Node Flagship

แบบการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ (Process Evaluation)

กิจกรรมระยะเวลาเป้าหมาย/วิธีการผลการดำเนินงานปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
ตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริง
เวทีประชุมชี้แจงโครงการและสรรหาคณะทำงาน 2 ก.ค. 2563 2 ก.ค. 2563

 

นายสุธรรม  บัวแก่น ประธานชุมชนสวนผักได้ประชาสัมพันธ์เสียงตามสาย เชิญชวนสมาชิกชาวชุมชนสวนผักเข้าร่วมเวทีประชุมชี้แจงและสรรหาคณะทำงาน ในวันที่พฤหัสบดีที่ 2 ก.ค. 63 เวลา 09.00 น. เป็นต้นไป ณ อาคารอเนกประสงค์ กลุ่มอาชีพชุมชนสวนผัก(ร้าน@สะพานเอียง) โดยประธานชุมชนสวนผัก ได่กล่าวต้อนรับสมาชิกชุมชนสวนผัก และคุณซารีป๊ะ ฆอแด๊ะ พี่เลี้ยงโครงการ โดยได้ชี้แจงถึงรายละเอียดโครงการว่า ชุมชนสวนผักได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ในโครงการชุมชนสวนผักปลอดสารพิษเพื่อผลิตและจำหน่าย โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจำนวน 100,000 บาท มีเป้าหมาย 70 ครัวเรือน และกลุ่มเป้าหมายรอง คือ คณะทำงาน จำนวน 20 คน ระยะเวลาดำเนินโครงการ    1 มิ.ย. 63 - 31 มี.ค. 64 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความรู้ในการผลิตผักในเมืองที่ปลอดสารพิษไว้บริโภคในครัวเรือน ส่งเสริมให้ครัวเรือนผลิต และบริโภคผักที่เพียงพอ ปลอดภัย มีสุขภาพที่แข็งแรง และเกิดรายได้ เพื่อทำระบบการจำหน่าย

 

เกิดคณะทำงานโครงการซึ่งประกอบด้วย แกนนำชุมชน เกษตรกร ผู้มีความรู้ด้านการเกษตร คณะทำงานมีความเข้าใจในหลักการ วัตถุประสงค์ และความคาดหวัดในการจัดทำโครงการ มีความกระตือรือร้นที่จะรับความรู้ เรื่องการปลูกผักในเมือง การกำจัดศัตรูพืช การทำปุ๋ย จำนวน 14 ท่าน ได้แก่ 1.นายสุธรรม บัวแก่น      ประธานโครงการ /ประธานชุมชน
2.นางศิริวรรณ ปัญญาอภัยวงศ์  รองประธานโครงการ/เกษตรกร
3.นางสาววลัยลฎา เจริญดี      เลขาโครงการ
4.นางรัตน์นาพร บุญเจริญ      รองเลขา
5.นางสาวกุนทินี วงศ์นิรัติศัย      การเงิน
6.นางวิไลรัตน์ ชาญประเสริฐกุล  กรรมการ/อสม.
7.นางไพลิน พรหมนะ  กรรมการ/จิตอาสาชุมชน
8.นางหว่องเซาหวั่น แซ่ฟุ้ง      กรรมการ/เกษตรกร
9.นายสมมาศ วิชาธิคุณ  ผู้มีความรู้ด้านการเกษตร/รับจัดสวน
10.นางสาวธนัตดา แซ่จั่น  กรรมการ
11.นางมณีพร ชัยพิชญากุล  กรรมการ/ครู
12.นายวรชัย ชัยพิชญากุล  กรรมการ/อดีตสท.
13.นางนพมาศ บัวแก่น        กรรมการ/เจ้าของกิจการ
14.นางนภษร วงศ์วัฒนากูล    กรรมการ/อสม.

 

อบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพคณะทำงาน 20 ก.ค. 2563 20 ก.ค. 2563

 

ประธานโครงการชุมชนสวนผักปลอดสารพิษเพื่อผลิตและจำหน่าย เรียกประชุมคณะทำงาน เพื่อเข้าร่วมอบรมพัฒนาศักยภาพคณะทำงาน ในวันจันทร์ที่ 20 กรกฎาคม 2564 เวลา 9.00 น. เป็นต้นไป ณ อาคารอเนกประสงศ์กลุ่มส่งเสริมอาชีพ ร้าน@สะพานเอียง คณะทำงาน และจิตอาสาชุมชน จำนวน 20 คน เข้าร่วมกิจกรรมอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพคณะทำงาน โดยมี คุณอาภรณ์ รัตน์พิบูลย์ และคุณพรพรรณ มณีโชติ  วิทยากรจากเกษตรอำเภอเบตง และวิทยากรจากศูนย์เรียนรู้เกษตรธรรมชาติบ้านยะรม คุณวิทยา ตาพ่วง มาให้ความรู้คณะทำงานเรื่องการคิด วิเคราะห์ ปัญหาและการจัดทำแผนงาน เกี่ยวกับโครงการชุมชนสวนผักปลอดสารพิษ เพื่อผลิตและจำหน่าย โดยผู้รับผิดชอบโครงการเริ่มพูดคุยถึงวัตถุประสงค์โครงการ ข้อมูลทั่วไปของชุมชน ข้อมูลการบริโภคผัก การปลูกผักในชุมชน ให้วิทยากรและที่ปรึกษาด้านเกษตรฟัง เพื่อได้เข้าใจตรงกัน และร่วมหาทางแก้ปัญหาให้ตรงกับบริบทชุมชน ผู้เข้าร่วมกิจกรรมร่วมคิดวิธีการเชิญชวน สมาชิกชุมชนให้เกิดความสนใจเกี่ยวกับการปลูกผัก ใส่ใจในสุขภาพ มีความรู้ในการปลูกผักในเมือง การจัดทำแผนงานให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนในชุมชนเมือง มีการแลกเปลี่ยนความคิด ปัญหาที่คาดว่าจะเกิดขึ้น และแนวทางในการแก้ปัญหา

 

  1. โครงการย่อยได้ที่ปรึกษาในการดำเนินงานตลอดทั้งโครงการ 3 ท่าน คือ คุณอาภรณ์ รัตน์พิบูลย์ และคุณพรพรรณ มณีโชติ วิทยากรจากเกษตรอำเภอเบตง และ คุณวิทยา ตาพ่วง วิทยากรจากศูนย์เรียนรู้เกษตรธรรมชาติบ้านยะรม
  2. คณะทำงานมีความรู้ในการดำเนินงาน ติดตามและประเมินผล

 

อบรมให้ความรู้เรื่องการปลูกผักปลอดภัยในเมือง และทำข้อตกลงในการผลิตผัก 10 ก.ย. 2563 10 ก.ย. 2563

 

สมาชิกชุมชนสวนผักเข้าร่วมการอบรมให้ความรู้เรื่องการปลูกผักปลอดภัยในเมือง และทำข้อตกลงในการผลิตผักในวันอาทิตย์ที่ 10 กันยายน 2563 เวลา 09.00 ณ อาคารอเนกประสงค์ ร้าน@สะพานเอียง เพื่อรับทราบวิธีการปลูกผักสำหรับพื้นที่น้อย การนำวัสดุใช้แล้วมาทำเป็นวัสดุปลูก สารปนเปื้อนในผัก

 

เวลา 09.00 น. สมาชิกชุมชนจำนวน 70 คน เข้าร่วมอบรมการปลูกผักปลอดภัยในเมือง และทำข้อตกลงในการผลิตผัก สมาชิกร่วมรับฟังความรู้ จากวิทยากร จากสำนักงานเกษตรอำเภอ ถึงวิธีการจัดการพื้นที่ปลูกผักที่มีน้อย การปลูกผักในเมือง การรีไซเคิ้ลวัสดุปลูก จากอุปกรณ์ในครัวเรือนที่ไม่ใช้ นำมาเป็นวัสดุปลูก เช่น กะละมัง หม้อ ตะกร้า กล่องโฟม ล้อยางรถยนต์
ร่วมพูดคุยถึงผักที่รับประทานทุกวันว่ามีสารตกค้างหรือไม่ การเลือกซื้อผักที่สวยอาจมีสารปนเปื้อน ทำร้ายและทำลายสุขภาพ สมาชิกร่วมกันกำหนดชนิดเมล็ดพันธ์ผักที่ต้องการปลูก ได้แก่ ผักโขมจีน ผักกวางตุ้ง ผักบุ้งจีน ต้นหอม ผักชี โดยคณะทำงานจะได้ดำเนินจัดหา และแจกในกิจกรรมถัดไป วิทยากรเปิดโอกาสในสมาชิกชุมชน ซักถามข้อสงสัย วิธีการปลูก และทำข้อตกลงในการปลูกผักร่วมกัน ได้แก่ 1.ปลูกแบบเกษตรอินทรีย์ ไม่ใช้สารเคมี หรือใช้น้อยที่สุด 2.พืชที่ปลูกต้องมีคุณค่าทางอาหาร 3.ปลูกพืชหมุนเวียน/ปลูกหลายชนิด เพื่อ ฟื้นฟูสภาพดิน(ปลูกปอเทืองปรับสภาพดิน ปลูกพืชบางชนิดเพื่อป้องโรค และแมลง ตัดวงจรชีวิตแมลงศัตรูพืช) 4.ปลูกผักอายุสั้น เก็บเกี่ยวได้ยาว 5.เป็นพืชปลูกง่าย ต้านทานโรคและแมลงได้ดี ผลจากการทำกิจกรรม
1.ได้มีข้อตกลงเรื่องมาตรฐานการผลิตผักปลอดภัย 2.ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้และทักษะในการปลูกผักปลอดภัยแบบในเมือง 3.เกิดชมรมสวนผักคนเมืองเบตงจากครัวเรือนเป้าหมาย

 

ประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่องการปรุงดินและการทำปุ๋ยหมัก 27 ก.ย. 2563 27 ก.ย. 2563

 

ดำเนินการประชาสัมพันธ์ในสมาชิกกลุ่มปลูกผัก เชิญชวนให้เข้าร่วมการอบรม การประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่องการปรุงดินและการทำปุ๋ยหมัก ในวันอาทิตย์เที่ 27 กันยายน 2563 เวลา 09.00 น. ณ อาคารอเนกประสงค์กลุ่มอาชีพ ร้าน@สะพานเอียง

 

ผู้เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการปรุงดินและการทำปุ๋ยหมัก จำนวน 70 คน ร่วมรับฟังการบรรยาย และสาธิตจากวิทยากร ความรู้ความเข้าใจในการปรุงดิน และการทำปุ๋ยหมัก การเตรียมวัสดุปลูกมีความสนใจ ร่วมซักถามแลกเปลี่ยนประสพการณ์ ในเรื่องการบำรุงดิน มีความกระตือรือร้นในการเริ่มปลูกผักไว้กินในครัวเรือน
ในการประชุมครั้งนี้มีการแจกเมล็ดพันธ์ผักให้กับชาวบ้านที่จะนำไปปลูกในครัวเรือน จำนวน 5 ชนิด ได้แก่ ต้นหอม ผักบุ้งจีน ผักโขม ผักกวางตุ้ง ผักชี ร่วมกันกำหนดกติกาในการปลูกผัก การตรวจเยี่ยม ปัญหาระหว่างการปลูก การแก้ไข การจดบันทึกเพื่อไว้เป็นข้อมูลการปลูก จะได้ทราบถึงความก้าวหน้าในการปลูก ความสำเร็จ หรือปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างปลูก นำมาปรับปรุง แก้ไข หรือพัฒนาให้เกิดการเรียนรู้ต่อไป

 

ร่วมใจปลูกผักปลอดภัย เพื่อสุขภาพที่ดี 19 พ.ย. 2563 19 พ.ย. 2563

 

เรียกประชุมสมาชิกกลุ่มปลูกผักในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2563 เวลา 09.00 น. เป็นต้นไป ณ อาคารเอนกประสงค์กลุ่มอาชีพ ร้าน @สะพานเอียง

 

สมาชิกกลุ่มปลูกผักฟังคำชี้แจง ของนายสุธรรม  บัวแก่น ประธานโครงการ เรื่องการร่วมกันปลูกผักในแปลง  ซึ่งประกอบด้วย ผัก 10 ชนิด ได้แก่ ผักบุ้ง คะน้า ผักกวางตุ้ง ผักชี ต้นหอม สลัด ผักกาดขาว มะเขือ พริก ซึ่งจะได้เตรียมแปลงปลูกภายหลังจาก ไถกลบปอเทือง ประมาณเดือน ธันวาคม 2563
ให้สมาชิกทุกคน ร่วมกันรับผิดชอบแปลงผักรวม โดยมุ่งหวังให้เป็นแปลงตัวอย่าง เพื่อเป็นกำลังใจในการปลูกผักต่อไป และได้แจกเมล็ดพันธุ์ผัก สมุดสำหรับจดบันทึกการปลูกผัก ให้กับสมาชิกกลุ่ม เพื่อบันทึกข้อมูลการปลูก อุปสรรคปัญหา ไว้เป็นบทเรียนในการปลูกในครั้งถัดไป

 

เยี่ยมแปลงผัก 30 พ.ย. 2563

 

 

 

 

 

สำรวจตลาดผัก 11 เม.ย. 2564 11 เม.ย. 2564

 

คณะทำงานสำรวจตลาด ณ ตลาดสดเทศบาลเมืองเบตง เพื่อสอบถามความต้องการของชนิดผัก พฤติกรรมของผู้บริโภค การรับผักมาจำหน่าย ราคา บริมาณที่ต้องการต่อวัน

 

คณะทำงานไดรับความรุ้เกี่ยวกับการนำผักมาขาย ส่วนใหญ่นำมาจากต่างจังหวัด ผักที่ชาวบ้านปลูกเอง ชาวบ้านนำมาจำหน่ายเอง และเป็นผักพื้นเมือง หากเป็นผักปลอดสารพิษ ยังมีน้อย และมีช่องทางจำหน่ายเป็นของตนเอง เช่น โครงการในพระราชดำริ และจำกัดชนิดผักที่จำหน่าย ยังไม่หลากหลาย
จากการดำเนินโครงการที่ผ่านมา การปลูกผักของกลุ่ม ยังเป็นไปในทิศทางที่ เน้นไว้บริโภคเอง การจำหน่ายยังน้อย เนื่องจากพื้นที่จำกัด ปลูกได้คราวละไม่มาก หากจะจำหน่ายในตลาดสด ยังไม่เพียงพอ สมาชิกกลุ่มส่วนมาก ใช้วิธีแบ่งปันในครอบครัว และจำหน่ายเองหลังจากเหลือจากการบริโภคในครัวเรือน

 

ถอดบทเรียน 17 เม.ย. 2564 17 เม.ย. 2564

 

เรียกประชุมคณะทำงานโครงการและสมาชิกโครงการ ณ อาคารอเนกประสงค์กลุ่มอาชีพชุมชนสวนผัก ร้าน@สะพานเอียง

 

คณะทำงานรวมถอดบทเรียนของกิจกรรมที่ผ่านมา ผลที่ได้คือ การสรุปผลการดำเนินงาน ทบทวนขั้นตอนที่ได้ทำ อุปสรรคปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการดำเนินโครงการ การแก้ปัญหา ภาคีเครือข่ายที่เข้ามาช่วยให้การดำเนินโครงการเป็นไปได้ด้วยดี การผลักดันให้เกิดกลุ่มปลูกผักในเมือง ที่ยังต้องดำเนินการผลักดัน เชิญชวน ให้ประชาชนตระหนักรู้ถึงการบริโภคผักปลอดภัย การหาวิธีการปลูกที่เหมาะสมกับชุมชนเมือง ชนิดของผักที่จะปลูก ศรัตรูพืช การก้าวสู่การปลูกผักปลอดภัยอย่างแท้จริง คณะทำงานยังมีแนวคิดจะร่วมกันผลักดัน ให้เกิดกลุ่มปลูกผักปลอดภัยอย่างแท้จริง ในชุมชนเมือง ถึงแม้จะมีข้อจำกัดหลายด้าน โดยเฉพาะหากต้องก้าวไปสู่การผลิตเพื่อจำหน่าย ที่ต้องใช้พื้นที่พอสมควรที่จะให้เกิดแปลงตัวอย่าง ให้ประชาชนในชุมชน นำไปเป็นแหล่งเรียนรู้ และปลูกผักเพื่อจำหน่ายสู่ตลาด ให้เกิดการบริโภคผักปลอดสารพิษที่แท้จริง

 

กิจกรรมประเมินและเรียนรู้ARE 25 เม.ย. 2564

 

 

 

 

 

กิจกรรมที่สสส.สนับสนุน 25 ก.ค. 2564

 

 

 

 

 

ประชุมคณะทำงาน 25 ก.ค. 2564

 

 

 

 

 

จัดทำรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบออนไลน์ 31 ส.ค. 2564 31 ส.ค. 2564

 

การจัดทำรายงานเป็นหน้าที่ของเลขาที่ บันทึกการจัดกิจกรรมทั้งหมด รวมทั้งการสรุปกิจกรรมและนำมารายงานผลการจัดกิจกรรมในระบบตลอดทั้งปี

 

ได้รายงานการจัดกิจกรรมที่สมบูรณ์ ภาพถ่าย หลักฐานการเงินที่ต้องรวบรวมจากฝ่ายการเงิน ใบลงทะเบียนของทุกกิจกรรม

 

ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 1 8 ก.ค. 2563 8 ก.ค. 2563

 

นัดประชุมคณะทำงาน ในวันพุธที่ 8 ก.ค. 2563 เวลา 18.00 น. ณ อาคารอเนกประสงค์กลุ่มอาชีพชุมชนสวนผักร้าน@สะพานเอียง

 

นายสุธรรม  บัวแก่น กล่าวสวัสดีคณะทำงานโครงการชุมชนสวนผักปลอดสารพิษเพื่อผลิตและจำหน่าย ว่าที่ประชุมในวันนี้เพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดกิจกรรมต่อไป คือกิจกรรมที่ 3 ที่จะจัดให้มีขึ้นใน    วันจันทร์ทีี่ 20 ก.ค. 2563 เวลา 09.00 น. ณ อาคารอเนกประสงค์กลุ่มอาชีพชุมชนสวนผัก(ร้าน@สะพานเอียง) โดยมีเป้าหมายเพื่ออบรมพัฒนาศักยภาพคณะทำงาน เพราะอย่างน้อยหากเราจะดำเนินโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพ คณะทำงานควรมีความรู้ความเข้าใจในขั้นตอนและวิธีการ การคิด วิเคราะห์ วางแผนการทำงาน ซึ่งจากกิจกรรมที่ผ่านมา เรามีความรู้ความเข้าในการขับเคลื่อนโครงการมากขึ้น มีการทำงานอย่างเป็นระบบ แนวทางการดำเนินโครงการ การเชิญชวนให้ชาวบ้านมาร่วมโครงการ มองเห็นข้อดีของการปลูกผักกินเอง การวางแผนในการดำเนินงาน แลกเปลี่ยนความรู้ ปัญหาที่คาดว่าจะเกิดขึ้นระหว่างการทำโครงการ วิธีการแก้ปัญหา ซึ่งคณะทำงานได้ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยน และเกิดความรู้ ความเข้าใจ มองเห็นทิศทางการดำเนินงานที่จะมีขึ้นในกิจกรรมต่อไป

 

เวทีทบทวนบันไดผลลัพธ์และออกแบบเก็บข้อมูลโครงการย่อย 15 ส.ค. 2563 15 ส.ค. 2563

 

ไม่ได้เข้าร่วม

 

ไม่ได้เข้าร่วม

 

ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 2 23 ส.ค. 2563 23 ส.ค. 2563

 

เรียกประชุมคณะทำงานโครงการชุมชนสวนผักปลอดสารพิษเพื่อผลิตและจำหน่าย ในวันอาทิตย์ที่ 23 สิงหาคม 2563 ณ อาคารอเนกประสงค์ ร้าน@สะพานเอียง ต.เบตง อ.เบตง จ.ยะลา

 

คณะทำงานโครงการชุมชนสวนผักปลอดสารพิษเพื่อผลิตและจำหน่าย จำนวน 14 ท่าน ร่วมประชุม เพื่อสรุปกิจกรรมที่ผ่านมา ซึ่งเป็นกิจกรรมพัฒนาศักยภาพคณะทำงานนั้น ทำให้คณะทำงานมีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการทำงานมากขึ้น เข้าใจวิธีการปลูกผัก การปลูกผักในเมือง วัสดุปลูก การจัดการพื้นที่ปลูก ซึ่งอาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตของผัก จะเป็นพื้นฐานสำหรับกิจกรรมถัดไป เป็นการเตรียมความพร้อมที่จะรับความรู้ในกิจกรรมที่ 4 เรื่องการปลูกผักปลอดภัยในเมือง และตอบข้อซักถามของสมาชิกกลุ่มที่จะเข้าร่วมอบรม
มีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ แบ่งโซน เพื่อง่ายต่อการประชาสัมพันธ์ การให้ความช่วยเหลือ การแก้ปัญหา ให้กับสมาชิกกลุ่ม หากปัญหาใดที่ผู้รับผิดชอบในแต่ละโซนไม่สามารถแก้ไขได้ ให้นำเข้าที่ประชุม เพื่อหาแนวทางในการแก้ปัญหาต่อไป

 

AREครั้งที่ 1 16 ก.ย. 2563 16 ก.ย. 2563

 

คณะทำงานประชาสัมพันธ์เชิญสมาชิกกลุ่มเข้าร่วมกิจกรรม การประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา Action research evaluation (ARE) ครั้งที่1 ณ อาคารอเนกประสงค์กลุ่มอาชีพชุมชนสวนผัก ร้าน@สะพานเอียง

 

คณะกรรมการ กลุ่มปลูกผัก และพี่เลี้ยงโครงการ คุณซารีป๊ะ ฆอแด๊ะ ร่วมการประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา ทบทวนกิจกรรมที่ผ่านมา(กิจกรรมที่ 1 - 5) ว่าเราได้เรียนรู้อะไรบ้าง ย้ำถึงวัตถุประสงค์ของโครงการว่า ต้องการสร้างความรู้ให้กับประชาชนในชุมชน เรื่องการปลูกผักปลอดภัยในเมือง ส่งเสริมให้เกิดการบริโภค นำไปสู่การผลิตเพื่อจำหน่าย ภายใต้ข้อตกลงของการผลิตผัก

 

ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 3 20 ก.ย. 2563 20 ก.ย. 2563

 

ประธานโครงการฯ เรียกประชุมคณะทำงาน ในวันอาทิตย์ที่ 20 กันยายน 2563 เวลา 09.00 น. เป็นต้นไป ณ อาคารเอนกประสงค์กลุ่มอาชีพ ร้าน@สะพานเอียง

 

คณะทำงานจำนวน 14 ท่านเข้าร่วมประชุม ทบทวนการทำกิจกรรมที่ผ่านมา โดยมีข้อสรุปว่า มีสมาชิกกลุ่มให้ความสนใจเรื่องการปลูกผักในเมืองมาก ปรกติสมาชิกกลุ่มเป็นเกษตรกร มีที่ดินทำกิน ปลูกผักกินเองในสวน มีสมาชิกบางคนปลูกผักในบริเวณบ้านไว้กินเอง แต่เป็นผักพื้นบ้าน และปลูกตามความเคยชิน ไม่มีความรู้หรือทฤษฎีใดๆ เข้ามาจัดการหากมีปัญหา เรื่องการเจริญเติบโตของผัก ศรัตรูพืช หรือ การเลือกชนิดผักที่เหมาะสมในการปลูก ที่ประชุมเห็นไปในทิสทางเดียวกันว่า หากสมาชิกกลุ่มได้ร่วมประชุมในกิจกกรรมที่ 5 ที่จะจัดขึ้น จะมีความรู้ความเข้าใจ เรื่องต่างๆนี้มากขึ้น และสามารถซักถามวิทยากร ในข้อสงสัยต่างๆได้ ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการดำเนินการปลูกผัก

 

ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 4 10 ต.ค. 2563 10 ต.ค. 2563

 

เรียกประชุมคณะทำงานโครงการชุมชนสวนผักปลอดสารพิษเพื่อผลิตและจำหน่าย ในวันเสาร์ที่ 10 ตุลาคม 2563 เวลา 13.30 น. ณ อาคารเอนกประสงค์กลุ่มอาชีพ ร้าน@สะพานเอียง

 

คณะทำงานโครงการ ร่วมประชุมสรุปผลกิจกรรมที่ 5 เรื่องการปรุงดิน และการทำปุ๋ยหมัก ในการประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ สมาชิกกลุ่มได้รับความรู้เรื่องการปรุงดิน การจัดการวัสดุปลูก และการทำปุ๋ยหมัก สอบถามวิทยากรเรื่องการปลูกผัก และมีความพร้อมในการดำเนินกิจกรรมปลูกผักในเมือง มีการแลกเปลี่ยนประสพการณ์ จัดตั้งไลน์กลุ่มปลูกผัก เพื่อไว้ประชาสัมพันธ์ พูดคุย แลกเปลี่ยน วิธีการ เคล็ดลับในการปลูก ในส่วนของกิจกรรมที่ 6 กลุ่มสมาชิกจะได้มารับเมล็ดผักที่ได้ตกลงกันไว้ในกิจกรรมที่ 5 เพื่อนำไปปลูก

 

เยี่ยมแปลงผักครั้งที่ 2 20 ธ.ค. 2563 20 ธ.ค. 2563

 

คณะทำงานโครงการเยี่ยมแปลงผักสมาชิก

 

คณะทำงานลงตรวจเยี่ยมแปลงผัก พบว่า กล้าผักเริ่มโตขึ้น พบปัญหาเรื่องการหว่านเมล็ดที่หนาแน่นเกินไป ไม่มีพื้นที่สำหรับย้ายไปปลูก ส่งผลต่อการเติบโตของผัก หอยทากกินผัก ส่วนมากจะปลูกในภาชนะที่ไม่ใช่แล้ว กล่องโฟม หรือหว่านบริเวณที่ว่างรอบบ้าน ซึ่งสามารถเก็บกินได้ตามต้องการ และปลอดจากสารพิษ ซึ่งต้องติดตามผลต่อไป

 

ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 5 16 ม.ค. 2564 16 ม.ค. 2564

 

เรียกคณะทำงานประชุมในวันเสาร์ที่ 16 มกราคม 2563 เวลา 09.00 น. ณ อาคารอเนกประสงค์กลุ่มอาชีพ ร้าน@สะพานเอียง

 

คณะทำงานเข้าร่วมประชุม สรุปกิจกรรมที่ผ่านมา ว่าตามที่วางแผนไว้ ในกิจกรรมที่ 6 ว่าจะลงแปลงรวม นั้น ล่าช้ากว่ากำหนดด้วย สาเหตุมีฝนตกชุก  ไม่สามารถเข้าไปเตรียมแปลงปลูกได้ คงต้องยืดระยะเวลาในการดำเนินการปลูกแปลงใหญ่ออกไปก่อน และให้ติดตามผลการปลูกในบ้านของสมาชิกแต่ละท่านว่า มีปัญหาอุปสรรคใดบ้าง ต้องการให้ช่วยในเรื่องใด

 

เยี่ยมแปลงผักครั้งที่ 3 21 ม.ค. 2564 21 ม.ค. 2564

 

คณะทำงานโครงการลงเยี่ยมแปลงผักขอลสมาชิกกลุ่ม

 

คณะทำงานลงเยี่ยมแปลงผักของสมาชิกกลุ่ม พบว่า สมาชิกมีการปลูกผักอย่างอื่นร่วม บางคนใช้พื้นที่บนดาดฟ้า หลังบ้าน หรือบริเวณหน้าบ้าน ปลูกในกล่องโฟมที่ไม่ใช้แล้ว ผักส่วนใหญ่เติบโตได้ดี แต่มีอุปสรรคปัญหาในบางหลังที่พื้นที่น้อยมาก ต้องปลูกในกระถาง บางส่วนแดดส่องไม่ถึง ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของผัก สมากบางคนแบ่งเมล็ดผักบางส่วนนำไปปลูกที่สวน เพราะพื้นที่ที่บ้านไม่พอ

 

AREครั้งที่ 2 24 ม.ค. 2564 24 ม.ค. 2564

 

เรียกประชุมคณะกรรมการ และสมาชิกกลุ่มปลูกผัก ณ อาคารอเนกประสงค์กลุ่มอาชีพชุมชนสวนผัก ร้าน@สะพานเอียง

 

นายสุธรรม บัวแก่น กล่าวต้อนรับ นายวิทยา ตาพ่วง วิทยากรโครงการ นางสาวอโณทัย แซ่จ้อง นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร กยท.ส.เบตง ผู้เข้าร่วมสังเกตการณ์ นางสาวซารีป๊ะ ฆอแด๊ะ พี่เลี้ยงโครงการ โดยทบทวนถึงกิจกรรมที่ผ่านมา สอบถามความเห็นของสมาชิกกลุ่มต่อการ ปลูกผักปลอดสารพิษ โดยสมาชิกกลุ่มเห็นด้วยกับการปลูกผักปลอดสารพิษโดยเห็นด้วยว่าผักปลอดสารพิษ ช่วยลดความเสี่ยงในการเจ็บป่วย การปลูกผักปลอดสารพิษไม่ต้องใช้เวลาในการดูแลรักษามาก
และร่วมแลกเปลี่ยนปัญหาและอุปสรรค ดังนี้ 1.ปัญหาและอุปสรรคด้านการผลิต ชุมชนไม่มีพื้นที่สาธารณะ ที่เป็นของชุมชนเอง(เพื่อเป็นแปลงสาธิต/ปลูกเพื่อจำหน่าย) สภาพอากาศที่มีความแปรปรวน การไม่สามารถคาดเดาจำนวนผลผลิตได้รับ (ความเสียหายจากแมลงที่เป็นศัตรูพืช/การเติบโตของพืช) 2.ขนาดที่จำกัดของพื้นที่ปลูก(ชุมชนเมืองพื้นที่น้อย)ชนิดของผักที่ปลูก(เพื่อการจำหน่าย) 3.แสงแดด ลม การบดบังของตึก ส่งผลต่อการเติบโต โดยมีวิทยากร และนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ร่วมตอบปัญหา

 

เวทีประเมิน ARE ระดับจังหวัด ครั้งที่2 16 ก.พ. 2564 24 เม.ย. 2564

 

