Node Flagship

directions_run

ส่งเสริมการปลูก กิน ขายผักปลอดภัย ต.อัยเยอร์เวง

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ส่งเสริมการปลูก กิน ขายผักปลอดภัย ต.อัยเยอร์เวง
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดยะลา
รหัสโครงการ 63001750013
วันที่อนุมัติ 1 มิถุนายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2563 - 31 มีนาคม 2564
งบประมาณ 100,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ บ้านกม.38 อัยเยอร์เวง
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอับดุลรอนิง ลงซา
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ ซารีป๊ะ ฆอแด๊ะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลอัยเยอร์เวง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 5.983462,101.198329place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มิ.ย. 2563 31 ส.ค. 2563 1 มิ.ย. 2563 31 ส.ค. 2563 40,000.00
2 1 ก.ย. 2563 15 ธ.ค. 2563 50,000.00
3 1 ม.ค. 2564 30 เม.ย. 2564 10,000.00
รวมงบประมาณ 100,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ข้อมูลจากการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2551-2552 จากการใช้เกณฑ์ความเพียงพอตามปริมาณที่แนะนำให้บริโภคต่อวัน พบว่า คนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไปร้อยละ 76.2 บริโภคผักเฉลี่ยต่อวันต่ำกว่าข้อแนะนำมาตรฐานที่ให้บริโภค วันละ 3 ส่วน และแม้ว่าในช่วงหลายปีที่ผ่านมาจะมีการรณรงค์ให้คนไทยบริโภคผักและผลไม้มากขึ้น แต่จากรายงานโครงการศึกษาวิจัยแผนการลงทุนด้านสุขภาพในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554) พบว่าคนไทยมากกว่าร้อยละ 75 บริโภคผักและผลไม้ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานขั้นต่ำที่องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ที่อย่างน้อย 400 กรัมต่อวัน คนไทยบริโภคผักและผลไม้สดลดลง ถึงแม้ว่าคนไทยส่วนใหญ่กว่า 98.8% จะมีการบริโภคผักและผลไม้อย่างน้อย 1 วันในแต่ละสัปดาห์โดยสัดส่วนดังกล่าวไม่เปลี่ยนแปลงจากปี 2556 แต่สัดส่วนของคนที่กินผักและผลไม้ทุกวันกลับลดลง จาก 54.5% เป็น 41.1% โดยเป็นการลดลงในทุกกลุ่มอายุ เพศ และภูมิภาค ในปัจจุบัน การซื้อผักผลไม้ตามท้องตลาดมาบริโภคนั้นมีความเสี่ยงในเรื่องสารพิษตกค้าง ซึ่งหากบริโภคเป็นประจำอาจเกิดการสะสม และส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว ทั้งในเรื่องของประสาทสัมผัส การเคลื่อนไหวบกพร่อง เกิดความผิดปกติทางกายภาพของต่อมไทรอยด์ นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าสารป้องกันกำจัดแมลงบางชนิดมีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็ง เช่น มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งตับอ่อน มะเร็งเต้านม และมะเร็งผิวหนัง     หมู่บ้าน กม.38 บางครัวเรือนยังมีความคิดในการบริโภคแบบเดิมๆโดยไม่คำนึงถึงสุขภาพในอนาคต คิดเพียงอยากมีผักสวยๆเผื่อเหลือจากการกินในบ้านแล้วสามารถนำไปขาย และยังคิดว่าหากผักถูกแมลงกินจนเสียจะไม่สามารถนำไปขาย ทำให้ขาดรายได้เพราะไม่มีความรู้ในการทำปุ๋ยหมักไว้ใช้ จึงยังต้องใช้สารเคมีกำจัดแมลงเพื่อให้ได้ผลผลิตที่สวยงาม แต่ไม่คำนึงถึงสารพิษที่เกิดจากยาฆ่าหญ้า ยาฆ่าแมลงและเข้าสู่ร่างกายทั้งผู้ผลิตเองและผู้บริโภค ทางชุมชนจึงมีความเห็นตรงกันว่าควรมีการจัดกิจกรรมที่เสริมสร้างความรู้ด้านการปลูกผักปลอดภัยเพื่อใช้บริโภคในครัวเรือนและไว้ขายเพื่อสร้างรายได้เสริมภายในครัวเรือนได้

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

เมื่อทราบสาเหตุของการเกิดปัญหาชุมชนได้ร่วมกันหาแนวทางการแก้ปัญหาโดยคำนึงถึง ความเป็นไปได้ของการแก้ปัญหา การให้ความร่วมมือของคนในชุมชน และการดึงทุนและศักยภาพของชุมชนมาประกอบในการกำหนดแนวทางการดำเนินงาน ได้แนวทางการดำเนินงาน คือ สรรหาคณะบุคคลที่มีศักยภาพในชุมชน โดยกระบวนการคัดสรรโดยชุมชน โดยมีตัวแทนจากบุคคลที่หลากหลายและครอบคลุมพื้นที่ของหมู่บ้าน เพื่อทำหน้าที่เป็นคณะทำงาน คัดเลือกตัวแทนเยาวชนในพื้นที่ จัดเวทีพัฒนาศักยภาพ ในด้านต่างๆ เพื่อให้สามารถเข้าใจและวิเคราะห์สภาพปัญหาและความต้องการของชุมชน พบปะ พูดคุย ถกเถียง และหาข้อสรุปร่วมกัน ในแนวทางการแก้ไขปัญหา และยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน โดยนำประเด็นผลกระทบจากการบริโภคอาหารที่มีการปนเปื้อนสารเคมี และแนวทางการแก้ไขและส่งเสริมให้ชุมชนสามารถบริโภคพืชผักที่ปลอดภัย ทั้งในเรื่องทักษะความรู้ในการใช้ จัดเก็บและทำลายสารเคมีที่ถูกต้อง ปลอดภัยต่อผู้ใช้ ผู้เกี่ยวข้อง และสิ่งแวดล้อม มอบหมายหน้าที่ให้คณะทำงานเป็นกระบอกเสียงเชิญชวน สร้างความเข้าใจกับประชาชนในแนวทางการร่วมมือกันเพื่อลดผลกระทบจากสารเคมีต่อสุขภาวะของคนในชุมชน ตรวจสารเคมีตกค้างในเลือดและในพืชผักของชุมชน ตั้งกลุ่มผู้เข้าร่วมโครงการประชุมให้ความรู้ สร้างกติกาชุมชน ตั้งแปลงสาธิตพืชผักปลอดสารพิษของชุมชน โดยใช้พื้นที่สาธารณะบริเวณรอบศูนย์หมู่บ้าน เป็นพื้นที่ดำเนินการเพื่อแบ่งปันความรู้แก่ผู้มาเยี่ยมชม และร่วมมือกับโรงเรียนใกล้หมู่บ้าน ในการสนับสนุนและส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้และเห็นคุณค่าของการบริโภคผักและมีทักษะในการปลูกผักปลอดสารพิษ
    การดำเนินโครงการนี้ ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อหมู่บ้าน เป็นอย่างมาก นอกจากได้สร้างความสามัคคีให้แก่คนในชุมชนแล้ว ยังสามารถสร้างคณะทำงานที่มาจากความเห็นชอบของคนในชุมชน กลุ่มเป้าหมายได้เรียนรู้การทำเกษตรตามต้องการ ได้เรียนรู้การทำปุ๋ยด้วยตัวเอง เพื่อนำมาใช้ในการเพาะปลูก สามารถสร้างรายได้ให้แก่คนในชุมชนและยังทำให้เป็นชุมชนที่มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง เนื่องจากการกินผักปลอดภัย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ครัวเรือนปลูกผักปลอดภัย สำหรับการบริโภคในครัวเรือน

ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 1.สมาชิกในครัวเรือนเป้าหมายรวมตัวจัดตั้งชมรมอาหารปลอดภัย มีตัวแทนมาเป็นคณะทำงานเพื่อติดตามและหนุนเสริมกิจกรรม ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 2.มีการจัดการข้อมูลวางแผนการผลิต ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 3.กลุ่มเป้าหมายมีความเข้าใจในวัตถุประสงค์โครงการ ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 4.กลุ่มเป้าหมายมีทักษะการปลูกผักปลอดภัย ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 5.กลุ่มเป้าหมายมีการนำความรู้เรื่องการปลูกผักปลอดภัยไปใช้ในแปลง ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 6.มีข้อตกลงเกี่ยวกับมาตรฐานการผลิตผักปลอดภัย และมีการปฏิบัติตาม

1.00
2 2.เพื่อสร้างระบบการจัดจำหน่ายผักปลอดภัย เพื่อสร้างรายได้ในครัวเรือน

ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 1.ชาวบ้านได้บริโภคผักปลอดภัย ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 2.เกิดแปลงผักต้นแบบที่สามารถขยายผลต่อได้ ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 3.เกษตรกรมีรายได้มากขึ้น ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 4.มีโรงเรียนรับซื้อผัก ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 5.มีตลาดวางขายประจำในพื้นที่อย่างน้อย 4 จุด ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 6.มีตราสัญลักษณ์ของผักปลอดภัยที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน GAPในหน่วยงานของจังหวัด

1.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 100 100
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
คณะทำงาน เยาวชน ครัวเรือนในพื้นที่บ้านกม.38 อัยเยอ 100 100
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
1 กิจกรรมที่ สสส. สนับสนุนเพิ่มเติม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 5 8,970.00 10 8,970.00
3 มิ.ย. 63 เวทีปฐมนิเทศและทำสัญญาโครงการย่อย 0 1,530.00 1,530.00
20 มิ.ย. 63 จัดทำป้ายไวนิลโครงการ และไวนิลบันไดผลลัพธ์ 0 1,000.00 1,000.00
6 ก.ค. 63 เวทีพัฒนาศักยภาพการรายงานผลลัพธ์ของโครงการย่อย 2 740.00 740.00
15 ส.ค. 63 เวทีทบทวนบันไดผลลัพธ์และออกแบบเก็บข้อมูลของโครงการย่อย 2 720.00 720.00
20 ส.ค. 63 ร่วมประชุมพิจารณายกร่างตารางข้อมูลผลลัพธ์เชิงประเด็นยุทธสาสตร์ 0 720.00 720.00
24 - 25 ต.ค. 63 เวทีประเมิน ARE ระดับจังหวัด ครั้งที่ 1 0 620.00 620.00
27 พ.ย. 63 เวทีพัฒนาศักยภาพและรายงานผลลัพธ์ของโครงการย่อย 0 200.00 200.00
16 ก.พ. 64 เวทีประเมิน ARE ระดับจังหวัด ครั้งที่2 0 720.00 720.00
24 มี.ค. 64 เวทีสังเคราะห์และสกัดบทเรียนการดำเนินงาน 0 720.00 720.00
30 มี.ค. 64 จัดทำรายงาน 1 2,000.00 2,000.00
2 ประชุมคณะทำงาน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 10 4,100.00 6 4,100.00
25 มิ.ย. 63 ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่1 10 4,100.00 680.00
18 ส.ค. 63 ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 2 เพื่อลงพื้นที่สำรวจ 0 0.00 700.00
14 ก.ย. 63 ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 3 เพื่อแบ่งหน้าที่ รับผิดชอบงาน เพื่อจัดกิจกรรมครั้งที่ 4 0 0.00 680.00
23 พ.ย. 63 ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 4 เพื่อแบ่งหน้าที่ รับผิดชอบงาน เพื่อจัดกิจกรรมครั้งที่ 5 0 0.00 680.00
25 ม.ค. 64 ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 5 เพื่อจัดเวทีARE ครั้งที่ 2 0 0.00 680.00
12 เม.ย. 64 ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 6 0 0.00 680.00
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 100 86,930.00 9 86,930.00
28 มิ.ย. 63 เวทีประชุมชี้แจงโครงการและประชาสัมพันธ์โครงการ 100 16,900.00 16,900.00
19 ส.ค. 63 เยี่ยมแปลงผักสำรวจข้อมูลการปลูกและบริโภคผักที่ไม่ใช้สารเคมีในชุมชน ครั้งที่ 1 0 3,100.00 3,100.00
15 ก.ย. 63 ให้ความรู้เรื่องการปลูกและการบริโภคผักปลอดภัย 0 22,400.00 22,400.00
24 พ.ย. 63 เวทีประชุมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ด้านเกษตรอินทรีย์และสาธิตการทำปุ๋ยหมัก 0 20,400.00 20,400.00
5 ธ.ค. 63 เยี่ยมแปลงผักสำรวจข้อมูลการปลูกและบริโภคผักที่ไม่ใช้สารเคมีในชุมชน ครั้งที่ 2 0 3,100.00 4,500.00
27 ม.ค. 64 จัดเวที ARE ครั้งที่ 2 0 0.00 7,000.00
14 เม.ย. 64 ฉีดพ่น ฟื้นฟู ปรับสภาพหน้าดิน 0 2,500.00 11,361.00
17 เม.ย. 64 เวที ARE ครั้งที่ 3 ถอดบทเรียน 0 17,500.00 610.00
30 ส.ค. 64 เวที ARE ครั้งที่ 1 0 1,030.00 659.00

วิธีการดำเนินงานของแต่ละกิจกรรม มีการประชุมก่อนกิจกรรมและหลังกิจกรรม ทุกครั้ง มีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ ในส่วนต่างๆ ประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม โดยการประกาศผ่านเสียงตามสาย มีการสรุปผลการดำเนินงานทุกๆครั้ง ฝ่ายการเงิน ทำหน้าที่ ในเรืองเอกสารการเงิน เช่น ใบสำคัญรับเงิน ใบเสร็จรับเงิน ค่าตอบแทนวิทยากร และมีการบันทึกข้อมูลลงในระบบ

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

เกษตรกรมีการรวมกลุ่มและมีเครือข่ายเป็นคณะทำงาน เกษตรกรมีความรู้สามารถผลิตผักปลอดภัยได้ เกิดกลไกตลาดผักปลอดภัย และกลไกหนุนเสริมจากจังหวัด เกษตรกรปลูกและจำหน่ายผักปลอดภัย อย่างมีคุณภาพทดแทนการนำเข้าผักจากจังหวัดอื่น

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 มิ.ย. 2563 22:03 น.