directions_run
ความมั่นคงทางสุขภาพและเขตสุขภาพ :กองทุนตำบล เขตสุขภาพระดับอำเภอ (DHS) เขตสุขภาพเพื่อประชาชน
ชื่อโครงการ | ความมั่นคงทางสุขภาพและเขตสุขภาพ :กองทุนตำบล เขตสุขภาพระดับอำเภอ (DHS) เขตสุขภาพเพื่อประชาชน |
ภายใต้โครงการ | งานสร้างสุขภาคใต้ ปี 61 |
ภายใต้องค์กร | สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
รหัสโครงการ | |
วันที่อนุมัติ | |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 พฤศจิกายน 2560 - 31 มีนาคม 2561 |
งบประมาณ | 100,000.00 บาท |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | ดร.วรสิทธิ์ ศรศรีวิชัย |
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ | |
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ | |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 พ.ย. 2560 | 31 ม.ค. 2561 | 1 พ.ย. 2560 | 31 มี.ค. 2561 | 70,000.00 | |
2 | 1 ก.พ. 2561 | 15 มี.ค. 2561 | 25,000.00 | |||
3 | 16 มี.ค. 2561 | 31 มี.ค. 2561 | 5,000.00 | |||
รวมงบประมาณ | 100,000.00 |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
- ทิศทางของการพัฒนาประเทศ ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และกระแสโลกาภิวัฒน์และบริโภคนิยม ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ผลจากการพัฒนาประเทศ การแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศ และความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม ร่วมกันเร่งการเปลี่ยนแปลงจากชุมชนเกษตรกรรมไปเป็นประเทศอุตสาหกรรม ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทำให้มนุษย์มีอายุยืนยาวขึ้นในขณะที่มีเด็กเกิดใหม่น้อยลงจนเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ รวมถึงสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปจากสังคมชนบทที่มีวิถีชีวิตความเป็นอยู่แบบเอื้ออาทรกลายเป็นสังคมเมืองที่ต่างคนต่างอยู่และแก่งแย่งแข่งขันตามกระแสวัฒนธรรมบริโภคนิยมและวัตถุนิยมที่รุกเข้ามากับโลกาภิวัฒน์ ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในหลายมิติ ทั้งสุขภาพกาย จิต สังคม และจิตวิญญาณ
- ระบบสุขภาพกำลังเผชิญความท้าทายใหม่จากแนวโน้มของปัญหาสุขภาพที่เปลี่ยนแปลงไปจากโรคติดเชื้อเป็นกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ หลอดเลือดสมอง มะเร็ง และการบาดเจ็บ จนองค์การสหประชาชาติได้ประกาศให้การควบคุมป้องกันปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นวาระสำคัญของโลก โดยประเทศต่างๆ ได้มีข้อตกลงร่วมกันในการกำหนด 9 เป้าหมายหลัก คือ การเสียชีวิตก่อนวัยอันควรจากโรคไม่ติดต่อ ปัญหาจากการดื่มแอลกอฮอล์ การมีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ การบริโภคเกลือหรือโซเดียม การบริโภคยาสูบ ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานและภาวะอ้วน การได้รับยาเพื่อป้องกันโรคหัวใจขาดเลือดและโรคหลอดเลือดสมอง ยาที่จำเป็นและเทคโนโลยีขั้นพื้นฐานสำหรับการรักษาโรคไม่ติดต่อ
- ความพยายามในการหาวิธีรักษาพยาบาลใหม่ๆ ตามความก้าวหน้าของความรู้ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์และเทคโนโลยีเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอสำหรับการจัดการปัญหาสุขภาพรูปแบบใหม่นี้ การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคจึงมีความสำคัญมากขึ้นโดยเฉพาะสำหรับกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังซึ่งเป็นปัญหาสุขภาพที่ทวีความรุนแรงขึ้นในปัจจุบัน โดย กฎบัตรออตตาวา (Ottawa Charter, 1986) ได้ขยายปริมณฑลของนิยาม การสร้างเสริมสุขภาพ ออกไปจากขอบเขตความหมายเดิม โดยเสนอว่าการสร้างเสริมสุขภาพมีสาระสำคัญ 5 องค์ประกอบ คือ
- การสร้างนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ (Build healthy public policy)
- การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (Create supportive environments)
- การสร้างเสริมความเข้มแข็งให้ชุมชน (Strengthen community actions)
- การพัฒนาทักษะส่วนบุคคล (Develop personal skills)
- การปรับเปลี่ยนระบบบริการการแพทย์และสาธารณสุข (Reorient health services)
- ในขณะที่กรอบแนวคิดเรื่องระบบสุขภาพขององค์การอนามัยโลก (6 building blocks of WHO health system framework, 2007) ยังไม่สามารถจัดการปัญหาสุขภาพในปัจจุบันได้เท่าที่ควร จึงมีการขยายกรอบแนวคิดเรื่อง กระบวนการมีส่วนร่วม เพิ่มเติมเป็น 6 building blocks plus คือ
- ภาวะผู้นำและธรรมาภิบาล (Leadership and governance)
- การเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health financing)
- กำลังคนด้านสุขภาพ (Health workforce)
- ยา เวชภัณฑ์ และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical products, vaccines and technologies)
- ระบบข้อมูลสารสนเทศสุขภาพ (Health information system)
- ระบบบริการสุขภาพ (Service delivery)
- กระบวนการมีส่วนร่วม (Participation)
- แม้ว่าหน่วยงานต่างๆ จะมีนโยบายและโครงการเพื่อการมีส่วนร่วมและการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น แต่ยังไม่สามารถพัฒนาระบบสุขภาพที่สอดคล้องกับบริบทของชุมชนเพื่อแก้ปัญหาสุขภาพในพื้นที่ได้เท่าที่ควรการทำงานของเครือข่ายสุขภาพในพื้นที่ภาคใต้ที่ผ่านมาจึงมีการปรับตัวเพื่อให้สอดคล้องกับปัญหาสุขภาพที่มีความจำเพาะในแต่ละพื้นที่ โดยการพัฒนาเครือข่ายสุขภาพอำเภอ ระหว่างบุคลากรสาธารณสุข องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน และแกนนำภาคประชาสังคมในพื้นที่ มีการบริหารจัดการทรัพยากรร่วมกันเพื่อเสริมศักยภาพการทำงาน เสริมแรงและกำลังใจในการร่วมพัฒนาและแก้ไขปัญหาสุขภาพในพื้นที่ โดยมีกระบวนการทำงานทั้งในเชิงระบบและเชิงประเด็นในระดับพื้นที่ที่มีความหลากหลาย มีการจัดบริการเชิงรุก การเยี่ยมบ้าน การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค โดยปรับกระบวนการทำงานแบบมีส่วนร่วมกับชุมชนอย่างแท้จริงมากขึ้น เพื่อจัดระบบบริการสุขภาพที่สอดคล้องกับบริบทพื้นที่ ผสานกับวัฒนธรรมท้องถิ่น และผสมกลมกลืนเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของคนในชุมชน
- กรอบแนวคิดและกระบวนการมีส่วนร่วมดังกล่าวเป็นฐานของการพัฒนาแนวคิดระบบสุขภาพอำเภอ (District Health System – DHS) ภายใต้กรอบแนวคิด UCARE และต่อมาได้ขยายเป็นกรอบแนวคิด UCCARE ซึ่งมีองค์ประกอบหลัก คือ
- การทำงานร่วมกันในระดับอำเภอ (Unity District Health Team)
- การมีส่วนร่วมของเครือข่ายและชุมชน (Community participation)
- ผลลัพธ์ที่ประชาชนได้รับ (Customer focus)
- การทำงานจนเกิดคุณค่า ทั้งกับผู้รับบริการและตัวผู้ให้บริการเอง (Appreciation)
- การแบ่งปันทรัพยากรและการพัฒนาบุคลากร (Resource sharing and human development)
- การให้บริการสุขภาพตามบริบทที่จำเป็น (Essential care)
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1. เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้และการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรสหสาขาวิชาชีพและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อยกระดับการขับเคลื่อนประเด็นสุขภาวะภาคใต้ทั้งในเชิงพื้นที่และเชิงนโยบาย
|
||
2 | 2. สร้าง เชื่อมร้อย และพัฒนากลไกระบบสุขภาวะ ทั้งของรัฐ ท้องถิ่น เอกชน ประชาชน ในการจัดการด้านสุขภาวะของพื้นที่
|
||
3 | 3. เพื่อพัฒนางาน สานพลัง และบูรณาการการทำงานระหว่างภาคีเครือข่ายสุขภาพ
|
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนที่วางไว้(คน) | จำนวนที่เข้าร่วม(คน) | |
---|---|---|---|
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด | |||
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนที่วางไว้(คน) | จำนวนที่เข้าร่วม(คน) |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | |
4 - 5 ม.ค. 61 | ประชุมเตรียมงานสร้างสุขภาคใต้ปี 2561 ครั้งที่ 1 | 0 | 0.00 | - | ||
13 - 14 ก.พ. 61 | ประชุมเตรียมงานสร้างสุขภาคใต้ปี 2561 ครั้งที่ 2 | 0 | 0.00 | - | ||
29 มี.ค. 61 | ประชุมห้องย่อยความมั่นคงทางสุขภาพ:เขตสุขภาพเพื่อประชาชนในงานสร้างสุขภาคใต้ | 0 | 0.00 | - |
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 ต.ค. 2560 10:58 น.
project version 4.4.01 release 2022-02-13. ช่วยเหลือ