directions_run

พัฒนาระบบและกลไกอาสาสมัครชายแดนภาคใต้เพื่อเสริมสร้างสันติภาพโดยการมีส่วนร่วมของพื้นที่

แบบการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ (Process Evaluation)

กิจกรรมระยะเวลาเป้าหมาย/วิธีการผลการดำเนินงานปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
ตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริง
ประชุมทีม คณะทำงานเดือนละ 1 ครั้ง จำนวน4ครั้ง 26 ก.ย. 2560 26 ก.ค. 2561

 

ประชุมเตรียมความ พร้อมกิจกรรมต่างๆ ประชุมวางแผนงาน 

 

-ได้ทำตามแผนที่วางไว้ -ตลอดระยะเวลา4เดือนที่ได้ร่วมโครงการทีมงามได้ช่วยกันทำงานได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ -ได้ทำตามแผนที่กำหนดไว้ -ทำให้คณะทำงานมีความพร้อมในการทำงานเพราะมีการรวมตัวกันบ่อยขึ้นทำให้งานหรือกิจกรรมที่ทำออกมาดีประสบผลสำเร็จ 

 

อุปกรณ์ ส านักงาน 26 ก.ย. 2560 26 ก.ค. 2561

 

เป็นเครื่องมือการทำงาน/จัดกิจกรรม 

 

-เป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนงานกิจกรรมครั้งนี้ ที่อำนวยความสะดวกในการจัดกิจกรรมและการทำงานของทีมงานตลอดที่ได้ทำโครงการ

 

อบรมอาสาสมัครสร้างสันติภาพ 22 พ.ย. 2560 25 ก.ค. 2561

 

  • ประชุมวางแผนกำหนดกิจกรรมต่างๆ
  • แบ่งบทบาทหน้าที่รับผิดชอบ
  • ประสานกลุ่มเป้าหมาย
  • จัดประชุมร่วมกับองค์กรเครือข่ายเพื่อกำหนดกลไกในการทำงานร่วมกัน
  • เผยแพร่ข่าวสาร ติดตามและสนับสนุนองค์กรเครือข่าย

 

การประชุมครั้งนี้เป็นการรวมตัวของกลุ่มองค์กรด้านงานอาสาสมัครที่ทำงานด้านการเยียวยาและสร้างความสมานฉัน ท์ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้มาช่วยกันออกแบบและเติมส่วนที่ขาดในพื้นที่ โดยองค์กรผู้เข้าร่วม 20 องค์กร จำนวน 53 คน (จากเดิม มีองค์กรยืนยันเข้าร่วมจำนวน 39 องค์กร แต่ในช่วงวันดังกล่าวเกิดฝนตกหนัก น้ำท่วมบางพื้นที่ ทำให้หลายองค์กรยกเลิกการเข้าร่วมประชุม) โดยโครงการได้ชวนเครือข่ายแลกเปลี่ยนแนวทางการดำเนินงาน ปัญหา และความต้องการการสนับสนุนเพื่อให้สามารถทำงานได้ดีขึ้นในอนาคต สรุปผลจากการประชุม ดังนี้ 1. รู้จักภาคีอาสาสมัคร เป้าหมายด้านงานอาสาสมัครของแต่ละองค์กร - กลุ่มสตรีจิตอาสา > ทำตัวเองให้เป็นประโยชน์มากที่สุดเพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน คอยประสานงานช่วยเหลือคนที่ต้องการความช่วยเหลือไปยังหน่วยงานภาครัฐ - มูลนิธิเพื่อการเยียวยาและสร้างความสมานฉันท์ชายแดนใต้ (มยส.) >

ทำกิจกรรมกับเยาวชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้โดยแกนนำเยาวชนในพื้นที่มาร่วมเข้าค่าย แล้วมอบทุนสนับสนุนให้น้องๆ ทำกิจกรรมในพื้นที่ของตัวเอง เป็นโครงการที่เปิดทำกิจกรรมเป็นพื้นที่สร้างสรรค์ลิขสิทธิ์ในพื้นที่ 3จังหวัดชายแดนภาคใต้ - บ้านพิราบขาวชายแดนใต้ > ทำงานกับเด็กนอกระบบ คณะทำงานจะต้องเรียนรู้และค้นหา การเสริมพลังใจให้เพื่อนๆ ทุกคนได้เรียนรู้ระหว่างบ้าน เมื่อพบปัญหาทางเราก็จะลงไปเยี่ยมเยียนให้กำลังใจ และเราก็จะมีกิจกรรม ความหวังเล็กๆ ของพิราบขาวทำให้คนคนหนึ่งลุกขึ้นให้ได้จากความยากลำบากและจากที่เขาขาดโอกาสเพื่อให้เขาไปช่วยเหลือคนอื่น ต่อเมื่อเขาเข้มแข็งขึ้น สร้างฐานข้อมูลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแล้วลงไปแก้ปัญหากับชุมชนและการสร้างเครือข่ายในการทำงานสร้างพื้นที่ใน 4 จังหวัดระดับชุมชนและเด็กเยาวชนในพื้นที่ - กลุ่มอามีน > มีการเสริมการทำงานส่วนพลังของเยาวชน การผลักดันเยาวชนเสริมศักยภาพให้เข้าสู่ระบบ - สมาคมศิษย์เก่าบัณฑิตอาสา > ทำงานด้านการจุดประกายในพื้นที่ผ่านมาสร้างสุขภาวะชุมชนด้วยตัวของชุมชนเองและพยายามจะสร้างกลไกในพื้นที่ใ ห้เด็กและเยาวชนมีส่วนร่วม การเสริมพลังทำงานด้านชุมชน คาดหวังเรื่องเกี่ยวกับเด็กและเยาวชนการสร้างสภาพแวดล้อมในพื้นที่ให้เอื้อต่อการทำงาน - ธนาคารใจอาสายะลา > ผลิตสื่อและทำงานเพื่อชุมชนการสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้เด็ก - กลุ่มสันติใจอาสา ม.อ. > เน้นการขับเคลื่อนกิจกรรมและกระบวนการสันติภาพองค์กรเราจะใช้รถไฟแล้วไปแลกเปลี่ยนระหว่างพื้นที่อื่นให้เขาใช้ บริบทของคุณที่บ้านเราเช่นการจัดแสดงวัฒนธรรมหมู่บ้านเราให้กับพื้นที่อื่นได้รู้จักกับชุมชน - เครือข่ายคนดี > สร้างความเข้าใจให้กับคนในพื้นที่เสริมพลัง - ธนาคารใจอาสานราธิวาส > ประโยชน์ยาคนในชุมชนให้ความรู้กับเด็กการเป็นอยู่ในปัจจุบันและชี้แนวทางในการอยู่ในสังคม หรือเป็นพี่เลี้ยงให้น้องๆ - สมาคมสร้างสรรค์เยาวชนชายแดนใต้ > การสนับสนุนการศึกษา สานต่อการศึกษาความคิดการเป็นอยู่ในสังคม เราจะดึงเด็กจากสายอาชีพเข้าร่วมกิจกรรมกับเราด้วย และยังสนับสนุนเด็กที่ขาดโอกาสทางด้านการศึกษาเพื่อให้มีคุณภาพที่ดีขึ้นและมีความคิดที่เปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น - กลุ่ม beach for life > การดูแลสภาพชายหาด อันดับแรกเราสร้างความรู้ให้เด็กๆ ในพื้นที่ให้เกิดความรักกับชายหาดของตัวเองและการรักษาสถานนี้ยังไง ความหวังอยู่ในเขตสงขลา เราพยายามจะขยายมาปัตตานี หวังว่ามีการนำเสนอเพื่อการเพิ่มขึ้นมากกว่านี้ - กลุ่มอนุรักษ์โลมาอิรวดีบ้านแหลม และ hope And Life > ยากให้คนในประเทศไทยมาช่วยกันอนุรักษ์และรักษาให้คงอยู่ต่อไป มีกิจกรรมดำน้ำดูวาฬบรูด้า ฉลามวาฬ และโลมาอิรวดี เอาโลมาเป็นเป้าหมายในการทำงานแต่จะเน้นการทำงานอย่างอื่นได้ด้วย - มูลนิธิคีนัน > ทำงานด้านเด็กและเยาวชนเป็นการจุดประกายให้เด็กมีกิจกรรมและมีกำลังใจในการทำงานในชุมชนของตัวเอง

การเพิ่มทักษะให้กับเด็กเยาวชนในการทำงานในชุมชนของตนเองเช่นทำแผนที่เดินดิน Timeline กิจกรรมสันทนาการที่เราจะเสริมให้กับเด็กๆ - มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก > การขับเคลื่อนพื้นที่สร้างสรรค์งานอาสาสมัครประสานงานทุกภาคส่วนในการขับเคลื่อนงานเกี่ยวกับเด็กเราจะหาวิธีแล ะพื้นที่ที่มีความเด่นด้านการทำงานมาบรรยายให้ความรู้และให้กำลังใจ - มูลนิธิฮิลาลอะมัร > ทำงานด้านการช่วยเหลืออุบัติเหตุทั่วไปในพื้นที่ - เยาวชนตำบลป่าไร่ > สร้างเยาวชนในพื้นที่ ตอนนี้มีมวลชนประมาณ 20 คนที่ได้จัดตั้งขึ้นมา -องค์กรบ้านพิราบขาวชายแดนใต้ > โดยจะเน้นการสร้างงานสร้างอาชีพให้กับเยาวชน เช่น งานหัตถกรรม คาดหวังอยากให้ชุมชนมีจิตอาสาเพื่อเพื่อชุมชนมีรักบ้านเกิด เราต้องมีการปลูกฝังจิตสำนึกเพื่อการพัฒนาของพวกเราเองและมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ที่ต้องการมีคนที่ดูแลรมเยาวชนมี งานมีอาชีพแล้วจะไปตอบโจทย์ในเรื่องคุณภาพชีวิตสุดท้าย - บ้านเด็กกำพร้าและผู้ด้อยโอกาสตากใบ > เป็นคนดูแลศูนย์เด็กกำพร้าอยากจะสร้างมนุษย์อาสาแล้วกระจายไปช่วยเหลือคนอื่นต่อกันไป - โครงการบัณฑิตอาสา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ > คาดหวังให้คนรุ่นใหม่เตรียมความพร้อมก่อนทำงานจริง การใช้เครื่องมือต่างๆ ในการทำงานในชุมชน 1 ปีเพื่อแก้ไขปัญหาชุมชนและเชื่อมงานกิจกรรมกับมหาวิทยาลัยการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ ทำให้เราได้อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข - โรงเรียนใต้ร่มไม้ > พาเด็กๆ ทำกิจกรรมจัดค่ายเยาวชนเด็กโดยจัดกิจกรรมที่หลากหลายเชิงการศึกษาเรียนเพื่อตามความต้องการของตัวเอง 2. ผลการสะท้อนสถานการณ์ เกี่ยวกับปัญหา อุปสรรค และข้อจำกัดที่มีร่วมกันของเครือข่าย และแนวทางในการหาทางออกร่วมกัน ได้แก่

2.1การเข้าถึงแหล่งทุน หรือการระดมทุน โดยหน่วยงานทั้งหมดยังขาดความมั่นคงทางการเงิน

ส่วนมากดำเนินงานภายใต้การขอรับการสนับสนุนงบประมาณก้อนเล็ก ๆ หรือทำโครงการย่อยภายใต้การสนับสนุนจากองค์กรในพื้นที่ ทำให้การทำงานขาดความยั่งยืน ไม่สามารถทำตามแนวทางที่องค์กรวางไว้ได้ ต้องผันแปรไปตามเป้าหมายของแหล่งทุน ทางออกร่วมกัน : ได้ร่วมกันแสวงหาทางออกเพื่อแก้ปัญหาเกี่ยวกับงบประมาณดำเนินงาน ดังนี้ 1. องค์กรที่มีเป้าหมายการดำเนินงานใกล้เคียงกันให้พัฒนาข้อเสนอโครงการขนาดใหญ่ร่วมกัน

แล้วจัดทำข้อเสนอโครงการไปยังหน่วยงานเอกชนขนาดใหญ่ หรือองค์กรภาครัฐเพื่อขอรับการสนับสนุนดำเนินกิจกรรมระยะยาวร่วมกัน (หลายองค์กร หนึ่งเป้าหมายร่วม) 2. ระดมทุนผ่าน crowd funding หรือรับบริจาคจากมวลชนเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมจากคนทั้งประเทศ โดยการพัฒนาโครงการที่น่าสนใจสำหรับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ แล้วขอรับบริจาคผ่านเวบระดมทุน เช่น เทใจดอทคอม เพื่อให้ประชาชนร่วมลงขันบริจาค ซึ่งการระดมทุนในลักษณะนี้จะต้องใช้เวลาในการขอรับบริจาคราว 3-4 เดือน แต่ทำให้ได้งบประมาณเพื่อทำกิจกรรมเฉพาะด้าน และมีความยืดหยุ่นด้านการใช้เงินมากขึ้น สามารถทำกิจกรรมตามเป้าหมายที่เรากำหนดได้เต็มที่ 2.2 เครือข่ายขาดทักษะ ช่องทาง

และสื่อในการเผยแพร่ข่าวสารการดำเนินงานของตนเองให้มีประสิทธิภาพ เช่น ไม่สามารถเขียนรายงานได้อย่างน่าสนใจ ไม่สามารถเชียนเรื่องเล่าเพื่อจูงใจสาธารณะได้ ทำให้ไม่สามารถบอกเล่าการทำงานของตนเองไปยังกลุ่มเป้าหมายได้

ทางออกร่วมกัน :

ศูนย์อาสาสร้างสุขจะรับหน้าที่ในการรวบรวมการดำเนินงานที่น่าสนใจของเครือข่าย นำไปเผยแพร่ผ่านสื่อสาธารณะ สื่อมวลชน สืิ่อโซเชียล และสื่อของศูนย์อาสาสร้างสุข ได้แก่ จดหมายข่าวอาสาสร้างสุข volunteer guide map เวบอาสาสร้างสุข โซเชียลมีเดีย พร้อมทั้งวางแผนพัฒนาทักษะในการสื่อสารการทำงานของเครือข่าย และติดตามการนำทักษะไปใช้งานจริง ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ 1. เกิดเครือข่ายอาสาสมัครด้านการสร้าง 2. สันติภาพในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้จำนวน 53 คน 20 องค์กร

  1. เกิดช่องทางในการสื่อสารการดำเนินงานของเครือข่าย อย่างน้อย 4 ช่องทาง ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ
  2. งานอาสาสมัครด้านการสร้างสันติภาพในพื้นที่ที่มีแผนการทำงานร่วมกันอย่างชัดเจน
  3. มีผู้ได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับงานอาสาสมัครผ่านสื่อใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น
  4. เกิดแนวทางและข้อตกลงในการทำงานร่วมกัน ได้แก่ a. การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารการดำเนินงานขององค์กรผ่านช่องทางโซเชียลออนไลน์ (ไลน์กลุ่ม)

พร้อมทั้งหารือแนวทางการทำงาน

b.

เกิดการแลกเปลี่ยน/ส่งต่อข้อมูลด้านงานอาสาสมัครเพื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรมที่ต้องการให้อาสาสมัครจากภายนอกเ ข้าไปมีส่วนร่วมด้านการเยียวยาและสมานฉันท์

c. นำเสนอข้อมูลองค์กรเครือข่ายผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น เว็บไซต์ volunteer guide map

จดหมายข่าว

d. ร่วมกันหาแนวทางการระดมทุนหรือแสวงหาแหล่งทุนร่วมกัน e. ระดมทรัพยากรระหว่างองค์กรเครือข่าย เช่น ทุน กำลังคน สื่อ

เพื่อจัดกิจกรรมด้านการเยียวยาและสร้างความสมานฉันท์ในพื้นที่

f. กำหนดให้จัดประชุมพบปะเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลการดำเนินงานขององค์กรทุก 6 เดือน

 

รวบรวมและพัฒนาเครือข่ายอาสาสมัครในพื้นที 25 พ.ย. 2560 24 ก.ค. 2561

 

-ประชุมวางแผนกำหนดกิจกรรมต่างๆ - แบ่งบทบาทหน้าที่รับผิดชอบ - ประสานกลุ่มเป้าหมาย - จัดประชุมร่วมกับองค์กรเครือข่ายเพื่อกำหนดกลไกในการทำงานร่วมกัน - เผยแพร่ข่าวสาร ติดตามและสนับสนุนองค์กรเครือข่าย

 

การประชุมครั้งนี้เป็นการรวมตัวของกลุ่มองค์กรด้านงานอาสาสมัครที่ทำงานด้านการเยียวยาและสร้างความสมานฉัน ท์ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้มาช่วยกันออกแบบและเติมส่วนที่ขาดในพื้นที่ โดยองค์กรผู้เข้าร่วม 20 องค์กร จำนวน 53 คน (จากเดิม มีองค์กรยืนยันเข้าร่วมจำนวน 39 องค์กร แต่ในช่วงวันดังกล่าวเกิดฝนตกหนัก น้ำท่วมบางพื้นที่ ทำให้หลายองค์กรยกเลิกการเข้าร่วมประชุม) โดยโครงการได้ชวนเครือข่ายแลกเปลี่ยนแนวทางการดำเนินงาน ปัญหา และความต้องการการสนับสนุนเพื่อให้สามารถทำงานได้ดีขึ้นในอนาคต สรุปผลจากการประชุม ดังนี้ 1. รู้จักภาคีอาสาสมัคร เป้าหมายด้านงานอาสาสมัครของแต่ละองค์กร - กลุ่มสตรีจิตอาสา > ทำตัวเองให้เป็นประโยชน์มากที่สุดเพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน คอยประสานงานช่วยเหลือคนที่ต้องการความช่วยเหลือไปยังหน่วยงานภาครัฐ - มูลนิธิเพื่อการเยียวยาและสร้างความสมานฉันท์ชายแดนใต้ (มยส.) >

ทำกิจกรรมกับเยาวชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้โดยแกนนำเยาวชนในพื้นที่มาร่วมเข้าค่าย แล้วมอบทุนสนับสนุนให้น้องๆ ทำกิจกรรมในพื้นที่ของตัวเอง เป็นโครงการที่เปิดทำกิจกรรมเป็นพื้นที่สร้างสรรค์ลิขสิทธิ์ในพื้นที่ 3จังหวัดชายแดนภาคใต้ - บ้านพิราบขาวชายแดนใต้ > ทำงานกับเด็กนอกระบบ คณะทำงานจะต้องเรียนรู้และค้นหา การเสริมพลังใจให้เพื่อนๆ ทุกคนได้เรียนรู้ระหว่างบ้าน เมื่อพบปัญหาทางเราก็จะลงไปเยี่ยมเยียนให้กำลังใจ และเราก็จะมีกิจกรรม ความหวังเล็กๆ ของพิราบขาวทำให้คนคนหนึ่งลุกขึ้นให้ได้จากความยากลำบากและจากที่เขาขาดโอกาสเพื่อให้เขาไปช่วยเหลือคนอื่น ต่อเมื่อเขาเข้มแข็งขึ้น สร้างฐานข้อมูลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแล้วลงไปแก้ปัญหากับชุมชนและการสร้างเครือข่ายในการทำงานสร้างพื้นที่ใน 4 จังหวัดระดับชุมชนและเด็กเยาวชนในพื้นที่ - กลุ่มอามีน > มีการเสริมการทำงานส่วนพลังของเยาวชน การผลักดันเยาวชนเสริมศักยภาพให้เข้าสู่ระบบ - สมาคมศิษย์เก่าบัณฑิตอาสา > ทำงานด้านการจุดประกายในพื้นที่ผ่านมาสร้างสุขภาวะชุมชนด้วยตัวของชุมชนเองและพยายามจะสร้างกลไกในพื้นที่ใ ห้เด็กและเยาวชนมีส่วนร่วม การเสริมพลังทำงานด้านชุมชน คาดหวังเรื่องเกี่ยวกับเด็กและเยาวชนการสร้างสภาพแวดล้อมในพื้นที่ให้เอื้อต่อการทำงาน - ธนาคารใจอาสายะลา > ผลิตสื่อและทำงานเพื่อชุมชนการสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้เด็ก - กลุ่มสันติใจอาสา ม.อ. > เน้นการขับเคลื่อนกิจกรรมและกระบวนการสันติภาพองค์กรเราจะใช้รถไฟแล้วไปแลกเปลี่ยนระหว่างพื้นที่อื่นให้เขาใช้ บริบทของคุณที่บ้านเราเช่นการจัดแสดงวัฒนธรรมหมู่บ้านเราให้กับพื้นที่อื่นได้รู้จักกับชุมชน - เครือข่ายคนดี > สร้างความเข้าใจให้กับคนในพื้นที่เสริมพลัง - ธนาคารใจอาสานราธิวาส > ประโยชน์ยาคนในชุมชนให้ความรู้กับเด็กการเป็นอยู่ในปัจจุบันและชี้แนวทางในการอยู่ในสังคม หรือเป็นพี่เลี้ยงให้น้องๆ - สมาคมสร้างสรรค์เยาวชนชายแดนใต้ > การสนับสนุนการศึกษา สานต่อการศึกษาความคิดการเป็นอยู่ในสังคม เราจะดึงเด็กจากสายอาชีพเข้าร่วมกิจกรรมกับเราด้วย และยังสนับสนุนเด็กที่ขาดโอกาสทางด้านการศึกษาเพื่อให้มีคุณภาพที่ดีขึ้นและมีความคิดที่เปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น - กลุ่ม beach for life > การดูแลสภาพชายหาด อันดับแรกเราสร้างความรู้ให้เด็กๆ ในพื้นที่ให้เกิดความรักกับชายหาดของตัวเองและการรักษาสถานนี้ยังไง ความหวังอยู่ในเขตสงขลา เราพยายามจะขยายมาปัตตานี หวังว่ามีการนำเสนอเพื่อการเพิ่มขึ้นมากกว่านี้ - กลุ่มอนุรักษ์โลมาอิรวดีบ้านแหลม และ hope And Life > ยากให้คนในประเทศไทยมาช่วยกันอนุรักษ์และรักษาให้คงอยู่ต่อไป มีกิจกรรมดำน้ำดูวาฬบรูด้า ฉลามวาฬ และโลมาอิรวดี เอาโลมาเป็นเป้าหมายในการทำงานแต่จะเน้นการทำงานอย่างอื่นได้ด้วย - มูลนิธิคีนัน > ทำงานด้านเด็กและเยาวชนเป็นการจุดประกายให้เด็กมีกิจกรรมและมีกำลังใจในการทำงานในชุมชนของตัวเอง

การเพิ่มทักษะให้กับเด็กเยาวชนในการทำงานในชุมชนของตนเองเช่นทำแผนที่เดินดิน Timeline กิจกรรมสันทนาการที่เราจะเสริมให้กับเด็กๆ - มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก > การขับเคลื่อนพื้นที่สร้างสรรค์งานอาสาสมัครประสานงานทุกภาคส่วนในการขับเคลื่อนงานเกี่ยวกับเด็กเราจะหาวิธีแล ะพื้นที่ที่มีความเด่นด้านการทำงานมาบรรยายให้ความรู้และให้กำลังใจ - มูลนิธิฮิลาลอะมัร > ทำงานด้านการช่วยเหลืออุบัติเหตุทั่วไปในพื้นที่ - เยาวชนตำบลป่าไร่ > สร้างเยาวชนในพื้นที่ ตอนนี้มีมวลชนประมาณ 20 คนที่ได้จัดตั้งขึ้นมา -องค์กรบ้านพิราบขาวชายแดนใต้ > โดยจะเน้นการสร้างงานสร้างอาชีพให้กับเยาวชน เช่น งานหัตถกรรม คาดหวังอยากให้ชุมชนมีจิตอาสาเพื่อเพื่อชุมชนมีรักบ้านเกิด เราต้องมีการปลูกฝังจิตสำนึกเพื่อการพัฒนาของพวกเราเองและมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ที่ต้องการมีคนที่ดูแลรมเยาวชนมี งานมีอาชีพแล้วจะไปตอบโจทย์ในเรื่องคุณภาพชีวิตสุดท้าย - บ้านเด็กกำพร้าและผู้ด้อยโอกาสตากใบ > เป็นคนดูแลศูนย์เด็กกำพร้าอยากจะสร้างมนุษย์อาสาแล้วกระจายไปช่วยเหลือคนอื่นต่อกันไป - โครงการบัณฑิตอาสา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ > คาดหวังให้คนรุ่นใหม่เตรียมความพร้อมก่อนทำงานจริง การใช้เครื่องมือต่างๆ ในการทำงานในชุมชน 1 ปีเพื่อแก้ไขปัญหาชุมชนและเชื่อมงานกิจกรรมกับมหาวิทยาลัยการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ ทำให้เราได้อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข - โรงเรียนใต้ร่มไม้ > พาเด็กๆ ทำกิจกรรมจัดค่ายเยาวชนเด็กโดยจัดกิจกรรมที่หลากหลายเชิงการศึกษาเรียนเพื่อตามความต้องการของตัวเอง 2. ผลการสะท้อนสถานการณ์ เกี่ยวกับปัญหา อุปสรรค และข้อจำกัดที่มีร่วมกันของเครือข่าย และแนวทางในการหาทางออกร่วมกัน ได้แก่

2.1การเข้าถึงแหล่งทุน หรือการระดมทุน โดยหน่วยงานทั้งหมดยังขาดความมั่นคงทางการเงิน

ส่วนมากดำเนินงานภายใต้การขอรับการสนับสนุนงบประมาณก้อนเล็ก ๆ หรือทำโครงการย่อยภายใต้การสนับสนุนจากองค์กรในพื้นที่ ทำให้การทำงานขาดความยั่งยืน ไม่สามารถทำตามแนวทางที่องค์กรวางไว้ได้ ต้องผันแปรไปตามเป้าหมายของแหล่งทุน ทางออกร่วมกัน : ได้ร่วมกันแสวงหาทางออกเพื่อแก้ปัญหาเกี่ยวกับงบประมาณดำเนินงาน ดังนี้ 1. องค์กรที่มีเป้าหมายการดำเนินงานใกล้เคียงกันให้พัฒนาข้อเสนอโครงการขนาดใหญ่ร่วมกัน

แล้วจัดทำข้อเสนอโครงการไปยังหน่วยงานเอกชนขนาดใหญ่ หรือองค์กรภาครัฐเพื่อขอรับการสนับสนุนดำเนินกิจกรรมระยะยาวร่วมกัน (หลายองค์กร หนึ่งเป้าหมายร่วม) 2. ระดมทุนผ่าน crowd funding หรือรับบริจาคจากมวลชนเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมจากคนทั้งประเทศ โดยการพัฒนาโครงการที่น่าสนใจสำหรับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ แล้วขอรับบริจาคผ่านเวบระดมทุน เช่น เทใจดอทคอม เพื่อให้ประชาชนร่วมลงขันบริจาค ซึ่งการระดมทุนในลักษณะนี้จะต้องใช้เวลาในการขอรับบริจาคราว 3-4 เดือน แต่ทำให้ได้งบประมาณเพื่อทำกิจกรรมเฉพาะด้าน และมีความยืดหยุ่นด้านการใช้เงินมากขึ้น สามารถทำกิจกรรมตามเป้าหมายที่เรากำหนดได้เต็มที่ 2.2 เครือข่ายขาดทักษะ ช่องทาง

และสื่อในการเผยแพร่ข่าวสารการดำเนินงานของตนเองให้มีประสิทธิภาพ เช่น ไม่สามารถเขียนรายงานได้อย่างน่าสนใจ ไม่สามารถเชียนเรื่องเล่าเพื่อจูงใจสาธารณะได้ ทำให้ไม่สามารถบอกเล่าการทำงานของตนเองไปยังกลุ่มเป้าหมายได้

ทางออกร่วมกัน :

ศูนย์อาสาสร้างสุขจะรับหน้าที่ในการรวบรวมการดำเนินงานที่น่าสนใจของเครือข่าย นำไปเผยแพร่ผ่านสื่อสาธารณะ สื่อมวลชน สืิ่อโซเชียล และสื่อของศูนย์อาสาสร้างสุข ได้แก่ จดหมายข่าวอาสาสร้างสุข volunteer guide map เวบอาสาสร้างสุข โซเชียลมีเดีย พร้อมทั้งวางแผนพัฒนาทักษะในการสื่อสารการทำงานของเครือข่าย และติดตามการนำทักษะไปใช้งานจริง ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ 1. เกิดเครือข่ายอาสาสมัครด้านการสร้าง 2. สันติภาพในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้จำนวน 53 คน 20 องค์กร

  1. เกิดช่องทางในการสื่อสารการดำเนินงานของเครือข่าย อย่างน้อย 4 ช่องทาง ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ
  2. งานอาสาสมัครด้านการสร้างสันติภาพในพื้นที่ที่มีแผนการทำงานร่วมกันอย่างชัดเจน
  3. มีผู้ได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับงานอาสาสมัครผ่านสื่อใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น
  4. เกิดแนวทางและข้อตกลงในการทำงานร่วมกัน ได้แก่ a. การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารการดำเนินงานขององค์กรผ่านช่องทางโซเชียลออนไลน์ (ไลน์กลุ่ม)

พร้อมทั้งหารือแนวทางการทำงาน

b.

เกิดการแลกเปลี่ยน/ส่งต่อข้อมูลด้านงานอาสาสมัครเพื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรมที่ต้องการให้อาสาสมัครจากภายนอกเ ข้าไปมีส่วนร่วมด้านการเยียวยาและสมานฉันท์

c. นำเสนอข้อมูลองค์กรเครือข่ายผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น เว็บไซต์ volunteer guide map

จดหมายข่าว

d. ร่วมกันหาแนวทางการระดมทุนหรือแสวงหาแหล่งทุนร่วมกัน e. ระดมทรัพยากรระหว่างองค์กรเครือข่าย เช่น ทุน กำลังคน สื่อ

เพื่อจัดกิจกรรมด้านการเยียวยาและสร้างความสมานฉันท์ในพื้นที่

f. กำหนดให้จัดประชุมพบปะเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลการดำเนินงานขององค์กรทุก 6 เดือน

 

การอบรม "ค่ายพัฒนาทักษะด้านความปลอดภัยแก่เยาวชน" 10 ธ.ค. 2560 24 ก.ค. 2561

 

วิธีดำเนินการ/กิจกรรมย่อย

 ประสานงานองค์กรเครือข่าย  ประสานงานวิทยากรแต่ละด้าน  ประชาสัมพันธ์ไปยังเครือข่ายเพื่อคัดเลือกเยาวชนเข้าร่วมรับการอบรม  จัดอบรมค่ายเสริมทักษะด้านความปลอดภัยแก่เยาวชน โดยมีทักษะที่สำคัญ ได้แก่ 1. อบรม “ทฤษฎีทักษะการว่ายน้ำและการช่วยเหลือคนจมน้ำ” 2. บรรยายและฝึกปฏิบัติ “วิธีปฏิบัติการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน หรือ CPR” 3. อบรมเสริมทักษะ "การรับมือน้ำท่วมสำหรับเยาวชน” 4. อบรม “การใช้งานโซเชียลมีเดียอย่างปลอดภัย และฝึกตั้งค่าความปลอดภัยด้วยตนเอง” 5. เรียนรู้แนวทางการเอาตัวรอดในภาวะวิกฤต  ประเมินผลการจัดอบรม

 

ผลการดำเนินงาน 1. อบรม “ทฤษฎีทักษะการว่ายน้ำและการช่วยเหลือคนจมน้ำ " โดย วิทยากรจากสมาคมศิษย์เก่าบัณฑิตอาสามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ก่อนที่จะให้เยาวชนได้ปฏิบัติจริงวิทยากรให้ความรู้ด้านการว่ายน้ำและการช่วยเหลือคนจมน้ำโดยให้เยาวชนเล่าประส บการณ์ที่เคยจมน้ำว่าแต่ละคนเคยจมแบบไหนบ้าง มีการสะท้อนที่น่าสนใจจากเยาวชน ดังนี้ - น้องอาอีซะ เคยลงเล่นน้ำทะเล โดนน้ำพัดห่างจากฝั่งลงทะเล พยายามเรียกแม่ให้ลงไปช่วยแต่แม่ก็ว่ายน้ำไม่เป็น แต่โชคดีที่มีนักท่องเที่ยวลงไปช่วยได้ทัน ตอนนั้นสำลักน้ำไปพอสมควรก่อนที่จะถึงมือคนช่วย และมาครั้งนี้จึง็อยากฝึกให้ตัวเองสามารถลอยตัวในน้ำได้ก็ดีใจแล้ว - น้องยา ไปเที่ยวทะเลกับญาติ แล้วลงเล่นน้ำทะเลกันประมาณ5 คน ทุกคนว่ายน้ำไม่เป็น ตอนแรกเล่นอยู่ที่ตื้น แต่โดนน้ำทะเลพัดพาไป แล้วเป็นน้ำวนด้วย

ตอนนั้นเพื่อนที่โดนน้ำพัดออกไปด้วยกันพยายามเอาตัวรอดโดยกดหัวเราเองทำให้ตัวเองจมอยู่ใต้น้ำ สุดท้ายช่วยได้ทันทั้งหมดโดยดึงตัวต่อๆ กัน จนปลอดภัยทุกคน สรุปเนื้อหาโดยย่อจากการอบรม 1. การว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด บางครั้ง คนจมน้ำปลอดภัยแต่คนช่วยไม่รอด ส่วนใหญ่คนช่วยไม่ถูกวิธี เพราะไม่มีทักษะการช่วยเหลือคนจมน้ำที่ถูกต้อง เพราะคนจมน้ำเฉลี่ยแล้ว 4 คนต่อวัน มากกว่าอุบัติเหตุทางบกจากทั่วประเทศ จังหวัดที่เด็กจมน้ำภาคใต้คือสงขลาที่มีผู้ประสบภัยมากสุด ช่วงที่เด็กเกิดเหตุมากสุดคือหน้าร้อน ส่วนใหญ่เกิดจากเพื่อนช่วยเพื่อน ดังนั้น เราต้องมีความรู้ก่อนที่จะไปช่วยเหลือคนอื่นได้ เพื่อให้เรามีความรู้สภาพแวดล้อมต่างๆ วิธีลงน้ำอย่างถูกวิธีสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเราไม่รู้ว่าสภาพน้ำตรงนั้นมีอะไรบ้าง เราควรเอาเท้าลงค่อยๆ หย่อนลงไปเรื่อยๆ และต้องระมัดระวังด้วย และมือต้องเกาะขอบให้แน่น การทำความคุ้นชินกับน้ำ ร่างกายรู้ว่าแรงต้านประมาณไหน ค่อย ๆ เดินแหวกน้ำ การหายใจใต้น้ำ คนที่กลัวน้ำไม่สามารถหายใจได้เพราะกังวลไม่มีสติ การฝึกตัวเองหายในน้ำเพื่อฝึกให้คุ้นชินกับน้ำเล่นกับน้ำลงน้ำ การหายใจในน้ำสูดลมหายใจเข้าไปในปอดแล้วค่อยๆปล่อยออกมาในน้ำ พื้นฐานของการช่วย ชีวิตโดยใช้ท่าผีจีน การลอยโดยใช้ท่าปลาดาวสามารถลอยได้ทั้งวัน ท่านอนหงาย ท่าแม่ชีลอยน้ำ การใช้ขวดน้ำช่วยเหลือคนอื่น สามารถช่วยชีวิตคนอื่นได้โดยถือขวดแนบชิดกับตัวเอง สำหรับคนที่เคยผ่านการอบรมมาก่อนสามารถใช้ขวดเล็กๆ เอาตัวรอดได้เพราะรู้วิธีการใช้ที่ถูกต้อง การเตะเท้าคว่ำ ใช้มือนำประสานมือแล้วกระพือน้ำทำให้ลอยตัวได้เร็ว การเตะเท้าหงายใช้ขาตีน้ำลอยตัวไป ข้อแนะเพื่อความปลอดภัย ไม่ว่ายน้ำคนเดียว ว่ายน้ำขนานฝั่ง ไม่เล่นน้ำเวลากลางคืนร่างกายเย็นอาจเกิดอาการตะคริว (กล้ามเนื้อเกร็ง) ไม่กระโดกลงน้ำทันที ไม่ดื่มสุราขณะเล่นน้ำ พักผ่อนไม่เต็มที่ทำให้จมน้ำได้ ไม่ควรใส่กางเกงยีนส์เล่นน้ำ เด็กเล็กขณะว่ายน้ำต้องมีคนดูแลและต้องใส่เสื้อชูชีพตลอด การช่วยชีวิตคนตกน้ำ โดยหลักการ “ตะโกน โยน ยื่น” วิธีการ ตะโกน ว่า “ช่วยด้วยๆ มีคนตกน้ำ โทรเรียก 1169” วิธีการโยน ต้องมีการวางเท้านำ เท้าตาม โดยใช้ขวดหรือแกลอนใช้เชือกผูกมือโยนออกไปจนกว่าคนจมน้ำจะได้เชือกที่เราโยน ให้ใกล้ตัวคนที่กำลังจะจมน้ำให้มากที่สุด วิธีการยื่น ต้องมีเท้านำ เท้าตาม ยื่นโดยใช้ไม้ยาวสะกิดตัวผู้ที่กำลังจะจมน้ำให้รู้สึกตัว ฝึกปฏิบัติการว่ายน้ำในสระจริง และฝึกปฏิบัติการช่วยเหลือคนจมน้ำ ผลการประเมินผลการอบรม โดยการสะท้อนความรู้สึก ความคิดเห็น - เมื่ออบรมแล้ว ช่วยให้ตนเองสามารถลอยตัวได้ ไม่ว่าจะคว่ำหรือหงาย - ได้รู้ว่าวิธีการช่วยเหลือคนจมน้ำ ได้รู้ทักษะใหม่ๆ สามารถไปช่วยคนที่จมน้ำได้ - ไปเผยแพร่และไปช่วยเหลือคน - ภูมิใจที่ได้เจอเพื่อนๆ ทุกคนและได้ฝึกทักษะการลอยตัวและการว่ายน้ำช่วยเหลือคนจมน้ำ - ได้ความรู้ใหม่ๆ มากมาย เช่น การช่วยเหลือทางน้ำ - สนุกมากได้รู้ทักษะการว่ายน้ำจะกลับไปสอนเด็กๆ ที่บ้าน - ดีใจที่ได้มีโอกาสมาเข้าร่วมครั้งนี้ ความรู้ไม่ได้มีเฉพาะในห้องเรียน มาเรียนวันนี้พร้อมปฏิบัติเลย แล้วจะนำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้ - ดีใจที่ได้เรียนรู้ทักษะใหม่ๆ เช่น การว่ายน้ำลอยตัว - ภูมิใจที่ได้มาศึกษาเกี่ยวกับทักษะการว่ายน้ำและจะนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน - ได้พบเพื่อนใหม่ๆ ได้ทำในสิ่งที่ไม่เคยทำเช่นการลอยตัวในน้ำ - ดีใจที่ได้เข้าร่วมค่ายครั้งนี้ ถ้ามีโอกาสพบเจอคนที่จมน้ำก็จะเอาความรู้ที่ได้จากวันนี้ไปช่วยเหลือ - วันนี้เราได้เรียนทั้งทฤษฎีและภาคปฏิบัติและนำไปใช้ได้ และจะนำไปสอนน้องๆ - เดิมทีไม่กล้าที่จะลงเล่นน้ำ ดีใจที่ได้มาค่าย ทำให้กล้าเล่นน้ำอีกครั้ง และจะกลับไปฝึกใช้เก่งขึ้น - มีประสบการณ์ในการว่ายน้ำมากขึ้น - มีสติได้รู้ว่าคนจมน้ำควรทำอะไรก่อน - ได้เรียนรู้ทฤษฎี การปฏิบัติ และสามารถไปช่วยเหลือคนอื่นได้

สรุปผลการประเมินทักษะหลังการอบรมว่ายน้ำ ดังนี้  ก่อนการอบรม มีเยาวชนที่ว่ายน้ำได้ จำนวนร้อยละ 30 เกือบทั้งหมดเป็นผู้ชาย  ก่อนการอบรม เยาวชนทั้งหมดไม่มีทักษะการลอยตัว การว่ายน้ำท่าลูกหมา และการช่วยเหลือคนจมน้ำอย่างถูกต้อง  หลังการอบรม เยาวชนเริ่มว่ายน้ำได้ในระยะสั้น (จ้วงมืิอ เตะขา หายใจ) เพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 20  หลังการอบรม เยาวชนจำนวนร้อยละ 90 สามารถลอยตัวได้  หลังการอบรม เยาวชนร้อยละ 40 สามารถว่ายน้ำท่าลูกหมาได้ในระยะสั้น  หลังการอบรม เยาวชนร้อยละ 100 ผ่านการประเมินผลการช่วยเหลือคนตกน้ำได้อย่างถูกต้อง 2. อบรมเสริมทักษะ การรับมือน้ำท่วมสำหรับเยาวชน” สรุปเนื้อหาโดยย่อจากการอบรมก่อนน้ำท่วม วิธีการป้องกันเวลาน้ำเข้าท่วม จมน้ำ เพื่อไม่ให้น้ำเข้าบ้านมีหลากหลายวิธีเช่นใส่น้ำในถุงพลาสติกแล้ววางกั้นประตูไว้ สำหรับระดับน้ำที่ไม่สูงเกินไป ถ้าเรารู้ก่อนที่น้ำจะเข้าเราก็สามารถเตรียม การเตรียมรับมือน้ำท่วม เช่นไฟฉายอาหารแห้งน้ำปลากระป๋องเตรียมไว้ก่อน ควรเตรียมอาหารที่ทำง่ายๆ ถุงพลาสติกถุงดำไว้ใส่ขยะและไว้ขับถ่าย -ระหว่างน้ำท่วม ติดตามข้อมูลข่าวสารตามสื่อต่างๆ เช่น เว็บไซต์ hatyaicityclimate.orgภาพถ่ายดาวเทียม สิ่งที่ต้องระวัง อุปกรณ์ในบ้าน สวิตช์ไฟ น้ำเชี่ยว การเตรียมน้ำดื่มเพื่อให้เราได้กินช่วงที่น้ำท่วมถ้าไม่มีน้ำดื่มหาน้ำที่สะอาดใส่ขวดแล้วตากแดด เอาน้ำใส่ขวด 3 ใน 4 ขวดเขย่าให้ฟองขึ้นหลังจากนั้นตากแดดทำไว้หลายๆ ขวดไว้ดื่มตอนไม่มีน้ำ การตากแดดสามารถฆ่าเชื้อได้ดี และสิ่งที่สามารถทำให้เราเอาตัวรอดได้ช่วงน้ำท่วม คือเสื้อชูชีพแต่ส่วนใหญ่ไม่มีตามบ้านทั่วไป เพราะฉะนั้นเราสามารถทำเสื้อชูชีพฉุกเฉินได้โดยการใช้ขวดน้ำ เสื้อ 2 ตัว แล้วตัดแขนเสื้อออกเอาขวดใส่ในเสื้อ แล้วเย็บติดด้วยกัน ไม่ให้ขวดหลุดออกไป ช่วงน้ำท่วมเท้าเราส่วนใหญ่อยู่ในน้ำทำให้เท้าเปื่อย น้ำกัดเท้า เราสามารถทำร้องเท้าบูทเองได้ โดยใช้ถุงดำสวมตั้งแต่เท้าถึงเข่า รัดด้วยเชือกหรือเทปกาว แล้วใส่รองเท้าผ้าใบเพื่อให้แน่น แล้วก็เดินไปแบบไม่ต้องกลัวเท้าเปื่อยช่วงน้ำท่วม - หลังน้ำท่วม ต้องใส่ใจเรื่องโรคที่มากับน้ำท่วม เช่น โรคฉี่หนู โรคเครียด เชคสวิทช์ไฟเพื่่อป้องกันไฟรั่ว 3. บรรยายและฝึกปฏิบัติ “ วิธีปฏิบัติการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานสำหรับประชาชนทั่วไป หรือ CPR” บรรยายเรื่องการช่วยชีวิตคนขณะที่หัวใจหยุดเต้นเรียกว่า CPR คือช่วยให้ปอดและหัวใจกลับมาทำงานอีกครั้งหนึ่ง หลักการเรียนรู้การปั๊มหัวใจเรียกว่าห่วงโซ่แห่งการรอดชีวิตมี อยู่ 5ห่วง 1. โทรศัพท์ขอความช่วยเหลือ 2. การปั๊มหัวใจอย่างมีประสิทธิภาพทันที 3. การกระตุ้นหัวใจด้วยเครื่อง AED 4. การช่วยเหลือขั้นพื้นฐานเรียกรถฉุกเฉิน 5.การรักษาต่อเนื่องขั้นสูงภายในโรงพยาบาลภายหลัง คำสำคัญของ CPR คือ “ปลุก โทร ปั้ม แปะ” รู้ได้อย่างไรว่าหมดสติ ข้อสังเกตคือหมดสติไม่รู้สึกตัว ไม่หายใจ หรือหายใจดังเฮือก เรียกไม่ตอบสนอง การเตรียมความพร้อมตั้งสติของเราให้ดีจัดท่านอนหงายบนพื้นแข็ง “ปลุก” สังเกตการหายใจตะโกนขอความช่วยเหลือทำให้เร็วภายใน 10 วินาที “ปั้ม” หน้าอก ตำแหน่งที่กดครึ่งล่างของกระดูกหน้าอก กดลึก 2 นิ้ว 5 เซนติเมตร อัตราเร็ว 100-

120 ครั้งต่อนาที เปลี่ยนกดหน้าอกทุก 2 นาที ให้เร็วน้อยกว่า 10 วินาที การสาธิตการปั๊มหัวใจ โดยจะให้เยาวชนทำหรือปฏิบัติทุกคนเพื่อให้รู้ตำแหน่งที่ต้องกดและแรงที่ต้องใช้ในการกดลงให้สม่ำเสมอ กิจกรรมนี้ทำให้เด็กที่เข้าร่วมมีความอยากรู้อยากลองและเป็นประโยชน์กับเด็กมากและสามารถไปถ่ายทอดและไปบอ กกับคนในบ้านหรือเพื่อนๆได้ เด็กแต่ละคนมีความสนใจที่อยากเรียนรู้การ CPR และตั้งใจ แล้วทุกคนก็ปฏิบัติได้ดี โดยมีวิทยากรให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิด 4. อบรม “การใช้งานโซเชียลมีเดียอย่างปลอดภัย และฝึกตั้งค่าความปลอดภัยด้วยตนเอง” โดย ผศ. ดร. ฤทัยชนนี สิทธิชัย จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี การใช้งาน Social Media อย่างปลอดภัยและฝึกตั้งค่าความปลอดภัยด้วยตัวเอง เป็นกิจกรรมเกี่ยวกับทักษะขั้นพื้นฐานเรื่องการสืบค้นข้อมูลต่างๆ การใช้สื่อสังคมออนไลน์ เช่น ไลน์ การบล็อกการแจ้งเตือน การสร้างกลุ่มไลน์ การใช้ Facebook ตั้งค่าเป็นส่วนตัวการล็อคอินตัวอย่างไรกรณีลืม logout การสร้างเพจ การเรียนรู้การใช้โซเชียลให้ถูกต้องการรู้ทันพายุออนไลน์ ทำให้เด็กได้ตระหนักความสำคัญในการใช้โทรศัพท์เพื่อให้เกิดความปลอดภัยมากขึ้น และสิ่งที่เด็กได้เรียนรู้วันนี้คือการได้รู้ถึงภัยคุกคามที่อยู่ใกล้ตัวโดยไม่รู้ว่ากำลังตกอยู่ในอันตรายซึ่งง่ายมากที่จะเกิดเหตุ การณ์แบบนี้ เช่น การใช้ทำอนาจาร คุกคามทางเพศแบบออนไลน์ การนำความลับ รูปภาพลับของเพื่อนมาเปิดเผย การสร้างตัวตนของผู้อื่นไปใช้หลอกลวง เป็นต้น จะเห็นได้ว่าภัยต่างๆ เหล่านี้ง่ายมากที่จะทำให้เราหลงไปอย่างไม่รู้ตัว เราควรดูแลตัวเองอย่างไรเพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงและรู้เท่าทันโลกออนไลน์ เช่น อย่าคุยกับคนแปลกหน้าหรือคุยกับคนที่ไม่รู้จัก ถ้าจะนัดเจอไม่ควรไปคนเดียว เราต้องมีสติใช้ความระมัดระวังในการคลิกลิงค์ต่างๆเป็นที่อยู่ของเว็บไซต์โดยตรง วิจารณญาณอย่างสูงในการรับข่าวสาร สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการใช้โซเชียลวันนี้ ทำให้เด็กรู้ว่าการใช้โซเชียลอย่างถูกต้องต้องทำอย่างไรบ้าง 5. เรียนรู้แนวทางการเอาตัวรอดในภาวะวิกฤต โดย พ.ต.ท.ประลอง นนท์ณรงค์ รอง ผกก.ฯ ปฏิบัติหน้าที่ กก.2 บก.สส.จชต. ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มีเหตุการณ์ความสูญเสียมากมายทำให้การใช้ชีวิตประจำวันของเราทุกคนนั้นต้องอยู่ด้ว ยความระมัดระวังอยู่เสมอเพราะไม่รู้ว่าเมื่อไหร่จะเกิดขึ้นกับตัวเองวิธีการเอาตัวรอดเมื่อเกิดเหตุการณ์นั้นสำคัญมาก สิ่งที่ได้เรียนรู้การเอาตัวรอด คือการปฏิบัติตัวเมื่อพบวัตถุต้องสงสัย 1. ห้ามเคลื่อนย้ายของโดยเด็ดขาด 2. ได้แจ้งเจ้าหน้าที่ทันที 3. จดจำลักษณะของวัตถุต้องสงสัยและแจ้งให้เจ้าหน้าที่รับทราบการแจ้งเตือนเมื่ออยู่ในเหตุการณ์ควรแจ้ง 191 แจ้งผ่านสมาร์ทโฟน App “Police i lert you” ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ - เกิดหลักสูตรการจัดอบรมเสริมทักษะด้านความปลอดภัยแก่เด็กในรูปแบบกิจกรรม 2 วัน 1 คืน ประกอบด้วย 4 ทักษะย่อยที่เยาวชนต้องรู้ 1 หลักสูตร - เกิดเครือข่ายวิทยากรอาสาเสริมทักษะด้านความปลอดภัยที่พร้อมจัดอบรมเสริมทักษะแก่เยาวชน โดยเป็นตัวแทนจากหน่วยงานต่างๆ ที่เก่ี่ยวข้อง 1 เครือข่าย - เกิดเครือข่ายอาสาสมัครมีทักษะความรู้ทักษะชีวิตด้านความปลอดภัย ด้านการว่ายน้ำและการช่วยเหลือคนจมน้ำ การรับมือน้ำท่วมสำหรับเยาวชน การปฏิบัติการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน หรือ CPR การใช้งานโซเชียลมีเดียอย่างปลอดภัย และการอบรมเรียนรู้แนวทางการเอาตัวรอดในภาวะวิกกฤติ จำนวน 72 คน - เยาวชนสามารถเป็นแกนนำหรือตัวเชื่อมประสานงานด้านอาสาสมัครช่วยเหลือชุมชน ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ - งานอาสาสมัครด้านทักษะชีวิตด้านความปลอดภัยมีความรู้ความเข้าใจอย่างแท้จริง - เยาวชนมีผู้ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องในด้านด้านการว่ายน้ำและการช่วยเหลือคนจมน้ำ การรับมือน้ำท่วมสำหรับเยาวชน การปฏิบัติการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน หรือ CPR การใช้งานโซเชียลมีเดียอย่างปลอดภัย และการอบรมเรียนรู้แนวทางการเอาตัวรอดในภาวะวิกฤติ

 

พัฒนาสื่อสร้างสรรค์ใหม่ ๆ เพื่อกระตุ้นการทำงานของอาสาสมัคร 15 ก.ค. 2561 24 ก.ค. 2561

 

ประชุมหารือเครือข่ายองค์กรด้านอาสาสมัครเพื่อนำเสนอแนวคิดการพัฒนาสื่อและช่องทางการเผยแพร่ข่าวสาร  รวบรวมความคิดเห็นเพื่อนำไปใช้พัฒนาสื่อ  รวบรวมข้อมูลข่าวสารของเครือข่ายฯ  พัฒนาสื่อแต่ละประเภท ได้แก่ เว็บไซต์ จดหมายข่าว Volunteer guide map และ toilet  นำเสนอสื่อต่าง ๆ สู่สาธารณะและเป้าหมายที่กำหนดไว้  ติดตามผล

 

-สามารถผลิตสื่อต่างๆ ได้ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ ได้แก่ -เว็บไซต์ 1 เวบ นำเสนอข้อมูลการทำงานของเครือข่าย และสามารถออนไลน์ได้ “ https://wearevolunteer.makewebeasy.com ” -Volunteer guide map นำเสนอแผนที่การทำงานอาสาสมัครของเครือข่าย จัดพิมพ์จำนวน 200 เล่ม -จดหม่ายข่าวอาสาสร้างสุข ขนาดเอสี่ จัดพิมพ์สี่สี จำนวน 500 เล่ม นำเสนอตัวอย่างที่น่าสนใจด้านอาสาสมัครขององค์กรเครือข่าย เผยแพร่ไปยังสาธารณะผ่านงานประชุมต่าง ๆ -Toilet board ซึ่งเป็นช่องทางการประชาสัมพันธ์ข่าวสารด้านงานอาสาสมัคร โดยติดตั้งในห้องน้ำสถานที่ต่างๆ เช่น ร้านอาหาร โรงแรม มหาวิทยาลัย โดยติดตั้งแล้วจำนวน 20 จุด และรอติดตั้งอีกราว 80จุด

ปัญหา พบว่าการติดตามการดำเนินงานของเครือข่ายเพื่อนำมาเผยแพร่ยังเป็นไปได้ช้า เนื่องจากทั้งปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ และระยะเวลาการดำเนินงานค่อนข้างน้อย แต่ทางโครงการจะได้ดำเนินงานต่อไปแม้ว่าจะสิ้นสุดงบประมาณจากโครงการแล้ว

 

การอบรมบันทึกข้อมูล โครงการขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนา จชต. 15 ก.ค. 2561 15 ก.ค. 2561

 

การอบรมบันทึกข้อมูล โครงการขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนา จชต.

 

ได้ความรู้การอบรมบันทึกข้อมูล โครงการขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนา จชต.

 

จัดทำรายงานผล การดำเนินงาน 26 ก.ค. 2561 26 ก.ค. 2561

 

  - สรุปผลการดำเนินงาน เป็นเลม่เอกสาร (รายงานปิดโครงการ)
- เผยแพรไ่ปยังองค์กร เครือข่าย 

 

-ได้เอกสารที่สามารถเผยแพร่ให้กับคนภายนอกได้เรียนรู้และหาข้อมูลเกี่ยวกับงานอาสาสมัคร -เอกสารสามารถรวบรวมสิ่งที่ได้จากกิจกรรมและความคิดเห็นของกลุ่มองค์กรต่างๆที่เข้าร่วมได้ดี

 

งบค่าเดินทางและค่า ติดต่อประสานงาน 26 ก.ค. 2561 26 ก.ค. 2561

 

เดินทางเพื่อ สนับสนุนและตดิตาม การดำเนินงาน 

 

  • งบประสานงานเป็นตัวเชื่อมในการทำงานให้เกิดผลสำเร็จและขาดไม่ได้ เป็นการขับเคลื่อนการทำงานประสานงานและติดต่อไปยังองค์กรหรือหน่วยงานต่างๆ ให้เกิดผลสำเร็จ