อยละ 19.9 ตามลำดับ ระดับความรู้ทางศาสนา กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่สำเร็จการศึกษาในระดับอิสลามตอนปลาย (ซานาวีห์) ร้อยละ 43.1 รองลงมาคือสำเร็จการศึกษาในการศึกษาระดับอิสลามตอนกลาง (มุตาวะซิตห์) ร้อยละ 31.4 สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี (กุลลียะห์) ร้อยละ 11.8 สำเร็จการศึกษาในระดับอิสลามตอนต้น (อิบติดาอีห์) ร้อยละ 9.8 และสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโทขึ้นไป น้อยที่สุด ร้อยละ 3.9 ตามลำดับ
การดำรงตำแหน่งอื่นในเขตชุมชน กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่ได้ดำรงตำแหน่งอื่นใดอีกในชุมชน ร้อยละ 45.1 รองลงมาคือดำรงตำแหน่งอื่นๆ ได้แก่ ครูสอนตาดีกา ทีมชุดรักษาความสงบหมู่บ้าน ประธานกรรมการชุมชน คณะกรรมการชุมชน และเจ้าหน้าที่ทำงานในองค์การบริหารส่วนตำบล ร้อยละ 37.3 ครูโรงเรียนเอกชนสอนศาสนา ร้อยละ 9.8 สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล น้อยที่สุด ร้อยละ 7.8 ตามลำดับ อาชีพ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง ร้อยละ 49.0 รองลงมาคือประกอบอาชีพอื่นๆ ได้แก่ ทำธุรกิจส่วนตัว ทำไร่ และทำสวนร้อยละ 29.4 ประกอบอาชีพค้าขาย ร้อยละ 15.7และประกอบอาชีพราชการน้อยที่สุด ร้อยละ 9.9 ตามลำดับ อายุ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุมากที่สุด 69 ปี รองลงมาคืออายุน้อยที่สุด 21 ปี ตามลำดับ ฐานะทางเศรษฐกิจหรือรายได้ต่อเดือนจากการประกอบอาชีพ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีรายได้จากการประกอบอาชีพที่เป็นรายเดือนและกรณีที่ไม่มีรายได้ต่อเดือนโดยประมาณการ มากที่สุดประมาณ 35,000 บาท และรองลงมาคือน้อยที่สุดประมาณ 5,000 บาท ตามลำดับ อาชญากรรมเกิดบ่อยที่สุด  ส่วนใหญ่อาชญากรรมเกิดบ่อยที่สุด พบว่าลักทรัพย์ ร้อยละ 41.2  รองลงมาคือทำลายทรัพย์ ร้อยละ 25.5 ทำร้ายร่างกาย ร้อยละ 21.6 ข่มขู่ ร้อยละ 7.8 และอื่น ๆ คือ คดีความมั่นคงของรัฐ วิ่งราวทรัพย์ ยิงกัน ตัดต้นไม้ของบุคคลอื่น  เป็นต้น น้อยที่สุด ร้อยละ 3.9 ตามลำดับ สิ่งที่ต้องการจากการเยียวยามาก  ส่วนใหญ่สิ่งที่ต้องการจากการเยียวยามาก พบว่าให้กำลังต่อจิตใจ/ความช่วยเหลือจากรัฐ ร้อยละ 33.3  รองลงมาคือการได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการ ร้อยละ 31.4 การให้เงินช่วยเหลือ ร้อยละ 25.5 และให้ของทดแทน น้อยที่สุด ร้อยละ 9.8 ตามลำดับ


การมีส่วนร่วมของชุมชนต่อการแก้ไขปัญหาผู้กระทำความผิดในกระบวนการยุติธรรมและการเยียวยาให้กับผู้เสียหายทางอาญาในตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส จากการสัมภาษณ์ด้วยการสนทนากลุ่มกับโต๊ะอิหม่ามและคณะกรรมการมัสยิด ประธานชุมชน และประชาชนในชุมชน รวมทั้งตัวแทนหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง ต่อการมีส่วนร่วมของชุมชนในการแก้ไขปัญหาผู้กระทำความผิดในกระบวนการยุติธรรมและการเยียวยาให้กับผู้เสียหายทางอาญาในตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส มีประเด็นดังนี้


