Node Flagship

directions_run

ส่งเสริมการปลูก กิน ขายผักปลอดภัย ต.อัยเยอร์เวง

แบบการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ (Process Evaluation)

กิจกรรมระยะเวลาเป้าหมาย/วิธีการผลการดำเนินงานปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
ตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริง
กิจกรรมที่ สสส. สนับสนุนเพิ่มเติม 1 มิ.ย. 2563

 

 

 

 

 

เวทีประชุมชี้แจงโครงการและประชาสัมพันธ์โครงการ 28 มิ.ย. 2563 28 มิ.ย. 2563

 

-เปิดกิจกรรม
-ชี้แจงโครงการโดย
-คณะทำงานมีการวางแผน การดำเนินในกิจกรรมต่อไป -มีการวางแผนการเบิกจ่ายเงินตามกิจกรรมการดำเนินโครงการ

 

คณะทำงานพร้อมด้วยแกนนำโครงการย่อย จำนวน 10 คน ร่วมกับ พี่เลี้ยงรับผิดชอบโครงการ นางสาวซารีป๊ะ ฆอแด๊ะ โดยมีนายอับดุลรอนิง ลงซา ประธานโครงการ ณ.ศาลาอเนกประสงค์มัสยิดนุรูลดีน ร่วมในการประชุมเวที เพื่อเปิดโครงการ ชี้แจงโครงการ และประชาสัมพันธ์โครงการ
ในการประชุมได้ ทำความเข้าใจ กิจกรรม ในโครงการ ตัวชี้วัด บันไดผลลัพธ์ และผู้สนับสนุนหลักของโครงการ ให้แก่ชาวบ้านที่เข้าร่วมรับฟัง ซึ่งชาวบ้านให้สนใจพร้อมที่จะเข้าร่วมกิจกรรมด้วยกัน และในการร่วมประชุมได้แลกเปลี่ยนประเด็นต่างๆ ที่ประสบปัญหา จากการเพาะปลูก เช่น ต้นข้าวโพด มีใบเป็นสีเหลือง ต้นพริก มีใบที่หยิก
กิจกรรมประชุมในครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมประชุม ทั้งหมด 38 คน

 

เยี่ยมแปลงผักสำรวจข้อมูลการปลูกและบริโภคผักที่ไม่ใช้สารเคมีในชุมชน ครั้งที่ 1 19 ส.ค. 2563 19 ส.ค. 2563

 

ลงเยี่ยมก่อนทำกิจกรรม ในโซนต่างๆ จากที่ได้แบ่งหน้าที่รับผิดชอบ และถ่ายรูป

 

คณะทำงานจำนวน 10 คน ลงเยี่ยมแปลงผักก่อนทำกิจกรรม ครั้งนี้ โดยแบ่งหน้าที่สำรวจ รับผิดชอบในแต่ละ พื้นที่ที่ทำการปลูก ซึ่งบางบ้านปลูกเพื่อใช้บริโภคในครัวเรือน และบางบ้านปลูกไว้บริโภคและจัดจำหน่าย การสำรวจครั้งนี้เพื่อต้องการทราบ ว่า บ้านแต่ละบ้าน มีการปลูกอะไรบ้าง และถ่ายรูปไว้ จากการสำรวจพบว่า มีการเพาะปลูกแล้วได้แก่ ตะไคร้ พริก ถั่วฝักยาว กระเพรา ผักบุ้ง และข้าวโพด และบางสิ่งปลูกไว้บริโภคและจัดจำหน่าย เช่น ข้าวโพด เพราะ ข้าวโพดขายง่าย มีพ่อค้ามารับซื้อ และสามารถสร้างรายได้แก่ครอบครัวได้ รองจากอาชีพหลัก เดิมชาวบ้านได้ทำการปลูกแล้วบางส่วน

 

ให้ความรู้เรื่องการปลูกและการบริโภคผักปลอดภัย 15 ก.ย. 2563 15 ก.ย. 2563

 

คณะทำงานจำนวน 10 คน  บรรยายให้ความรู้เรื่องการปลูกและการบริโภคผักปลอดภัย มีการแจกเมล็ดพันธ์ 5 ชนิด

 

กิจกรรมที่ 4 เวทีให้ความรู้เรื่องการปลูกและการบริโภคผักปลอดภัย วันที่ 15 กันยายน 2563 ณ.อาคารอเนกประสงค์ตาดีกาซอลาฮุดดีน กม.38 คณะทำงานพร้อมด้วยแกนนำโครงการย่อยจำนวน 10 คน ร่วมกับเจ้าหน้าหน่วยงานเกษตร จำนวน 1 คน คือ นายวิทยา ตาพ่วง เป็นวิทยากร และ นางสาวซารีป๊ะ ฆอแด๊ะ พี่เลี้ยงประจำโครงการ โดยมีนายอับดุลรอนิง ลงซา ประธานโครงการ มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 61 คน ในการประชุมวิทยากรได้บรรยาย ให้ความรู้เรื่องการปลูกและการบริโภคผักปลอดภัย การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ชาวบ้านให้ความสนใจในการเข้าร่วมกิจกรรม ชาวบ้านมีการแลกเปลี่ยนประเด็นปัญหาและอุปสรรค ที่ได้ประสพจากการเพาะปลูก ซึ่งผู้บรรยายสามารถตอบโจทย์ และให้คำตอบทุกคำถามที่ชาวบ้านซักถาม กิจกรรมในครั้งนี้ได้มีการแจกเมล็ดพันธ์ 5 ชนิดให้แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ด้วย ซึ่งได้แก่ ผักบุ้ง คะน้า พริกขี้หนู ถั่วฝักยาว แตงกวา ซึ่งนับว่า กิจกรรมครั้งนี้ เป็นกิจกรรมที่ชาวบ้านให้ความสนใจมากๆ ชาวบ้านได้รับประโยชน์จากกิจรรมครั้งนี้เป็นอย่างมาก และวิทยากรอาสาที่จะนำตัวอย่างดิน ไปตรวจสอบหาค่าความเป็นกรดด่างของดิน ให้ชาวบ้านอีกด้วย กิจกรรมครั้งสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี เกิดจากความร่วมมือร่วมใจ ของคณะทำงานและชาวบ้านเป็นอย่างดี

 

เวทีประชุมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ด้านเกษตรอินทรีย์และสาธิตการทำปุ๋ยหมัก 24 พ.ย. 2563 24 พ.ย. 2563

 

ให้ความรู้ด้านเกษตรอินทรีย์ การใช้ปุ๋ยหมัก และสาธิตวิธีการทำปุ๋ยหมัก

 

เวทีประชุมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ด้านเกษตรอินทรีย์และสาธิตการทำปุ๋ยหมัก วันที่ 24 พฤศจิกายน 2563 ณ.อาคารอเนกประสงค์ตาดีกาซอลาฮุดดีน คณะทำงานพร้อมด้วยแกนนำโครงการย่อยจำนวนว 10 คน ร่วมกับเจ้าหน้าที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำนวน 1 คน คือ หมอดินอาสา นายสาร สรรพสินธ์ เป็นวิทยากร โดยมีนายอับดุลรอนิง ลงซา ประธานโครงการ และสมาชิกในกลุ่มเข้าร่วมกิจกรรมการประชุม การประชุมในครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 30 คน เวทีนี้ เป็นเวทีประชุมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ด้านเกษตรอินทรีย์และสาธิตการทำปุ๋ยหมัก ในการประชุมครั้งได้แลกเปลี่ยนประเด็นต่างๆ เนื่่องจากผู้ร่วมการประชุมให้ความสนใจ ในการซักถาม เช่น พริกมีลักษณะใบหยิก และได้ทำการสาธิตการทำปุ๋ยหมัก กิจกรรมในครั้งนี้ถือว่าเป็นกิจกรรมที่เพิ่มความรู้ให้แก่ ชาวบ้านเป็นอย่างมาก ชาวบ้านให้ความสนใจ ซักถามปัญหาต่างๆที่ประสบมา และได้คำตอบจากวิทยากร ทุกปัญหาที่ชาวบ้านสอบถาม การร่วมกิจกรรมในครั้งนี้มีอุปสรรคคือ ฝนตกทั้งวันทำให้มีผู้เข้าร่วมกิจรรมน้อย

 

เยี่ยมแปลงผักสำรวจข้อมูลการปลูกและบริโภคผักที่ไม่ใช้สารเคมีในชุมชน ครั้งที่ 2 5 ธ.ค. 2563 5 ธ.ค. 2563

 

ลงเยี่ยมแปลงผัก สำรวจ หลังจากเข้าร่วมกิจกรรม

 

คณะทำงานจำนวน 10 คน ร่วมลงพื้นที่เยี่ยมแปลงผักครั้งที่ 2 หลังจากที่ได้เข้าร่วมกิจกรรม แต่เนื่องจาก เกิดอุทกภัยน้ำท่วม ทำให้คณะทำงานไม่ทันที่ จะสำรวจแปลงได้ เพราะพื้นที่ปลูกดังกล่าวปกคลุมด้วยน้ำท่วม ทั้งหมด ส่งผลให้สิ่งปลูกได้รับความเสียหายทั้งหมด และหลังจากปริมาณน้ำลดลง ทางคณะทำงาน ลงพื้นที่สำรวจอีกครั้ง เพื่อสำรวจความเสียหาย ที่ประสบจากน้ำท่วมขัง มาเป็นระยะเวลา 2-3 เดือน
คณะทำงานและผู้รับผิดชอบโครงการ ร่วมกันหารือ และแก้ไขปัญหา ที่เกิดขึ้นจากน้ำท่วมขัง คือ สภาพหน้าดินเปรี้ยว ไม่เหมาะแก่การเพาะปลูกครั้งใหม่ ส่งผลให้สิ่งปลูก ไม่งอก หรือ งอกไม่สมบูรณ์ การแก้ปัญหาจากที่ได้หารือ คือ การปรับสภาพหน้า

 

จัดเวที ARE ครั้งที่ 2 27 ม.ค. 2564 27 ม.ค. 2564

 

ติดตามการดำเนินงาน และรับฟังปัญหาที่เกิดขึ้น

 

จัดเวที ARE ครั้งที่ 2 เพื่อติดตามการดำเนินงาน และรับฟังปัญหา วันที่ 27 มกราคม 2564 ณ.อาคารอเนกประสงค์ตาดีกาซอลาฮุดดีน คณะทำงานพร้อมด้วยแกนนำโครงการย่อยจำนวน 10 คน ร่วมกับเจ้าหน้าที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำนวน 1 คน คือ หมอดินอาสา นายสาร สรรพสินธ์ เป็นวิทยากรและร่วมภาคี โดยมี นางสาวซารีปะ๊ ฆอแด๊ะ พี่เลี้ยงประจำโครงการ นายอับดุลรอนิง ลงซา ประธานโครงการ และสมาชิกในกลุ่มเข้าร่วมกิจกรรมการประชุม การประชุมในครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 28 คน เวทีนี้ เป็น กิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ชาวบ้านได้นำเสนอปัญหาและอุปสรรค ที่ได้รับ ซึ่งเกิดขึ้นจากอุทกภัยน้ำท่วมขัง มาเป็นระยะ ราวๆ 2-3 เดือน ทำให้พืชผลจากการเพาะปลูกได้รับความเสียหายทั้งหมด มีชาวบ้านท่านหนึ่ง เล่าด้วยน้ำตา ว่ารู้สึกเสียดาย ต่อสิ่งที่ได้ปลูกและกำลังเจริญเติบโตซึ่งใกล้จะได้เก็บเกี่ยว ที่จมไปกับน้ำท่วมขัง และยังถือว่าสิ่งปลูกนั้นไม่ใช่กรรมสิทธิ์ของเรา ยังไม่ย้อท้อ และพร้อมที่จะทำการเพาะปลูกรอบใหม่ โดยต่างรอด้วยความหวัง ว่า เมื่อไรน้ำลด จะทำการเพาะปลูกทันที ซึ่งแสดงให้เห็นความตั้งใจอย่างเอาจริงเอาจังของชาวบ้าน

 

ฉีดพ่น ฟื้นฟู ปรับสภาพหน้าดิน 14 เม.ย. 2564 14 เม.ย. 2564

 

ฉีดพ่น ฟื้นฟู ปรับสภาพหน้าดิน คณะทำงานพร้อมด้วยแกนนำโครงการย่อยจำนวน 10 คน ลงพื้นทำการฉีดพ่น ฟ์้นฟู ปรับสภาพหน้าดิน ก่อนทำการปลูกใหม่

 

ฉีดพ่น ฟื้นฟู ปรับสภาพหน้าดิน คณะทำงานพร้อมด้วยแกนนำโครงการย่อยจำนวน 10 คน และชาวบ้าน ร่วมลงพื้นทำการฉีดพ่น ฟ์้นฟู ปรับสภาพหน้าดิน ก่อนทำการปลูกใหม่ เนื่องจาก เกิดน้ำท่วมขังมาเป็นระยะเวลา 2-3 เดือน ทำให้หน้าดินเปรี้ยว ไม่เหมาะแก่การเพาะปลูก จะต้องทำการฟื้นฟู ปรับสภาพหน้าดินก่อน เพาะปลูก ซึ่งถ้าไม่ฟื้นฟู ปรับสภาพหน้าดินอาจทำให้สิ่งเพาะปลูกเติบโตไม่สวยงาม หรือไม่ขึ้นเลยก็ได้ การฉีดพ่น ฟื้นฟู ปรับสภาพหน้าดิน ครั้งนี้โดยปรึกษาหมอดินอาสา นายสาร สรรพสินธ์ และได้แนะนำให้ทำการพักหน้าดิน และปรับสภาพหน้าดิน โดยการฉีดพ่น ฟื้นฟู ปรับสภาพหน้าดินด้วยน้ำหมักชีวภาพในปริมาณ 4 ลิตรต่อ 1 ไร่ โดยหาซื้อน้ำหมัก 25 ลิตร ในราคาลิตรละ 43 บาท เพื่อใช้ในการฉีดพ่นในครั้งนี้
หมายเหตุเพิ่ม กิจกรรมในครั้งนี้เป็นกิจกรรมที่เปลี่ยนแปลงจากกิจกรรมเดิม คือ การสำรวจตลาดเพื่อวางขายผัก แต่เนื่องจาก เกิดอุทกภัยน้ำท่วมขัง ทำให้ทางผู้รับผิดชอบโครงการขอเปลี่ยนแปลงกิจกรรมดังกล่าว เป็น การฉีดพ่น ฟื้นฟู ปรับสภาพหน้าดิน ที่เกิดจากน้ำท่วมขังเป็นระยะเวลา 2 เดือน ทำให้หน้าดินเปรี้ยว เมื่อทำการเพาะปลูกแล้ว ทำให้ผลผลิตที่ไม่สวยงาม จึงต้องพักหน้าดินและทำการฆ่าเชื้อให้หน้าดินก่อนทำการเพาะปลูกในครั้งใหม่
เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2564 ได้รับการติดต่อให้ผู้รับผิดชอบโครงการ ไปรับปุ๋ยจำนวน 65 กระสอบ ที่สนับสนุนจากเกษตรจังหวัด มีผู้เดินทางไปรับปุ๋ยที่เกษตรจังหวัดจำนวน 5 คน บรรทุกปุ๋ย 3 รอบ ค่ารถรอบละ 712 บาท ค่าอาหาร 1 มื้อ มื้อละ 70 บาทและค่าอาหารว่าง 2 มื้อ มื้อละ30 บาท

 

เวที ARE ครั้งที่ 3 ถอดบทเรียน 17 เม.ย. 2564 17 เม.ย. 2564

 

ถอดบทเรียน ของโครงการ ร่วมการทบทวนและถอดบทเรียน การออกแบบโครงสร้างและองค์ประกอบของกลไก การสร้าง หรือการรวมตัวของคณะทำงาน ผลลัพธ์การทำงานของกลไก เดินทางจากอัยเยอร์เวงไปเบตง

 

เวที AER ครั้งที่ 3 ถอดบทเรียน ของโครงการ วันที่ 17 เมษายน 2564 ณ.ร้านอาหารสะพานเอียง เบตง ร่วมด้วยผู้รับผิดชอบโครงการย่อย ผักปลอดภัยอัยเยอร์เวง และสวนผักเบตง ร่วมการประชุมในครั้งนี้ โดยนางสาวอาสะเมาะ มะเด็ง นางสาวนอรีซัน หะยีดอรอนิง และนายอับดุลรอนิง ลงซา โดยมี นางสาวซารีป๊ะ ฆอแด๊ะ พี่เลี้ยงประจำโครงการ ร่วมการประชุม เวทีนี้ ร่วมการทบทวนและถอดบทเรียน ซึ่งจากการที่ได้ดำเนินการโครงการในครั้งนี้ นับว่า ชาวบ้านได้ความรู้เกี่ยวกับการปลูก การใช้ปุ๋ย การทำปุ๋ยหมัก การดำเนินกิจกรรมในครั้งนี้เกิดอุทกภัยน้ำท่วมขังเป็นระยะเวลา 2 เดือน ส่งผลให้สิ่งปลูกของชาวบ้านไม่ทันได้เก็บเกี่ยว จึงส่งผลให้การทำโครงการไม่บรรลุตามเป้าที่กำหนดไว้ ซึ่งประสบความสำเร็จแค่ 70 เปอร์เซ็น

 

ประชุมคณะทำงาน 24 ก.ค. 2564

 

 

 

 

 

เวที ARE ครั้งที่ 1 30 ส.ค. 2564 15 ก.ย. 2563

 

ติดตามการดำเนินการและความก้าวหน้าของโครงการ

 

เวที ARE ครั้งที่ 1 เวทีติดตามการดำเนินการของโครงการ วันที่ 15 กันยายน 2563 ณ.อาคารอเนกประสงค์ตาดีกาซอลาฮุดดีน ก.ม 38 คณะทำงานพร้อมด้วยแกนนำโครงการย่อยจำนวน 10 คน ร่วมกับเจ้าหน้าหน่วยงานเกษตร จำนวน 1 คน คือ นายวิทยา ตาพ่วง เป็นวิทยากร และ นางสาวซารีป๊ะ ฆอแด๊ะ พี่เลี้ยงประจำโครงการ โดยมีประธานโครงการ นายอับดุลรอนิง ลงซา มีผู้เข้าร่วมประชุม 61 คน โดยการประชุมในครั้งนี้ เป็นเวทีการติดตาม ความก้าวหน้าของโครงการ ว่า ดำเนินการถึงขั้นไหน มีปัญหาเกิดขึ้นไหม ซึ่งชาวบ้านได้ชี้แจง ปัญหาที่เกิดขึ้น เช่น ต้นพริก ใบมีลัษณะหยิก  และร่วมการแก้ไขปัญหาเบื้องต้น

 

เวทีปฐมนิเทศและทำสัญญาโครงการย่อย 3 มิ.ย. 2563 25 ก.ค. 2564

 

ทางหน่วยจัดการได้มีการแนะนำทีมงาน พี่เลี้ยงของแต่ละโครงการ หลังจากนั้นได้มีการสร้างความเข้าใจในการทำโครงการ อธิบายวิธีการจัดโครงการ การลงรายละเอียดในระบบแบบคร่าวๆ รวมถึงการแยกประเภทบันชีของค่าใช้จ่าย สุดท้ายได้ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเซ็นชื่อ เพื่อทำสัญญาโครงการ

 

ผู้รับผิดชอบโครงการ 3 คน คือ นายอับดุลรอนิง ลงซา นางสาวนอรีซัน หะยีดอรอนิง และนางสาวอาสะเมาะ มะเด็ง ร่วมการประชุมในครั้งนี้ เพื่อทำสัญญาโครงการ หลังจากที่ได้ร่วมกิจกรรม ทำให้ตัวแทนคณะทำงานได้เกิดความเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และกระบวนการทำงานของโครงการมากขึ้น และได้รับสัญญาโครงการที่สมบูรณ์ วันที่ 16 มิ.ย 2563 ผู้รับผิดชอบโครงการ 3 คน คือ นายอับดุลรอนิง ลงซา นางสาวนอรีซัน หะยีดอรอนิง และนางสาวอาสะเมาะ มะเด็ง เดินทางไปเปิดบัญชีร่วม ณ.ธนาคารอิสลาม สาขาเบตง

 

จัดทำป้ายไวนิลโครงการ และไวนิลบันไดผลลัพธ์ 20 มิ.ย. 2563 20 มิ.ย. 2563

 

ทำป้ายไวนิลขนาด 1.202.40 ม.โดยมีรายละเอียดในไวนิลว่า "โครงการส่งเสริมการปลูก กิน ขายผักปลอดภัย ต.อัยเยอร์เวง" และไวนิลบันไดผลลัพธ์ ขนาด 0.81.40 ม.

 

ได้ป้ายไวนิลขนาด 1.202.40 ม.โดยมีรายละเอียดในไวนิลว่า "โครงการส่งเสริมการปลูก กิน ขายผักปลอดภัย ต.อัยเยอร์เวง" ทุกครั้งที่จัดกิจกรรม จะมีการเขียนชื่อกิจกรรม กำกับไว้ บนไวนิล ทุกครั้งเพื่อที่ให้รับรู้โดยทั่วกัน ของผู้เข้าร่วมการอบรม และไวนิลบันไดผลลัพธ์ ขนาด 0.81.40 ม. วัตถุประสงค์ใการจัดทำบันไดผลลัพธ์ 1.เพื่อให้ครัวเรือนปลูกผักปลอดภัยสำหรับการบริโภคในครัวเรือน 2.เพื่อสร้างระบบการจัดจำหน่ายผักปลอดภัยเพื่อสร้างรายได้ในครัวเรือน ซึ่งประกอบด้วย - กิจกรรม - ผลลัพธ์ -ตัวชี้วัด ซึ่งการจัดทำบันไดผลลัพธ์ นั้นเพื่อให้เห็นถึงการดำเนินกิจกรรมต่างๆว่าถึงขั้นไหน ได้รับการเปลี่ยนแปลงมากหรือน้อย จากการจัดกิจกรรมที่ผ่านมา

 

ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่1 25 มิ.ย. 2563 25 มิ.ย. 2563

 

คณะทำงาน จำนวน 10 คน ชี้แจงรายละเอียดโครงการ และแบ่งหน้ารับผิดชอบ ในการจัดกิจกรรมเปิดตัวโครงการ ชี้แจง โครงการ และประชาสัมพันธ์โครงการ

 

ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 1 เพื่อจัดกิจกรรมครั้งที่ 1 คณะทำงานพร้อมด้วยแกนนำโครงการย่อยจำนวน 10 คน เข้าร่วมประชุม ชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับกิจกรรม เพื่อเปิดโครงการ ชี้แจงโครงการและประชาสัมพันธ์โครงการ ที่จะจัดใน วัน 28 มิถุนายน 2563 เวลา 13.00-16.00 น.ณ.มัสยิดนูรุดดีน โดยได้แบ่งหน้าที่รับผิดชอบในส่วนต่างๆ เช่นสถานที่ จุดลงทะเบียน อาหารเครื่องดื่ม และ ผู้คอยบันทึก

 

เวทีพัฒนาศักยภาพการรายงานผลลัพธ์ของโครงการย่อย 6 ก.ค. 2563 6 ก.ค. 2563

 

เดินทางจาก ต.อัยเยอร์เวง ถึง จ.ยะลา และ จาก จ.ยะลา ถึง ต.เขาตูม รวมระยะทาง 92.4 กิโลเมตร

 

เวทีพัฒนาศักยภาพการรายงานผลลัพธ์ของโครงการย่อย วันที่ 6 กรกฎาคม 2563 ณ.มหาวิทยาลัยฟาฏอณี ร่วมด้วยผู้รับผิดชอบโครงการย่อยทุกโครงการ เข้าร่วมการอบรมในครั้งนี้ โดย นางสาวอาสะเมาะ มะเด็ง ได้ร่วมการอบรม การคีย์ข้อมูลลงในระบบ ฝึกการใช้งานโปรแกรม รายงานผล ได้ทำ การบันทึกกิจกรรม จำนวน 2 กิจกรรม และเพิ่มกิจกรรม การเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้เป็นการสร้างความเข้าใจตรงกันในการลงข้อมูลลงในระบบ และถือว่าเป็นกิจกรรมเพิ่มความรู้ได้อย่างมาก

 

เวทีทบทวนบันไดผลลัพธ์และออกแบบเก็บข้อมูลของโครงการย่อย 15 ส.ค. 2563 15 ส.ค. 2563

 

ร่วมประชุมแก้ไขบันไดผลลัพธ์ เพื่อแก้และเพิ่มเติม ตัวชี้วัด และผลลัพธ์ให้สมบูรณ์ สอดคล้องตามกิจกรรม

 

โดยมีนางสาวอาสะเมาะ มะเด็ง เข้าร่วมประชุมแก้ไขบันไดผลลัพธ์ เพื่อแก้และเพิ่มเติม ตัวชี้วัด และผลลัพธ์ให้สมบูรณ์ สอดคล้องตามกิจกรรม เวทีทบทวนบันไดผลลัพธ์และออกแบบเก็บข้อมูลของโครงการย่อย วันที่ 15 สิงหาคม 2563 ณ.ห้องประชุม โรงแรมปาร์ควิว จ.ยะลา ร่วมด้วยผู้รับผิดชอบโครงการย่อยทุกโครงการ เข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ โดยนางสาวอาสะเมาะ มะเด็ง ได้เข้าร่วมการประชุม วัตถุประสงค์ของกิจกรรมเพื่อสร้างความเข้าใจ เกี่ยวกัยบันไดผลลัพธ์ ร่วมการแก้ไข และเพิ่มเติม เพื่อที่จะให้บันไดผลลัพธ์ ให้เห็นภาพที่ชัดเจนและสมบูรณ์มากขึ้น

 

ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 2 เพื่อลงพื้นที่สำรวจ 18 ส.ค. 2563 18 ส.ค. 2563

 

คณะทำงาน 10 คน ชี้แจงรายละเอียดการ ลงเยี่ยมแปลงผัก ข้อมูลสิ่งเพาะปลูก ของครัวเรือนแต่ละครัวเรือน

 

ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 2 เพื่อลงเยี่ยมแปลงผัก ครั้งที่ 1 คณะทำงานพร้อมด้วยแกนนำโครงการย่อย จำนวน 10 คน โดยมีนายอับดุลรอนิง ลงซา ประธานโครงการ ร่วมประชุม เพื่อชี้แจงรายละเอียดในการลงพื้นที่สำรวจ ในวันที่ 19 สิงหาคม 2563 ได้ทำการแบ่งหน้าที่ ลงพื้นที่สำรวจในแต่ละโซน

 

ร่วมประชุมพิจารณายกร่างตารางข้อมูลผลลัพธ์เชิงประเด็นยุทธสาสตร์ 20 ส.ค. 2563 20 ส.ค. 2563

 

ร่วมประชุมพิจราณายกร่างตารางข้อมูลผลลัพธ์เชิงประเด็นยุทธสาสตร์ ณ.ศาสากลางจังหวัด ห้องพิกุลทอง  และร่วมแสดงความคิดเห็น ความคืบหน้าของโครงการ ที่รับผิดชอบ

 

เวทีประชุมพิจราณายกร่างตารางข้อมูลผลลัพธ์เชิงประเด็นยุทธสาสตร์ วันที่ 20 สิงหาคม 2563 ณ.ศาสากลางจังหวัด ห้องพิกุลทอง โดยนางสาวอาสะเมาะ มะเด็ง เข้าร่วมประชุม พร้อมกับผู้รับผิดโครงการย่อยทุกโครางการ ร่วมด้วยหน่วงานภาครัฐ อาทิ เกษตรจังหวัด พานิชจังหวัด สาธรณสุขจังหวัด และตำรวจภูธรจังหวัดยะลา ร่วมการประชุมในครั้งนี้ โดยมีรองผู้ว่าจังหวัดเป็นประธาน วัตถุประสงค์เพื่อชีแจงให้หน่วยงาน ต่างๆ รับรู้ และร่วมภาคีในการสนับสนุน ข้อมูล และความคิดเห็น รับรู้ร่วมกันว่า จังหวัดยะลา ได้มีหน่วยงาน สสส.จัดสรรงบประมาณให้แก่จังหวัดยะลา โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเด็นหลักๆ คือ ประเด็นอุบัติเหตุ และ ผักปลอดภัย ในการประชุมได้แลกเปลี่ยนประเด็นต่างๆ ได้แก่ 1.การรับทราบถึงปัญหา การใช้สารเคมี และยาฆ่าแมลงในผัก โดยการนำเข้าผักจากแหล่งอื่น หรือจังหวัดอื่น เข้ามาขายในจังหวัดยะลา โดยประเด็นหลักๆ คือ ลดการนำเข้าผักจากแหล่งอื่น 2.อุบัติเหตุบนท้องถนน ในหนึ่งวัน หนึ่งเดือน หนึ่งปีและทุกเทศกาลจะมีอุบัติเหตุเกิด ทำให้ยอดการเสียชีวิตเพิ่

 

ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 3 เพื่อแบ่งหน้าที่ รับผิดชอบงาน เพื่อจัดกิจกรรมครั้งที่ 4 14 ก.ย. 2563 14 ก.ย. 2563

 

คณะทำงาน 10 คน เพื่อแบ่งหน้าที่ รับผิดชอบงาน เพื่อจัดกิจกรรมครั้งที่ 4 โดยแบ่งหน้าที่รับผิดในต่างๆ เช่น สถานที่ ลงทะเบียน และผ่ายบริการ

 

ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 3 เพื่อจัดกิจกรรมครั้งที่ 4 คณะทำงานพร้อมด้วยแกนนำโครงการย่อย จำนวน 10 คน เข้าร่วมการประชุมโดยมี นายอับดุลรอนิง ลงซา ประธานโครงการ และร่วมด้วยคณะทำงาน เพื่อชี้แจงเกี่ยวกิจกรรมที่จะจัด ในวันที่ 15 กันยายน 2563 ณ.อาคารอเนกประสงค์ ตาดีกาซอลาฮุดดีน และแบ่งหน้าที่ รับผิดชอบงาน ส่วนต่างๆเช่น สถานที่ ลงทะเบียน และผ่ายบริการ

 

เวทีประเมิน ARE ระดับจังหวัด ครั้งที่ 1 24 ต.ค. 2563 24 ต.ค. 2563

 

เดินทางจากอัยเยอร์เวง กม.38-เบตง 38 กิโลเมตร ไปกลับ นำเสนอรายละเอียดของโครงการเป็นการนำเสนอโครงการแต่ละโครงการ ความเข้าใจ เพื่อนำไปใช้ในกิจกรรมครั้งต่อไป โดยคณะทำงานระดับภาค

 

เวที ARE ระดับจังหวัด วันที่ 24 ตุลาคม 2563 ณ. วิทยาลัยการอาชีพเบตง ร่วมด้วยผู้รับผิดชอบโครงการย่อยทุกโครงการ PM จังหวัดและ PM ระดับภาค เข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ โดยนางสาวอาสะเมาะ มะเด็ง นางสาวนอรีซัน หะยีดอรอนิง และนายอับดุลรอนิง ลงซา ได้เข้าร่วมการประชุม เวทีนี้เป็นการนำเสนอรายละเอียดของโครงการ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ว่าได้ดำเนินถึงขั้นไหนแล้ว โดยที่ PM คอยเสริมชี้แนะ เจาะลึกทุกประเด็นให้เห็นภาพถึงการเปลี่ยนแปลง ก่อนเข้าร่วมกิจกรรม และหลังเข้าร่วมกิจกรรม

เวที ARE ระดับจังหวัด วันที่ 25 ตุลาคม 2563 ณ. วิทยาลัยการอาชีพเบตง ร่วมด้วยผู้รับผิดชอบโครงการย่อยทุกโครงการ เข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ โดยนางสาวอาสะเมาะ มะเด็ง นางสาวนอรีซัน หะยีดอรอนิง และนายอับดุลรอนิง ลงซา ได้เข้าร่วมการประชุม โดยมี PM ระดับภาค มาร่วมเวทีในครั้งนี้ เวทีนี้เป็นการนำเสนอรายละเอียดของโครงการ ว่าได้ดำเนินเป็นไปตามบันไดลัพธ์ที่กำหนดไว้หรือไม่ ถึงขั้นไหนแล้ว โดยที่ PM คอยเสริมชี้แนะ เจาะลึกทุกประเด็นให้เห็นภาพถึงการเปลี่ยนแปลง ก่อนเข้าร่วมกิจกรรม และหลังเข้าร่วมกิจกรรม ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ให้กระจ่าง และเข้าใจมากยิ่งขึ้น เช่น ก่อนเข้าร่วมกิจกรรมของ สสส. เราได้ทำการเพาะปลูกอยู่แล้ว 5ไร่ และหลังจากที่เข้าร่วมโครงการ เราได้เพาะปลูกเพิ่ม เป็น 11 ไร่ นั้นคือแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงหลังจากที่ได้เข้าร่วม กิจกรรมแล้ว

 

ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 4 เพื่อแบ่งหน้าที่ รับผิดชอบงาน เพื่อจัดกิจกรรมครั้งที่ 5 23 พ.ย. 2563 23 พ.ย. 2563

 

คณะทำงานพร้อมด้วยแกนนำโครงการย่อย จำนวน 10 คน  เข้าร่วมประชุม ชี้แจงกิจกรรมที่กำลังจะจัด เเละแบ่งหน้าที่ รับผิดชอบงาน ต่างๆ

 

ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 4 เพื่อจัดกิจกรรมครั้งที่ 5 คณะทำงานพร้อมด้วยแกนนำโครงการย่อย จำนวน 10 คน เข้าร่วมการประชุมโดยมี นายอับดุลรอนิง ลงซา ประธานโครงการ และร่วมด้วยคณะทำงาน เข้าร่วมประชุม ได้ชี้แจงกิจกรรมที่กำลังจะจัดในวันที่ 24 พฤศจิกายน 2563 ณ.อาคารอเนกประสงค์ตาดีกาซอลาฮุดดีน เเละแบ่งหน้าที่ รับผิดชอบงาน ต่างๆ

 

เวทีพัฒนาศักยภาพและรายงานผลลัพธ์ของโครงการย่อย 27 พ.ย. 2563 27 พ.ย. 2563

 

เวทีพัฒนาศักยภาพและรายงานผลลัพธ์ของโครงการย่อย ณ.ห้องประชุมราชพฤกษ์ ชั้น3 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา ไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้

 

ไม่ได้เข้าร่วมประชุม เกิดจากความล่าช้าของรถบริการ ทำให้ไม่สามารถไปร่วมประชุมในครั้งนี้ ได้จองรถแทกซี่ตั้งแต่เวลา 06.30 น. และ มาถึงที่ กม.38 เวลา 09.00 น. ซึ่งเป็นเวลาที่เข้าร่วมประชุมพอดี โดยปกติแล้วทุกครั้งที่ไป จะเดินทางไปกับรถยนต์แต่
ครั้งนี้ผู้ร่วมเดินทางติดภาระกิจ ทำให้ต้องอาศัยรถโดยสาร เนื่องจากฝนตกหนักเลยเกิดความล่าช้า และได้จ่ายค่าโดยสาร

 

ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 5 เพื่อจัดเวทีARE ครั้งที่ 2 25 ม.ค. 2564 25 ม.ค. 2564

 

คณะทำงานเข้าร่วมประชุม 10 คน ชี้แจงกิจกรรมที่กำลังจะจัด เเละแบ่งหน้าที่ รับผิดชอบงาน ต่างๆ และรับรู้ วันเวลา

 

ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 5 เพื่อจัดเวทีARE ครั้งที่ 2 คณะทำงานพร้อมด้วยแกนนำโครงการย่อย จำนวน 10 คน เข้าร่วมการประชุมโดยมี นายอับดุลรอนิง ลงซา ประธานโครงการ และร่วมด้วยคณะทำงาน เข้าร่วมประชุม ได้ชี้แจงกิจกรรมที่กำลังจะจัดในวันที่ 27 มกราคม 2564 ณ.อาคารอเนกประสงค์ตาดีกาซอลาฮุดดีน เเละแบ่งหน้าที่ รับผิดชอบงาน ต่างๆ

 

เวทีประเมิน ARE ระดับจังหวัด ครั้งที่2 16 ก.พ. 2564 16 ก.พ. 2564

 

ร่วมเวทีติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา(ARE) จังหวัด รายงานเกี่ยวกับความคืบหน้าของกิจกรรมที่ได้ดำเนินการแล้ว และรายงานปัญหาและอุปสรรคที่ได้เกิดขึ้น

 

เวทีติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE) จังหวัดยะลาครั้งที่ 2 วันที่ 16 กุภาพันธ์ 2564 ณ.สาธารณสุขจังหวัด ร่วมด้วยผู้รับผิดชอบโครงการย่อยทุกโครงการ และร่วมด้วยภาคีขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ระดับจังหวัด เข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ โดยมีนางสาวอาสะเมาะ มะเด็ง เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ โดยโครงการย่อย ของแต่ละโครงการ นำเสนอผลลัพธ์ตามบันไดผลลัพธ์ตามลำดับ ว่า ในแต่ละกิจกรรมที่ได้ดำเนินการไปแล้วนั้นมีความคืบหน้าอย่างไรบ้าง และเกิดอุปสรรคอย่างไร บ้าง กิจกรรมที่มีความคืบหน้าแล้ว คือ ชุมชนปลูกผักเพิ่มจากเดิม 5 ไร่ เป็น 11 ไร่ และเกิดอุปสรรคที่เจอ คือ เกิดอุทกภัยน้ำท่วมขัง ร่วม 2 เดือน ทำให้พืชผักได้รับความเสียหายทั้งหมด
โดยมีภาคีขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ระดับจังหวัดร่วมรับฟัง และได้แสดงความคิดเห็นในการช่วยเหลือและ การแก้ปัญหา ในส่วนของการส่งผัก ออกตลาดแหล่งที่รับซื้อ โดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง และเติมเต็มในส่วนต่างๆ เพื่อให้โครงการย่อยแต่ละโครงการได้นำกลับไปบอกเล่าแก่สมาชิกในกลุ่มรับรู้ และนำไปแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น เช่น บริเวณที่มีน้ำท่วมขัง ให้เปลี่ยนมาปลูกในกระสอบ หรือกระถาง ในบริเวณใกล้บ้าน

 

เวทีสังเคราะห์และสกัดบทเรียนการดำเนินงาน 24 มี.ค. 2564 24 มี.ค. 2564

 

ร่วมเวทีสังเคราะห์และสกัดบทเรียนการดำเนินงาน นำเสนอเป็นรายประเด็น ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นแล้วและ แผนการพัฒนาต่อ

 

เวทีสังเคราะห์และสกัดบทเรียนการดำเนินงาน วันที่ 24 มีนาคม 2564 ณ.โรงแรมปาร์ควิว จ.ยะลา ร่วมด้วยผู้รับผิดชอบโครงการย่อยทุกโครงการ และร่วมด้วยภาคีขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ระดับจังหวัด เข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ โดยมีนางสาวอาสะเมาะ มะเด็ง เข้าร่วมประชุม ได้นำเสนอเป็นรายประเด็น ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นแล้ว แผนการพัฒนาต่อ
-ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นแล้ว กิจกรรมที่ได้ทำไปแล้ว คือ1.เกษตรกรมีการรวมกลุ่มและมีเครือข่ายเป็นคณะทำงาน 2.เกษตรกรมีความรู้ความสามารถผลิตผักปลอดภัยได้
- อบรมการทำปุ๋ยหมัก ประชาชนสามารถผลิตน้ำหมักเองได้ - อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการปลูก ประชาชนนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการปลูก แต่ในส่วนนี้เกิดอุปสรรค คือ มีน้ำท่วมขังเป็นระยะเวลา 2 เดือนกว่า และเริ่มมีน้ำลดลงแล้วในบางส่วน แผนการพัฒนาต่อ -แผนการพัฒนาต่อ คือ อยากให้หน่วยงานภาครัฐเข้ามาดูแล รับรู้ ปัญาหาที่ชาวบ้าน ได้ประสพ ซึ่งได้มีหน่วยงานของ เกษตรจังหวัดรับรู้ และยินดี ที่จะเข้าไปช่วยเหลือในส่วนนี้ด้วย นับว่าโชคดีที่จะมีหน่วยงานลงพื้นที

 

จัดทำรายงาน 30 มี.ค. 2564 20 มิ.ย. 2563

 

กิจกรรมสนับสนุนจาก สสส. ค่าจัดทำรายงานและค่าอินเตอร์เน็ตเพื่อจัดทำรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบ

 

กิจกรรมสนับสนุนจาก สสส. ค่าจัดทำรายงานและค่าอินเตอร์เน็ตเพื่อจัดทำรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบ รายงานความก้าวหน้าออนไลน์ โดยทุกครั้งที่มีการจัดกิจกรรม จะต้องมีการจดบันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับกิจกรรมที่จัดในแต่ละกิจกรรม ว่ามีผู้เข้าร่วมอบรมกี่คน ผลจากการจัดกิจกรรมครั้งนี้เป็นอย่างไร และ ผู้เข้าร่วมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง และต้องลงรูปภาพประกอบด้วย ใบลงทะเบียนการเข้าร่วมกิจกรรม ใบสำคัญรับเงิน รูปภาพประกอบ

 

ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 6 12 เม.ย. 2564 12 เม.ย. 2564

 

คณะทำงานเข้าร่วมประชุม เพื่อแบ่งหน้าที่รับผิดชอบในโซนต่างๆ ที่ได้แบ่งไว้ ซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี

 

ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 6 คณะทำงานพร้อมด้วยแกนนำโครงการย่อย จำนวน 10 คน เข้าร่วมการประชุมโดยมี นายอับดุลรอนิง ลงซา ประธานโครงการ และร่วมด้วยคณะทำงาน เข้าร่วมประชุม ได้ชี้แจงกิจกรรมที่กำลังจะจัดในวันที่ 14 เมษายน 2564 โดยมีคณะทำงานเข้าร่วมประชุม 10 คน ได้ชี้แจงเกี่ยวกับ การเปลี่ยนแปลงกิจกรรมจากสำรวจตลาดเป็น กิจกรรมการฉีดพ่น ฟื้นฟูหน้าดิน เพื่อแบ่งหน้าที่รับผิดชอบในโซนต่าง เเละแบ่งหน้าที่ รับผิดชอบงาน ต่างๆ