Node Flagship

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

Node Flagship จังหวัดยะลา


“ ลดอุบัติเหตุทางท้องถนนตำบลโกตาบารู ”

ตำบลโกตาบารู อำเภอรามัน จังหวัดยะลา

หัวหน้าโครงการ
นายสิทธิศักดิ์ วิชยวิกรานต์

ชื่อโครงการ ลดอุบัติเหตุทางท้องถนนตำบลโกตาบารู

ที่อยู่ ตำบลโกตาบารู อำเภอรามัน จังหวัดยะลา จังหวัด ยะลา

รหัสโครงการ 63-00175-0024 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2563 ถึง 31 มีนาคม 2564


กิตติกรรมประกาศ

"ลดอุบัติเหตุทางท้องถนนตำบลโกตาบารู จังหวัดยะลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลโกตาบารู อำเภอรามัน จังหวัดยะลา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ Node Flagship จังหวัดยะลา ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
ลดอุบัติเหตุทางท้องถนนตำบลโกตาบารู



บทคัดย่อ

โครงการ " ลดอุบัติเหตุทางท้องถนนตำบลโกตาบารู " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลโกตาบารู อำเภอรามัน จังหวัดยะลา รหัสโครงการ 63-00175-0024 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 มิถุนายน 2563 - 31 มีนาคม 2564 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 100,000.00 บาท จาก Node Flagship จังหวัดยะลา เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