1 การมีส่วนร่วมของชุมชนต่อการแก้ไขปัญหาผู้กระทำความผิดในการเยียวยาให้กับผู้เสียหายทางอาญา ตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส จากการสัมภาษณ์ด้วยการสนทนากลุ่มกับโต๊ะอิหม่ามและคณะกรรมการมัสยิด ประธานชุมชน ประชาชนและประชาขนในชุมชน รวมทั้งตัวแทนหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง พบว่าชุมชนมีบทบาทสำคัญต่อการช่วยเหลือผู้เสียหายหรือเหยื่ออาชญากรรมในการใช้สิทธิดําเนินคดีแพ่งและคดีอาญากับผู้กระทําความผิด เพื่อให้มีการชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ตนเองจากการกระทําผิดกฎหมายทางอาญาได้ หรือเหยื่ออาชญากรรมที่จะฟ้องผู้กระทําผิดต่อศาล เพื่อนําผู้กระทําผิดมาลงโทษทางอาญาตามกฎหมาย อีกทั้งมีสิทธิฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญาเรียกค่าเสียหายจากผู้กระทําผิดเหยื่ออาชญากรรมที่สูญเสียทรัพย์สินเนื่องจากการกระทําความผิดของผู้กระทําความผิด การเรียกให้ผู้กระทําผิดคืนทรัพย์สินนั้น การมีส่วนร่วมของชุมชนต่อการแก้ไขปัญหาผู้กระทำความผิดในการเยียวยาให้กับผู้เสียหายทางอาญาตำบลเจ๊ะเห ตำบลตากใบ จังหวัดนราธิวาส คือการช่วยเหลือผู้เสียหายได้รับค่าชดเชยความเสียหายจากผู้กระทําความผิด สิทธิประการนี้เป็นไปเพื่อทําให้ผู้เสียหายในคดีอาญาได้รับการชดเชยความเสียหายจากผู้กระทําผิดเป็นผู้ชดใช้ กระบวนการในการชดใช้นี้ไม่ได้เป็นลักษณะที่เป็นโทษในทางอาญา แต่กระบวนการชดเชยนี้เป็นภาระหน้าที่ของผู้กระทําผิดจะต้องรับผิดชอบในการกระทําของตนต่อความเสียหายที่ได้ก่อขึ้น สิ่งเหล่านี้จะมีความสําคัญและเป็นแนวความคิดหลักที่สําคัญอย่างยิ่งในการดําเนินกระบวนการยุติธรรมตามแนวทางสันติวิธีในชุมชน ไม่วารูปแบบการดําเนินการจะเป็นรูปแบบอย่างสิทธิของผู้เสียหายในคดีอาญาเป็นทางการหรือที่เรียกว่ากระบวนการในทางศาลหรือในรูปแบบที่ไม่เป็นทางการหรือที่เรียกว่า ทางเลือกในการระงับข้อพิพาท โดยวิธีของการดําเนินกระบวนการยุติธรรมตามแนวทางสันติวิธีที่ต้องการให้ทุกฝ่าย หรือชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากอาชญากรรมได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาร่วมกนเพื่อให้เกิดสันติสุขขึ้นในตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส นั้น กระบวนการในการเจรจาตกลงจะไม่บังเกิดผลได้ หากว่าไม่ได้เกิดจากความสมัครใจและสํานึกผิดของผู้กระทําความผิดต่อการกระทําของตน ดังนั้น กระบวนการในการชดเชยความเสียหายโดยผู้กระทําผิดต่อผู้เสียหายในคดีอาญา จึงเป็นการแสดงออกถึงความสํานึกผิด เห็นใจ ความต้องการบรรเทาความเสียหายที่ผู้เสียหายได้รับโดยผู้กระทําความผิด และที่สำคัญการเยียวยาให้กับผู้เสียหายทางอาญาตำบลเจ๊ะเห ตำบลตากใบ จังหวัดนราธิวาส ในการได้รับการบริการและการช่วยเหลือของการบริการแก่เหยื่ออาชญากรรมหรือผู้เสียหายในคดีอาญา นั้น โดยลักษณะแล้วเป็นการช่วยเหลือผู้เสียหายในคดีอาญาอันเป็นการช่วยเหลือทางด้านร่างกายและจิตใจ ซึ่งได้รับผลกระทบจากการตกเป็นผู้เสียหาย
ดังนั้น ในส่วนนี้ในคดีอาญาที่ร้ายแรง การช่วยเหลืออย่างฉุกเฉินจึงเป็นสิ่งที่จําเป็นที่สุดและต้องกระทําก่อน เพราะว่า ในกรณี เหล่านี้หากว่าผู้เสียหายจะต้องสูญเสียชีวิต หรือพิการ ย่อมส่งผลกระทบต่อชีวิตและครอบครัวของผู้เสียหาย เช่น ผู้เสียหายเป็นผู้นําครอบครัว เป็นต้น และหากผู้เสียหายได้รับผลกระทบทางด้านจิตใจ กระบวนการบําบัดและฟื้นฟูยิ่งมีความจําเป็น การช่วยเหลือและบริการในประการเหล่านี้ ภาคประชาชนและชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการเยียวยาให้กับผู้เสียหายทางอาญาตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ ในการดําเนินการและการจัดการเพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพ และเป็นการส่งเสริมให้ชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการช่วยเหลือผู้เสียหายในคดีอาญา ทําให้ชุมชนเข้มแข็งมากขึ้น ต่อมา การช่วยเหลือให้คําแนะนําทางด้านกฎหมายการช่วยเหลือ เป็นลักษณะเดียวกันกับการช่วยเหลือทางด้านกฎหมายให้แก่ผู้กระทําความผิดในคดีอาญา แต่เท่าที่ปรากฏการให้ความช่วยเหลือในลักษณะเป็นการให้คําปรึกษาข้อกฎหมายโดยทั่วๆ ไปแก่ประชาชน ไม่มากกว่าที่จะเป็นการจัดให้มีการช่วยเหลือ แก่ผู้เสียหายในคดีอาญา นอกจากนี้แล้วนั้นการช่วยเหลือแก่ประชาชนในทางกฎหมายของ ตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส  ยังเป็นการจํากัด เฉพาะในบางลักษณะคดีเท่านั้น การมีส่วนร่วมของชุมชนต่อการแก้ไขปัญหาผู้กระทำความผิดในการเยียวยาให้กับผู้เสียหายทางอาญาตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาสในเรื่องรูปแบบของการชดใช้ค่าเสียหายรูปแบบการชดใช้ค่าเสียหายของผู้กระทําความผิดควรต้องมี 3 รูปแบบ คือ
1) การชดใช้ค่าเสียหายทางจิตใจ คือการชดใช้ค่าเสียหายจากอาชญากรรมอย่างน้อยที่สุดก็ช่วยบรรเทาทางจิตใจของผู้เสียหาย โดยการให้ผู้เสียหายพบปะสนทนากับผู้กระทำผิดอาญา เพื่อให้ผู้เสียหายได้มีโอกาสระบายความรู้สึกและความสูญเสียที่ได้รับจากอาชญากรรม นอกจากจะเป็นทางหนึ่งที่จะทําให้ผู้กระทำผิดอาญารู้สึกตระหนักในความผิดแล้ว การรับสารภาพผิดของผู้กระทำผิดอาญา ก็ยังมีผลช่วยลดภาวะความตึงเครียดทางจิตใจของผู้เสียหายได้อีกประการหนึ่ง ย่อมมีทั้งผลดีและผลเสียควบคู่กัน


2) การชดใช้ค่าเสียหายแบบสร้างสรรค์ความรับผิดชอบ ซึ่งเป็นการหลีกเลี่ยงให้สู่กระบวนการยุติธรรมทางศาล โดยให้ผู้กระทําความผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้เสียหายที่ถูกประทุษร้ายเพื่อเป็นการทดแทนหรือบรรเทาโทษจําคุก เนื่องจากอาชญากรรมที่ได้เกิดขึ้น เป็นการประทุษร้ายกับผู้เสียหายโดยตรง จึงถือเป็นความรับผิดชอบของผู้กระทําความผิดที่จะต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหาย ถ้าสามารถใช้การชดใช้ค่าเสียหายทดแทนการลงโทษจําคุกได้อย่างสมเหตุสมผลแล้ว นอกจากเป็นการทําให้ผู้กระทําตระหนักถึงความเสียหายของอาชญากรรมที่มีต่อผู้อื่นแล้ว ยังมีผลดีต่อการแก้ไขพฤติกรรมของผู้กระทำผิดอาญาด้วย
3) การชดใช้ค่าเสียหายโดยสมัครใจของผู้กระทําผิด ซึ่งเป็นรูปแบบของการชดใช้ค่าเสียหายจากความสมัครใจ หรือความรู้สึกตระหนักในความผิดของผู้กระทำผิดอาญาโดยตรง การชดใช้ค่าเสียหายในประเด็นนี้จะมีผลในทางสมานความเข้าใจ และความเห็นอกเห็นใจระหว่างผู้กระทำผิดอาญากับผู้เสียหายมากกว่าการชดใช้ในรูปแบบอื่น กล่าวคือ เมื่อผู้กระทำผิดอาญายินยอมชดใช้ความเสียหายด้วยความเต็มใจแล้ว ย่อมเป็นผลให้ผู้เสียหายมีความรู้สึก เห็นอกเห็นใจและพร้อมที่จะให้อภัยแก่ผู้กระทำผิดอาญา หรือหายโกรธเคืองขุ่นแค้น เสียสละจนถึงขั้นที่จะไม่ติดใจเรียกร้องค่าเสียหาย หรือไม่คํานึงถึงจํานวนและมูลค่าแห่งการชดใช้ค่าเสียหายนั้นจากผู้กระทำผิดอาญาเลยก็เป็นได้ และการเสนอแนะจากการสนทนากลุ่มดังกล่าวควรการจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้เสียหายโดยรัฐ มีการจัดตั้งในรูปแบบของคณะกรรมการ ซึ่งเป็นหน่วยงานอิสระในการพิจารณาจ่ายค่าทดแทนแก่ผู้เสียหาย เนื่องมาจากการกระทําความผิดทางอาญา ในกรณีที่ได้รับบาดเจ็บหรือถึงแก่ความตาย ตามที่พระราชบัญญัติค่าทดแทนความเสียหายแก่ผู้เสียหายในคดีอาญา กำหนดโดยไม่รวมค่าเสียหาย อันเนื่องมาจากยานพาหนะ เว้นแต่เป็นกรณีที่ใช้ยานพาหนะเพื่อเป็นเครื่องมือในการกระทําความผิด ค่าทดแทนในกรณีนี้รวมถึงค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าทําศพ ค่าขาดรายได้จากการทํางาน รวมถึงค่าเลี้ยงดูเด็กที่เกิดจากการข่มขืนกระทําชําเรา โดยพื้นฐานแล้วรัฐจะเข้ามาให้ความสงเคราะห์ช่วยเหลือโดยคํานึงถึงสิทธิของผู้เสียหาย

2  ปัจจัยที่ทำให้ยุติธรรมชุมชนไม่มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาผู้กระทำความผิดในกระบวนการยุติธรรมและการเยียวยาให้กับผู้เสียหายทางอาญาในหมู่บ้าน              ในตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส จากการสัมภาษณ์ในการสนทนากลุ่มกับโต๊ะอิหม่ามและคณะกรรมการมัสยิด ประธานชุมชน ประชาชนในชุมชน รวมทั้งหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง พบว่า เนื่องด้วยพระราชบัญญัติความมั่นคง ระดับความรู้ทางการศึกษา ภาวะความเป็นผู้นำ (บางคน) การกล่าวอ้างว่าเลือกปฏิบัติในการตัดสินปัญหา และบางส่วนของประชาชนไม่ให้ความร่วมมือต่อโต๊ะอิหม่ามและคณะกรรมการมัสยิด ประธานชุมชน และผู้ใหญ่บ้าน เป็นต้น ปรากฏข้อเท็จจริงว่าประชาชนบางส่วนในพื้นที่ดังกล่าวมองว่า ผู้ใหญ่บ้านถือว่าเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐส่วนกลางผ่านราชการส่วนภูมิภาคเป็นกลุ่มเดียวกันกับหน่วยงานของความมั่นคงของรัฐ คือเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ ในการแก้ไขปัญหาผู้กระทำความผิดในกระบวนการยุติธรรมและการเยียวยาให้กับผู้เสียหายทางอาญาในหมู่บ้าน              ในตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส ส่งผลต่อการเกิดความไม่ไว้วางใจของประชาชนทั่วไปส่วนหนึ่งและประชาชนที่มีความคิดเห็นต่างจากรัฐ จึงทำให้ประชาชนสองกลุ่มดังกล่าวเกิดความหวาดระแวงและความไม่เข้าใจกันต่อผู้ใหญ่บ้านเอง และเจ้าหน้าที่ตำรวจในพื้นที่ดังกล่าว
จากปัจจัยดังกล่าวอันเป็นส่วนหนึ่งของหลากหลายปัจจัย ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ดังกล่าว จึงเกิดช่องว่างให้ขบวนการก่อความไม่สงบในพื้นที่สร้างสถานการณ์แย่งชิงพื้นที่มวลชนไม่ว่าจะเป็นการ พยายามก่อเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ได้ง่าย หรือสร้างเหตุการณ์ความรุนแรงในอำเภอตากใบที่ปรากฏทางสื่อบ่อยครั้งและยังคงมีอย่างต่อเนื่อง และอีกประการหนึ่งเกิดจากความไม่ไว้วางใจของเจ้าหน้าที่ตำรวจต่อโต๊ะอิหม่ามและคณะกรรมการมัสยิด ประธานชุมชน และผู้ใหญ่บ้านที่มองว่าเป็นกลุ่มเดียวกันกับผู้มีความคิดเห็นเห็นต่างจากรัฐเป็นฝ่ายตรงข้าม และอีกประเด็นที่สำคัญอย่างยิ่งคือ การไม่ให้ความร่วมมือของประชาชนส่วนหนึ่งที่มีความคิดเห็นต่างจากรัฐที่มองว่า ผู้ใหญ่บ้าน ประธานชุมชนและเจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นกลุ่มเดียวกัน และขณะเดียวกันความไม่ไว้วางใจของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่มีต่อโต๊ะอิหม่ามและคณะกรรมการมัสยิด ประธานชุมชน รวมถึงผู้ใหญ่บ้านที่มองว่าเป็นกลุ่มเดียวกันกับผู้ที่มีความเห็นต่างจากรัฐเป็นฝ่ายตรงข้าม จึงทำให้กระทบต่อการแก้ไขปัญหาผู้กระทำความผิดในกระบวนการยุติธรรมและการเยียวยาให้กับผู้เสียหายทางอาญาในหมู่บ้านในตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบสู่สังคมสันติสุข ที่จะทำให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานของทุกฝ่าย


 

โครงการขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนา จชต. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 15 ก.ค. 2561 15 ก.ค. 2561

 

  • บันทึกข้อมูลรายละเอียดโครงการ
  • บันทึกกิจกรรม
  • บันทึกข้อมูลองค์ดร

 

ได้ความรู้ทุกเรื่องที่สอนมา