Node Flagship

directions_run

โครงการ ส่งเสริมปลูกผักปลอดภัยสู่สุขภาพชุมชนบ้านตาราแดะ

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

Node Flagship จังหวัดยะลา


“ โครงการ ส่งเสริมปลูกผักปลอดภัยสู่สุขภาพชุมชนบ้านตาราแดะ ”

อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา

หัวหน้าโครงการ
นายมะซารี ดอเลาะแซ

ชื่อโครงการ โครงการ ส่งเสริมปลูกผักปลอดภัยสู่สุขภาพชุมชนบ้านตาราแดะ

ที่อยู่ อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา จังหวัด ยะลา

รหัสโครงการ 63-00175-0002 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2563 ถึง 31 มีนาคม 2564


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการ ส่งเสริมปลูกผักปลอดภัยสู่สุขภาพชุมชนบ้านตาราแดะ จังหวัดยะลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ Node Flagship จังหวัดยะลา ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการ ส่งเสริมปลูกผักปลอดภัยสู่สุขภาพชุมชนบ้านตาราแดะ



บทคัดย่อ

ชุนชนบ้านตาราแดะ ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เป็นอาชีพหลัก มีการปลูกผักสวนครัว ปลูกไม้ผล และพืชไร่ ส่วนใหญ่ใช้สารเคมี ปุ๋ยเคมี ทำให้เกษตรกรมีปัญหาเรื่องต้นทุนการผลิตค่อนข้างสูง ใช้สารเคมีในกำจัดศัตรูพืช ประชาชนขาดความรู้วิธีการใช้สารเคมีที่ถูกต้อง ส่งผลกระทบจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่มีต่อสุขภาพประชาชนและสิ่งแวดล้อม ทําให้คุณภาพสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมลง อาจทําให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพอนามัยของเกษตรกรเอง ด้านผลผลิตทางการเกษตรจะผลิตจำพวกผักสวนครัวอายุสั้น เช่น แตงกวา ถั่วฝักยาว ผักทอง ข้าวโพด แตงโม ได้ในปริมาณมาก จะบริโภคในครัวเรือนและส่งหน่ายให้กับพ่อค้าแม่ค้าคนกลาง และไปวางจำหน่ายในตลาดเมืองใหม่ยะลา เกษตรกรจึงไม่เห็นความสำคัญของการปลูกผักปลอดสารเคมี ขาดองค์ความรู้ด้านการใช้สารเคมี ไม่มีศูนย์การเรียนรู้ หรือต้นแบบในการเพาะปลูกพืชผักปลอดสารเคมี หลังจากมีหน่วยงานสำนักงานกองทุนส่งเสริมสุขภาพ สสส. ได้สนับสนุนให้มีโครงการ ส่งเสริมปลูกผักปลอดภัยสู่สุขภาพชุมชนบ้านตาราแดะ ”อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา โดยมีพี่เลี้ยงจากสภาเกษตรจังหวัดยะลา ลงพื้นที่วิเคราะสภาพปัญหาในพื้นที่ พร้อมเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหา และยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน และอบรมให้ความรู้ให้กับเกษตรกรโดยเกษตรกรมีการรวมกลุ่ม จัดตั้งคณะทำงาน ให้มีการบริหารจัดตนเองตามบริบทในพื้นที่
จากการที่ได้เข้าร่วมโครงการส่งเสริมปลูกผักปลอดภัยสู่สุขภาพชุนชนบ้านตาราแดะ ได้มีหน่วยงานจากเกษตรอำเภอเมืองยะลา ได้อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ สารกำกัดศัตรูพืช อบรมให้มีความรู้ไตรโคเดอร์มา ใช้สำหรับผสมน้ำรดราด หรือฉีดพ่น เพื่อกันเชื้อราโรคเน่า โรคใบใหม้ และเชื้อราได้หลากหลาย และยังมีอีกหน่วยงานสำนักงานจากเกษตรจังหวัดยะลา ได้อบรมการปรับพฤติกรรมการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร ซึ่่งทาง Node flagship จังหวัดยะลา ได้มีการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของกลุ่มปลูกผักบ้านตาราแดะ ได้แนะนำการบริหารจักการ กลุ่มให้ดำเนินตามบันไดผลลัพธ์     ผลจากการดำเนินโครงการ ส่งเสริมการปลูกผักปลอดภัยสู่สุขภาพชุมชนบ้านตาราแดะ ทางกลุ่มปลูกผักบ้านตาราแดะ ได้มีการปลูกผักในแปลงรวม พื้นที่ จำนวน 3 ไร่ เกษตรกรมีความรู้มากขึ้นหลังจากที่ได้เข้าร่วมโครงการดังกล่าว ซึ่งทางกลุ่มเกษตรกรได้ตระหนักได้ให้ความสำคัญของสุขภาพ มีตรวจเลือดสารเคมีในเลือดของกลุ่มสมาชิก ทำให้เกษตรกรมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเลิกใช้สารเคมี หันมาปลูกผักแบบปลอดสารเคมี ทางกลุ่มฯประสบปัญหาน้ำท่วมขัง และปัญหาโรคระบาดโควิด-19 ทำให้การดำเนินโครงการชลอลง ทำให้ยังไม่ได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ตำบลบันนังสาเรง เป็นตำบล 1 ใน 13 ตำบล ที่อยู่ในเขตปกครองของอำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา  มีจำนวนหมู่บ้านทั้งสิ้น 6 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 1 บ้านพงยือไร หมู่ที่ 2 บ้านบันนังบูโย หมู่ที่ 3 บ้านตาราแดะ หมู่ที่ 4 บ้านตะโล๊ะสาลี หมู่ที่ 5 บ้านกูแบปุโรง และหมู่ที่ 6 บ้านกะตุปะ ตำบลบันนังสาเรง มีครัวเรือนจำนวนทั้งสิ้น 1,487 ครัวเรือน        มีประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม คิดเป็นร้อยละ 100 เปอร์เซ็นต์ โดยทั่วไปประชากรจะใช้ภาษายาวีเป็นภาษาท้องถิ่น มีการแต่งกายเป็นแบบท้องถิ่นดั้งเดิม สภาพสังคมเป็นสังคมที่มีขนบธรรมเนียมและวัฒนธรรมที่ยึดถือปฏิบัติกันมายาวนาน ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางด้านเกษตรกรรม คิดเป็นร้อยละ 60.80 ที่เหลืออีกร้อยละ 30.20 ประกอบอาชีพรับจ้าง ค้าขาย และอาชีพอื่นๆ การทำการเกษตรในพื้นที่ตำบลบันนังสาเรง อันดับที่หนึ่ง คือ ทำสวนยางพารา        มีเนื้อที่ปลูกประมาณ 4,792 ไร่ ปลูกมากที่สุด คือ หมู่ที่ 3 จำนวน 1,073 ไร่ รองลงมาคือ หมู่ที่ 5 จำนวน 1,050 ไร่ และหมู่ที่ 2 จำนวน 856 ไร่ ตามลำดับ เกษตรกรปลูกยางพาราพันธุ์ดี มีผลผลิตเฉลี่ย 260 กิโลกรัมต่อไร่ ยางพันธุ์พื้นเมืองมีผลผลิตเฉลี่ย 170 กิโลกรัมต่อไร่ มีมูลค่ารวม 67.93 ล้านบาทต่อปี อันดับที่สอง ทำนา มีเนื้อที่ปลูกข้าวประมาณ 3,588 ไร่ ปลูกมากที่สุดคือ หมู่ที่ 2 จำนวน 856 ไร่ รองลงมาคือ หมู่ที่ 4 จำนวน 852 ไร่ และหมู่ที่ 5 จำนวน 830 ไร่ ตามลำดับ เกษตรกรปลูกข้าวนาปี (เพียง 1 ครั้งต่อปี) มีผลผลิตเฉลี่ย 350 กิโลกรัมต่อไร่ มีมูลค่ารวม 18.84 ล้านบาทต่อปี อันดับที่สาม ทำสวน แบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้ ประเภทที่หนึ่ง คือ ไม้ผล มีพื้นที่ปลูกประมาณ 1,308 ไร่ ได้แก่ ทุเรียน ลองกอง ส้มโอ เงาะ มังคุด ตามลำดับ มีมูลค่ารวม 12.51 ล้านบาทต่อปี ประเภทที่สอง ไม้ยืนต้น มีพื้นที่ปลูกประมาณ 792 ไร่ ได้แก่ มะพร้าว หมาก และมะนาว ตามลำดับ มีมูลค่ารวม 14.23 ล้านบาทต่อปี ประเภทที่สาม พืชผัก มีพื้นที่ปลูกประมาณ 217 ไร่ ได้แก่ ถั่วฝักยาว แตงกวา พริกขี้หนู และมะเขือ ตามลำดับ มีมูลค่ารวม 7.9 ล้านบาทต่อปี ประเภทที่สี่ พืชไร่ มีพื้นที่ปลูกประมาณ 344 ไร่ ได้แก่ ข้าวโพดหวาน อ้อย และแตงโม ตามลำดับ มีมูลค่ารวม 11.54 ล้านบาทต่อปี อันดับที่สี่ ทำปศุสัตว์ ได้แก่ เลี้ยงวัว แพะ และไก่พื้นเมือง อันดับที่ห้า ทำประมง ได้แก่ ปลานิล และปลาตะเพียน        สรุปสินค้ามูลค่ารวมของตำบลบันนังสาเรง สามารถสร้างรายได้ 132.95 ล้านบาทต่อปี ในส่วนพืชผัก มีมูลค่า 7.9 ล้านบาทต่อปี ถือว่าเกษตรกรมีรายได้สูง มีความมั่นคงด้านอาหาร และความมั่นคงด้านคุณภาพชีวิตที่ดี ลักษณะพื้นที่ส่วนใหญ่ที่ราบลุ่ม และเขาบือยอสูงอยู่ทางด้านตะวันออก ทอดยาวในแนวด้านเหนือ – ใต้ มีลักษณะเป็นเขาสูงสลับซับซ้อน และใช้สันเขาเป็นแนวแบ่งเขตระหว่างเทศบาลตำบลบุดีกับตำบลบันนังสาเรง นอกจากนี้เขาบือยอยังเป็นต้นน้ำของคลองบันนังบูโยและคลองบือยอ และมีสภาพพื้นที่ลาดลงมาทางตอนกลางเป็นที่ดอนและพื้นที่ราบลุ่ม พื้นที่ทางด้านตะวันตกมีแม่น้ำปัตตานีไหลผ่านในแนว เหนือ – ใต้ และใช้กึ่งกลางแม่น้ำปัตตานีเป็นแนวแบ่งเขตระหว่างตำบลบันนังสาเรงกับตำบลเปาะเส้ง อำเภอเมืองยะลา และตำบลปุโรง อำเภอกรงปินัง ระยะทางประมาณ 6 กิโลเมตร ในเขตบันนังสาเรงและมีบึงธรรมชาติ 19 แห่ง มีลักษณะเป็นแนวยาวในด้าน เหนือ – ใต้ อยู่ใกล้กับแม่น้ำปัตตานี ซึ่งเป็นแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรกรรมที่สำคัญของพื้นที่ นอกจากนี้ยังมีทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 410 เป็นถนนสายหลักของตำบลอยู่ติดกับบริเวณเขาบือยอ ตัดผ่านในแนวเหนือ – ใต้ และเชื่อมต่อกับถนนสายรองในตำบล ลักษณะภูมิอากาศจัดอยู่ในเขตภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน ซึ่งเป็นลักษณะภูมิอากาศที่ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุม ทำให้เกิดฤดูกาล 2 ฤดู คือ ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์จนถึงเดือนกรกฎาคม เป็นช่วงที่ได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดมาจากมหาสมุทรอินเดีย ผ่านพื้นที่ภาคใต้ทางฝั่งตะวันตกทำให้มีอากาศร้อน ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนสิงหาคมถึงเดือนมกราคม เป็นช่วงที่ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดผ่านอ่าวไทย นำความชื้นมาทำให้เกิดฝน  สำหรับบ้านตาราแดะ หมู่ที่ 3 มีประชากรจำนวนทั้งสิ้น 1,531 คน ชาย 788 คน หญิง 743 จำนวน 277 ครัวเรือน เนื้อที่ประมาณ 2,318 ไร่ ประชาชนส่วนใหญ่ของบ้านตาราแดะ จะประกอบอาชีพทางด้านการเกษตรกรรม คือ การทำนา ทำสวนยางพารา ทำสวนผลไม้ เช่น เงาะ ทุเรียน ลองกอง เลี้ยงสัตว์ เช่น โค แพะ ไก่พื้นเมือง ทำไร่อายุสั้น เช่น ข้าวโพด และประกอบอาชีพรับจ้างบางส่วน ประชาชนที่ปลูกผักกินเอง ประมาณ 200 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 72 และประชาชนที่ไม่ปลูกผักกินเอง ประมาณ 77 ครัวเรือน คิดเป็นร้อย 28 บ้านตาราแดะเป็นหมู่บ้านที่ขับเคลื่อนด้านเศรษฐกิจพอเพียง ตามเกษตรทฤษฎีใหม่ ผู้ใหญ่บ้านให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนด้านการเกษตร เพื่อให้ชุมชนปลูกผักกินเอง เหลือสามารถจำหน่าย สร้างความเข้มแข็ง พึ่งตนเอง และเกิดรายได้แก่ประชาชนในพื้นที่ โดยมีทั้งพืช ประมง ปศุสัตว์ และยังเป็นเมืองต้นแบบด้านปศุสัตว์ เป็นนโยบายของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) แต่จากการวิเคราะห์ปัญหาผ่านเวทีประชาคมกลุ่มเกษตรกรที่ปลูกผัก พบว่า พฤติกรรมปลูกผักของเกษตรกรบ้านตาราแดะ โดยใช้ปุ๋ยเคมี เชื่อว่าให้ผลผลิตดี โตเร็ว ผักสวย สะดวกในการซื้อ มีตลาดรองรับ ขาดความเชื่อมั่นในปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยอินทรีย์ เนื่องจากประสบการณ์ของตัวเกษตรเองที่ใช้แล้วได้ผลไม่ดีเท่าทีควร จึงหันมาใช้ปุ๋ยเคมีแทน ไม่มีแผนการปลูกผักแต่จะปลูกผักตามกระแสราคาในตลาด ขาดการเชื่อมโยงตลาดทั้งในและนอกพื้นที่ นอกจากนี้ยังพบว่า เกษตรกรยังขาดความรู้ ทักษะการทำปุ๋ยหมักที่สามารถผลิตได้จากเศษวัสดุในหมู่บ้าน ขาดความรู้เรื่องผลกระทบการใช้ปุ๋ยเคมีต่อสภาพดิน และสุขภาพ แรงเสริมคือมีผู้นำชุมชนที่เข้มแข็ง มีแปลงผักกลางพร้อมที่จะพัฒนาเป็นต้นแบบการปลูกผักปลอดภัย  เกษตรกรมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาการปลูกผลักให้ปลอดภัย แต่ไม่ได้คำนึงถึงสาเหตุที่อาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพจากการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ อาหารที่มีการปลอมปนสารเคมี หรือ ผักที่ไม่ปลอดสารพิษ  หรือปลอดภัย เพราะหากเกษตรกรผู้ผลิตใช้สารกำจัดศัตรูพืช อย่างไม่ถูกวิธีจะทำให้สารเคมีที่เป็นโทษเหล่านั้นตกอยู่กับผู้บริโภคอย่างยากที่จะหลีกเลี่ยง ถือว่าเป็นการทำร้ายเพื่อนทางอ้อม ที่สำคัญยังทำให้ดินเสื่อมสภาพ มีค่าใช้จ่ายที่แพงกว่าใช้ปุ๋ยจากธรรมชาติ ซึ่งทางชุมชนได้เล็งเห็นความสำคัญในการจัดทำโครงการส่งเสริมปลูกผักปลอดภัยสู่ชุมชนตาราแดะ เพื่อปรับเปลี่ยนวิธีคิดในการทำเกษตรที่ปลอดภัยทั้งคนปลูกและคนกิน เพื่อส่งเสริมสุขภาพชุมชน ให้อยู่ดี กินดี ห่างไกลจากโรคภัยต่างๆ และเป็นแนวทางการพัฒนาผักที่ไม่ปลอดภัยสู่ผักที่ปลอดภัย (ฮาลาลลันตอยยีบัน)  ดังนั้น แนวทางในการป้องกันปัญหาที่เป็นการแก้ที่ต้นเหตุแบบยั่งยืน คือการให้องค์ความรู้แก่ประชาชนในพื้นที่ส่งเสริมการปลูกผักเพื่อบริโภคในครัวเรือน การปลูกผักรับประทานเองผักอินทรีย์หรือผักปลอดภัย  โดยไม่ใช้สารเคมีหรือใช้ในปริมาณที่ปลอดภัย และลดการซื้อผักจากรถเร่ และร้านค้าที่นำผักในตลาด มาขายในหมู่บ้าน ซึ่งเป็นหนทางหนึ่งที่จะช่วยใช้ผู้บริโภคได้รับสารอาหารที่ดีมีประโยชน์อย่างแท้จริง เพื่อลดโรค และเป็นการให้ชุมชนหันกลับมาดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวทางศาสตร์พระราชา คือ เกษตรทฤษฎีใหม่ เพื่อการป้องกันโรค และลดต้นทุนการผลิต เน้นในด้านการป้องกันโรคมากกว่าการรักษา ทั้งนี้ ให้เกษตรกรได้เรียนรู้กระบวนการผลิตผักปลอดภัยสู่ตลาดภายนอก เรียนรู้การวางแผนการผลิต การจัดการที่ดี ที่ครอบคลุมถึงด้านการตลาด มีอำนาจในการตั้งราคาเอง โดยไม่ให้พ่อค้าคนกลางกดราคาได้ เพื่อเกษตรกรสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน สร้างรายได้เสริม ให้เป็นรายได้หลักแทนยางพาราและให้เป็นพื้นที่แหล่งอาหารที่สำคัญของจังหวัดยะลาต่อไป

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อปลูกผักโดยไม่ใช้สารเคมีบริโภคในครัวเรือนและจำหน่าย

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. กิจกรรมที่ 7 เวทีคืนข้อมูลให้ชุมชน
  2. กิจกรรมที่ 1 ประชุมสมาชิกและประสานงาน
  3. กิจกรรมที่ 2 สำรวจแปลงเพื่อจัดทำข้อมูลพื้นฐาน
  4. กิจกรรมที่ 3 พัฒนาศักยภาพและศึกษาดูงานในจังหวัดที่ผ่านมาตรฐาน
  5. กิจกรรมที่ 4 อบรมการเตรียมแปลงก่อนการเพาะปลูก การปรับปรุงดิน ปุ๋ยหมัก ชีวภาพ และการกำจัดศัตรูพืช
  6. กิจกรรมที่ 5 ส่งเสริมการปลูกผักปลอดภัย
  7. กิจกรรมที่ 6 ประชุมร่วมกับหน่วยจัดการ ARE จำนวน 2 ครั้ง
  8. ชื่อกิจกรรมที่ 8 การบันทึกความร่วมมือกับ (MOU)
  9. กิจกรรม พัฒนาศักยภาพพื้นที่โครงการย่อย จัดโดย Node Flagship ยะลา
  10. ประชุมขับเคลื่อนหน่วยจัดการระดับจังหวัด
  11. เวทีปฐมนิเทศ และทำสัญญาโครงการย่อย
  12. จัดทำป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์ โครงการขับเคลื่อนหน่วยจัดการระดับจังหวัดในการสร้างสเริมสุขภาพ และป้ายโฟมบอร์ด สสส.
  13. 1.1 ประชุมสมาชิกกลุ่มและผู้ประสานงาน ครั้งที่ 1 เพื่อชี้แจงเป้าหมายการดำเนินโครงการ เพื่อสร้างความเข้าในการขับเคลื่อนงานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
  14. 1 เวทีพัฒนาศัยภาพการรายงานผลลัพธ์ของโครงการย่อยฯ (ส่วนที่ สสส. สนับสนุนเพิ่มเติ่มเพื่อพัฒนาศักยภาพ)
  15. 2.1 คณะทำงานสำรวจแปลง 10 คน โดยสำรวจแปลงผักทั้งที่ปลอดภัยและไม่ปลอดภัย รวมทั้งหมดจำนวน กี่แปลง กี่ไร่
  16. 1.2 ประชุมสมาชิกกลุ่มและผู้ประสานงาน ครั้งที่ 2 เพื่อติดตามผลระหว่างการดำเนินโครงการ ให้เป็นไปตามแผน หรือสามารถปรับเปลี่ยนแผนงานให้บรรลุเป้าหมาย
  17. ประชุมทบทวนบันไดผลลัพธ์และออกแบบเก็บข้อมูลของโครงการย่อยฯ
  18. 3.1 พัฒนาศักยภาพและศึกษาดูงาน ณ ศูนย์จัดการศัตรูพืช(ศพก.) ต.ท่าประดู่ อ.นาทวี และศูนย์เรียนรู้ผักปลอดภัยลุงคำนึง ต.จะโหนง อ.จะนะ จ.สงขลา
  19. ประชุมขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เพื่อเชื่อมโยงกับหน่วยงานสนับสนุน
  20. ประชุม ARE คณะทำงานและภาคี โครงการส่งเสริมปลูกผักปลอดภัยสู่สุขภาพชุมชนบ้านตาราแดะ ครั้งที่ 1
  21. 1.3) ประชุมสมาชิก ครั้งที่ 3 เพื่อถอดบทเรียน สรุปข้อมูลและติดตามความก้าวหน้าการดำเนินโครงการ
  22. กิจกรรมสมาชิกกลุ่มฯลงพื้นที่ปลูกถั่วลิสง ณ ศูนย์แปลงเกษตรใหญ่ของชุมชน
  23. เวทีประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา ARE ครั้งที่ 1
  24. 1.4) ประชุมสมาชิกกลุ่มและผู้ประสานงาน ครั้งที่ 4 เพื่อรายงานสรุปผลการดำเนินโครงการ
  25. 1.4.1จัดเตรียมวัสดุ ผสมปุ๋ยให้กับสมาชิกกลุ่มปลูกผักบ้านตาราแดะ
  26. 1.4.2 คณะทำงานและสมาชิกลงพื้นที่ใส่ปุ๋ยต้นถั่วลิสงในแปลงรวมของกลุ่ม
  27. 5.3 ป้ายไวนิลแปลงผักปลอดภัยต้นแบบของกลุ่ม
  28. 5.4 มีแปลงผักปลอดภัยที่เป็นของกลุ่ม เพื่อนำไปต่อยอดเมล็ดพันธุ์ โดยมีพื้นที่ 2 ไร่
  29. 8.1 การบันทึกความร่วมมือกับ (MOU) เป็นการสร้างโอกาสขยายตลาดสู่โรงเรียนในชุมชน โรงพยาบาลยะลา โรงแรมในยะลา และร้านอาหารยะลา ตลาดสด/ตลาดเช้า ตลาดเมืองใหม่ ตลาดเขียวหลังเกษตรจังหวัดยะลา เพื่อเชื่อมโยงตลาดนำการผลิต สร้างช่องทางหลายๆ ช่องทาง และเพื่อให้เกิดความ
  30. 4.1 อบรมให้ความรู้ ความเข้าใจและพัฒนาทักษะคณะทำงานในด้านการทำปุ๋ยเศษเหลือใช้จากครัวเรือน การเลี้ยงและทำปุ๋ยไส้เดือน AF การทำปุ๋ยจากมูลสัตว์ และการกำจัดศัตรูพืชผักให้ได้ผลอย่างมีประสิทธิภาพ
  31. 4.2 อบรมให้ความรู้การทำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ
  32. 4.3 ประชุมสมาชิกกลุ่มวางแผนการปลูกผักในล้อยาง
  33. 4.4 อบรมการปรับพฤติกรรมการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร
  34. ประชุม ARE คณะทำงานและภาคี โครงการส่งเสริมปลูกผักปลอดภัยสู่สุขภาพชุมชนบ้านตาราแดะ ครั้งที่ 2
  35. 7.1 เวทีคืนข้อมูลให้กับชุมชน 1 เวที
  36. สมาชิกกลุ่มปลูกผักลงพื้นที่วางแผนเพื่อปลูกผักในแปลงรวม
  37. เวทีประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา ARE ครั้งที่ 2
  38. 5.1 การประกวดแปลงผักปลอดภัย 100 เปอร์เซ็นต์
  39. 5.2 การประกวดความตั้งใจในการลดการใช้ปุ๋ยเคมี
  40. ประชุมวิเคราะห์ สังเคราะห์โครงการ
  41. 1.1 คีย์ข้อมูลเข้าระบบคนใต้สร้างสุข
  42. ประชุม ARE คณะทำงานและภาคี โครงการส่งเสริมปลูกผักปลอดภัยสู่สุขภาพชุมชนบ้านตาราแดะ ครั้งที่ 3 (ถอดบทเรียน)

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
ครัวเรือนชุมชนบ้านตาราแดะ 30 ครัวเรือน 35

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ครัวเรือนมีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถผลิตผักปลอดภัยอย่างยั่งยืน
  2. มีแปลงปลูกผักปลอดภัย ของกลุ่ม
  3. เกษตรกรจำหน่ายผักที่ปลอดภัย และลดการนำเข้าจากพื้นที่อื่นๆ
  4. การขยายตลาดชุมชน สู่ตลาดจังหวัด

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. 5.4 มีแปลงผักปลอดภัยที่เป็นของกลุ่ม เพื่อนำไปต่อยอดเมล็ดพันธุ์ โดยมีพื้นที่ 2 ไร่

วันที่ 25 มกราคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

กลุ่มจัดซื้อเมล็ดพันธุ์ เพื่อให้สมาชิกปลูกผัก เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 5 ชนิด

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1 สมาชิกได้เมล็ดพันธุ์เพิ่ม 5 ชนิด ต่อครัวเรือน 2 กลุ่มได้ปลูกผักปลอดภัยเพิ่ม ในพื้นที่รวม จำนวน 3 ไร่

 

40 0

2. ประชุมขับเคลื่อนหน่วยจัดการระดับจังหวัด

วันที่ 1 มิถุนายน 2563

กิจกรรมที่ทำ

การพัฒนาศักยภาพพื่้นที่โครงการย่อย โดยหน่ยจัด จังหวัดยะลา

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.ได้รับความรู้ความเข้าใจในตัวโครงการเพิ่่มมากขึ้น 2.ได้ฝึกวิธีการทำบันไดผลลัพธ์โครงการส่งเสริมปลูกผักปลอดภัยสู่สุขภาพชุมชนบ้านตาราแดะ

 

3 0

3. เวทีปฐมนิเทศ และทำสัญญาโครงการย่อย

วันที่ 3 มิถุนายน 2563

กิจกรรมที่ทำ

เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2563 ได้เข้าร่วมกิจกรรม"เวทีปฐมสนิเทศ และทำสัญญาโครงการย่อย" ของโครงการส่งเสริมปลูกผักปลอดภัยสู่สุขภาพชุมชนบ้านตาราแดะ ได้ทำข้อสัญญาโครงการย่อยในการสร้างเสริมสุขภาพ ประเด็นผักปลอดภัย ในงบประมาณ 100,000 บาท

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2563 ได้เข้าร่วมกิจกรรม"เวทีปฐมสนิเทศ และทำสัญญาโครงการย่อย" ของโครงการส่งเสริมปลูกผักปลอดภัยสู่สุขภาพชุมชนบ้านตาราแดะ ได้ทำข้อสัญญาโครงการย่อยในการสร้างเสริมสุขภาพ ประเด็นผักปลอดภัย ในงบประมาณ 100,000 บาทอบรมโครงการย่อย เข้าใจหลักการ และเป้าหมายของโครงการไปในทิศทางเดียวกัน รวมถึงเข้าใจแนวทางการดำเนินงาน ดำเนินการตามสัญญาโครงการ การเงิน และแนวทางการรายงานผล การดำเนินงานตามงวด อย่างชัดเจน

 

4 0

4. 1.1 ประชุมสมาชิกกลุ่มและผู้ประสานงาน ครั้งที่ 1 เพื่อชี้แจงเป้าหมายการดำเนินโครงการ เพื่อสร้างความเข้าในการขับเคลื่อนงานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

วันที่ 30 มิถุนายน 2563

กิจกรรมที่ทำ

คณะทำงานโครงการ ร่วมบูรณาการหน่วยงาน สร้างความเข้าใจประเด็นผลิตผักปลอดภัยชุมชนบ้านตาราแดะ ตำบลบันนังสาเรง เปิดโครงการสร้างความเข้าใจในกิจกรรม กำหนดแผนการดำเนินกิจกรรม พร้อมทั้งแต่งตั้งคณะทำงาน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะทำงานพร้อมด้วยแกนนำโครงการย่อย จำนวน 10 คน ร่วมกับเจ้าหน้าที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 4 คน ได้แก่ พี่เลี้ยงโครงการย่อย เกษตรตำบล และรพ.สต.บันนังสาเรง ร่วมในการประชุมสมาชิกกลุ่มและผู้ประสานงาน ครั้งที่ 1 เพื่อชี้แจงเป้าหมายการดำเนินโครงการ เพื่อสร้างความเข้าในการขับเคลื่อนงานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ณ ศูนย์ตาดีกาดารุลมุมีนีน ในการประชุมได้แลกเปลี่ยนประเด็นต่างๆ ได้แก่ 1.สมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการเข้าใจในกิจกรรม/โครงการ สมาชิกจำนวน 30 ครัวเรือน 2.ได้คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ จำนวน 10 คน 3.มีแผนการดำเนินกิจกรรม/โครงการ

 

40 0

5. 1 เวทีพัฒนาศัยภาพการรายงานผลลัพธ์ของโครงการย่อยฯ (ส่วนที่ สสส. สนับสนุนเพิ่มเติ่มเพื่อพัฒนาศักยภาพ)

วันที่ 6 กรกฎาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

ฝึกการใช้งานโปรแกรม รายงานผล - เพิ่มกิจกรรม - บันทึกกิจกรรม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้รับผิดชอบ โครงการ สามารถเพิ่ม ได้ เพิ่มกิจกรรม ได้ 15 กิจกรรม ได้ฝึก บันทึกกิจกรรม จำนวน 2 กิจกรรม

 

2 0

6. 2.1 คณะทำงานสำรวจแปลง 10 คน โดยสำรวจแปลงผักทั้งที่ปลอดภัยและไม่ปลอดภัย รวมทั้งหมดจำนวน กี่แปลง กี่ไร่

วันที่ 9 กรกฎาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

คณะทำงาน จำนวน 10 ลงพื้นที่สำรวจแปลงเพื่อจัดทำข้อมูลพื้นฐาน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะทำงานสำรวจแปลง จำนวน 10 คน ลงพื้นที่สำรวจแปลงผักทั้งที่ปลอดภัยและไม่ปลอดภัย รวมทั้งหมดจำนวน กี่แปลง กี่ไร่ ณ แปลงผักของสมาชิก บ้านตาราแดะ จากการลงพื้นที่สำรวจของกลุ่มคณะทำงาน ได้ลงพื้นที่สำรวจแปลงผักของกลุ่กสมาชิกจำนวน 30 ราย ได้ข้อมูล ส่วนใหญ่กลุ่มสมาชิกมีการเพาะปลูกใช้ปุ๋๋ยเคมีเป็นส่วนใหญ่ มีการปลุกผักแตงกวา ข้าวโพด ถั่วผักยาว พริก ฝักทอง มะเขือเปราะ ถั่วลิสง ขมิ้น ตะไคร้ ขา เป็นต้น

 

10 0

7. จัดทำป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์ โครงการขับเคลื่อนหน่วยจัดการระดับจังหวัดในการสร้างสเริมสุขภาพ และป้ายโฟมบอร์ด สสส.

วันที่ 8 สิงหาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

จัดทำป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์เพื่อการประชาสัมพันธ์ โครงการ ในเวทีการประชุม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1ได้ป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ จำนวน 1 แผ่น 2 ได้ป้ายประชาสัมพันธ์บันไดผลลัพธ์ จำนวน  1 แผ่น 3 ป้ายโฟมบอร์ด สสส. จำนวน 1 แผ่น

 

0 0

8. 1.2 ประชุมสมาชิกกลุ่มและผู้ประสานงาน ครั้งที่ 2 เพื่อติดตามผลระหว่างการดำเนินโครงการ ให้เป็นไปตามแผน หรือสามารถปรับเปลี่ยนแผนงานให้บรรลุเป้าหมาย

วันที่ 11 สิงหาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2563 เวลา 09.00 น. ณ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 3 บ้านตาราแดะ ตำบลบันนังสาเรง อำเภอเมือง จังหวัดยะลา โครงการย่อยชุมชนบ้านตาราแดะ จัดเวทีประชุมสมาชิกกลุ่มและผู้ประสานงาน ครั้งที่ 2 เพื่ดติดตามผลระหว่างการดำเนินโครงการ โดยมีนายมะซารี ดอเลาะแซ ประธานกลุ่มเกษตกกรปลูกผักบ้านตาราแดะ พร้องด้วยเจ้าหน้่าที่สภาเกษตรจังหวัด ผู้ใหญ่บ้าน และกสมาชิกลุ่มเกษตรกร จำนวน 40 คน เข้าร่วมประชุมติดตามผลระหว่างการดำเนินโครงการให้เป็นไปตามแผนหรือสามารถปรับเปลี่ยนแผนงานให้เหมาะสม ทั้งนี้ได้ปรึกษาแลกเปลี่ยนปัญหาและการกำจัดศักตรูพืช การทำการเกษตรปลอดจากสารเคมี ด้วยการใช้ปุ๋ยชีวภาพแทน และมีการกำหนดกิจกรรมศึกษาเรียนรู้การทำการเกษตรปลอดภัยนอกพื้นที่ เพื่อแลกเปลี่ยนนำมาปรับใช้ในพื้นที่ของชุมชนตามบริบทพื้นที่ได้ ซึ่งจะทำให้สมาชิกกลุ่มเกษตรกร เกิดความรัก สามัคคี สร้างความเข้มแข็งในชุมชนได้

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. รายงานความก้าวหน้าในกิจกรรมของกลุ่มและพบปัญหา คือ ศักตรูพืชในแปลง พร้อมได้กำหนดแนวทางแก้ไขปัญหา ด้วยการให้ความรู้แก่สมาชิกในกิจกรรมอบรมหลักสูตรกำจัดศัตรูพืช 2.ได้ข้อมูลสมาชิก จากการตรวจแปลง ด้านการผลิต บริโภค ความต้องการผลิต และด้านตลาด เพื่อเป็นฐานข้อมูลดำเนินกิจกรรมอบรมการผลิตต่อไป 3.ได้กำหนดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพของกลุ่่มสมาชิก ศึกษาเรียนรู้นอกพื้นที่่ กำหนดเป็นวันที่ 18 สิงหาคม 2563

 

40 0

9. ประชุมทบทวนบันไดผลลัพธ์และออกแบบเก็บข้อมูลของโครงการย่อยฯ

วันที่ 15 สิงหาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

บันไดผลลัพธ์โครงการ ส่งเสริมปลูกผักปลอดภัยสู่ชุมชนบ้านตาราแดะ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ประชุมเพื่อพิจาราณายกร่างตารางข้อมูลผลลัพธ์เชิงประเด็นยุทธศาสตร์ระดับจังหวัด

 

2 0

10. ประชุมขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เพื่อเชื่อมโยงกับหน่วยงานสนับสนุน

วันที่ 20 สิงหาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

ได้เข้าร่วมประชุมเวทีประชุมพิจารณายกร่างตารางข้อมูลผลลัพธ์เชิงประเด็นยุทธศาสตร์ โดยท่านรองผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา เป็นประธานและมีภาคีขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ ร่วมถึงผู้รับผิดชอบโครงการย่อยฯมีเป้าหมายในการประชุมครั้งนี้ คือ
1. ภาคีขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ ชัดเจนในหลักการและแนวทางรวมถึงรูปแบบ (Model)การดำเนินงานของหน่วยจัดการ 2.ภาคีขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ ได้เติมเต็มประเด็นหัวข้อของตารางการเก็บข้อมูลฯและให้การยอมรับแบบบันทึกข้อมูล เพื่อนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในภาพรวมของจังหวัดต่อไปได้

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

โครงการย่อยฯ ได้นำเสนอความสำเร็จของกิจกรรม ให้กับประธานและภาคีขับเคลื่อนฯรวมถึงที่ประชุมได้รับทราบ

 

1 0

11. 3.1 พัฒนาศักยภาพและศึกษาดูงาน ณ ศูนย์จัดการศัตรูพืช(ศพก.) ต.ท่าประดู่ อ.นาทวี และศูนย์เรียนรู้ผักปลอดภัยลุงคำนึง ต.จะโหนง อ.จะนะ จ.สงขลา

วันที่ 25 สิงหาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

1.กลุ่มเกษตรกรได้ความรู้วิธีการปลูกผักในล้อยาง และได้เรียนรู้พันธ์ไม้เศรษฐกิจ และพันธ์พืชที่ใช้ในครัวเรือน 2.กลุ่มเกษตรกรได้ด้ศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับ ไล่แมลงศัตรูพืช สูตรใช้ควบคุมแมลงศัตรูพืชทุกชนิด และได้เรียนรู้วิธีการทำสูตรฮอร์โมนไข่ และเรียนรู้วิธีการปรุงดิน 3.วิธีการการปลูกผักทุ่ของชุมชนทุ่งหัวเมือง ฟาร์ม สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับแปลงของตนเองได้

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เมื่อวันที่ 18 ส.ค. 2563 เวลา 07.00 -17.00 น. นายมะซารี ดอเลาะแซ ประธานกลุ่มเกษตกรปลูกผักบ้านตาราแดะ พร้อมด้วยคณะทำงาน สมาชิกกลุ่มเกษตรกร จำนวน 40 คน พี่เลี้ยงโครงการย่อยอจำนวน 5 คน ได้เดินทางมาถึง เวลา 09.00 น. ณ ศูนย์เรียนรู้นวัตกรรมใหม่บ้านเขาจันทร์ ต.จะโหนง อ.จะนะ จ.สงขลา ได้นำเสนอมหัศจรรย์ล้อยาง(ปลูกพืชในล้อยาง)" โดย คำนึง นวลมณีย์ เทคนิคการตัดและกลับล้อยางสำหรับปลูกพืช แนะนำชนิดพันธ์ไม้เศรษฐกิจ และพันธ์พืชทีใช้สำหรับใช้ครัวเรือนและทีมคณะทำงาน พร้อมสมาชิกกลุ่มเกษตกร ได้ออกเดินทางไปถึงเวลา 13.oo น. ณ ศูนย์จักการศัตรูพืช(ศพก.) ต.ท่าประดู่ อ.นาทวี จ.สงขลา ได้ศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับ ไล่แมลงศัตรูพืช สูตรใช้ควบคุมแมลงศัตรูพืชทุกชนิด และได้เรียนรู้วิธีการทำสูตรฮอร์โมนไข่ และเรียนรู้วิธีการปรุงดินสำหรับพืชกินใบ พร้อมลงพื้นที่ดูแปลงผัก ทุ่งหัวเมือง ฟาร์ม โครงการเพิ่มศักยภาพการผลิดพืชอาหารในพื้นที่ป่าชุมชน ทุ่งหัวเมือง ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง

 

40 0

12. 1.3) ประชุมสมาชิก ครั้งที่ 3 เพื่อถอดบทเรียน สรุปข้อมูลและติดตามความก้าวหน้าการดำเนินโครงการ

วันที่ 10 กันยายน 2563

กิจกรรมที่ทำ

วันที่ 10 ก.ย. 63 เวลา 09.00 น. ณ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 3 บ้านตาราแดะ ต.บันนังสาเรง อ.เมือง จ.ยะลา ได้จัดเวทีประชุมสมาชิก ครั้งที่ 3 เพื่อถอดบทเรียน สรุปข้อมูลและติดตามความก้าวหน้าการดำเนินโครงการ ฯ โดยมี นายมะซารี ดอเลาะแซ ประธานกลุ่มเกษตรกรปลูกผักบ้านตาราแดะ พร้อมด้วย เจ้าหน้าที่สภาเกษตรจังหวัด ผู้ใหญ่บ้าน และสมาชิกกลุ่มเกษตรกร ได้ร่วมถอดบทเรียน การดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมาตามบันไดผลลัพธ์ของโครงการฯ
1.ประชุมสมาชิกกลุ่มและผู้ประสานงาน ครั้งที่ 1 2.ประชุมสมาชิกกลุ่มและผู้ประสานงาน ครั้งที่ 2 3.กิจกรรมที่ 2 สำรวจแปลงเพื่อจัดทำข้อมูลพื้นฐาน ว่ากลุ่มสมาชิกได้ดำเนินกิจกรรมอะไรบ้าง ตามผลลัพธ์ และตัวชีวัด ซึ่งทางกลุ่มได้ดำเนินกิจกรรมตามเป้าหมายของโครงการไปเรียบร้อยแล้ว

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลลัพธ์ที่ได้รับ
1.ได้ข้อมูลสำรวจแปลงผักจัดทำข้อมูลพื้นฐาน ปลูกผักอะไรบ้าง ปัญหา/อุปสรรค ความรู้ด้านการทำเกษตร 2.ประกาศคณะกรรมการ คณะทำงาน โครงการปลูกผักปลอดภัยสู่สุขภาพชุมชนบ้านตาราแดะ  ซึ่งมีกลุ่มสมาชิก จำนวน 40 คน 3.การวางแผนการผลิตพืชของเกษตรกรในช่วงฤดูฝน ได้ระบุการเพาะปลูกถั่วลิสง เป็นพืชเหมาะสมกับช่วงฤดูฝน โดยจะใช้พื้นกลางจำนวน 4 ไร่ นำร่องของกลุ่มสมาชิก 4.สมาชิกกลุ่มเกษตรกรได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์ต่างๆ มาปรับใช้ในกลุ่มได้ และทำให้กลุ่มเกษตรกร มีความสามัคคี สร้างความเข้มแข็ง มากยิ่งขึ้น

 

30 0

13. ประชุม ARE คณะทำงานและภาคี โครงการส่งเสริมปลูกผักปลอดภัยสู่สุขภาพชุมชนบ้านตาราแดะ ครั้งที่ 1

วันที่ 10 กันยายน 2563

กิจกรรมที่ทำ

เวทีการประเมิน พัฒนาและการเรียนรู้ โดยพี่เลี้ยง ประสานงาน ร่วมถอดข้อมูลการดำเนินโครงการ ในงวดที่ 1

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เวทีการประเมิน พัฒนาและการเรียนรู้ โดยพี่เลี้ยง ประสานงาน ร่วมถอดข้อมูลการดำเนินโครงการ ในงวดที่ 1 1 ได้รายงานข้อมูลความก้าวหน้าโครงการ งวดงานที่ 1
2 โครงการย่อยบบรรลุบันไดผลผลัพธ์ ขั้นที่ 1

 

10 0

14. กิจกรรมสมาชิกกลุ่มฯลงพื้นที่ปลูกถั่วลิสง ณ ศูนย์แปลงเกษตรใหญ่ของชุมชน

วันที่ 6 ตุลาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

1.กิจกรรมเเบ่งกลุ่มสมาชิก ทำการว่านเมล็ดถั่วลิสง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

วันที่ 6 ต.ค.2563 เวลา 08.30 น. ณ ศูนย์เกษตรแปลงใหญ่ของชุมชน โครงการส่งเสริมปลูกผักปลอดภัยสู่สุขภาพชุมชนบ้านตาราแดะ นำโดยนายมะซารี ดอเลาะแซ ประธานกลุ่มฯ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ พี่เลี้ยงสสส. คณะทำงาน และกลุ่มสมาชิกจำนวน 42 คน กลุ่มสมาชิกลงพื้นที่ปลูกถั่วลิสง โดยสมาชิกได้มีการปรับพื้นที่สำหรับเพาะปลูก และประธานกลุ่มฯได้จัดเตรียมเมล็ดพันธ์ถั่วลิสง นำไปแบ่งให้กับสมาชิกนำไปตากแดดให้เมล็ดแห้ง ใช้เวลา 2 วัน และได้ลงปลูกเมล็ดถั่ว จำนวน 2 ไร่ ได้แบ่งกลุ่มสมาชิก เป็น 5 กลุ่ม ในการเพาะปลูกแต่ละแถว สำเร็จลุ่ล่วงไปด้วยดี 1.สมาชิกกลุ่มได้ปลูกถั่วลิสง จำนวน 2 ไร่ ดำเนินงานตามแผนการที่กำหนด 2.สมาชิกกลุ่มมีความสามัคคี ร่วมไมร่วมมือในการปฏิบัติงานในครั้งนี้ ทำให้มีประชาชนทั่วไปเกิดความสนใจอยากจะเข้าร่วมโครงการนี้ด้วย 3.ทีมงานพี่เลี้ยง สสส. ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าการปฏิบัติงานของกลุ่มเกษตรกรปลูกผักบ้าน ตาราแดะ และได้ให้ความรู้ข่าวสารแนวคิดด้านการพัฒนาการเกษตรรูปแบบใหม่

 

42 0

15. เวทีประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา ARE ครั้งที่ 1

วันที่ 23 ตุลาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

แลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามประเด็นยุทธศาสตร์ นำเสนอ ppt ตามที่โครงการย่อยเตรียมมา ทบทวนผลลัพธ์ความก้าวหน้าของโครงการ แบ่งกลุ่มตามประเด็นยุทธศาสตร์เพื่อระดมความคิดเห็นและพิจารณาข้อมูลผลลัพธ์ของโครงการย่อยกับหน่วยจัดการถึงการเชื่อมโยงและการหนุนเสริมของหน่วยจัดการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในแต่ละโครงการย่อย 2.ทบทวนผลลัพธ์ความก้าวหน้าของโครงการอยู่ในระดับใด

 

2 0

16. 1.4.1จัดเตรียมวัสดุ ผสมปุ๋ยให้กับสมาชิกกลุ่มปลูกผักบ้านตาราแดะ

วันที่ 4 พฤศจิกายน 2563

กิจกรรมที่ทำ

จัดเตรียมอุปกรณ์ทำปุ๋ยและผสมปุ๋ยสำหรับใส่ต้นถั่วลิสง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

วันที่ 4 พ.ย.2563 เวลา 20.30 น. ณ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 3 ต.บันนังสาเรง โครงการส่งเสริมปลูกผักปลอดภัยสู่สุขภาพชุมชนบ้านตาราแดะ นำโดยนายมะซารี ดอเลาะแซ ประธานกลุ่มฯและคณะทำงาน จำนวน 10 คน ได้มีการจัดเตรียมวัสดุ ผสมปุ๋ยให้กับสมาชิกกลุ่มในวันพรุ่งนี้เช้าเพื่อให้สมาชิกกลุ่มพร้อมปฏิบัติงานใส่ปุ๋ยในถั่วลิสง ในแปลงเกษตรกลางของกลุ่มฯ คณะทำงานได้ ผสมปุ๋ย ให้กับสมาชิกกลุ่ม เพื่อปฏิบัติงาน ใส่ปุ๋ยในถั่วลิสงแปลงรวมของกลุ่มฯ

 

40 0

17. 1.4) ประชุมสมาชิกกลุ่มและผู้ประสานงาน ครั้งที่ 4 เพื่อรายงานสรุปผลการดำเนินโครงการ

วันที่ 4 พฤศจิกายน 2563

กิจกรรมที่ทำ

1.กิจกรรมเจ้าหน้าที่เกษตรอำเภอเมืองยะลา วางแผนการผลิตผัก ในแต่ละเืดือน 2.กิจกรรมวางแผนการอบรมให้ความรู้ เรื่องการทำปุ๋ยหมัก การทำสารไล่แมลง 3.กิจกรรมสมาชิกร่วมกันเสนอกฎกติกากลุ่ม มติในที่ประชุม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

วันที่ 4 พ.ย.2563 เวลา 09.00 น. ณ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 3 ต.บันนังสาเรง โครงการส่งเสริมปลูกผักปลอดภัยสู่สุขภาพชุมชนบ้านตาราแดะ นำโดยนายมะซารี ดอเลาะแซ ประธานกลุ่มฯ พร้อมด้วยนางฮาบีบ๊ะ  บูระพา เกษตรอำเภอเมืองยะลาและทีมงาน เจ้าหน้าที่ พี่เลี้ยงสสส. ผู้ใหญ่บ้านและกลุ่มสมาชิกจำนวน 42 คน กิจกรรมที่ได้รับจากกิจกรรมในครั้งนี้
1. กลุ่มสมาชิกได้จัดการตั้งกฎกติกาและข้อตกลง แผนการผลิตผักปลอดภัย และวางแผนการดำเนินงานให้เกิดความต่อเนื่องและเกิดรายได้เข้าสู่กลุ่ม การเชื่อมโยงตลาด 2.สมาชิกกลุ่มได้จัดตั้งแผนกิจกรรมการผลิตการปลูกผักแต่ละชนิดในแต่ละเดือน 3.สมาชิกกลุ่มมีการวางแผนการอบรมเรียนรู้การทำสารไล่แมลงจากธรรมชาติ 4.สมาชิกกลุ่มได้นัดรวมตัว ทำกิจกรรมใส่ปุ่ย บำรุงต้นถั่วลิสง ณ แปลงเกษตรใหญ่ของชุมชม ทำให้เกิดความสามัคคีสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มในการดำเนินการผลิตผักต่อไป

 

40 0

18. 1.4.2 คณะทำงานและสมาชิกลงพื้นที่ใส่ปุ๋ยต้นถั่วลิสงในแปลงรวมของกลุ่ม

วันที่ 5 พฤศจิกายน 2563

กิจกรรมที่ทำ

กิจกรรมลงพื้นที่ดูแลบำรุงต้นถั่วลิสงในแปลงรวม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

วันที่ 5 พ.ย.2563 เวลา 07.00 น. ณ แปลงเกษตรกลางของกลุ่มปลูกผักบ้านตาราแดะ หมู่ที่ 3 ต.บันนังสาเรง โครงการส่งเสริมปลูกผักปลอดภัยสู่สุขภาพชุมชนบ้านตาราแดะ นำโดยนายมะซารี ดอเลาะแซ ประธานกลุ่มฯและคณะทำงานสมาชิกกลุ่มฯ จำนวน 42 ครัวเรือน และทีมงานเจ้าหน้าที่เกษตรอำเภอเมืองยะลา ได้ทำกิจกรรมใส่ปุ๋ย บำรุงต้นถั่วลิสงมีการจัดเลี้ยงอาหารให้กับสมาชิกและทีมงาน กิจกรรมสำเร็จลุ่ลวงไปด้วยดี 1.สมาชิกกลุ่มจำนวน 42 ครัวเรือน ได้ลงพื้นที่ใส่ปุ๋ย ต้นถั่วลิสง จำนวน 2 ไร่ 2. สมาชิกกลุ่มมีความสามัคคีภายในกลุ่มฯ

 

42 0

19. 1.4.2 คณะทำงานและสมาชิกลงพื้นที่ใส่ปุ๋ยต้นถั่วลิสงในแปลงรวมของกลุ่ม

วันที่ 5 พฤศจิกายน 2563

กิจกรรมที่ทำ

กิจกรรมลงพื้นที่ดูแลบำรุงต้นถั่วลิสงในแปลงรวม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

วันที่ 5 พ.ย.2563 เวลา 07.00 น. ณ แปลงเกษตรกลางของกลุ่มปลูกผักบ้านตาราแดะ หมู่ที่ 3 ต.บันนังสาเรง โครงการส่งเสริมปลูกผักปลอดภัยสู่สุขภาพชุมชนบ้านตาราแดะ นำโดยนายมะซารี ดอเลาะแซ ประธานกลุ่มฯและคณะทำงานสมาชิกกลุ่มฯ จำนวน 42 ครัวเรือน และทีมงานเจ้าหน้าที่เกษตรอำเภอเมืองยะลา จำนวน 4 คน ได้ทำกิจกรรมใส่ปุ๋ย บำรุงต้นถั่วลิสงมีการจัดเลี้ยงอาหารให้กับสมาชิกและทีมงาน กิจกรรมสำเร็จลุ่ลวงไปด้วยดี 1.สมาชิกกลุ่มจำนวน 42 ครัวเรือน ได้ลงพื้นที่ใส่ปุ๋ย ต้นถั่วลิสง จำนวน 2 ไร่ 2. สมาชิกกลุ่มมีความสามัคคีภายในกลุ่มฯ

 

42 0

20. 4.1 อบรมให้ความรู้ ความเข้าใจและพัฒนาทักษะคณะทำงานในด้านการทำปุ๋ยเศษเหลือใช้จากครัวเรือน การเลี้ยงและทำปุ๋ยไส้เดือน AF การทำปุ๋ยจากมูลสัตว์ และการกำจัดศัตรูพืชผักให้ได้ผลอย่างมีประสิทธิภาพ

วันที่ 2 ธันวาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

1.อบรมให้ความรู้การเลี้ยงและทำปุ๋ยไส้เดือน AF การทำปุ๋ยจากมูลสัตว์ 2.อบรมให้ความรู้วิธีการกำจัดศัตรูพืช

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

วันที่ 2 ธ.ค.2563 เวลา09.00 น. ณ ศูนย์ตาดีกาดารุลมุมีนีน หมู่ที่ 3 ต.บันนังสาเรง โครงการส่งเสริมปลูกผักปลอดภัยสู่สุขภาพชุมชนบ้านตาราแดะ นำโดยนายมะซารี ดอเลาะแซ ประธานกลุ่มฯและคณะทำงานสมาชิกกลุ่มฯ จำนวน 40 ครัวเรือน พร้อมด้วยพี่เลี้ยงโครงการฯ จากสภาเกษตรจังหวัดยะลา จำนวน 2 คน ทีมงานเจ้าหน้าที่เกษตรอำเภอเมืองยะลา จำนวน 3 คน เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรยะลา จำนวน 4 คน ผอ.รพ.สต.บันนังสาเรง จำนวน ตัวแทนอบต. ตัวแทนผอ.รร.บันนังบูโย เด็กนักเรียน ได้ร่วมกิจกรรมการอบรมเตรียมแปลงก่อนการเพาะปลูก การปรับปรุงดิน การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ และการกำจัดศัตรูพืช คณะทำงานได้มีการจัดเตรียมวัตถุดิบในชุมชน เช่น - ข่า ใบสาบเสือ (ต้นเครื่องบิน) กลอย บอระเพ็ด ใบสะเดา โดยมีท่านเกษตรอำเภอเมืองยะลได้บรรยายให้ความรู้วิธีการกำจัดศัตรูพืช และมีเจ้าหน้าที่ สวพ.ยะลา ให้ความรู้การทำปุ๋ยหมักชีวภาพให้กับสมาชิกและผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับความรู้นำไปใช้ประโยชน์ต่อไป 1. สมาชิกกลุ่มได้ความรู้การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ
2.สมาชิกกลุ่มได้ความรู้วิธีการทำจากวัตถุดิบในชุมชน การกำจัดศัตรูพืช 3.สมาชิกกลุ่มได้ความรู้การเลี้ยงและทำปุ๋ยไส้เดือน 4.คณะครูและเด็กนักเรียน ได้รับความรู้การปลูกผักอินทรีย์หรือผักปลอดภัย 5.สมาชิกได้เก็บเงินออม ครั้งที่ 2 เดือนละ 30 บาท

 

40 0

21. 4.2 อบรมให้ความรู้การทำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ

วันที่ 6 มกราคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

กิจกรรมอบรมให้ความรู้การทำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพกลุ่มสมาชิกปลูกผักบ้านตาราแดะ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เมื่อวันที่ 6 มราคม 2564 เวลา 09.00 - 12.oo น. เจ้าหน้าที่เกษตรอำเภอเมืองยะลาได้ให้ความรู้อบรมให้ความรู้การทำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพให้กับสมาชิกกลุ่มเพื่อนำไปใช้แปลงเกษตรต่่อไป 1.สร้างความสามัคคีภายในกลุ่ม 2.มีแปลงรวมของกลุ่ม

 

40 0

22. 4.3 ประชุมสมาชิกกลุ่มวางแผนการปลูกผักในล้อยาง

วันที่ 16 มกราคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

1.กิจกรรมประชุมวางแผนการปลูกผักในล้อยาง
2.กิจกรรมประชุมสำรวจปัญหาและแก้ไขปัญหาในการทำปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกกลุ่มปลูกผัก

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ประธานและคณะทำงานพร้อมด้วยสมาชิกกลุ่มปลูกผัก จำนวน 40 คน ร่วมในการประชุมร่วมในการประชุม 1.สมาชิกได้ล้อยางจำนวน 5 ล้อ ไว้ปลูกเพื่อบริโภคในครัวเรือน 2.มีแนวทางการปลูกแบบใหม่ ซึ่่งประธานและคณะทำงานพร้อมด้วยสมาชิกกลุ่มปลูกผัก จำนวน 40 คน ร่วมในการประชุมร่วมในการประชุม 1.สมาชิกได้ล้อยางจำนวน 5 ล้อ ไว้ปลูกเพื่อบริโภคในครัวเรือน 2.มีแนวทางการปลูกแบบใหม่

 

10 0

23. 4.4 อบรมการปรับพฤติกรรมการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร

วันที่ 19 มกราคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

1.กิจกรรมอบรมให้ความรู้สารเคมีต่างๆ ฉลากวัตถุอันตราย วิธีการป้องกันอย่างถูกในการใช้สารเคมี 2.กิจกรรมเจาะเลือดตรวจสารเคมี กลุ่มสมาชิกปลูกผักบ้านตาราแดะ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2564 เวลา 09.00 น. ประธานกลุ่มฯ คณะทำงานและสมาชิก จำนวน 40 คน พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัดยะลา จำนวน 4 คน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข สสส. จำนวน 3 คน เจ้าหน้าที่ รพ.สต.บันนังสาเรง จำนวน 1 คน
กิจกรรมได้ให้ความรู้สารเคมีต่างๆ ฉลากวัตถุอันตราย วิธีการป้องกันอย่างถูกในการใช้สารเคมี 1.สร้างความสามัคคีภายในกลุ่ม 2.มีการเจาะเลือดตรวจสารเคมีในเลือดของสมาชิกกลุ่ม 3.ได้ความจากการอบรมเรื่องสารเคมีชนิดต่างๆ ฉลากวัตถุอันตราย วิธีการป้องกันอย่างถูกในการใช้สารเคมี

 

40 0

24. ประชุม ARE คณะทำงานและภาคี โครงการส่งเสริมปลูกผักปลอดภัยสู่สุขภาพชุมชนบ้านตาราแดะ ครั้งที่ 2

วันที่ 25 มกราคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

1.กิจกรรมประชุม ARE คณะทำงานและภาคี โครงการส่งเสริมปลูกผักปลอดภัยสู่สุขภาพชุมชนบ้านตาราแดะ ครั้งที่ 2 2.กิจกรรมลงพื้นที่สำรวจแปลงผักในล้อยาง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

วันที่ 25 มราคม 2564 เวลา 13.30 น. จัดเวที ARE คณะทำงานและภาคี โครงการ ส่งเสริมสุขภาพสู่ชุมชนบ้านตาราแดะ โดยมีพี้เลี้ยงโครงการ รพ.สต.บันนังสาเรง อบต. เกษตรอำเภอเมืองยะลา
ได้มาลงพื้นที่ประเมิน กลุ่มเกษตรกรปลูกผักบ้านตาราแดะ พร้อมวางแผนแนวทางการแก้ไขปัญหาของกลุ่ม ณ ศูนย์ตาดีกาดารุลมุมีนีน ม.3 ต.บันนังสาเรง อ.เมืองยะลา จ.ยะลา ประชุม ARE คณะทำงานและภาคี โครงการส่งเสริมปลูกผักปลอดภัยสู่สุขภาพชุมชนบ้านตาราแดะ 1.สมาชิกกลุ่่มปลูกผักมีความรักสามัคคีในการทำงานเป็นทีม 2.ทางกลุ่มได้ประสบปัญหาน้ำท่วม ทำให้ยังไม่มีผลผลิตผัก
3.สมาชิกกลุ่มมีการวางแผนการปลูกผักในล้อยาง มีผัก 5 ชนิด เช่น ผักชี้ ผักคะน้า ผักกาดข้าว ผักบุ้ง ผักกาดไซซิง 4.คณะทำงานได้แจ้งการประกวดแปลงผักให้กับสมาชิกและมีรางวัล สำหรับแปลงสวย ปลอดภัยปลอดสารเคมี 5.ทางกลุ่มฯ ได้มีการวางแผนการปลูกผักในแปลงรวม เพื่อทำกิจกรรมปลูกผักต่อไป

 

40 0

25. สมาชิกกลุ่มปลูกผักลงพื้นที่วางแผนเพื่อปลูกผักในแปลงรวม

วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2564

กิจกรรมที่ทำ

1.กิจกรรมสมาชิกปลูกผักลงพื้นที่ปลูกในแปลงรวม
2.กิจกรรมแบ่งโซนการปลูกผักแต่ละชนิด

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะทำงานพร้อมด้วยแกนนำโครงการย่อย จำนวน 10 คน ร่วมกับสมาชิกกลุ่มปลูกผักบ้านตาราแดะ จำนวน 30 คน ร่วมในสมาชิกกลุ่มปลูกผักลงพื้นที่วางแผนเพื่อปลูกผักในแปลงรวม ณ แปลงรวม กิจกรรมที่ลงปฏิบัติงาน ดังนี้ 1.มีแปลงผักเตรียมปลูก 2.สมาชิกมีความสามัคคีในการทำงาน 3.สำรวจปัญหาที่เกิดจริงในการปฏิบัติงาน

 

40 0

26. 5.1 การประกวดแปลงผักปลอดภัย 100 เปอร์เซ็นต์

วันที่ 16 มีนาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

กิจกรรมการประกวดแปลงผักปลอดภัย 100 เปอร์เซ็นต์

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ลงพื้นที่ทำกิจกรรมส่งเสริมการบริโภคผักปลอดภัยในชุมชน โดยมีกิจกรรมดังนี้ การประกวดความตั้งใจในการลดใช้ปุ๋ยเคมี ให้กับกลุ่มปลูกผักบ้านตาราแดะ โดยมีคณะกรรมการเจ้าหน้าที่พี่เลี้ยงสภาเกษตรจังหวัดยะลา จำนวน 2 คน เจ้าหน้าที่่เกษตรอำเภอเมืองยะลา จำนวน 4 คน เจ้าหน้าที่ศูนย์วิและพัฒนาเกษตรจังหวัดยะลา จำนวน 2 คน คณะกรรมการหมู่บ้าน จำนวน 1 คน และสมาชิกกลุ่มผู้เเข้าการประกวดแปลงผัก จำนวน 30 ครัวเรือน การประกวดความตั้งใจในการลดใช้ปุ๋ยเคมี ให้กับกลุ่มปลูกผักบ้านตาราแดะ ผลคะแนนมีดังนี้ 1. นางยาวาเฮ สะอิด คะแนนที่ได้รับ 47.25 คะแนน 2.นางมือเสาะ มะตาเฮร์ คะแนนที่ได้รับ 44.25 คะแนน 3.นายมะซารี ดอเลาะแซ คะแนนที่ได้รับ 43.75 คะแนน 4.นางดาสิเปาะ ดาซอตาลาแด คะแนนที่ได้รับ 42.75 คะแนน 5.น.ส.สารีเผาะ ดอเลาะอาลี คะแนนที่ได้รับ 42.25 คะแนน 6.นางซง มะรอซี คะแนนที่ได้รับ 40.75 คะแนน 7.นางบิเดาะ โสะละ คะแนนที่ได้รับ 39.5 คะแนน

 

40 0

27. 5.2 การประกวดความตั้งใจในการลดการใช้ปุ๋ยเคมี

วันที่ 16 มีนาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

กิจกรรมการประกวดความตั้งใจในการลดการใช้ปุ๋ยเคมี

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เมื่อวันท่ี่ 16 มีนาคม 2564 เวลา 13.30 น. ได้มีการจัดกิจกรรมการประกวดแปลงผักปลอดภัย 100% โดยมีนายมะซารี ดอเลาะแซ ประธานกลุ่มปลูกผักบ้านตาราแดะ พร้อมด้วยพี่เลี้ยงสภาเกษตรจังหวัดยะลา จำนวน 2 คน เจ้าหน้าที่เกษตรอำเภอเมืองยะลา จำนวน 4 คน เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรจังหวัดยะลา จำนวน 2 คน และคณะกรรมการหมู่บ้าน จำนวน 1 คน ร่วมเป็นคณะกรรมการการประกวดในครั้งนี้ การประกวดความตั้งใจในการลดใช้ปุ๋ยเคมี ให้กับกลุ่มปลูกผักบ้านตาราแดะ ผลคะแนนมีดังนี้ 1. นางยาวาเฮ สะอิด คะแนนที่ได้รับ 47.25 คะแนน 2.นางมือเสาะ มะตาเฮร์ คะแนนที่ได้รับ 44.25 คะแนน 3.นายมะซารี ดอเลาะแซ คะแนนที่ได้รับ 43.75 คะแนน 4.นางดาสิเปาะ ดาซอตาลาแด คะแนนที่ได้รับ 42.75 คะแนน 5.น.ส.สารีเผาะ ดอเลาะอาลี คะแนนที่ได้รับ 42.25 คะแนน 6.นางซง มะรอซี คะแนนที่ได้รับ 40.75 คะแนน 7.นางบิเดาะ โสะละ คะแนนที่ได้รับ 39.5 คะแนน

 

10 0

28. ประชุมวิเคราะห์ สังเคราะห์โครงการ

วันที่ 24 มีนาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

ถอดบทเรียนในกิจกรรมที่ผ่านมา/มีความคุ้มค่าอะไรบ้างกับที่เราได้ลงมือทำกิจกรรม/เจอปัญหาอะไรบ้าง/ประโยชน์ในการทำกิจกรรมนี้ ากการประชุมวิเคราะห์สังเคราะโครงการให้พูดถึง 1.โครงการนี้มีคุณค่าอย่างไร 2.ประโยชน์ที่ได้จากโครงการ 3.กิจกรรมที่ทำระหว่างการดำเนินโครงการ 4.อุปสรรคปัญหาที่เกิดขึ้น 5.ต้องการให้หน่วยงานใด/องค์ใดให้การหนุนเสริมในเรื่องอะไรบ้าง 6.การปฏิบัติตามข้อตกลงปฏิบัติได้จริงหรือไม่ 7.การขยายเครือข่ายเพิ่มขึ้นหรือไม่เพราะเหตุใดเพิ่มครัวเรือนเพิ่มพื้นที่การปลูก 8.มีแผนการุลตลาดหรือไม่ 9.การเพิ่มชนิดการปลูกผัก

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.สร้างความเข้าใจ วิเคราะห์สภาพปัญหา 2.แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกลุ่มได้ 3.วางแผนแก้ไข การดำเนินปฏิบัติงานในกลุ่ม

 

1 0

29. 7.1 เวทีคืนข้อมูลให้กับชุมชน 1 เวที

วันที่ 12 เมษายน 2564

กิจกรรมที่ทำ

1.กิจกรรมมอบเงินรางวัลให้กับเกษตรกรดีเด่น จำนวน 2 ครัวเรือน - รางวัลแปลงผักปลอดภัย 100% มอบเงิน จำนวน 1,000 บาท - รางวัลความตั้งใจในการลดการใช้ปุ๋ยเคมี มอบเงิน จำนวน 1,000 บาท 2.กิจกรรมมอบอินตาลัมให้กับสมาชิก เพื่อต้อนรับเดือนรอมฎอน
3.กิจกรรมพบปะกับสมาชิก เก็บเงินออมทรัพย์ และร่วมรับประทานอาหารพร้อมกัน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2564 09.00 - 15.00 น. ได้จัดกิจกรรมเวทีคืนข้อมูลให้ชุมชน โดยมีนายมะซารี ดอเลาะแซ ประธานกลุ่มปลูกผักบ้านตาราแดะ พร้อมด้วยพี่เลี้ยงสภาเกษตรจังหวัดยะลา จำนวน 3 คน และเจ้าหน้าที่ ธกส. จำนวน 1 คน คณะกรรมการหมู่บ้าน จำนวน 4 คน และสมาชิกกลุ่ม จำนวน 40 คน
ร่วมในเวทีคืนข้อมูลให้กับชุมชน 1 เวที กิจกรรม มีดังนี้ 1.มอบเงินรางวัลให้กับเกษตรกรดีเด่น จำนวน 2 ครัวเรือน - รางวัลแปลงผักปลอดภัย 100% มอบเงิน จำนวน 1,000 บาท - รางวัลความตั้งใจในการลดการใช้ปุ๋ยเคมี มอบเงิน จำนวน 1,000 บาท 2.มอบอินตาลัมให้กับสมาชิก เพื่อต้อนรับเดือนรอมฎอน
3.พบปะกับสมาชิก เก็บเงินออมทรัพย์ และร่วมรับประทานอาหารพร้อมกัน

 

150 0

30. 1.1 คีย์ข้อมูลเข้าระบบคนใต้สร้างสุข

วันที่ 14 เมษายน 2564

กิจกรรมที่ทำ

คีย์ข้อมูลเข้าระบบคนใต้สร้างสุข

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.รายงานภาพกิจกรรมต่างๆ ของกลุ่มปลูกผักบ้านตาราแดะ 2.รายงานแนบเอกสารการเบิกจ่ายของกลุ่ม 3.รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานต่างๆของกลุ่ม

 

1 0

31. 5.3 ป้ายไวนิลแปลงผักปลอดภัยต้นแบบของกลุ่ม

วันที่ 16 เมษายน 2564

กิจกรรมที่ทำ

ป้ายไวนิลแปลงผักปลอดภัยต้นแบบของกลุ่ม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ป้ายไวนิลแปลงผักปลอดภัยต้นแบบของกลุ่ม

 

1 0

32. 8.1 การบันทึกความร่วมมือกับ (MOU) เป็นการสร้างโอกาสขยายตลาดสู่โรงเรียนในชุมชน โรงพยาบาลยะลา โรงแรมในยะลา และร้านอาหารยะลา ตลาดสด/ตลาดเช้า ตลาดเมืองใหม่ ตลาดเขียวหลังเกษตรจังหวัดยะลา เพื่อเชื่อมโยงตลาดนำการผลิต สร้างช่องทางหลายๆ ช่องทาง และเพื่อให้เกิดความ

วันที่ 29 เมษายน 2564

กิจกรรมที่ทำ

จัดเวทีประชุมร่วมกับภาคที่เกี่ยวข้องด้านการตลาด ได้แก่ ร้านชุมชน โรงเรียนสามัญ โรงเรียนตาดีกา รพ ศต.

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1 ได้ข้อสรุปให้มีการจัดวางจำหน่าย สัปดาห์ ละครั้ง ในพื้นที่ของภาคี 2 เปิดไลน์กลุ่มตลาด ของตำบล 3 ให้มีเวทีจัดทำ MOU อีกตรั้ง เมื่อชุมชนผลิตผักปลอดภัยได้ปริมาณเพียงพอ

 

40 0

33. เวทีประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา ARE ครั้งที่ 2

วันที่ 29 เมษายน 2564

กิจกรรมที่ทำ

ร่วมเวทีติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา(ARE) จังหวัด ได้รายงานเกี่ยวกับความคืบหน้าของกิจกรรมที่ได้ดำเนินการแล้ว และรายงานปัญหาและอุปสรรคที่ได้เกิดขึ้น ชุมชนประสบปัญหาน้ำท่วมในพื้นแปลงรวม วัตถุประสงค์ ยังไม่ได้ตามเป้าหมายที่่วางไว้ การจัดกิจกรรมของ โครงการที่ให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการปลูก การใช้ปุ๋ย การทำปุ๋ยหมัก การอบรมอบรมให้ความรู้เรื่องการใช้สารเคมีให้กลุ่มเกษตรกร

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.แลกเปลี่ยนคิดเห็นที่มีความแตกต่างในระหว่างกลุ่มนอกพื้นที่ได้ 2.ทำให้เพิ่มความรู้วิธีการวางแผนการดำเนินงานของโครงการ 3.มีหน่วยต่างๆ มีต้องการสนับสนุนโครงการให้ประสบความสำเร็จ

 

1 0

34. ประชุม ARE คณะทำงานและภาคี โครงการส่งเสริมปลูกผักปลอดภัยสู่สุขภาพชุมชนบ้านตาราแดะ ครั้งที่ 3 (ถอดบทเรียน)

วันที่ 30 เมษายน 2564

กิจกรรมที่ทำ

1.สร้างความสามัคคีภายในกลุ่ม 2.แลกเปลี่ยนความคิดภายในกลุ่ม 3.ร่วมกันวางแผนแก้ไขปัญหาร่วมกัน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะทำงานพร้อมด้วยแกนนำโครงการย่อย จำนวน คน ร่วมกับพี่เลี้ยงโครงการ จำนวน 2 คน ร่วมในการประชุม ARE คณะทำงานและภาคี โครงการส่งเสริมปลูกผักปลอดภัยสู่สุขภาพชุมชน บ้านตาราแดะ ครั้งที่ 3 (ถอดบทเรียน) ณ สามแยกท่ี่ทำการชรบ.หมู่บ้าน ในการประชุมได้แลกเปลี่ยนประเด็นต่างๆ ได้แก่ 1.โครงการนี้มีคุณค่าอย่างไร 2.ประโยชน์ที่ได้จากโครงการ 3.กิจกรรมที่ทำระหว่างการดำเนินโครงการ 4.อุปสรรคปัญหาที่เกิดขึ้น 5.ต้องการให้หน่วยงานใด/องค์ใดให้การหนุนเสริมในเรื่อง อะไรบ้าง 6.การปฏิบัติตามข้อตกลงปฏิบัติได้จริงหรือไม่ 7.การขยายเครือข่ายเพิ่มขึ้นหรือไม่เพราะเหตุใดเพิ่มครัวเรือนเพิ่มพื้นที่การปลูก 8.มีแผนการตลาดหรือไม่ 9.การเพิ่มชนิดการปลูกผัก
โดยประเด็นถอดบทเรียนหลักๆ คือ สมาชิกกลุ่่มเกิดปัญหาภัยน้ำท่วมในพื้นที่ไม่เอื้ออำนวย สมาชิกกลุ่มยังไม่ได้รับรองผ่านมาตรฐาน GAP

 

15 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อปลูกผักโดยไม่ใช้สารเคมีบริโภคในครัวเรือนและจำหน่าย
ตัวชี้วัด : 1.ครัวเรือนมีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถผลิตปลอดภัยอย่างยั่งยืน ผลลัพธ์ 1.1 ครัวเรือนในกลุ่มสมาชิกมีทักษะสามารถผลิตผักปลอดภัยในแปลงของตนเอง 1.2 สมาชิกในกลุ่มนำความรู้ไปใช้ในแปลง อย่างน้อยร้อยละ 80 2.มีแปลงผักปลอดภัยของกลุ่ม ผลลัพธ์ 2.1 แปลงผักกลางของเพื่อขยายพืชผัก และเป็นแปลงมาตรฐาน PGS
0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 35
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
ครัวเรือนชุมชนบ้านตาราแดะ 30 ครัวเรือน 35

บทคัดย่อ*

ชุนชนบ้านตาราแดะ ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เป็นอาชีพหลัก มีการปลูกผักสวนครัว ปลูกไม้ผล และพืชไร่ ส่วนใหญ่ใช้สารเคมี ปุ๋ยเคมี ทำให้เกษตรกรมีปัญหาเรื่องต้นทุนการผลิตค่อนข้างสูง ใช้สารเคมีในกำจัดศัตรูพืช ประชาชนขาดความรู้วิธีการใช้สารเคมีที่ถูกต้อง ส่งผลกระทบจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่มีต่อสุขภาพประชาชนและสิ่งแวดล้อม ทําให้คุณภาพสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมลง อาจทําให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพอนามัยของเกษตรกรเอง ด้านผลผลิตทางการเกษตรจะผลิตจำพวกผักสวนครัวอายุสั้น เช่น แตงกวา ถั่วฝักยาว ผักทอง ข้าวโพด แตงโม ได้ในปริมาณมาก จะบริโภคในครัวเรือนและส่งหน่ายให้กับพ่อค้าแม่ค้าคนกลาง และไปวางจำหน่ายในตลาดเมืองใหม่ยะลา เกษตรกรจึงไม่เห็นความสำคัญของการปลูกผักปลอดสารเคมี ขาดองค์ความรู้ด้านการใช้สารเคมี ไม่มีศูนย์การเรียนรู้ หรือต้นแบบในการเพาะปลูกพืชผักปลอดสารเคมี หลังจากมีหน่วยงานสำนักงานกองทุนส่งเสริมสุขภาพ สสส. ได้สนับสนุนให้มีโครงการ ส่งเสริมปลูกผักปลอดภัยสู่สุขภาพชุมชนบ้านตาราแดะ ”อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา โดยมีพี่เลี้ยงจากสภาเกษตรจังหวัดยะลา ลงพื้นที่วิเคราะสภาพปัญหาในพื้นที่ พร้อมเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหา และยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน และอบรมให้ความรู้ให้กับเกษตรกรโดยเกษตรกรมีการรวมกลุ่ม จัดตั้งคณะทำงาน ให้มีการบริหารจัดตนเองตามบริบทในพื้นที่
จากการที่ได้เข้าร่วมโครงการส่งเสริมปลูกผักปลอดภัยสู่สุขภาพชุนชนบ้านตาราแดะ ได้มีหน่วยงานจากเกษตรอำเภอเมืองยะลา ได้อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ สารกำกัดศัตรูพืช อบรมให้มีความรู้ไตรโคเดอร์มา ใช้สำหรับผสมน้ำรดราด หรือฉีดพ่น เพื่อกันเชื้อราโรคเน่า โรคใบใหม้ และเชื้อราได้หลากหลาย และยังมีอีกหน่วยงานสำนักงานจากเกษตรจังหวัดยะลา ได้อบรมการปรับพฤติกรรมการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร ซึ่่งทาง Node flagship จังหวัดยะลา ได้มีการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของกลุ่มปลูกผักบ้านตาราแดะ ได้แนะนำการบริหารจักการ กลุ่มให้ดำเนินตามบันไดผลลัพธ์     ผลจากการดำเนินโครงการ ส่งเสริมการปลูกผักปลอดภัยสู่สุขภาพชุมชนบ้านตาราแดะ ทางกลุ่มปลูกผักบ้านตาราแดะ ได้มีการปลูกผักในแปลงรวม พื้นที่ จำนวน 3 ไร่ เกษตรกรมีความรู้มากขึ้นหลังจากที่ได้เข้าร่วมโครงการดังกล่าว ซึ่งทางกลุ่มเกษตรกรได้ตระหนักได้ให้ความสำคัญของสุขภาพ มีตรวจเลือดสารเคมีในเลือดของกลุ่มสมาชิก ทำให้เกษตรกรมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเลิกใช้สารเคมี หันมาปลูกผักแบบปลอดสารเคมี ทางกลุ่มฯประสบปัญหาน้ำท่วมขัง และปัญหาโรคระบาดโควิด-19 ทำให้การดำเนินโครงการชลอลง ทำให้ยังไม่ได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการ ส่งเสริมปลูกผักปลอดภัยสู่สุขภาพชุมชนบ้านตาราแดะ จังหวัด ยะลา

รหัสโครงการ 63-00175-0002

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นายมะซารี ดอเลาะแซ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด