directions_run

คอตัมอัลกุรอาน สร้างเยาวชนและครอบครัวรักสันติ

แบบการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ (Process Evaluation)

กิจกรรมระยะเวลาเป้าหมาย/วิธีการผลการดำเนินงานปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
ตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริง
กิจกรรมประชุมหารึ 16 ส.ค. 2560 16 ส.ค. 2560

 

จะลงรายละเอียดอีกครั้ง

 

จะลงรายละเอียดอีกครั้ง

 

1.ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่1. 17 ก.ย. 2560 17 ก.ย. 2560

 

ประชุม เสนอและจะพิจารณา 3.1 การพิจารณา กำหนดวันจัดงานคอตัมอัลกุรอาน มติ กำหนดให้จัดวันที่ 23 พฤศจิกายน 2560 3.2 พิจารณาขอรับเงินอุดหนุนภาคประชาสังคม ตามโครงการขับเคลื่อนการมีส่วน ร่วมของภาคประชาสังคมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนา จชต. งบกลางประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 มติเราควรขอรับเงินอุดหนุนภาคประชาสังคมด้วยเพื่อจัดงานนี้ เพราะงานนี้จะสร้าง เยาวชนให้รักการศึกษาสันติภาพ โดยเฉพาะการเรียนอัลกุรอาน และการจัดงานภาคเวทีโดยเชิญผู้รู้มาบรรยายและทำพิธีคอตัมอัลกุรอาน และที่ประชุมได้เห็นชอบให้ตั้งชื่อโครงการว่า (โครงการคอตัมอัลกุรอานสร้างเยาวชนและครอบครัวรักสันติ) และยื่นเสนอของบประมาณดังกล่าว 3.3 พิจารณาการแต่งตั้งคณะทำงาน มติ แต่งตั้งคณะกรรมการดังนี้ 1.นายสะการิยา บาราเฮงประธาน2.นายอัสมีสาหลำ3.นายคอยรุลบุรฮาน บาราเฮง 4.นางสาวรอฮานี เจะสนิ 5.นายดอเลาะบาราเฮง 6.นางมาเรียม บาราเฮง 7. นางสาวรอกีเยาะ มะนอ8นางสาว นาปีเซาะ ดาเร็ง. 9.นางสาว ฮาดีบะ บาราเฮง 10.นางสาวยูมูบิงเลขานุการ

 

กำหนดให้จัดจัดงาน(โครงการคอตัมอัลกุรอานสร้างเยาวชนและครอบครัวรักสันติ) วันที่ 23 พฤศจิกายน 2560

 

ติดต่อประสานงาน 17 ก.ย. 2560 17 ก.ย. 2560

 

ไปติดต่อทำสัญญารับเงินอุดหนุน จากศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ยะลา

 

ทำสัญญารับเงินอุดหนุนกับศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ยะลา

 

กิจกรรมประชุมคณะทำงาน ครั้งที่2 20 ก.ย. 2560 20 ก.ย. 2560

 

  1. การพิจารณา สถานที่จัดงาน
  2. พิจารณาพิจารณาผู้รู้มาบรรยาย
  3. การพิจารณา จัดเตรียมสถานที่จัดงาน
  4. พิจารณาการแบ่งหน้าที่ทำงาน

 

3.1 การพิจารณา สถานที่จัดงาน มติ  ถ้าได้งบกำหนดให้จัดจัดที่ลานหน้าสถาบันปอเนาะบัยตุลอิฮซาน
3.2 พิจารณาพิจารณาผู้รู้มาบรรยาย มติ  ได้เสนออาจารย์หลายคนแต่ได้ตกลงรับอาจารย์4คนดังนี้ 1. อาจารย์ บริพัตร  มัสอา  ทำกิจกรรมเยาชน
2. อาจารย์ดร.อับดุลเลาะ ยีเลาะ ประธานเปิดพิธี 3. อาจารย์อุสมาน แม  บรรยาย
4. อาจารย์ผศ.ดร. มูฮัมหมัด  คอยา  ทำพิธีคอตัมอัลกุรอาน 3.3 การพิจารณา จัดเตรียมสถานที่จัดงาน มติ  นัดให้ผู้ปกครองนักเรียนมาจัดเตรียมความพร้อมที่ลานหน้าสถาบันปอเนาะบัยตุลอิฮซาน ให้มาพร้อมเพรียงกันทีสถาบันในวันที่ 22 กันยายน 2560 เวล 16.30น
3.4 พิจารณาการแบ่งหน้าที่ทำงาน มติ  พิจารณาแต่งตั้ง
1. ด้านเวที  ให้ประธานรับผิดชอบ
2. ผู้รับผิดชอบด้านอาหารและการจัดซื้อ/จัดจ้าง จำนวน 3 คน ประกอบด้วย 2.1  นายคอรุดดีนบุรฮาน บาราเฮง
2.2 . นายอัสมี  สาหลำ 2.3 นายดอเลาะ บาราเฮง

3. ผู้รับผิดชอบในการตรวจรับวัสดุอุปกรณ์ จำนวน 3 คน ประกอบด้วย

3.1 นางสาวยู            มูบิง
3.2. นางรอกีเยาะ มะนอ
3.3. นางมาเรียม  บาราเฮง
4. ผู้รับผิดชอบในการเบิกจ่ายเงินและจัดทำบัญชี จำนวน 3 คน ประกอบด้วย 4.1. นางสาวรอฮานี เจะสนิ
4.2 นางสาวฮาดีบะ บาราเฮง
4.3 นางสาว นาปีเซาะ  ดาเร็ง

 

ซื้ออุปกรณ์จัดกิจกรรม และประสานงาน 20 ก.ย. 2560 20 ก.ย. 2560

 

  1. เดินทางไปซื้อของ และเรียนเชิญวิทยากรบรรยาตามที่ได้รับมอบหมาย

 

1.ได้ของรางวัลเพื่อจัดกิจกรรม 2. ได้ติดต่อประสานงานกับ อาจารย์ ดังนี้ 2.1. อาจารย์ บริพัตร  มัสอา  ทำกิจกรรมเยาชน
2.2. อาจารย์ดร.อับดุลเลาะ ยีเลาะ ประธานเปิดพิธี 2.3. อาจารย์อุสมาน แม  บรรยาย
2.4. อาจารย์ผศ.ดร. มูฮัมหมัด  คอยา  ทำพิธีคอตัมอัลกุรอาน

 

ประชุมครั้งที่ 3 22 ก.ย. 2560 22 ก.ย. 2560

 

ระเบียบวาระที่ 2  เรื่องสืบเนื่อง จากที่ประชุมครั้งที่แล้วสถาบันฯจะจัดงานคอตัมอัลกุรอานให้นักเรียนในวันที่ 23 กันยายน 2560  เราได้ประชุมแล้ว และขอให้ทุกฝ่ายรายงายความคืบหน้าและความพร้อม 2.1 ฝ่ายเวทีและพิธีการ ประธานได้ประสานผู้ยาย ผู้เปิดพิธี และสับซ้อมนักเรียนที่คอตัมอัลกุรอานแล้ว
2.2 ฝ่ายอาหารและการจัดซื้อ/จัดจ้าง ได้ซื้อของตามรายการหมดแล้ว เช่น รางวัล อาหารสด น้ำ และอาหารว่าง  ทุกอย่างพร้อม 2.3 ฝ่ายตรวจรับวัสดุอุปกรณ์ ได้ตรวจสอบแล้วผ่าน  ทุกอย่างพร้อม 2.4 ฝ่ายเบิกจ่ายเงินและจัดทำบัญชี ได้จ่ายเงินสำรองจ่ายตามจำนวนที่กำหนดไว้เรียบร้อยแล้ว 2.5 นัดให้ผู้ปกครองนักเรียนมาจัดเตรียมความพร้อมที่ลานหน้าสถาบันปอเนาะบัยตุลอิฮซาน ให้มาพร้อมเพรียงกันทีสถาบันในวันนี้ วันที่ 22 กันยายน 2560 เวลา 16.00น ระเบียบวาระที่ 3 ข้อเสนอที่จะพิจารณา พิจารณาการจัดชุดทำงานในวันจัดงาน มติ  พิจารณาแต่งตั้ง นางสาวคอรีเยาะ วาเล็ง  จ้างให้รับเหมาจัดชุดทำงาน รวม10 คน เพื่อจัดการด้านอาหาร  ดูแลความเรียบร้อยและปฏิบัติงานในวันจัดกิจกรรม คือวันที่23 กันยายน 2560

 

ได้รับมติการประชุม ฝ่ายเวทีและพิธีการ ประธานได้ประสานผู้ยาย ผู้เปิดพิธี และสับซ้อมนักเรียนที่คอตัมอัลกุรอานแล้ว
2.2 ฝ่ายอาหารและการจัดซื้อ/จัดจ้าง ได้ซื้อของตามรายการหมดแล้ว เช่น รางวัล อาหารสด น้ำ และอาหารว่าง  ทุกอย่างพร้อม 2.3 ฝ่ายตรวจรับวัสดุอุปกรณ์ ได้ตรวจสอบแล้วผ่าน  ทุกอย่างพร้อม 2.4 ฝ่ายเบิกจ่ายเงินและจัดทำบัญชี ได้จ่ายเงินสำรองจ่ายตามจำนวนที่กำหนดไว้เรียบร้อยแล้ว 2.5 นัดให้ผู้ปกครองนักเรียนมาจัดเตรียมความพร้อมที่ลานหน้าสถาบันปอเนาะบัยตุลอิฮซาน ให้มาพร้อมเพรียงกันทีสถาบันในวันนี้ วันที่ 22 กันยายน 2560 เวลา 16.00น

พิจารณาแต่งตั้ง นางสาวคอรีเยาะ วาเล็ง  จ้างให้รับเหมาจัดชุดทำงาน รวม10 คน เพื่อจัดการด้านอาหาร  ดูแลความเรียบร้อยและปฏิบัติงานในวันจัดกิจกรรม คือวันที่23 กันยายน 2560

 

กิจกรรมเตรียมอุปกรณ์เพื่อจัดโครงการ 22 ก.ย. 2560 22 ก.ย. 2560

 

ให้กรรมการคนหนึ่งไปซื้อวัสดุอุปกรณ์

 

  1. หนังสืออิสลามศาสนาแห่งสันติภาพ 250เล่ม
  2. อุปกรณ์และเครื่องปรุงอาหาร
  3. ป้ายไวนิล 2ผืน

 

โครงการคอตัมอัลกุรอานสร้างเยาวชนและครอบครัวรักสันติ 23 ก.ย. 2560 23 ก.ย. 2560

 

กำหนดการ โครงการคอตัมอัลกุรอานสร้างเยาวชนและครอบครัวรักสันติ
(สถาบันศึกษาปอเนาะบัยตุลอิฮซาน(บ้านส้ม) ม.3 ต.ควนโนรี อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี) 23 กันยายน 2560 ลงทะเบียน 09.50 - 10.00 อานาชีด อาสาสมัคร 10.00 – 10.30  น้องๆสถาบันศึกษาปอเนาะบัยตุลอิฮซาน ขับร้องอนาชีด
กิจกรรมเยาวชนคือบุคคลสำคัญ โดยอาจารย์บริพัตร มัสอา 11.30 – 12.30 ซอลาตซุฮรี 12.30 รับประทานอาหาร 12.50 กล่าวต้อนรับ โดยท่านอีหม่าม อับดุลรอมัน    เสนสนา 13.00
เปิดพิธีโดยการอ่านอัลกรุอาน โดยน้องอัลฮาฟีซ ด.ช.อับดุลบาซีร สาหลำ 13.15 กล่าวกล่าวเปิดพิธีและนาซีฮัต โดย ดร.อับดุลเลาะ ยีเลาะ ผอ.โรงเรียนซอลีฮียะห์ 13.20 – 13.30 กิจกรรมสันติภาพที่โรฮิงยา โดย เยาวชนซอลีฮียะห์ อนาซีด1 โดยกลุ่มเยาวชนบัยตุลอิฮซาน 13.30 - 13.40 ฟังการบรรยายเรื่อง เยาวชสดใส ครอบครัวสุขสรรค์ โดย อาจารย์อุสมาน แม  ผ.อ.โรงเรียนบ้านดอนวิทยา 13.35 -14.10
ฟังอ่านอัลกรุอานรับเชิญ โดยน้องบาชีร  บาราเฮง 14.10 อนาซีด2 โดยกลุ่มเยาวชนบัยตุลอิฮซาน 14.15 มอบรางวัลแก่นักเรียน 14.20 พิธีคอตัมอัลกุรอาน และบรรยายครอบครัวสันติสุขด้วยอัลกุรอาน โดย ผศ.ดร. มูฮัมหมัด คอยา ผ.อ.ศูนย์อัลกุรอาน มหาวิทยาลัยฟาฏอนี 14.20 - 15.30 กล่าวปิดพิธี......และซอลาตอัสรีร่วมกันที่อาคารบัยตุลอิฮซาน 15.20 – 15.50

 

ผลได้รับและตัวชี้วัดความสำเร็จ 1 ผลได้รับ 1.1 เยาวชนและครอบครัวรักการศึกษา 1.2 เยาวชนและครอบครัวเข้าใจหลักสันติภาพและขับเคลื่อนวิถีสันติในการดำเนินชีวิต 1.3 เยาวชนมีครอบครัวมีความอบอุ่น คุณภาพชีวิตที่ดีและมั่งคงอย่างยั้งยืน 1.4 เยาวชนและครอบครัวเป็นพลังมาสนับสนุนภาครัฐบาลในการขับเคลื่อนกระบวนการสันติภาคในภูมิภาคชายแดนภาคใต้

2 ผลที่ได้รับเชิงปริมาณ ประมาณร้อยละ 85% ของผู้เข้าร่วมโครง สามารถเข้าใจบริบทการอยู่ร่วมกันอย่างสันติวิถี
ชาวบ้านและเยาวชนมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมและสานความรักซึ่งกันและกัน ซึ่งจะมาสร้างความสันติในการอยู่ร่วมกันในชุมชน 3 ผลที่ได้รับเชิงคุณภาพ สังคมรักการศึกษาและพร้อมอยู่ร่วมกันอย่างสันติในชุมชน มีการเอื้อเฟื้อซึ่งกันและกัน มีครอบครัวมีความอบอุ่น คุณภาพชีวิตที่ดีและมั่งคงอย่างยั้งยืน ความปรองที่เกิดในหมู่ผู้ปกครองที่เข้าร่วมโครงการ

 

กิจกรรมที่1 เยาวชนคือบุคคลสำคัญ โดยอาจารย์บริพัตร มัสอา 23 ก.ย. 2560 23 ก.ย. 2560

 

กิจกรรมเยาวชนคือบุคคลสำคัญ โดยอาจารย์บริพัตร  มัสอา
เป็นการบรรยายเชิงเเสดงความสามารถของเยาวชน

 

เรื่องราวที่ใช้บรรยาย

ในขณะที่ประชาชาติกำลังขาดแคลนบุคลากรที่ สามารถยกระดับตนเองสู่ความเป็นเลิศและอัจฉริยะในทุกๆด้าน แต่บทความและหนังสือของเราในปัจจุบันนี้กลับให้ความสำคัญกับเรื่องการสอน เยาวชนของเราให้เลิกฟังเพลง เลิกสูบบุหรี่ ยาเสพติด ภาพยนตร์ ละครและสื่อลามกต่างๆ ซึ่งยังไม่เป็นที่พอเพียงหากเราต้องการยกระดับคุณภาพของเยาวชนมุสลิมสู่ความ เป็นเลิศ แท้จริงแล้ว เยาวชนหนุ่มสาวของเราควรที่จะหลีกเลี่ยงจากสิ่งเหล่านั้น ก้าวกระโดดในการเปลี่ยนแปลงตนเอง พร้อมทั้งยกระดับตัวเองให้สูงขึ้น เพื่อจะได้เป็นแบบอย่างที่ดีต่อมนุษยชาติ และความเจริญก้าวหน้าให้กับศาสนาและประชาชาติอิสลามสืบไป เราต้องการเยาวชนหนุ่มสาวที่มีศักยภาพและความสามารถในการทำงานทั้งทางด้านศาสนาและสังคม เราต้องการเยาวชนหนุ่มสาว ที่มีคุณภาพและพรสวรรค์แขนงต่างๆ ในการเผยแผ่และทำงานเพื่อศาสนาในทุกๆด้าน ทั้งการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ สังคม ทหาร และอื่นๆ เพื่อที่พวกเขาจะได้เผย แผ่ศาสนาของอัลลอฮฺ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา สอนประชาชาติในเรื่องศาสนาและการดำเนินชีวิต รวมทั้งเรียกร้องสิทธิของพี่น้องมุสลิมในทุกสถานที่ ทั่วทุกมุมโลก เป็นสิ่งที่น่าเศร้าที่เรายังขาดแคลนเยาวชน ที่มีศักยภาพและความเป็นเลิศในแทบจะทุกๆด้าน จนมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่เราต้องเริ่มต้นค้นหาเยาวชนเหล่านี้ พร้อมทั้งผลักดันสนับสนุนให้พวกเขาแสดงศักยภาพที่มีอยู่ในตัวออกมา  ฉะนั้นหนังสือเล่มนี้จึงเป็นความพยายามที่จะทำให้การก้าวกระโดดดังกล่าวนั้น ประสบความสำเร็จ ในอันที่จะพัฒนาเยาวชนหนุ่มสาวของเราในประเทศไทย บทความนี้ได้รับการแปลเป็นภาษาไทยโดย คุณอัดนาน ฮารูน นาแซ อันเป็นความพยายามของผู้เขียนและผู้แปลที่จะมีส่วนร่วมและมีบทบาทในการยก ระดับเยาวชนหนุ่มสาวในปัจจุบัน เพื่อให้เกิดเยาวชนที่ประสบชัยชนะ ที่เราทุกคนได้คาดหวังไว้ต่อประชาชาติอิสลามทั้งมวล วัลฮัมดุลิลลาฮฺ มวลการสรรเสริญและการขอบคุณเป็นของอัลลอฮฺ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ผู้ทรงอธิบาลแห่งสากลจักรวาลทั้งมวล ริฎอ อะหมัด สมะดี มุฮัรรอม 1427 กุมภาพันธ์ 2549
Average: 3.5 Your rating: None Average: 3.5 (6 votes) ความจำเป็นของประชาชาติในการปลูกฝังสั่งสอนและยกระดับคุณภาพเยาวชนหนุ่มสาว


หลังจากการล่มสลายของอาณาจักรคิลาฟะฮฺอุษมานียะฮฺ(หรือออตโตมัน)แล้ว ประเทศคริสต์ที่ได้วางแผนและพยายามล้มระบบคิลาฟะฮฺดังกล่าวทั้งหลาย ประเทศตะวันตกต่างก็คิดว่าศาสนาอิสลามนั้นได้จบสิ้นแล้ว และมุสลิมจะไม่มีวันลุกขึ้นมายืนหยัดได้ต่อไปอีก


ซึ่งแท้จริงแล้ว ความพยายามของพวกเขานั้นยาวนานมากกว่าหนึ่งศตวรรษ  โดยเริ่มจากการล่าอาณานิคมของฝรั่งเศสต่อประเทศอียิปต์และจบลงด้วยการประชุม “โลซาน” อันเป็นการประชุมที่ประเทศมหาอำนาจได้บังคับให้ยกเลิกระบบคีลาฟะฮฺซึ่งเป็น ข้อแม้ในการรับรองอิสรภาพของประเทศตุรกี หลังจากที่ตุรกีถูกทำลายล้างโดยสงครามที่ได้ถูกวางแผนมาเพื่อขัดขวางการเป็น มหาอำนาจของตุรกี


ประเทศคริสต์ไซออนิสต์เหล่านี้ไม่ได้เพียงแค่ทำลายระบบการเมือง(ซึ่งหมายถึงการไม่มีอำนาจรัฐที่คอยปกป้องผลประโยชน์ของประชาติ อิสลามแล้ว)เท่านั้น แต่ยังได้พยายามทำลายศรัทธาและความเป็นอันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของมุสลิม ในทั่วทุกมุมโลกที่อยู่ภายใต้ศาสนาอันเดียวกัน กิบลัตและอิบาดะฮฺอันเดียวกัน โดยการสร้างระบบศาสนาใหม่ภายใต้แนวคิดความเจริญและความทันสมัยให้กับมุสลิม (ระบบแบ่งแยกอาณาจักรออกจากศาสนจักรหรือเซอร์คิวล่า) ซึ่งระบบนี้ทำให้มุสลิมคิดว่าพวกเขาได้ยึดมั่นในศาสนาที่ถูกต้องแล้ว จนกระทั่งแนวคิดนี้ได้แบ่งแยกศาสนาออกจากการปกครองและเศรษฐกิจ และจำกัดศาสนาให้เป็นเพียงเรื่องของการทำอิบาดะฮฺ อีกทั้งยังหันเหมุสลิมออกจากการให้ความสำคัญกับด้านอื่นๆของศาสนา เช่น มุอามะลาต(การปฏิบัติซึ่งกันและกัน) จีนายาต(ระบบการการลงโทษ) การเมืองและอื่นๆ


หลังจากการล่มสลายด้านการเมืองการปกครอง ตามด้วยการล่มสลายทางด้านความศรัทธา(อะกีดะฮฺ) จรรยามารยาท รวมไปถึงแนวคิดและสังคม ซึ่งเป็นที่ประจักษ์อย่างชัดเจนแล้วว่า ดังกล่าวนี้เป็นแผนการของกลุ่มมหาอำนาจในการที่จะทำให้สังคมมุสลิมมีแบบแผน ตามอย่างตะวันตกในทุกๆด้าน


ไม่เพียงเท่านั้น แต่แผนการดังกล่าวยังได้พยายามเผยแพร่และชักจูงมุสลิมในประเทศอิสลามให้ นับถือศาสนาคริสต์ ซึ่งการเผยแพร่ศาสนาคริสต์ดังกล่าวเป็นแผนอันสกปรกเลวร้ายคล้ายกับแผนการล่า อาณานิคม ซึ่งสองสิ่งนี้(การเผยแพร่คริสต์และการล่าอาณานิคม)เปรียบเสมือนเป็นสิ่ง เดียวกัน


และที่ใกล้เคียงกับแผนในการเผยแพร่ศาสนาคริสต์ดังกล่าวคือ ประเทศมหาอำนาจเหล่านี้ยังมีแผนการด้านวัฒนธรรมในการดึงดูดสมองและแนวคิดของ มุสลิม โดยการเปลี่ยนแปลงแนวคิดให้หันเหไปจากหลักการอันบริสุทธิ์(นั่นคืออัลกุรอ่านและซุนนะฮฺของท่านศาสดา) จนเกิดแนวการศึกษาบูรพาคดี(นั่นคือการศึกษาวัฒนธรรมชาวตะวันออกหรืออิสลาม โดยชาวตะวันตก) ซึ่งได้แพร่หลายในมหาวิทยาลัยของประเทศอิสลามเป็นอย่างมากทั้งในด้านผู้ ศึกษาเองและการวิจัยต่างๆ  นอกจากนี้แนวคิดนี้ยังได้ถูกยกสถานะขึ้นในแวดวงการแนะแนวทางวิชาการในทวีป ต่างๆจนกลายเป็นสิ่งที่ ควบคุมและอยู่เหนือแนวคิดอิสลามที่ถูกต้อง


และด้วยสามสิ่งนี้(การล่าอาณานิคม,การเผยแพร่ศาสนาคริสต์ และแนวคิดบูรพาคดีศึกษา) ทำให้ประเทศอิสลามต้องตกอยู่ภายใต้การยึดครองโดยประเทศมหาอำนาจเหล่านี้ ทั้งทางด้านการเมืองการปกครอง ด้านความศรัทธา(อะกีดะฮฺ) และด้านลักษณะแนวคิด


แนวคิดกุฟรฺ(การปฎิเสธศรัทธาอัลลอฮฺ)ได้แผ่ขยาย อย่างเชิดหน้าชูตาและเปิดเผย นอกจากนี้ยังใช้การหลอกลวงและกลอุบายต่างๆ ไปทั่วทุกมุมโลก โดยใช้อำนาจบารมีอันเป็นที่เกรงกลัวของมุสลิมทั่วโลก หรือแม้แต่ใช้บุคคลสำคัญของสังคมมุสลิมในการหลอกล่อมุสลิมว่าผู้ที่ดำเนิน การหลอกลวงและวางกลอุบายต่างๆนั้นแท้จริงแล้วเป็นฝีมือของผู้นำมุสลิมเอง เพื่อที่จะทำให้การต่อต้านนั้นเบาบางลง และทำให้แผนการของพวกเขาดำเนินไปได้โดยปราศจากการขัดขวางหรือการเผชิญหน้า ใดๆจากพวกมุสลิมเอง


เมื่อใดที่ประชาชาติได้พยายามลุกขึ้นต่อสู้เพื่อ ที่จะต่อต้านการล่าอาณานิคมอัน อันเป็นสาเหตุของความเสียหายทางเศรษฐกิจ และความตกต่ำทางสังคมและการการเมืองนั้น ประเทศ ล่าอาณานิคมเหล่านี้ก็สามารถที่จะควบคุมและหยุดยั้งการเคลื่อนไหวนั้นๆได้ จนทำให้ไม่มีการลุกฮือใดๆเกิดขึ้นเว้นแต่จะถูกสยบหรือถูกทำลายภายใต้การกดดันของมหาอำนาจดังกล่าว จนทำให้ประเทศอิสลามต่างๆต้องยอมแพ้และยอมอ่อนข้อต่อประเทศเหล่านั้นด้วยรูป แบบใหม่อันได้แก่การอยู่ภายใต้ม่านกฎหมายระหว่างประเทศ เช่นประชาค มโลก ตลอดจนสหประชาชาติและคณะมนตรีความมั่นคง ซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมของประเทศสมาชิกถาวรเพียงไม่กี่ประเทศ (สหรัฐอเมริกา,รัสเซีย,ฝรั่งเศส,อังกฤษ และจีน)             


สภาพการณ์หลังจากการล่าอาณานิคมนั้นไม่ได้แตกต่างกับสถานการณ์ก่อนและหลังจากที่ประเทศอิสลามต่างๆได้เอกราช ยิ่งไปกว่านั้นประเทศอิสลามสมัยการล่าอาณานิคมนั้นยังพอที่จะมีอิสรภาพเป็นของตัวเอง แต่หลังจากสิ้นสุดสมัยการล่าอาณานิคมแล้วประเทศอิสลามกลับอยู่ภายใต้แนวคิด อะกีดะฮฺและลอกเลียนการกระทำและการดำเนินชีวิตหรือแม้แต่จรรยามารยาทและค่านิยมของผู้อื่น


สถานการณ์เช่นนี้เป็นที่น่าเศร้าสำหรับคนที่มีความหวงแหนต่อประชาชาติ แต่กลับเป็นสิ่งที่น่ายินดีสำหรับคนที่ชอบเลียนแบบผู้อื่น จนกระทั่งคนเหล่านั้นได้ประกาศตัวและแสดงธาตุแท้ของพวกเขานั่นคือ การเป็นมุนาฟิกที่ร้ายกาจหรือแม้กระทั่งการปฏิเสธศรัทธาอย่างสิ้นเชิง นอกจากนี้ศาสนาอิสลามยังได้รับการต่อต้านจากผู้นำประเทศมุสลิมเหล่านั้น แต่ไม่ได้ถูกต่อต้านจากประเทศจักรวรรดินิยมอื่นๆ นอกจากนี้พวกมุนาฟิกเหล่านั้นยังได้เก็บเกี่ยวทำลายส่วนที่ยังพอหลงเหลืออยู่ของศาสนา จนมนุษยชาติคิดว่าอิสลามนั้นกำลังจะตาย แม้กระทั่งเมื่อเดินอยู่ในเมืองใหญ่ของประเทศมุสลิมก็ไม่เห็นความแตกต่างของเมืองมุสลิมกับเมืองกาฟิร


แต่ภายใต้สถานการณ์อันแสนเจ็บปวดและหมอกควันอันหนาทึบกำลังแพร่กระจายไปทั่วทุกสถานที่และภายใต้ความมืดมิดนี้ ยังมีแสงสลัวๆอยู่ ซึ่งมนุษยชาติคิดว่ามันเป็นแสงของดาวดวงเล็กๆที่อยู่ไกลโพ้นจนไม่สามารถส่องสว่างโลกนี้ได้ แต่แสงนี้กลับใหญ่ขึ้นๆจนเป็นแสงอันสมบูรณ์ และนั่นคือแสงสว่างอันเจิดจ้าของอิสลาม ซึ่งได้หวนกลับมาในภาวะที่มีการปฏิเสธ(กุฟรฺ)และการฝ่าฝืนหลักการอิสลามอย่างแพร่หลาย เพื่อที่จะเตือนมนุษยชาติว่าแสงสว่างของเอกองค์อัลลอฮฺนั้นจะยังคงอยู่ต่อไปกับคำดำรัสของพระองค์ที่ว่า وَيَأْبَى اللَّـهُ إِلَّا أَن يُتِمَّ نُورَهُ وَلَوْ كَرِهَ الْكَافِرُونَ ...และอัลลอฮฺจะไม่ทรงยินยอมนอกจากจะแพร่ให้แสงสว่างของพระองค์บริบูรณ์ถึงแม้ว่าพวกปฏิเสธศรัทธาจะชิงชังก็ตาม (9:32) เสียงตะโกนตักเตือนได้ดังขึ้นทุกๆส่วนของโลกจากกะอฺบะฮฺแห่งนครมักกะฮฺ จากมหาวิทยาลัยอัลอัซฮัร ตลอดจนทุกประเทศอิสลามที่มีเสียงอะซาน และแม้กระทั่งหอคอยโบสถ์คริสต์ในยุโรปและอเมริกา(หลังจากที่โบสถ์เหล่านั้นได้ถูกทอดทิ้งจนถูกเปลี่ยนเป็นมัสยิดแทน)


นั่นคือแสงสว่างแห่งอิสลาม ที่สว่างเจิดจ้าซึ่งเกิดขึ้นโดยไม่มีใครรู้ว่าได้เริ่มต้นเมื่อใดแต่เมื่อ มันส่องแสงสว่างแล้วก็ไม่มีอำนาจใดจะสกัดกั้นหรือขัดขวางการแพร่กระจายของมันได้ มันเปรียบเสมือนกับการสร่างของประชาชาติอิสลามจากความเมามายหลายทศวรรษ หรือเปรียบเสมือนการฟื้นจากการหลับใหลมาเป็นเวลาหลายปี และเสมือนการรู้สึกตัวจากการเผลอไผลเป็นเวลานาน แต่กระนั้นมันก็เป็นการตื่นตัวที่มาพร้อมกับความโกรธ เป็นการกลับมาพร้อมกับการปฏิวัติและการคืบคลานไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง จนกระทั่งวันนี้ การกลับมาในครั้งนี้ได้ทำให้โลกแปลกใจและปลุกประชาชาติให้ฟื้นขึ้นจากความตาย บรรดาคนหนุ่มสาว คนชรา เยาวชน สตรีของประชาชาติต่างก็ตื่นตัวและลุกขึ้นสู้เพื่อสนับสนุนการกลับมาดังกล่าว ด้วยความสามารถที่มีอยู่ของแต่ละคน มันเป็นการตื่นตัวของประชาชาติโดยรวมที่แม้แต่บรรดาผู้หยิ่งยโสทั้งหลายต้องน้อมรับ และมันได้กลายเป็นความจริงที่ไม่มีใครสามารถปฏิเสธได้นอกจากผู้ดื้อรั้นเท่านั้น สมดังที่พระองค์ได้ตรัสว่า

 

บรรยายเยาวชนรักสันติ โดย ดร.อับดุลเลาะ ยีเลาะ 23 ก.ย. 2560 23 ก.ย. 2560

 

บรรยายเยาวชนรักสันติ

 

เนื้อหาการบรรยาย

สันติวิธี หนทางสู่สันติภาพที่แท้จริง

สืบเนื่องจากรัฐบาลและกลุ่มที่เห็นต่างจาก รัฐ ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ แสดงเจตจำนงพูดคุยเพื่อสันติภาพในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย โดยมีรัฐบาลมาเลเซียเป็นอำนวยความสะดวก เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2556 ซึ่งตัวแทนทั้งสองฝ่ายได้มีการพบปะพูดคุยครั้งแรก เพื่อกำหนดกรอบการพูดคุย เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2556 ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย และทั้งสองฝ่ายมีกำหนดจะพบปะพูดคุยเพื่อสันติภาพอีกครั้ง ในวันที่ 29 เมษายน 2556 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เกิด สันติภาพ ในพื้นที่ต่อไป ในระหว่างที่กระบวนการพูดคุยเพื่อสันติภาพกำลังดำเนินไปท่ามกลางความรุนแรง ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ยังคุกรุ่น มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ต่อกระบวนการพูดคุย หรือ เจรจาเพื่อสันติในครั้งนี้อย่างหลากหลาย ในการนี้ เพื่อให้กระบวนการการพูดคุย หรือ การเจรจา เพื่อสันติภาพในจังหวัดชายแดนภาคใต้ อันเป็นสิ่งที่ประชาชนทั่วประเทศปรารถนา สามารถดำเนินการต่อไปอย่างต่อเนื่อง จนบรรลุถึงข้อตกลงสันติภาพ ข้าพเจ้า ในฐานะที่เป็นประชาชน นักวิชาการและนักการศาสนาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ขอมีส่วนร่วมเสนอแนะแนวคิดที่เป็นหนทางในการส่งเสริม สนับสนุนกระบวนการพูดคุย หรือ เจรจา เพื่อสันติภาพให้มีความก้าวหน้าและประสบผลสำเร็จ ดังนี้
1.  การพูดคุย เจรจา : เส้นทางสู่ความสันพันธ์ที่ดีและความไว้วางใจกัน การที่ทั้งฝ่ายรัฐและฝ่ายที่เห็นต่างจากรัฐ รวมทั้งรัฐบาลมาเลเซีย ได้ริเริ่มกระบวนการสันติวิธีสู่สันติภาพในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ด้วยการหันมาพูดคุย หรือ เจรจา ถือว่า เป็นการตัดสินใจที่ถูกต้อง กล้าหาญและน่าชมเชย สร้างความหวังแก่ประชาชนในพื้นที่ เพราะ การแก้ปัญหาโดยสันติวิธีเป็นหนทางเดียวที่สามารถนำไปสู่สันติภาพที่แท้จริง ข้าพเจ้าจึงมีความเห็นว่า ภาคส่วนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคการเมือง ภาคประชาสังคม ภาคธุรกิจ ภาคประชาชนทุกศาสนาและชาติพันธ์ทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพี่น้องมุสลิม จำเป็นต้องรีบตอบรับหรือขานรับ ร่วมมือและสนับสนุนทันที เมื่อการพูดคุย หรือ การเจรจาเพื่อสันติภาพถูกเรียกร้องหรือริเริ่ม แม้นการริเริ่มหรือการเรียกร้องจะมาจากฝ่ายที่เห็นต่างจากเราก็ตาม ทั้งนี้ เพื่อขานรับคำเชิญชวนของคัมภีร์อัลกุรอาน ความว่า “และหากพวกเขาโอนอ่อน เพื่อสันติภาพ(เพื่อสงบศึก)แล้ว ก็จงอ่อนโอนตามเพื่อการนั้นด้วย และจงมอบหมายภารกิจเพื่ออัลลอฮฺ(พระเจ้า)เถิด แท้จริงพระองค์อัลลอฮฺ(พระเจ้า)เป็นผู้ทรงได้ยิน และผู้ทรงรอบรู้ยิ่ง และถ้าพวกเขาปรารถนาจะลวงเจ้า(โดยสัญญาสันติภาพนั้น) ดังนั้น อัลลอฮฺ(พระเจ้า)ทรงเพียงพอแล้วสำหรับเจ้า พระองค์คือผู้ทรงสนับสนุนเจ้าด้วยความช่วยเหลือของพระองค์ และด้วยกำลังของผู้ศรัทธา” (ความหมายของกุรอาน 8 : 61 – 62 ) ในส่วนของฝ่ายรัฐบาล จำเป็นต้องส่งสัญญาณ เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ และให้ความรู้ความเข้าใจแก่ข้าราชการและบุคลากรของรัฐทุกหน่วยงาน ให้มีความรู้ ความเข้าใจในยุทธศาสตร์และนโยบายของรัฐบาล ในเรื่องการพูดคุย หรือ เจรจาเพื่อสันติภาพ หรือ นโยบายการแก้ปัญหาโดยสันติวิธี ทั้งนี้ เพื่อสร้างความเป็นเอกภาพ ความเชื่อมั่น ความไว้วางใจในนโยบายและยุทธศาสตร์ของรัฐ สามารถนำยุทธศาสตร์และนโยบายของรัฐบาลสู่ภาคปฏิบัติอย่างเป็นเอกภาพ สำหรับภาคการเมือง ภาคประชาสังคม ภาคประชาชน ภาคเอกชน นักวิชาการ ผู้นำและนักการศาสนา ผู้นำท้องถิ่น กลุ่มเยาวชน นักเรียน นักศึกษาและสตรี ควรเข้ามามีส่วนร่วม และสนับสนุนกระบวนการพูดคุยหรือเจรจาเพื่อสันติภาพอย่างจริงจัง โดยเฉพาะการมีส่วนร่วมในการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ในการจัดการ ความขัดแย้งในภูมิภาคต่างๆ การเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับสันติวิธี ตลอดจนการจัดเวทีพูดคุยสานเสวนาประชาชนในภาคส่วนต่างๆในเรื่องสันติภาพและ การกระจายอำนาจ เป็นต้น ทั้งนี้ เนื่องจากพลังของภาคส่วนต่างๆเป็นปัจจัยเกื้อหนุนที่สำคัญ ที่ค้ำชูและผลักดันให้กระบวนการพูดคุย หรือ เจรจาเพื่อสันติภาพในจังหวัดชายแดนภาคใต้ประสบผลสำเร็จ 2. ความยุติธรรม คือ รากฐานของสันติภาพ คัมภีร์อัลกุรอานหลายโองการได้ค้ำชูและปูทางสำหรับแบบแผนของสันติภาพ และยังได้สนับสนุนให้ใช้กระบวนการสันติวิธี ในการเรียกร้องคืนสิทธิอันพึงมีพึงได้ของเจ้าของสิทธิ ห้ามละเมิดหรือรุกรานผู้อื่น พร้อมกันนั้น ต้องดำรงไว้ซึ่งความยุติธรรม ทำดีกับมวลมนุษย์และสรรพสิ่งทั้งหลาย แม้กระทั่งกับข้าศึกในสงคราม เมื่อใดที่พวกเขาตอบรับการเจรจา ประนีประนอม ความยุติธรรมต้องอยู่เหนืออารมณ์และความรู้สึกส่วนตัว หรือความสัมพันธ์ทางเครือญาติและมิตรสหายหรืออำนาจต่อรองที่เหนือกว่า ดังพระดำรัสของพระเจ้า ความว่า “บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย จงเป็นผู้ธำรงความเที่ยงธรรม ในการเป็นพยานเพื่ออัลลอฮฺ(พระเจ้า) แม้จะเป็นอันตรายต่อตัวสูเจ้าเอง หรือ พ่อแม่ ญาติสนิทของสูเจ้าก็ตาม แม้เขาจะมั่งมีหรือยากจนก็ตาม...” (ความหมายของคัมภีร์อัลกุรอาน 4 : 135) ศาสนาอิสลามสอนให้อำนวยความยุติธรรม กับข้าศึกหรือศัตรู ความว่า “บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย จงเป็นผู้ดำรงไว้ซึ่งความยุติธรรม ในการเป็นพยานเพื่ออัลลอฮฺ(พระเจ้า) และจงอย่าให้การเกลียดชังพวกหนึ่งพวกใดทำให้พวกเจ้าไม่ยุติธรรม จงยุติธรรมเถิด มันเป็นสิ่งที่ใกล้กับความยำเกรงยิ่งกว่า” (ความหมายของคัมภีรกุรอาน 5: 8) สรุปแล้ว การอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชน เป็นรากฐานสำคัญที่ค้ำชูและปูทางสำหรับกระบวนการสร้างสันติภาพ ฉะนั้น ในกระบวนการพูดคุยหรือเจรจา เพื่อยุติความรุนแรงและสร้างสันติภาพ ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ข้าพเจ้ามีความเห็นว่า ทั้งสองฝ่ายจะต้องถือว่า การอำนวยความยุติธรรมในทุกมิติและทุกด้าน ต้องเป็นวาระที่สำคัญของการพูดคุยหรือเจรจา พร้อมกับมีมาตรการในการอำนวยการความยุติธรรมที่เป็นรูปธรรมชัดเจน จึงจะทำให้กระบวนการพูดคุยหรือเจรจาเพื่อสันติภาพประสบผลสำเร็จ แน่นอน สำหรับพื้นที่ที่มีความขัดแย้งในเรื่องอัตลักษณ์และประวัติศาสตร์ ผู้ที่มีส่วนได้เสีย หรือได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบ ย่อมมีมุมมอง ความคิด ความเข้าใจในเรื่องสันติวิธี สันติภาพและความยุติธรรมที่หลากหลายและแตกต่างกัน ดังนั้น เพื่อให้กระบวนการพูดคุย หรือ เจรจาได้รับการตอบรับ สนับสนุนจากประชาชนทุกภาคส่วน ทุกศาสนาและชาติพันธุ์ ข้าพเจ้าจึงเสนอ ให้รัฐจัดให้มีคณะกรรมการยุติธรรมและสมานฉันท์ภาคประชาชนชุดหนึ่ง ประกอบด้วย ผู้แทนประชาชนจากศาสนิกและชาติพันธุ์ต่างๆ ภาคประชาสังคม ภาคเอกชน ผู้นำชุมชน ผู้แทนสตรี โดยคณะกรรมการชุดนี้มีบทบาทในการสนับสนุน ตรวจสอบและติดตามกระบวนการสันติวิธีสู่สันติภาพและการอำนวยความยุติธรรมใน พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตลอดจนการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สานเสวนาในเรื่องสันติวิธีและการอำนวยความยุติธรรมในมิติและด้านต่างๆแก่ ประชาชนทุกภาคส่วน เพื่อให้ประชาชนมีความเข้าใจ เข้าถึง มีความเชื่อมั่นและไว้วางใจยุทธศาสตร์และแนวนโยบายของรัฐในการแก้ปัญหาโดย สันติวิธี พร้อมที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการผลักดันและสนับสนุนกระบวนการพูดคุย หรือ เจรจา เพื่อให้เกิดสันติภาพที่แท้จริง 3. ความยุติธรรมทางสังคม เพื่อการสร้างสันติภาพ หนึ่งในรูปแบบที่เป็นรูปธรรมชัดเจนในการอำนวยการความยุติธรรมแก่ประชาชน เพื่อเกื้อหนุนและส่งเสริมให้การเจรจา หรือ พูดคุยเพื่อสันติภาพประสบผลสำเร็จ และสอดคล้องกับหลักการอิสลาม ก็คือ การให้ความยุติธรรมในทางสังคม ภาครัฐไม่ควรละเลยการให้หลักประกันทางสังคม ด้วยการช่วยเหลือและเยียวยาแก่บรรดาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่ สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้มีประสิทธิภาพ ยุติธรรม ไม่มีการเลือกปฏิบัติ โดยเฉพาะการช่วยเหลือเยียวยาในด้านจิตใจ การศึกษา คุณภาพชีวิตและรายได้ของครอบครัวผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบ ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 4. สันติภาพ คือวัตถุประสงค์หลักของศาสนบัญญัติ บทบัญญัติต่างๆในศาสนาอิสลาม มีจุดมุ่งหมาย เพื่อปกป้องศาสนา เกียรติ ศักดิ์ศรี สติปัญญา ชีวิตและทรัพย์สิน เพื่อนำไปสู่สันติภาพที่ยั่งยืน นั่นเอง ดังนั้น ในทัศนะของอิสลามแล้ว ถือว่า การพูดคุย เจรจาหาทางออกด้วยความจริงใจและมีวิทยปัญญา ปราศจากผลประโยชน์ เพื่อหาทางยุติการใช้ความรุนแรง และการละเมิดในทุกรูปแบบ หลีกเลี่ยงมิให้เกิดความเสียหายทั้งต่อชีวิต ทรัพย์สินของบุคคลและส่วนรวม ถือเป็นสิ่งที่อิสลามเรียกร้อง และเป็นการปูทางไปสู่สันติภาพ อันเป็นจุดมุ่งหมายที่สำคัญของศาสนาอิสลาม ในทางตรงกันข้าม ความเสียหายไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบใดก็ตาม ล้วนเป็นปัญหาและอุปสรรคต่อกระบวนการสร้างสันติภาพ และการพัฒนาประเทศ 5. การพูดคุย หรือ เจรจา คือ วิธีการแก้ปัญหาโดยสันติวิธีที่ทุกฝ่ายต้องเชื่อมั่น มิใช่การทดลอง สำหรับมุสลิมส่วนใหญ่ มีความศรัทธาและยึดมั่นในแนวทางการแก้ปัญหาต่างๆโดยสันติวิธี หรือ โดยการพูดคุย เจรจากัน ด้วยสติปัญญาและเหตุผล บริสุทธิ์ใจเพื่อที่จะให้เกิดสันติภาพที่แท้จริง ไม่มีผลประโยชน์แอบแฝง เพราะ สันติภาพ เป็นทั้งหลักการศรัทธาและหลักการปฏิบัติของศาสนาอิสลาม ดังนั้น การอดทน อดกลั้น ต่อปัญหาอุปสรรคและนสิ่งท้าทายต่างๆในกระบวนการพูดคุย หรือ เจรจาเพื่อสันติภาพ แม้ต้องใช้ระยะเวลานานนับสิบปีกว่าจะบรรลุข้อตกลง ย่อมดีกว่า การทนปล่อยให้สถานการณ์ความรุนแรงและความไม่สงบเกิดขึ้นเพียงปีเดียว เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่า ไม่ว่าความรุนแรงหรือความไม่สงบทีเกิดขึ้น ณ ที่ใดก็ตาม มันได้ทำลายความปกติสุขในชีวิตและสร้างความเสียหายทั้งต่อชีวิต ทรัพย์สิน ภาพพจน์และชื่อเสียงของประเทศและประชาชนเป็นอย่างมาก ตลอดจนมันมีผลกระทบต่อเจริญเติบโตทางสังคม เศรษฐกิจ การเมืองและการศึกษาของประชาชนในพื้นที่เป็นอย่างมาก สำหรับในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ อาจมีผู้มีส่วนได้เสียบางส่วน ที่ยังเป็นห่วง วิตกและกังวลว่า เมื่อการเจรจาเพื่อสันติภาพบรรลุผลแล้ว พวกเขาจะดำเนินชีวิตในพื้นที่อย่างไร? การตอบโจทย์ในข้อห่วงใยเหล่านี้ มันเป็นสิ่งจำเป็นและเป็นหน้าที่ของฝ่ายรัฐและสื่อต่างๆ รัฐและสื่อต้องมีบทบาทในการสื่อสาร เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์และสร้างความเข้าใจในยุทธศาสตร์และนโยบายของรัฐบาล ทั้งต่อพี่น้องประชาชนทั่วประเทศ และประชาชนในพื้นที่ โดยเฉพาะนโยบายของรัฐในการสร้างสันติภาพและนำยุทธศาสตร์การกระจายอำนาจในรูป แบบที่เหมาะสม ตามกรอบของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการถ่ายทอดประสบการณ์ในการจัดการความขัดแย้ง การสร้างสันติภาพและการอยู่ร่วมกันอย่างสันติในสังคมพหุวัฒนธรรม เพื่อให้ประชาชนมีความเชื่อมั่น มีวัฒนธรรมและนิยมแนวทางแก้ปัญหาโดยสันติวิธี อันเป็นหนทางเดียวที่สามารถนำไปสู่สันติภาพทั้งในพื้นที่ ในประเทศและประชาคมโลก 6. การมีองค์ความรู้เกี่ยวกับสันติภาพของประชาชน : หนทางสู่สันติภาพที่ยั่งยืน ปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญของของกระบวนการสันติวิธีสู่สันภาพที่ยั่งยืน ก็คือ ภาคส่วนต่างๆทั้งภาครัฐ ภาคการเมือง ภาคประชาสังคม ภาคเอกชน ตลอดภาคประชาชนที่เป็นศาสนิกและชาติพันธุ์ต่างๆ ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสีย ผู้ค้ำชูและเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในกระบวนการสันติวิธีสู่สันติภาพ ยังมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสันติภาพ กระบวนการแก้ไขปัญหาโดยสันติวิธี และความยุติธรรมไม่ตรงกัน ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงเสนอให้ รัฐบาลกำหนดนโยบายเร่งด่วน เกี่ยวกับการจัดให้มีการเรียน การสอน การฝึกอบรม ด้านสันติศึกษาแก่นักเรียน นักศึกษาในสถาบันการศึกษาทุกระดับ ตลอดจนจัดให้มีหลักสูตร สื่อและกิจกรรมการฝึกอบรม ให้ความรู้เกี่ยวกับสันติศึกษาแก่ประชาชนทั่วไปอย่างจริงจังและต่อเนื่อง เพื่อปลูกฝังค่านิยมและวัฒนธรรมการแก้ไขปัญหาโดยสันติวิธี แทนที่ค่านิยมการแก้ปัญหาโดยใช้กำลังและความรุนแรง สุดท้ายนี้ ข้าพเจ้าขอวิงวอนและขอพรต่อเอกองค์อัลลอฮฺ(พระเจ้า) ทรงโปรดประทานให้การพูดคุย หรือ เจรจา เพื่อสันติภาพในครั้งนี้ประสบผลสำเร็จ ทรงประทานสันติภาพที่ยั่งยืนทั้งในโลกนี้และโลกหน้า(อาคีเราะฮฺ)

 

ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่4 ประชุมสรุปโครงการ 25 ก.ย. 2560 30 ก.ย. 2560

 

การสรุปและประเมินโครงการ

 

3.1 การพิจารณา การจัดทำรายงาน ให้เลขาและประธานรวบรวมข้อมูลจัดทำรายงานและมาเบิกเงินที่ฝ่ายการเงิน
3.2 พิจารณา  โครงการครั้งต่อไป มติ  เมื่อถึงเวลาเราจะประชุมอีกครั้ง

 

จัดทำแบบรายงานสรุป 15 ต.ค. 2560 15 ต.ค. 2560

 

0

 

0

 

การบันทึกข้อมูลโครงการขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมของ ภาคประชาสังคมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนา จชต. 14 ก.ค. 2561 14 ก.ค. 2561

 

การบันทึกข้อมูลโครงการขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมของ ภาคประชาสังคมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนา จชต.

 

การบันทึกข้อมูลโครงการขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมของ ภาคประชาสังคมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนา จชต.
และได้ป้อนข้อมูลกิจกรรม อย่างน้อย 3ราย