Node Flagship

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ลดอุบัติเหตุบนท้องถนน ม.3 กะดูโด๊ะ ตำบลสะเอะ
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดยะลา
รหัสโครงการ 63001750023
วันที่อนุมัติ 1 มิถุนายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2563 - 31 มีนาคม 2564
งบประมาณ 139,910.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ นางสาวโซฟียะห์ มอซู
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวโซฟียะห์ มอซู
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวรอฮานี ดือเระ
พื้นที่ดำเนินการ ม.3 ตำบลสะเอะ อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มิ.ย. 2563 31 ส.ค. 2563 22 มิ.ย. 2563 31 ส.ค. 2563 55,964.00
2 1 ก.ย. 2563 31 ธ.ค. 2563 69,955.00
3 1 ม.ค. 2564 30 เม.ย. 2564 13,991.00
รวมงบประมาณ 139,910.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

อุบัติเหตุทางท้องถนนเป็นสาเหตุสําคัญของการบาดเจ็บและเสียชีวิตของประชาชน รวมทั้งทําให้เกิดการสูญเสียทางเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งเหตุเหล่านี้มักมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัยด้วยกัน อาทิเช่น ปัจจัยด้านพฤติกรรมของ  ผู้ขับขี่
  ปัจจัยด้านรถหรือยานพาหนะ ปัจจัยด้านถนนและสิ่งแวดล้อม และปัจจัยด้านบริหารจัดการ และจากข้อมูลสถานการณ์อุบัติเหตุของจังหวัดยะลา (ข้อมูล 3 ฐาน) พบว่าในปี พ.ศ. 2562 อำเภอกรงปินัง มีผู้เสียชีวิต
จำนวน 4 ราย คิดเป็นอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนเท่ากับ 1.61 ต่อแสนประชากร และเมื่อพิจารณาอัตราการเสียชีวิตจำแนกตามพื้นที่โดยใช้ข้อมูล ปี พ.ศ. 2561 พบว่า อำเภอกรงปินัง ไม่มีการเสียชีวิต แต่จะมีการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน จำนวน220 เหตุการณ์ มากสุด ม.3 กะดูโด๊ะ จะเห็นได้ว่า ม.1 ดุซงกูจิ ม.2 กูแย ม.4 สะเอะใน ม.5 แปแจง และ ม. 6 ตะโละสะโต ม่มีเหตุการณ์บาดเจ็บหรือเสียชีวิตที่เกิดจากอุบัติเหตุ เมื่อเปรียบเทียบกับ  ปี 2562 พื้นที่ บ้านม.3 กะดูโด๊ะ มีการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน จำนวน 249 เหตุการณ์ เสียชีวิต 4 ราย เมื่อเปรียบกับปีที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่า จำนวนผู้บาดเจ็บมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆและมีแนวโน้มผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นจากเดิมไม่มีการเสียชีวิต ในภาพรวมอำเภอกรงปินัง ปี 2562 จำนวนผู้บาดเจ็บ 249 คน เสียชีวิต 4 คน เกิดอุบัติเหตุในสายหลัก 133 คน สายรอง 116 คน ซึ่งสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุครั้งนี้ คือ ผู้ขับขี่ขาดวินัยกดจราจร 133 คน ผู้โดยสาร 54 คน เกิดจากการเดินเท้า 13 คน อื่นๆไม่ทราบสาเหตุ 49 คน   ในภาพรวมจังหวัด ปี พ.ศ. 2562 มีจำนวน 74 คน คิดเป็นร้อยละ 6.3 เมื่อจำแนกตามรายอำเภอ พบว่าเมืองยะลา ร้อยละ 6.0 (53 คน), เบตง 10.4 (12 คน) ปี 2560 อัตราตาย 7.6 ,ปี 2561 อัตราตาย 6.3 1.1 สถานการณ์ปัญหาการเกิดอุบัติเหตุทางถนนในชุมชน/หมู่บ้าน พื้นที่ของอำเภอกรงปินัง มี 4 ตำบล 23 หมู่บ้าน ประกอบ กรงปินัง(Krong Pinang) 9 หมู่บ้าน สะเอะ(Sa-e) 6 หมู่บ้าน ห้วยกระทิง(Huai Krathing) 4 หมู่บ้าน ปุโรง (Purong) 4 หมู่บ้าน ปี 2563 มีประชากร ชาย 14,816 คน หญิง 14,560 คน รวม 29,376คน จำนวนครัวเรือ 651 ครัวเรือน โดยพื้นที่ที่เกิดเหตุบ่อยที่สุดคือพื้นที่ตำบลสะเอะ หมู่บ้าน ดังนี้ บ้านสะเอะ(Sa-e) มี 6 หมู่บ้าน หมู่ที่ 3
บ้านกะดูโด๊ะ มีจำนวนประชากรทั้งหมด 29,376 คน 651 ครัวเรือน มีหมู่บ้านที่ตั้งอยู่บนถนนสายหลักเส้นที่ผ่านไปบันนังสตา ยะหา ยะลา มี 2 หมู่บ้านคือ หมู่ 3 บ้านสะเอะ หมู่ 1 บ้านกรงปินัง ซึ่งมีการเกิดอุบัติเหตุเกิดขึ้นบ่อย สาเหตุมาจากการที่ผู้ขับขี่ไม่มีจิตสํานึก วินัยจราจร ขับรถด้วยความเร็วสูง เมาสุรา ขณะขับขี่ทั้งรถจักรยานยนต์และรถยนต์ เนื่องจากพฤติกรรมการขับขี่ การไม่เคารพกฎจราจร และมีทางแยกเข้าหมู่บ้านหลายจุด ถนนเป็นทางโค้ง มีต้นไม้บังในบางจุด

โดยสาเหตุของการอุบัติเหตุทางถนนเหล่านี้เกิดจาก ด้านพฤติกรรมหลับใน ขับรถย้อนศร ไม่เคารพกฎจราจร เมาแล้วขับ สภาพร่างกายไม่พร้อมแล้วขับ เด็กแว๊น ประมาท ไม่มีความตระหนักและขับรถเร็ว ไม่สวมหมวกนิรภัย
ด้านกายภาพ ที่เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อม คือ ฝนตกถนนลื่น ถนนชำรุด ถนนติดกับบ้านของชุมชน มีร้านคาริมทางทำให้มีการจอดรถบนไหล่ทาง มีสัตว์เลี้ยงบนท้องถนน ส่วนด้านสังคม คือเด็กขับรถ ผู้สูงอายุใช้รถ และวัยรุ่นเสพยาแล้วขับรถ ด้านกลไก ได้แก่ ไม่มีการบังคับใช้กฎหมายและไม่มีแกนนำซึ่งจากสาเหตุต่าง ๆ ส่งผลให้เกิดผลกระทบทั้งทางด้านสุขภาพ สังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมดังนี้ จากพฤติกรรมการขับรถเร็ว ไม่สวมหมวกนิรภัยส่งผลให้เกิดความรุนแรงกับสุขภาพเมื่อเกิดอุบัติเหตุ ได้แก่ การได้รับบาดเจ็บ การเสียชีวิตและพิการไม่สามารถประกอบอาชีพได้ ส่งผลต่อทางด้านสังคมคือ ครอบครัวขาดผู้นำ ทำให้มีปัญหาครอบครัวและขาดยานพาหนะในการประกอบอาชีพ ทำให้ส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจ คือทำให้มีหนี้สินเพิ่มมากขึ้น ส่วนสภาพแวดล้อมทำให้การจราจรติดขัด
1.2 แนวทางการแก้ปัญหาการลดอุบัติเหตุบนท้องถนนตำบลสะเอะ จึงมีความจำเป็นที่ต้องดําเนินการอย่างจริงจัง เพื่อลดจํานวนอุบัติเหตุทางถนนและจํานวนผู้บาดเจ็บและ เสียชีวิตลงให้มากที่สุด โดยการรณรงค์เพื่อกระตุ้นเตือนประชาชนให้เกิดจิตสํานึก มีส่วนร่วมในการรับผิดชอบต่อสังคมในการป้องกันอุบัติเหตุบนท้องถนน ซึ่งน่าจะ  เป็นทางเลือกใหม่ที่มีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ ควรมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังทั้งเรื่องการให้สวมหมวกกันน็อค การขับรถย้อนศร การจัดการเรื่องการจอดรถบนไหล่ทาง เป็นต้น ซึ่งหากมีการปฏิบัติอย่างจริงจัง โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและหน่วยงานที่รับผิดชอบเข้ามามีส่วนร่วมในการช่วยกันแก้ไขปัญหา และหากแกนนำ และผู้นำชุมชนทำตัวเป็นแบบอย่างก็จะสามารถช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุ 1.3 หากเราสามารถจัดการเรื่องการลดอุบัติเหตุได้ อัตราการเกิดอุบัติเหตุ การเสียชีวิต การบาดเจ็บจากการเกิดอุบัติเหตุก็ลดลง ไม่มีการสูญเสีย ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ครอบครัวไม่ต้องรับภาระเลี้ยงดูในกรณีทุพพลภาพ ทำให้ครอบครัวมีความอบอุ่นไม่ขาดผู้นำครอบครัว สามารถทำมาหาเลี้ยงชีพและใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุข

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

อุบัติเหตุลดลง 1.อัตรา การตายลดลง ๕๐% จากเดิม ตาย 4 =100 เป้าหมายลดลงร้อยละ 50
2. อัตรา บาดเจ็บ ลดลง ๕๐% จากเดิม บาดเจ็บ 249 =100 เป้าหมายลดลงร้อยละ 50

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้เกิดกลไกการมีส่วนร่วมของชุมชนเรื่องป้องกันอุบัติเหตุทางถนนที่เข้มแข็ง ในชุมชนบ้านกะดูโด๊ะ และ เพื่อมีการติดตามเฝ้าระวังลดการเกิดอุบัติเหตุทางถนนในชุมชนบ้านกะดูโด๊ะ เพื่อมีการติดตามเฝ้าระวังลดการเกิดอุบัติเหตุทางถนนในชุมชนบ้านกะดูโด๊ะ

เชิงปริมาณ : 1. อุบัติเหตุ ก่อนทำโครงการ 249 ครั้ง เป้าหมาย 125 ครั้ง หลังทำโครงการ 76 ครั้ง
ลดลง ร้อยละ 60.80 2. ความรุนแรง ขับรถเร็ว ก่อนทำโครงการ 252 ราย หลังทำโครงการ 154 ราย
ลดลงร้อยละ 61.11 3. เสียชีวิต ก่อนทำโครงการ 4 ราย หลังทำโครงการ 0 ราย ลดลง ร้อยละ 100.00 4. พฤติกรรมการไม่สวมหมวกนิรภัยก่อนทำโครงการ 315 ราย หลังทำโครงการ 221 ราย
ลดลงร้อยละ 70.15 5. พฤติกรรมขับรถย้อนศร ก่อนทำโครงการ 95 ราย หลังทำโครงการ 80 ราย ลดลงร้อยละ 84.21

เชิงคุณภาพ : 1.พฤติกรรมการไม่สวมหมวกนิรภัย เห็นได้น้อย
2.พฤติกรรมขับรถย้อนศร ของประชาชนลดน้อยลงจากเดิม

0.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 120 120
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
-เยาวชนในพื้นที่ 2รุ่นๆละ 50 100 120
-แกนนำชุมชน/คณะทำงานกรรมการอุบัติเหตุ 20 25
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
1 กิจกรรมที่ 1 การพัฒนาศักยภาพทีมจัดทำดครงการย่อย (กิจกรรมที่หน่วยจัดการกำหนด) กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 28 10,000.00 5 11,200.00
1 มิ.ย. 63 - 31 มี.ค. 64 (ค่าจัดทำป้ายไวนิลป้ายชื่อโครงการ ) 2 1,000.00 1,000.00
1 มิ.ย. 63 - 31 มี.ค. 64 ค่าจัดทำรายงานและค่าอินเตอร์เน็ตเพื่อจัดทำรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบ 1 2,000.00 2,000.00
1 มิ.ย. 63 - 31 มี.ค. 64 ค่าเดินทางและค่าที่พักเพื่อเข้าร่วมประชุมกับ สสส.หรือหน่วยจัดการระดับจังหวัดฯ 20 7,000.00 7,000.00
6 ก.ค. 63 กิจกรรม เวทีพัฒนาศักยภาพการรายงานผลลัพธ์ของโครงการย่อย 2 0.00 480.00
15 ส.ค. 63 เวทีทบทวนบันไดผลลัพท์และออกแบบเก็บข้อมูลของโครงการย่อย 3 0.00 720.00
2 กิจกรรมที่ 2 จัดตั้งคณะทำงานและการประชุมคณะทำงานวางแผน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 80 32,350.00 4 32,352.00
26 มิ.ย. 63 จัดตั้งคณะทำงานและประชุมคณะทำงานวางแผน ครั้งที่1 (ค้นหาคณะทำงาน/บทบาทหน้าที่กรรมการด้านอุบัติเหตุในหมู่บ้าน ) 20 8,087.50 8,088.00
26 ก.ค. 63 จัดตั้งคณะทำงานและประชุมคณะทำงานวางแผน ครั้งที่2 (ประชุมคณะทำงาน/คลี่โครงการเชิญชวนชี้เป้า) 20 8,087.50 8,088.00
2 ส.ค. 63 จัดตั้งคณะทำงานและประชุมคณะทำงานวางแผน ครั้งที่3 (ประชุมคณะทำงานและจัดเก็บข้อมูลจุดเสี่ยง ลดอุบัติเหตุในหมู่ 3 กะดูโดะ ) 20 8,087.50 8,088.00
23 ส.ค. 63 จัดตั้งคณะทำงานและการประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 4 (ประชุมคณะทำงานลดอุบัติเหตุ ในหมู่ 3 กะดูโดะ ) 20 8,087.50 8,088.00
3 กิจกรรมที่ 3 คนในชุมชนและเยาวชนเกิดความตระหนัก กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 120 54,900.00 2 52,550.00
1 ก.ค. 63 - 31 ธ.ค. 63 ประชุมสร้างความเข้าใจแก่คนในชุมชน คืนข้อมูลให้คนในชุมชนฯ (แกนนำกลุ่มเยาวชน 100 คน) 100 47,000.00 47,800.00
1 ก.ค. 63 - 31 ธ.ค. 63 รณรงค์ประชาสัมพันธ์ ข้อตกลง กติการ่วมกัน อย่างต่อเนื่อง ( กิจกรรมติดตั้งป้ายไวนิล ณ จุดเสี่ยงในพื้นที่ คณะทำงาน คกก.อุบัติเหตุ 20 คน) 20 7,900.00 4,750.00
4 กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมเดินรณรงค์เรื่องการสวมหมวกน็อคในพื้นที่ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 107 14,660.00 2 15,808.00
1 ก.ค. 63 - 31 ธ.ค. 63 ประชุมคณะทำงาน เพื่อทบทวนแผน (สร้างความเข้าใจแก่คนในชุมชน คณะทำงานกรรมการอุบัติเหตุ) 4 ครั้ง 7 9,660.00 9,500.00
1 ก.ค. 63 - 31 ธ.ค. 63 บุคคลต้นแบบในชุมชนบ้านกะดูโด๊ะ สวมหมวกนิรภัยให้เป็นแบบอย่างแก่ชุมชนฯ (ชุมชนรณรงค์สวมหมวกน็อคในพื้นที่) 100 5,000.00 6,308.00
5 กิจกรรมการประเมินและการเรียนรู้ ARE (กะดูโด๊ะ) กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 60 0.00 3 0.00
28 ส.ค. 63 รายงานการติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา ARE ครั้งที่ …1…และติดตามรายงานความก้าวหน้ารายงานการเงิน ครั้งที่ 1 20 0.00 0.00
24 ม.ค. 64 รายงานการติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา ARE ครั้งที่ …2…..และติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานการเงิน ครั้งที่ 2 20 0.00 0.00
4 เม.ย. 64 สรุปผลการถอดบทเรียนตามแนวทาง CCAT (Community Coalition Action Theory) โครงการ ลดอุบัติเหตุ ม.3 กะดูโด๊ะ ตำบลสะเอะ อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา ARE ครั้งที่ 3 และติดตามความก้าวหน้ารายงานการเงิน ครั้งที่3 20 0.00 0.00
6 กิจกรรมที่ 5 ประชุมถอดบทเรียนคณะทำงาน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 7 28,000.00 1 28,000.00
1 - 28 ก.พ. 64 ประชุมถอดบทเรียนคณะทำงาน 7 28,000.00 28,000.00

กิจกรรมที่ 1 การพัฒนาศักยภาพทีมจัดทำโครงการย่อย
ครั้งที่ 1 ค่าจัดทำป้ายไวนิลป้ายชื่อโครงการ
ครั้งที่ 2 เวทีพัฒนาศักยภาพการรายงานผลลัพธ์ของโครงการย่อย กิจกรรมที่ 2 จัดตั้งคณะทำงานและประชุมคณะทำงานวางแผน
ครั้งที่ 1 (ค้นหาคณะทำงาน/บทบาทหน้าที่กรรมการด้านอุบัติเหตุในหมู่บ้าน ลดอุบัติเหตุในหมู่ 3 กะดูโดะ )
ครั้งที่ 2 (ประชุมคณะทำงาน/คลี่โครงการเชิญชวนชี้เป้า ลดอุบัติเหตุในหมู่ 3 กะดูโดะ)
ครั้งที่ 3 (ประชุมคณะทำงานและจัดเก็บข้อมูลจุดเสี่ยง ลดอุบัติเหตุในหมู่ 3 กะดูโดะ ) ครั้งที่ 4 (ประชุมคณะทำงานลดอุบัติเหตุ ในหมู่ 3 กะดูโดะ )

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 เกิดแกนนำในชุมชน เยาวชนร่วมกันสามารถขับเคลื่อนงานได้ ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 1.1 มีโครงสร้างแบ่งงานชัดเจน ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 1.2 มีข้อมูล มีแผนการดำเนินงานร่วมกันและแลกเปลี่ยนเรียนรูเพื่อค้นหาแนวทางการแก้ไขปัญหาและขยายผลกิจกรรม
ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 1.3 แกนนำมีทักษะด้านการวิเคราะห์ข้อมูลและจุดเสี่ยง ผลลัพธ์ที่ 2 คนในชุมชนและเยาวชนเกิดความตระหนัก ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 2.1 เกิดกติกา ข้อตกลง เยาวชน แกนนำชุมชน ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 2.2 เกิดกติกาชุมชน ชุมชนมีความรู้ความตระหนัก ผลลัพธ์ที่ 3 เกิดกลไกเฝ้าระวังเรื่องอุบัติเหตุ ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 3.1 แกนนำมีการติดตามเฝ้าระวัง
ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 3.2 มีข้อมูลการปรับพฤติกรรม

ผลลัพธ์ที่ 4 -เยาวชน คนในชุมชนได้รับความรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสวมหมวกกันน็อค -สภาพแวดล้อมได้รับการปรับเปลี่ยนการแก้ไขลดลง ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 4.1 ประชาชน/เยาวชนมีการสวมหมวกกันน็อคเพิ่มขึ้น 50% จากประชากรผู้ขับขี่ ผลลัพธ์ที่ 5 อุบัติเหตุลดลง ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 5.1 KPI 1 อัตรา การตายลดลง ๕๐% จากเดิม ตาย 4 =100 เป้าหมายลดลงร้อยละ 50
ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 5.2 KPI ๒ อัตรา บาดเจ็บ ลดลง ๕๐% จากเดิม บาดเจ็บ 249 =100 เป้าหมายลดลงร้อยละ 50

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 มิ.ย. 2563 13:10 น.