directions_run

โครงการพัฒนากลไกดูแลสุขภาพผู้สูงอายุตำบลลำสินธุ์ อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนากลไกดูแลสุขภาพผู้สูงอายุตำบลลำสินธุ์ อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดพัทลุง
รหัสโครงการ 6510156026
วันที่อนุมัติ 16 กุมภาพันธ์ 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 16 กุมภาพันธ์ 2566 - 19 ธันวาคม 2566
งบประมาณ 106,300.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เทศบาลตำบลลำสินธุ์
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางพัชรี น้อยเต็ม
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ 0845965494
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ Kwanzaza3577@gmail.com
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวจิราภรณ์ บุญมาก
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลำสินธุ์ อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 16 ก.พ. 2566 30 มิ.ย. 2566 16 ก.พ. 2566 30 มิ.ย. 2566 53,150.00
2 1 ก.ค. 2566 31 ส.ค. 2566 1 ก.ค. 2566 10 พ.ย. 2566 42,520.00
3 1 ก.ย. 2566 10 ธ.ค. 2567 19 ธ.ค. 2566 19 ธ.ค. 2567 10,630.00
รวมงบประมาณ 106,300.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานผู้สูงอายุ
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตำบลลำสินธุ์มีประชากรทั้งหมด 6,041 คน เป็นผู้สูงอายุ จำนวน 1,160 คน คิดเป็นร้อยละ 19.20 ของจำนวนประชากรทั้งหมด (ข้อมูลจากสำนักงานทะเบียนอำเภอศรีนครินทร์ ณ วันที่ 30 กันยายน 2565) จะเห็นได้ว่า ตำบลลำสินธุ์มีผู้สูงอายุเกินกว่าร้อยละ 10 ของประชากรทั้งหมด แสดงว่าตำบลลำสินธุ์กลายเป็นพื้นที่ที่เป็นสังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบ โดยผู้สูงอายุ แบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มติดสังคม 1,102 คน กลุ่มติดบ้าน 51 คน และกลุ่มติดเตียง 7 คน ซึ่งผู้สูงอายุทุกกลุ่มล้วนมีปัญหาสุขภาพ ที่ส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้อง ทั้งด้านการออกกำลังกาย การบริโภคอาหาร รวมทั้งความเครียด วิตกกังวล อีกทั้ง สภาพที่อยู่อาศัยไม่ปลอดภัย ไม่สะอาด เนื่องจาก ขาดการเอาใจใส่ดูแลจากลูกหลาน บ้างถูกทิ้งให้อยู่ตามลำพัง ทำให้ผู้สูงอายุขาดที่พึ่ง ประกอบกับ
เมื่ออายุที่มากขึ้น ร่างกายเสื่อมถอยลง ประสิทธิภาพในการทำงานหรือทำกิจวัตรประจำวันลดลง ทำให้ถูกมองว่าขาดคุณค่า และเมื่อบุคคลอันเป็นที่รักอย่างเช่นคู่ครองหรือบุคคลในครอบครัวเสียชีวิต ทำให้ผู้สูงอายุยิ่งรู้สึก โดดเดี่ยว จากสาเหตุข้างต้น พบว่า การที่ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้องทำให้ผู้สูงอายุตำบลลำสินธุ์ มีปัญหาสุขภาพส่วนใหญ่ป่วยและเสี่ยงสูงเป็นโรคเรื้อรัง จำนวนผู้สูงอายุที่มีสุขภาพจิตดีลดน้อยลง ผู้สูงอายุมีภาวะซึมเศร้าเพิ่มมากขึ้น และจากสภาพแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัย ทำให้ผู้สูงอายุเสี่ยงต่อการเกิดการพลัดตกหกล้ม
เกิดปัญหาสุขภาพอื่นๆตามมา นอกจากนี้ เมื่อบทบาทและความสำคัญในสังคมลดน้อยลง ทำให้รายได้ในครัวเรือนลดน้อยลง เกิดช่องว่างระหว่างวัย ผู้สูงอายุรู้สึกขาดคุณค่าในตนเอง จากปัญหาสุขภาพดังกล่าวที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุในพื้นที่ ทำให้ทุกหน่วยงานต้องให้ความสำคัญกับการเตรียมความพร้อมรับรองการเป็นสังคมผู้สูงอายุของตำบล ลำสินธุ์ โดยการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ทั้งด้านสุขภาพร่างกายและจิตใจ ด้านเศรษฐกิจให้มีรายได้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน ด้านสังคมและวัฒนธรรมที่สร้างเสริมคุณค่าและศักดิ์ศรี ตลอดจนการเตรียมสภาพแวดล้อม ที่มั่นคงและปลอดภัย โดยตระหนักถึงการนำพลังความสามารถของผู้สูงอายุเข้ามาเป็นฐานดำเนินการ

ในพื้นที่ตำบลลำสินธุ์ได้มีการจัดตั้งชมรมผู้สูงอายุ ตั้งแต่ ปี พ.ศ.2552 โรงเรียนดอกลำดวน ปี 2559 โดยได้ทำกิจกรรมส่งเสริมให้ผู้สูงอายุเรียนรู้การดำเนินการร่วมกับเครือข่ายต่างๆที่อยู่ในชุมชน ส่งเสริมบทบาทของชมรมผู้สูงอายุโดยการมีกิจกรรมเป็นเครื่องชักชวนผู้สูงอายุที่มีอายุที่มีอายุยืนยาวและมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ส่วนมากมีการลดภาระจากการทำงานประจำ ทำให้มีเวลาว่างมากขึ้น ซึ่งมีความต้องการเพื่อน และต้องการติดต่อกับคนในสังคม กิจกรรมของชมรมผู้สูงอายุในรูปแบบต่างๆ จะช่วยเติมเต็มในส่วนที่ผู้สูงอายุถูกลดทอนและขาดหายไป ทำให้เกิดความมีชีวิตชีวาให้แก่ผู้สูงอายุ นับเป็นการสร้างความสุขในวัยผู้สูงอายุ แต่สืบเนื่องจากสถานการณ์โรคโควิด-19
ที่ผ่านมา ทำให้การทำกิจกรรมด้านการสร้างสุข สร้างสุขภาพของผู้สุงอายุลดน้อยลง ดังนั้นเทศบาลตำบลลำสินธุ์ซึ่งเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการดูแลสุขภาพของประชาชนทุกกลุ่มวัย
โดยการทำงานร่วมกับหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ เครือข่ายอสม. แกนนำชุมชน วัด โรงเรียน และหน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้อง จึงได้เห็นความสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชนให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงขอเสนอโครงการพัฒนากลไกดูแลสุขภาพผู้สูงอายุตำบลลำสินธุ์ ภายใต้แผนงานร่วมทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาวะในพื้นที่จังหวัดพัทลุง เป็นโครงการหนึ่งที่ใช้กระบวนการมีส่วนร่วมและการรวมกลุ่มของผู้สูงอายุในพื้นที่ตำบลลำสินธุ์ผ่านการดำเนินกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ เพื่อให้มีความรู้การจัดการสุขภาพผู้สูงอายุ เกิดกลไกการขับเคลื่อนการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุในตำบลลำสินธุ์ ปฏิบัติการเพื่อจัดการสุขภาพผู้สูงอายุ รวมทั้งผู้สูงอายุได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง จนเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้มีความรู้การจัดการสุขภาพผู้สูงอายุ
  1. จำนวนกลุ่มเป้าหมายผู้สูงอายุมีความรู้และความตระหนักการจัดการสุขภาพที่เหมาะสมอย่างน้อยร้อยละ 80
  2. ผู้ดูแลผู้สูงอายุมีความรู้และความตระหนักการจัดการสุขภาพ
  3. มีจำนวนผู้ดูแลและผู้สูงอายุมีแผนการจัดการสุขภาพได้อย่างน้อยร้อยละ 80
2 เพื่อให้เกิดกลไกขับเคลื่อนการดูแลผู้สูงอายุในตำบลลำสินธุ์
  1. เกิดคณะทำงานขับเ่คลื่อนการส่งเสริมการจัดการสุขภาพผู้สูงอายุได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  2. เกิดกลไกการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ มีกติกาและแบ่งงานปฏิบัติการอย่างน้อยร้อยละ 20
  3. มีข้อมูลสถานการณ์และการจัดการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุของผู้ดูแลและผู้สูงอายุ
3 เพื่อปฏิบัติการจัดการสุขภาพผู้สูงอายุ
  1. กลุ่มเป้าหมายมีปฏิบัติการปรับเปลี่ยนพฤิตกรรมไม่น้อยกว่า 130 คน ร้อยละ 70 ของกลุ่มเป้าหมาย
  2. ผู้สูงอายุได้มีกิจกรรมแลกเปลี่ยนภูมิปัญญาการจัดการสุขภาพ
  3. กลุ่มเป้าหมายได้รับการดูแลไม่น้อยกว่า 130 คน ร้อยละ 70 และมีผู้ดูแลส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุอย่างน้อย 20 คน
  4. ได้ผู้สูงอายุต้นแบบปรับเปลี่ยนจัดการสุขภาพเหมาะสมอย่างน้อย 20 คน
4 เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดูแลสุขภาพ
  1. จำนวนผู้สูงอายุปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจัดการสุขภาพอย่างน้อย 130 คน
  2. ผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดีขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 70 ของกลุ่มเป้าหมาย
  3. มีกลไกการจัดการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่มีความเข้มแข็ง
5 เพื่อให้มีการบริหารจจัดการโครงการที่มีประสิทธิภาพ

1.เข้าร่วมกิจกรรมของแผนงานร่วมทุนไม่น้อยกว่าร้อยละ80

2.มีรายงานประจำงวด

100.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 226
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลไกปฏิบัติการจากผู้สูงอายุ 18 -
คณะทำงานการจัดการสุขภาพผู้สูงอายุ 21 -
ผู้สูงอายุในพื้นที่ตำบลลำสินธุ์ 187 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 729 106,300.00 31 106,826.15
16 ก.พ. 66 11. พัฒนาศักยภาพผู้รับทุน ปฐมนิเทศโครงการ 1 192.00 192.00
21 เม.ย. 66 4. ประชุม คณะทำงาน ครั้งที่ 1 21 630.00 630.00
11 พ.ค. 66 1. เวทีสร้างความเข้าใจในการขับเคลื่อนโครงการ 60 9,640.00 10,300.00
15 พ.ค. 66 11. จัดทำไวนิลโครงการพัฒนากลไกดูแลผู้สูงอายุตำบลลำสินธุ์ 60 600.00 600.00
17 พ.ค. 66 4. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 2 21 630.00 630.00
23 พ.ค. 66 9. ปฏิบัติการสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุ ครั้งที่ 1 30 1,800.00 1,800.00
24 พ.ค. 66 9. ปฏิบัติการสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุ ครั้งที่ 2 30 1,800.00 1,800.00
25 พ.ค. 66 2. ศึกษาดูงาน ขับเคลื่อนการจัดการสุขภาพผูู้สูงอายุ 52 25,220.00 26,220.00
25 พ.ค. 66 9. ปฏิบัติการสร้างสุขภาวะผู้สูงอายุ ครั้งที่ 3 30 1,800.00 1,800.00
26 พ.ค. 66 7. เพื่อนเยี่ยมเพื่อนโดยกลไกติดตามประเมินผล ครั้งที่ 1 5 0.00 0.00
26 พ.ค. 66 8. เวทีประเมินผลเพื่อการเรียนรู้ และพัฒนา ARE ครั้งที่ 1 30 1,800.00 1,800.00
28 พ.ค. 66 3. ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการรู้การดูแลสุขภาพโดยภูมิปัญญาท้องถิ่นดูแลสุขภาพ ผู้สูงอายุครั้งที่ 1 60 13,500.00 14,000.00
2 มิ.ย. 66 กิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการรู้การดูแลสุขภาพโดยภูมิปัญญาท้องถิ่นดูแลสุขภาพ ผู้สูงอายุครั้งที่ 2 60 13,500.00 13,500.00
12 มิ.ย. 66 ถอดเงินฝากเปิดบัญชีโครงการ 3 100.00 100.00
16 มิ.ย. 66 ประชุมการจัดทำระบบฐานข้อมูลการจัดการสุขภาพผู้สูงอายุครั้งที่ 1 11 4,990.00 4,330.00
19 ก.ค. 66 4. ประชุม คณะทำงาน ครั้งที่ 3 21 630.00 630.00
19 ก.ค. 66 4. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 4 21 630.00 630.00
25 ก.ค. 66 เวทีพัฒนาศักยภาพกลไกปฏิบัติการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ 30 7,200.00 7,200.00
1 ส.ค. 66 ค่าอินเตอร์เน็ตในการดำเนินโครงการ 2 1,548.00 1,974.15
2 ส.ค. 66 11. 11. รายงานในระบบออนไลน์การดำเนินงานโครงการ ครั้งที่ 1 1 1,000.00 1,000.00
10 ส.ค. 66 7. เพื่อนเยี่ยมเพื่อนโดยกลไกติดตามประเมินผล ครั้งที่ 1 5 0.00 0.00
17 ส.ค. 66 7. เพื่อนเยี่ยมเพื่อนโดยกลไกติดตามประเมินผล ครั้งที่ 2 4 0.00 0.00
18 ส.ค. 66 7. เพื่อนเยี่ยมเพื่อนโดยกลไกติดตามประเมินผล ครั้งที่ 3 6 0.00 0.00
21 ส.ค. 66 7. เพื่อนเยี่ยมเพื่อนโดยกลไกติดตามประเมินผล ครั้งที่ 4 8 0.00 0.00
22 ส.ค. 66 ประชุมประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา ARE ครั้งที่ 2 30 1,800.00 1,800.00
2 ต.ค. 66 11. รายงานในระบบออนไลน์การดำเนินงานโครงการ ครั้งที่ 2 1 1,000.00 1,000.00
11 ต.ค. 66 เวทีสรุปบทเรียนการดำเนินงานโครงการและสรุปผลการดำเนินโครงการ 100 13,700.00 12,300.00
17 - 15 ต.ค. 66 11. รายงานในระบบออนไลน์การดำเนินงานโครงการ ครั้งที่ 3 1 1,000.00 1,000.00
30 ต.ค. 66 4. ประชุม คณะทำงาน ครั้งที่ 5 0 630.00 630.00
31 ต.ค. 66 กิจกรรมติดตามและประเมินผลแบบมีส่วนร่วม ARE ครั้งที่ 2 ของแผนงานร่วมทุน 5 960.00 960.00
19 ธ.ค. 66 กิจกรรมรวมพลคนสามวัยปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 20 0.00 0.00

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เกิดคณะทำงานการจัดการสุขภาพผู้สูงอายุ

2.ผู้สูงอายุได้มีกิจกรรมแลกเปลี่ยนภูมิปัญญา

3.ได้ผู้สูงอายุต้นแบบ เขตละ 10 คน

4.ผู้สูงอายุที่ได้รับการดูแล

5.ผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดีขึ้น ร้อยละ 70

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ก.พ. 2566 22:10 น.