ไม่ได้เข้าร่วม

 

ไม่ได้เข้าร่วม

 

ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 6 20 ก.พ. 2564 20 ก.พ. 2564

 

เรียกคณะทำงานประชุมในวันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 09.00 น. ณ อาคารอเนกประสงค์กลุ่มอาชีพ ร้าน@สะพานเอียง

 

หลังจากที่คณะกรรมการได้ลงตรวจเยี่ยมแปลงผัก พบปัญหาของการปลูกผักในเมือง เช่น พื้นที่ในการปลูกที่มีน้อย ทำให้มีแค่พอบริโภค บางคนปลูกบนดาดฟ้า ประสพปัญหาเรื่องน้ำที่รดผัก หรือปลูกบริเวณหน้าบ้านที่มีพื้นที่จำกัด ได้ผลผลิตน้อย ไม่พอขาย พบปัญหาเรื่องการขโมยผัก(ขโมยทั้งกระถาง)
เรื่องการปลูกผักแปลงใหญ่ ขณะนี้กลุ่มประสพปัญหาเรื่องการร่วมกลุ่ม ด้วยการระบาดระลอกใหม่ของโควิด 19 ทำให้ต้องชลอการปลูก เพื่อรอดูสถานการณ์ ซึ่งได้ขอความร่วมมือในการไถกลบกับทาง เทศบาลเมืองเบตงไว้แล้ว และเมื่อกลุ่มเตรียมพื้นที่พร้อม วิทยากรโครงการจะได้มาแนะนำวิธีการ ขั้นตอน และกระบวนการในการปลูก การใส่ปุ๋ย และการดูแลรักษา

 

เยี่ยมแปลงผัก ครั้งที่ 4 26 ก.พ. 2564 26 ก.พ. 2564

 

คณะกรรมการตรวจเยี่ยมแปลงผัก ร่วมรับฟังปัญกา ติดตามผลการปลูกผัก

 

สมาชิกกลุ่มดูแลผักเป็นอย่างดี แต่ยังมีปัญหาเรื่องการเจริญเติบโต ซึ่งทางโครงการได้ทำน้ำหมักไว้ที่ร้าน@สะพานเอียง ซึ่งสมาชิกกลุ่มสามารถไปนำมารดผักได้ ผักส่วนใหญ่ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ สมาชิกกลุ่มอยากให้ลงปลูกในแปลงใหญ่ แต่เนื่องด้วยสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 ยังไม่สามารถเข้าไปทำกิจกรรมได้ อาจต้องเลื่อนไปอีกระยะหนึ่ง

 

ประชุมวิเคราะห์ สังเคราะห์โครงการ 24 มี.ค. 2564 24 มี.ค. 2564

 

ตัวแทนคณะทำงานโครงการ เข้าร่วมประชุมวิเคราะห์ สังเคราะห์โครงการย่อยทุกโครงการ ในวันพุธที่ 24 มีนาคม 2564 ณ ห้องประชุมโรงแรมปาร์ควิลล์ อ.เมือง จ.ยะลา

 

คุณวิไลรัตน์ ชาญประเสริฐกุล ตัวแทนคณะทำงานโครงการ เข้าร่วมประชุมวิเคราะห์ สังเคราะห์โครงการย่อยทุกโครงการ ในวันพุธที่ 24 มีนาคม 2564 ณ ห้องประชุมโรงแรมปาร์ควิลล์ อ.เมือง จ.ยะลา โครงการชุมชนสวนผักปลอดสารพิษเพื่อผลิตและจำหน่ายช่วยกระตุ้นให้สมาชิกชุมชน หันมาใช้พื้นที่ หรือวัสดุใช้แล้วนำมาปลูกผัก ให้เกิดการปลูกผักโดยไม่ใช้สารเคมี ลดการซื้อผักบริโภค

 

เยี่ยมแปลงผัก ครั้งที่ 5 27 มี.ค. 2564 27 มี.ค. 2564

 

คณะทำงานโครงการ เยี่ยมแปลงผักสมาชิกกลุ่ม

 

หลังจากสมาชิกนำวิธีการป้องกันหอยทากไปใช้ พบว่าสามารถลดจำนวนผักที่เสียหายจากการถูกหอยทากกิน ส่วนที่เหลือใช้วิธีเก็บหอยทากไปทิ้ง
มีสมาชิกกลุ่มบางส่วนที่มีสวนยาง นำเมล็ดพันธ์ไปปลูกที่สวน นำวิธีการดูแลดินไปใช้ ซึ่งได้ผลดี ผลผลิตที่ได้ ส่วนใหญ่สมาชิกกลุ่มนำไปบริโภคเอง เหมาะสมกับช่วงสถานการณ์ระบาดของโรคโควิด 19 การจำหน่ายยังเป็นแค่ในสมาชิกกลุ่มด้วยกันเอง หรือสมาชิกในชุมชน

 

เยี่ยมแปลงผัก ครั้งที่ 1 30 ส.ค. 2564 30 พ.ย. 2563

 

คณะกรรมการ เยี่ยมแปลงผักหลังจากแจกเมล็ดพันธ์ผักให้สมาชิกนำไปปลูก

 

ผลที่ได้รับจากการนำเม็ดพันธ์ไปปลูก และคณะทำงานลงไปเยี่ยมแปลงผัก สมาชิกกลุ่มมีความกระตือรือร้นในการปลูกผัก สมาชิกบางคนมีพื้นที่บริเวณบ้าน ก็สามารถปลูกได้ผลดี มีหลายบ้านที่พื้นที่น้อย ปลูกในกระถาง ก็ทำได้ในพื้นที่จำกัด สมาชิกกลุ่มนี้ อยากให้มีแปลงใหญ่ที่จะมาร่วมกันปลูกผัก

 

เวทีพัฒนาศักยภาพการรายงานผลลัพธ์ของโครงการย่อย 30 ส.ค. 2564 6 ก.ค. 2563

 

ตัวแทนคณะทำงานประกอบด้วย 1.นางสาววลัยลฎา เจริญดี 2.นางสาวกุนทินี วงศ์นิรัติศัย เข้าร่วมเวทีพัฒนาศักยภาพการรายงานผลลัพธ์ของโครงการย่อย ณ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี จ.ปัตตานี

 

ตัวแทนคณะทำงานเข้ารับฟังการประชุมเชิงปฏิบัติการ การรายงานผลลัพธ์โครงการผ่าน www.happynetwork.org เพื่อรายงานผลการดำเนินโครงการในแต่ละกิจกรรม วางแผนการจัดกิจกรรม การใช้จ่ายงบประมาณ ขั้นตอน และวิธีการรายงานผล การบันทึกกิจกรรม ณ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี จ.ปัตตานี ผลการเข้าร่วมกิจกรรม - โครงการย่อยได้มีอีเมล์ของชุมชนในการเข้าใช้ระบบรายงานความก้าวหน้าของโครงการ - ตัวแทนโครงการย่อยเข้าใจ และสามารถใช้ระบบในการรายงานความก้าวหน้าได้

 

เวทีปฐมนิเทศและทำสัญญาโครงการย่อย 30 ส.ค. 2564 3 มิ.ย. 2563

 

ผู้รับผิดชอบโครงการชุมชนสวนผักปลอดสารพิษเพื่อผลิตและจำหน่ายเข้าร่วมเวทีปฐมนิเทศและทำสัญญาโครงการ กับหน่วยจัดการระดับจังหวัดยะลา ณ อาคารศรีฟ้า สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา อ.เมือง จ.ยะลา

 

ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 3 ท่าน ประกอบด้วย 1.นายสุธรรม บัวแก่น 2.นางสาวกุนทินี วงศ์นิรัติศัย 3.นางรัตน์นาพร บุญเจริญ ร่วมอบรมรับฟังการชี้แจงข้อตกลงในการดำเนินโครงการ และเซ็นสัญญาโครงการ ตัวแทนโครงการเข้าใจกระบวนการขับเคลื่อนงานกิจกรรมโครงการ โดยอาศัยตัวชี้วัดและบันไดผลลัพธ์ในการดำเนินงาน และได้มีการเซ็นสัญญาโครงการ เพื่อรับเงินสนับสนุนจากสสส. จำนวน 100,000 บาท

 

จัดทำไวนิลโครงการและไวนิลบันไดผลลัพธ์ 30 ส.ค. 2564 28 มิ.ย. 2563

 

โครงการชุมชนสวนผักปลอดสารพิษเพื่อผลิตและจำหน่าย จ้างเหมาร้านพู่กันโฆษณา ทำไวนิลโครงการ ขนาด 1.20 * 2.40 ม. จำนวน 1 ผืน  และไวนิลบันไดผลลัพธ์โครงการ ขนาด .08 * 1.4 ม. จำนวน 1 ผืน เพื่อใช้ในกิจกรรมของโครงการ

 

ได้ป้ายไวนิลโครงการขนาด 1.20 * 2.40 ม. จำนวน 1 ผืน  และไวนิลบันไดผลลัพธ์โครงการ ขนาด .08 * 1.4 ม. จำนวน 1 ผืน เพื่อใช้จัดกิจกรรมโครงการชุมชนสวนผักปลอดสารพิษ เพื่อผลิตและจำหน่าย

 

เวทีประเมิน ARE ระดับจังหวัด ครั้งที่ 1 30 ส.ค. 2564 24 ต.ค. 2563

 

ตัวแทนคณะทำงานโครงการ โดย นางสาววลัยลฎา เจริญดี และนางสาวกุนทินี วงศ์นิรัติศัย เข้าร่วมกิจกรรมเวทีประเมิณผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา(ARE)ของหน่วยจัดการระดับที่มีจุดเน้นสำคัญ(Node Flagship)ระดับจังหวัดยะลา ครั้งที่ 1 วันเสาร์ที่ 24 - วันอาทิตย์ที่ 25 ตุลาคม 2563 เวลา 09.00 เป็นต้นไป ณ ห้องประชุมโรงแรมวิทยาลัยการอาชีพเบตง

 

ตัวแทนคณะทำงานเข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทบทวนผลลัพธ์ ติดตามความก้าวหน้าของโครงการย่อย นำเสนอผลการดำเนินโครงการ และเน้นให้จัดกิจกรรมให้เป็นไปตาม Time Line ของโครงการ และวิธีรายงาน บันทึกผลการดำเนินโครงการ