stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ การจัดการปัจจัยเสี่ยง เหล้า บุหรี่ สารเสพติด
ภายใต้โครงการ งานสร้างสุขภาคใต้ ปี 61
ภายใต้องค์กร เครือข่ายฅนสร้างสุข
รหัสโครงการ
วันที่อนุมัติ
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤศจิกายน 2560 - 31 มีนาคม 2561
งบประมาณ 100,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ
ผู้รับผิดชอบโครงการ เจกะพันธ์ พรหมมงคล
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดภาคใต้
ละติจูด-ลองจิจูด 8.9610452220371,99.28258895874place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ย. 2560 31 ม.ค. 2561 1 พ.ย. 2560 16 มี.ค. 2561 70,000.00
2 1 ก.พ. 2561 15 มี.ค. 2561 25,000.00
3 16 มี.ค. 2561 31 มี.ค. 2561 5,000.00
รวมงบประมาณ 100,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถานการณ์ปัญหาของประเด็น ปัจจัยเสี่ยง หมายถึง องค์ประกอบด้านกายภาพ สังคม หรือสถานการณ์ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ ชีวิต หรือทรัพย์สิน หรือสภาพแวดล้อมทางสังคมที่ไม่ปลอดภัย การดำรงชีวิตปัจจุบันมีความเร่งรีบ แข่งขันสูงรวมทั้งสภาพเศรษฐกิจที่บีบรัด ทำให้เกิดสภาพแวดล้อมทางสังคมที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพหลายประการ เช่น ปัจจัยจากอาชาญากรรม ปัจจัยเสี่ยงจากความรุนแรง ปัจจัยเสี่ยงจากอุบัติเหตุ ปัจจัยเสี่ยงทางเพศ ปัจจัยเสี่ยงโรคอุบัติใหม่ ปัจจัยเสี่ยงจากเหล้า บุหรี่ ยาเสพติด ความรุนแรงเป็นต้น ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อสุขภาพหรือพฤติกรรมเสี่ยง หมายถึง การกระทำของบุคคลที่อาจจะส่งผลให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ ชีวิต ทรัพย์สิน มีผลเสียต่อสุขภาพทั้งทางตรงและทางอ้อมและอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ พฤติกรรมเสี่ยงมีดังนี้ 1.พฤติกรรมเสี่ยงด้านสุขวิทยาส่วนบุคคล เช่น การดื่มเหล้า ภาวะเสี่ยงต่อสุขภาพของผู้ที่ดื่มเหล้า ผู้ที่ดื่มเหล้ามีโอกาสเสี่ยงต่อการป่วยเป็นตับแข็งมากกว่าบุคคลทั่วไป ผู้ที่เป็นโรคตับแข็งในปัจจุบันมีสาเหตุมาจากดื่มเหล้ามากกว่าสาเหตุอย่างอื่น พฤติกรรมการดื่มเหล้าที่เป็นอันตรายต่อตับมากคือ ดื่มสมํ่าเสมอ และดื่มในภาวะที่ร่างกายขาดอาหารโปรตีน นอกจากนี้เหล้ายังเป็นอันตรายต่อกล้ามเนื้อหัวใจอีกด้วย การดื่มเหล้ามักจะก่อให้เกิดกรณีวิวาทและทำร้ายร่างกายซึ่งกันและกัน อุบัติเหตุการทำร้ายร่างกายมักมีสาเหตุนำมาจากเหล้า การดื่มเหล้าแล้วเมา ทำให้สูญเสียการควบคุมสติตนเองอาจประกอบพฤติกรรมอื่นๆ ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพตามมา เช่น การข่มขืนกระทำชำเรา การร่วมประเวณีกับหญิงให้บริการโดยขาดการป้องกันโรคเอดส์หรือกามโรค การดื่มเหล้าขณะขับขี่รถยนต์หรือจักรยานยนต์ ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย ซึ่งอันตรายที่เกิดขึ้นนอกจากจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพของตนเองแล้วยังทำให้เกิดอันตรายแก่สุขภาพของบุคคลอื่นและเป็นการสูญเสียทรัพย์สินทั้งของส่วนตัวและส่วนรวมอีกด้วย 2.พฤติกรรมเสี่ยงจากการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม เช่น บุหรี่ ภาวะเสี่ยงต่อสุขภาพของผู้สูบบุหรี่พบว่าทำให้ป่วยเป็นโรคหัวใจ มะเร็งปอดสูงกว่าบุคคลทั่วไป เพศหญิงที่สูบบุหรี่ขณะรับประทานยาคุมกำเนิดจะยิ่งเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมองมากยิ่งขึ้น และถ้าตั้งครรภ์บุตรในครรภ์จะมีน้ำหนักตัวน้อย 3.พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ คือการตอบสนองความต้องการทางเพศเป็นความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพได้ถ้าบุคคลนั้นมีพฤติกรรมทางเพศที่ไม่ถูกต้อง เช่น สำส่อนทางเพศ พฤติกรรมรักร่วมเพศ หรือมีพฤติกรรมทางเพศแบบวิตถาร ซึ่งมีผลกระทบต่อสุขภาพทั้งจากโรคติดเชื้อ เช่น กามโรค โรคเอดส์ หรือร่างกายได้รับบาดเจ็บจากการร่วมเพศ แบบวิตถารหรือรุนแรงถึงขนาดสูญเสียชีวิตจากการฆาตกรรม เพราะความรักและความหึงหวงได้ 4.พฤติกรรมเสี่ยงจากอุบัติเหตุ การขับรถเร็ว มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุสูง และอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นมักจะรุนแรง การขับรถเร็วอาจจะเกิดจากความเร่งรีบ หรือเป็นพฤติกรรมคึกคะนองของวัยรุ่น ทั้ง 2 กรณี เป็นการกระทำที่ตั้งอยู่บนความประมาท ซึ่งเป็นอันตรายและเสี่ยงต่อสุขภาพสูงโดยเฉพาะกับผู้ ที่ไม่ได้คาดเข็มขัดนิรภัย 5.พฤติกรรมเสี่ยงจากการใช้สารเสพติด เช่น การกินยาบ้า ยาบ้าหรือยาขยันมักจะนิยมกันมากในบุคคลที่ทำงานกลางคืนโดยเฉพาะผู้ขับรถบรรทุก เพื่อให้มีชั่วโมงการทำงานมากขึ้น ยาบ้าเป็นยาที่มีส่วนประกอบของแอมเฟตามิน(amphetamine) เมื่อรับประทานเข้าไปจะทำให้รู้สึกกระปรี้กระเปร่า กระฉับกระเฉงสามารถทำงานต่อไปได้ทั้งๆ ที่สภาพจริงๆ ของร่างกายต้องการพักผ่อน ผลของ ยาทำให้เกิดประสาทหลอน มองเห็นทางข้างหน้าเป็นทางแยก จึงมักหักรถเลี้ยวจนทำให้เกิดอุบัติเหตุขึ้น ซึ่งอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นมักจะรุนแรง เป็นอันตรายต่อชีวิตของตนเอง และผู้อื่น สูญเสียทั้งทรัพย์สินส่วนตัว ทรัพย์สินผู้อื่น และทรัพย์สินส่วนรวมได้บ่อยครั้ง
6.พฤติกรรมเสี่ยงด้านความรุนแรง ความรุนแรงหมายถึงการแสดงออกหรือการกระทำโดยเจตนาใช้กำลังกายคำพูดหรืออำนาจข่มขู่ในการต่อต้านตนเอง ผู้อื่น หรือชุมชนซึ่งส่งผลทำให้เกิดการกระทบกระเทือนทั้งทางร่างกายและจิตใจตลอดจนการจำกัดสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล (ข้อมูลจาก : https://sites.google.com/site/lifeskillforhealthdevelopment/home/hnwy-kar-reiyn-ru-thi-1-thaksa-chiwit-ni-kar-phathna-sukhphaph/paccay-seiyng-laea-phvtikrrm-seiyng-thi-mi-phl-tx-sukhphaph)

  1. ปัจจัยสาเหตุที่เกี่ยวข้อง (ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยอุปสรรค) 3.1 ปัจจัยด้านคน สุขภาพวัยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุก็เช่นเดียวกับวัยเด็กที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา การเปลี่ยนแปลงของสุขภาพขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง มีทั้งปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก ปัจจัยเหล่านี้อาจทำให้สุขภาพเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น หรือเลวลงก็ได้ปัจจัยภายในประกอบด้วย องค์ประกอบ 3 อย่างคือ องค์ประกอบทางกาย องค์ประกอบทางจิต และองค์ประกอบทางพฤติกรรมหรือแบบแผนการดำเนินชีวิต ดังนี้
  2. องค์ประกอบทางกาย ได้แก่ องค์ประกอบที่เป็นมาตั้งแต่เกิด และจะเป็นอยู่เช่นนี้ ตลอดไปโดยไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ ได้แก่ พันธุกรรม เพศ เชื้อชาติ อายุและระดับพัฒนาการ
  3. องค์ประกอบทางจิต ร่างกายและจิตใจมีความสัมพันธ์กัน สภาพอะไรก็ตามที่กระทบกระเทือนทางด้านร่างกายก็จะกระทบกระเทือนต่อจิตใจด้วย และสภาพอะไรก็ตามที่กระทบ กระเทือนต่อจิตใจก็จะมีผลให้ร่างกายเจ็บป่วยได้ นอกจากนี้องค์ประกอบทางจิตยังเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมต่างๆ อีกด้วย องค์ประกอบเหล่านี้ได้แก่
    2.1 อัตมโนทัศน์ (self concept) เป็นผลรวมของความรู้สึกนึกคิดและการรับรู้ที่ลึกซึ้งและซับซ้อนที่บุคคลมีต่อตนเอง และมีอิทธิพลอย่างมากในการกำหนดพฤติกรรม คือการที่บุคคลจะแสดงพฤติกรรมอย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับว่าบุคคลนั้นรับรู้เกี่ยวกับตนเองอย่างไร (Snugg, and Combs, 1959, อ้างถึงใน กอบกุล พันธ์เจริญวรกุล 2531 : 77-106) อัตมโนทัศน์ มีความสำคัญต่อสุขภาพอย่างยิ่ง โดยเฉพาะอัตมโนทัศน์ด้านร่างกาย (physical self) ถ้าบุคคลนั้นมองว่าตนเป็นคนมีรูปร่างหน้าตาตี เป็นคนสวย หรือเป็นคนรูปหล่อ ก็จะมีอิทธิพลให้บุคคลนั้นพยายามบำรุงสุขภาพและร่างกายของตนให้อยู่ในสภาพดีต่อไป อัตมโนทัศน์ด้านการยอมรับนับถือตนเอง (self-esteem) การยอมรับนับถือตนเองเป็นการรับรู้เกี่ยวกับคุณค่าของตนเอง บุคคลจะประเมินคุณค่าของตนเองจากลักษณะที่ตนเป็นอยู่และเปรียบเทียบกับลักษณะที่ตนอยากให้ 2.2 การรับรู้ (perception) การที่บุคคลจะมีพฤติกรรมเช่นใดนั้น ขึ้นอยู่กับการรับรู้ของตนต่อสิ่งต่างๆ การรับรู้เกี่ยวกับสุขภาพคือ รับรู้ว่าตนเองมีสุขภาพเช่นไรก็จะมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมที่คนๆ นั้นจะกระทำ คนแต่ละคนมีการรับรู้เกี่ยวกับสุขภาพแตกต่างกัน โดยเฉพาะถ้าฐานะทางเศรษฐกิจต่างกัน จะรับรู้เกี่ยวกับอาการป่วยและตัดสินใจรับการรักษาต่างกัน คนฐานะทางเศรษฐกิจดีจะรับรู้เกี่ยวกับอาการป่วยเร็วกว่า (Koos 1954 quoted in Bradshaw 1988 : 12) 2.3 ความเชื่อ ปกติคนเรามักได้ความเชื่อมาจาก พ่อ แม่ ปู ย่า ตา ยาย หรือผู้ที่เราเคารพเชื่อถือ จะยอมรับฟังโดยไม่ต้องพิสูจน์ ความเชื่อเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิต ความเชื่อเมื่อเกิดขึ้นแล้วมักจะเปลี่ยนแปลงยากความเชื่อด้านสุขภาพ (health belief) คือความเชื่อเกี่ยวกับสุขภาพที่คนแต่ละคนยึดถือว่าเป็นความจริง ความเชื่อดังกล่าวอาจจะจริงหรือไม่จริงก็ได้ บุคคลจะปฏิบัติตามความเชื่อเหล่านี้อย่างเคร่งครัด ไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์เซ่นใดก็ตาม 2.4 เจตคติ เจตคติเป็นความรู้สึกของบุคคลต่อสิ่งต่างๆ อาจเป็นบุคคล สิ่งของหรือ นามธรรมใดๆ ก็ได้ การเกิดเจตคติอาจเกิดจากประสบการณ์ หรือเรียนรู้จากบุคคลใกล้ตัวก็ได้ เจตคติมีผลกระทบต่อสุขภาพ เนื่องจากเป็นสิ่งที่อยู่เบื้องหลังการประพฤติปฏิบัติต่างๆ 2.5 ค่านิยม คือการให้คุณค่าต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ค่านิยมของบุคคลได้รับอิทธิพลมาจากสังคม บุคคลพยายามแสดงออกถึงค่านิยมของตนทุกครั้งที่มีโอกาส ค่านิยมของสังคมใดสังคมหนึ่ง จะมีอิทธิพลต่อการประพฤติปฏิบัติของบุคคลในสังคมนั้นๆ อย่างมาก ค่านิยมที่มีผล กระทบต่อสุขภาพ เช่น ค่านิยมของการดื่มเหล้า สูบบุหรี่ ซึ่งแสดงถึงความมีฐานะทางสังคมสูง ค่านิยมของการเที่ยวโสเภณีว่าแสดงถึงความเป็นชายชาตรี ค่านิยมที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพ คือ ค่านิยมของความมีสุขภาพดี 2.6 ความเครียด (stress) ภาวะเครียดมีผลกระทบต่อสุขภาพทั้งทางด้านบวกและลบทางด้านบวก เช่น ในระยะพัฒนาการของร่างกายและจิตใจตามวัยนั้นก็เป็นการก่อความเครียดแก่ร่างกาย 3.2 ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อสุขภาพที่สำคัญ นอกจากปัจจัยภายในซึ่งเป็นเรื่องของบุคคลแต่ละคนแล้ว ปัจจัยภายนอกนับว่ามีความสำคัญไม่น้อยในแง่ของผลกระทบต่อสุขภาพ ปัจจัยภายนอกอาจแบ่งออกได้ ดังต่อไปนี้
  4. องค์ประกอบทางสังคม แต่ละสังคมประกอบด้วยระบบย่อยหรือสถาบันสังคมที่สำคัญ 6 ระบบคือ ระบบครอบครัวและเครือญาติ ระบบการศึกษา ระบบการสาธารณสุข ระบบเศรษฐกิจและการประกอบอาชีพ ระบบการเมืองและการปกครอง ระบบความเชื่อ หรือสถาบันศาสนา สุขภาพของบุคคลในสังคมจะได้รับอิทธิพลจากระบบต่างๆ เหล่านี้ แต่ละระบบจะกระทบต่อสุขภาพมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ ปทัสถาน (norm) ของสังคมนั้นๆ 1.1 ระบบครอบครัวและเครือญาติ สังคมไทยเป็นสังคมแบบระบบเครือญาติ คือ เครือข่ายทางสังคมมักจะเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันในหมู่ญาติ ญาติผู้ใหญ่เป็นผู้ที่มีอิทธิพลต่อความเชื่อ และพฤติกรรมของบุคคลในครอบครัว ระบบเครือญาตินี้ถือว่าการเจ็บป่วยของบุคคลใดบุคคลหนึ่งไม่ใช่เรื่องเฉพาะตัวของผู้นั้น หากแต่เป็นเรื่องของครอบครัว ญาติพี่น้อง และสังคมที่จะมีส่วนช่วยเหลือและรับผิดชอบ เมื่อบุคคลในครอบครัวป่วย การจะไปรับการรักษาที่ใด และการปฏิบัติตัวขณะป่วยจะต้องทำอย่างไรขึ้นอยู่กับญาติผู้ใหญ่ว่าจะตัดสินใจอย่างไร แม้ว่าการตัดสินใจนั้นตนจะไม่เห็นด้วย แต่ก็จะต้องปฏิบัติตาม ซึ่งมีผลดีในแง่ของจิตใจของผู้ป่วยที่ทุกคนให้ความสำคัญต่อการเจ็บป่วยของตน และคอยให้กำลังใจ ทำให้ผู้ป่วยมีกำลังใจในการรักษาและหายป่วยเร็วขึ้น แต่ถ้าพฤติกรรมที่ต้องปฏิบัตินั้นเป็นการขัดต่อสุขภาพก็จะทำให้เกิดผลเสียขึ้น 1.2 ระบบเศรษฐกิจและการประกอบอาชีพ ระบบเศรษฐกิจของไทยเป็นแบบทุนนิยมและกำลังเปลี่ยนแปลงจากระบบเกษตรกรรมเป็นระบบอุตสาหกรรม การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีผลกระทบต่อสุขภาพอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงลักษณะประชากร คือการย้ายถิ่น และการเปลี่ยนแปลงอื่นๆ ได้แก่ การประกอบอาชีพ สภาพความเป็นอยู่ และวิถีชีวิต ก่อให้เกิดอันตรายแก่สุขภาพทั้งทางกายและทางจิต โดยเฉพาะระบบงานกะ และงานล่วงเวลา ทำให้ต้องปรับตัวอย่างมาก ประกอบกับต้องทำงานในสภาพแวดล้อมที่เสี่ยงต่อสุขภาพ เช่น เสียงดังจากเครื่องจักร ฝุ่นที่เกิดจากกระบวนการผลิต ความร้อนที่เกิดจากการทำงานของเครื่องจักรต่างๆ เป็นต้น รวมทั้งลักษณะงานที่ซ้ำซาก ท่าทางการทำงานที่ผิดธรรมชาติ และอันตรายที่เกิดจาก เครื่องจักร สิ่งเหล่านี้ล้วนมีผลต่อการเจ็บป่วย และสุขภาพอนามัยระยะยาวแก่คนงานทั้งสิ้น ซึ่งจากการศึกษาเกี่ยวกับภาวะสุขภาพพบว่า ยิ่งทำงานนานขึ้น คือนานเกิน 10 ปีขึ้นไป คนงานก็ยิ่งสุขภาพแย่ลง (กุศล สุนทรธาดา และสุรีย์พร พันพึ่ง 2533:249) ระบบอุตสาหกรรมทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงดังนี้ 1.2.1 สภาพความเป็นอยู่ อาจจะอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมกับสุขภาพ เช่นอาศัยอยู่ในชุมชนแออัด หรือไม่มีที่อยู่อาศัยที่แน่นอน ภาวะแวดล้อมในสังคมอุตสาหกรรม จะมีสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษมากขึ้น 1.2.2 วิถีชีวิตต้องเปลี่ยนแปลงไปมีการใช้เทคโนโลยีต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกและเป็นการประหยัดเวลามากขึ้น สิ่งเหล่านี้ดูเหมือนจะเป็นผลดีต่อสุขภาพ แต่จริงๆ แล้วกลับทำให้ร่างกายมีสมรรถภาพในการทำงานลดลง เพราะเครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆ ทำให้ร่างกายมีการใช้กำลังงานลดลงทำให้หัวใจ ปอด หลอดเลือด กระดูกและกล้ามเนื้อ ไม่มีความแข็งแรงพอ สิ่งเหล่านี้ทำให้ภาวะสุขภาพเปลี่ยนแปลงไป ระบบเศรษฐกิจมีความสำคัญต่อสุขภาพมาก ความพร้อมในการปฏิบัติตามคำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ การดูแลสุขภาพจะแตกต่างกันไประหว่างกลุ่มที่มีรายได้สูงกับกลุ่มที่มีรายได้ตํ่า ผู้ที่มีฐานะยากจน มักจะไม่ค่อยให้ความสำคัญกับการป้องกันโรค โดยจะไม่ ยอมเสียเวลาไปกับกิจกรรมเหล่านั้นแต่จะให้ความสำคัญของการประกอบอาชีพและรายได้มากกว่า จึงมีผลกระทบต่อสุขภาพในลักษณะวงจรแห่งความชั่วร้าย คือ จน-เจ็บ-โง่ อยู่ต่อไป 1.3 ระบบการเมืองและการปกครอง เป็นระบบที่ให้อิสระแก่ประชาชนที่จะกำหนดภาวะสุขภาพของตนเอง โดยรัฐให้การสนับสนุนและให้ความช่วยเหลือทางด้านต่างๆ เพื่อความมีสุขภาพดี แต่เนื่องจากปัญหาสุขภาพเป็นสิ่งที่ประชาชนจะต้องปฏิบัติด้วยตนเองจึงจะแก้ปัญหาได้ ปัจจุบันรัฐจึงให้ความสำคัญเกี่ยวกับการเปลี่ยนพฤติกรรมของประชาชนให้เป็นไปในทางที่ถูกต้อง เพื่อให้ประชาชนเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีสุขภาพแข็งแรง พร้อมที่จะปฏิบัติภารกิจต่างๆ ได้ ในทางตรงข้ามถ้าระบบการเมืองและการปกครองมุ่งแสวงหาอำนาจ หรือมุ่งจะพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจอย่างเดียวโดยไม่คำนึงถึงคุณภาพของประชาชนย่อมจะมีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนอย่างแน่นอน ระบบการเมืองและการปกครองจึงมีผลกระทบต่อสุขภาพ 1.4 ระบบความเชื่อหรือสถาบันศาสนา ระบบความเชื่อเป็นวัฒนธรรมที่ถ่ายทอดผ่านระบบครอบครัว และสังคม การปฏิบัติตามความเชื่อและค่านิยม ทำให้คนรู้สึกปลอดภัยในการดำรงชีวิต ความเชื่อจึงเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงค่อนข้างยาก การท้าทายต่อความเชื่อและค่า นิยมเก่าของคนยุคใหม่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้ง ไม่มั่นคง ไม่แน่ใจ คนส่วนใหญ่จึงหลีกเลี่ยงที่จะต้องเผชิญกับความขัดแย้งนี้ ระบบความเชื่อมีอิทธิพลต่อสุขภาพของประชาซนในสังคมนั้น เป็นอย่างมากเพราะความเชื่อเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมของบุคคล กิจกรรมทางศาสนาบางอย่าง อาจมีผลกระทบต่อสุขภาพได้ เช่น การรับประทานอาหารมื้อเดียว การงดอาหารบางประเภท การนั่งท่าเดียวเป็นเวลานานๆ สถาบันศาสนามีอิทธิพลต่อสุขภาพจิตของคนไทยมากโดยเฉพาะผู้สูงอายุ เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ผู้สูงอายุไทยมีสุขภาพจิตที่ดี และปรับตัวเข้ากับวัยสูงอายุได้ดี โดยมีสถาบันศาสนาเป็นที่ยึดเหนี่ยวทางใจ
  5. องค์ประกอบทางสิ่งแวดล้อม มนุษย์มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับสิ่งแวดล้อม ปัจจัยอะไรก็ตามที่ทำให้สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไป จะกระทบต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของมนุษย์ด้วยองค์ประกอบที่สำคัญของสิ่งแวดล้อม ได้แก่ 2.1 สภาพทางภูมิศาสตร์ ลักษณะภูมิศาสตร์ที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดฤดูกาลแตกต่างกันและอุณหภูมิของแต่ละพื้นที่แตกต่างกัน ซึ่งมีผลกระทบต่อสุขภาพของบุคคลโดยตรง สภาพภูมิศาสตร์บางแห่งเอื้ออำนวยให้สิ่งมีชีวิตบางอย่างเจริญเติบโตได้ดี เช่น ประเทศไทย ซึ่งอยู่บริเวณแถบศูนย์สูตร มีโรคเวชศาสตร์เขตร้อนนานาชนิดเกิดขึ้นกับประชาชน โรคเหล่านี้ ได้แก่ โรคพยาธิต่างๆ ไข้มาลาเรีย ซึ่งประเทศในเขตหนาวจะไม่ประสบกับปัญหาสุขภาพเหล่านี้ นอกจากนี้สภาพภูมิศาสตร์ ยังก่อให้เกิดภัยธรรมชาติต่างๆ เช่น นํ้าท่วม แผ่นดินไหว พายุ ทำให้เกิดบาดเจ็บและตายเป็นจำนวนมาก http://www.healthcarethai.com/%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%9A%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E/) 3.3 ปัจจัยด้านกลไก
  6. ระบบการศึกษา ระบบการศึกษาที่จัดให้แก่บุคคลในสังคมจะมีผลต่อสุขภาพของบุคคลในสังคมเช่นเดียวกัน การศึกษาที่ให้ความสำคัญของการดูแลสุขภาพจะช่วยให้เยาวชนมีพฤติกรรมเกี่ยวกับสุขภาพต่างๆ อย่างถูกต้อง เช่น การรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การป้องกันอุบัติเหตุ พฤติกรรมเหล่านี้จะติดตัวเป็นลักษณะนิสัยที่ก่อให้เกิดผลดีต่อสุขภาพเมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุต่อไป และเมื่อออกจากระบบโรงเรียน การศึกษานอกระบบก็จะมีผลต่อพฤติกรรมของประชาชน เป็นการให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสุขภาพ ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตน การดูแลสุขภาพเมื่อเจ็บป่วย สิ่งเหล่านี้จะก่อให้เกิดผลดีแก่สุขภาพ แต่ถ้าระบบการศึกษาไม่ได้ให้ความสำคัญต่อสุขภาพก็จะเกิดผลเสียแก่สุขภาพได้ นอกจากนี้ ระดับการศึกษาของแต่ละคนยังเป็นตัวกำหนดมาตรฐานการดำรงชีวิตอีกด้วย
  7. ระบบสาธารณสุข ระบบการสาธารณสุขไทยมีทั้งระบบบริการโดยรัฐและบริการโดยเอกชน ปัจจุบันรัฐได้พยายามกระจายบริการสาธารณสุขให้ครอบคลุมประชากรทั่วประเทศ โดยคัดเลือกผู้สื่อข่าวสาธารณสุข และอาสาสมัครสาธารณสุข เข้ามาช่วยปฏิบัติงานในชุมชนของตนเอง เป็นรูปแบบที่พยายามสนับสนุนและช่วยให้ประชาชนช่วยเหลือตนเองและเพื่อนบ้านเกี่ยวกับการดูแลรักษาโรคหรือการเจ็บป่วยที่จำเป็น การรู้จักระวังป้องกันโรคติดต่อที่สำคัญ โดยเชื่อว่าระบบดังกล่าวจะช่วยให้สุขภาพอนามัยของประชาชนดีขึ้นกว่านโยบายแบบเดิมที่รัฐให้บริการโดยให้ความสำคัญกับการรักษาเมื่อเจ็บป่วยมากกว่าการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค 3.ระบบการบังคับใช้กฎหมายเพื่อควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ เช่น เหล้า บุหรี่ ยังมีการดำเนินงานที่ยังไม่เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และยังขาดการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนการเฝ้าระวังและสนับสนุนกลไกการบังคับใช้ 4.ระบบสุขภาพในพื้นที่ ที่ยังขาดการบูรณาการอย่างเป็นระบบ ซึ่งในปัจจุบันเริ่มมีหน่วยจัดการกลางระดับอำเภอคือ DHB ซึ่งอยู่ระหว่างการเริ่มต้น แต่ก็ยังไม่ชัดว่าจะสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

ชง ทบทวนข้อเสนอ ปี 59 ชวน คน/เครือข่ายที่มีใจ ช่วย ถอดบทเรียน แชร์ สื่อสารสาธารณะ ชี้ สังเคราะห์บทเรียน โชว์ - งานสร้างสุข

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเสริมศักยภาพภาคีเครือข่ายทั้งเชิงพื้นที่และเชิงประเด็นให้มีการดำเนินงานเชื่อมกับระบบสุขภาพในพื้นที่

 

2 เพื่อให้ระบบสุขภาพในภาคใต้มีการดำเนินการด้านการลดปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพครอบคลุมทั้งระดับ เขต จังหวัด อำเภอ ตำบล ชุมชน

 

stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 0.00 0 0.00
6 ม.ค. 61 ประชุมสรุปข้อมูลรับฟังความเห็น ทำฐานข้อมูลเครือข่าย กำหนดผู้เกี่ยวข้อง 0 0.00 -
20 - 21 ม.ค. 61 ประชุมแกนประสาน 14 จังหวัด เครือข่ายความมั่นคงของมนุษย์ด้านการลดปัจจัยเสีี่ยง 0 0.00 -
4 มี.ค. 61 ประชุมแกนประสาน 14 จังหวัด เครือข่ายความมั่นคงของมนุษย์ด้านการลดปัจจัยเสี่ยงครั้งที่ 2 0 0.00 -
16 มี.ค. 61 ประชุมถอดบทเรียน เครือข่าย 4 ส่วน(ประชาสังคม วิชาการ รัฐ สื่อ) 0 0.00 -

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 ต.ค. 2560 13:34 น.