Node Flagship

directions_run

(อสม.สะเอะ) พัฒนาพื้นที่ต้นแบบลดอุบัติเหตุทางถนนระดับตำบล โดยกระบวนการมีส่วนร่วมตำบลสะเอะ อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ (อสม.สะเอะ) พัฒนาพื้นที่ต้นแบบลดอุบัติเหตุทางถนนระดับตำบล โดยกระบวนการมีส่วนร่วมตำบลสะเอะ อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดยะลา
รหัสโครงการ 63-00175-0005
วันที่อนุมัติ 1 มิถุนายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 31 มีนาคม 2564 -
งบประมาณ 100,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณะสูขประจำหมู่บ้าน
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายยัสรูลดีน กานา
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ น.ส.รอฮานี ดือเระ
พื้นที่ดำเนินการ ม.2และม.5 ตำบลสะเอะ อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.261402,101.368547place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 22 มิ.ย. 2563 22 มิ.ย. 2563 40,000.00
2 1 ก.ย. 2563 31 ธ.ค. 2563 50,000.00
3 1 ม.ค. 2564 30 เม.ย. 2564 10,000.00
รวมงบประมาณ 100,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 กิจกรรมที่ 1 การพัฒนาศักยภาพทีมจัดทำโครงการย่อย
50,000.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในเขตพื้นที่ตำบลสะเอะ ข้อมูลประชากร รวมทั้งสิ้น 7,994 คน แยกเป็นเพศชาย จำนวน 4,042 คน เป็นเพศหญิง 3,952 คน ในพื้นที่ตำบลสะเอะเป็นพื้นที่มีความเสี่ยงสูง เนื่องจาก เป็นพื้นที่เส้นทางเข้าออกได้หลายสาย จากข้อที่ผ่านมา พื้นที่ที่เคยเกิดเหตุอาชญากรรม พื้นที่เสี่ยง เส้นทางเปลี่ยว และพื้นที่ที่ประชาชนรู้สึกหวาดกลัวหรือหวาดระแวงหรือรู้สึกไม่ปลอดภัย แต่ด้วยมาตรฐานการวางระบบของผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น และผู้นำศาสนา ในปัจจุบันมีการเกิดอุบัติเหตุในพื้นที่ ส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมของผู้ขับขี่ และปัจจัยด้านสภาพถนนเส้นทางจราจร ที่ผู้นำในพื้นที่สามารถควบคุมได้
ในเขตพื้นที่ตำบลสะเอะ มีเส้นทางการคมนาคมขนส่งทางบก เส้นทางหลัก ประกอบด้วยสายสะเอะ – คอรอราแม , สายบาตาบูแม– ราดู , สายสะเอะใน - ป่าหวัง , สายตะโล๊ะสโตร์– บาตูคอ ,สายบาโงยือรา– หน้าถ้ำ, สายยาแลบารู – หลักเขต, สายติงบาตู – บาจุ ซึ่งถนนของแต่ละสายสามารถเข้าออกได้ มีจุดเสี่ยง 7 จุด จำนวนอุบัติเหตุ 20 ครั้ง บาดเจ็บ 30 คน เสียชีวิต 2 คน

จากการวิเคราะห์สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ในพื้นที่ตำบลสะเอะ พบว่าสาเหตุการ เกิดอุบัติเหตุจราจร คือ เมาแล้วขับ ไม่ชอบเปิดไฟเลี้ยว ขับรถเร็วเป็นประจำ ไม่ปฏิบัติตามเครื่องหมายจราจร ขาดความรู้การใช้ถนน ตัดสินใจช้าชอบเปลี่ยนเลนกะทันหัน ขับรถแซงปาดหน้า ความมักง่ายของผู้ประกอบการรับซื้อน้ำยางทางแยกไม่ชะลอความเร็ว คุยโทรศัพท์และเล่นโซเชียวขณะขับรถ และไม่เคารพกฎจราจร ประกอบกับสภาพของรถจักรยานยนต์ไม่ปลอดภัยยานพาหนะไม่ครบสมบูรณ์ เช่น ไม่มีไฟเลี้ยว ไฟท้าย ด้านกายภาพ ถนนมีหลุมมีบ่อ, ผิวถนนมีทราย ,ถนนไม่ผ่านมาตรฐาน , ถนนแคบไม่เพียงพอต่อการสัญจร, ถนนบางจุดไม่มีป้ายจราจรเตือนชัดเจน, ด่านตรวจไม่มีสัญลักษณ์ที่ชัดเจน ,ใช้ริมถนนในการประกอบการขาย ในพื้นที่มีผู้ประกอบการรับซื้อขี้ยาง ปล่อยน้ำยางลงบนถนน ระบบ กลไก ขาดการรณรงค์ในช่วงเทศกาล ไม่มีการประชาสัมพันธ์ในช่วงเทศกาล การสอบ และการต่อใบขับขี่ต้องเดินทางไกล สิ่งเหล่านี้ถือเป็น ปัจจัยก่อให้เกิดอุบัติเหตุดังกล่าว ผลกระทบด้านเศรษฐกิจขาดยานพาหนะ ในการประกอบอาชีพ ครอบครัวขาดรายได้ ค่าใช้จ่ายในการดูแล รักษามากขึ้น สร้างภาระหนี้สิน ครอบครัว สูญเสียรายได้ ด้านสุขภาพ บาดเจ็บ เสียชีวิต พิการ มีความวิตกกังวล มีภาวะสุขภาพจิตเสีย ด้านสิ่งแวดล้อม สภาพแวดล้อมเกิดมลพิษจากควันรถ ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติ(ต้นไม้)ได้รับความเสียหาย ด้านสังคม ทำให้สังคมเกิดความแตกแยก เกิดความวุ่นวาย เกิดความขัดแย้ง มีการฟ้องร้องค่าเสียหายมากเกินไป สูญเสียประชากร เกิดปัญหาในการใช้ชีวิตในครอบครัว ดังนั้น เพื่อเสริมสร้างจิตสานึกในด้านความปลอดภัยและวินัยจราจร เพื่อลดจำนวน อุบัติเหตุทางถนน จำนวนผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตลงให้ได้มากที่สุด เพื่อเตรียมความพร้อมของผู้ขับขี่และยานพาหนะ โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลสำคัญ ได้แก่ เทศกาลปีใหม่ เทศกาลสงกรานต์ และเทศกาลสำคัญของจังหวัด และรณรงค์ เพื่อกระตุ้นเตือนให้ประชาชนเกิดจิตสำนึก ในการช่วยกันป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน โดยมุ่งที่จะพัฒนา คุณภาพชีวิตของประชาชน รวมทั้ง สร้างจิตสำนึกให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบต่อสังคมด้วยการ เสริมสร้างความปลอดภัย ในระบบการ จราจร และเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมป้องกันการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน จึงเสนอโครงการส่งเสริมการรณรงค์ป้องกันและลด อุบัติเหตุทางถนนในตำบลสะเอะ

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

การสร้างกลไกป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนระดับตำบล การขับเคลื่อนกลไกลแผนในการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนตำบลตำบล

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อสร้างแผนระบบ เครื่องมือ พัฒนาศักยภาพในการป้องกันลดอุบัติเหตุทางถนนในระดับตำบล
  1. สร้างคณะทำงานปฏิบัติงานลดอุบัติเหตุระดับตำบล
  2. การวิเคราะห์พื้นที่การป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนระดับตำบล
  3. การสร้างแผนพัฒนาป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนระดับตำบล
  4. การสร้างกติกาป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนระดับตำบล 5.การขับเคลื่อนพฤติกรรมเสี่ยงด้านคน ด้านยานพาหนะ ด้านถนน ด้านสิ่งแวดล้อมเกิดอุบัติเหตุทางถนนระดับตำบล
  5. การขับเคลื่อนแก้ไขสภาพแวดล้อมจุดเสียงของเกิดอุบัติทางถนนระดับตำบล
  6. การขับเคลื่อนรณรงค์การเฝ้าระวังการเกิดอุบัติทางถนนระดับตำบล
  7. การขับเคลื่อนปฏิบัติตามกลไกกติกาข้อตกลงในการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถน
0.00
2 2.เพื่อนำกลไกใช้ในการการปฏิบัติขับเคลื่อนการลดอุบัติเหตุทางถนนในระดับตำบล

1.การปรับกระบวนการในแก้ไขปัญหาปัจจัยเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุทางถนนระดับตำบล 2. กระบวนการมีส่วนร่วมของป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนระดับนำไปบังคับใช้ปฏิบัติ 3. การปฏิบัติตามกฏเกณฑ์ กลไก การลดอุบติเหตุทางถนนระดับตำบล 4. ความรู้ที่ได้จากการขับเคลื่อนสามารถได้มีการต่อยอดขยายผลอย่างต่อเนื่อง 5.อัตราการเสียชีวิตต้องลด
6. อัตราจำนวนอุบัติเหตุต้องลดลง 7. ปัจจัยที่มีความเสียงมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น

0.00
3 วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 เพื่อให้เกิดความรู้ ความตระหนัก ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายจราจร มารยาทในการขับขี่และรู้จัก วิธีการป้องกันตัวเองขณะขับขี่ยานพาหนะ ตลอดจนวิธีแก้ปัญหาในขณะเกิดเหตุและหลังเกิดเหตุ

ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ด้านการขับขี่อย่างปลอดภัยถูกต้องตามกฎจราจร ข้อ 2 ผู้เข้าร่วมโครงการมีจิตสำนึกให้ผู้เข้าร่วมโครงการและความตระหนักด้านความปลอดภัยให้แก่ผู้ใช้รถใช้ถนน

0.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 115 115
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเสียง 100 100
คณะทำงานงาน เพื่อสร้างกลไกในการปฏิบัติงาน 15 15
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
1 กิจกรรมที่ 2 พัฒนาศักยภาพและจัดประชุมคณะทำงานงาน เพื่อสร้างกลไกในการปฏิบัติงาน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 110 14,000.00 5 14,500.00
1 ก.ค. 63 - 31 ธ.ค. 63 อบรมพัฒนาความรู้ คณะทำงานในการแก้ปัญหาอุบัติเหตุทางถนน 15 2,900.00 2,900.00
1 ก.ค. 63 - 31 ธ.ค. 63 พัฒนาศักยภาพและจัดประชุมคณะทำงาน เพื่อสร้างกลไกในการปฏิบัติงานครั้งที่ 3 (ออกแบบการอบรมกลุ่มเสี่ยง) 15 2,900.00 2,900.00
1 ก.ค. 63 - 31 มี.ค. 64 พัฒนาศักยภาพและจัดประชุมคณะทำงาน เพื่อสร้างกลไกในการปฏิบัติงานครั้งที่ 2 (แต่งตั้ง บทบาทหน้าที่คณะทำงาน) 15 2,900.00 2,900.00
1 ก.ค. 63 - 31 ธ.ค. 63 พัฒนาศักยภาพและจัดการประชุมคณะทำงานเพื่อสร้างกลไกลในการปฏิบัติงาน ครั้งที่ 1 (ประชุมคลี่โครการ) 15 2,900.00 2,900.00
24 พ.ย. 63 อบรมให้ความรูและการบังคับใช้กฏกติกาใช้รถใชถนน รุ่นที่ 1 50 2,400.00 2,900.00
2 กิจกรรมที่ 3 การอบรมพัฒนาศักยภาพให้ความรู้ผู้นำ ด้านกฎหมายจราจร คุณธรรม จริยธรรมการใช้รถใช้ถนนในสาธารณะ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 145 15,500.00 2 15,500.00
26 เม.ย. 64 1.การอบรมพัฒนาความรู้แกนนำคณะทำงาน 15 2,800.00 2,800.00
26 เม.ย. 64 การอบรมผู้นำท้องถิ่น ผู้นำท้องที่ ผู้นำศาสนา ผู้นำด้านสุขภาพ และเจ้าหน้าที่ พนักงาน ข้าราชการที่เกี่ยวข้อง จำนวน 2 รุ่น 130 12,700.00 12,700.00
3 กิจกรรมการประเมินและการเรียนรู้ ARE (อสม.สะเอะ) กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 105 0.00 0 0.00
3 ต.ค. 63 รายงานการติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา ครั้งที่ …1…..ARE 1 ชื่อโครงการ… พัฒนาพื้นที่ต้นแบบลดอุบัติเหตุทางถนนระดับตำบล โดยกระบวนการมีส่วนร่วมตำบลสะเอะ อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา ต.สะเอะ อ.กรงปินัง จ.ยะลา 35 0.00 -
19 มี.ค. 64 รายงานการติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา ครั้งที่ …2….. ชื่อโครงการ… พัฒนาพื้นที่ต้นแบบลดอุบัติเหตุทางถนนระดับตำบล โดยกระบวนการมีส่วนร่วมตำบลสะเอะ อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลาต.สะเอะ อ.กรงปินัง จ.ยะลา ARE 2 35 0.00 -
7 เม.ย. 64 สรุปผลการถอดบทเรียนตามแนวทาง CCAT (Community Coalition Action Theory) ARE 3 โครงการ พัฒนาพื้นที่ต้นแบบลดอุบัติเหตุทางถนนระดับตำบล โดยกระบวนการมีส่วนร่วม ตำบลสะเอะ อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา 35 0.00 -
4 กิจกรรมที่ 4 อบรมกลุ่มที่มีปัจจัยเสียง และจัดทำป้ายรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ การป้องกันลดอุบัติเหตุทางถนน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 30 22,210.00 2 21,710.00
26 เม.ย. 64 1.สำรวจข้อมูลแต่ละครัวเรือนที่มีปัจจัยเสี่ยง ด้านคน ด้านยานพาหานะ ด้านถนน ด้านสิ่งแวดล้อม 15 20,410.00 20,410.00
26 เม.ย. 64 2.การประชุมสรุปวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยง จำแนกกลุ่ม เพื่อนำกลุ่มเป้าหมายอบรม ให้ความรู้ 15 1,800.00 1,300.00
5 กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมการแก้ไขปัญหา ควบคุม การเฝ้าระวัง ทำความสะอาด ลดความเสี่ยงและสภาพแวดล้อมบนถนน และติดตามความคืนหน้า กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 30 15,500.00 2 15,500.00
26 เม.ย. 64 1 การจัดกลุ่มประเภทปัจจัยความเสียง อบรมให้ความรู้ และการบังคับใช้กฎกติกาในการปฏิบัติใช้รถใช้ถนน 4 ด้าน กลุ่มละ 1 รุ่น รวมทั้งสิ้น 4 ครั้ง 15 7,750.00 7,750.00
26 เม.ย. 64 2 กิจกรรมจัดทำรณรงค์ประชาสัมพันธ์การใช้กติกา ข้อตกลงการใช้รถใช้ถนน และการจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ จุดเสี่ยง จุดอันตราย จุดต้องระวัง หรือป้ายเตือนต่างๆ ที่ลดอุบัติเหตุทางถนน 15 7,750.00 7,750.00
6 กิจกรรมที่ 6 กิจกรรมการแก้ไขปัญหา ควบคุม การเฝ้าระวัง ทำความสะอาด ลดความเสี่ยงและสภาพแวดล้อมบนถนน และติดตาม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 104 16,500.00 3 16,500.00
27 ก.ย. 63 การร่วมปฏิบัติการBig cleaning ถนนในตำบล 52 4,250.00 4,250.00
7 ธ.ค. 63 การร่วมปฏิบัติการBig cleaning ถนนในตำบล 52 4,250.00 4,250.00
26 เม.ย. 64 อพปร.เฝ้าด่านจุดตรวจ วันๆละ 4 คน จำนวน 10 ครั้ง 0 8,000.00 8,000.00
7 กิจกรรมที่ 7 สรุปประเมินการขับเคลื่อนกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 45 6,290.00 2 6,290.00
25 ต.ค. 63 ประชุมคณะกรรมทำงาน และผู้นำต่าง ๆ ทอดบาทเรียน 30 3,600.00 3,600.00
19 ก.พ. 64 สรุปจัดทำข้อมูลคืนหมู่บ้านตำบล 15 2,690.00 2,690.00
8 กิจกรรมที่ 1 พัฒนาศักยภาพกับ Node หรือ สสส. เพื่อสร้างกลไกในการปฏิบัติงาน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 33 10,000.00 4 10,000.00
1 มิ.ย. 63 - 31 มี.ค. 64 1. ค่าจัดทำป้ายสถานที่ปลอดบุหรี่และป้ายชื่อโครงการ โดยมีตราสัญลักษณ์ สสส. สำหรับติดในบริเวณที่จัดกิจกรรม1,000 บาท 15 1,000.00 1,000.00
20 มิ.ย. 63 ติดตามรายงานการเงิน 15 0.00 0.00
1 ก.ค. 63 - 31 มี.ค. 64 ค่าเดินทางและค่าที่พักเพื่อเข้าร่วมประชุมกับ สสส. หรือหน่วยจัดการระดับจังหวัด รวมถึงค่าจัดทำชุดนิทรรศการแสดงผลการดำเนินงานในเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการ 7,000 บาท 2 7,000.00 7,000.00
1 มิ.ย. 64 - 31 มี.ค. 64 2. ค่าจัดทำรายงานและค่าอินเตอร์เน็ตเพื่อจัดทำรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบรายงานความก้าวหน้าออนไลน์ 2,000 บาท 1 2,000.00 2,000.00
  1. ค่าจัดทำป้ายสถานที่ปลอดบุหรี่และป้ายชื่อโครงการ โดยมีตราสัญลักษณ์ สสส. สำหรับติดในบริเวณที่จัดกิจกรรมทุกครั้ง ไม่เกิน 1,000 บาท
  2. ค่าจัดทำรายงานและค่าอินเตอร์เน็ตเพื่อจัดทำรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบรายงานความก้าวหน้าออนไลน์ไม่เกิน 2,000 บาท
  3. ค่าเดินทางและค่าที่พักเพื่อเข้าร่วมประชุมกับ สสส. หรือหน่วยจัดการระดับจังหวัด รวมถึงค่าจัดทำชุดนิทรรศการแสดงผลการดำเนินงานในเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการ (ถ้ามี) ไม่เกิน 7,000 บาท (โปรดแสดงรายละเอียดการใช้จ่ายเงินที่สนับสนุนเพิ่มเติม พร้อมทั้งแนบภาพถ่ายในระบบรายงานความก้าวหน้าออนไลน์)
stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.1. สร้างคณะทำงานปฏิบัติงานลดอุบัติเหตุระดับตำบล 1.2. การวิเคราะห์พื้นที่การป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนระดับตำบล
1.3. การสร้างแผนพัฒนาป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนระดับตำบล 1.4. การสร้างกติกาป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนระดับตำบล

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 ก.ค. 2563 10:30 น.