Node Flagship

directions_run

ส่งเสริมสุขภาพ กิน ปลูกผักอินทรีย์กับชุมชนบ้านต๊ะโล๊ะ

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ส่งเสริมสุขภาพ กิน ปลูกผักอินทรีย์กับชุมชนบ้านต๊ะโล๊ะ
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดยะลา
รหัสโครงการ 63-00175-0006
วันที่อนุมัติ 1 มิถุนายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2563 - 31 มีนาคม 2564
งบประมาณ 100,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มบุคคล
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอับดุลเร๊าะมัน สะกะแย
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ นางไอลดา เจ๊ะหะ
พื้นที่ดำเนินการ หมู่ที่ 3 ตำบลยะต๊ะ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.473609,101.418228place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มี.ค. 2563 31 ส.ค. 2563 40,000.00
2 1 ก.ย. 2564 15 ธ.ค. 2564 50,000.00
3 1 ม.ค. 2564 30 เม.ย. 2564 10,000.00
รวมงบประมาณ 100,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตำบลยะต๊ะ เป็นตำบล 1 ใน 16 ตำบล ที่อยู่ในเขตปกครองของอำเภอรามัน จังหวัดยะลา มีจำนวนหมู่บ้านทั้งสิน 5 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 1 บ้านปาแลเหนือ หมู่ที่ 2 บ้านตูกู หมู่ที่ 3 บ้านตะโละ หมู่ที่ 4 บ้านปาแลใต้ หมู่ที่ 5 บ้านตีบุ ตำบลยะต๊ะ มีครัวเรือนจำนวน ทั้งสิ้น 1,310 ครัวเรือน บริเวณที่มีประชากรอยู่หนาแน่นที่สุด ได้แก่ชุมชนบ้านตะโละพื้นที่บ้านตะโล๊ะ หมู่ที่ 3 มีประชากรจำนวนทั้งสิ้น 1,175 คน จำนวน 383 ครัวเรือน โดยแยกเป็น 3 คุ้มบ้าน คือ คุ้มที่ 1) บ้านตะโล๊ะยามิง คุ้มที่ 2) บ้านตะโล๊ะงอเบาะ คุ้มที่ 3) บ้านกาดือแป สำหรับคุ้มบ้านตะโล๊ะงอเบาะ มีจำนวน 200 ครัวเรือน ประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพการเกษตรแบบเชิงเดี่ยว ประกอบด้วย ยางพารา นาข้าว และสวนไม้ผล ซึ่งหลังจากการกรีดยางหรือทำนาของคนในพื้นที่แล้ว บางครัวเรือตำบลยะต๊ะจะปลูกผักเพื่อไว้บริโภคเอง หากเหลือจากการบริโภคก็จะนำไปขาย ผักที่นิยมปลูกจะเป็นผักพื้นบ้าน ผักตามฤดูกาล เช่น ถั่วฝักยาว แตงกวา พริก ข้าวโพด แตงโม ผักบุ้ง ฝักทอง เป็นต้น
      เกษตรกร 80% มีการคำนึงถึงสภาพแวดล้อมรักษาสสมดุลของธรรมชาติเน้นการใช้วัสดุอินทรีย์ชนิดต่างๆ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด และปุ๋ยชีวภาพ แต่ยังพบว่าเกษตรกร อีก 20 % มีการใช้สารเคมี เนื่องจากยังขาดความรู้ ความเข้าใจ และมีความเชื่อว่าหากมีการใช้ปุ๋ยเคมีผสมร่วมกับปุ๋ยคอก จะเร่งให้พืชโตเร็ว แข็งแรง และผักมีความสวยงามและสาเหตุของการใช้ปุ๋ยเคมีพบว่า เกษตรกรสามารถหาซื้อได้ง่ายในชุมชนและง่ายต่อการดูแล       นอกจากปัญหาขององค์ความรู้การทำการเกษตรแล้ว พบว่า ปัญหาที่สำคัญอย่างยิ่งในชุมชน คือ แหล่งน้ำการเกษตรและสภาพดิน โดยชุมชนไม่มีแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรที่ยั่งยืน มีแหล่งน้ำธรรมชาติ ซึ่งเป็นลำธารหรือคลองของหมู่บ้านแต่อยู่บนภูเขา ชุมชนมีการดึงน้ำมาใช้เป็นประปาหมู่บ้าน แต่ไว้ใช้สำหรับอุปโภคเท่านั้นเนื่องจากแหล่งน้ำมีน้อย ต้องจำกัดในการใช้ ทำให้การทำการเกษตรของชุมชนที่นี้ ประชาชนต้อง จัดหาแหล่งน้ำเอง โดยการขุดบ่อหรือทำสระเก็บน้ำขนาดเล็ก หากปีใดเกิดฝนทิ้งช่วงระยะยาวก็จะประสบปัญหาน้ำแล้ง ไม่มีน้ำในการรดผัก อาจทำให้พืชผักยืนต้นตายได้ และสภาพดินในชุมชนเป็นพื้นที่ราบและลุ่ม ทุ่งนาและเชิงเขา เกษตรกรมีการถมดินในนาหรือยกร่อง ทำให้ดินที่ถมเป็นดินแข็ง น้ำและอากาศผ่านเข้าออกได้ยาก ฤดูแล้งจะแห้งแข็ง รากไม้แทรกเข้าไปได้ยาก จึงปลูกพืชไม่ค่อยเจริญเติบโต เพราะไม่มีสารอาหาร เกษตรกรยังขาดความรู้ ไม่มีการปรับปรุงหน้าดินก่อนทำการเพาะปลูกทำให้พืชเจริญเติบโตได้ไม่เต็มที และปัญหาศัตรูพืช ซึ่งเกษตรกรไม่ใช้สารเคมีในการกำจัดศัตรูพืช ทำให้ประสบปัญหาด้านศัตรูพืชรุกรานแปลงเกษตร       พฤติกรรมการบริโภคของชุมชนบ้านตะโล๊ะ ส่วนใหญ่ซื้อผักจากท้องตลาด รถเร่ และร้านค้าในหมู่บ้านมาบริโภคในครัวเรือน ไม่ได้มีการปลูกผักทุกครัวเรือน เพราะหาซื้อง่าย สะดวกในการจับจ่ายใช้สอย เนื่องจากในหมู่บ้านมีร้านค้าขายผักสด และรถเร่ จึงนิยมซื้อผักมาบริโภค ส่วนใหญ่จะปลูกพืชสมุนไพร เช่น ขมิ้น ขิง ข่า ตะไคร้ ที่ไม่ต้องให้การดูแลบำรุงรักษา
      ดังนั้น แนวทางในการป้องกันปัญหาที่เป็นการแก้ที่ต้นเหตุแบบยั่งยืน คือการให้องค์ความรู้แก่ประชาชนในพื้นที่ส่งเสริมการปลูกผักเพื่อบริโภคในครัวเรือน การปลูกผักรับประทานเองผักอินทรีย์หรือผักปลอดภัย โดยไม่ใช้สารเคมีหรือใช้ในปริมาณที่ปลอดภัย และลดการซื้อผักจากรถเร่ และร้านค้าที่นำผักในตลาดมาขายในหมู่บ้าน ซึ่งเป็นหนทางหนึ่งที่จะช่วยใช้ผู้บริโภคได้รับสารอาหารที่ดีมีประโยชน์อย่างแท้จริง เพื่อลดโรค และเป็นการให้ชุมชนหันกลับมาดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงในการป้องกันโรค และลดต้นทุนการผลิต เน้นในด้านการป้องกันโรคมากกว่าการรักษา ทั้งนี้ ให้เกษตรกรได้เรียนรู้กระบวนการผลิตผักปลอดภัยสู่ตลาดภายนอก เรียนรู้การวางแผนการผลิต การจัดการที่ดี ที่ครอบคลุมถึงด้านการตลาด มีอำนาจในการตั้งราคาเอง โดยไม่ให้พ่อค้าคนกลางกดราคาได้ เพื่อเกษตรกรสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน สร้างรายได้เสริม ให้เป็นรายได้หลักแทนยางพาราและให้เป็นพื้นที่แหล่งอาหารที่สำคัญของจังหวัดยะลา และควรให้เกษตรกรตระหนักถึงการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการเกษตร จำเป็นต้องมีการปรับปรุงบำรุงดินอย่างต่อเนื่อง ถูกวิธี และเหมาะสมตามลักษณะและคุณสมบัติของดิน สำหรับดินทั่วๆไป การปรับปรุงบำรุงดินเพื่อให้เหมาะสมสำหรับพืชที่ต้องการปลูกและสภาพพื้นที่ปลูก ควรเริ่มต้นด้วยการตรวจสอบคุณสมบัติของดินและการวิเคราะห์ดิน ทั้งนี้ ผลการตรวจสอบและการวิเคราะห์ดินดังกล่าวจะนำไปสู่วิธีการหรือแนวทางการปรับปรุงบำรุงดินที่เหมาะสมต่อไป และก่อนการเพาะปลูกควรให้เกษตรกรเตรียมแหล่งน้ำ เพื่อการเพาะปลูกเพื่อไม่ให้พืชผักยืนต้นตายได้

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เกษตรกรมีความรู้ ความสามารถ ในการผลิตและบริโภคผักที่ปลอดภัยอย่างยั่งยืน

1.1 เกษตรกรนำความรู้ การปลูกผักไปใช้ในแปลงของตนเองโดยไม่ใช้สารเคมีหรือใช้ในปริมาณที่ปลอดภัย ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 1.2 ครัวเรือน 20 % ที่มีการใช้ปุ๋ยเคมีลดละเลิกการใช้มากขึ้นร้อยละ 80
ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 1.3 ครัวเรือนมีการบริโภคผักอินทรีย์เพิ่มขึ้น

80.00
2 เพื่อให้เกิดกลไกตลาดผักปลอดภัยในชุมชน ลดการนำเข้าจากพื้นที่อื่น

ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 2.1 ได้รับการรับรองมาตรฐานผักปลอดภัยจากการตรวจรับรองแบบมีส่วนร่วมของสมาชิกในกลุ่ม (PGS) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 2.2 เกิดช่องทางการจัดจำหน่ายระดับชุมชน ตำบล

0.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 40
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
คืนข้อมูลให้ชุมชน และจัดทำ MOU กับศูนย์กระจายผักขอ 40 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
1 กิจกรรมที่ 1ประชุมสมาชิกจำนวน 3 ครั้ง และประชุมคณะทำงาน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 152 22,400.00 8 22,400.00
24 มิ.ย. 63 ประชุมสมาชิกและผู้ประสานงานครั้งที่1 40 5,800.00 5,800.00
12 ก.ค. 63 ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 1 เพื่อขับเคลื่อนโครงการ 12 1,560.00 1,560.00
8 ก.ย. 63 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 2 ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินโครงการตามแผนปฏิบัติงาน และนำเสนอปัญหาที่พบ เพื่อร่วมกันหาทางแก้ปัญหาหรือพัฒนาการทำงานให้ดียิ่งขึ้น 12 1,560.00 1,560.00
15 ก.ย. 63 ประชุมสมาชิกและประสานงานครั้งที่2 32 4,160.00 4,160.00
13 ธ.ค. 63 ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 3 สรุปข้อมูลและติดตามความก้าวหน้าการดำเนินโครงการตามแผนปฏิบัติงาน เพื่อรวบรวมนำเสนอในที่ประชุมสมาชิกในเดือนธันวาคม 2563 12 1,560.00 1,560.00
28 ธ.ค. 63 ประชุมสมาชิกและประสานงานครั้งที่ 3 32 5,200.00 5,200.00
22 มี.ค. 64 ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 4 สรุปข้อมูลและรายงานความก้าวหน้าการดำเนินโครงการตามแผนปฏิบัติงาน เพื่อรวบรวมนำเสนอในที่ประชุมสมาชิกในเดือนธันวาคม 2563 12 1,560.00 1,560.00
25 เม.ย. 64 จัดทำไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการและป้ายบันไดผลลัพธ์ 0 1,000.00 1,000.00
2 กิจกรรมที่ 2 สำรวจแปลงผู้เข้าร่วมโครงการเพื่อจัดทำข้อมูลพื้นฐาน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 10 4,200.00 2 4,200.00
27 มิ.ย. 63 สำรวจแปลงการเพาะปลูกของผู้เข้าร่วมโครงการ เพื่อจัดทำข้อมูลพื้นฐาน 5 2,250.00 2,250.00
15 มี.ค. 64 สำรวจแปลงการเพาะปลูกของผู้เข้าร่วมโครงการ และสำรวจพฤติกรรมการเพาะปลูก 5 1,950.00 1,950.00
3 กิจกรรมที่ 3 การพัฒนาศักยภาพสมาชิกและคณะทำงานศึกษาดูงานแปลงต้นแบบและความสำเร็จของการจัดสวนปลอดสารพิษ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 40 18,700.00 1 18,700.00
9 ก.ค. 63 พัฒนาศักยภาพสมาชิกและคณะทำงานศึกษาดูแปลงต้นแบบและความสำเร็จของการจัดการสวนเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดยะลา 40 18,700.00 18,700.00
4 กิจกรรมที่ 4 อบรมการเตรียมแปลงก่อนการเพาะปลูก การปรับปรุงดิน การทำปุ๋ยหมัก ฯ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 40 14,200.00 1 14,200.00
29 มิ.ย. 63 อบรมการเตรียมแปลงก่อนการเพาะปลูก การปรับปรุงดิน การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ และการกำจัดศัตรูพืช โดยการอบรม สร้างความรู้ ความเข้าใจ และพัฒนาทักษะการเพาะปลูกแบบมืออาชีพ และการใช้ระบบน้ำในแปลง เป้าหมาย:คณะทำงานและสมาชิก 40 14,200.00 14,200.00
5 กิจกรรมที่ 5 อบรมการใช้ระบบน้ำฯ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 40 10,000.00 1 10,000.00
9 ก.ค. 63 5 อบรมการใช้ระบบน้ำในแปลงเกษตรจากนวัตกรรมอย่างง่าย เพื่อให้เกษตรสามารถทำได้เอง แก้ปัญหาน้ำ ในพื้นที่แปลงเกษตรของตนเองได้อย่างเป็นระบบ 40 10,000.00 10,000.00
6 กิจกรรมที่ 6 อบรมการปลูกผักระยะปลอดภัย ไม่ใช้สารเคมีฯ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 40 9,200.00 1 9,200.00
7 ก.ค. 63 การอบรมการปลูกผักในระยะที่ปลอดภัย และไม่ใช้สารเคมี ตามมาตรฐาน PGS , GAP และการส่งเสริมช่องทางการจัดจำหน่าย โดยการอบรม สร้างความรู้ ความเข้าใจ และพัฒนาทักษะการเพาะปลูก แบบมืออาชีพ เป้าหมาย:คณะทำงานและสมาชิก 40 9,200.00 9,200.00
7 กิจกรรมที่ 7 คืนข้อมูลชุมชน /MOU กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 40 9,644.00 1 9,644.00
25 มิ.ย. 63 คืนข้อมูลให้ชุมชน และจัดทำ MOU กับศูนย์กระจายผักของอำเภอหรือจังหวัด อย่างน้อย 1 แห่ง โดยการจัดเวทีคืนข้อมูลให้กับชุมชน 1 เวที และจัดทำ MOU กับศูนย์กระจายผักในจังหวัด เช่น ตลาดสด หรือตลาดเมืองใหม่ ในการรับซื้อผักจากหมู่บ้านตะโล๊ะ 40 9,644.00 9,644.00
8 กิจกรรมที่ 8 ประชุมร่วมกับหน่วยจัดการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 18 8,656.00 6 8,344.00
1 มิ.ย. 63 ประชุมขับเคลื่อนหน่วยจัดการระดับจังหวัด 3 1,656.00 1,656.00
3 มิ.ย. 63 ปฐมนิเทศคณะทำงานโครงการ 3 696.00 696.00
15 ส.ค. 63 เวทีทบทวนบันไดผลลัพธ์ และออกแบบการเก็บข้อมูลโครงการย่อย 3 696.00 696.00
25 เม.ย. 64 เวทีการนำเสนอตารางการเก็บข้อมูล 3 696.00 696.00
30 ส.ค. 64 เวทีพัฒนาศักยภาพการรายงานผลลัพธ์โครงการย่อย 3 1,000.00 1,000.00
30 ส.ค. 64 เวทีประเมิน ARE โครงการย่อย 3 3,912.00 3,600.00
9 กิจกรรมติดตามประเมินผลและการเรียนรู้ ARE กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 30 3,000.00 3 3,000.00
25 ส.ค. 63 รายงานการติดตามประเมินผลและการเรียนรู้ ARE ชุมชน ครั้งที่ 1 10 1,000.00 1,000.00
13 ม.ค. 64 รายงานการติดตามประเมินผลและการเรียนรู้ ARE ครั้งที่ 2 10 1,000.00 1,000.00
8 เม.ย. 64 ติดตามประเมินผลและเรียนรู้ ARE ครั้งที่ 3 (CCAT) 10 1,000.00 1,000.00
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 0.00 2 0.00
16 ก.พ. 64 เวทีARE ชุมชน 0 0.00 0.00
24 มี.ค. 64 ประชุมวิเคราะห์สังเคราะห์โคงการ 0 0.00 0.00

ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 1 ประชุมชี้แจง ทำความเข้าใจโครงการ แบ่งบทบาทหน้าที่ พร้อมวางแผนการดำเนินงานร่วมกัน รวมถึงการรวบรวมข้อมูลพฤติกรรมการปลูกผัก การบริโภคผัก การใช้สารเคมีในแต่ละครัวเรือน และนำข้อมูลจากการสำรวจมาแลกเปลี่ยนในที่ประชุมเพื่อเปรียบเทียบข้อมูลการเปลี่ยนแปลงระหว่างดำเนินงานและสิ้นสุดโครงการ) และสร้างความรู้ความเข้าใจถึงความแตกต่างระหว่างมาตรฐาน PGS และ GAP ก่อนดำเนินการ ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 2 ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินโครงการตามแผนปฏิบัติงาน และนำเสนอปัญหาที่พบเพื่อร่วมกันหาทางแก้ปัญหาหรือพัฒนาการทำงานให้ดียิ่งขึ้น
ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 3 สรุปข้อมูลและติดตามความก้าวหน้าการดำเนินโครงการตามแผนปฏิบัติงาน เพื่อรวบรวมนำเสนอในที่ประชุมสมาชิกในเดือนธันวาคม 2563
ประชุมครั้งที่ 4 ประชุมเพื่อสรุปผลการดำเนินงานโครงการและรวบรวมข้อมูลนำเสนอในเวทีคืนข้อมูลให้ชุมชน

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 มิ.ย. 2563 11:04 น.