Node Flagship

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ชุมชนสวนผักปลอดสารพิษเพื่อผลิตและจำหน่าย
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดยะลา
รหัสโครงการ 63001750018
วันที่อนุมัติ 1 มิถุนายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2563 - 30 เมษายน 2564
งบประมาณ 100,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชุมชนสวนผัก ต.เบตง
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสุธรรม บัวแก่น
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ ซารีป๊ะ ฆอแด๊ะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเบตง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 5.780021,101.037061place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มิ.ย. 2563 31 ส.ค. 2563 1 มิ.ย. 2563 31 ส.ค. 2563 40,000.00
2 1 ก.ย. 2563 15 ธ.ค. 2563 50,000.00
3 1 ม.ค. 2564 30 เม.ย. 2564 10,000.00
รวมงบประมาณ 100,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ชุมชนสวนผัก ตำบลเบตง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา เป็นชุมชนในเมืองเบตงที่มีศักยภาพในการบริหารจัดการตนเอง โครงการพัฒนาพื้นที่ส่วนใหญ่ รัฐจะเข้ามามีบทบาทในการสนับสนุน เพื่อสร้างศักยภาพให้กับคนในพื้นที่ ทางชุมชนได้คิดและประชุมวางแผน เพื่อพัฒนาและบริหารจัดการโครงการร่วมกัน ชุมชนสวนผักเป็นชุมชนที่ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองเบตง มีลำธารสายหลักของอำเภอเบตงไหลผ่านชุมชนตลอดปี มีครัวเรือนทั้งหมด 300 ครัวเรือน จำนวนประชากร 1,160 ชาย 575 คน คิดเป็นร้อยละ 46 หญิง 585 คน คิดเป็นร้อยละ 54 กลุ่มอายุ 0-14 ปี คิดเป็นร้อย 18, อายุ 15-59 ปี คิดเป็นร้อยละ 53, อายุ 60 ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ29 ศาสนาพุทธ ร้อยละ96, อิสลาม คิดเป็น ร้อยละ 3, และศาสนาคริสต์ ร้อยละ 1 ถือเป็นทรัพยากรบุคคลที่เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาชุมชนได้เป็นอย่างดี
ชุมชนสวนผักมีคณะกรรมการชุมชนที่มีวิสัยทัศน์ก้าวไกลในด้านการพัฒนาชุมชน จากการจัดโครงการต่างๆในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นโครงการขยับกายสบายชีวี ด้วยวิถีแอโรบิค โครงการเต้นต่อ ไม่รอไขมัน ไปกับบาสโลบ โครงการสูงวัยอนามัยดี โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดเสี่ยง ลดโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ในประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป และโครงการรวมใจเป็นหนึ่งป้องกันภัยร้าย ไข้เลือดออก ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับตัวบุคคลที่หันมาใส่ใจสุขภาพมากยิ่งขึ้น
ทั้งนี้สภาพแวดล้อมที่เป็นลักษณะชุมชนเมือง ไม่มีพื้นที่ในการปลูกผักที่เพียงพอ บางบ้านมีพื้นที่เพียงหน้าบ้านที่สามารถปลูกผักได้ 1 – 2 อย่าง ไม่เพียงพอต่อการบริโภคในแต่ละวัน ไม่มีความรู้ในการปลูกผักแบบชุมชนเมือง ไม่มีเวลาปลูกและดูแล ส่วนใหญ่ชาวบ้านซื้อแกงถุงหรืออาหารสำเร็จรูปรับประทาน มีการทำอาหารนานๆครั้ง และทุกครั้งที่ทำอาหารจะซื้อผักที่ตลาดสดเป็นส่วนใหญ่เพราะเร็วและเป็นชุมชนที่อยู่ใกล้ตลาดสด จึงมีความเห็นร่วมกันในการคิดโครงการเพื่อแก้ปัญหาต่างๆเกี่ยวกับการปลูกผักกินเอง โดยผ่านกิจกรรม การสำรวจจำนวนบ้านที่ปลูกผักอยู่แล้ว การให้ความรู้ในการปลูกผักแบบคนเมือง ให้ความรู้ในการทำปุ๋ยหมักไว้ใช้เอง

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

ด้วยวิสัยทัศน์ชุมชนสวนผักคือ สุขภาพดี มีงานทำ นำชุมชนพัฒนา รวมทั้งเป็นชุมชนที่มีความโดนเด่นในเรื่องการดูแลสุขภาพเป็นทุนเดิม ทั้งด้านการออกกำลังกาย ที่ชุมชนสนับสนุนลานออกกำลังกายเพื่อให้คนในชุมชนได้ออกกำลังกายทุกๆวัน รวมทั้งมีคณะทำงานที่เข้มแข็ง ทำงานเป็นระบบ เป็นนักพัฒนาที่พร้อมจะร่วมมือกันกำหนดแนวทางในการดำเนินงานในทุกๆโครงการ และในครั้งนี้มีแนวทางคือ คัดเลือกตัวแทนจากกลุ่มต่างๆมาเพื่อเป็นคณะทำงาน อบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพคณะทำงาน และสร้างความเข้าใจร่วมกันถึงวัตถุประสงค์ของโครงการ เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลและหาแนวทางในการแก้ปัญหาที่อิงจากบริบทชุมชน จัดเก็บข้อมูลการปลูกผักแบบเดิม หากยังมีการปลูกผักที่ใช้สารเคมีหรือมีวิธีการปลูกผักที่ผิดวิธี หรือบ้างบ้านยังขาดความรู้ในการปลูกผักแบบชุมชนในเมือง คณะทำงานจะช่วยส่งเสริมทักษะการปลูกผักแบบชุมชนในเมือง และเพิ่มทักษะเรื่องการทำปุ๋ยหมักใช้ในแปลงผักของตนเองเพื่อที่จะได้ยกระดับคุณภาพของแปลงผัก และถือเป็นการส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูกผักปลอดภัยไว้บริโภคเองและเหลือไว้ขาย ตอบโจทย์ตามวิสัยทัศน์ชุมชนเรื่องสุขภาพดีได้อีกด้วย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อเสริมสร้างความรู้ในการผลิตผักในเมือง ที่ปลอดสารพิษ ไว้บริโภคในครัวเรือน

ผลลัพธ์ที่ 1 เกิดกลุ่มปลูกผักปลอดภัยและเกิดคณะทำงาน ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 1.1 เกิดคณะทำงาน 10 คน จากภาคีที่หลากหลาย มีบาบาทหน้าที่ชัดเจน ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 1.2 กลุ่มเป้าหมายมีความเข้าใจในวัตถุประสงค์โครงการ ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 1.3 เกิดแผนการดำเนินงานและข้อมูลการบริโภคและปลูกผักปลอดภัย ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 1.4 เกิดชมรมสวนผักคนเมืองเบตงจากครัวเรือนเป้าหมาย ผลลัพธ์ที่ 2 คณะทำงานมีบทบาทในการทำงาน กลุ่มผู้ปลูกผักมีความรู้และทักษะในการปลูกผักปลอดภัย ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 2.1 กลุ่มผู้ปลูกผักมีความรู้และทักษะในการปลูกผักปลอดภัย ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 2.2 กลุ่มผู้ปลูกผักมีความรู้และทักษะในการทำปุ๋ยหมัก ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 2.3 คณะทำงานมีความรู้ในการดำเนินงานติดตามและประเมินผล ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 2.4 มีข้อตกลงเรื่องมาตรฐานการผลิตผักปลอดภัยและมีการปฏิบัติตาม

1.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ครัวเรือนผลิตและบริโภคผักที่เพียงพอ ปลอดภัย และเกิดรายได้ เพื่อทำระบบการจำหน่าย

ผลลัพธ์ที่ 3 กลุ่มผู้ปลูกผักมีการปลูกและกินผักปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง และเกิดกลไกตลาดผักที่มีจังหวัดหนุนเสริม ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 3.1 มีแหล่งเรียนรู้แปลงผักปลอดภัยในชุมชน ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 3.2 มีตลาดเพื่อวางขายผักอย่างต่อเนื่อง ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 3.3 หน่วยงานราชการรับซื้อผักจากชุมชน เช่น รพ. เทศบาล ผลลัพธ์ที่ 4 กลุ่มผู้ปลูกผักมีรายได้เพิ่ม ลดการนำเข้าผักจากต่างจังหวัดและมีข้อมูลการดำเนินงานตลอดทั้งโครงการ ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 4.1 กลุ่มผู้ปลูกผักมีผักปลอดภัยบริโภคตลอดปี สามารถลดรายจ่ายและมีสุขภาพที่แข็งแรงขึ้น ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 4.2 มีข้อมูลการปลูกผัก และรายงานการดำเนินงานตลอดทั้งโครงการ

1.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 70 70
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
ครัวเรือนในพื้นที่ชุมชนสวนผัก 70 70
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
1 เยี่ยมแปลงผัก กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 10 5,500.00 5 5,500.00
20 ธ.ค. 63 เยี่ยมแปลงผักครั้งที่ 2 10 0.00 1,100.00
21 ม.ค. 64 เยี่ยมแปลงผักครั้งที่ 3 0 0.00 1,100.00
26 ก.พ. 64 เยี่ยมแปลงผัก ครั้งที่ 4 0 0.00 1,100.00
27 มี.ค. 64 เยี่ยมแปลงผัก ครั้งที่ 5 0 0.00 1,100.00
30 ส.ค. 64 เยี่ยมแปลงผัก ครั้งที่ 1 0 5,500.00 1,100.00
2 กิจกรรมประเมินและเรียนรู้ARE กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0.00 2 3,832.00
16 ก.ย. 63 AREครั้งที่ 1 0 0.00 2,032.00
24 ม.ค. 64 AREครั้งที่ 2 0 0.00 1,800.00
3 กิจกรรมที่สสส.สนับสนุน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 6 10,000.00 7 4,168.00
15 ส.ค. 63 เวทีทบทวนบันไดผลลัพธ์และออกแบบเก็บข้อมูลโครงการย่อย 0 0.00 0.00
16 ก.พ. 64 เวทีประเมิน ARE ระดับจังหวัด ครั้งที่2 0 0.00 0.00
24 มี.ค. 64 ประชุมวิเคราะห์ สังเคราะห์โครงการ 0 0.00 1,056.00
30 ส.ค. 64 เวทีพัฒนาศักยภาพการรายงานผลลัพธ์ของโครงการย่อย 2 0.00 1,056.00
30 ส.ค. 64 เวทีปฐมนิเทศและทำสัญญาโครงการย่อย 0 10,000.00 1,056.00
30 ส.ค. 64 จัดทำไวนิลโครงการและไวนิลบันไดผลลัพธ์ 2 0.00 1,000.00
30 ส.ค. 64 เวทีประเมิน ARE ระดับจังหวัด ครั้งที่ 1 2 0.00 0.00
4 ประชุมคณะทำงาน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 4,100.00 6 4,100.00
8 ก.ค. 63 ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 1 0 1,100.00 1,100.00
23 ส.ค. 63 ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 2 0 600.00 600.00
20 ก.ย. 63 ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 3 0 600.00 600.00
10 ต.ค. 63 ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 4 0 600.00 600.00
16 ม.ค. 64 ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 5 0 600.00 600.00
20 ก.พ. 64 ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 6 0 600.00 600.00
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 70 80,400.00 8 82,400.00
2 ก.ค. 63 เวทีประชุมชี้แจงโครงการและสรรหาคณะทำงาน 70 11,500.00 11,500.00
20 ก.ค. 63 อบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพคณะทำงาน 0 8,550.00 8,550.00
10 ก.ย. 63 อบรมให้ความรู้เรื่องการปลูกผักปลอดภัยในเมือง และทำข้อตกลงในการผลิตผัก 0 19,750.00 19,750.00
27 ก.ย. 63 ประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่องการปรุงดินและการทำปุ๋ยหมัก 0 15,100.00 15,100.00
19 พ.ย. 63 ร่วมใจปลูกผักปลอดภัย เพื่อสุขภาพที่ดี 0 11,400.00 11,400.00
11 เม.ย. 64 สำรวจตลาดผัก 0 2,500.00 2,500.00
17 เม.ย. 64 ถอดบทเรียน 0 11,600.00 11,600.00
31 ส.ค. 64 จัดทำรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบออนไลน์ 0 0.00 2,000.00

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

เกษตรกรมีการรวมกลุ่มและมีเครือข่ายเป็นคณะทำงาน เกษตรกรมีความรู้สามารถผลิตผักปลอดภัยได้ เกิดกลไกตลาดผักปลอดภัย และกลไกหนุนเสริมจากจังหวัด เกษตรกรปลูกและจำหน่ายผักปลอดภัย อย่างมีคุณภาพทดแทนการนำเข้าผักจากจังหวัดอื่น

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 มิ.ย. 2563 23:05 น.