Node Flagship

directions_run

พัฒนาพื้นที่ต้นแบบลดอุบัติเหตุทางถนนระดับตำบล โดยกระบวนการมีส่วนร่วม

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ พัฒนาพื้นที่ต้นแบบลดอุบัติเหตุทางถนนระดับตำบล โดยกระบวนการมีส่วนร่วม
ภายใต้โครงการ Node Flagship จังหวัดยะลา ปี 2563
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดยะลา
รหัสโครงการ 63-001750027
วันที่อนุมัติ 2 มิถุนายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2563 -
งบประมาณ 100,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์การบริหารส่วนตำบลสะเอะ
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายมาหามะ มะเกะ
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวยามีละ เจ๊ะหลง
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.397171,101.227822place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มิ.ย. 2563 31 ส.ค. 2563 1 มิ.ย. 2563 31 ส.ค. 2563 40,000.00
2 1 ก.ย. 2563 15 ธ.ค. 2563 50,000.00
3 1 ม.ค. 2564 15 มี.ค. 2564 10,000.00
รวมงบประมาณ 100,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในเขตพื้นที่ตำบลสะเอะ ข้อมูลประชากร รวมทั้งสิ้น 7,994 คน แยกเป็นเพศชาย จำนวน 4,042 คน เป็นเพศหญิง 3,952 คน ในพื้นที่ตำบลสะเอะเป็นพื้นที่มีความเสี่ยงสูง เนื่องจาก เป็นพื้นที่เส้นทางเข้าออกได้หลายสาย จากข้อที่ผ่านมา พื้นที่ที่เคยเกิดเหตุอาชญากรรม พื้นที่เสี่ยง เส้นทางเปลี่ยว และพื้นที่ที่ประชาชนรู้สึกหวาดกลัวหรือหวาดระแวงหรือรู้สึกไม่ปลอดภัย แต่ด้วยมาตรฐานการวางระบบของผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น และผู้นำศาสนา ในปัจจุบันมีการเกิดอุบัติเหตุในพื้นที่ ส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมของผู้ขับขี่ และปัจจัยด้านสภาพถนนเส้นทางจราจร ที่ผู้นำในพื้นที่สามารถควบคุมได้
ในเขตพื้นที่ตำบลสะเอะ มีเส้นทางการคมนาคมขนส่งทางบก เส้นทางหลัก ประกอบด้วยสายสะเอะ – คอรอราแม , สายบาตาบูแม– ราดู , สายสะเอะใน - ป่าหวัง , สายตะโล๊ะสโตร์– บาตูคอ ,สายบาโงยือรา– หน้าถ้ำ, สายยาแลบารู – หลักเขต, สายติงบาตู – บาจุ ซึ่งถนนของแต่ละสายสามารถเข้าออกได้ มีจุดเสี่ยง 7 จุด จำนวนอุบัติเหตุ 20 ครั้ง บาดเจ็บ 30 คน เสียชีวิต 2 คน

จากการวิเคราะห์สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์ในพื้นที่ตำบลสะเอะ พบว่าสาเหตุการ เกิดอุบัติเหตุจราจร คือ เมาแล้วขับ ไม่ชอบเปิดไฟเลี้ยว ขับรถเร็วเป็นประจำ ไม่ปฏิบัติตามเครื่องหมายจราจร ขาดความรู้การใช้ถนน ตัดสินใจช้าชอบเปลี่ยนเลนกะทันหัน ขับรถแซงปาดหน้า ความมักง่ายของผู้ประกอบการรับซื้อน้ำยางทางแยกไม่ชะลอความเร็ว คุยโทรศัพท์และเล่นโซเชียวขณะขับรถ และไม่เคารพกฎจราจร ประกอบกับสภาพของรถจักรยานยนต์ไม่ปลอดภัยยานพาหนะไม่ครบสมบูรณ์ เช่น ไม่มีไฟเลี้ยว ไฟท้าย ด้านกายภาพ ถนนมีหลุมมีบ่อ, ผิวถนนมีทราย ,ถนนไม่ผ่านมาตรฐาน , ถนนแคบไม่เพียงพอต่อการสัญจร, ถนนบางจุดไม่มีป้ายจราจรเตือนชัดเจน, ด่านตรวจไม่มีสัญลักษณ์ที่ชัดเจน ,ใช้ริมถนนในการประกอบการขาย ในพื้นที่มีผู้ประกอบการรับซื้อขี้ยาง ปล่อยน้ำยางลงบนถนน ระบบ กลไก ขาดการรณรงค์ในช่วงเทศกาล ไม่มีการประชาสัมพันธ์ในช่วงเทศกาล การสอบ และการต่อใบขับขี่ต้องเดินทางไกล สิ่งเหล่านี้ถือเป็น ปัจจัยก่อให้เกิดอุบัติเหตุดังกล่าว ผลกระทบด้านเศรษฐกิจขาดยานพาหนะ ในการประกอบอาชีพ ครอบครัวขาดรายได้ ค่าใช้จ่ายในการดูแล รักษามากขึ้น สร้างภาระหนี้สิน ครอบครัว สูญเสียรายได้ ด้านสุขภาพ บาดเจ็บ เสียชีวิต พิการ มีความวิตกกังวล มีภาวะสุขภาพจิตเสีย ด้านสิ่งแวดล้อม สภาพแวดล้อมเกิดมลพิษจากควันรถ ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติ(ต้นไม้)ได้รับความเสียหาย ด้านสังคม ทำให้สังคมเกิดความแตกแยก เกิดความวุ่นวาย เกิดความขัดแย้ง มีการฟ้องร้องค่าเสียหายมากเกินไป สูญเสียประชากร เกิดปัญหาในการใช้ชีวิตในครอบครัว

ดังนั้น เพื่อเสริมสร้างจิตสานึกในด้านความปลอดภัยและวินัยจราจร เพื่อลดจำนวน อุบัติเหตุทางถนน จำนวนผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตลงให้ได้มากที่สุด เพื่อเตรียมความพร้อมของผู้ขับขี่และยานพาหนะ โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลสำคัญ ได้แก่ เทศกาลปีใหม่ เทศกาลสงกรานต์ และเทศกาลสำคัญของจังหวัด และรณรงค์ เพื่อกระตุ้นเตือนให้ประชาชนเกิดจิตสำนึก ในการช่วยกันป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน โดยมุ่งที่จะพัฒนา คุณภาพชีวิตของประชาชน รวมทั้ง สร้างจิตสำนึกให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบต่อสังคมด้วยการ เสริมสร้างความปลอดภัย ในระบบการ จราจร และเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมป้องกันการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน จึงเสนอโครงการส่งเสริมการรณรงค์ป้องกันและลด อุบัติเหตุทางถนนในตำบลสะเอะ

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างแผนระบบ เครื่องมือ พัฒนาศักยภาพในการป้องกันลดอุบัติเหตุทางถนนในระดับตำบล

ผลลัพธ์ที่ 1 การสร้างกลไกป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนระดับตำบล ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 1.1. สร้างคณะทำงานปฏิบัติงานลดอุบัติเหตุระดับตำบล ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 1.2. การวิเคราะห์พื้นที่การป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนระดับตำบล
ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 1.3. การสร้างแผนพัฒนาป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนระดับตำบล ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 1.4. การสร้างกติกาป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนระดับตำบล ผลลัพธ์ที่ 2 การขับเคลื่อนกลไกลแผนในการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนตำบลตำบล ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 2.1. การขับเคลื่อนพฤติกรรมเสี่ยงด้านคน ด้านยานพาหนะ ด้านถนน ด้านสิ่งแวดล้อมเกิดอุบัติเหตุทางถนนระดับตำบล
ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 2.2. การขับเคลื่อนแก้ไขสภาพแวดล้อมจุดเสียงของเกิดอุบัติทางถนนระดับตำบล ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 2.3. การขับเคลื่อนรณรงค์การเฝ้าระวังการเกิดอุบัติทางถนนระดับตำบล ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 2.4. การขับเคลื่อนปฏิบัติตามกลไกกติกาข้อตกลงในการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน

80.00
2 เพื่อนำกลไกใช้ในการการปฏิบัติขับเคลื่อนการลดอุบัติเหตุทางถนนในระดับตำบล

ผลลัพธ์ที่ 3 การปฏิบัติการป้องกันลดอุบัติเหตุทางถนนระดับตำบล ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 3.1.การปรับกระบวนการในแก้ไขปัญหาปัจจัยเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุทางถนนระดับตำบล ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 3.2. กระบวนการมีส่วนร่วมของป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนระดับนำไปบังคับใช้ปฏิบัติ ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 3.3. การปฏิบัติตามกฏเกณฑ์ กลไก การลดอุบติเหตุทางถนนระดับตำบล ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 3.4. ความรู้ที่ได้จากการขับเคลื่อนสามารถได้มีการต่อยอดขยายผลอย่างต่อเนื่อง ผลลัพธ์ที่ 4 การประเมินผลของการขับเคลื่อนกลไกการลดอุบัติเหตุทางถนนในระดับตำบล ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 4.1.อัตราการเสียชีวิตต้องลด
ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 4.2. อัตราจำนวนอุบัติเหตุต้องลดลง ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 4.3. ปัจจัยที่มีความเสียงมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น

80.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 50
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายหลัก ได้แก่ ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำท้องที 50 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
1 ส่วนที่ 1 พัฒนาศักยภาพ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 8 6,400.00 4 6,400.00
3 มิ.ย. 63 เวทีปฐมนิเทศ และทำสัญญาโครงการ 2 400.00 400.00
16 มิ.ย. 63 จัดทำป้ายไวนิลโครงการ และป้ายไวนิลบันไดผลลัพธ์ 0 1,000.00 1,000.00
6 ก.ค. 63 ทบทวนบันไดผลลัพธ์และออกแบบเก็บข้อมูลของโครงการย่อยฯ 2 400.00 400.00
24 - 25 ต.ค. 63 ร่วมเวทีประเมินเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาระดับหน่วยจัดการ (ARE-Node) ครั้งที่1 4 4,600.00 4,600.00
2 ส่วนที่ 2 กิจกรรมที่ 1 พัฒนาศักยภาพและจัดประชุมคณะทำงาน เพื่อสร้างกลไกในการปฏิบัติงาน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 60 7,200.00 4 7,200.00
24 มิ.ย. 63 การประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 1 15 1,800.00 1,800.00
24 ก.ย. 63 การประชุมคณะทำงานครั้งที่ 2 และ ARE ครั้งที่ 1 15 1,800.00 1,800.00
26 พ.ย. 63 การประชุมคณะทำงานครั้งที่ 3 15 1,800.00 1,800.00
27 ม.ค. 64 การประชุมคณะทำงานครั้งที่ 4 และ ARE ครั้งที่ 2 15 1,800.00 1,800.00
3 ส่วนที่ 2 กิจกรรมที่ 2 การอบรมพัฒนาศักยภาพให้ความรู้ผู้นำ ด้านกฏหมายจราจร คูณธรรมจริยธรรมการใช่รถใช้ถนนในสาธารณะ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 265 44,200.00 4 11,400.00
8 ธ.ค. 63 อบรมพัฒนาศักยภาพ การใช้กฏหมายจราจร คุณธรรมจริยธรรมการใช้รถใช้ถนนสาธารณะ 65 11,400.00 11,400.00
26 ม.ค. 64 อบรมพัฒนาศักยภาพ การใช้กฏหมายจราจร คุณธรรมจริยธรรมการใช้รถใช้ถนนสาธารณะ (เด็กนักเรียน) 50 8,200.00 0.00
27 ม.ค. 64 อบรมพัฒนาศักยภาพ การใช้กฏหมายจราจร คุณธรรมจริยธรรมการใช้รถใช้ถนนสาธารณะ (ผู้ปกครอง) 50 8,200.00 0.00
28 ม.ค. 64 อบรมพัฒนาศักยภาพ การใช้กฏหมายจราจร คุณธรรมจริยธรรมการใช้รถใช้ถนนสาธารณะ (ตัวแทนร้านค้า กลุ่มสตรี) 50 8,200.00 -
29 ม.ค. 64 อบรมพัฒนาศักยภาพ การใช้กฏหมายจราจร คุณธรรมจริยธรรมการใช้รถใช้ถนนสาธารณะ (เด็กและเยาวชน) 50 8,200.00 0.00
4 ส่วนที่ 2 กิจกรรมที่ 4 อบรมกลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยง และจัดทำป้ายรณรงค์ประชาสัมพันธ์ การป้องกันลดอุบัติเหตุทางถนน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 13,500.00 0 0.00
24 ธ.ค. 63 กิจกรรมจัดทำป้ายรณรงค์ประชาสัมพันธ์การใช้กติกา ข้อตกลงการใช้รถใช้ถนน และจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ จุดเสี่ยง จุดอันตราย จุดระวัง หรือป้ายเตือนต่างๆที่ลดอบัติเหตุทางถนน 0 13,500.00 -
5 ส่วนที่ 2 กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมการแก้ไขปัญหา ควบคุม การเฝ้าระวังทำความสะอาด ลดความเสี่ยงและสภาพแวดล้อมบนถนน และติดตามความคืบหน้าขับเคลื่อนกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 70 0.00 2 0.00
28 ธ.ค. 63 - 6 ม.ค. 64 กิจกรรมการปฏิบัติเฝ้าระวังในวันหยุด หรือเทศกาล และสถานที่จุดเสี่ยงมีการใช้รถใช้ถนน 20 0.00 0.00
29 ธ.ค. 63 กิจกรรมการร่วมปฏิบัติการ Big cleaning ถนน 50 0.00 0.00
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 0.00 0 0.00
25 มิ.ย. 63 ส่วนที่ 2 กิจกรรมที่ 3 การลงพื้นที่สำรวจปัจจัยที่มีความเสี่ยงของการเกิดอุบัติเหตุทางถนนระดับตำบล ด้านคน ด้านยานพาหานะ ด้านถนน ด้านสิ่งแวดล้อม 0 0.00 -
25 มิ.ย. 63 ส่วนที่ 2 กิจกรรมที่ 6 สรุปประเมินขับเคลื่อนกิจกรรม 0 0.00 -

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ต.ค. 2563 14:57 น.