สืบเนื่องจากองค์การสหประชาชาติได้เล็งเห็นปัญหาอุบัติเหตุทางท้องถนนว่าเป็นปัญหาสำคัญและเป็นสาเหตุของการสูญเสีย บาดเจ็บและเสียชีวิตของประชาชน จึงได้มีมติร่วมกันให้เป็นวาระสำคัญที่ทุกประเทศจะต้องเร่งดำเนินการแก้ไข โดยประกาศเป็น “ทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนน” (Decade of Action for Road Safety : 2011-2020) โดยตั้งเป้าลดผู้เสียชีวิตลงครึ่งหนึ่งในทศวรรษหน้า ประเทศไทยตอบรับปฏิญญาดังกล่าวโดยรัฐบาลไทยมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2556 ประกาศให้ปี 2554-2563 เป็นทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนนโดยบูรณาการการดำเนินการจากหน่วยงานทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่นรณรงค์ลดอุบัติเหตุและแก้ไขปัญหาดังกล่าว และตั้งเป้าหมายที่จะลดอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนให้เหลือไม่เกิน 10 คนต่อประชากรแสนคนภายในปี 2563 ทั้งนี้จากสภาพปัญหาการเกิดอุบัติเหตุทางท้องถนนเป็นสาเหตุที่ทำให้มีผู้บาดเจ็บอยู่ในอันดับต้นๆของประเทศ ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาแม้ว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐหายุทธการป้องกันอุบัติเหตุทางถนนในหลายๆรูปแบบ แต่ยังไม่สามารถลดปัญหาการเกิดอุบัติเหตุลงได้ ทั้งนี้ปัญหาอุบัติเหตุมีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นทุกปี โดยเฉพาะอย่างยิ่งถนนในชุมชน โดยมีสาเหตุมาจากการขับขี่ด้วยความเร็ว ผู้ขับขี่ไม่สวมหมวกนิรภัย ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย และมีจุดเสี่ยงที่มักเกิดอุบัติเหตุในชุมชน จากสถิติการเกิดอุบัติเหตุของอำเภอรามันใน 3 ปี ย้อนหลัง พบว่าตำบลโกตาบารูมีอัตราการเกิดอุบัติเหตุสูงสุด จำนวน 51,65,48 ตามลำดับ โดยสถิติปี 2560 พบว่าจังหวัดยะลามีอุบัติเหตุเกิดขึ้นจำนวน 1,789 ครั้ง  ซึ่งเกิดในพื้นที่อำเภอรามัน 213 ครั้ง เสียชีวิต 5 คน บาดเจ็บจำนวน 282 คน หากวิเคราะห์ตามเขตพื้นที่พบว่าตำบลโกตาบารู ยังเป็นพื้นที่ที่มีอัตราการเกิดอุบัติเหตุสูงสุด ตามลำดับดังนี้ อุบัติเหตุเกิดขึ้น 51 ครั้ง เสียชีวิต 4 คน บาดเจ็บจำนวน 38 คน ปี 2561 อุบัติเหตุเกิดขึ้น 46 ครั้ง ไม่มีผู้เสียชีวิต บาดเจ็บจำนวน 52 คน และปี2562 อุบัติเหตุเกิดขึ้น 33 ครั้ง เสียชีวิต 1 คน บาดเจ็บจำนวน 36 คน สาเหตุหลักในการเกิดอุบัติเหตุของตำบลโกตาบารู จากปัจจัยด้านคน โดยมีพฤติกรรมเสี่ยงในการใช้รถใช้ถนนของผู้ขับขี่และผู้ใช้เส้นทาง ความประมาท ความสามารถของผู้ขับขี่ลดลงเนื่องจากสภาพร่างกายไม่พร้อม รวมถึงการไม่ชำนาญเส้นทาง การไม่เคารพกฎจราจร ขาดวินัยในการใช้รถใช้ถนนร่วมกันและการไม่ใช้อุปกรณ์นิรภัย ด้านยานพาหนะ ยังพบว่าขาดความพร้อมด้านอุปกรณ์ความปลอดภัย การปรับแต่งสภาพยานพาหนะและการบรรทุกหรือโดยสารที่ไม่ปลอดภัย ด้านสิ่งแวดล้อมพบว่าจุดเสี่ยง จุดอันตราย จุดที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยยังไม่ได้รับการแก้ไข ลักษณะทางกายภาพของถนนไม่สมบูรณ์ อาทิ ผิวถนนเป็นหลุม บ่อ และถนนอยู่ระหว่างก่อสร้างหรือซ่อมแซม รวมถึงอุปสรรคทางธรรมชาติและลักษณะภูมิอากาศ จากปัจจัยต่างๆข้างต้นการเกิดอุบัติเหตุทางถนน ส่งผลกระทบต่อผู้ที่ประสบภัยโดยก่อให้เกิดภาวะเครียดและวิตกกังวล บาดเจ็บ จนกระทั่งการเสียชีวิต ไม่เพียงเท่านั้นยังก่อให้เกิดความสูญเสียต่อเศรษฐกิจและสังคมโดยรวมอย่างมหาศาล เพราะการเสียชีวิตจากและบาดเจ็บทั้งทางกายและใจจากอุบัติเหตุทางท้องถนน ทำให้ผู้ประสบภัยและครอบครัวสูญเสียผลิตภาพ เกิดค่าใช้จ่ายในการรักษาตัว ติดหนี้ ขาดรายได้ในการประกอบอาชีพ รวมถึงทางสังคมที่ส่งผลให้เกิดการทะเลาะวิวาท เกิดข้อพิพาทกับคู่กรณี และอุบัติเหตุยังก่อให้เกิดต้นทุนอื่นๆ เช่น ต้นทุนในการดำเนินคดี ต้นทุนจากผลกระทบต่อสภาพการจราจร ป้ายบอกทางชำรุด เสาไฟฟ้าหรือสัญญานไปชำรุด บ้านเรือนเสียหาย เป็นต้น
ดังนั้นทางตำบลโกตาบารู  มุ่งหวังเพิ่มประสิทธิภาพความครอบคลุม การลดอุบัติเหตุการใช้รถที่เพิ่มมากขึ้น และจากประชาชนขาดความรู้และไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบจราจรอย่างแท้จริง จึงจัดทำโครงการการจัดการจุดเสี่ยงเพื่อป้องกันอุบัติเหตุทางถนนในตำบลโกตาบารู โดยมีวัตถุประสงค์ให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดระเบียบการจราจรในชุมชน และเกิดการแก้ไขจุดเสี่ยงของชุมชนที่เกิดอุบัติเหตุ รวมถึงสมาชิกในชุมชนมีการปฏิบัติตามข้อตกลงร่วมกันในการแก้ไขจุดเสี่ยงและพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับจุดเสี่ยง เพื่อเป็นการลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุในชุมชนอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อส่งเสริมให้เกิดกลไกการมีส่วนร่วมของชุมชนเรื่องป้องกันอุบัติเหตุทางถนนที่เข้มแข็ง
  2. เพื่ออุบัติเหตุทางท้องถนนลดลง

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. กิจกรรมพัฒนาร่วมกับหน่วยจัดการ(งบประมาณส่วนที่สสส.สนับสนุน)
  2. จัดตั้งคณะทำงาน
  3. อบรมพัฒนาคณะทำงาน
  4. จัดอบรมให้ความรู้เรื่องกฏจราจรและการขับขี่อย่างปลอดภัย
  5. ประเมินเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา AREครั้งที่ 1
  6. กิจกรรมพัฒนาศักยภาพ จัดโดย Node flagship yala
  7. การสำรวจข้อมูลอุบัติเหตุจากจุดเสี่ยงที่ได้รับการแก้ไขแล้วอย่างเป็นระยะ
  8. การปรับปรุงจุดเสี่ยงอันตราย
  9. จัดเวทีคืนข้อมูลการสำรวจข้อมูลอุบัติเหตุจากจุดเสี่ยงที่ได้รับการแก้ไขแก่สมาชิกในชุมชน
  10. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้พร้อมสรุปผลการดำเนินงานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบและขับเคลื่อนงานต่อไป
  11. ประเมินเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา AREครั้งที่ 2
  12. ประเมินเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา AREครั้งที่ 3 ถอดบทเรียน
  13. การจัดทำบันทึกรายงาน ข้อมูล ในระบบออนไลน์คนใต้สร้างสุข
  14. เวทีปฐมนิเทศและทำสัญญาโครงการย่อย
  15. จัดทำป้ายสถานที่ปลอดบุหรี่และป้ายชื่อโครงการฯ
  16. จัดตั้งคณะทำงานประชุมคณะทำงานครั้งที่1
  17. เวทีพัฒนาศักยภาพการรายงานผลลัพธ์ของโครงการย่อยฯ
  18. จัดอบรมคณะทำงาน
  19. เวทีทบทวนบันไดผลลัพธ์และออกแบบการเก็บข้อมูลของโครงการย่อย
  20. จัดอบรมให้ความรู้เรื่องกฏจราจรและการขับขี่อย่างปลอดภัย
  21. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 2
  22. เวทีการประเมินผลเพื่อการเรียนรู้พัฒนา (are) ของหน่วยจัดการระดับที่มีจุดเน้นสำคัญ (node flagship) ระดับจังหวัด ครั้งที่ 1
  23. การจัดการจุดเสี่ยง
  24. สำรวจข้อมูลอุบัติเหตุจากจุดเสี่ยงที่ได้รับการแก้ไขแล้วอย่างเป็นระยะ ครั้งที่1
  25. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 3
  26. การสำรวจข้อมูลอุบัติเหตุจากจุดเสี่ยงที่ได้รับการแก้ไขแล้วอย่างเป็นระยะ ครัังที่2
  27. การสำรวจข้อมูลอุบัติเหตุจากจุดเสี่ยงที่ได้รับการแก้ไขแล้วอย่างเป็นระยะ ครัังที่3
  28. การสำรวจข้อมูลอุบัติเหตุจากจุดเสี่ยงที่ได้รับการแก้ไขแล้วอย่างเป็นระยะ ครัังที่4
  29. เวทีคืนข้อมูลการสำรวจข้อมูลอุบัติเหตุจากจุดเสี่ยงที่ได้รับการแก้ไขแล้วแก่สมาชิกในชุมชน
  30. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 4 เพื่อสรุปผลการดำเนินงานโครงการ
  31. เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้พร้อมสรุปผลการดำเนินงานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องขับเคลื่อนงานต่อไป

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
คณะทำงาน 45

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. เวทีปฐมนิเทศและทำสัญญาโครงการย่อย

วันที่ 3 มิถุนายน 2563

กิจกรรมที่ทำ

1.ปฐมนิเทศโครงการย่อย 2.ทำสัญญาโครงการ 3.สร้างความเข้าใจโครงการเพื่อให้การดำเนินการเป็นไปตามวัตถุประสงค์และระยะเวลาที่กำหนด

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.เข้าร่วมปฐมนิเทศโครงการเพื่อทราบทิศทางและรูปแบบการดำเนินการที่ครอบคลุม 2.ร่วมลงนามทำสัญญาโครงการ 3.มีความเข้าใจในโครงการและกรอบระยะเวลาดำเนินการเพื่อให้โครงการดำเนินไปอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

 

3 0

2. จัดทำป้ายสถานที่ปลอดบุหรี่และป้ายชื่อโครงการฯ

วันที่ 25 มิถุนายน 2563

กิจกรรมที่ทำ

1.เสนอรูปแบบป้ายไวนิลโครงการฯและป้ายไวนิลบันไดผลลัพธ์ 2.ขนาด ยาว 2 เมตร สูง 1 เมตร

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

มีป้ายไวนิลโครงการ ขนาด ยาว 2 เมตร สูง 1 เมตร จำนวน 2 ป้าย คือ ป้ายโครงการ และ ป้ายบันไดผลลัพธ์ โดยมีสัญลักษณ์ สสส. สัญลักษณ์รณรงค์ห้ามสูบบุหรี่ และสัญลักษณ์หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้ในการจัดกิจกรรมทุกกิจกกรรมในโครงการฯ

 

0 0

3. จัดตั้งคณะทำงานประชุมคณะทำงานครั้งที่1

วันที่ 3 กรกฎาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

1.เชิญหน่วยงานและบุคคลที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมและแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการโครงการฯ
2.ประชุมชี้แจงทำความเข้าใจโครงการร่วมกัน แบ่งหน้าที่ พร้อมวางแผนการดำเนินการร่วมกัน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.มีหน่วยงานเข้าร่วมโครงการตามแผนที่ได้กำหนด 2.มีการประชุมชี้แจง และแบ่งหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายอย่างชัดเจน 3.มีการกำหนดกรอบในการดำเนินงานอย่างรัดกุมและชัดเจนเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่ได้วางไว้

 

