stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ การจัดการภัยพิบัติ
ภายใต้โครงการ งานสร้างสุขภาคใต้ ปี 61
ภายใต้องค์กร เครือข่ายฅนสร้างสุข
รหัสโครงการ
วันที่อนุมัติ
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2560 - 31 มีนาคม 2561
งบประมาณ 100,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายไมตรี จงไกรจักร์
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด 8.4221117460834,98.499298095703place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ย. 2560 31 ม.ค. 2561 1 พ.ย. 2560 22 พ.ย. 2561 70,000.00
2 1 ก.พ. 2561 15 มี.ค. 2561 25,000.00
3 16 มี.ค. 2561 31 มี.ค. 2561 5,000.00
รวมงบประมาณ 100,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

  1. ทบทวนข้อเสนอจากหน่วยงานที่มีบทบาทการจัดการภัยพิบัติ 1.1 ทบทวนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๔ พศ.๒๕๕๕ 1.2 ทบทวนประสบการณ์ชุมชนและเครือข่าย ในการเตรียมความพร้อมในจัดการภัยพิบัติที่ผ่านมา ทั้งในและต่างประเทศ เช่นกรณีเหตุการณ์ สึนามิ บ้านน้ำเค็ม จ.พังงา น้ำท่วมนครศรีธรรมราช อำเภอชะอวด ดินโคลนถลม น้ำกัดเซาะชายฝั่ง เป็นต้น 1.3 ศึกษาเอกสาร งานวิจัย กฎเกณฑ์ กฎหมาย ที่ส่งผลต่อการจัดการภัยพิบัติ
    1.4 จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การทำงานร่วมของชุมชน หน่วยงาน อาสาสมัคร เตรียมความพร้อมในการจัดการภัยพิบัติ อย่างมีส่วนร่วม

  2. สถานการณ์ปัญหาของประเด็น สถานการณ์ภัยพิบัติธรรมชาติมีแนวโน้มเกิดบ่อยขึ้นในประเทศไทย ทั้งชนิดที่เกิดขึ้นแบบฉับพลันโดยก่อความเสียหายรุนแรง กับชนิดที่คาดการณ์ได้แต่ก่อความเสียหายอย่างกว้างขวาง รวม ๗ประเภทได้แก่ อุทกภัย-ดินโคลนถล่มพายุหมุนเขตร้อนแผ่นดินไหวสึนามิ มหาอุทกภัย ภัยแล้ง และไฟป่า-หมอกควัน ซึ่งจะสร้างความสูญเสียทั้งต่อชีวิตทรัพย์สิน เศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม คิดเป็นมูลค่ามหาศาลในแต่ละปี การจัดการภัยพิบัติธรรมชาติเป็นงานที่เกินความสามารถที่หน่วยงานรัฐจะบริหารจัดการเพียงลำพังหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง ประกอบกับการดำเนินงานด้านแผนเตรียมความพร้อมแห่งชาติยังมีข้อจำกัด ขาดมาตรการรองรับที่มีประสิทธิภาพ เช่น ระบบแจ้งเตือนภัย การวางแผนป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติอย่างเป็นระบบการฝึกซ้อมของหน่วยงานการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหา การกำหนดการบัญชาการเหตุการณ์ที่มีเอกภาพ และความเข้าใจของบุคลากรในการปฏิบัติงาน ตั้งแต่ในภาวะปกติจนถึงขั้นสถานการณ์วิกฤต ทำให้การบริหารจัดการในสถานการณ์ฉุกเฉินไม่สามารถดำเนินการได้อย่างเป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้รัฐบาลยังไม่มีความชัดเจนในแนวทางการจัดการภัยพิบัติธรรมชาติโดยชุมชนท้องถิ่นเป็นศูนย์กลางและยังขาดแนวนโยบายเฉพาะสำหรับรองรับภัยพิบัติแต่ละประเภท ตลอดจนระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันสาธารณภัย รวมทั้งการใช้ประโยชน์ในที่ดินและการควบคุมอาคารที่ยังไม่สามารถบังคับใช้อย่างได้ผล และยังให้ความสำคัญในเรื่องการจัดการภัยพิบัติโดยชุมชนน้อยเกินไป ขาดการถอดบทเรียนการทำงานในขณะการเกิดภัยพิบัติแต่ละครั้งอย่างเพียงพอที่จะนำไปสู่การปฏิบัติได้ดีขึ้นกับเหตุการณ์ที่คล้ายคลึงกัน ขณะเดียวกัน พบว่าสังคมและชุมชนท้องถิ่น ยังขาดความรู้ ความเข้าใจ เข้าไม่ถึงความซับซ้อนของปัญหาและความหลากหลายของภัยพิบัติธรรมชาติ จนไม่อาจนำมาสู่การกำหนดมาตรการป้องกันและรับมือภัยพิบัติอันเป็นสาธารณภัยได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ที่ผ่านมามีการสนับสนุนการขับเคลื่อนการจัดการภัยพิบัติโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น จาก สสส. และสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ( พอช. ) และมีองค์กรที่ขับเคลื่อนงานที่เป็นรูปธรรม ได้แก่ มูลนิธิชุมชนไท มูลนิธิชุมชนท้องถิ่นพัฒนา ศูนย์การแพทย์ฉุกเฉิน มูลนิธิกระจกเงา มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ ฯลฯ นอกจากนี้ กรุงเทพมหานคร ยังมีการศึกษาวิจัยเรื่องการสื่อสารและการจัดการจราจรกรณีเกิดเหตุภัยพิบัติ UNWOMEN สนับสนุนกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เรื่องการมีส่วนร่วมของผู้หญิงและกลุ่มเปราะบางในการจัดการภัยพิบัติ ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในการจัดเวทีภัยพิบัติอาเซียน รวมทั้งการจัดเวทีทบทวนบทเรียน 10ปี สึนามิ
    ในการประชุมสหประชาชาติระดับโลกว่าด้วยการลดความเสี่ยงภัยพิบัติ ครั้งที่ ๓ ณ เมืองเซนได ประเทศญี่ปุ่น ที่ประชุมจะประกาศรับรองเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมที่สำคัญ ๒ ฉบับ คือ กรอบการดำเนินงานลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ หลังปี ๒๕๕๘ (Post-2015 Framework for Disaster Risk Reduction) ซึ่งเป็นกรอบการดำเนินงานของโลกระยะเวลา ๑๕ ปี ข้างหน้า (พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๗๓)มีเป้าหมายในการสร้างการป้องกันและลดความเสี่ยงภัยพิบัติผ่านภาคเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อลดความสูญเสียจากภัยพิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งประเทศสมาชิกรวมทั้งไทยซึ่งมีพันธกิจที่จะต้องนำกรอบการดำเนินงานมาปรับใช้ให้สอดคล้องกับบริบททางกฎหมาย สังคมและวัฒนธรรมของประเทศและปฏิญญาเซนได (Sendai Declaration) ซึ่งเป็นคำประกาศแสดงเจตจำนงทางการเมืองของประเทศสมาชิกที่จะร่วมให้การสนับสนุนการดำเนินการตามกรอบการดำเนินงานลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติหลังปี ๒๕๕๘ อย่างไรก็ตาม แม้ในระยะที่ผ่านมาจะมีการขับเคลื่อนเรื่องการจัดการภัยพิบัติธรรมชาติโดยชุมชนท้องถิ่นอยู่ในระดับหนึ่งแต่ยังไม่ครอบคลุมทั่วประเทศ กรณีการเกิดแผ่นดินไหวที่จังหวัดเชียงราย น้ำท่วมภาคใต้ต้นปี 2560 น้ำท่วมภาคอีสาน ภาคกลาง ที่ผ่านมาเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนว่า ประเทศไทยนังไม่มีความพร้อมมากพอในการรับมือกับภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้น ดังนั้นการขับเคลื่อนนโยบายและกฎหมายที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานด้านภัยพิบัติ จึงจะต้องมีการดำเนินงานอย่างเป็นจริงเกิดรูปธรรมการทำงานที่สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงทีโดยไม่มีข้อจำกัดในทุกระดับ

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก
  1. ปัจจัยสาเหตุที่เกี่ยวข้อง (ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยอุปสรรค) 3.1 ปัจจัยด้านคน ภาคใต้มีเครือข่ายการจัดการภัยพิบัติโดยชุมชน เช่น เครือข่ายที่มูลนิธิชุมชนไททำงานเครือข่ายที่ พอช.ทำงาน เครือข่ายที่ สสส.ทำงาน และองค์กรอื่นๆที่ทำงานในพื้นที่ภาคใต้ ทั้งภาครัฐและเอกชน โดยมีพื้นทีปฏิบัติการระดับชุมชน ตำบล จังหวัดและมีแกนนำเครือข่ายที่ผ่านประสบการณ์จากผู้ประสบภัย และลุกขึ้นมาเป็นชุมชนเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติ และมากด้วยประสบการณ์ภัยพิบัติที่หลากหลาย 3.2 ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ภาคใต้เป็นภาคเดียวที่เคยผ่านประสบการณ์ภัยพิบัติทุกรูปแบบมาแล้ว ทั้งพายุเกย์ ภูเขาถล่ม สึนามิ น้ำท่วม แผ่นดินไหว และภัยพิบัติอื่นๆ ที่เกิดขึ้นตามต้นทุนทรัพยากร ในพื้นที่ที่หลากหลาย ที่ก่อให้เกิดภัยพิบัติ และสิ่งแวดล้อมที่สมบูรณ์ในภาคใต้ 3.3 ปัจจัยด้านกลไก นโยบายกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยที่ส่งเสริมการเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติโดยชุมชนเป็นฐาน มีแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัยระดับชาติ โดยมีคณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยระดับชาติ จังหวัด อยู่รวมทั้งมีกลไกเครือข่ายภาคประชาชนที่เกิดขึ้น ภายใต้การสนับสนุนงบประมาณ เช่น เครือข่ายการจัดการภัยพิบัติภาคใต้ เครือข่ายชุมชนจัดการภัยพิบัติภาคใต้ เครือข่ายองค์กรชุมชนจัดการภัยพิบัติ เครือข่ายจิตอาสาประชารัฐจัดการภัยพิบัติ เป็นต้น
stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ปัญหาอุปสรรค์ ข้อจำกัด และข้อเสนอเชิงนโยบายในการจัดการภัยพิบัติชุมชน

1.เกิดเครือข่ายภัยพิบัติภาคใต้ 2.เกิดข้อเสนอเชิงนโยบาย

2 2. เพื่อเกิดข้อเสนอเชิงนโยบาย กฎหมายที่สอดคล้องกับการแก้ปัญหาภัยพิบัติ และป้องกันภัยพิบัติโดยชุมชนอย่างยั่งยืน
  1. เกิดข้อเสนอเชิงนโยบาย 2.เกิดชุดความรู้การจัดการภัยพิบัติ 1 ชุด
3 3. เกิดชุดความรู้กรณีศึกษาในการแก้ปัญหาและบริหารจัดการภัยพิบัติโดยชุมชน อย่างน้อย ๑ กรณี
  • เกิดความรู้ภัยพิบัติ 2 กรณีศึกษา
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 0.00 0 0.00
21 - 22 พ.ย. 60 ประชุมจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายภัยพิบัติ ครั้งที่ 1 0 0.00 -
6 ก.พ. 61 ประชุมถอดบทเรียนพื้นที่จัดการภัยพิบัติน้ำท่วม อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช 0 0.00 -
7 ก.พ. 61 ประชุมจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายภัยพิบัติ ครั้งที่ 2 0 0.00 -

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 ต.ค. 2560 13:30 น.