Node Flagship

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ลดอุบัติเหตุทางท้องถนนตำบลสะเตงนอก
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดยะลา
รหัสโครงการ 63001750015
วันที่อนุมัติ 1 มิถุนายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2563 - 31 มีนาคม 2564
งบประมาณ 100,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนิบงบารู
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางยูไวรียะ ยูนุ๊
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาววราภรณ์ เงินราษฎร์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสะเตงนอก อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มิ.ย. 2563 31 ส.ค. 2563 1 มิ.ย. 2563 31 ส.ค. 2563 39,900.00
2 1 ก.ย. 2563 15 ธ.ค. 2563 34,510.00
3 1 ม.ค. 2564 25,590.00
รวมงบประมาณ 100,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สืบเนื่องจากองค์การสหประชาชาติได้เล็งเห็นปัญหาอุบัติเหตุทางท้องถนนว่าเป็นปัญหาสำคัญและเป็นสาเหตุของการสูญเสีย บาดเจ็บและเสียชีวิตของประชาชน จึงได้มีมติร่วมกันให้เป็นวาระสำคัญที่ทุกประเทศจะต้องเร่งดำเนินการแก้ไข โดยประกาศเป็น “ทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนน” (Decade of Action for Road Safety : 2011-2020) โดยตั้งเป้าลดผู้เสียชีวิตลงครึ่งหนึ่งในทศวรรษหน้า ประเทศไทยตอบรับปฏิญญาดังกล่าวโดยรัฐบาลไทยมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2556 ประกาศให้ปี 2554-2563 เป็นทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนนโดยบูรณาการการดำเนินการจากหน่วยงานทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่นรณรงค์ลดอุบัติเหตุและแก้ไขปัญหาดังกล่าว และตั้งเป้าหมายที่จะลดอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนให้เหลือไม่เกิน 10 คนต่อประชากรแสนคนภายในปี 2563 ทั้งนี้จากสภาพปัญหาการเกิดอุบัติเหตุทางท้องถนนเป็นสาเหตุที่ทำให้มีผู้บาดเจ็บอยู่ในอันดับต้นๆของประเทศ ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาแม้ว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐหายุทธการป้องกันอุบัติเหตุทางถนนในหลายๆรูปแบบ แต่ยังไม่สามารถลดปัญหาการเกิดอุบัติเหตุลงได้ ทั้งนี้ปัญหาอุบัติเหตุมีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นทุกปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งถนนในชุมชน โดยมีสาเหตุมาจากการขับขี่ด้วยความเร็ว ผู้ขับขี่ไม่สวมหมวกนิรภัย ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย และมีจุดเสี่ยงที่มักเกิดอุบัติเหตุในชุมชน

จากสถิติการเกิดอุบัติเหตุของอำเภอเมืองยะลาใน 3 ปี ย้อนหลัง พบว่าพื้นที่หมู่ที่ 3, 7, 13 ตำบลสะเตงนอก มีอัตราการเกิดอุบัติเหตุสูงสุด จำนวน 74, 71, 87 ครั้ง ตามลำดับ โดยสถิติปี 2562 พบว่าจังหวัดยะลามีอุบัติเหตุเกิดขึ้นจำนวน 1,641 ครั้ง  ซึ่งเกิดในพื้นที่อำเภอเมืองยะลา 421 ครั้ง เสียชีวิต 24 คน บาดเจ็บจำนวน 282 คน หากวิเคราะห์ตามเขตพื้นที่ พบว่า พื้นที่หมู่ที่ 3, 7, 13 ตำบลสะเตงนอก ยังเป็นพื้นที่ที่มีอัตราการเกิดอุบัติเหตุสูงสุด คือ อุบัติเหตุเกิดขึ้น 87 ครั้ง เสียชีวิต 9 คน บาดเจ็บจำนวน 62 คน สาเหตุหลักในการเกิดอุบัติเหตุของตำบลสะเตงนอก จากปัจจัยด้านคน โดยมีพฤติกรรมเสี่ยงในการใช้รถใช้ถนนของผู้ขับขี่และผู้ใช้เส้นทาง ความประมาท ความสามารถของผู้ขับขี่ลดลงเนื่องจากสภาพร่างกายไม่พร้อม รวมถึงการไม่ชำนาญเส้นทาง การไม่เคารพกฎจราจร ขาดวินัยในการใช้รถใช้ถนนร่วมกันและการไม่ใช้อุปกรณ์นิรภัย ด้านยานพาหนะ ยังพบว่าขาดความพร้อมด้านอุปกรณ์ความปลอดภัย การปรับแต่งสภาพยานพาหนะและการบรรทุกหรือโดยสารที่ไม่ปลอดภัย ด้านสิ่งแวดล้อม พบว่า จุดเสี่ยง จุดอันตราย จุดที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยยังไม่ได้รับการแก้ไข ลักษณะทางกายภาพของถนนไม่สมบูรณ์ อาทิ ผิวถนนเป็นหลุม บ่อ และถนนอยู่ระหว่างก่อสร้างหรือซ่อมแซม รวมถึงอุปสรรคทางธรรมชาติและลักษณะภูมิอากาศ จากปัจจัยต่างๆข้างต้น การเกิดอุบัติเหตุทางถนน ส่งผลกระทบต่อผู้ที่ประสบภัยโดยก่อให้เกิดภาวะเครียดและวิตกกังวล บาดเจ็บ จนกระทั่งการเสียชีวิต ไม่เพียงเท่านั้นยังก่อให้เกิดความสูญเสียต่อเศรษฐกิจและสังคมโดยรวมอย่างมหาศาล เพราะการเสียชีวิตจากและบาดเจ็บทั้งทางกายและใจจากอุบัติเหตุทางท้องถนน ทำให้ผู้ประสบภัยและครอบครัวสูญเสียผลิตภาพ เกิดค่าใช้จ่ายในการรักษาตัว ติดหนี้ ขาดรายได้ในการประกอบอาชีพ รวมถึงทางสังคมที่ส่งผลให้เกิดการทะเลาะวิวาท เกิดข้อพิพาทกับคู่กรณี และอุบัติเหตุยังก่อให้เกิดต้นทุนอื่นๆ เช่น ต้นทุนในการดำเนินคดี ต้นทุนจากผลกระทบต่อสภาพการจราจร ป้ายบอกทางชำรุด เสาไฟฟ้าหรือสัญญาณไฟชำรุด บ้านเรือนเสียหาย เป็นต้น
ดังนั้น ทางพื้นที่หมู่ที่ 3, 7, 13 ตำบลสะเตงนอก มุ่งหวังเพิ่มประสิทธิภาพความครอบคลุม การลดอุบัติเหตุการใช้รถที่เพิ่มมากขึ้น และจากประชาชนขาดความรู้และไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบจราจรอย่างแท้จริง จึงจัดทำโครงการการจัดการจุดเสี่ยงเพื่อป้องกันอุบัติเหตุทางถนนในตำบลสะเตงนอก โดยมีวัตถุประสงค์ให้คนในชุมชน หน่วยงานตำรวจท้องถิ่น ตำรวจทางหลวง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน โรงเรียน ชมรมหรือสมาคมต่างๆ รวมไปถึงบุคคลสำคัญหรือผู้นำศาสนา ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดระเบียบการจราจรในชุมชน และการแก้ไขจุดเสี่ยงของชุมชนที่เกิดอุบัติเหตุ รวมถึงสมาชิกในชุมชนมีการปฏิบัติตามข้อตกลงร่วมกันในการแก้ไขจุดเสี่ยงและพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับจุดเสี่ยง เพื่อลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุในชุมชนอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อส่งเสริมให้เกิดกลไกการมีส่วนร่วมของชุมชนเรื่องป้องกันอุบัติเหตุทางถนนที่เข้มแข็ง

ผลลัพธ์ที่ 1 เกิดคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ ตัวชี้วัดผลลัพธ์
1.1.มีโครงสร้างแบ่งงานชัดเจน มีความรู้ความเข้าใจการวิเคราะห์จุดเสี่ยง 1.2.มีข้อมูล มีแผนการดำเนินงานร่วมกันและแลกเปลี่ยนเรียนรูเพื่อค้นหาแนวทางการแก้ไขปัญหาและขยายผลกิจกรรม 1.3.แกนนำมีทักษะด้านการวิเคราะห์ข้อมูลและจุดเสี่ยง 1.4.มีแผนการดำเนินการแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุ จากจุดเสี่ยง 1.5.คณะทำงาน ติดตามประเมินผลทุกเดือน

ผลลัพธ์ที่ 2 ประชาชนมีความรู้และเกิดความตระหนักเพื่อลดอุบัติเหตุทางท้องถนน ตัวชี้วัดผลลัพธ์
2.1.สมาชิกในชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องกฎจราจรและการขับขี่อย่างปลอดภัยเพื่อลดอุบัติเหตุในชุมชน 2.2.เกิดข้อตกลงร่วมของชุมชนในการแก้ไขจุดเสี่ยงและพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับจุดเสี่ยงที่ชุมชนจะแก้ไขเพื่อลดอุบัติเหตุในชุมชน 2.3 ประชาชนปฏิบัติตามกฎจราจร

ผลลัพธ์ที่ 3 เกิดกลไกเฝ้าระวังติดตามเรื่องอุบัติเหตุทางท้องถนนที่เข้มแข็ง ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 3.1ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมประชาชนในชุมชน
3.2มีการติดตามเฝ้าระวังและทบทวนแผนปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง

ผลลัพธ์ที่ 4 สภาพแวดล้อมที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้รับการแก้ไข ตัวชี้วัดผลลัพธ์
4.1.จุดเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุทางถนนในชุมชนได้รับการปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องกับปัญหาในชุมชน ร้อย ละ 60 ของจำนวนจุดเสี่ยงประเภทที่ชุมชนแก้ไขได้เอง 4.2. ส่งต่อจุดเสี่ยงที่ไม่สามารถแก้ไขเองร้อยละ100 4.3 มีป้าย/สื่อรณรงค์ตามจุดเสี่ยงในชุมชน

0.00
2 2. เพื่ออุบัติเหตุทางท้องถนนลดลง

ผลลัพธ์ที่ 5 อุบัติเหตุทางท้องถนนลดลง ตัวชี้วัดผลลัพธ์
5.1.จำนวนการเกิดอุบัติเหตุทางท้องถนนลดลง    ร้อยละ 50 5.2 อัตราความรุนแรงทางศีรษะลดลงร้อยละ 50 5.3 อัตราการบาดเจ็บและการตายลดลงร้อยละ 60

0.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 45
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
คณะทำงาน 45 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
1 บันทึกรายงานโครงการย่อย กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 2 2,000.00 2 2,000.00
31 ส.ค. 63 รายงานผลการดำเนินกิจกรรมผ่านระบบคอมพิวเตอร์ งวดที่ 1 1 1,000.00 1,000.00
22 มี.ค. 64 รายงานผลการดำเนินกิจกรรมผ่านระบบคอมพิวเตอร์ งวดที่ 2 1 1,000.00 1,000.00
2 กิจกรรมพัฒนาร่วมกับหน่วยจัดการ(งบประมาณส่วนที่ สสส.สนับสนุนเพิ่มเติม) กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 15 8,000.00 7 8,000.00
3 มิ.ย. 63 เวทีปฐมนิเทศน์ ทำสัญญาโครงการ 3 600.00 600.00
5 มิ.ย. 63 จัดทำป้ายโครงการย่อยและป้ายบันไดผลลัพธ์ 1 1,000.00 1,000.00
6 ก.ค. 63 เวทีพัฒนาศักยภาพการรายงานผลลัพธ์ของโครงการย่อย 2 400.00 400.00
24 ส.ค. 63 เวทีทบทวนบันไดผลลัพธ์และออกแบบเก็บข้อมูล 2 400.00 400.00
23 - 25 ต.ค. 63 เวทีการประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา(ARE) ของหน่วยจัดการระดับที่มีจุดเน้นสำคัญ(์Node Flagship) ระดับจังหวัดยะลา ครั้งที่ 1 5 5,200.00 5,200.00
16 ก.พ. 64 เวทีติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE) ระดับหน่วยจัดการ 1 200.00 200.00
24 มี.ค. 64 เวทีสังเคราะห์และสกัดบทเรียนโครงการย่อยฯ ระดับหน่วยจัดการฯ 1 200.00 200.00
3 จัดตั้งคณะทำงานโครงการและประชุมคณะทำงาน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 90 5,400.00 2 5,400.00
25 มิ.ย. 63 จัดตั้งคณะทำงานโครงการ และประชุมคณะทำงานครั้งที่ 1 45 2,700.00 2,700.00
15 มี.ค. 64 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 2 และสรุปโครงการ 45 2,700.00 2,700.00
4 อบรมให้ความรู้และจัดเวทีคืนข้อมูลแก่ประชาชน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 120 19,200.00 1 19,200.00
28 มิ.ย. 63 อบรมให้ความรู้ เรื่อง กฏจราจรและการขับขี่อย่างปลอดภัย 120 19,200.00 19,200.00
5 จัดเวทีคืนข้อมูลการสำรวจข้อมูลอุบัติเหตุ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 120 15,600.00 1 15,600.00
22 ธ.ค. 63 จัดเวทีคืนข้อมูลการสำรวจข้อมูลอุบัติเหตุจากจุดเสี่ยงทีได้รับการแก้ไขแล้วแก่สมาชิกในชุมชน 120 15,600.00 15,600.00
6 การสำรวจข้อมูลอุบัติเหตุจากจุดเสี่ยงที่ได้รับการแก้ไขแล้ว กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 30 7,800.00 2 7,800.00
28 พ.ย. 63 การสำรวจข้อมูลอุบัติเหตุจากจุดเสี่ยงที่ได้รับการแก้ไขแล้ว จุดที่ 1-3 และรวบรวมข้อมูล 15 3,900.00 3,900.00
29 พ.ย. 63 การสำรวจข้อมูลอุบัติเหตุจากจุดเสี่ยงที่ได้รับการแก้ไขแล้ว จุดที่ 4-6 และรวบรวมข้อมูล 15 3,900.00 3,900.00
7 จัดอบรมพัฒนาคณะทำงาน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 45 15,300.00 1 15,300.00
26 - 27 มิ.ย. 63 จัดอบรมพัฒนาคณะทำงาน และลงพื้นที่สำรวจจุดเสี่ยง 45 15,300.00 15,300.00
8 การปรับปรุงจุดเสี่ยงอันตราย กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 45 11,100.00 1 11,100.00
15 ส.ค. 63 การปรับปรุงจุดเสี่ยงอันตราย 45 11,100.00 11,100.00
9 จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้พร้อมสรุปผลการดำเนินงานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 120 15,600.00 1 15,600.00
24 ม.ค. 64 จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้พร้อมสรุปผลการดำเนินงานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องขับเคลื่อนงานต่อไป 120 15,600.00 15,600.00

จัดประชุมและตั้งคณะทำงาน

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

มีคณะทำงานในการดำเนินงาน

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 มิ.ย. 2563 20:43 น.