45 0

4. เวทีพัฒนาศักยภาพการรายงานผลลัพธ์ของโครงการย่อยฯ

วันที่ 6 กรกฎาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

ฝึกการใช้งานโปรแกรม รายงานผล -เพิ่มกิจกรรม -บันทึกกิจกรรม เวลา 9.00 น.ลงทะเบียนร่วมเวที/กิจกรรม โดยนส.ซัลมา หะยีสะมะแอ เวลา 9.30 น. ชี้แจงวัตถุประสงค์/เป้าหมายผลลัพธ์ของกิจกรรม เวลา 10.00 น.หลักการ"ผลลัพทธ์&ผลลัพธ์" โดยนายรุสลาม เวลา 10.30 น.แนวทาง/ขั้นตอนการรายงานผลการดำเนินงานโครงการย่อย เวลา 13.30 น.ปฏิบัติการคีย์รายงานผลการดำเนินงานของโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต มีผู้เข้ารร่วมเวทีพัฒนาศักยภาพการรายงานผลลัพธ์ของโครงการย่อยฯ จำนวน 2 คน ผลลัพธ์ ผู้รับผิดชอบโครงกาสามารถเพิ่มกิจกรรม 9 กิจกรรม ได้ฝึกบันทึกกิจกรรมจำนวน 2 กิจกรรม

 

2 0

5. จัดอบรมคณะทำงาน

วันที่ 4 สิงหาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

จัดอบรม 2 วัน ตั้งแต่วันที่ 4-5 สิงหาคม 2563 โดยมีนายอุสมาน สาและ ปลัดป้องกันอำเภอรามัน พูดคุยเรื่องการสร้างทีม การทำงานเป็นทีม และการสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน การเห็นความสำคัญของการเกิดอุบัติเหตุและส่งผลให้เกิดความสูญเสีย ซึ่งการเกิดอุบัติเหตุในชุมชนและแนวทางการป้องกันและแก้ไข เรียนรู้การบูรณาการทำงานร่วมกันและเน้นให้คณะทำงานร่วมกันวางแผนเพื่อขับเคลื่อนการป้องกันอุบัติเหตุในชุมชน พร้อมเรียนรู้เทคนิคการดำเนินงานเพื่อสร้างเครือข่าย และได้เรียนรู้ถึงบทเรียนที่ประสบสำเร็จในการดำเนินงาน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ทางคณะทำงานมีความตั้งใจในการดำเนิน และทุกคนเห็นความสำคัญของการเกิดอุบัติเหตุทางท้องถนนที่ทำให้เกิดความสูญเสียตามมาอย่างมหาศาล

 

45 0

6. เวทีทบทวนบันไดผลลัพธ์และออกแบบการเก็บข้อมูลของโครงการย่อย

วันที่ 15 สิงหาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

คณะผู้รับผิดชอบโครงการได้รับการชี้แจงวัตถุประสงค์ของกิจกรรมเวทีทบทวนบันไดผลลัพธ์และออกแบบการเก็บข้อมูลของโครงการย่อย อธิบายหลักการของบันไดผลลัพธ์ของโครงการย่อยและเชิงประเด็นโดย อ.สุวิทย์ หมาดอะดำ
แบ่งกลุ่มในการทบทวนบันไดผลลัพธ์ตามที่ได้ผิดชอบ ออกแบบการเก็บข้อมูลเพื่อตอบผลลัพธ์เชิงประเด็น

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

มีการปรับปรุงบันไดผลลัพธ์ที่เกิดความสอดคล้องทั้งกิจกรรม ตัวชี้วัด ผลลัพธ์ พร้อมออกแบบการเก็บข้อมูลเพื่อตอบผลลัพธ์เชิงประเด็น

 

2 0

7. จัดอบรมให้ความรู้เรื่องกฏจราจรและการขับขี่อย่างปลอดภัย

วันที่ 14 กันยายน 2563

กิจกรรมที่ทำ

1.จัดอบรมให้ความรู้เรื่องกฎจราจร และการขับขี่อย่างปลอดภัย
2.รณรงค์การสวมหมวกกันน็อค 3.คณะทำงานและผู้นำชุมชนเป็นแบบอย่าง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.มีการจัดอบรมให้ความรู้ความเข้าใจ เรื่องกฎจราจรและการขับขี่อย่างปลอดภัย 2.มีข้อตกลงร่วมของชุมชนเป็นลายลักษณ์อักษรในเรื่อง
- การแก้ไขจุดเสี่ยง
-การปรับพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับจุดเสี่ยงที่ชุมชนจะแก้ไขเป็นลักษณะมาตรการชุมชน

 

120 0

8. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 2

วันที่ 15 กันยายน 2563

กิจกรรมที่ทำ

สรุปข้อมูลและติดตามผลจากการประชุม และติดตามคำสั่งการแต่งตั้งคณะกรรมการ พร้อมวางแผนการทำแผนที่ชุมชนเพื่อระบุจุดเสี่ยงที่ชัดเจน และติดตามบันไดผลลัพธ์

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-คำสั่งการแต่งตั้งคณะทำงานอยู่ช่วงการดำเนินการ -เรื่องข้อตกลงชุมชนมีขึ้นและเริ่มมีการประชาสัมพันธ์เพื่อให้ทราบโดยทั่วกัน ผ่านการประชุมผู้นำและการประชาสัมพันธ์โดยการติดป้ายและทำข้อตกลงที่ชัดเจน -แผนที่ชุมชนมีการระบุตำแหน่่งและสรุปโดยชัดเจน

 

45 0

9. เวทีการประเมินผลเพื่อการเรียนรู้พัฒนา (are) ของหน่วยจัดการระดับที่มีจุดเน้นสำคัญ (node flagship) ระดับจังหวัด ครั้งที่ 1

วันที่ 23 ตุลาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

• หน่วยจัดการฯ ชี้แจ้งวัตถุประสงค์ของกิจกรรม ชี้เน้นตามบันไดผลลัพธ์ • แบ่งกลุ่มแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ • ARE ตามประเด็นยุทธศาสตร์ • นำเสนอ PPT ของโรงการย่อย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้เรียนรู้และแลกปลี่ยนประเด็นต่างๆของโครงการย่อย เพื่อนำมาปรับกับโครงการที่ดำเนินการให้สำเร็จตามห้วงเวลาที่กำหนด

 

4 0

10. การจัดการจุดเสี่ยง

วันที่ 28 ตุลาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

1.ประชุมคณะกรรมและทีดำเนินงานเพื่อ ระดมความคิด หาแนวทางแก้ไขปัญหาจุดเสี่ยงวางแผนตามที่วิเคราะห์ โดยมีสองประเด็นที่แยกออกมาคือจุดเสี่ยงที่ทางทีมสามารถแก้ไขปัญหาเองได้ และจุดเสี่ยงที่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาเองโดยต้องทำการส่งต่อเพื่อให้มีการดำเนินกิจกรรมต่อไป 2.จัดทำป้ายไวนิลเพื่อติดตั้งบริเวณจุดเสี่ยง
3.ลงพื้นที่พัฒนาจุดเสี่ยง โดยการติดป้ายเตือน ตัดแต่งพุ่มไม้ที่บดบัง ทำความสะอาดผิวจราจร 4.รณรงค์หมวกกันน็อค 4.ส่งข้อมูลบริเวณที่แก้ไข้ไม่ได้ให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.ชุมชนช่วยกันลงมือปรับปรุงจุดเสี่ยงอันตรายตามแผนที่ได้วางไว้จากข้อมูลที่ชุมชนได้ร่วมกันวิเคราะห์ 1. ชุมชนสามารถปรับปรุงได้เอง - ติดป้ายเตือนผู้ใช้รถ ป้ายทางแยก ป้ายทางโค้ง ป้ายลดความเร็วในชุมชน โดยเลือกใช้ป้ายที่เหมาะสม ให้สามารถมองเห็นป้ายได้ทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน -- ตัดแต่งพุ่มไม้ที่บดบัง หรือกำจัดป้ายโฆษณาที่บดบังป้ายจราจร

 

45 0

11. สำรวจข้อมูลอุบัติเหตุจากจุดเสี่ยงที่ได้รับการแก้ไขแล้วอย่างเป็นระยะ ครั้งที่1

วันที่ 27 พฤศจิกายน 2563

กิจกรรมที่ทำ

1.จัดทำแบบฟอร์มในการเก็บข้อมูลสถิติการเกิดอุบัติเหตุ 2.ลงทะเบียนคณะกรรมสำรวจ
3.ลงพื้นที่สำรวจจุดเสี่ยงทั้ง 8 แห่ง เพื่อติดตามความก้าวหน้า และเก็บสถิติอุบัติเหตุเพิ่มเพิ่มจากรายงานในไลน์กลุ่ม
4.ประชุมสรุปผลการสำรวจ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

มีข้อมูลสถิติการเกิดอุบัติเหตุเพื่อการเปรียบเทียบก่อนดำเนินการและหลังดำเนินการ

 

15 0

12. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 3

วันที่ 18 ธันวาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมเพืื่อติดตามผลจากการดำเนินการครั้งที่แล้ว  โดยมีการติดตามคำสั่งแต่งตั้ง ติดตามและวิเคราะห์การจัดกิจกรรมให้ความรู้และพัฒนาคณะทำงาน พร้อมกิจกรรมอบรมให้ความรู้กับประชาชน/กลุ่มผู้ประกอบการ และการกำหนดจุดเสี่ยงที่ทางคณะกรรมการได้เห็นชอบด้วยหลักการการกำหนดจุดเสี่ยง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คำสั่งแต่งตั้งยังไม่แล้วเสร็จอยู่ในขั้นการเสนอเซ็น วิเคราะห์และติดตามผลการเนินงานโครงการโดยผลของการดำเนินโครงการเป็นไปได้ด้วยความเรียบร้อย  ส่วนกิจกรรมการอบรมให้ความรู้ในกลุ่มของประชาชนได้รับการตอบรับ/ความพึงพพอใจที่ดีและต้องการให้มีกิจกรรมดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการกระตุ้นและให้เกิดความตระหนักต่อการใช้กฎจราจรอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ส่วนการกำหนดจุดเสี่ยงได้ผลสรุป8จุด ดังนี้ 1.ทางโค้งโรงเรียนศรีฟารีดา 2.ทางแยกเข้าบ้านตะโล๊ะเล๊าะ 3.จุดกลับรถหน้าโรงเรียนบ้านโกตาบารูและสามแยกทางเข้าบ้านยือโร๊ะ 4.จุดกลับรถหน้าเซเว่น 5.สี่แยกไฟแดงโกตาบารู ุ6.สามแยกถนนโกตา-บายพาส 7.สามแยกโรงพักเก่า 8.ทางเข้าจาลง

 

45 0

13. การสำรวจข้อมูลอุบัติเหตุจากจุดเสี่ยงที่ได้รับการแก้ไขแล้วอย่างเป็นระยะ ครัังที่2

วันที่ 25 ธันวาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

1.ลงทะเบียนคณะกรรมสำรวจ
2.ลงพื้นที่สำรวจจุดเสี่ยงทั้ง 8 แห่ง เพื่อติดตามความก้าวหน้า และเก็บสถิติอุบัติเหตุเพิ่มเพิ่มจากรายงานในไลน์กลุ่ม
3.ประชุมสรุปผลการสำรวจ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

มีข้อมูลสถิติการเกิดอุบัติเหตุเพื่อการเปรียบเทียบก่อนดำเนินการและหลังดำเนินการ

 

15 0

14. การสำรวจข้อมูลอุบัติเหตุจากจุดเสี่ยงที่ได้รับการแก้ไขแล้วอย่างเป็นระยะ ครัังที่3

วันที่ 22 มกราคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

1.ลงทะเบียนคณะกรรมสำรวจ
2.ลงพื้นที่สำรวจจุดเสี่ยงทั้ง 8 แห่ง เพื่อติดตามความก้าวหน้า และเก็บสถิติอุบัติเหตุเพิ่มเพิ่มจากรายงานในไลน์กลุ่ม
3.ประชุมสรุปผลการสำรวจ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

มีข้อมูลสถิติการเกิดอุบัติเหตุเพื่อการเปรียบเทียบก่อนดำเนินการและหลังดำเนินการ

 

15 0

15. การสำรวจข้อมูลอุบัติเหตุจากจุดเสี่ยงที่ได้รับการแก้ไขแล้วอย่างเป็นระยะ ครัังที่4

วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2564

กิจกรรมที่ทำ

1.ลงทะเบียนคณะกรรมสำรวจ
2.ลงพื้นที่สำรวจจุดเสี่ยงทั้ง 8 แห่ง เพื่อติดตามความก้าวหน้า และเก็บสถิติอุบัติเหตุเพิ่มเพิ่มจากรายงานในไลน์กลุ่ม
3.ประชุมสรุปผลการสำรวจ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

มีข้อมูลสถิติการเกิดอุบัติเหตุเพื่อการเปรียบเทียบก่อนดำเนินการและหลังดำเนินการ

 

15 0

16. จัดเวทีคืนข้อมูลการสำรวจข้อมูลอุบัติเหตุจากจุดเสี่ยงที่ได้รับการแก้ไขแก่สมาชิกในชุมชน

วันที่ 23 มีนาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

เชิญกลุ่มเป้าหมายเพื่อเข้าร่วมกิจกรรม โดยมีการดำเนินกิจกรรม 1.คณะกรรมการสำรวจสถิติอุบัติเหตุจากจุดเสี่ยงในพื้นที่ก่อนและหลังปรับปรุงแก้ไข
2.คณะกรรมการสำรวจสถิติอุบัติเหตุตำบลโกตาบารู เปรียบเทียบก่อนและหลังดำเนินโครงการ 3.ประสานหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง ประชาชนที่สนใจ จำนวน 120 คน 4.นำเสนอผลงานการดำเนินกิจกรรมโครงการ การปรับปรุงจุดเสี่ยง และข้อมูลสถิตอุบัติเหตุบริเวณจุดเสี่ยงที่ได้รับการแก้ไข และข้อมูลอุบัติเหตุทางท้องถนนตำบลโกตาบารู 5.ร่วมเสนอ และวิเคราะห์หาแนวทางปรับปรุงจุดเสี่ยงใหม่ในพื้นที่เพิ่มเติม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.หน่วยงานในพื้นที่และประชาชนรับรู้ผลจากการจัดทำโครงการฯ ส่งผลให้อุบัติเหตุในพื้นที่ลดลง 2.ประชาชนตระหนักเรื่องกติกาชุมชนมากขึ้นเพื่อให้อุบัติเหตุลดลง
3.มีสถิติเปรียบเทียบอุบัติเหตุ ก่อนและหลังดำเนินโครงการ

 

120 0

17. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 4 เพื่อสรุปผลการดำเนินงานโครงการ

วันที่ 24 มีนาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

สรุปผลการดำเนินงานจากกิจกรรมโครงการเพื่อตอบตัวชี้วัดโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลการดำเนินกิจกรรมโครงการได้ดำเนินการตามแผนที่ได้วางไว้ แต่ผลลัพธ์โครงการด้านข้อมูลสถิติพบว่าอัตราการเกิดอุบัติเหตุลดลง จำนวนผู้บาดเจ็บลดลง อัตราการตายเท่าเดิม และจุดเสี่ยงที่เกิดอุบัติหตุได้รับการแก้ไขทุกจุด เนื่องจากตำบลโกตาบารูได้มีการทำถนนใหม่จึงส่งผลให้เกิดจุดเสี่ยงใหม่ ทำให้ทางทีมได้วางแผนดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง พร้อมช่วงนี้เป็นห้วงเดือนรอมฎอน(เดือนถือศิลอด) จากกรณีที่มีเด็กแว๊นซ์มาซิ่งในพื้นที่ ปีนี้พบได้ว่าพฤติกรรมดังกล่าวได้ลดลงและไม่มี แต่ทั้งนี้ทางทีมยังคงดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง โดยให้ผู้นำมากวดขันบริเวณจุดล่อแหลมในการก่อกวน

 

45 0

18. เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้พร้อมสรุปผลการดำเนินงานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องขับเคลื่อนงานต่อไป

วันที่ 29 มีนาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

ได้นำข้อมูลและข้อเสนอแนะมาเข้าในเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้พร้อมสรุปผลการดำเนินงานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องขับเคลื่อนงานต่อไป

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับรู้ถึงการดำเนินงานและสร้างกระแสการดำเนินงานลดอุบัติเหตุเพื่อขับเคลื่อนงานต่อไปและมีความต่อเนื่อง

 

120 0

19. การจัดทำบันทึกรายงาน ข้อมูล ในระบบออนไลน์คนใต้สร้างสุข

วันที่ 25 เมษายน 2564

กิจกรรมที่ทำ

ผู้รับผิดชอบการบันทึกรายงาน ได้บันทึกรายงานและตรวจสอบ ในระบบ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

มีการบันทึกรายงาน ในระบบออนไลน์ คนใต้สร้างสุข

 

1 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อส่งเสริมให้เกิดกลไกการมีส่วนร่วมของชุมชนเรื่องป้องกันอุบัติเหตุทางถนนที่เข้มแข็ง
ตัวชี้วัด : ผลลัพธ์ที่ 1 เกิดคณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 1.1.มีโครงสร้างแบ่งงานชัดเจน มีความรู้ความเข้าใจการวิเคราะห์จุดเสี่ยง 1.2.มีข้อมูล มีแผนการดำเนินงานร่วมกันและแลกเปลี่ยนเรียนรูเพื่อค้นหาแนวทางการแก้ไขปัญหาและขยายผลกิจกรรม 1.3.แกนนำมีทักษะด้านการวิเคราะห์ข้อมูลและจุดเสี่ยง 1.4.มีแผนการดำเนินการแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุ จากจุดเสี่ยง 1.5.คณะทำงาน ติดตามประเมินผลทุกเดือน ผลลัพธ์ที่ 2 ประชาชนมีความรู้และเกิดความตระหนักเพื่อลดอุบัติเหตุทางท้องถนน ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 2.1.สมาชิกในชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องกฎจราจรและการขับขี่อย่างปลอดภัยเพื่อลดอุบัติเหตุในชุมชน 2.2.เกิดข้อตกลงร่วมของชุมชนในการแก้ไขจุดเสี่ยงและพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับจุดเสี่ยงที่ชุมชนจะแก้ไขเพื่อลดอุบัติเหตุในชุมชน 2.3 ประชาชนปฏิบัติตามกฎจราจร ผลลัพธ์ที่ 3 เกิดกลไกเฝ้าระวังติดตามเรื่องอุบัติเหตุทางท้องถนนที่เข้มแข็ง ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 3.1ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมประชาชนในชุมชน 3.2มีการติดตามเฝ้าระวังและทบทวนแผนปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง ผลลัพธ์ที่ 4 สภาพแวดล้อมที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้รับการแก้ไข ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 4.1.จุดเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุทางถนนในชุมชนได้รับการปรับปรุงแก้ไขให้สอดคล้องกับปัญหาในชุมชน ร้อยละ 60 ของจำนวนจุดเสี่ยงประเภทที่ชุมชนแก้ไขได้เอง 4.2. ส่งต่อจุดเสี่ยงที่ไม่สามารถแก้ไขเองร้อยละ100 4.3 มีป้าย/สื่อรณรงค์ตามจุดเสี่ยงในชุมชน
0.00

 

2 เพื่ออุบัติเหตุทางท้องถนนลดลง
ตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 5.1.จำนวนการเกิดอุบัติเหตุทางท้องถนนลดลง ร้อยละ 50 1. อัตราความรุนแรงทางศีรษะลดร้อยละ 50 2. อัตราการบาดเจ็บและการตายลดลงร้อยละ60
0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 45
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
คณะทำงาน 45

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อส่งเสริมให้เกิดกลไกการมีส่วนร่วมของชุมชนเรื่องป้องกันอุบัติเหตุทางถนนที่เข้มแข็ง (2) เพื่ออุบัติเหตุทางท้องถนนลดลง

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กิจกรรมพัฒนาร่วมกับหน่วยจัดการ(งบประมาณส่วนที่สสส.สนับสนุน) (2) จัดตั้งคณะทำงาน (3) อบรมพัฒนาคณะทำงาน (4) จัดอบรมให้ความรู้เรื่องกฏจราจรและการขับขี่อย่างปลอดภัย (5) ประเมินเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา AREครั้งที่ 1 (6) กิจกรรมพัฒนาศักยภาพ จัดโดย Node flagship yala (7) การสำรวจข้อมูลอุบัติเหตุจากจุดเสี่ยงที่ได้รับการแก้ไขแล้วอย่างเป็นระยะ (8) การปรับปรุงจุดเสี่ยงอันตราย (9) จัดเวทีคืนข้อมูลการสำรวจข้อมูลอุบัติเหตุจากจุดเสี่ยงที่ได้รับการแก้ไขแก่สมาชิกในชุมชน (10) จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้พร้อมสรุปผลการดำเนินงานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบและขับเคลื่อนงานต่อไป (11) ประเมินเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา AREครั้งที่ 2 (12) ประเมินเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา AREครั้งที่ 3 ถอดบทเรียน (13) การจัดทำบันทึกรายงาน ข้อมูล ในระบบออนไลน์คนใต้สร้างสุข (14) เวทีปฐมนิเทศและทำสัญญาโครงการย่อย (15) จัดทำป้ายสถานที่ปลอดบุหรี่และป้ายชื่อโครงการฯ (16) จัดตั้งคณะทำงานประชุมคณะทำงานครั้งที่1 (17) เวทีพัฒนาศักยภาพการรายงานผลลัพธ์ของโครงการย่อยฯ (18) จัดอบรมคณะทำงาน (19) เวทีทบทวนบันไดผลลัพธ์และออกแบบการเก็บข้อมูลของโครงการย่อย (20) จัดอบรมให้ความรู้เรื่องกฏจราจรและการขับขี่อย่างปลอดภัย (21) ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 2 (22) เวทีการประเมินผลเพื่อการเรียนรู้พัฒนา (are) ของหน่วยจัดการระดับที่มีจุดเน้นสำคัญ (node flagship) ระดับจังหวัด ครั้งที่ 1 (23) การจัดการจุดเสี่ยง (24) สำรวจข้อมูลอุบัติเหตุจากจุดเสี่ยงที่ได้รับการแก้ไขแล้วอย่างเป็นระยะ ครั้งที่1 (25) ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 3 (26) การสำรวจข้อมูลอุบัติเหตุจากจุดเสี่ยงที่ได้รับการแก้ไขแล้วอย่างเป็นระยะ ครัังที่2 (27) การสำรวจข้อมูลอุบัติเหตุจากจุดเสี่ยงที่ได้รับการแก้ไขแล้วอย่างเป็นระยะ ครัังที่3 (28) การสำรวจข้อมูลอุบัติเหตุจากจุดเสี่ยงที่ได้รับการแก้ไขแล้วอย่างเป็นระยะ ครัังที่4 (29) เวทีคืนข้อมูลการสำรวจข้อมูลอุบัติเหตุจากจุดเสี่ยงที่ได้รับการแก้ไขแล้วแก่สมาชิกในชุมชน (30) ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 4 เพื่อสรุปผลการดำเนินงานโครงการ (31) เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้พร้อมสรุปผลการดำเนินงานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องขับเคลื่อนงานต่อไป

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


ลดอุบัติเหตุทางท้องถนนตำบลโกตาบารู จังหวัด ยะลา

รหัสโครงการ 63-00175-0024

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นายสิทธิศักดิ์ วิชยวิกรานต์ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด