Node Flagship

directions_run

โครงการ ส่งเสริมปลูกผักปลอดภัยสู่สุขภาพคนเมือง เขตเทศบาลนครยะลา

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

Node Flagship จังหวัดยะลา


“ โครงการ ส่งเสริมปลูกผักปลอดภัยสู่สุขภาพคนเมือง เขตเทศบาลนครยะลา ”

เขตเทศบาลนครยะลา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา

หัวหน้าโครงการ
นางรอปีอะห์ กูทา

ชื่อโครงการ โครงการ ส่งเสริมปลูกผักปลอดภัยสู่สุขภาพคนเมือง เขตเทศบาลนครยะลา

ที่อยู่ เขตเทศบาลนครยะลา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา จังหวัด ยะลา

รหัสโครงการ 63-00175-0001 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2020 ถึง 31 มีนาคม 2021


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการ ส่งเสริมปลูกผักปลอดภัยสู่สุขภาพคนเมือง เขตเทศบาลนครยะลา จังหวัดยะลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน เขตเทศบาลนครยะลา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ Node Flagship จังหวัดยะลา ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการ ส่งเสริมปลูกผักปลอดภัยสู่สุขภาพคนเมือง เขตเทศบาลนครยะลา



บทคัดย่อ

โครงการส่งเสริมปลูกผักปลอดภัยสู่สุขภาพคนเมือง เขตเทศบาลนครยะลา มีวัตถุประสงค์1) เพื่อให้เกิดกลุ่มปลูกผักปลอดภัย 2) เพื่อปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษไว้บริโภค สำหรับกลุ่มครัวเรือนในชุมชนเมืองอย่างต่อเนื่อง กลุ่มเป้าหมายหลัก จำนวน 45 ครัวเรือน ใน 3 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนตลาดเกษตรจำนวน 24 ครัวเรือน ชุมชนห้าแยกกำปงบาโงย จำนวน 12 ครัวเรือน และชุมชนมะลิสัมพันธ์ จำนวน 9 ครัวเรือน มีการดำเนินกิจกรรม 1) ประชุมสร้างความเข้าใจโครงการ/กิจกรรม แต่งตั้งคณะทำงานและจัดทำฐานข้อมูล 2)ฝึกอบรมให้ความรู้การผลิตพืชผักปลอดภัย การจัดการ และการกำหนดกฎ กติกา 3)การติดตาม ตรวจแปลง และรับรองผักปลอดภัย และ4)การการเรียนรู้การตลาดและการเชื่องโยงตลาด ผลการดำเนินการ มีสมาชิกเข้าร่วม 45 ครัวเรือน มีพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้น จำนวน 1 ไร่ มีกฎกติกา 7 ข้อ 1) สมาชิกทุกครัวเรือนปลูกผักจริง 2) ปลูกผักให้ปลอดสารพิษ (ไม่ใช้สารเคมี) 3) ใช้ปุ๋ยชีวภาพ/ปุ๋ยอินทรีย์ 4) ต้องได้ผลผลิต เพื่อบริโภค/แบ่งปัน/ขาย 5) ต้องปรุงและเพิ่มธาตุอาหารแก่ดินสำหรับปลูกผักเอง 6) ต้องมีเวลา ร่วมกิจกรรม พัฒนาความรู้ ประชุมกลุ่มอย่างต่อเนื่อง 7) บันทึกข้อมูลการปลูกผักปลอดภัยทุกรอบการผลิต ครัวเรือนมีการบริโภคผัก 400 กรัม/วัน จำนวน 93 ครัวเรือน (คิดทั้งชุมชน) มีจำนวน 25 ครัวเรือน มีความตระหนักด้านสุขภาพ มีการปลูกผักกินเอง ได้แก่ ผักชี คะน้า ผักบุ้ง ต้นอ่อนทานะตะวัน ผักสลัด ขึ้นฉ่าย มะเขือเทศ พริก มะเขือ แตงกวา กุ้ยฉ่าย โดยเฉพาะผักบุ้งบางครัวเรือนปลูกซ้ำ 3 รอบต่อเนื่อง มีชนิดผักปลอดภัยอย่างน้อย 7 ชนิดต่อครัวเรือน และเกิดคนเมืองต้นแบบปลูกผักปลอดภัย สามารถผลิต บริโภคและจำหน่วยได้

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

เทศบาลนครยะลา มีเนื้อที่ทั้งหมด 19.7 ตารางกิโลเมตร หรือ 12,125 ไร่ มีทั้งหมด 40 ชุมชน จำนวน 25,476 ครัวเรือน จำนวนประชากรทั้งหมด 60,746 คน แบ่งเป็นประชากรช่วงอายุไม่เกิน 18 ปี จำนวน 35,380 คน และอายุเกิน 25 ปีขึ้นไป จำนวน 38,528 คน (สำนักทะเบียนท้องถิ่นเทศบาลนครยะลา, 2562)ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ ค้าขาย รับจ้าง รับราชการ รองลงมา ทำธุรกิจบ้านเช่า หอพัก และทำเกษตรกรรม ด้วยสภาพความเป็นเมือง มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบ ประชาชน/ครัวเรือนสามารถเข้าถึงปัจจัย 4 เพื่อการดำรงชีพได้ง่าย โดยเฉพาะด้านอาหารและผัก มีตลาดและร้านค้าที่ประชาชน/ครัวเรือนสามารถไปจับจ่ายซื้อได้ตลอดเวลา ทำให้การบริโภคพืชผักของประชาชน/ครัวเรือนเขตทศบาลมีความเสี่ยงสูงที่จะรับพืชผักที่ไม่ปลอดภัย
การบริโภคพืชผักของประชาชน/ครัวเรือนเขตเทศบาลนครยะลา ส่วนใหญ่นำเข้ามาจากข้างนอก ส่งมายังตลาดใหญ่ 2 แห่ง คือ ตลาดเช้าถนนรถไฟ และตลาดเมืองใหม่ แล้วกระจายไปตามร้านค้าทั่วทั้งเมือง ผักที่นำเข้านั้นไม่มีใครรับรองได้ว่าปลอดภัย ไม่มีสารเคมีตกค้าง เท่ากับว่าประชาชน/ครัวเรือนเขตเทศบาลนครยะลามีความเสี่ยงสูงที่จะได้รับสารเคมีจากการบริโภคผัก และสะสมตกค้างในร่างกาย ในส่วนการผลิตผักของครัวเรือนในเขตเทศบาล ถือว่าแถบหาได้ยาก หรืออาจจะมีปลูกบ้างเพียงเล็กน้อย เนื่องด้วยครัวเรือนเขตเทศบาลมีสภาพแวดล้อมด้านพื้นที่มีบริเวณที่จำกัด ดินไม่ดี ดินไม่มีธาตุอาหาร ปลูกแล้วขึ้นยาก และประชาชนเองไม่มีองค์ความรู้การปลูก บางครัวเรือนปลูกผักบ้างแต่ขาดการดูแล การจัดการ และยังเป็นระบบใช้ปุ๋ยสูตรสำเร็จ ซึ่งทำให้การบริโภคผักที่ปลูกเองก็มีความเสี่ยงต่อการได้รับอันตรายจากสารเคมีตกค้างในผลผลิตสูง เมื่อสำรวจตลาดหลัก และตลาดชุมชนในเขตเทศบาลนครยะลา พบว่า สถานประกอบการ ร้านอาหาร ใช้ผักจำนวนมากในการประกอบอาหาร และส่วนใหญ่ใช้ผักจากตลาดสด และตลาดใหม่ หากครัวเรือนสามารถผลิตผักได้ ถือเป็นโอกาสทางการตลาดที่อยู่ในพื้นที่ สามารถเป็นช่องทางการสร้างรายได้ และครัวเรือนเองมีผักที่ปลอดภัยสำหรับบริโภค ชุมชนตลาดเกษตร ได้เล็งเห็นถึงปัญหาและความสำคัญในเรื่องนี้ จึงได้หาแนวทางที่จะให้ครัวเรือคนเมืองจะได้รับบริโภคพืชผักที่ปลอดภัย ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ลดปริมาณการซื้อและมีแปลงผักแบบคนเมืองเพื่อบริโภค และอาจสามารถจำหน่ายได้ ตามโมเดล “คลองทรายโมเดล” (ตลาดชุมชน: ปลูกหลังบ้าน ขายเองหน้าบ้าน) ซึ่งจะนำร่องเป็นแบบอย่างการผลิตผักแบบคนเมือง ในเขตเทศบาลนครยะลา
ชุมชนตลาดเกษตร เดิมอยู่ในในพื้นที่ของชุมชนห้าแยกกำปงบาโงย ได้แยกมาจัดตั้งเป็นชุมชนตลาดเกษตร อยู่ถนนสาย 15 มีประชากร จำนวน 1,200 คน จำนวน 261 ครัวเรือน ประกอบอาชีพ ทำสวน และรับจ้างบรรจุผลไม้ ในชุมชนมีพื้นที่การเกษตร 90 ไร่ และพื้นที่ทำสวน 20 ไร่ สมาชิกบางส่วนมีการปลูกผักสำหรับบริโภคและจำหน่าย แต่ยังขาดความรู้ทักษะการปลูกผัก การเตรียมดิน บำรุงดิน การทำปุ๋ยชีวภาพ รูปแบบการปลูกผักและชนิดของผักเขตเมือง ไม่มีการรวมกลุ่ม การเชื่อมโยงตลาด และแนวทางการประเมินมาตรฐานผักปลอดภัย ซึ่งชุมชนฯ ได้ตระหนักและเห็นความสำคัญดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการปลูกผักปลอดภัย เพื่อลดการซื้อผักจากข้างนอก และชุมชนมีผักปลอดภัยสำหรับบริโภค และสร้างโอกาสด้านการตลาดผักปลอดภัยในพื้นที่

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้เกิดกลุ่มเครือข่ายปลูกผักปลอดภัย
  2. เพื่อปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษไว้บริโภคและใช้สอย สำหรับกลุ่มครัวเรือนในชุมชนเมืองอย่างต่อเนื่อง

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. กิจกรรมที่ 4 เวทีถอดบทเรียนและสรุปข้อมูล
  2. กิจกรรมที่ 1 ประชุมสร้างความเข้าใจโครงการ แต่งตั้งคณะทำงานและจัดทำฐานข้อมูล
  3. กิจกรรมที่ 2 ฝึกอบรมให้ความรู้การผลิตพืชผักปลอดภัยการจัดการและการกำหนดกฎ กติกา
  4. กิจกรรมที่ 3 การติดตาม ตรวจแแปลง
  5. 1 พัฒนาศักยภาพ โครงการย่อย จัดโดย Node Flagship ยะลา
  6. ประชุมขับเคลื่อนหน่วยงานจัดการระดับจังหวัด
  7. บันทึกข้อมูลโครงการ
  8. ป้ายไวนิลโครงการฯและโฟมบอร์ด สสส.
  9. เวทีพัฒนาศักยภาพการรายงานผลลัพธ์ของโครงการย่อย
  10. เวทีทบทวนบันไดผลลัพธ์และออกแบบเก็บข้อมูลของโครงการย่อยฯ
  11. ประชุมพิจารณายกร่างตารางข้อมูลผลลัพธ์เชิงประเด็นยุทศาสตร์ (พัฒนาศักยภาพพื้นที่โครงการย่อย)
  12. 2.2 อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้การผลิตผักปลอดภัย วันที่ 1 (หลักสูตร ที่ 1 และหลักสูตร ที่ 2)
  13. 2.2 อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้การผลิตผักปลอดภัย วันที่ 2 (หลักสูตร ที่ 3)
  14. 2.5 ประชุมติดตามการปฏิบัติ ตามกฏกติกา ชมรม
  15. 2.2 อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้การผลิตผักปลอดภัย วันที่ 3 (หลักสูตร ที่ 4 และหลักสูตร ที่ 5)
  16. เวทีประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา ARE ครั้งที่ 1
  17. 2.4 lส่งเสริมครัวเรือนปลูกผักปลอดภัย แบบคนเมือง
  18. ร่วมเวทีประเมินผลเพื่อการเรียนรู็และพัฒนา (are)ครั้งที่ 2
  19. 2.1 เรียนรู้ รูปแบบการปลูกผักคนเมือง และสำรวจความต้องการรูปแบบการปลูกของสมาชิกแต่ละครัวเรือน เพื่อกำหนดรูปแบบการปลูกให้มีความเหมาสมต่อพื้นที่ปลูก หรือ บริเวณปลูก กับชนิดผัก
  20. ประชุมวิเคราะห์ สังเคราะห์โครงการ
  21. 1.1 เวทีประชุมสร้างความเข้าใจโครงการ สร้างความตระหนักประเด็นผักปลอดภัย แต่งตั้งคณะทำงาน และจัดตั้งชมรมผักปลอดภัย
  22. 1.2 ประชุมอบรมพัฒนาศักยภาพ คณะทำงาน และจัดทำข้อมูล จำนวน 10 คน โดยการสำรวจครัวเรือน จำนวน 45 ครัวเรือน
  23. ประชุมคณะกรรมการครั้งที่1
  24. ประชุมคณะกรรมการครั้งที่2
  25. ประชุมคณะกรรมการครั้งที่3
  26. ประชุมคณะกรรมการครั้งที่ 4
  27. 2.3 ประชุมกำหนด กฎ กติกา ชมรมฯ
  28. 3.1 รับรองผักปลอดภัย คณะทำงาน 10 คน และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
  29. 3.3 การประกวดคนเมืองต้นแบบปลูกผักปลอดภัย 1 คน มอบรางวัลเพื่อเป็นขวัญกำลังใจ
  30. เวทีประฐมนิเทศและทำสัญญาโครงการย่อย
  31. 4.1 เวทีสรุปการขับเคลื่อน

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
ครัวเรือนเขตเทศบาลนครยะลา จำนวน 45 ครัวเรือน 45

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ครัวเรือนมีการร่วมกลุ่มและสร้างเครือข่ายชุมชน เป็นคณะทำงาน
  2. ครัวเรือนมีความรู้ สามารถผลิตผักปลอดภัย
  3. ครัวเรือนผลิตผักปลอดภัยและได้รับการรับรองผลผลิต
  4. ครัวเรือนเกิดเรียนการรู้ด้านการตลาดผักปลอดภัย

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ประชุมขับเคลื่อนหน่วยงานจัดการระดับจังหวัด

วันที่ 23 มีนาคม 2020

กิจกรรมที่ทำ

โครงการย่อยเข้าร่วมประชุม เริ่อง ประชุมขับเคลื่อนหน่วยจัดการระดับจังหวัด ณ ห้องประชุม ตึกศรีฟ้า สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา โดยผู้แทนโครงการย่อย เข้าร่วม 3 คน อนร่วมประชุม กระบวนการจัดทำโครงการ และปรับแก้โครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผล จากการเข้าร่วมประชุม เริ่อง ประชุมขับเคลื่อนหน่วยจัดการระดับจังหวัด มีดังนี้ 1)ผู้แทนโครงการย่อย เข้าร่วม 3 คน ได้เรียนรู้และเข้าใจในกระบวนการจัดทำโครงการ
2)โครงการย่อยฯ ได้ปรับแก้โครงการ ส่วนของวัตถุประสงค์ และขั้นบันได้ผลลพัพธ์ของโครงการ 3)โครงการย่อยฯ ได้โครงการส่งเสริมการปลูกผักปลอดภัย สู่สุขภาพคนเมืองเขตเทศบาลนครยะลา เพื่อเสนอ กับหน่วยจัด สสส.จังหวัดยะลา จำนวน 1 โครงาการ

 

3 0

2. เวทีประฐมนิเทศและทำสัญญาโครงการย่อย

วันที่ 3 มิถุนายน 2020

กิจกรรมที่ทำ

โครงการย่อยฯ เข้าร่วมประชุม เรื่อง จัดประชุมชี้แจง และทำสัญญากับโครงการย่อยของหน่วยจัดการ สสส. จังหวัดยะลา ณ ห้องประชุม ตึกศรีฟ้า สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้แทนโครงการย่อยจำนวน 6 คน เข้าร่วมประชุม เรื่อง จัดประชุมชี้แจง และทำสัญญากับโครงการย่อยของหน่วยจัดการ สสส. จังหวัดยะลา ณ ห้องประชุม ตึกศรีฟ้า สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา ผลที่เกิดขึ้น 1) ผู้แทนโครงการย่อยฯ ได้เข้าใจ ในกระบวนการที่จะขับเคลื่อนงาน กิจกรรมโครงการ โดยใช้กรอบของบันไดผลลัพธ์เป็นตัวนำ 2) โครงการย่อยฯ ได้ทำสัญญาโครงการฯ เพื่อรับสนับสนุนงบประมาณดำเนินกิจกรรม/โครงการ จำนวนเงิน 100,000 บาท

 

3 0

3. ป้ายไวนิลโครงการฯและโฟมบอร์ด สสส.

วันที่ 19 มิถุนายน 2020

กิจกรรมที่ทำ

โครงการย่อย ได้กำหนดกิจกรรมจัดทำป้าย เพื่อใช้ในช่วงดำเนินโครงการ เป็นสื่อประชาสัมพันธ์การขับเคลื่อนความปลอดภัยในการบรืโภคอาหาร เพื่อดูแลสุขภาพที่ดีและปลอดสารพิษ โดยจะจัดทำป้าย 3 แผ่น ได้แก่ 1.ป้ายไวนิลโครงการขับเคลื่อนหน่วยจัดการระดับจังหวัดในการสร้างเสริมสุขภาพ โดย มีชื่อโครงการย่อย คือ โครงการส่งเสริมปลูกผักปลอดสู่สุขภาพคนเมือง เขตเทศบาลนครยะลา
2.ไวนิลบันไดผลลัพธ์โครงการฯ 3.โฟมบอร์ดประชาสัมพันธ์ สสส.

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

โครงการย่อย ได้จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ โครงการส่งเสริมปลูกผักปลอดสู่สุขภาพคนเมือง เขตเทศบาลนครยะลา จำนวน 3 แผ่น ดังนี้ 1.ป้ายไวนิลชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมปลูกผักปลอดสู่สุขภาพคนเมือง เขตเทศบาลนครยะลา จำนวน 1 แผ่น 2.ไวนิลบันไดผลลัพธ์โครงการส่งเสริมปลูกผักปลอดสู่สุขภาพคนเมือง เขตเทศบาลนครยะลา จำนวน 1 แผ่น 3.โฟมบอร์ดประชาสัมพันธ์ สสส. จำนวน 1 แผ่น

 

0 0

4. เวทีพัฒนาศักยภาพการรายงานผลลัพธ์ของโครงการย่อย

วันที่ 6 กรกฎาคม 2020

กิจกรรมที่ทำ

โครงการย่อยเข้าร่วมกิจกรรมฝึกอบรมการใช้โปรแกรมรายงานผลกิจกรรมโครงการ เวทีพัฒนาศักยภาพการรายงานผลลัพธ์ของโครงการย่อย ภายใต้กิจกรรมพัฒนาศักยภาพ โครงการย่อย ของหน่วยจัดการ สสส. ระดับจังหวัดยะลา ณ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี ตำบลเขาตูม อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี  และเพิ่มกิจกรรม เพิ่มรายงาน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

วันที่ 6 กรกฎาคม 2563 เวลา 08.30 - 16.30 น ณ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี ตำบลเขาตูม อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี ผู้แทนโครงการย่อยฯ จำนวน 2 คน เข้าร่วมกิจกรรมฝึกอบรมการใช้โปรแกรมรายงานผลกิจกรรมโครงการ การพัฒนาศักยภาพการรายงานผลลัพธ์ของโครงการ ภายใต้กิจกรรมพัฒนาศักยภาพ ของหน่วยจัดการ สสส. ระดับจังหวัดยะลา  ได้ผลการอบรม ดังนี้ 1) ผู้แทนโครงการ ได้เรียนรู้ และสามารถใช้ระบบในการดำเนินการรายงานผลกิจกรรม โครงหาร 2) โครงการย่อย ได้เปิดบัญชี อีเมล์โครงการ จำนวน 1 บัญชี เพื่อใช้รายงานผล และใช้ประมวลเป็นเล่มรายงานโครงการส่งเสริมปลูกผักปลอดภัย สู่สุขภาพคนเมืองเขตเทศบาลนครยะลา ต่อไป

 

2 0

5. 1.1 เวทีประชุมสร้างความเข้าใจโครงการ สร้างความตระหนักประเด็นผักปลอดภัย แต่งตั้งคณะทำงาน และจัดตั้งชมรมผักปลอดภัย

วันที่ 2 สิงหาคม 2020

กิจกรรมที่ทำ

โครงการย่อย ได้กำหนดจัดเวทีประชุมสร้างความเข้าใจโครงการ  สร้างความตระหนักประเด็นผักปลอดภัย แต่งตั้งคณะทำงาน และจัดตั้งชมรมผักปลอดภัย วันที่ 2 กรกฎาคม 2563 เวลา 09.00 - 16.30 น ณ ห้องประชุมศรีญาลอ องค์กรบริหารส่วนจังหวัดยะลา

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

วันที่ 2 กรกฎาคม 2563 เวลา 09.00 - 16.30 น ณ ห้องประชุมศรีญาลอ องค์กรบริหารส่วนจังหวัดยะลา คณะทำงานโครงการย่อยฯ ร่วมบูรณาการหน่วยงาน โดยมีหน่วยงานเข้าร่วม คือ สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดยะลาศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรยะลา องค์การบริการส่วนจังหวัดยะลา สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองยะลา เทศบาลนครยะลา และผู้นำชุมชนเขตเทศบาลนครยะลา ชุมชนตลาดเกษตร ชุทชนห้าแยกกำปงบาโงยและชุมชนมะลิสัมพันธ์  ได้เปิดโครงการ สร้างความเข้าใจในกิจกรรม กำหนดแผนการดำเนินกิจกรรม พร้อมทั้งแต่งตั้งคณะทำงาน ผลจากเวที ดังนี้
1.สมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการเข้าใจในกิจกรรม/โครงการ 2.ได้คณะทำงานขับเคลื่อนโครงการ จำนวน 10 คน 3.ได้งานแผนการดำเนินกิจกรรม/โครงการฯ ที่กำหนดพร้อมหน่วยงานจำนวน 1 แผน

 

50 0

6. เวทีทบทวนบันไดผลลัพธ์และออกแบบเก็บข้อมูลของโครงการย่อยฯ

วันที่ 15 สิงหาคม 2020

กิจกรรมที่ทำ

หน่วยจัดการ สสส. ระดับจังหวัดยะลา กำหนดเวทีทบทวนบันไดผลลัพธ์และออกแบบเก็บข้อมูลของโครงการย่อยฯ ในวันที่ 15 สิงหาคม2563 ณ โรงแรมปาร์วิว ยะลา อำเภอเมือง ยะลา จังหวัดยะลา

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

วันที่ 15 สิงหาคม2563 ณ โรงแรมปาร์วิว ยะลา อำเภอเมือง ยะลา จังหวัดยะลา  ผู้แทนโครงการย่อยฯ จำนวน 2 คนเข้าร่วมกิจกรรมเวทีทบทวนบันไดผลลัพธ์และออกแบบเก็บข้อมูลของโครงการย่อยฯ ภายใต้เวทีพัฒนาศักยภาพโครงการย่อย ของหน่วยจัดการ สสส. ระดับจังหวัดยะลา
ผลจากดวที ดังนี้ 1) โครงการได้ทบทวนบันไดผลลัพธ์และออกแบบบันไดผลลัพธ์ใหม่
จากเดิ่ม ขั้นที่ 1ครัวเรือนมีการร่วมกลุ่มและสร้างเครือข่ายชุมชน เป็นคณะทำงาน ขั้นที่ 2 ครัวเรือนมีความรู้ สามารถผลิตผักปลอดภัย ขั้นที่ 3 ครัวเรือนผลิตผักปลอดภัยและได้รับการรับรองผลผลิต ขั้นที่ 4 มีตลาดผักปลอดภัย ปรับใหม่ เป็น ขั้นที่ 1ครัวเรือนมีการร่วมกลุ่มและสร้างเครือข่ายชุมชน เป็นคณะทำงาน ขั้นที่ 2 ครัวเรือนมีความรู้ สามารถผลิตผักปลอดภัย
ขั้นที่ 3 เกิดกลไก เครือข่าย
ผักปลอดภัย ขั้นที่ 4 มีผักปลอดภัยเพิ่มขึ้น 2.ได้ร่วมออกแบบตารางเก็บข้อมูลของโครงการย่อยฯ ปลูกผักปลอดภัย เพิ่มเติม เรื่องครัวเรือนที่ปลูกผักปลอดภัย ก่อนเข้าร่วมโครงการ และหลังเข้าร่วมโครงการ เป็นต้น

 

2 0

7. 2.3 ประชุมกำหนด กฎ กติกา ชมรมฯ

วันที่ 17 สิงหาคม 2020

กิจกรรมที่ทำ

คณะทำงานได้กำหนด จัดประชุมกำหนดกฎ กติกา การปลูกผักปลอดภัย ในวันที่ 17 สิงหาคม 2563 ณ สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดยะลา เพื่อกำหนด กติกา การดำเนินงาน กิจกรรม โครงการปลูกผักปลอดภัยให้สมาชิก ถือปฏิบัติร่วมกัน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

วันที่ 17 สิงหาคม 2563 ณ สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดยะลา คณะทำงานโครงการย่อยฯ จำนวน 10 ได้ประชุมกำหนดกฎ กติกา การปลูกผักปลอดภัย
ได้กฎ กติกา ปลูกผักปลอดภัย “ชุมชนเขตเทศบาลนครยะลา” ให้สมาชิก ถือปฏิบัติร่วมกัน ดังนี้ 1. สมาชิกทุกครัวเรือนปลูกผักจริง 2. ปลูกผักให้ปลอดสารพิษ (ไม่ใช้สารเคมี) 3. ใช้ปุ๋ยชีวภาพ/ปุ๋ยอินทรีย์ 4. ต้องได้ผลผลิต เพื่อบริโภค/แบ่งปัน/ขาย 5. ต้องปรุงและเพิ่มธาตุอาหารแก่ดินสำหรับปลูกผักเอง 6. ต้องมีเวลา ร่วมกิจกรรม พัฒนาความรู้ ประชุมกลุ่มอย่างต่อเนื่อง 7. บันทึกข้อมูลการปลูกผักปลอดภัยทุกรอบการผลิต

 

10 0

8. ประชุมพิจารณายกร่างตารางข้อมูลผลลัพธ์เชิงประเด็นยุทศาสตร์ (พัฒนาศักยภาพพื้นที่โครงการย่อย)

วันที่ 20 สิงหาคม 2020

กิจกรรมที่ทำ

หน่วยจัดการ สสส. ระดับจังหวัดยะลา กำหนดจัดประชุมเรื่อง พิจารณายกร่างตารางข้อมูลผลลัพธ์เชิงประเด็นยุทศาสตร์ (พัฒนาศักยภาพพื้นที่โครงการย่อย) ในวันที่ 20 สิงหาคม 2563 ณ ห้องประชุม ศาลากลางจังหวัดยะลา  ประชุมพิจารณายกร่างตารางข้อมูลผลลัพธ์เชิงประเด็นยุทศาสตร์

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

วันที่ 20 สิงหาคม 2563 ณ ห้องประชุม ศาลากลางจังหวัดยะลา  ผู้แทนโครงการย่ยอฯ จำนวน 1 คนเข้าประชุม เรื่อง พิจารณายกร่างตารางข้อมูลผลลัพธ์เชิงประเด็นยุทศาสตร์ (พัฒนาศักยภาพพื้นที่โครงการย่อย) ของหน่วยจัดการ สสส. ระดับจังหวัดยะลา
ผลจากการประชุม ดังนี้ 1) ผู้แทนโครงการย่อยฯ ได้แนะนำตัวและรายงานพื้นที่เป้าหมายที่จะดำเนินการ ได้แก่ ชุมชนตลาดเกษตร ชุมชนห้าแยกกำปงบาโงย และชุมชนมะลิสัมพันธ์ รวม จำนวน 45 ครัวเรือน
2) ร่วมพิจารณายกร่างตารางข้อมูลผลลัพธ์เชิงประเด็นยุทศาสตร์ ทราบข้อมูลตาราง รายละเอียด เป้าหมาย ของกิจกรรย่อย และรายงานผล

 

1 0

9. ประชุมคณะกรรมการครั้งที่1

วันที่ 22 สิงหาคม 2020

กิจกรรมที่ทำ

คณะทำงานโครงการส่งเสริมปลูกผักปลอดภัย สู่สุขภาพคนเมือง เขตเทศบาลนครยะลา ได้กำหนดกิจกรรม ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 1 เรื่อง กำหนดผนการดำเนินกิจกรมมส่งเสริมปลูกผักปลอดภัยสู่สุขภาพคนเมือง ในวันที่ 22 สิงหาคม 2563 เวลา 08.30 - 16.30 น ณ สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดยะลา

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

วันที่ 22 สิงหาคม 2563 เวลา 08.30 - 16.30 น ณ สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัด คณะทำงานโครงการส่งเสริมปลูกผักปลอดภัย สู่สุขภาพคนเมือง เขตเทศบาลนครยะลา ได้ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 1 เรื่อง กำหนดผนการดำเนินกิจกรมมส่งเสริมปลูกผักปลอดภัยสู่สุขภาพคนเมือง เขตเทศบาลนครยะลา ผลการประชุม ดังนี้ 1) คณะทำงานได้กำหนดแผนการดำเนินกิจกรรมส่งเสริมปลูปผักปลอดภัยสู่สุขภาพคนเมือง ในแต่กิจกรรม (ลงวัน เดือน และสถานที่จัดกิจกรรม) 2) กำหนดรูปแบบการจัดประชุม การฝึกอบรม โดยแบ่งการรับผิดชอบกิจกรรมและเวียนสถานที่จัดประชุมและอบรม ใน 3 ชุมชนที่เข้าร่วมโครงการ ได้แก่ -การอบรมฝึกปฏิบัติ การปลูกผักปลอดภัย จัดอบรมที่ ชุมชนตลาดเกษตร ณ ชุมนุมสหกรณ์ยะลา -การอบรมฝีกปฏิบัติ การปรุงดิน และทำปุ๋ยชีวภาพ จัดอบรมที่ ลานกิจกรรมมะลิสัมพันธ์ ณ ชุมชนมะลิสัมพันธ์ -การอบรมการรับรองมาตรฐาน GAP PGS และจัดทำแผนร่วมกับหน่วยงาน จัดอบรมที่ ห้องประชุมเทศบาลนครยะลา
-การประชุมคณะทำงาน เวียนสถานที่ประชุม ได้แก่ ชุมชนตลาดเกษตร ชุมชนห้าแยกกำปงบาโงย และชุมชนมะลิสัมพันธ์

 

10 0

10. 1.2 ประชุมอบรมพัฒนาศักยภาพ คณะทำงาน และจัดทำข้อมูล จำนวน 10 คน โดยการสำรวจครัวเรือน จำนวน 45 ครัวเรือน

วันที่ 6 กันยายน 2020

กิจกรรมที่ทำ

คณะทำงานกำหนดประชุม พัฒนาศักยภาพคณะทำงาน ในวันที่ 3 กรกฎาคม 2563 ณ ชุมชนตลาดเกษตร โดยมีหัวข้อ เรื่อง ดังนี้
1)ประชุม กำหนดวางแผนงานดำเนินการ
2)พิจารณาแบบฟอร์มการสำรวจข้อมูล ครัวเรือน ก่อนปลูกผัก 3) ลงพื้นที่ สำรวจ แลงผัก ของครัวเรือน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

วันที่ 3 กรกฎาคม 2563 ณ ชุมชนตลาดเกษตร คณะทำงานได้ประชุม พัฒนาศักยภาพคณะทำงาน ใน โดยมีหัวข้อ เรื่อง 1)ประชุม กำหนดวางแผนงานดำเนินการ 2)พิจารณาแบบฟอร์มการสำรวจข้อมูล ครัวเรือน ก่อนปลูกผัก และ3) ลงพื้นที่ สำรวจ แลงผัก ของครัวเรือน

ผลจากการประชุม 1) คณะทำงานได้รูปแบบการสำรวจข้อมูลการของสมาชิก โดยแบ่งเป๋นสำรวจข้อมูลก่อนการปลูกผักปลอดภัย และติดตามการบันทึกข้อมูลหลังการปลูกผักปลอดภัย 2) ได้แบบฟอร์มการสำรวจข้อมูลสมาชิก 45 ครัวเรือน 3) ได้ข้อมูล การบริโภคผัก การผลิต และการตลาด ของสมาชิกก่อนดำเนินปลูกผักปลอดภัย จำนวน 45 ครัวเรือน

 

10 0

11. 2.2 อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้การผลิตผักปลอดภัย วันที่ 1 (หลักสูตร ที่ 1 และหลักสูตร ที่ 2)

วันที่ 12 กันยายน 2020

กิจกรรมที่ทำ

โครงการย่อยฯ ได้กำหนดกิจกรรม อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้การผลิตผักปลอดภัย วันที่ 1  (หลักสูตร ที่ 1 และหลักสูตร ที่ 2) ในวันที่ 12 กันยายน 2563 เวลา 08.30 - 16.30 น. ณ ชุมชนมะลิสัมพันธ์ อบรม หลักสูตรที่ 1 การเตรียมดินและการบำรุงดิน หลักสูตรที่ 2 การทำปุ๋ยชีวภาพ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

วันที่ 12 กันยายน 2563 เวลา 08.30 - 16.30 น. ณ ชุมชนมะลิสัมพันธ์ โครงการส่งเสริมปลูกผักปลอดภัย สู่สุขภาพคนเมือง เขตเทศบาลนครยะลา ได้จัดอบรม สมาชิก จำนวน 45 คน
อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้การผลิตผักปลอดภัย หลักสูตรที่ 1 การเตรียมดินและการบำรุงดิน และ หลักสูตรที่ 2 การทำปุ๋ยชีวภาพ โดยเชิญ นายอิสมาแอ ลาเต๊ะ สมาร์ตฟาร์เมอร์จังหวัดยะลา เป็นวิทยากรการผลิตปุ๋ยชีวภาพ และนางอัญชลี คงศรีเจริญ ปราชญ์ชาวบ้าน เป็นวิทยากรการปรุงดิน ผลการอบรมดังนี้ 1) สมาชิกเข้าร่วมอบรม จำนวน 45 คน
2) สมาชิกได้ความรู้การเตรียมดินและการบำรุงดิน เพื่อใช้ในการปลูกผักปลอดภัย โดยได้สูตร การปรุงดิน จำนวน 3 สูตร
สูตรที่ 1 มีส่วนประกอบ ด้วย   - แกลบเก่า หรือแกลบเผา   -มูลวัว หรือแพะ
-ขุยมะพร้าว -หน้าดินรวน หรือทราย
  สัดส่วนเท่ากัน และพด3 ผสมนำ้ 100 ลิตร ราด ป้องกันเชื้อรา สูตรที่ 2 -ดิน -ขุยมะพร้าว - ขี่เลื่อย - แกลบ
สัดส่วนเท่ากัน - ขี้ค้างค้าว 10 เปอร์เซ็น ของส่วนประกอบรวมทั้งหมด สูตรที่ 3
- แกลบเก่า - หน้าดิน - ปุ๋ยขี้ไก่แกลบ สัดสวนเท่ากัน

3) สมาชิกได้ความรู้เรืองการทำปุ๋ยชีวภาพ ใช้เอง ได้แก่ การทำจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง การทำนำ้หมักโนบาชิ

 

50 0

12. 2.2 อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้การผลิตผักปลอดภัย วันที่ 2 (หลักสูตร ที่ 3)

วันที่ 13 กันยายน 2020

กิจกรรมที่ทำ

โครงการย่อยฯ ได้กำหนดกิจกรรม อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้การผลิตผักปลอดภัย วันที่ 2  (หลักสูตร ที่ 3 ) ในวันที่ 13 กันยายน 2563 เวลา 08.30 - 16.30 น. ณ ชุมชนตลาดเกษตร อบรม หลักสูตรที่ 3 การจัดการพื้นที่และการปลูกผัก 4 รูปแบบ (ได้แก่ 1)แบบปลูกในกระถัง/บ่อ 2)แบบขั้นบันได 3)แบบแขวน และแบบไร้ดิน )

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

วันที่ 13 กันยายน 2563 เวลา 08.30 - 16.30 น. ณ ชุมชนตลาดเกษตร โครงการย่อยฯ ได้จัดกิจกรรม อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้การผลิตผักปลอดภัย วันที่ 2  (หลักสูตร ที่ 3 ) ในอบรม หลักสูตรที่ 3 การจัดการพื้นที่และการปลูกผัก 4 รูปแบบ (ได้แก่ 1)แบบปลูกในกระถัง/บ่อ 2)แบบขั้นบันได 3)แบบแขวน และแบบไร้ดิน ) โดย เชิญ นายกามาล อับดุลเลาะ เป็นวิทยากร ผลจากการอบรม ดังนี้ 1) สมาชิก ครัวเรือน ได้ความรู้ วิธีการ การปลูกผัก แบบใช้ดิน และแบบไร้ดิน (ใช้นำ้) และได้ปฏิบัติการปลูกผัก
2) สมาชิก ได้ทดลองปลูก และการดูแลผัก โดยทดลองปลูกผักแบบใช้ดิน คนละ 3 ชนิด ได้แก่ผักเคล ผักกาด และคะน้า ทดลองปลูกแบบไร้ดิน (ใช้น้ำ) 2 ชนิด ได้แก่ เรดโอ๊ต และ กรีนโอ๊ต

 

50 0

13. เวทีประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา ARE ครั้งที่ 1

วันที่ 24 ตุลาคม 2020

กิจกรรมที่ทำ

หน่วยจัดการ สสส. ระดับจังหวัดยะลา กำหนดจัดเวที เวทีประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา ARE ครั้งที่ 1 ในวันที่ 24 -25 ตุลาคม 2563 ณ วิทยาลัยการอาชีพเบตง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

วันที่ 24-25 ตุลาคม 2563 ณ ชุมชนตลาดเกษตร โครงการส่งเสริมปลูกผักปลอดภัย สู่สุขภาพคนเมือง เขตเทศบาลนครยะลา ร่วมเวทีประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา ARE ครั้งที่ 1 เพื่อแลกเปลี่ยน เรียนรู้ เพื่อพัฒนา โดยมี ผู้แทนจากโครงการย่อย จำนวน 4 คนเข้าร่วมในครั้งนี้
ผลที่เกิดจากเวที 1)ผู้แทนโครงการย่อย ได้นำเสนอรายงานความก้าวหน้าตามขั้นบันได้ผลผลัพธ์ของโครงการฯ
-โครงย่อยดำเนินการ บันไดผลลัพธ์ ขั้นที่ 1 เสร็จ และอยู่ระว่างการดำเนินการบันไดผลผลัพธ์ ขั้นที่ 2 2)ผลจากบันไดผลลัพธ์ -ผลลัพธ์ที่คาดไว้ ครัวเรือนมีการร่วมกลุ่มและสร้างเครือข่ายชุมชน เป็นคณะทำงาน -ผลที่เกิด มีคณะทำงานการขับเคลื่อนผักปลอดภัยที่เกิดจากสมาชิก จำนวน 11 คน ได้แก่ ชุมชนตลาดเกษตร 5 คน ชุมชนห้าแยกกำปงบาโงย 3 คน และชุมชนมะลิ 3 คน ตามสัดส่วนสมาชิกเข้าร่วมโครงการ (25-10-10) 3) อุปสรรค์ของโครงการฯ ช่วงเวลาขณะนี้(เดือนตุลาคม 2563)อยู่ในช่วงการอบรมให้ความรู้ ซึ่งจะต่อเนื่องด้วยการลงมือปลูก แต่ไปชนกับช่วงฤดูกาล ที่กำลังเข้าช่วงหน้าฝนพอดี (เดือนตุลาคม-ธันวาคม) จึงจะเป็นอุปสรรคต่อการปลูกผัก  ซึ่งอาจส่งผลต่อผลลัพธ์ที่จะได้ผัก 4) ในเวทีได้ระดมความคิดเห็นร่วมกับโครงการปลูกผักปลอดภัยจากชุมชนอื่น เสนอให้มีการปรับมีการปลูก จากบนดิน มาปลูกแบบ ยกแคร่ ปลูกในกระถัง ปลูกในล้อยาง ปลูกในบริเวณบ้านที่สามารถดูแลและนำ้ท่วมไม่ถึง และปลูกผักจำพวกต้นอ่อน ที่ใช้เวลาสั้น เก็บเกี่ยวได้เร็ว เป็นต้น

 

4 0

14. ประชุมคณะกรรมการครั้งที่2

วันที่ 15 พฤศจิกายน 2020

กิจกรรมที่ทำ

คณะทำงานได้กำหนดจัดประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 2 ในวันที่ 15 มกราคม 2564 ณ สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดยะลา ประชุม เรื่อง
1)กำหนดแผนการดำเนินกิจกรรม งวดที่ 2 2) เลือกรูปแบบ และชนิดผัก ตามความความต้องการของสมชิกตามแบบสำรวจข้อมูล

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

วันที่ 15 มกราคม 2564 ณ สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดยะลา คณะทำงานโครงการส่งเสริมปลูกผักปลอดภัย สู่สุขภาพคนเมือง เขตเทศบาลนครยะลา ได้ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 2  เรื่อง
1)กำหนดแผนการดำเนินกิจกรรม งวดที่ 2 และ2)เลือกรูปแบบ และชนิดผัก ตามความความต้องการของสมชิกตามแบบสำรวจข้อมูล ผลการประชุม ดังนี้ 1) โครงการย่อยฯ ได้แผนการดำเนินงาน งวดที่ 2 2) ได้ข้อสรุปชนิดผักที่จะปลูก อย่างน้อย 7 ชนิด ต่อ ครัวเรือน

 

10 0

15. 2.2 อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้การผลิตผักปลอดภัย วันที่ 3 (หลักสูตร ที่ 4 และหลักสูตร ที่ 5)

วันที่ 28 ธันวาคม 2020

กิจกรรมที่ทำ

โครงการส่งเสริมปลูกผักปลอดภัย สู่สุขภาพคนเมือง เขตเทศบาลนครยะลา ได้กำหนดจัดกิจกรรม อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้การผลิตผักปลอดภัย วันที่ 3  (หลักสูตร ที่ 4 และหลักสูตร ที่ 5) ในวันที่ 28 ธันวาคม 2563 ณ ห้องประชุมเทศบาลนครยะลา อำเภอเมือง จังหวัดยะลา
หลักสูตร ที่ 4  การผลิตผักปลอดภัย ด้วยกระบวนการของมาตรฐาน GAP แบบการรับรองกันเอง เกษตร PGS
และหลักสูตร ที่ 5อบรมการจัดทำแผนการผลิตผัก อขงชุมชนเขตเทศบาล

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

วันที่ 28 ธันวาคม 2563 ณ ห้องประชุมเทศบาลนครยะลา อำเภอเมือง จังหวัดยะลา โครงการส่งเสริมปลูกผักปลอดภัย สู่สุขภาพคนเมือง เขตเทศบาลนครยะลา ได้จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้การผลิตผักปลอดภัย แก่สมาชิก จำนวน 45 ครัวเรือน อบรมหลักสูตร ที่ 4  การผลิตผักปลอดภัย ด้วยกระบวนการของมาตรฐาน GAP เชิญนายรัชชานนท์ เต็มนา วิทยากรจากศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรยะลา แบบการรับรองกันเอง เกษตร PGS  เชิญนายมันโซร์ สาและ ปราชญ์เกษตรกรและวิทยากรกระบวนการ เกษตร PGS ภาคใต้ และหลักสูตร ที่ 5 อบรมการจัดทำแผนการผลิตผัก เชิญนางสาวฮาบีบ๊ะ บูระพา  วิทยากรจาเกษตรอำเภอเมืองยะลา
ผลการอบรม มีดังนี้ 1) ครัวเรือน ได้รับความความรู้ในการผลิตผัก ปลอดภัย ตามมาตรฐาน GAP ขั้นพื้นฐาน ใน 8 ขั้นตอนเพื่อรับใบรับรอง GAP ได้ 2) ครัวเรือน ได้รับความความรู้หลักการปฏิบัติ ในการผลิตผัก ปลอดภัย ตามแบบ เกษตร PGS 3) ครัวเรือนเขตเทศบาลมีแผนการผลิตผัก ของชุมชนเขตเทศบาล ผ่านกระบวนจัดทำร่วมกันระหว่างชุมชนและเกษตรอำเภอเมือง

 

50 0

16. ประชุมคณะกรรมการครั้งที่3

วันที่ 8 มกราคม 2021

กิจกรรมที่ทำ

คณะทำงานโครงการปลูกผักปลอดภัย สู่สุขภาพคนเมือง เขตเทศบาลนครยะลา ได้กำหนดจัดประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 3 ในวันที่ 8 มกราคม 2563 ณ ชุมชนมะลิสัมพันธ์ เรื่อง 1)พิจารณาร่างแบบการบันทึกข้อมูลการผลิตผัก 2) ทดสอบสภาพดินปลูกของสมาชิก

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

วันที่ 8 มกราคม 2563 ณ ชุมชนมะลิสัมพันธ์คณะทำงานโครงการปลูกผักปลอดภัย สู่สุขภาพคนเมือง เขตเทศบาลนครยะลา จัดประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 3 เรื่อง 1)พิจารณาร่างแบบการบันทึกข้อมูลการผลิตผัก 2) ทดสอบสภาพดินปลูกของสมาชิก โดยคณะทำงานเชิญ สมาชิกและหน่วยงานจากสถานีพัฒนาที่ดินมาให้ความรู้เรื่องดินและทดสอบดินปลูกของสมาชิก ด้วยเครื่องมือ LDO pH Tert Kit (ความเปฌนกรด-ด่างของดิน) ผลจากที่ประชุม 1)เห็นชอบแบบบันทึกการปลูกผักปลอดภัย และให้ฝ่ายเลขา ดำนเนินจัดทำ และมอบให้สมาชิกทุกคนบันทึกข้อมูลการปลูกผัก 2) สมาชิกได้ข้อมูลสภาพดิน ระดับ pH ของดิน ปลูกของตนเอง และได้รับคำแนะนำการโดโลไมท์ แก้ไขปัญหาดินเปรี้ยว ดินที่ใช้ทำการเกษตรเป็นเวลานานให้กลับมามีความอุดมสมบรณ์ ด้วยเกษตรที่ปลอดภัย 3) ได้กำหนดเวที่ การเรียนรู้ สอนวิธีการปรุงดิน ของสถานีพัฒนาที่ดิน ในเวทีต่อไป

 

10 0

17. 2.4 ส่งเสริมครัวเรือนปลูกผักปลอดภัย แบบคนเมือง

วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2021

กิจกรรมที่ทำ

โครงการส่งเสริมปลูกผักคนเมืองสู่สุขภาพคนเมือง เขตเทศบาลนครยะลา ได้กำหนดกิจกรรม ส่งเสริมครัวเรือนปลูกผักปลอดภัย แบบคนเมือง ในวันที่ 14 กุมพาพันธ์ 2563 ณ ชุมชนตลาดเกษตร ชุมชนห้าแยกกำปงบาโงย ชุมชนมะลิสัมพันธ์ ส่งเสริมอุปกรณ์จำเป็นแก่ สมาชิกครัวเรือน 45 ครัวเรือน ปลูกผัก ตามแนวทางที่ได้รับความรู้จากการอบรมตามหลักสูตรต่างๆ โดย 1) ปรุง หรือ ผสมดินปลูกเอง
2) ปลูกผัก อย่างน้อย ครัวเรือน ละ 7 ชนิด

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

วันที่ 14 กุมพาพันธ์ 2563 ณ ชุมชนตลาดเกษตร ชุมชนห้าแยกกำปงบาโงย ชุมชนมะลิสัมพันธ์ โครงการส่งเสริมปลูกผักคนเมืองสู่สุขภาพคนเมือง เขตเทศบาลนครยะลา ได้จัดกิจกรรม ส่งเสริมครัวเรือนปลูกผักปลอดภัย แบบคนเมือง ส่งเสริมอุปกรณ์จำเป็นแก่ สมาชิกครัวเรือน 45 ครัวเรือน ปลูกผัก ตามแนวทางที่ได้รับความรู้จากการอบรมตามหลักสูตรต่างๆ โดย 1) ปรุง หรือ ผสมดินปลูกเอง
2) ปลูกผัก อย่างน้อย ครัวเรือน ละ 7 ชนิด1)สมาชิก 45 ครัวเรือน ได้ปลูกผักปลอดภัย

ผลกิจกรรม ดังนี้ 1)สมาชิก 3ชุมชน ได้รับอุปกรณ์จำเป็นเบื้องต้นในการปลูกปลอดภัย เช่น เมล็ดพันธ์คนละ 7 ชนิด ถุงกระสอบปลูก กระถัง เป็นต้น 2) สมาชิกแต่ละชุมชน ร่วมลงแรง ปรุงดินเพื่อปลูกผัก โดยแบ่งการปรุงดินสูตรที่ 1 มีส่วนประกอบ ด้วย สูตรที่ 1   - แกลบเก่า หรือแกลบเผา
  -มูลวัว หรือแพะ
-ขุยมะพร้าว -หน้าดินรวน หรือทราย
  สัดส่วนเท่ากัน และพด3 ผสมนำ้ 100 ลิตร ราด ป้องกันเชื้อรา สูตรที่ 2 -ดิน -ขุยมะพร้าว - ขี่เลื่อย - แกลบ
สัดส่วนเท่ากัน - ปุ๋ยหมักอินทรีย์ 10 เปอร์เซ็น ของส่วนประกอบรวมทั้งหมด แล้วแบ่งกัน 3)พี่เลี้ยงได้ชี้แจง การบันทึกข้อมูล ในแบบบันทึกการปลูกผักปลอดให้กับสมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการ

 

45 0

18. ประชุมคณะกรรมการครั้งที่ 4

วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2021

กิจกรรมที่ทำ

คณะทำงานโครงการส่งเสริมปลูกผักปลอดภัย สู่สุขภาพคนเมือง เขตเทศบาลนคร กำหนดจัดประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 4 ในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2564 ณ ชุมชนตลาเกษตร เรื่อง พิจาณาและกำหนดสถานที่ดูงาน และประสานงาน และวางแผนการเพาะเมล็ดผัก และแจกจ่ายให้กับสมาชิก

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2564 ณ ชุมชนตลาเกษตร คณะทำงานโครงการส่งเสริมปลูกผักปลอดภัย สู่สุขภาพคนเมือง เขตเทศบาลนคร ได้ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 4 เรื่อง พิจาณาและกำหนดสถานที่ดูงาน และประสานงาน และวางแผนการเพาะเมล็ดผัก และแจกจ่ายให้กับสมาชิก พร้อมเชิญ สถานีพัฒนาที่ดินยะลา มาให้ความรู้การผสมดิน ใช้วัสดุชีวภาพ โดย นายกำธร รัตรช่วย ผู้แทนจากสถานีพัฒนาที่ยะลา รับผิดชอบอำเภอเมืองยะลา ผลจากการประชุม 1) ได้กำหนดวันศึกษาดูงาน วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2564 ณ สวนผักอินทรีย์ อำเภอปานาเระ จังหวัดปัตตานี 2) การส่งเสริมอุปกรณ์จำเป็น และเมล็ดพันธู์ให้แก่สมาชิก และใหมีการบันทึกข้อมูล ตามแบบบันทึกการปลูกผักปลอดภัย ภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 3) กำหนดวันตรวจแปลง ตั้งวันเบื้องต้นวันที่ 20 มีนาคม 2564 4) ได้เรียนรู้วัสดุที่สามารถนำมาผสมเป็นดินปลูกผักปลอดภัย

 

10 0

19. 2.1 เรียนรู้ รูปแบบการปลูกผักคนเมือง และสำรวจความต้องการรูปแบบการปลูกของสมาชิกแต่ละครัวเรือน เพื่อกำหนดรูปแบบการปลูกให้มีความเหมาสมต่อพื้นที่ปลูก หรือ บริเวณปลูก กับชนิดผัก

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2021

กิจกรรมที่ทำ

โครงการปลูกผักปลอดภัยสู่สุขภาพคนเมืองเขตเทศบาลนครยะลา ได้กำหนดกิจกรรม  เรียนรู้ รูปแบบการปลูกผักคนเมือง และสำรวจความต้องการรูปแบบการปลูกของสมาชิกแต่ละครัวเรือน เพื่อกำหนดรูปแบบการปลูกให้มีความเหมาสมต่อพื้นที่ปลูก หรือ บริเวณปลูก  กับชนิดผัก ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2563 ณ สวนผักอินทรีย์ อำเภอปานาเระ จังหวัดปัตตานี เพื่อรับความรู้จากการถ่ายทอดประสบการณ์จากคนทำจริง และประสบผลสำเร็จ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2563 ณ สวนผักอินทรีย์ อำเภอปานาเระ จังหวัดปัตตานี โครงการปลูกผักปลอดภัยสู่สุขภาพคนเมืองเขตเทศบาลนครยะลา ได้นำสมาชิก 45 ครัวเรือน ไปเรียนรู้ รูปแบบการปลูกผักคนเมือง ให้สมาชิกได้เรียนและกลับมาปรับใช้ในการปลูกผักปลอดภัย ให้มีความเหมาสมต่อพื้นที่ปลูก หรือ บริเวณปลูก กับชนิดผัก ในพื้นที่ตนเอง และเพื่อรับความรู้จากการถ่ายทอดประสบการณ์จากคนผลิตผักอินทรีย์ โดยใช้พื้นที่รอบบ้าน ใช้ภาชนะถุงกระสอบ ยกแคร่ในการปลูกผัก และการทำการตลาดตัวตนเอง
ผลจากการเรียนรู้
1) ครัวเรือน ได้เรียนรู้การปลูกผัก รอบบ้าน ในภาชนะ กระถัง กระสอบ แคร่ 2) ครัวเรือน ได้เรียนรู้ และได้สูตร การปรุงดิน ปลูกผักเอง ที่สามารถลดต้นทุนการปลูก 3) ครัวเรือน ได้เรียนรู้ การเก็บเกี่ยวผลผลิต การขายทำตลาดผ่านเฟสบุ๊ค ไลน์ 4) ได้ทราบแห่งซื้อ วัสดุ อุปกรณ์ และการเทียบราคา กับคุณภาพ จากประสบการณ์ของวิทยากร

 

45 0

20. 2.5 ประชุมติดตามการปฏิบัติ ตามกฏกติกา ชมรม

วันที่ 7 มีนาคม 2021

กิจกรรมที่ทำ

คณะทำงานได้กำหนดกิจกรรม ประชุมติดตามการปฏิบัติ ตามกฏกติกา ชมรม ในวันที่ 7 มีนาคม 2564 ณ ชุมชนตลาดเกษตร ชุมชนห้าแยกกำปงบาโงย และชุมชนมะลิสัมพันธ์  โดยคณะทำงานแต่ละชุม เดินตรวจเยี่ยมและติดตามแปลงผัก ของสมาชิก เพื่อ แลกเปลี่ยนข้อมูล ถึงการผลิต การดูแล

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

วันที่ 7 มีนาคม 2564 ณ ชุมชนตลาดเกษตร ชุมชนห้าแยกกำปงบาโงย และชุมชนมะลิสัมพันธ์ คณะทำงาน ได้ดำเนินการกิจกรรม ประชุมติดตามการปฏิบัติ ตามกฏกติกา ชมรม  โดยคณะทำงานแต่ละชุม เดินตรวจเยี่ยมและติดตามแปลงผัก ของสมาชิก และแลกเปลี่ยนข้อมูล การผลิต การดูแล ผักของสมาชิก ผลจากการตรวจเยี่ยมและติดตาม 1) สมาชิกได้แลกเปลียนข้อมูลการผลิต การดูแล และการจัดการ 2) สมาชิกสวนใหญ่ปลูกผักแล้ว มีปัญหาหลัก 2 อย่าง 1 )ดินไม่ค่อยดี 2) มีศัตรูรบกวน ได้แก่ หนอนช้อนไชใบ และหอยทาก จัดกินใบและยอด
3) สรุปแนวทางการแก้ไข เพื่อให้เกิดผลสำเร็จของการปลูก 1) ให้เชิญ จนท.เกษตรอำเภอเมือง มาดูแปลงเพื่่อหาทางแก้ไขและการกำจัดและป้องกันการรบกวนของศัตรูพืช 2 ชนิด
4) ให้เชิญ จนท. สถานีพัฒนาที่ดิน มาทดสอบดินปลูก และสอนวิธีการปรุงดิน และปรับดินให่้มีประสอทธิภาพ

 

10 0

21. ประชุมวิเคราะห์ สังเคราะห์โครงการ

วันที่ 24 มีนาคม 2021

กิจกรรมที่ทำ

หน่วยจัดการ สสส. ระดับจังหวัดยะลา ได้กำหนดจัด ประชุมวิเคราะห์ สังเคราะห์โครงการ โครงการย่อย ทุกโครงการ ในวันที่ 24 มีนาคม 2564 ณ ห้องประชุมโรงแรมปาร์วิว ยะลา อำเภอเมือง จังหวัดยะลาโดยเชิญคณะกรรมการ โครงการย่อยเข้าร่วมการประชุมเพื่อสะท้อนข้อมูล จากการดำเนินโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

วันที่ 24 มีนาคม 2564 ณ ห้องประชุมโรงแรมปาร์วิว ยะลา อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ผู้แทนโครงการปลูกผักปลอดภัยสู่สุขภาพคนเมือง เขตเทศบาลนครยะลา จำนวน 1 คน ได้เข้าร่วมประชุมวิเคราะห์ สังเคราะห์โครงการ เวทีของหน่วยจัดการ สสส. ระดับจังหวัดยะลา เพื่อสะท้อนข้อมูล จากการดำเนินโครงการ ผลสะท้อนจากเวที นำเสนอโดยผู้แทน ดังนี้
1.โครงการส่งเสริมปลูกผักปลอดภัย มีคุณค่า เป็นกระบอกเสียง ในจุดประกาย และกระตุ้นให้คนมารักสุขภาพ เริ่มดูแลสุขภาพจากการบริโภคผักที่ปลอดภัย
2.ประโยชน์ที่ได้รับโครงการ คือ เกิดการสร้างกลุ่ เครือข่าย ผู้ปลูกผักปลอดภัย มีพื้นที่ปลูกผักปลอดภัยเพิ่มขึ้น สามารถทำให้คนในชุมชนดข้าถึงผักสุขภาพมากขึ้น ซึ่งอาจต่อยอดการร่วมเป็นเครือข่ายผู้ขายผักปลอดภัย แห่งใหม่ในจังหวัดได้ 3.อุปสรรคปัญหาที่เกิดขึ้น มีด้านการผลิตผัก ดินปลูกที่ยังไม่เข้าสูตร มีศัตรูพืชรบกวน
4.ต้องการให้หน่วยงาน  เกษตรอำเภอแนะนำการปลูกที่ถูกหลัก ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรมาวางระบบเพื่อรับรอง GAP ได้ สถานีพันาที่ดิน ให้ความรู้เรื่องดิน และปุ๋ยที่เหมาะสม สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดยะลา มาพัฒนากระบวนการและเชื่อมกับส่วนงานต่างๆ ซึ่งทางชุมชนได้รับการสนับสนุนบางส่วนมาแล้ว และต้องการโอกาสในการพัฒนาในระดับต่อไปอีก 5.การปฏิบัติตามข้อตกลง ของโครงการย่อยฯ จากเวที สรุปการติดตามสมาชิกครัวเรือนปลูกผัก จำนวน 45 ครัวเรือน มี 25 ครัวเรือนที่สามารถตามข้อตกลง 7 ข้อ ตามที่โครงการย่อยได้กำหนด 7.มีแผนการตลาด โดยกำหนด จัดส่งผักให้กับสมาชิกในชุมชน ที่เปืดร้านอาหาร และตั้งโต๊ะขายตลาดนัดชุมชนตลาดเกษตรทุกวันศุกร์ 9.การเพิ่มชนิดการปลูกผัก ได้มีแผนการส่งเสริมการผลิตผักปลอดภัย อย่างน้อย 7 ชนิดต่อครัวเรือน แต่เพิ่มขึ้นตามความสามารถ แต่จะเสริมพืชสมุนไพรที่ใช้ประจำวัน เช่น ขมิ้น ข่า ตะไคร้ มะกรูด เป็นต้น

 

1 0

22. 3.1 รับรองผักปลอดภัย คณะทำงาน 10 คน และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง

วันที่ 10 เมษายน 2021

กิจกรรมที่ทำ

คณะทำงานได้กำหนด จัดกิจกรรม การรับรองผักปลอดภัย คณะทำงาน 10 คน และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ในวันที่ 10 เมษายน 2564 ณ ชุมชนตลาดเกษตร ชุมชนห้าแยกกำปงบาโงย ชุมชนมะลิสัมพันธ์ คณะกรรมแต่ชุมชน ติดตามและตรวจแปลงผักของสมาชิกแต่ละชุมชน พร้อมผู้แทนจากเกษตรอำภอเมืองยะลา

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

วันที่ 10 เมษายน 2564 เวลา 08.30 - 16.30 น. ณ ชุมชนตลาดเกษตร ชุมชนห้าแยกกำปงบาโงย ชุมชนมะลิสัมพันธ์ คณะทำงานได้จัดกิจกรรม การรับรองผักปลอดภัย คณะทำงาน 10 คน และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง โดยมี นางฮาบีบ๊ะ บูระพา  นักส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ จาก สนง.เกษตรอำเภอเมือง และนางสาวอาดีละห์ กาโฮง นักวิชาการเกษตร สำนักงนสภาเกษตรกรจังหวัดยะลา ร่วมกับคณะทำงาน ติดตามและตรวจแปลงผักของสมาชิกแต่ละชุมชน
ผลการตรวจแปลงผัก มีดังนี้ 1) มีครัวเรือนที่ปลูกผักปลอดภัย จำนวน 45 ครัวเรือน 2) มีครัวเรือนที่ปลูกผักปลอดภัยและมีผลผลิตออกน้อยกว่า 5 ชนิด จำนวน 20 ครัวเรือน 3) มีครัวเรือนที่ปลูกผักปลอดภัยและมีผลผลิตออกมากกว่า 5 ชนิด จำนวน 25 ครัวเรือน 4) สมาชิก 25 ครัวเรือน ต้องการความรู้ เรื่องการปุงดิน และการกำจัดแลัป้องกันศัครูพืชเพิ่มเติม 5) จนท.เกษตรอำเภอเมืองยะลา ให้ชุมชนกำหนดวัน เพื่อจะอบรม เรื่องการกำจัดศัตรูพืช  และอบรมการผลิตเชื้อไตรโคเดอร์มา
6) ได้ต้นแบบคนเมืองปลูกผักปลอดภัย 1 คน

 

25 0

23. 3.3 การประกวดคนเมืองต้นแบบปลูกผักปลอดภัย 1 คน มอบรางวัลเพื่อเป็นขวัญกำลังใจ

วันที่ 10 เมษายน 2021

กิจกรรมที่ทำ

โครงการส่งเสริมปลูกปลอดภัยสู่สุขภาพคนเมือง เขตเทศบาลนครยะลา กำหนดกิจกรรม การประกวดคนเมืองต้นแบบปลูกผักปลอดภัย 1 คน มอบรางวัลเพื่อเป็นขวัญกำลังใจ คัดเลือกคนเมืองปลูกผักปลอดภัย เพื่อเป็นต้นแบบ 1 คน ในวันที่ 10 เมษายน 2564

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

10 เมษายน 2564 โครงการส่งเสริมปลูกปลอดภัยสู่สุขภาพคนเมือง เขตเทศบาลนครยะลา ได้กิจกรรม การประกวดคนเมืองต้นแบบปลูกผักปลอดภัย 1 คน มอบรางวัลเพื่อเป็นขวัญกำลังใจ
ผลการคัดเลือก  คุณวอภารัตน์ ทองธรรมชาติ เป็นต้นแบบคนเมืองปลูกผักปลอดภัย ซึงคุณวิภารัตน์ทองธรรมชาติ ได้ผ่านอบรม เรียนรู้การปลูกผักปลอดภัย และปลูกผักปลอดภัย มากกว่า 10 ชนิดบริเวณรอบบ้าน ผลผลิตที่ได้นำมาบริโภคเอง แบ่งปันเพื่อนบ้าน และนำไปขาย ให้กับร้านย่าอิ่ม ตำบลตาชี ชนิดผักที่นำไปขาย ได้แก่ กระเพราะ โหระพา ขายมัดละ 5 บาท ส่วน กุ้ยช่าย ไซซิ้ม แบ่งขายแบบชั่งกิโล ขีดละ 8 บาท เป็นต้น

 

1 0

24. 4.1 เวทีสรุปการขับเคลื่อน

วันที่ 17 เมษายน 2021

กิจกรรมที่ทำ

โครงการส่งเสริมปลูกผักปลอดภัยสู่สุขภาพคนเมือง เขตเทศบาลนครยะลา ได้กำหนดเวทีถอดบทเรียนโครงการย่อย เพื่อสรุปผลการดำเนินโครงการฯ ในวันที่ 17เมษายน 2564 ณ ห้องประชุมผังเมือง 4 และชุมชนตลาดเกษตร

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

วันที่ 17เมษายน 2564 ณ ห้องประชุมผังเมือง 4 และชุมชนตลาดเกษตร โครงการส่งเสริมปลูกผักปลอดภัยสู่สุขภาพคนเมือง เขตเทศบาลนครยะลา ได้จัดเวทีถอดบทเรียนโครงการย่อย เพื่อสรุปผลการดำเนินโครงการฯ โดยคณะทำงานโครงการ จำนวน 10 คนและสมาชิก จำนวน  21 คน และมีหน่วยงาน จากเกษตรอำเภอเมือง สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดยะลา และผู้นำชุมชน ร่วมเวทีถอดบทเรียนในครั้งนี้ด้วย สรุปจากเวที ดังนี้ 1) ผู้รับผิดชอบโครงการ หลัก ได้ รายงานผลการดำเนินโครงการ โดยมีครัวเรือน เข้าร่วมโครงการ 45 ครัวเรือน และสามารถผลิตผักปลอดได้ 45 ครัวเรือนและสามารถผลิตผักปลอดภัยได้มากว่า 5 ชนิด 25 ครัวเรือน
2) เสนอเพื่อพัฒนาต่อไป ต้องส่งเสริมให้สมาชิกเกิดการเรียนรู้ การผสมดินให้ได้สูตรที่เหมาะสม มีธาตุอาหาร เพื่อปลูกผักให้ได้ผลผลิต และวิธีการการดูแล การจัดการกับศัตรูพืชต่างๆ 2 อย่างข่้างต้นนี้ คือหัวใจหลัก ของการปลูกผักปลอดภัยแบบคนเมืองจะต้องรู้
3) ผลการดำเนินการงานโครงการ ได้ดำเนินการสิ้นสุด ตามขั้นบันได้ 4 ขั้น
4) การปลูกผักรอบรอบยังไม่ได้รับการรับ มาตรฐาน GAP ซึ่งจะต้องเข้าระบบ ของหน่วยงานตั้งแต่ต้น และสมาชิกจะต้องมีพื้นที่่ และจำนวนผัก ตามที่หน่วยรับรองลกำหนด พื้นที่โดยประมาณ ครึ่งไร่ และจำนวนผักที่ใช้ทดสอบ ชนิดละ 1 กิโลกรัม 5)เกษตรอำเภอเมืองให้ความรู้เรื่อง เชื้อไตรโคเดอมา การใช้ประโยชน์ ขั้นตอนการทำและวิธีการขยายเชื้อ

 

10 0

25. บันทึกข้อมูลโครงการ

วันที่ 20 เมษายน 2021

กิจกรรมที่ทำ

โครงการส่งเสริมปลูกผักปลอดภัย สู่สุขภาพคนเมืองเขตเทศบาลนครยะลา ได้กำหนดให้มีการบันทึกการรายงานผลการดำเนินกิจกรรม/โครงการฯ ในระบบ เวปไซส์ https://happynetwork.org/project/3785/info.action ของหน่วยจัดการ สสส. ระดับจังหวัดยะลา  เพื่อให้ได้รายงานผลโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

โครงการส่งเสริมปลูกผักปลอดภัย สู่สุขภาพคนเมืองเขตเทศบาลนครยะลา ได้มอบหมายให้ประธาน เลขา และการเงิน เป็นผู้ดำเนินการร่วมกันในการรายงานผลโครงการ ผลการดำเนินการดังนี้ 1) โครงการย่อย ได้เรียนรู้การใช้เทคโนโลยี ช่วยในการทำงาน เกิดความสะดวก และรวดเร็วขึ้น 2) โครงการย่อยได้บันทึกการรายงานผลการดำเนินกิจกรรม/โครงการฯ ในระบบ เวปไซส์ https://happynetwork.org/project/3785/info.action
3 โครงการย่อยฯ ได้รายงานผลโครงการโครงการส่งเสริมปลูกผักปลอดภัยสู่สุขภาพคนเมือง เขตเทศบาลนครยะลา เพื่อส่งผลดำเนินการให้หน่วยจัดการ สสส. ระดับจังหวัดยะลา

 

1 0

26. ร่วมเวทีประเมินผลเพื่อการเรียนรู็และพัฒนา (are)ครั้งที่ 2

วันที่ 24 เมษายน 2021

กิจกรรมที่ทำ

หน่วยจัดการ สสส. ระดับจังหวัดยะลา ได้เชิญโครงการย่อยฯ เข้าร่วมเวทีประเมินผลเพื่อการเรียนรู็และพัฒนา (are)ครั้งที่ 2 ในวันที่ 24 เมษายน 2564 ณ ห้องประชุม ตึกศรีฟ้า สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา  คณะกรรมการเข้าร่วม กระบวนการเพื่อสะท้อนข้อมูลโครงการย่อยที่รับผิดชอบ โดยการนำเสนอข้อมูลที่ได้ดำเนินการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ในวันที่ 24 เมษายน 2564 ณ ห้องประชุม ตึกศรีฟ้า สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา ผู้แทนโครงการย่อย จำนวน 2 คน เข้าร่วมเวทีประเมินผลเพื่อการเรียนรู็และพัฒนา (are)ครั้งที่ 2 ของหน่วยจัดการ สสส. ระดับจังหวัดยะลา เพื่อสะท้อนผลลัพธ์ ที่ สสจ.ยะลา โดยได้เสนอข้อมูลแลกเปลี่ยน 1) ได้สะท้อนข้อมูลของโครงการที่รับผิดชอบ ได้แก่ การปลูกผักในพื้นที่จำกัด เช่นในกระถัง จะต้องจัดการเรื่องดินปลูกให้มีสารอาหารให้ครบ และสภาพดินควรเป็นกลาง เพื่อได้ผลผลิตที่ดี เจริญ งอกออกมาดี
2 ได้ปรับแผนและแนวทางการดำเนินการในกิจกรรมที่เหลือ โดยดำเนินการปรับแผนเรื่อง กิจกรรมการศึกษาเรียนรู้ของคณะทำงาน เพื่อพัฒนาศักยภาพ ปรับเปลี่ยนเป็นการเพิ่มงบในกิจกรรม ส่งเสริมครัวเรือนปลูกผักแบบคนเมือง เนื่องจากสถานการณ์โรคระบาด โควิด 19 ต้องระมัดระวังเรื่องการเดินทาง คณะกรรมจึงสรุปปรับกิจกรรม และเพื่อเพิ่มให้สมาชิกได้มีวัสดุและอุปกรณ์จำเป็นในการผลิต ให้เกิดผลปรโยชน์แก่สมาชิกทุกคน เพื่อตอบโจทย์บันไดผลผลัพธ์ได้ยิ่งขึ้น

 

2 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้เกิดกลุ่มเครือข่ายปลูกผักปลอดภัย
ตัวชี้วัด : ผลลัพธ์ที่ 1ครัวเรือนมีการร่วมกลุ่มและสร้างเครือข่ายชุมชน เป็นคณะทำงาน ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 1.1.มีคณะทำงานขับเคลื่อน ผักปลอดภัย และเกิดชมรมผักปลอดภัย ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 1.2. มีข้อมูล ด้านการผลิต การบริโภค และการตลาด ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 1.3.มีการประชุมคณะทำงานร้อย 100
45.00 45.00

ผู้แทนจาก 3 ชุมชน ร่วมเป็นคณะทำงานขับเคลื่อน จำนวน 10 คน

2 เพื่อปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษไว้บริโภคและใช้สอย สำหรับกลุ่มครัวเรือนในชุมชนเมืองอย่างต่อเนื่อง
ตัวชี้วัด : ผลลัพธ์ที่ 2 ครัวเรือนมีความรู้ สามารถผลิตผักปลอดภัย ตัวชี้วัดผลลัพ 2.1.ครัวเรือน ได้เรียนรู้ปลูกผักคนเมืองร้อยละ 100 ตัวชี้วัดผลลัพ 2.2 ครัวเรือน มีความรู้ สามารถผลิตผักปลอดภัยร้อยละ 80 % ตัวชี้วัดผลลัพ 2.3. การผลิต และบริโภคผักปลอกภัย ของชุมชน ตัวชี้วัดผลลัพ 2.4. มีการเรียนรู้ด้านการตลาด ร้อยละ 100 และ สามารถเชื่อมกับตลาดในพื้นที่ อย่างน้อย 1 แห่ง ตัวชี้วัดผลลัพ 2.5. ครัวเรือนปฏิบัติตามกฎ กติกา ร้อยละ100 ผลลัพธ์ที่ 3 ครัวเรือนผลิตผักปลอดภัยและได้รับการรับรองผลผลิต ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 3.1.มีผักได้รับการรับรองผักปลอดภัย แบบPGs อย่างน้อย 5 ชนิด ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 3.2.มีกลไกเครือข่ายผักปลอดภัย ตัวชี้วัดผลลัพ ธ์3.3.เกิดคนต้นแบบปลูกผักปลอดภัยแบบเมือง ผลลัพธ์ที่ 4 มีผักปลอดภัยเพิ่มขึ้น ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 4.1.ชนิดผักปลอดภัยของแต่ละครัวเรือนปลูกเพิ่มขึ้น อย่างน้อย 5 ชนิด ตัวชี้วัดผลลัพธ์ 4.2.ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการบริโภคผักที่ปลูกและปลอดภัยอย่างน้อยร้อนละ 80
45.00 25.00

การปลูกผักที่ดูแลง่าย ไม่ซำ้ซ้อนครัวเรือนจะปลูกซำ้ๆ และชนิดผักที่มีตลาดชัดครัวเรือนสามารถปลูกให้ได้ปริมาณและปลอดภัยได้

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 45
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
ครัวเรือนเขตเทศบาลนครยะลา จำนวน 45 ครัวเรือน 45

บทคัดย่อ*

โครงการส่งเสริมปลูกผักปลอดภัยสู่สุขภาพคนเมือง เขตเทศบาลนครยะลา มีวัตถุประสงค์1) เพื่อให้เกิดกลุ่มปลูกผักปลอดภัย 2) เพื่อปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษไว้บริโภค สำหรับกลุ่มครัวเรือนในชุมชนเมืองอย่างต่อเนื่อง กลุ่มเป้าหมายหลัก จำนวน 45 ครัวเรือน ใน 3 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนตลาดเกษตรจำนวน 24 ครัวเรือน ชุมชนห้าแยกกำปงบาโงย จำนวน 12 ครัวเรือน และชุมชนมะลิสัมพันธ์ จำนวน 9 ครัวเรือน มีการดำเนินกิจกรรม 1) ประชุมสร้างความเข้าใจโครงการ/กิจกรรม แต่งตั้งคณะทำงานและจัดทำฐานข้อมูล 2)ฝึกอบรมให้ความรู้การผลิตพืชผักปลอดภัย การจัดการ และการกำหนดกฎ กติกา 3)การติดตาม ตรวจแปลง และรับรองผักปลอดภัย และ4)การการเรียนรู้การตลาดและการเชื่องโยงตลาด ผลการดำเนินการ มีสมาชิกเข้าร่วม 45 ครัวเรือน มีพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้น จำนวน 1 ไร่ มีกฎกติกา 7 ข้อ 1) สมาชิกทุกครัวเรือนปลูกผักจริง 2) ปลูกผักให้ปลอดสารพิษ (ไม่ใช้สารเคมี) 3) ใช้ปุ๋ยชีวภาพ/ปุ๋ยอินทรีย์ 4) ต้องได้ผลผลิต เพื่อบริโภค/แบ่งปัน/ขาย 5) ต้องปรุงและเพิ่มธาตุอาหารแก่ดินสำหรับปลูกผักเอง 6) ต้องมีเวลา ร่วมกิจกรรม พัฒนาความรู้ ประชุมกลุ่มอย่างต่อเนื่อง 7) บันทึกข้อมูลการปลูกผักปลอดภัยทุกรอบการผลิต ครัวเรือนมีการบริโภคผัก 400 กรัม/วัน จำนวน 93 ครัวเรือน (คิดทั้งชุมชน) มีจำนวน 25 ครัวเรือน มีความตระหนักด้านสุขภาพ มีการปลูกผักกินเอง ได้แก่ ผักชี คะน้า ผักบุ้ง ต้นอ่อนทานะตะวัน ผักสลัด ขึ้นฉ่าย มะเขือเทศ พริก มะเขือ แตงกวา กุ้ยฉ่าย โดยเฉพาะผักบุ้งบางครัวเรือนปลูกซ้ำ 3 รอบต่อเนื่อง มีชนิดผักปลอดภัยอย่างน้อย 7 ชนิดต่อครัวเรือน และเกิดคนเมืองต้นแบบปลูกผักปลอดภัย สามารถผลิต บริโภคและจำหน่วยได้

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

1) สถานณ์โควิด-19 ทำให้ไม่สามารถดำเนินกิจกรรมได้ในบางช่วง 2)ปัจจัยแวดล้อม ได้แก่ ฝนตก น้ำท่วม ไม่สามารถปลูกพืชผักตามแผนกิจกรรมได้

 

 


โครงการ ส่งเสริมปลูกผักปลอดภัยสู่สุขภาพคนเมือง เขตเทศบาลนครยะลา จังหวัด ยะลา

รหัสโครงการ 63-00175-0001

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางรอปีอะห์ กูทา )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด