Node Flagship

directions_run

พัฒนาพื้นที่ต้นแบบลดอุบัติเหตุทางถนนโดยกระบวนการมีส่วนร่วม ตลาดเก่า อ.เมืองยะลา

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

Node Flagship จังหวัดยะลา


“ พัฒนาพื้นที่ต้นแบบลดอุบัติเหตุทางถนนโดยกระบวนการมีส่วนร่วม ตลาดเก่า อ.เมืองยะลา ”

ตำบลสะเตง อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา

หัวหน้าโครงการ
นายนิมัน อำดุลวาดุง

ชื่อโครงการ พัฒนาพื้นที่ต้นแบบลดอุบัติเหตุทางถนนโดยกระบวนการมีส่วนร่วม ตลาดเก่า อ.เมืองยะลา

ที่อยู่ ตำบลสะเตง อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา จังหวัด ยะลา

รหัสโครงการ 63001750011 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2563 ถึง 31 มีนาคม 2564


กิตติกรรมประกาศ

"พัฒนาพื้นที่ต้นแบบลดอุบัติเหตุทางถนนโดยกระบวนการมีส่วนร่วม ตลาดเก่า อ.เมืองยะลา จังหวัดยะลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลสะเตง อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ Node Flagship จังหวัดยะลา ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
พัฒนาพื้นที่ต้นแบบลดอุบัติเหตุทางถนนโดยกระบวนการมีส่วนร่วม ตลาดเก่า อ.เมืองยะลา



บทคัดย่อ

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พฤติกรรมเสี่ยงได้รับการแก้ไข (2) จุดเสี่ยงได้รับการแก้ไข (3) สิ่งแวดล้อมเสี่ยงได้รับการแก้ไข กิจกรรมการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) คีย์ข้อมูลรายงาน (2) เวทีปฐมนิเทศ และทำสัญญาโครงการ (3) ประชุมคลี่โครงการ (4) เวทีพัฒนาศักยภาพการรายงานผลลัพธ์ของโครงการย่อย (5) เวทีทบทวนบันไดผลลัพธ์และเก็บข้อมูลของโครงการ (6) ประชุมพิจารณายกร่างตารางข้อมูลผลลัพธ์เชิงประเด็นยุทธศาสตร์ (7) เวทีประชาคม (8) ประชุมติดตามงาน (9) เวทีการประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา ARE ครั้งที่ 1 (10) อบรมการสร้างสื่อดิจิทัลทางสมาร์ทโฟน (11) เวทีพัฒนาศักยภาพการรายงานผลลัพทธ์ของโครงการย่อย (12) ประชุมติดตามงาน (13) อบรมนักเรียน (14) ติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE) ระดับหน่วยจัดการฯ (15) รณรงค์และประชาสัมพันธ์มัสยิดนูรุสสลาม (16) รณรงค์และประชาสัมพันธ์มัสยิดดารุลนาอีม (17) รณรงค์และประชาสัมพันธ์ในเขตตลาดเก่า (18) ประชุมสรุปโครงการคณะทำงาน (19) รณรงค์และประชาสัมพันธ์จุดเสี่ยงหน้าโรงเรียน (20) รณรงค์และประชาสัมพันธ์ตามจุดเสี่ยง (21) รณรงค์และประชาสัมพันธ์จุดเสี่ยงหน้าโรงอิฐน่ำฮั่วจัน (22) อบรมกฎกติการะเบียบจราจรความปลอดภัยทางถนน (23) เวทีสังเคราะห์และสกัดบทเรียน
ผลลัพธ์ ไม่สวมหมวกกันน็อก ก่อน 3,606 คน หลัง 2,525 คน ลดลง 1,081 จำนวน คน 30 %ขับรถเร็ว ก่อน 2,210 คน หลัง จำนวน. 649...คน ลดลง 1,561 คน70.63% เมาแล้วขับ ก่อน 360 คน หลัง 0 คน ลดลง 100 % ขับรถไม่ปฏิบัติตามกฎจราจร(กรณีย้อนศร) ก่อน 580 คน หลัง 342 คน ลดลง จำนวน..238.คน 41 % การปรับปรุงสิ่งแวดล้อม (จุดเสี่ยง) รวมทั้งหมด.5.จุด จุดเสี่ยงได้รับการปรับปรุงและแก้ไขสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น โดยการทาสีขอบทางเดินของเทศบาลนครยะลาทุกจุด รณรงค์สวมหมวกกันน็อค , เมาไม่ขับ , ไม่ขับย้อนศร , ไม่คุยโทรศัพท์ขณะขับรถ , จอดถูกที่ถูกทาง รณรงค์และประชาสัมพันธ์ตามจุดเสี่ยงต่างๆและสัปปุรุษที่มาละหมาดวันศุกร์ที่มัสยิด การเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน มีจำนวนลดลง จากปีก่อน 135 ครั้ง ปีนี้ 10 ครั้ง ร้อยละ 92.6 โครงการนี้มีกิจกรรมที่เป็นต้นแบบ ให้คณะทำงานขับเคลื่อนต่อเนื่องได้ โดยเฉพาะโรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ ที่มีอาสาสมัครจราจรรุ่นสู่รุ่น และเพิ่มจำนวนมากขึ้น นอกจากนี้คณะทำงาน ที่เป็นผู้ประสานงานหลักประจำจุดเสี่ยงยังคงจะดำเนินการต่อ สื่อสารกันทางกลุ่มไลน์ ข้อเสนอแนะ ได้แก่ ขอให้เครือข่ายสนับสนุนต่อเนื่อง เข้มข้น คือ ตำรวจจราจร เทศบาลนครยะลา และ สำนักงานขนส่งจังหวัด

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

สถานการณ์ของปัญหา ตำบลสะเตง อำเภอเมือง ยะลา มีสถานการณ์อุบัติเหตุทางถนนสูงสุด ของ จังหวัด จากสถิติ 3 ปีย้อนหลัง พบว่า ในเขตตลาดเก่า พบอัตราการบาดเจ็บสูงสุด จำนวน 381 ราย  (ข้อมูลจากศูนย์อุบัติเหตุทางถนน รพ.ศูนย์ยะลา) และการประชุมกรรมการชุมชน และเครือข่ายที่มีข้อมูลสำคัญในพื้นที่ ได้ข้อสรุปว่า จุดเสี่ยงอยู่ที่ สีแยกไฟแดงซอย 1 (สิโรรส 4) จุดเลี้ยวกลับหน้าโรงเรียนธรรมมูลนิธิ และจุดเลี้ยวกลับโรงอิฐหน้ำฮั่วจั่น นอกจากนั้นสิ่งแวดล้อมทางสังคมในเรื่องรถติดหน้าโรงเรียนก่อนหลังเลิกเรียน และที่ตลาดนัดช่วงเวลาเช้า สาเหตุเนื่องมาจากพฤติกรรมที่นิยมความสะดวก โดยไม่รับผิดชอบส่วนรวมของผู้ประกอบการ และบุคคล รวมทั้งการไม่กวดขันวินัยจราจร ซึ่งมีเหตุการณ์ที่อยู่นอกรายงานอีกจำนวนมาก สำหรับสถานการณ์ข้อมูลบุคคล มีข้อมูลภาพรวมทั้งตำบล ศึกษาข้อมูลผู้ประสบเหตุ ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2561 ถึง 31 มกราคม 2563 จำนวน 2802 ราย พบว่า ประเภทรถ จักรยานยนต์มากที่สุด ผู้ขับขี่บาดเจ็บ 1,917 ราย ตาย 8 ราย ผู้โดยสารบาดเจ็บ 577 ตาย 1 ราย รองลงมาคือ รถเก๋ง/ปิคอัพ ผู้ขับขี่บาดเจ็บ 28 ราย ผู้โดยสารบาดเจ็บ 42 ราย 1 ราย และ จักรยานยนต์/สามล้อ ผู้ขับขี่บาดเจ็บ 130 ราย ตาย 1 ราย ผู้โดยสาร 19 ราย พฤติกรรมการหมวกนิรภัย ผู้ขับขี่ไม่ใช้หมวกบาดเจ็บ 1,884 คน ตาย 7 คน ใช้หมวกบาดเจ็บ 12 ราย กลุ่มอายุที่ประสบเหตุมากที่สุด คืออายุ 15-20 ปี ผู้บาดเจ็บ 607 ราย ตาย 3 ราย เพศชาย บาดเจ็บ 294 ราย ตาย 3 ราย หญิง 303 ราย กลุ่มอายุ อายุ 20-25 ปี พบผู้บาดเจ็บ รวม  408 ราย เพศชาย 159 ราย  หญิง 249 ราย อายุ 25-30 ปี บาดเจ็บรวม  257 ราย ตาย 1 ราย เพศชาย บาดเจ็บ 121 ราย ตาย 1 ราย หญิง บาดเจ็บ 136 ราย
กลุ่มอาชีพ พบว่า เป็นนักเรียน/นักศึกษา สูงสุด บาดเจ็บ 1,031 ราย ตาย 1 ราย รองลงมาเป็นกลุ่ม      ผู้ใช้แรงงาน บาดเจ็บ 737 ราย ตาย 3 ราย และค้าขาย บาดเจ็บ 292 ราย ตาย 2 ราย (ข้อมูลจากศูนย์อุบัติเหตุทางถนน รพ.ศูนย์ยะลา)
อุบัติเหตุทางถนนเหล่านี้เกิดจาก พฤติกรรมขับเร็ว เร่งให้พ้นแยกไฟแดง จอดที่ห้ามจอด จอดผิดที่ (ไฟแดง/ที่จอดรถ) เข้าใจผิดหรือมองไม่เห็นป้ายเลี้ยวซ้ายรอสัญญาณไฟ ใช้โทรศัพท์ตอนติดไฟแดง โดยเฉพาะพนักงานส่งอาหาร FOODPANDA ที่ใช้โทรศัพท์ในการติดต่อลูกค้าและค้นหาตำแหน่งขณะขับขี่เนื่องจากต้องทำเวลาตามโปรโมชั่น และให้เร็วเพื่อได้ปริมาณมาก จักรยายยนต์รับจ้าง รถยนต์รับจ้าง จอดแช่ ขับหวาดเสียว  จอดที่ห้ามจอด จอดซ้อน ส่วนบุคคลมีคนชรา เด็กอายุไม่ถึง  ไม่มีใบขับขี่
นอกจากนั้นยังเกิดการบาดเจ็บรุนแรงจากการไม่สวมหมวกนิรภัยด้วย ส่วนของสิ่งแวดล้อม สภาพถนนมีน้ำยาง น้ำขี้ยาง น้ำมัน หิน/ทราย หกหล่น นอกจากนั้นยังมีปัญหาร้านค้า  ล้ำถนน กันสาดบังถนน สี่แยกหัวมุมร้านค้า บังป้าย ที่จอดรถหน้าโรงเรียน ด้านกลไก ยังขาดคณะทำงานภาคประชาชนข้อมูลยังไม่ครบถ้วน และขาดกติกาชุมชน แนวทางแก้ โดยใช้ทุนเดิมคือ กรรมการชุมชนที่เข้มแข็ง อาสาสมัครสาธารณสุขที่มีความพร้อม วิทยากรจราจรอาสาที่มีประสบการณ์ หากแต่ปัจจุบันยังไม่ได้มีการระดมสรรพกำลังในการแก้ปัญหาอุบัติเหตุทางท้องถนนอย่างเต็มที่ จึงควรมีกลไกการทำงานภาคประชาชน พัฒนาระบบข้อมูล และระดมการมีส่วนร่วม เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว หากดำเนินการได้ผลสำเร็จ จะลดปัญหา สุขภาพการตาย บาดเจ็บ พิการ ความเครียด สุขภาพจิต      ลดปัญหาด้านเศรษฐกิจเศรษฐกิจเฉลี่ยรวมประมาณ 7,284,720 บาท ทั้งค่ารักษา ค่าเดินทางขาดรายได้จ่ายคู่กรณีค่าปรับ ลดปัญหาสังคม การขาดผู้นำครอบครัว ขาดแรงงาน และปัญหากับคู่กรณี เมื่อดำเนินงานเสร็จสิ้น จะได้ข้อเสนอในการต่อยอดกิจกรรมให้แก่องค์กรชุมชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และนำเสนอรูปแบบ (Model) การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการแก้ปัญหาอุบัติเหตุทางถนนของชุมชนเมือง เพื่อขยายผลในระดับต่างๆ ต่อไป

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. พฤติกรรมเสี่ยงได้รับการแก้ไข
  2. จุดเสี่ยงได้รับการแก้ไข
  3. สิ่งแวดล้อมเสี่ยงได้รับการแก้ไข

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. คีย์ข้อมูลรายงาน
  2. เวทีปฐมนิเทศ และทำสัญญาโครงการ
  3. ประชุมคลี่โครงการ
  4. เวทีพัฒนาศักยภาพการรายงานผลลัพธ์ของโครงการย่อย
  5. เวทีทบทวนบันไดผลลัพธ์และเก็บข้อมูลของโครงการ
  6. ประชุมพิจารณายกร่างตารางข้อมูลผลลัพธ์เชิงประเด็นยุทธศาสตร์
  7. เวทีประชาคม
  8. ประชุมติดตามงาน
  9. เวทีการประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา ARE ครั้งที่ 1
  10. อบรมการสร้างสื่อดิจิทัลทางสมาร์ทโฟน
  11. เวทีพัฒนาศักยภาพการรายงานผลลัพทธ์ของโครงการย่อย
  12. ประชุมติดตามงาน
  13. อบรมนักเรียน
  14. ติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE) ระดับหน่วยจัดการฯ
  15. รณรงค์และประชาสัมพันธ์มัสยิดนูรุสสลาม
  16. รณรงค์และประชาสัมพันธ์มัสยิดดารุลนาอีม
  17. รณรงค์และประชาสัมพันธ์ในเขตตลาดเก่า
  18. ประชุมสรุปโครงการคณะทำงาน
  19. รณรงค์และประชาสัมพันธ์จุดเสี่ยงหน้าโรงเรียน
  20. รณรงค์และประชาสัมพันธ์ตามจุดเสี่ยง
  21. รณรงค์และประชาสัมพันธ์จุดเสี่ยงหน้าโรงอิฐน่ำฮั่วจัน
  22. อบรมกฎกติการะเบียบจราจรความปลอดภัยทางถนน
  23. เวทีสังเคราะห์และสกัดบทเรียน

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายหลัก 15

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ได้ต้นแบบการดำเนินงานลดอุบัติเหตุทางถนนเขตเมือง


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. เวทีปฐมนิเทศ และทำสัญญาโครงการ

วันที่ 3 มิถุนายน 2563

กิจกรรมที่ทำ

สำนักสร้างสรรค์โอกาส สำนัก6 สำนักกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพโดยหน่วยจัดการจังหวัดระดับจุดเน้นสำคัญจังหวัดยะลาร่วมกับภาคีขับเคลื่อนยุทธศาสตร์จังหวัดยะลา ได้กำหนดจัดกิจกรรม เวทีปฐมนิเทศและทำสัญญาโครงการย้อย ในวันที 3มิถุนายน 2563 เวลา 9.00 - 16.00 น. ณ ห้องประชุมราชาวดี ตึกศรีฟ้า สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โดยได้รับเกี่ยรติจาก นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยะลา(นพ.สงกรานต์ ไหมชุม) มอบหมายให้ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยะลา(นายสุชาติ อนันตะ)ร่วมเวทีปฐมนิเทศแทน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

แกนนำโครงการย้อย ทั้งหมดจำนวน 27 โครงการ เข้าร่วมกิจกรรม แกนนำโครงการย้อยฯเข้าใจหลักการ และเป้าหมายของโครงการไปในทิศทางเดียวกัน รวมถึงเข้าใจแนวทางการดำเนินงานและดำเนินการตามสัญญาโครงการฝ่ายการเงินได้อธิบายหลักการให้เหรัญญิกทราบและแนวทางการรายงานผลการดำเนินงานตามงวดงาน อย่างชัดเจน

 

3 0

2. ประชุมคลี่โครงการ

วันที่ 5 กรกฎาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมกิจกรรมประชุมคลี่โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบลดอุบัติเหตุทางถนนโดยกระบวนการมีส่วนร่วม เขตตลาดเก่า อ.เมือง จ.ยะลา แก่คณะทำงาน 15 คน ณ ศูนย์บริการสาธารณสุข 2 เทศบาลนครยะลา (คลินิกแพทย์แผนไทย  ตลาดเก่า)

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลการจัดเวทีวันนี้ทำให้คณะทำงาน ได้เข้าใจกิจกรรมโครงการ  แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ  กำหนดแผน  การร่วมกันขับเคลื่อนงานต่อไป

 

15 0

3. เวทีพัฒนาศักยภาพการรายงานผลลัพธ์ของโครงการย่อย

วันที่ 6 กรกฎาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

ฝึกการใช้โปรแกรม รายงานผล -เพิ่มกิจกรรม -บันทึกกิจกรรม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้รับผิดชอบโครงการสามารถเพิ่มกิจรรมได้ ได้ฝึกการคีย์ข้อมูลเกี่ยวกับรายละเอียดในการทำกิจกรรมต่างๆที่ผ่านมาอย่างถูกต้อง ตามแผนกิจกรรมตามโครงการ และสามารถลงงบประมาณค่าใช้จ่ายและแนบรูปถ่ายภาพกิจกรรม และเอกสารประกอบการเบิกจ่ายและเอกสารสำคัญอื่นๆได้อย่างถูต้อง

 

2 0

4. เวทีทบทวนบันไดผลลัพธ์และเก็บข้อมูลของโครงการ

วันที่ 15 สิงหาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

นายประพันธ์ สีสุข กล่าวเปิดพิธีในเวทีทบทวนบันไดผลลัพธ์และออกแบบเก็บข้อมูลของโครงการ และชี้แจงวัตถุประสงค์/เป้าหมายของกิจกรรม โดยมีอาจารย์สุวิทย์ หมาดอะดำเป็นผู้ชี้แจงหลักการในหัวข้อเรื่องบันไดผลลัพธ์ของโครงการย่อยและเชิงประเด็น และนายรุมลาม สาร๊ะชี้แจงเพิ่มเติมในประเด็นสำคัญของรายละเอียดกิจกรรมเพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น โดยมีการแบ่งกลุ่มโครงการย่อยและมีการออกแบบการเก็บข้อมูลเพื่อตอบผลลัพธ์เชิงประเด็นยุทธศาสตร์

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

จากการอบรมในหัวข้อหลักการ"บันไดผลลัพธ์ของแต่ละโครงการย่อย" ได้มีการแบ่งกลุ่มโครงการย่อยเพื่อทบทวนบันไดผลลัพธ์ของแต่ละโครงการย่อยเพื่อนำข้อมูลต่างๆในแต่ละกิจกรรมของโครงการย่อยมาออกแบบการเก็บข้อมูลที่มีอยู่เพื่อตอบโจทย์ของผลลัพธ์เชิงประเด็นยุทธศาสตร์

 

1 0

5. ประชุมพิจารณายกร่างตารางข้อมูลผลลัพธ์เชิงประเด็นยุทธศาสตร์

วันที่ 20 สิงหาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

สำนักสร้างสรรค์โอกาส (สำนัก 6 ) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยหน่วยจัดการจังหวัดระดัที่มีจุดเน้นสำคัญ (Node Flagship) จังหวัดยะลา ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา ได้กำหนดจัดประชุมเชิงปฏิบัติการฯ เพื่อพิจารณายกร่างตารางข้อมูลผลลัพธ์เชิงประเด็นยุทธศาสตร์ระดับจังหวัด 2 ประเด็น ได้แก่ ประเด็นการลดอุบัติเหตุบนท้องถนนแลประเด็นผักปลอดสารเคมี เพื่อให้ได้ตารางข้อมูลผลลัพธ์เชิงประเด็นทีง่าย ใช้ได้จริงและเป็นที่ยอมรับของหน่อยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีตัวแทนจากผู้ว่าราชการจังหวัด นายนิมะ มะกาเจ ซึ่งรับหน้าที่เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการฯ พิจารณายกร่างตารางข้อมูลผลลัพธ์เชิงประเด็นยุทธศาสตร์

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

จากการประชุมเชิงปฏิบัติการฯ พิจารณายกร่างตารางข้อมูลผลลัพธ์เชิงประเด็นที่ง่าย โดยแต่ละกลุ่มโครงการย่อยได้มีการนำเสนอรายละเอียดแต่ละกิจกรรมที่มีการดำเนินการในชุมชน จัดตั้งดณะทำงาน15 คนได้แบ่งงานแต่ละฝ่ายรับผิดชอบ ให้อสม.และเยาวชนจัดตั้งกลุ่ม5กลุ่มๆละ 12 คนลงสำรวจข้อมูลครัวเรือนในชุมชน หาจุดเสียงและจุดเกิดอุบัติเหตุบอยๆและนำเสนอคืนข้อมูลให้ชุมชน เพือหามาตการและแก้ปัญหา ให้เครือข่ายทีมาประชุมในวันนั้นฟัง มีหัวหน้าจราจรแนะนำแนวทางและวิธีการเพื่อลดอุบัติเหตุบนท้องถนน

 

1 0

6. เวทีประชาคม

วันที่ 29 สิงหาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

ชุมชนจารูนอกจัดเวทีประชาคมตำบลต้นแบบแก้ปัญหาอุบัติเหตุทางถนนชุมชนตลาดเก่าโดยได้รับเกียรติจากผอ.โรงเรียนเทศบาล 5บ้านตลาดเก่ามาเป็นประธานเปิดเวทีประชาคม โดยคืนข้อมูลให้ประชาชนทราบสรุปจุดเสี่ยง ปี2563 รายไตรมาสทั้งหมด 129 ราย จุดเสี่ยงอุบัติเหตุ 5 จุดอันดับที่1.จุดกลับรถหน้าโรงเรียนธรรมฯ 2.สีแยกไฟแดงซอย 1 3. จุดกลับรถหน้าโรงอิฐน่ำฮั่วจั่น 4. สามแยกวิฑูรอุทิศ 1 5. จุดกลับรถหน้ามัสยิดกลาง ชี้จุดแผนที่ในกระดาษ/ พฤติกรรมเสี่ยง สิ่งแวดล้อมเสี่ยง พฤติกรรมสวมหมวกกันน็อก ตามขัอมูลทีแกนนำลงสำรวจ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

กลุ่มที่ 1 จุดกลับรถหน้าโรงเรียนธรรมฯ แก่นนำ นายนิเซะ  เจะอูมา 1.ให้ทำจุดกลับรถหน้าซอยศรีปุตราพร้อมสัญญาณไฟจราจรและปิดที่กลับรถหน้าโรงเรียน 2.จ้ดระเบียบใหม่ การจดรถรับส่งนักเรียน 3.ให้รถรับนักเรียนจอดรับประตู่ด้านหลังโรงเรียน ที่สนามมิ่งเมือง 4.ให้รถจอดส่งนักเรียนที่สะพานลอยหน้าซอยปราณี เพือให้เด็กขึ้นสะพาน 5.คืนทางเดินให้นักเรียน ผู้ประกอบการตั้งของบนฟุตบาท 6.ทำรั่วเหล็กบนเกาะกลางประมาณ 200 เมตร 7.ให้ตำรวจจราจรมารับผิดชอบร่วมกับอาสาจราจรนักเรียน กลุ่มที่ 2 สีแยกไฟแดง ซอย 1 ร.ต.ท.ยืนยง  ดุลยเสรี 1. สร้างจิตสำนึก (ประชาสัมพันธ์ ) 2. ให้ความรู้เกียวกับกฎหมายจราจร 3. ต้องเพิ่มมาตรการเด็ดขาด ( ใช้กฎหมาย ) กลุ่มที่ 3 จุดกลับรถหน้าโรงอิฐน่ำฮั่วจั่น นางรอสเมาะห์  บาเหะ 1. อยากให้เจ้าหน้าทีมาตรวจดูแลให้จอดรถเป็นระเบียบ 2. อยากให้เจ้าหน้าที่มาดูแลบางครั้งและปิดที่จุดกลับรถ 3. สร้างจิตสำนึกในแต่ละคน เริมจากบุคคลในครอบครัว กลุ่มที่ 4 หน้ามัสยิดกลาง น.ส.สิริวรรณ  นุ็ยอาภา (เจ้าหน้าที่ ศสม.) 1. เจาะเกาะกลางถนนตรงประตู่ใหญ่หน้ามัสยิดและติดไฟเดินข้ามถนน 2. ควรมีการจัดระเบียบ โดยผู้ค้าขายขึ้นบนทางเท้า 3. ต้องทำเครืองหมายจราจร สีขาวแดงให้ชัดเจน 4. ให้ไปกลับรถที่หน้าคลีนิกทันตแพทย์กอเดร์ 5. พ่อค้าส่งของแล้วไปจอดรถรอในซอย กลุมที่ 5 แยกสถานีรถไฟ (สามแยกวิฑูรอุทิศ 1 )น.ส.พาดีละ๊  โตะสะโต 1. ให้ทำเครืองหมายจอดรถเพียงข้างเดียว 2. หยุดโทร ก่อนออกเดินทาง (ห้ามรับโทรศัพท์ในขณะขับรถ ) 3. ติดตั้งป้ายเตือนจราจร

 

80 0

7. ประชุมติดตามงาน

วันที่ 6 กันยายน 2563

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมติดตามงาน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ประชุมประเมินผลเพื่อเรียนรู้และพัฒนา ( ARE )

 

15 0

8. เวทีการประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา ARE ครั้งที่ 1

วันที่ 24 ตุลาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

มีการแบ่งกลุ่มโครงการย่อยตามประเด็นยุทธศาสตร์เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันเกี่ยวกับกระบวนการในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ และมีการตั้งคำถามในแต่ละกิจกรรมเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินกิจกรรมของโครงการย่อยที่รับผิดชอบ และนำเสนอความคืบหน้าของโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้รับผิดชอบโครงการมีความรู้ความเข้าใจ และสามารถนำข้อมูลที่ได้ไปปรับใช้กับกิจกรรมต่างๆเพื่อเป็นแนวทางในการจัดการระเบียบและรายละเอียดของกิจกรรมได้ถี่ถ้วนและสมบูรณ์ในทุกๆกิจกรรมที่คาดว่าจะดำเนินงานในครั้งถัดไปให้ดียิ่งขึ้น

 

4 0

9. เวทีพัฒนาศักยภาพการรายงานผลลัพทธ์ของโครงการย่อย

วันที่ 27 พฤศจิกายน 2563

กิจกรรมที่ทำ

มีการนำเสนอผลการดำเนินกิจกรรม/โครงการหน่วยจัดการฯ และทีม PM ร่วมนำเสนอความคิดเห็น/ข้อเสนอ  แนวทางการพัฒนาฯ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้ทราบผลความก้าวหน้าของกิจกรรม/โครงการที่ผ่านมา ได้การยืนยันฐานข้อมูลของประเด็นยุทธศาสตร์ทั้ง 2 ประเด็น อย่างชัดเจน

 

1 0

10. อบรมการสร้างสื่อดิจิทัลทางสมาร์ทโฟน

วันที่ 9 มกราคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

ได้รับเกียรติจากนายสุนทร สีทองแก้ว ผอ.ศูนย์ฯสสม.ยะลา เป็นประธานในพิธี พร้อมให้โอวาสแก่ผู้เข้ารับการอบรมภายใต้กิจกรรมสร้างสื่อดิจิทัลทางสมาร์ทโฟน โดยในการอบรมมีการให้ความรู้ในเรื่องดังต่อไปนี้  1.เทคนิคการถ่ายภาพเพื่อนำไปใช้ทำสื่อดิจิทัล  2.นำภาพจากอินเทอร์เน็ตมาปรับแต่งทำเป็นสื่อ 3.สอนเทคนิคการใช้โปรแกรม Line camera หลังจากได้รับความรู้แล้วมีการทดสอบเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวเพื่อทดสอบความรู้ความเข้าใจของผู้เข้ารับร่วม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้เข้าร่วมมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่ได้เข้ารับการอบรม และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและส่วนรวมได้

 

12 0

11. ประชุมติดตามงาน

วันที่ 21 มกราคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

ชี้แจงความคืบหน้าของโครงการหรือกิจกรรมที่ได้ดำเนินการแล้ว

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

สามารถนำข้อมูลหรือข้อผิดพลาดที่ได้ไปปรับใช้กับกิจกรรมอื่นๆให้ดียิ่งขึ้น

 

15 0

12. กิจกรรมค่ายภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพ อาสาจราจร

วันที่ 29 มกราคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

ในช่วงเช้าได้รับเกียรติจากนาย ซาละห์ เหมเเละ เป็นประธานในพิธี พร้อมให้โอวาสแก่นักเรียนผู้เข้าร่วมโครงการ จากนั้นร.ต.ต.ดูรอนิง สาแม ตำแหน่งหัวหน้าจราจร ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมายเกี่ยวกับจราจรบนท้องถนน และในช่วงบ่ายทำกิจกรรมภาคสนาม โดยมีอดีตร.ต.ทยืนยง ดุลยเสรี สาธิตการปฏิบัติให้แก่นักเรียนที่ได้เข้ารับการอบรม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

นักเรียนได้รับความรู้เกี่ยวกับกฎหมายจราจรมากขึ้น และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้กับงานจิตอาสาจราจรของโรงเรียน

 

70 0

13. ติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE) ระดับหน่วยจัดการฯ

วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2564

กิจกรรมที่ทำ

ได้รับเกียรติจาก นายสุชาติ อนันตะ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดยะลา เป็นประธานในกิจกรรมเวทีประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา ARE โดยมีการนำเสนอผลการดำเนินงานของโครงการตามประเด็นยุทธศาสตร์ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบันเพื่อให้เกิดการเรียนรู้

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้รับผิดชอบโครงการมีความรู้ความเข้าใจมากขึ้นในแต่ละประเด็นที่มีการนำเสนอจากกลุ่มโครงการย่อยต่างๆตามประเด็นยุทธศาสตร์ ทำให้เกิดความเรียนรู้ที่เพิ่มขึ้นและสามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้กับกิจกรรมอื่นๆให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการมากขึ้น

 

1 0

14. อบรมกฎกติการะเบียบจราจรความปลอดภัยทางถนน

วันที่ 25 มีนาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

ได้รับเกียรติจากร.ต.ท.ยืนยง ดุลยเสรี เป็นวิทยากรในการบรรยายภายใต้หัวข้อการอบรมกฎกติการะเบียบจราจรความปลอดภัยทางถนน และอธิบายเกี่ยวกับสัญลักษณ์ป้ายจราจร

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ความเข้าใจในหัวข้อการบรรยายและตระหนักถึงความปลอดภัยในการขับขี่บนท้องถนนเป็นหลัก มีการนำความรู้ที่ได้ไปปรับในชีวิตประจำวันให้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งยังช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุทางถนนได้อีกด้วย

 

50 0

15. เวทีสังเคราะห์และสกัดบทเรียน

วันที่ 30 มีนาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

โดยมี PM เป็นผู้เปิดประเด็นคำถามเกี่ยวกับกลุ่มโครงการย่อย โดยมีคำถามประกอบไปด้วย 10 คำถามด้วยกัน ซึ่งเป็นคำถามที่สอดคล้องกับรายละเอียดของโครงการย่อยรวมไปถึงปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานของโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้รับผิดชอบโครงการมีความรู้ความเข้าใจในรายละเอียดของโครงการที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในภายหน้ามากขึ้น ซึ่งสามารถนำความคิดเห็นหรือข้อติชมจากผู้เข้าร่วมท่านอื่นไปปรับใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของผลลัพธ์ อาทิเช่นมีการเสนอแก้ไขจุดเสี่ยงในที่ประชุมสภาสันติสุขเพื่อเป็นแนวทางในการเพิ่มความก้าวหน้าของโครงการให้สำเร็จได้ตามวัตถุประสงค์มากยิ่งขึ้น

 

1 0

16. รณรงค์และประชาสัมพันธ์มัสยิดนูรุสสลาม

วันที่ 9 เมษายน 2564

กิจกรรมที่ทำ

นายอับดุลเลาะ สะนิ อีหม่ามประจำมัสยิดนูรุสสลาม ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับกฎจราจรเพื่อนำไปใช้จริงในการขับขี่อย่างปลอดภัยบนท้องถนน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ทำให้สัปบุรุษทุกคนที่เข้าร่วมมีความรู้ความเข้าใจในกฎจราจรทั่วไปและใช้ได้จริงกับตนอีกทั้งยังสามารให้ความรู้กับคนในครอบครัวหรือคนสนิทที่ยังไม่ทราบ เพื่อให้ทำตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัดและระมัดระวังในการขับขี่บนท้องถนน

 

300 0

17. รณรงค์และประชาสัมพันธ์มัสยิดดารุลนาอีม

วันที่ 9 เมษายน 2564

กิจกรรมที่ทำ

นายรุสวาน ยะโต๊ะ ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับกฎจราจรและการปฏิบัติตนในการขับขี่บนท้องถนนอย่างปลอดภัยให้กับสัปบุรุษทุกคนที่เข้าร่วม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ทำให้สัปบุรุษทุกคนที่เข้าร่วมมีความรู้ความเข้าใจในกฎจราจรทั่วไปและใช้ได้จริงกับตนอีกทั้งยังสามารให้ความรู้กับคนในครอบครัวหรือคนสนิทที่ยังไม่ทราบ เพื่อให้ทำตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัดและระมัดระวังในการขับขี่บนท้องถนน

 

200 0

18. รณรงค์และประชาสัมพันธ์ในเขตตลาดเก่า

วันที่ 11 เมษายน 2564

กิจกรรมที่ทำ

รวมกลุ่มคนจำนวน 30 คน ช่วยกันรณรงค์และประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับโครงการให้กับประชาชนในเขตตลาดเก่า การประชาสัมพันธ์โดยการเดินขบวนรถและถือป้ายไวนิลที่รถ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ประชาชนในเขตตลาดเก่ามีความตระหนักถึงความปลอดภัยในการขับขี่บนท้องถนนมากขึ้น และลดการย้อนศรและร่วมกันสวมหมวกนิรภัยทุกคนก่อนออกจากบ้านอีกทั้งคณะทำงานปละสมาชิกที่เกี่ยวข้องยังสามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับประชาชนและยังเพิ่มความหนักถึงภัยอุบัติเหตุมากขึ้น

 

30 0

19. ประชุมสรุปโครงการคณะทำงาน

วันที่ 11 เมษายน 2564

กิจกรรมที่ทำ

พี่เลี้ยงโครงการได้พูดนำเกี่ยวกับการดำเนินโครงการมาตั้งแต่เริ่มจนถึงปัจจุบันเกี่ยวความก้าวหน้าของโครงการที่สามารถทำจนบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ และให้คณะทำงานทุกคนออกความคิดเห็นหรือเสนอแนะเกี่ยวกับโครงการเพิ่มเติม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะทำงานทุกคนมีประสิทธิภาพมากขึ้น และได้เข้าใจกระบวนการต่างๆที่ดำเนินงานมาทั้งหมดของโครงการอย่างชัดเจน กิจกรรมต่างๆที่ได้ดำเนินงานไปเเล้วเป็นที่พอใจแก่ประชาชนในพื้นที่แต่บางกิจกรรมทางคณะทำงานไม่สามารถที่จะดำเนินงานได้จึงต้องส่งต่อให้กับทางเทศบาลนครยะลาเพื่อดำเนินงานต่อไป ที่ทางคณะทำงานไม่สามารถทำได้เนื่องจากปัจจัยหลายๆด้าน อีกทั้งยังช่วยลดจำนวนอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในพื้นที่รวมถึงยังช่วยให้ผู้ขับขี่ทุกคนตระหนักถึงความปลอดภัยของตนเองและคนรอบข้างอีกด้วย

 

15 0

20. รณรงค์และประชาสัมพันธ์จุดเสี่ยงหน้าโรงเรียน

วันที่ 12 เมษายน 2564

กิจกรรมที่ทำ

รวมกลุ่มเด็กนักเรียนอาสาจราจรจำนวน 10 คน ช่วยกันแจกใบปลิวให้กับประชาชนใกล้เคียงและผู้คนที่ใช้เส้นทางผ่านหน้าจุดเสี่ยง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ทำให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการขับขี่ทางท้องถนนอย่างปลอดภัยและมีความตระหนักถึงอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นหากปฏิบัติไม่ถูกต้องตามกฎจราจรและคณะทำงานหรือสมาชิกที่เกี่ยวข้องกับโครงการมีทักษะการเข้าสังคมมากขึ้น

 

10 0

21. รณรงค์และประชาสัมพันธ์ตามจุดเสี่ยง

วันที่ 13 เมษายน 2564

กิจกรรมที่ทำ

คณะทำงานจำนวน 10 คน ร่วมกันแจกใบปลิวให้กับประชาชนในเขตพื้นที่ตลาดเก่าแต่ตามจุดเสี่ยง 5 จุด

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ทำให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการขับขี่ทางท้องถนนอย่างปลอดภัยและมีความตระหนักถึงอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นหากปฏิบัติไม่ถูกต้องตามกฎจราจรและคณะทำงานหรือสมาชิกที่เกี่ยวข้องกับโครงการมีทักษะการเข้าสังคมมากขึ้น และในช่วงเทศการอาจมีการขับขี่ทางท้องถนนมากขึ้น ทำไมผู้ขับขี่มีสติมากขึ้น

 

6 0

22. รณรงค์และประชาสัมพันธ์จุดเสี่ยงหน้าโรงอิฐน่ำฮั่วจัน

วันที่ 14 เมษายน 2564

กิจกรรมที่ทำ

คณะทำงานอยู่ประจำจุดเสี่ยงและมีการสำรวจจำนวนผู้ขับขี่ที่มีการสวมหมวกนิรภัย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ทำให้ทราบจำนวนการสวมหมวกนิรภัยของผู้ขับขี่ว่าเพิ่มขึ้นมากน้อยเพียงใด ซึ่งสามารถนำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจไปประเมินผลเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการที่ตั้งไว้

 

2 0

23. คีย์ข้อมูลรายงาน

วันที่ 15 เมษายน 2564

กิจกรรมที่ทำ

คีย์ข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับรายละเอียดของโครงการที่ได้ดำเนินมาตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและเพิ่มความรู้ในด้านการทำงานกับคนกลุ่มมากอีกทั้งยังสามารถนำไปปรับใช้กับการทำงานในวันข้างหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

 

1 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

คณะทำงาน 15 คน พร้อมด้วยพี่เลี้ยงและเครือข่ายสำคัญ ประชุมคลี่โครงการ เวทีพัฒนาศักยภาพการรายงานผลลัพธ์ของโครงการย่อย เวทีทบทวนบันไดผลลัพธ์และเก็บข้อมูลของโครงการ ประชุมพิจารณายกร่างตารางข้อมูลผลลัพธ์เชิงประเด็นยุทธศาสตร์ เวทีประชาคม ประชุมติดตามงาน เวทีการประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา อบรมการสร้างสื่อดิจิทัลทางสมาร์ทโฟน อบรมนักเรียน ) รณรงค์และประชาสัมพันธ์มัสยิดนูรุสสลาม รณรงค์และประชาสัมพันธ์มัสยิดดารุลนาอีม รณรงค์และประชาสัมพันธ์ในเขตตลาดเก่า รณรงค์และประชาสัมพันธ์จุดเสี่ยงหน้าโรงเรียน ประชาสัมพันธ์ตามจุดเสี่ยง หน้าโรงอิฐน่ำฮั่วจัน อบรมกฎกติการะเบียบจราจรความปลอดภัยทางถนน เวทีสังเคราะห์และสกัดบทเรียน ผลลัพธ์ ไม่สวมหมวกกันน็อก ก่อน 3,606 คน หลัง 2,525 คน ลดลง 1,081 จำนวน คน 30 %ขับรถเร็ว ก่อน 2,210 คน หลัง จำนวน. 649...คน ลดลง 1,561 คน70.63% เมาแล้วขับ ก่อน 360 คน หลัง 0 คน ลดลง 100 % ขับรถไม่ปฏิบัติตามกฎจราจร(กรณีย้อนศร) ก่อน 580 คน หลัง 342 คน ลดลง จำนวน..238.คน 41 % การปรับปรุงสิ่งแวดล้อม (จุดเสี่ยง) รวมทั้งหมด.5.จุด จุดเสี่ยงได้รับการปรับปรุงและแก้ไขสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น โดยการทาสีขอบทางเดินของเทศบาลนครยะลาทุกจุด รณรงค์สวมหมวกกันน็อค , เมาไม่ขับ , ไม่ขับย้อนศร , ไม่คุยโทรศัพท์ขณะขับรถ , จอดถูกที่ถูกทาง รณรงค์และประชาสัมพันธ์ตามจุดเสี่ยงต่างๆและสัปปุรุษที่มาละหมาดวันศุกร์ที่มัสยิด การเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน มีจำนวนลดลง จากปีก่อน 135 ครั้ง ปีนี้ 10 ครั้ง ร้อยละ 92.6 โครงการนี้มีกิจกรรมที่เป็นต้นแบบ ให้คณะทำงานขับเคลื่อนต่อเนื่องได้

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 พฤติกรรมเสี่ยงได้รับการแก้ไข
ตัวชี้วัด : พฤติกรรมเสี่ยงได้รับการแก้ไข อย่างน้อย 2 เรื่อง
2.00 5.00

หมวกนิรภัย โทรขับ เร็ว ย้อนศร จอดไม่เป็นระเบียบ

2 จุดเสี่ยงได้รับการแก้ไข
ตัวชี้วัด : จุดเสี่ยงได้รับการแก้ไข อย่างน้อย 2 จุด
2.00 5.00

1)จุดกลับรถหน้า รร.ธรรม นักเรียนเข้าออกมาก ทางแคบ มีทางเลี้ยวหน้า รร. 2) มัสยิดกลาง/ตลาดนัด มีคนพลุกพล่าน จอดรถไม่ถูกที่ 3) .แยกไฟแดงซอย1 รถมาก ขับเร็ว ใช้โทรศัพท์ 4) จุดกลับรถหน่ำฮั่วจั่น รถมาก ขับเร็ว ใช้โทรศัพท์ 5) แยกสถานีรถไฟ รถมาก ขับเร็ว ใช้โทรศัพท์ ป้ายไม่ชัด

3 สิ่งแวดล้อมเสี่ยงได้รับการแก้ไข
ตัวชี้วัด : สิ่งแวดล้อมเสี่ยงได้รับการแก้ไข อย่างน้อย 2 อย่าง
2.00 2.00

ทาสีฟุตบาทบริเวณจุดเสี่ยง

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 15 3316
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายหลัก 15 3,316

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พฤติกรรมเสี่ยงได้รับการแก้ไข (2) จุดเสี่ยงได้รับการแก้ไข (3) สิ่งแวดล้อมเสี่ยงได้รับการแก้ไข กิจกรรมการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) คีย์ข้อมูลรายงาน (2) เวทีปฐมนิเทศ และทำสัญญาโครงการ (3) ประชุมคลี่โครงการ (4) เวทีพัฒนาศักยภาพการรายงานผลลัพธ์ของโครงการย่อย (5) เวทีทบทวนบันไดผลลัพธ์และเก็บข้อมูลของโครงการ (6) ประชุมพิจารณายกร่างตารางข้อมูลผลลัพธ์เชิงประเด็นยุทธศาสตร์ (7) เวทีประชาคม (8) ประชุมติดตามงาน (9) เวทีการประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา ARE ครั้งที่ 1 (10) อบรมการสร้างสื่อดิจิทัลทางสมาร์ทโฟน (11) เวทีพัฒนาศักยภาพการรายงานผลลัพทธ์ของโครงการย่อย (12) ประชุมติดตามงาน (13) อบรมนักเรียน (14) ติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE) ระดับหน่วยจัดการฯ (15) รณรงค์และประชาสัมพันธ์มัสยิดนูรุสสลาม (16) รณรงค์และประชาสัมพันธ์มัสยิดดารุลนาอีม (17) รณรงค์และประชาสัมพันธ์ในเขตตลาดเก่า (18) ประชุมสรุปโครงการคณะทำงาน (19) รณรงค์และประชาสัมพันธ์จุดเสี่ยงหน้าโรงเรียน (20) รณรงค์และประชาสัมพันธ์ตามจุดเสี่ยง (21) รณรงค์และประชาสัมพันธ์จุดเสี่ยงหน้าโรงอิฐน่ำฮั่วจัน (22) อบรมกฎกติการะเบียบจราจรความปลอดภัยทางถนน (23) เวทีสังเคราะห์และสกัดบทเรียน
ผลลัพธ์ ไม่สวมหมวกกันน็อก ก่อน 3,606 คน หลัง 2,525 คน ลดลง 1,081 จำนวน คน 30 %ขับรถเร็ว ก่อน 2,210 คน หลัง จำนวน. 649...คน ลดลง 1,561 คน70.63% เมาแล้วขับ ก่อน 360 คน หลัง 0 คน ลดลง 100 % ขับรถไม่ปฏิบัติตามกฎจราจร(กรณีย้อนศร) ก่อน 580 คน หลัง 342 คน ลดลง จำนวน..238.คน 41 % การปรับปรุงสิ่งแวดล้อม (จุดเสี่ยง) รวมทั้งหมด.5.จุด จุดเสี่ยงได้รับการปรับปรุงและแก้ไขสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น โดยการทาสีขอบทางเดินของเทศบาลนครยะลาทุกจุด รณรงค์สวมหมวกกันน็อค , เมาไม่ขับ , ไม่ขับย้อนศร , ไม่คุยโทรศัพท์ขณะขับรถ , จอดถูกที่ถูกทาง รณรงค์และประชาสัมพันธ์ตามจุดเสี่ยงต่างๆและสัปปุรุษที่มาละหมาดวันศุกร์ที่มัสยิด การเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน มีจำนวนลดลง จากปีก่อน 135 ครั้ง ปีนี้ 10 ครั้ง ร้อยละ 92.6 โครงการนี้มีกิจกรรมที่เป็นต้นแบบ ให้คณะทำงานขับเคลื่อนต่อเนื่องได้ โดยเฉพาะโรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ ที่มีอาสาสมัครจราจรรุ่นสู่รุ่น และเพิ่มจำนวนมากขึ้น นอกจากนี้คณะทำงาน ที่เป็นผู้ประสานงานหลักประจำจุดเสี่ยงยังคงจะดำเนินการต่อ สื่อสารกันทางกลุ่มไลน์ ข้อเสนอแนะ ได้แก่ ขอให้เครือข่ายสนับสนุนต่อเนื่อง เข้มข้น คือ ตำรวจจราจร เทศบาลนครยะลา และ สำนักงานขนส่งจังหวัด

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

ทำป้ายประชาสัมพันธ์รงณรงค์เสร็จแล้วแต่ปัญหาในการติดตั้งได้

เนื่องจากเทศบาลนครยะลากำลังก่อสร้างอุโมงวางท่อสายไฟฟ้าและโทรศัพท์ใต้ดิน ยังไม่เสร็จ

 


พัฒนาพื้นที่ต้นแบบลดอุบัติเหตุทางถนนโดยกระบวนการมีส่วนร่วม ตลาดเก่า อ.เมืองยะลา จังหวัด ยะลา

รหัสโครงการ 63001750011

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นายนิมัน อำดุลวาดุง )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด