directions_run

ป้องกันและเฝ้าระวังโรคเรื้อรัง ชุมชนบ้านควน หมู่ที่ 5 ต.พร่อน อ.เมือง จ.ยะลา

แบบการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ (Process Evaluation)

กิจกรรมระยะเวลาเป้าหมาย/วิธีการผลการดำเนินงานปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
ตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริง
ประชุมคณะกรรมการ จำนวน 4 ครั้ง 29 ก.ค. 2560

 

 

 

 

 

เวทีประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเกี่ยวการการเฝ้าระวังและการป้องกันโรคเรื้อรังชุมชนตำบลพร่อน 12 ต.ค. 2560 14 ก.ค. 2561

 

กำหนดการ เวทีประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเกี่ยวการการเฝ้าระวังและการป้องกันโรคเรื้อรังชุมชนตำบลพร่อน  ซึ่งมีผู้เข้าร่วม 250 คน  ได้รับเกียรติจาก  นายปรีชา ชนะกิจกำจร ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาบุคลากร ศอ.บต.  เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเกี่ยวการการเฝ้าระวังและการป้องกันโรคเรื้อรังชุมชนตำบลพร่อน และ    ประธานสภาองค์กรชุมชนตำบลพร่อน นายอับดุลย์เลาะ  ยูโซ๊ะ  กล่าวรายงานโครงการ โดยมีวัตถุประสงค์
1. เพื่อส่งเสริมความตระหนักและได้เรียนรู้ในการป้องกัน ตลอดถึงวิถีการดูแลและการเฝ้าระวังรักษาโรคเรื้อรัง  ด้วยตนเองอย่างจริงจัง     2. เพื่อส่งเสริมให้ผู้นำชุมชนเกิดการเรียนรู้ร่วมกันในการแก้ปัญหาสังคมแบมีส่วนร่วม โดยเฉพาะการแก้ปัญหาสุขภาพของชุมชนในระดับหมู่บ้านและระดับตำบล 3. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนและผู้ได้รับผลกระทบได้ปฏิบัติและเฝ้าระวัง ตลอดถึงการดูแลซึงกันและในด้านสุขภาพ

 

โดยวิทยากร นางสมสกนธ์  ศิริมานนท์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลศูนย์ยะลา และ
ผศ.อับดุลลาตีฟ การี รองคณะบดีฝ่ายบริหารและแผนคณะอิสลามศึกษาและนิติศาสตร์มหาวิทยาบลัย ฟาฏอนี  ผู้ดำเนินการเสวนา นายรุสดี  ยูโซ๊ะ  ที่ปรึกษา ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี
เนื้อหาสาระสำคัญของผู้เสวนา ผู้ที่เป็นโรคเรื้อรังและโรคอื่น ๆ 1) การมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารของตนเองและครอบครัว 2) ความไม่เข้าใจและไม่ให้ความสำคัญต่อการดูแลสุขภาพตนเองย่างสม่ำเสมอ 3) ไม่ค่อยให้ความสำคัญในการออกกำลังกาย 4) ไม่ค่อยปฏิบัติตามคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ รพ.สต.,อสม.และ โรงพยาบาลศูนย์ยะลา 5) เชื่อฟังการแนะนำของเพื่อนมากกว่าหมอ และวิทยากรได้เน้นในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตัวเองในด้าน ป้องกัน – สะอาด – ดูอา (ขอพร) และในการปรับพฤติกรรม จะต้องเริ่มที่ ตัวเอง – ครอบครัว – ชุมชน
หลังจากนั้น ช่วงบ่าย 13.30 น. – 15.30 น. กิจกรรมแบ่งกลุ่มเป็น 6 กลุ่ม เพื่อร่วมกันระดมความคิดพร้อมแนวทางแก้ไข ในหัวข้อ “เราจะมีแนวทางป้องกันและเฝ้าระวังโรคเรื้อรังในชุมชนได้อย่างไร” ทุกกลุ่มได้มีการระดมความคิดในการค้นหาแก้ปัญหาและแนวทางแก้ไขที่สามารถจะปฏิบัติได้จริง และทุกกลุ่มจัดผู้แทนออกนำเสนอ เพื่อเป็นโจทย์การต่อยอดกับกิจกรรมที่ 2 และ 3 โดยสรุป คือ
1) บริโภคตามใจตนเอง 2) รับประทานอาหารไม่เป็นเวลา 3) ชอบทานอาหารที่มีไขมันสูง ที่มีรสเค็ม และ หวานจัด 4) ไม่ค่อยออกกำลังกาย 5) ไม่ยอมไปตรวจสุขภาพและไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่และแพทย์

 

กิจกรรม ที่ 2 ได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริงตลอดถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินที่เหมาะสม เสี่ยงต่อการเป็นโรคเรื้อรัง โดยจัดกิจกรรม ในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2560 7 พ.ย. 2560 15 ก.ค. 2561

 

นายอับดุลย์เลาะ ยูโซ๊ะ  ประธานสภาองค์กรชุมชนตำบลพร่อน ได้กล่าวความเป็นมาและวัตถุประสงค์ของโครงการ ฯ และได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริงตลอดถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินที่เหมาะสม เสี่ยงต่อการเป็นโรคเรื้อรัง โดยจัดกิจกรรม ในวันที่  7 พฤศจิกายน 2560 ตั้งแต่ 08.30 น. – 16.00 น. (กลุ่มเป้าหมาย 90 คน) สถานที่: ชุมชนบ้านบาลูกา หมู่ที่ 4 และ กะพ้อใน หมู่ที่ 7 ตำบลกะรูบี  อำเภอกะพ้อ จังหวัดปัตตานี คณะทีมงานตำบลกะรูบี อำเภอกะพ้อ จังหวัดปัตตานี นำโดย เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลกะพ้อ,อสม.,ผู้นำสี่เสาหลัก และประชาชนในพื้นที่ ให้การต้อนรับคณะศึกษาดูงานจากตำบลพร่อน อำเภอเมือง  จังหวัดยะลา ด้วยมิตรไมตรีที่ดีต่อกัน และได้มีการกล่าวต้อนรับ โดย เจ้าหน้าที่ รพ.กะพ้อ, ผู้แทน อสม. และ ผู้นำศาสนา  และได้กล่าวขอขอบคุณสภาองค์กรชุมชนตำบลพร่อน ฯ ที่ได้นำคณะนำแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แชร์ประสบการณ์กันและกัน โดยเฉพาะปัญหาด้านสุขสภาพ ซึ่งมีความจำเป็นที่ต้องเรียนรู้ด้วยตนเองเป็นอันดับแรก ซึ่งจะมีหลาย ๆ ฝ่าย มาช่วยกระตุ้นให้เกิดกระบวนการขับเคลื่อนในแต่ละพื้นที่
ตำบลกะรูบี ก็เป็นอีกตำบลหนึ่งที่ทาง รพ.กะพ้อ ได้ส่งเจ้าหน้าที่มาให้ความรู้ ความเข้าใจ ในประเด็นนี้ ส่วนหนึ่งได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ไปในระดับหนึ่ง ก่อให้เกิดประโยชน์อันใหญ่หลวงต่อตนเองและครอบครัว ทำให้โครงการนี้เป็นที่ต้องการของพี่น้องประชาชนเป็นอย่างมาก และต้องขอขอบคุณสภาองค์กรชุมชนตำบลพร่อนอีกครั้งหนึ่ง ที่ได้ให้ความสำคัญต่อปัญหาสุขภาพชุมชน ด้วยการเฝ้าระวังและป้องกันโรคเรื้อรังชุมชนตำบลพร่อน อำเภอเมือง จังหวัดยะลา การแบ่งฐานการเรียนรู้แลกเปลี่ยนกับครัวเรือนต้นแบบ ที่ประสบความสำเร็จในการปรับพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเป็น โรคเรื้อรังความดันโลหิตสูง และ โรคเบาหวาน 

 

นายวิภาค ภู่เพ็ชร นายอำเภอกะพ้อ  ได้กล่าวพบปะกับคณะศึกษาดูงาน ให้การสนับสนุนโครงการนี้อย่างเต็มที่ และได้ให้ข้อคิดต่อเจ้าหน้าที่ รพ.กะพ้อ  มีการขยายพื้นที่หมู่บ้าน ตำบล ใกล้เคียง ด้วย โดยให้มาศึกษาดูงานหมู่บ้านบาลูกา แห่งนี้เป็นต้นแบบ เพราะเป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ควบคู่กับการพัฒนาด้านอื่นไปด้วย  ผมขอชมเชยในความคิดดี ๆ ริเริ่มสิ่งใหม่ ๆ ให้กับชุมชน ของสภาองค์กรชุมชนตำบลพร่อน ที่เล็งเห็นความสำคัญปัญหาของพี่น้องประชาชน คือ การเฝ้าระวังและการป้องกันโรคเรื้อรังชุมชนตำบลพร่อน ในวันนี้ได้นำกลุ่มเป้าหมายและทีมงานมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน เป็นมิตรหมายที่ดีซึ่งกันและกัน สามารถพูดคุยถึงปัญหาด้วยตนเอง ด้วยความเข้าใจ
สามารภนำไปปฏิบัติด้วยความปลอดภัย และถูกต้องตามหลักวิชาการ ที่ได้รับการเรียนรู้ในครั้งนี้
ท้ายนี้ ผมขอฝากการดำรงชีวิต ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของ ราชกาลที่ 9 ซึ่งชี้แนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ เป็นเวลานานกว่ายี่สิบห้าปี เริ่มตั้งแต่ ระดับครอบครัว ระดับชุมชน ตลอดจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและการบริหารประเทศ ให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคไฮเทค
ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ
                                                          ความมีเหตุผล และจะต้องมี ระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ทั้งนี้ ต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ ระมัค ระวัง มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน เจ้าหน้าที่รัฐนักบริหาร นักธุรกิจ ทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม ความสื่อสัตย์ สุจริต และความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอททน ความเพียร มีสติปัญญา ความความรอบคอบในทุก ๆ ด้าน ให้สอดคล้องกับโลกปัจจุบัน นายต่วนซาการียา ตงคอเมา  ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 4 บ้านบาลูกา ตำบลกะรูบี อำเภอกะพ้อ จังหวัดปัตตานี  ได้นำเสนอประวัติความเป็นมาของตำบลกรูบี ตลอดถึงวิธีชีวิตความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชน ตั้งแต่บรรพบุรุษจนถึงปัจจุบันทำ ทำให้ได้รับความสนใจของคณะศึกษาดูงานเป็นอย่างมาก และได้นำเสนอกระบวนการการขับเคลื่อน โครงการดูแลสุขภาพพี่น้องประชาชน ตำบลกะรูบี ที่ผ่านมา ซึ่งได้รับการตอบรับจากพี่น้องประชาชนเป็นอย่างดี ทำให้เกิดความตระหนักที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้กับตนเอง และคนในครอบครัว ในระดับหนึ่ง  ส่วนเยาวชนในตำบลก็จะมารวมตัวกันที่มัสยิด สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ทุก ๆ วันอังคาร  เวลาบ่ายโมงเป็นต้นไป จะมาปรึกษาหารือกับผู้นำสี่เสาหลัก เพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาสังคมร่วมกัน โดยใช้พื้นที่เป็นที่ตั้งตามประเด็นของปัญหาแต่ละประเด็น ในขณะนี้ กลุ่มเยาวชนได้จัดตั้งกลุ่มปลูกพักปลอดสารพิษ ทำให้ประสบความสำเร็จได้ในระดับหนึ่ง จนกระทั่งมีหลายกลุ่มองค์กร เข้ามาศึกษาดูงานเรียนรู้ถึงวิธีการปลูกพักต่าง ๆ เช่น การปลูกพักกางมุ้ง ตลอดจนการปลูกพืชพักผสมประสาน ตามแนวคิดเกษตรทฤษฏีใหม่ กลุ่มนี้มีความเข้มแข็ง จะมีแกนนำมาอธิบายถึงวิธีการทำเกษตรทฤษฏีใหม่ได้อย่างชัดเจน สามารถนำเอาความรู้ไปปฏิบัติได้อย่างชัดเจน
ช่วงบ่าย  ได้เข้าไปศึกษาดูงานและเรียนรู้ศูนย์เรียนรู้และการเพิ่มประสิทธิภาพ การผลิตสินค้าเกษตร ของ นายแวอุเซ็ง  แต  แกนนำชุมชนบ้านเจาะกะพ้อใน หมู่ที่ 7 ตำบกะรูบี ฯ ได้รับการต้อนรับจากประธานศูนย์ ฯ และ  นายอายุ  ยูโซะ ผู้ใหญ่บ้าน หมูที่ 7 บ้านเจาะกะพ้อใน ตำบลกะรูบี อำเภอกะพ้อ จังหวัดปัตตานี ด้วยอย่างดียิ่ง 

 

จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวการบริโภคอาหารที่ถูกต้อง นำโดย นพ.ซาฟารี บินหลี นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ ด้านเวชกรรม สาขาอายุรศาสตร์ทั่วไป รพ.ศุนย์ยะลา พร้อมด้วยทีมงาน จำนวน 11 คน วันที่จัดกิจกรรม: 21 - 22 พฤศจิกายน 2560 21 พ.ย. 2560 21 พ.ย. 2560

 

จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวการบริโภคอาหารที่ถูกต้อง นำโดย นพ.ซาฟารี  บินหลี  นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ ด้านเวชกรรม สาขาอายุรศาสตร์ทั่วไป รพ.ศุนย์ยะลา พร้อมด้วยทีมงาน จำนวน 11 คน  สระสำคัญจากวิทยากรเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง 1. โรคความดันโลหิตสูง คือ ภาวะที่แรงดันของเลือดที่อยู่ในหลอดเลือดมีค่าสูงเกินปกติ (โดยค่าความดันโลหิตปกติ ควรน้อยกว่า 120/80 มิลิเมตรปรอท) หากมีค่า ตั้งแต่ 120/80 มิลลิเมตรปรอท ถือว่ามีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง เป็นภาวะที่ต้องทำการควบคุม แต่ถ้าความดันโลหิต มีค่าตั้งแต่ 140/90 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป ถือว่ามีภาวะความดันโลหิตสูง 2. ความดันโลหิตสูง ทำให้เกิดความเสียหายและการเสื่อมสภาพของหลอดเลือดแดงทั่วร่างกาย ซึ่งจะนำไปสู่สภาวะหลอดเลือดแดงแข็งและอุดตันหรือหลอดเลือดแตก 3. โรคความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของโรคหลอดเลือดสมอง (อัมพฤกษ์ อัมภาต) ไตวาย โรคหลอดเลือดหัวใจขาดเลือด หัวใจล้มเหลว ส่วนใหญ่เป็นสาเหตุของแห่งการเสียชีวิตที่สำคัญของไทย และเป็นภัยเงียบที่คุกคามชีวิต เนื่องส่วนใหญ่ไม่มีอาการเตือน ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง 1. เกิดจาก กรรมพันธุ์เป็นความดันโลหิตสูง อายุตั้งแต่  35 ปีขึ้นไป 2. เกิดจาก รับประทานอาหารที่มีรสเค็มจัด หวานจัด มัมจัด ไขมันในเลือดสูง ขาดการออกกำลังกาย อ้วน หรือ มีน้ำหนักตัวที่เพิ่มขี้น เครียดเรื้อรัง สูบบหรี่ หรือ ดื่มสุรา หรือ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ สระสำคัญจากวิทยากรเกี่ยวกับโรคเบาหวาน โรคเบาหวาน เป็นความผิดปกติของร่างกาย ที่ไม่สามารถนำน้ำตาลในร่างกายไปใช้ได้อย่างเต็มที่ สาเหตุ จากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน หรือ ไม่ขาดฮอร์โมน แต่ร่างกายไม่ตอบรับต่อฮอร์โมนชนิดนี้ ผลที่ตามมา คือ ระดับน้ำตาลสูงกว่าปกติ  โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและปัสสาวะให้เป็นปกติได้
โรคเบาหวานแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ เบาหวานชนิดที่ 1 ร่างกายมีการผลิตอินซุลินน้อยมาก หรือ ขาดอินซุลินโดยสิ้นเชิง  ส่วนใหญ่เป็นเพราะร่างกายสร้างแอนติบอดี้ทำลายเบต้าเซลล์ที่สร้างอินซูลิน พบประมาณร้อยละ 5 – 10 จากการวินิจฉัยเบาหวานทั้งหมด เบาหวานชนิดที่ 2 ร่างกายไม่สามารถใช้อินซูลินที่ผลิตมาได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เนื่องจากมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน พบประมาณ ร้อยละ 90 – 95 จากการวินิจฉัยโรคเบาหวาน สำหรับเบาหวานชนิดอื่น ๆ ที่อาจพบได้ ได้แก่ เบาหวานที่เกิดในขณะตั้งครรภ์ หรือ เบาหวานที่เกิดจากสาเหตุเฉพาะเจาะจง เช่น ความบกพร่องทางพันธุกรรม โรคของตับอ่อน ความผิดปกติของฮอร์โมน เป็นต้น
ฉะนั้น เบาหวานชนิดที่ 1  ไม่สามารถป้องกันได้ ส่วน เบาหวานชนิดที่ 2 สามารถป้องกันได้มากกว่าร้อยละ 80%  ด้วยการรับประทานอาหารอย่างเหมาะสมและเพิ่มการออกกำลังกาย/มีกิจกรรมทางกายอย่างสม่ำเสมอ ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน 1. ที่ไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้ เกิดจาก กรรมพันธุ์ อายุที่เพิ่มขึ้น ประวัติเบาหวานขณะตั้งครรภ์ หรือ น้ำหนักเด็กแรกเกิดมากกว่า 4 กิโลกรัม 2. สามารถปรับเปลี่ยนได้ ได้แก่ อ้วน ความดันโลหิตสูง ความผิดปกติของไขมันในเลือด การขาดการออกกำลังกาย การใช้ยาบางชนิด อาการของโรคเบาหวาน
1. อาการปัสสาวะบ่อย และ อาจพบว่าปัสสาวะมีมดตอม 2. หิวน้ำบ่อย เนื่องจากต้องทดแทนน้ำที่ถูกขับออกทางปัสสาวะ 3. กินเก่ง หิวเก่ง แต่น้ำหนักลด น้ำหนักลดเกิดจากการสลายไขมัน และ โปรตีนจากกล้ามเนื้อ 4. คันตามผิวหนัง มีการติดเชื้อรา โดย เฉพาะอย่างยิ่ง บริเวณช่องคลอดของผู้หญิง 5. เห็นภาพไม่ชัด ตาพร่ามัว 6. ชาไม่มีความรู้สึก หย่อนสมรรถภาพทางเพศ เนื่องจาก น้ำตาลในเลือดสูง นาน ๆทำให้เส้นประสาทเสื่อมเกิดแผลที่เท้าได้ง่ายเพราะไม่รู้สึก การรักษา 1. ควบคุมอาหาร ออกกำลังสม่ำเสมอ 2. ควบคุมอาหาร ออกกำลังไม่ได้ผล อาจต้องใช้ยารักษาเบาหวาน 3. ไปตรวจตามนัดทุกครั้ง 4. ควรหมั่นดูแลรักษาเท้าเป็นพิเศษ ระวังอย่าให้เกิดบาดแผล หรือ การอักเสบ หลังจากนั้น ตั้งแต่ 11.00 น. – 12.00 น. เป็นแบ่งกลุ่ม 5 ฐานการเรียนรู้  ในแต่ละฐานมีสมาชิกกลุ่ม 20 คน โดยจะเป็นการเวียนการเรียนรู้พร้อม ๆ กัน ใช้เวลารอบละ 45 นาที ฐานที่ 1 การเรียนรู้ด้วยตนเองเกี่ยวกับความอ้วน (คลินิกไร้พุง) สาระสำคัญของฐานที่ 1 ลดอ้วน ลดพุง ลดเอว ลดโรค ด้วยหลัก 3 อ2 ส.  เกณฑ์มาตรฐานรอบเอว ชาย ไม่มากกว่า 90 ซม. หรือ 36 นิ้ว  หญิงไม่มากกว่า 80 ซม. หรือ 32 นิ้ว  อันตรายจากโรคอ้วนลงพุง การมีไขมันในช่องท้องมากทำให้เกิดกลไกการเผาผลาญน้ำตาลในร่างกายผิดปกติ ระดับน้ำตาลในเลือดจะสูงขึ้น นำไปสู่การเกิดโรคเบาหวานในที่สุด  และ ความอ้วนจะส่งผลให้ระบบหมุนเวียนเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายผิดปกติ ส่งผลให้มีภาวะความดันโลหิตที่สูงขึ้น ฐานที่ 2 เรียนพฤติกรรมสุขภาพของตนเอง สาระสำคัญของฐานที่ 2 เป็นการเรียนรู้พฤติกรรม 3 อ. 2 ส. เพื่อ เป็นประเมินสุขภาพของตนเองอยู่ในความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ในระดับใด เสี่ยงน้อย เสี่ยงปานกลาง หรือ เสี่ยงมาก ด้วยการทำเครื่อง / ในข้อปฏิบัติเป็นประจำ (5 วันขึ้นไป รอบ 1 สัปดาห์) จะคำถาม 10 ข้อ  ถ้าได้มีการปฏิบัติน้อยกว่า 3 ข้อ ถือว่า มีความเสี่ยงน้อย  ถ้าได้มีการปฏิบัติน้อยกว่า 6 ข้อ ถือว่า มีความเสี่ยงปานกลาง  ถ้าได้มีการปฏิบัติเกิน 6 ข้อ ถือว่า มีความเสี่ยงมาก
ฐานที่ 3 เรียนรู้กินให้ดี ไม่มีโรค
สาระสำคัญของฐานที่ 3 เป็นการเรียนรู้พฤติกรรมการกิน คือ หลีกเลี่ยงการกินอาหารที่มีไขมันสูง เช่น อาหารทอด อาหารที่มีกะทิ อาหารที่มีแป้ง  ลดการกินอาหารที่มีรสหวานมาก เช่น น้ำชา กาแฟ ขนมหวาน  ลดการกินอาหารเค็ม ใช้เกลือในการปรุงอาหารไม่เกินวันละ 1 ช้อนชา  ขอให้เน้นกินผักและผลไม้ที่มีรสหวานน้อย เช่น  แอปเปิ้ล ส้ม ฝรั่ง องุ่นเขียว โดยยึดสูตร 6 – 6 -1 ฐานที่ 4 เรียนรู้การออกกำลังเพื่อสุขภาพ
สาระสำคัญของฐานที่ 4 เป็นการเรียนรู้การออกกำลังกาย
1) ควรออกกำลังกายต่อเนื่อง นาน 45 นาทีขึ้นไป อย่างน้อย 5 วัน/สัปดาห์ เช่น การเดินเร็ว ปั่นจักรยาน แอโรบิค ฟิตเนส ฯลฯ 2) มีการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ  ก่อนและหลังออกกำลังกาย เพื่อป้องกันอาการบาดเจ็บและปวดเมื่อย 3) หลังรับประทานอาหารไม่ควรนั่ง หรือ นอนทันที่ ควรทำงานบ้านเบา ๆ เช่น ล้างจาน กวาดบ้าน รดน้ำต้นไม้ หรือ เดินช้า เพื่อเพิ่มการเผาผลาญ 4) มีการบริหารร่างกายกระชับสัดส่วน เพื่อให้ร่างกายกระชับ และกระตุนร่างกายให้เผาผลาญ เช่น
ฮูลาฮูป,โยคะ 5 ท่ากระชับสัดส่วน คือ การเขย่าพุง สะดุ้ง นกเพนกวิน ปลาโลมา นกกระยาง เป็นต้น และ ฐานที่ 5 เรียนรู้เป้าหมายชีวิต เป็นฐานการเรียนรู้ฐานสุดท้าย จะเป็นการตั้งเป้าหมายของชีวิต ทุกคนไม่ต้องการเป็นโรคเรื้อรังหรือโรคติดต่อ ฐานนี้วิทยากรจะอธิบายความจริงของผู้เป็นโรค เป็นโรคแล้วอะไรจะตามมากับตนเองและครอบครัว และจะเสียอะไรไปบ้าง ในฐานนี้วิทยากรสรุปได้ว่า ถ้าจะให้มีสุขภาพดีแข็งแรง ปลอดจากโรคภัยไข้เจ็บ ต้องปรับพฤติกรรมเดิม ๆ ที่ได้ทำไว้ที่ตรงข้ามกับทั้งสี่ฐาน และต้องปฏิบัติตามที่วิทยากรแนะนำ ตั้งแต่ฐานที่ 1 – 4 อย่างสม่ำเสมอ เราต้องมีความเชื่อมั่นกับตนเอง สามารถทำได้เพื่อสุขภาพของตนเอง

 

สระสำคัญจากวิทยากรเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง 1. โรคความดันโลหิตสูง คือ ภาวะที่แรงดันของเลือดที่อยู่ในหลอดเลือดมีค่าสูงเกินปกติ (โดยค่าความดันโลหิตปกติ ควรน้อยกว่า 120/80 มิลิเมตรปรอท) หากมีค่า ตั้งแต่ 120/80 มิลลิเมตรปรอท ถือว่ามีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง เป็นภาวะที่ต้องทำการควบคุม แต่ถ้าความดันโลหิต มีค่าตั้งแต่ 140/90 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป ถือว่ามีภาวะความดันโลหิตสูง 2. ความดันโลหิตสูง ทำให้เกิดความเสียหายและการเสื่อมสภาพของหลอดเลือดแดงทั่วร่างกาย ซึ่งจะนำไปสู่สภาวะหลอดเลือดแดงแข็งและอุดตันหรือหลอดเลือดแตก 3. โรคความดันโลหิตสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของโรคหลอดเลือดสมอง (อัมพฤกษ์ อัมภาต) ไตวาย โรคหลอดเลือดหัวใจขาดเลือด หัวใจล้มเหลว ส่วนใหญ่เป็นสาเหตุของแห่งการเสียชีวิตที่สำคัญของไทย และเป็นภัยเงียบที่คุกคามชีวิต เนื่องส่วนใหญ่ไม่มีอาการเตือน ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง 1. เกิดจาก กรรมพันธุ์เป็นความดันโลหิตสูง อายุตั้งแต่  35 ปีขึ้นไป 2. เกิดจาก รับประทานอาหารที่มีรสเค็มจัด หวานจัด มัมจัด ไขมันในเลือดสูง ขาดการออกกำลังกาย อ้วน หรือ มีน้ำหนักตัวที่เพิ่มขี้น เครียดเรื้อรัง สูบบหรี่ หรือ ดื่มสุรา หรือ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ สระสำคัญจากวิทยากรเกี่ยวกับโรคเบาหวาน โรคเบาหวาน เป็นความผิดปกติของร่างกาย ที่ไม่สามารถนำน้ำตาลในร่างกายไปใช้ได้อย่างเต็มที่ สาเหตุ จากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน หรือ ไม่ขาดฮอร์โมน แต่ร่างกายไม่ตอบรับต่อฮอร์โมนชนิดนี้ ผลที่ตามมา คือ ระดับน้ำตาลสูงกว่าปกติ  โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและปัสสาวะให้เป็นปกติได้
โรคเบาหวานแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ เบาหวานชนิดที่ 1 ร่างกายมีการผลิตอินซุลินน้อยมาก หรือ ขาดอินซุลินโดยสิ้นเชิง  ส่วนใหญ่เป็นเพราะร่างกายสร้างแอนติบอดี้ทำลายเบต้าเซลล์ที่สร้างอินซูลิน พบประมาณร้อยละ 5 – 10 จากการวินิจฉัยเบาหวานทั้งหมด เบาหวานชนิดที่ 2 ร่างกายไม่สามารถใช้อินซูลินที่ผลิตมาได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เนื่องจากมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน พบประมาณ ร้อยละ 90 – 95 จากการวินิจฉัยโรคเบาหวาน สำหรับเบาหวานชนิดอื่น ๆ ที่อาจพบได้ ได้แก่ เบาหวานที่เกิดในขณะตั้งครรภ์ หรือ เบาหวานที่เกิดจากสาเหตุเฉพาะเจาะจง เช่น ความบกพร่องทางพันธุกรรม โรคของตับอ่อน ความผิดปกติของฮอร์โมน เป็นต้น
ฉะนั้น เบาหวานชนิดที่ 1  ไม่สามารถป้องกันได้ ส่วน เบาหวานชนิดที่ 2 สามารถป้องกันได้มากกว่าร้อยละ 80%  ด้วยการรับประทานอาหารอย่างเหมาะสมและเพิ่มการออกกำลังกาย/มีกิจกรรมทางกายอย่างสม่ำเสมอ ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน 1. ที่ไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้ เกิดจาก กรรมพันธุ์ อายุที่เพิ่มขึ้น ประวัติเบาหวานขณะตั้งครรภ์ หรือ น้ำหนักเด็กแรกเกิดมากกว่า 4 กิโลกรัม 2. สามารถปรับเปลี่ยนได้ ได้แก่ อ้วน ความดันโลหิตสูง ความผิดปกติของไขมันในเลือด การขาดการออกกำลังกาย การใช้ยาบางชนิด อาการของโรคเบาหวาน
1. อาการปัสสาวะบ่อย และ อาจพบว่าปัสสาวะมีมดตอม 2. หิวน้ำบ่อย เนื่องจากต้องทดแทนน้ำที่ถูกขับออกทางปัสสาวะ 3. กินเก่ง หิวเก่ง แต่น้ำหนักลด น้ำหนักลดเกิดจากการสลายไขมัน และ โปรตีนจากกล้ามเนื้อ 4. คันตามผิวหนัง มีการติดเชื้อรา โดย เฉพาะอย่างยิ่ง บริเวณช่องคลอดของผู้หญิง 5. เห็นภาพไม่ชัด ตาพร่ามัว 6. ชาไม่มีความรู้สึก หย่อนสมรรถภาพทางเพศ เนื่องจาก น้ำตาลในเลือดสูง นาน ๆทำให้เส้นประสาทเสื่อมเกิดแผลที่เท้าได้ง่ายเพราะไม่รู้สึก การรักษา 1. ควบคุมอาหาร ออกกำลังสม่ำเสมอ 2. ควบคุมอาหาร ออกกำลังไม่ได้ผล อาจต้องใช้ยารักษาเบาหวาน 3. ไปตรวจตามนัดทุกครั้ง 4. ควรหมั่นดูแลรักษาเท้าเป็นพิเศษ ระวังอย่าให้เกิดบาดแผล หรือ การอักเสบ หลังจากนั้น ตั้งแต่ 11.00 น. – 12.00 น. เป็นแบ่งกลุ่ม 5 ฐานการเรียนรู้  ในแต่ละฐานมีสมาชิกกลุ่ม 20 คน โดยจะเป็นการเวียนการเรียนรู้พร้อม ๆ กัน ใช้เวลารอบละ 45 นาที

 

ประเมินและติดตามบุคคลที่เป็นโรคเรื้อรังอย่างใกล้ชิด ให้สามารถลดและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม วันที่จัดกิจกรรม: 20 ธันวาคม 2560 ตั้งแต่ 08.30 น. – 16.00 น. (กลุ่มเป้าหมาย 200 คน) 20 ธ.ค. 2560 20 ธ.ค. 2560

 

การติดตามกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการในการปรับพฤติกรรมจากการเฝ้าระวังการเป็นโรคเรื้อรังอย่างใกล้ชิด  นพ.ซาฟารี  บินหลี  นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ ด้านเวชกรรม สาขาอายุรศาสตร์ทั่วไป รพ.ศุนย์ยะลา พร้อมด้วยทีมงาน จำนวน 11 คน

 

                  จากตาราง พบว่าประชาชนกลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมโครงการฯ จำนวนทั้งสิ้น 200 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 78.79 และเพศชาย ร้อยละ 21.21 ส่วนใหญ่มีอายุ 35 – 59 ปี คิดเป็นร้อยละ 65.15 รองลงมามีอายุ 60 ปีขึ้นไป และอายุน้อยกว่า 35 ปี คิดเป็นร้อยละ 24.24 และ10.61 ตามลำดับ  ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง คิดเป็นร้อยละ 37.88 รองลงมาเป็นกลุ่มปกติและกลุ่มป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง  คิดเป็นร้อยละ 31.82 และ 30.30 ตามลำดับ  และส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน คิดเป็นร้อยละ 42.42 รองลงมาเป็นกลุ่มปกติและกลุ่มป่วยด้วยโรคเบาหวาน คิดเป็นร้อยละ 33.33 และ 22.73 ตามลำดับ
                  จากตาราง พบว่า ก่อนการเข้าร่วมกิจกรรมโครงการฯประชาชนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด(ที่ได้ทำแบบประเมินพฤติกรรมเสี่ยงด้านสุขภาพ) จำนวนทั้งสิ้น 105 คน ส่วนใหญ่มีพฤติกรรมเสี่ยงด้านการรับประทานอาหาร คิดเป็น          ร้อยละ 100 รองลงมามีพฤติกรรมเสี่ยงด้านการออกกำลังกาย คิดเป็นร้อยละ 82.86  มีพฤติกรรมเสี่ยงด้านอารมณ์ คิดเป็นร้อยละ 17.14 และมีพฤติกรรมเสี่ยงด้านการสูบบุหรี่ คิดเป็นร้อยละ 0.95  หลังการเข้าร่วมกิจกรรมโครงการฯประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีพฤติกรรมเสี่ยงลดลง ได้แก่ มีพฤติกรรมเสี่ยงด้านการรับประทานอาหาร ลดลงเป็นร้อยละ 49.52 มีพฤติกรรมเสี่ยงด้านการออกกำลังกาย ลดลงเป็นร้อยละ 30.48 มีพฤติกรรมเสี่ยงด้านอารมณ์ ลดลงเป็นร้อยละ 2.86 และมีพฤติกรรมเสี่ยงด้านการสูบบุหรี่ ลดลงเป็นร้อยละ 0.00                   จากตาราง พบว่าก่อนการเข้าร่วมกิจกรรมโครงการฯประชาชนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด(ที่ได้ทำแบบประเมินพฤติกรรมเสี่ยงต่อการโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน) จำนวนทั้งสิ้น 105 คน ส่วนใหญ่มีพฤติกรรมเสี่ยงอยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 80.95  รองลงมามีพฤติกรรมเสี่ยงอยู่ในระดับน้อย คิดเป็นร้อยละ 17.14 และมีพฤติกรรมเสี่ยงอยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 1.90  หลังการเข้าร่วมกิจกรรมโครงการฯประชาชนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมดมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานลดลง ได้แก่ พฤติกรรมเสี่ยงระดับมาก ลดลงเป็นร้อยละ 0.00  พฤติกรรมเสี่ยงระดับปานกลาง ลดลงเป็นร้อยละ 29.52 และพฤติกรรมเสี่ยงระดับน้อย เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 70.48       

 

เวทีคืนข้อมูลชุมชนกลุ่มเป้าหมายเพื่อกำหนดกติการ่วมในการบริโภคอาหารที่ปลอดโรคเรื้อรัง สามารถนำไปสู่ชุมชนต้นแบบการป้องกันโรคเรื้อรังอย่างยั่งยืน วันที่จัดกิจกรรม: 25 ธันวาคม 2560 ตั้งแต่ 08.30 น. – 16.00 น. (กลุ่มเป้าหมาย 200 คน) 25 ธ.ค. 2560 25 ธ.ค. 2560

 

เป็นกิจกรรมติดตามด้วยการซุ่มตัวอย่างกลุ่มเป้าหมาย แลกเปลี่ยนประสบการณ์จริงในรอบ 1 เดือนที่ผ่านมา ได้มีการปรับพฤติกรรมอะไรอย่างไรบ้าง ด้วยการสัมภาษณ์ของทีมวิทยากร                   จากการให้คณะทีมงานลงติดตามกลุ่มเป้าหมา จำนวน 200 คน ปรากฎว่า จากตาราง พบว่าประชาชนกลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมโครงการฯ จำนวนทั้งสิ้น 200 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 78.79 และเพศชาย ร้อยละ 21.21 ส่วนใหญ่มีอายุ 35 – 59 ปี คิดเป็นร้อยละ 65.15 รองลงมามีอายุ 60 ปีขึ้นไป และอายุน้อยกว่า 35 ปี คิดเป็นร้อยละ 24.24 และ10.61 ตามลำดับ  ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง คิดเป็นร้อยละ 37.88 รองลงมาเป็นกลุ่มปกติและกลุ่มป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง  คิดเป็นร้อยละ 31.82 และ 30.30 ตามลำดับ  และส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน คิดเป็นร้อยละ 42.42 รองลงมาเป็นกลุ่มปกติและกลุ่มป่วยด้วยโรคเบาหวาน คิดเป็นร้อยละ 33.33 และ 22.73 ตามลำดับ
                  จากตาราง พบว่า ก่อนการเข้าร่วมกิจกรรมโครงการฯประชาชนกลุ่มเป้าหมาย จำนวนทั้งสิ้น 200 คน ส่วนใหญ่มีเส้นรอบเอวเกินเกณฑ์มาตรฐาน คิดเป็นร้อยละ 61.62 และมีเส้นรอบเอวปกติ ร้อยละ 38.38            หลังการเข้าร่วมกิจกรรมโครงการฯประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีเส้นรอบเอวเกินเกณฑ์มาตรฐาน ลดลงจากเดิมเป็นร้อยละ 59.60 และมีเส้นรอบเอวปกติ เพิ่มขึ้นจากเดิมเป็นร้อยละ 40.40                   จากตาราง พบว่า ภายหลังการเข้าร่วมกิจกรรมโครงการฯประชาชนกลุ่มเป้าหมาย จำนวนทั้งสิ้น 200  คน ส่วนใหญ่มีเส้นรอบเอวเท่าเดิม คิดเป็นร้อยละ 59.60 รองลงมามีเส้นรอบเอวลดลง คิดเป็นร้อยละ 28.78 และมีเส้นรอบเอวเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 11.62                   จากตาราง พบว่า ภายหลังการเข้าร่วมกิจกรรมโครงการฯประชาชนกลุ่มเป้าหมาย จำนวนทั้งสิ้น 198 คน ส่วนใหญ่มีน้ำหนักตัวเท่าเดิม คิดเป็นร้อยละ 68.18 รองลงมามีน้ำหนักตัวลดลง คิดเป็นร้อยละ 20.20 และมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 11.62                   จากตาราง พบว่า ก่อนการเข้าร่วมกิจกรรมโครงการฯประชาชนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด(ที่ได้ทำแบบประเมินพฤติกรรมเสี่ยงด้านสุขภาพ) จำนวนทั้งสิ้น 105 คน ส่วนใหญ่มีพฤติกรรมเสี่ยงด้านการรับประทานอาหาร คิดเป็น          ร้อยละ 100 รองลงมามีพฤติกรรมเสี่ยงด้านการออกกำลังกาย คิดเป็นร้อยละ 82.86  มีพฤติกรรมเสี่ยงด้านอารมณ์ คิดเป็นร้อยละ 17.14 และมีพฤติกรรมเสี่ยงด้านการสูบบุหรี่ คิดเป็นร้อยละ 0.95  หลังการเข้าร่วมกิจกรรมโครงการฯประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีพฤติกรรมเสี่ยงลดลง ได้แก่ มีพฤติกรรมเสี่ยงด้านการรับประทานอาหาร ลดลงเป็นร้อยละ 49.52 มีพฤติกรรมเสี่ยงด้านการออกกำลังกาย ลดลงเป็นร้อยละ 30.48 มีพฤติกรรมเสี่ยงด้านอารมณ์ ลดลงเป็นร้อยละ 2.86 และมีพฤติกรรมเสี่ยงด้านการสูบบุหรี่ ลดลงเป็นร้อยละ 0.00                   จากตาราง พบว่าก่อนการเข้าร่วมกิจกรรมโครงการฯประชาชนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด(ที่ได้ทำแบบประเมินพฤติกรรมเสี่ยงต่อการโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน) จำนวนทั้งสิ้น 200 คน ส่วนใหญ่มีพฤติกรรมเสี่ยงอยู่ในระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 80.95  รองลงมามีพฤติกรรมเสี่ยงอยู่ในระดับน้อย คิดเป็นร้อยละ 17.14 และมีพฤติกรรมเสี่ยงอยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 1.90  หลังการเข้าร่วมกิจกรรมโครงการฯประชาชนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมดมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานลดลง ได้แก่ พฤติกรรมเสี่ยงระดับมาก ลดลงเป็นร้อยละ 0.00  พฤติกรรมเสี่ยงระดับปานกลาง ลดลงเป็นร้อยละ 29.52 และพฤติกรรมเสี่ยงระดับน้อย เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 70.48

 

  1. จากการดำเนินโครงการป้องกันและเฝ้าระวังโรคเรื้อรังชุมชนตำบลพร่อน อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ที่ผ่านมา ได้รับการตอบรับจากประชาชนในพื้นที่เกินความคาดหมาย เพราะเป็นโครงการที่ให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ของประมาชนอย่างแท้จริง และเป็นโครงการที่ยังไม่มีหน่วยใดดำเนินการ คุ้มกับการลงทุนของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นการลงทุนที่ขาดทุน แต่ มีผลกำไรอย่างมหาศาล ครั้งนี้ ถือเป็นคุณประโยชน์ยิ่งสำหรับกลุ่มเสี่ยงชาวตำบลพร่อน อำเภอเมือง จังหวัดยะลา แต่ยังมีกลุ่มเสี่ยงอีก จำนวน 380 คน ที่ยังไม่สามารถเข้าร่วมโครงการ เนื่องจากงบประมาณที่ได้รับการสนับสนุน จาก ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ อย่างจำกัด เพราะ ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้ใกล้ชิดกับคุณหมอ ๆ อยู่ได้ใกล้ชิดกับประชาชนเป็นระยะเวลา นาน 2 ชั่วโมง และกลุ่มเป้าหมายได้มีการแลกเปลี่ยนซักถามเป็นกันเอง ซึ่งต่างด้วยสิ้นเชิงจากที่ผู้ป่วยไปพบหมอที่โรงพยาบาล เห็นควรอย่าง ที่ทาง ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ต้องต่อยอดโครงการดังกล่าว ให้กับ สภาองค์กรชุมชนตำบลพร่อน ดำเนินการกับกลุ่มเสี่ยงอีก จำนวน 380 คนในปีต่อไป และควรมีการขยายพื้นที่อื่น ๆ อีกด้วย สุขของประชาชนไม่เท่ากับมีสุขภาพสมบูรณ์ อยู่ดี มีสุขภาพดี ซึ่งเป็นความสุขที่ยั่งยืนต่อไป 

 

โครงการอบรม การบันทึกข้อมูล โครงการขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนา จชต. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2560 14 ก.ค. 2561 14 ก.ค. 2561

 

-

 

-