directions_run

พัฒนาศักยภาพแกนนำสภาองค์กรชุมชนต. จ.ยะลา สร้างความเข้มแข็งให้กับแกนนำสภาองค์กรชุมชนต.จ.ยะลา จำนวน 59 ต.

assignment
บันทึกกิจกรรม
อบรมการบันทึกข้อมูลการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมฯ15 กรกฎาคม 2561
15
กรกฎาคม 2561รายงานจากพื้นที่ โดย สภาองค์กรชุมชนต. จ.ยะลา
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • บันทึกข้อมูลรายละเอียดโครงการ
  • บันทึกข้อมูลกิจกรรม
  • บันทึกข้อมูลองค์กร
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เกิดข้อมูลพื้่นที่ตำบล

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 120 คน จากที่ตั้งไว้ 120 คน
ประกอบด้วย

องค์ก่รภาคประชาสังคมได้รับงบประมาณดครงการขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนา จชต. ประจำปีแผนงบประมาณ พ.ศ.2560 (50 ล้าน)

จัดเวทีสมัชชา”ยะลาสู่ความอบอุ่น”5 ธันวาคม 2560
5
ธันวาคม 2560รายงานจากพื้นที่ โดย สภาองค์กรชุมชนต. จ.ยะลา
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กำหนดการ เวทีสมัชชา “ยะลาแห่งความสุข และความอบอุ่นที่ยั่งยืน” วันอังคาร ที่ 5 ธันวาคม 2560 เวลา 08.00 – 15.30 น. ณ ห้องกังสดาล โรงแรมยะลาแกรนด์พาเลซอำเภอเมือง จังหวัดยะลา

08.00 – 09.00 น. ลงทะเบียน 09.00 – 09.30 น. ชมวีดีทัศน์/รายงานผลปฎิบัติงาน 5 โซน กล่าววัตถุประสงค์การจัดเวทีสมัชชา “ยะลาแห่งความสุข และความอบอุ่นที่ยั่งยืน” โดย นายกอเซงดอรอแมง ตำแหน่ง ประธานเครือข่ายภาองค์กรชุมชนตำบลจังหวัดยะลา 09.30 – 10.00 น. กล่าวเปิดงานสมัชชา “ยะลาแห่งความสุข และความอบอุ่นที่ยั่งยืน” โดย ท่านปรีชา ชนะกิจกำจร ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาบุคลากร (ศอ.บต.) 11.00 – 12.00 น. เสวนา หัวข้อ “ทิศทาง และปัจจัยการหนุนเสริมภาคประชาชนจังหวัดยะลา”“ยะลาแห่งความสุข และความอบอุ่นที่ยั่งยืน” พิธีกรดำเนินรายการ ดร.ตายูดินอุสมาน
วิทยากรร่วมเสวนา 1. นายปรีชา ชนะกิจกำจร ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาบุคลากร (ศอ.บต.) 2. พ.อ.ฐกรเนียมรินทร์ รองผู้อำนวยการศูนย์สันติวิถี 3. นายอานนท์มุสิกวรรณ ที่ปรึกษาผู้ตรวจราชการ(ด้านวิชาการ)อาจารย์มหาวิทยาลัย ราชภัฎยะลา 4. นายธีรพลสุวรรณรุ่งเรือง ผู้อำนวยการภาคใต้ สถาบันพัฒนาองค์กรฃชุมชน (องค์การมหาชน) 12.00 – 12.30 น. แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ช่วงเสวนา 12.30 – 13.30 น. รับประทานอาหารกลางวัน 13.30 – 14.30 น. แถลงการณ์
อ่านข้อเสนอพร้อมยื่นขอเสนอ โดย ......................................................................................... 14.30 น. กล่าวให้โอวาท และปิดงานสมัชชา “ยะลาแห่งความสุข และความอบอุ่นที่ยั่งยืน”
โดย นายวรเชษฐ พรมโอภาษ รองผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา เดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ

หมายเหตุ กำหนดการอาจมีการปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

การประเมินผล             - ประชาชนมีความสนใจในการจัดงานสมัชชา“ยะลาแห่งความสุข และความอบอุ่นที่ยั่งยืน”70 %             - ประชาชน กลุ่มองค์กร สภาองค์กรชุมชน สามารถนำเรื่องในหัวข้อเสวนานำไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่ ตำบล ชุมชน 90%             - มีความเข้าใจในพื้นที่รูปธรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและทุนฐานรากสู่การจัดการตนเองโดยใช้สภาองค์กรชุมชนตำบล เป็นพื้นที่กลาง  65 % ผลที่ได้รับ - เกิดกระบวนการให้สภาองค์กรชุมชน ประชาชน หน่วยงานภาครัฐ เยาวชน ภาคีท้องที่ / ท้องถิ่น
และกลุ่มองค์กรอิสระที่มีอยู่ในจังหวัดยะลา มาใช้สิทธิร่วมกันในการบอกปัญหา ความต้องการของตนเอง เพื่อนำไปสู่การกำหนดนโยบาย และวางแผนการพัฒนาชุมชนในทุกด้าน ที่ตอบสนองกับความต้องการแก้ปัญหาของชุมชน ที่มีความเป็นธรรม ร่วมทั้งร่วมกันปฏิบัติตามแผน ร่วมกันระหว่างท้องที่ ท้องถิ่น และชุมชน - เกิดการตื่นตัว ให้คนในชุมชนลุกขึ้นมาปกป้อง การจัดการปัญหา และแก้ไขปัญหาด้วยตนเองมีความ เสมอภาคในการตัดสินใจในเรืองของส่วนรวมและเรียนรู้กัน เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน และคุณภาพชีวิตบนฐานรากความเข้มแข็งของชุมชนและการใช้ทุนทางเศรษฐกิจ ทุนทางสังคมและทุนทางทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีดุลยภาพเพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน ลดรายจ่าย สร้างรายได้ และการแก้ปัญหาความยากจนอย่างบูรณาการ - เกิดกระบวนการ แบบมีส่วนร่วมเป็นเครื่องมือหรือเป็นกลไกหนึ่งที่รวมคนให้มาเรียนรู้ร่วมกัน มา แก้ไขปัญหาร่วมกัน และเข้าไปมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายในระดับจังหวัด รวมทั้งยกระดับให้คนมีความกล้าหาญ ให้มีความรู้สึกรับผิดชอบต่อชุมชนของตนเองมากขึ้น ปัญหา และอุปสรรค     -  บางหน่วยงานยังไม่ให้ความสำคัญกับภาคประชาชนเท่าที่ควร     -  ระยะเวลาในการเตรียมงานมีระยะสั้นเกิดไป

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 409 คน จากที่ตั้งไว้ 409 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงานสภาองค์กรชุมชนตำบล 216 คน นักศึกษา,นักเรียน 49 คน หน่วยงาน 10 คน เครือข่ายภาคประชาสังคม  5 คน ผู้แทนสวัสดิการชุมชนตำบล 50 คน
นักวิชาการ 10 คน ท้องที่/ท้องถิ่น  10 คน ประเด็นงานอื่นที่มีในจังหวัด  59 คน