directions_run

การมีส่วนร่วมของประชาชนกับกำนันและผู้ใหญ่บ้านในการแก้ไขปัญหาความ ไม่สงบด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนสู่สังคมสันติสุข

assignment
บันทึกกิจกรรม
กิจกรรมอบรมบันทึกข้อมูลประชาสังคม15 กรกฎาคม 2561
15
กรกฎาคม 2561รายงานจากพื้นที่ โดย เปอร์มูเดอร์เบิร์ดอิลมู
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กิจกรรมอบรมบันทึกข้อมูลประชาสังคม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้ความรู้กิจกรรมอบรมบันทึกข้อมูลประชาสังคม

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 120 คน จากที่ตั้งไว้ 120 คน
ประกอบด้วย

องค์กรภาคประชาสังคมตามโครงการการขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมภาคประชาสังคมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ประจำปี 2560 (งบ 50 ล้าน)

กิจกรรมเวทีสรุปผลการดำเนินงานโครงการเพื่อนำสู่สาธารณชนโดยมีเอกสารรายงานผลของโครงการฯ และการประชุมคณะกรรมการโครงการฯ27 พฤศจิกายน 2560
27
พฤศจิกายน 2560รายงานจากพื้นที่ โดย เปอร์มูเดอร์เบิร์ดอิลมู
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กิจกรรมเวทีสรุปผลการดำเนินงานโครงการเพื่อนำสู่สาธารณชนโดยมีเอกสารรายงานผลของโครงการฯ และการประชุมคณะกรรมการโครงการฯ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

การดำเนินโครงการเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชนกับกำนันและผู้ใหญ่บ้านในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนสู่สังคมสันติสุข : กรณีศึกษาตำบลเรียง อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส เป็นการประชุมเวทีสร้างองค์ความรู้นำสู่ประชาชน พร้อมกับการสัมภาษณ์เชิงสนทนากลุ่มจำนวน 3 ครั้ง เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ตลอดจนการดำเนินงานจัดเวทีสรุปผลโครงการเพื่อนำสู่สาธารณชน สำหรับบทนี้ คณะผู้บริหารโครงการจะนำมาข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะ ตามลำดับ ดังนี้ 1. ข้อคิดเห็น พื้นที่ในหมู่บ้านและตำบลของจังหวัดนราธิวาสมีบ้างพื้นที่ที่มิได้เกิดเหตุการณ์และบ้างพื้นที่เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบและอาชญากรรมทั่วไปที่ทำให้ประชาชนในพื้นที่ดังกล่าวไม่มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน สำหรับตำบลเรียง อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส เป็นพื้นที่ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือหน่วยงานความมั่นคง ได้แก่ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) ภาค 4 ส่วนหน้าและศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ กำหนดเป็นพื้นที่ที่มีปัญหาและมีเหตุปัญหาความไม่สงบด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน เจ้าหน้าที่ของรัฐและสถานที่ราชการในจังหวัดนราธิวาส เรียกว่า หมู่บ้านและตำบลที่เป็น "พื้นที่มีปัญหาความไม่สงบและความไม่ปลอดภัย" ต่อมากำนัน และผู้ใหญ่บ้านในตำบลเรียง อำเภอรือเสาะ ได้ดำเนินการและจัดการกับปัญหาดังกล่าวอยู่ในระดับดีมาก ถือว่าเป็นเครื่องชี้วัดถึงระดับความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในตำบลเรียง อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส ที่ดีขึ้นตามลำดับ อันจะส่งผลกระทบต่อความสงบสุข สันติสุขและความมั่นคงทางสังคมในพื้นที่นี้อย่างต่อเนื่อง คณะผู้บริหารโครงการจะกล่าวพอสังเขปเกี่ยวกับข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะในรายละเอียดของประเด็นดังนี้ 1.1 การมีส่วนร่วมของประชาชนกับกำนันและผู้ใหญ่บ้านในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนสู่สังคมสันติสุข ในตำบลเรียง อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส 1)  การแสดงบทบาททั่วไปของกำนันและผู้ใหญ่บ้านที่มีความรับผิดชอบต่อประชาชน ตำบลเรียง อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส การมีส่วนร่วมของประชาชนกับกำนัน และผู้ใหญ่บ้านในการสนับสนุนต่อการแสดงบทบาทของผู้นำทั้งสองตำแหน่งดังกล่าวในตำบลเรียง อำเภอรือเสาะ คือการตรวจตรา รักษาความสงบเรียบร้อยภายในหมู่บ้านและตำบลดังกล่าว ให้ประชาชนปฏิบัติตามกฎหมาย ช่วยป้องกันอันตราย ส่งเสริมความสงบสุขของประชาชน รับเรื่องความเดือดร้อนของประชาชนแล้วแจ้งทางราชการทราบ และรับข้อราชการประกาศแก่ประชาชนดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบรรเทาและแก้ไขปัญหาความไม่สงบและอาชญากรรมทั่วไปด้านความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ซึ่งกฎหมายได้ให้อำนาจกำนัน และผู้ใหญ่บ้านหลายประการ เพื่อการแก้ไขปัญหาความไม่สงบด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน แนวทางหนึ่งในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนจากหลากหลายประการ คือการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อบทบาทของผู้นำทั้งสองตำแหน่งดังกล่าวดังกล่าว
กำนัน และผู้ใหญ่บ้านเป็นบุคคลที่มีข้อมูลเกี่ยวกับประชาชนของตน และความเป็นไปในหมู่บ้านและตำบล การปรากฏภาพของการเกิดความเข้มแข็งของประชาชนในพื้นที่เกิดจากทั้งสองฝ่ายระหว่างผู้นำทั้งสองตำแหน่งดังกล่าวกับประชาชนในหมู่บ้านและตำบลเกิดความร่วมมือประสานงานกันได้ดี ความพร้อมในการทำหน้าที่ต่อการดูแลทุกข์สุขของประชาชน รวมทั้งการสนับสนุนของกำนัน และผู้ใหญ่บ้านในการดำเนินกิจกรรมที่สำคัญๆ ของหมู่บ้านและตำบลเรียง เพราะผู้นำทั้งสองตำแหน่งดังกล่าวเกิดและกำเนิดในพื้นที่ดังกล่าว รู้ทุกซอกทุกมุม จุดล่อแหลม และจุดเสี่ยงต่างๆ โดยได้แต่งตั้งชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) ร่วมกับประชาชน มีการจัดทีมชุดป้องกันและเฝ้าระวังบุคคลทั่วไปที่มีพฤติกรรมส่อในทางไม่ดี รวมทั้งเด็กและเยาวชน หรือวัยรุ่นที่มีพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการกระทำความผิดต่อกฎหมายมิให้เข้าไปยุ่งกับยาเสพติด และขบวนการก่อความไม่สงบในหมู่บ้านและตำบล ตลอดจนวางแผนป้องกันที่จะเป็นแหล่งข้อมูลที่ถูกต้องให้กับทางราชการอันเป็นเครื่องมือในการป้องกันและแก้ไขความไม่สงบ และการกระทำความผิดทางอาญาทั่วไปอันยอมความกันได้และยอมความไม่ได้เกี่ยวกับความไม่สงบและอาชญากรรมทั่วไปด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในหมู่บ้านและตำบลของตนเอง เป็นต้น ดังนั้น การมีส่วนร่วมของประชาชนกับกำนัน และผู้ใหญ่บ้านจะทำให้การทำหน้าที่ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวบรรลุวัตถุประสงค์ ตลอดจนให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในหมู่บ้านและตำบลเรียงอย่างต่อเนื่อง
2)  การมีส่วนร่วมของประชาชนกับกำนัน และผู้ใหญ่บ้านในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบ หรืออาชญากรรมทั่วไปด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในตำบลเรียง อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส กำนัน และผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้มีหน้าที่ตามกฎหมายในการดูแลรักษาความสงบและดูแลความเป็นระเบียบเรียบร้อย ระงับเหตุร้ายของเหตุการณ์ที่ผิดปกติที่เกิดขึ้น ป้องกันปัญหายาเสพติดอันเป็นบ่อเกิดความไม่สงบ และแก้ไขปัญหาความไม่สงบ หรืออาชญากรรมทั่วไปที่มีต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในพื้นที่การปกครองของตนเองให้มีความปลอดภัยและสันติสุข โดยให้ความสำคัญต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนกับกำนัน และผู้ใหญ่บ้านในการจัดทีมชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) และฝ่ายปกครองความสงบเรียบร้อยในหมู่บ้านและตำบล เพื่อให้ความคุ้มครองป้องกันให้ปลอดภัยกับชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในพื้นที่ของตนที่รับผิดชอบได้อย่างกรณีเมื่อมีเหตุการณ์ความไม่สงบหรืออาชญากรรมทั่วไปที่เกิดขึ้น เช่น การสร้างสถานการณ์ ลักทรัพย์ การทำร้ายร่างกาย และการทำลายทรัพย์สินของผู้อื่น เป็นต้น ในหมู่บ้านและตำบล ที่มีต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในพื้นที่ที่เป็นความรับผิดชอบของตนแล้ว ผู้นำทั้งสองตำแหน่งดังกล่าวจะมีคำสั่งให้ทีมชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.) และฝ่ายปกครองความสงบเรียบร้อยในหมู่บ้าน ตั้งด่านตรวจสกัด ตรวจค้นบุคคลและยานพาหนะที่ต้องสงสัย หากมีหลักฐานแจ้งชัดแล้วจะดำเนินการทำการจับคุมโดยใช้อำนาจบังคับอย่างไม่เด็ดขาดโดยมีการประนีประนอมกับผู้กระทำความผิดที่หลีกเลี่ยงการใช้กระบวนการทางศาลยุติธรรมทางอาญา หากเป็นเด็กและเยาวชน จะประสานผู้ปกครองหรือญาติสนิทหรือบุคคลที่ไว้วางใจร่วมกันแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างเปิดใจและสันติวิธี จากปัญหาดังกล่าวการมีส่วนร่วมของประชาชนในการสนับสนุนกำนันและผู้ใหญ่บ้านต่อการใช้กระบวนการสันติวิธีในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวที่เกิดขึ้นกับผู้กระทำการนั้น และหากการกระทำความผิดดังกล่าวนั้นเกี่ยวกับกฎหมายแพ่งอันเกี่ยวเนื่องคดีอาญาที่เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สิน หรือชีวิตของประชาชนในพื้นที่ของตนแล้ว ประชาชนกับกำนันและผู้ใหญ่บ้านจะใช้การเจรจาหาข้อยุติที่ยอมรับกันทั้งสองฝ่าย โดยให้ผู้กระทำความผิดต้องรับผิดในการชดใช้ค่าเสียหายแทนที่เหมาะสมและเกิดความยุติธรรมให้กับประชาชนที่เป็นผู้เสียหาย เป็นต้น
การมีส่วนร่วมของประชาชน กับกำนัน และผู้ใหญ่ จึงมีบทบาทสำคัญร่วมกันในการแก้ไขหรือบรรเทาปัญหาปัญหาความไม่สงบ ปัญหาอาชญากรรมทั่วไป รวมถึงปัญหายาเสพติด เป็นต้น ให้ลดลงหรือให้น้อยลงในหมู่บ้านและตำบลดังกล่าว ซึ่งเป็นการหลีกเลี่ยงความรุนแรงของปัญหาที่จะนำมาซึ่งปัญหาความไม่สงบพื้นที่ หรือการสร้างสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ดังกล่าวตามมาได้ อันมีผลต่อความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในหมู่บ้านและตำบล  ฉะนั้น การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการสนับสนุนบทบาทของกำนัน และผู้ใหญ่บ้านในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบ หรืออาชญากรรมทั่วไปในด้านความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในหมู่บ้าน และตำบลจะมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลได้นั้น จึงต้องพิจารณาจากการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการแสดงบทบาทของผู้นำทั้งสองตำแหน่งดังกล่าวในการแก้ไขสถานการณ์ความไม่สงบ หรือเหตุรุนแรงในเขตพื้นที่ดังกล่าวได้ หรือสามารถคลี่คลายและหลีกเลี่ยงต่อการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในหมู่บ้านและตำบลได้  นำพาสู่สถานการณ์ภาวะปกติโดยเร็วที่สุดด้วยภาวะความเป็นผู้นำของทั้งสองตำแหน่งดังกล่าว โดยใช้กระบวนการสันติวิธีอันเป็นเครื่องมือสำคัญช่วยในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบและอาชญากรรมทั่วไปด้านความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในพื้นที่ได้
3)  ประชาชนกับกำนัน และผู้ใหญ่บ้านหามาตรการร่วมกันในการป้องกันปัญหาความไม่สงบ หรืออาชญากรรมทั่วไปด้านความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในตำบลเรียง อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส การมีส่วนร่วมของประชาชนกับกำนัน และผู้ใหญ่บ้านได้มีมาตรการในการจัดวางขั้นตอนหรือลำดับการดำเนินงานเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยอย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ เนื่องจากปัญหาความไม่สงบ หรืออาชญากรรมทั่วไปที่มีต่อด้านความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในตำบลดังกล่าวเป็นปัญหาที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต ซึ่งอาจทำให้ประชาชนเกิดการบาดเจ็บ สูญเสียชีวิตหรือสูญเสียทรัพย์สิน เช่น การวางเพลิงโรงเรียน การวางระเบิดในยุทธศาสตร์ การชิงทรัพย์ การทำร้ายร่างกาย การสร้างเหตุการณ์ความไม่สงบ การติดสารเสพติดของเด็ก และเยาวชน เป็นต้น การสร้างเสริมความปลอดภัยในพื้นที่ จึงมีความสำคัญในการลดปัญหาความไม่ปลอดภัยต่างๆ ดังกล่าว โดยเฉพาะด้านความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในพื้นที่ได้ทำให้ประชาชนมีชีวิตที่สงบสุข ปราศจากภยันตรายดังกล่าวที่ส่งผลต่อการทำลายสุขภาพและชีวิต ทั้งนี้ เนื่องจากการสร้างเสริมความปลอดภัยความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในพื้นที่ดังกล่าวที่ประกอบไปด้วยกระบวนการดำเนินงานที่เป็นลำดับขั้นตอน และอาศัยความร่วมมือของประชาชนเป็นพื้นฐาน ย่อมทำให้เกิดการแก้ไขปัญหาและการจัดการด้านความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ตรงกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่อย่างแท้จริง ฉะนั้น การมีส่วนร่วมของประชาชนกับกำนันและ ผู้ใหญ่บ้านจึงได้ให้ความสำคัญในเรื่องของความร่วมมือกันของประชาชนในด้านความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในหมู่บ้านและตำบล
กระบวนการสร้างเสริมความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในพื้นที่อาจมีขั้นตอน ลำดับและรูปแบบของการดำเนินงาน หรือการจัดกิจกรรมสร้างเสริมความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในพื้นที่ที่แตกต่างกันออกไปจากพื้นที่อื่นๆ แต่การดำเนินงานตามกระบวนการสร้างเสริมความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในพื้นที่นั้น มีมาตรการที่นำไปในทิศทางเดียวกัน คือมุ่งเน้นผลประโยชน์ของความปลอดภัยด้านชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในหมู่บ้านและตำบลดังกล่าวเป็นสำคัญ ดังนี้ (1) การมีส่วนร่วมของประชาชนกับกำนัน และผู้ใหญ่บ้านได้กำหนดทีมชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้านร่วมกับประชาชนที่มีจิตอาสาในหมู่บ้านและตำบล ดำเนินการป้องกันภยันตรายต่างๆ เช่น การป้องกันภัยจากสารเสพติด แนวร่วมขบวนการก่อการความไม่สงบสร้างสถานการณ์ หรือผู้ร้ายก่ออาชญากรรมต่างๆ เพื่อความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนอย่างต่อเนื่อง (2) การมีส่วนร่วมของประชาชนกับกำนัน และผู้ใหญ่บ้านต่อการสร้างความสัมพันธ์หรือการเชื่อมโยงกับหน่วยงาน  หรือ องค์กรของรัฐ หรือหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องในการแก้ปัญหาความสงบด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน คือเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหาร หรือฝ่ายปกครอง เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาความไม่ความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
(3) การมีส่วนร่วมของประชาชนกับกำนัน และผู้ใหญ่บ้านในการจัดให้มีทีมชุดรักษาความสงบเรียบร้อยภายในหมู่บ้านและตำบลเฝ้าระวังภยันตรายที่มีต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ที่จะนำไปสู่การประเมินขนาดของสาเหตุของปัญหา และปัจจัยเสี่ยงที่เกิดขึ้นของความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน (4) การมีส่วนร่วมของประชาชนกับกำนัน และผู้ใหญ่บ้านในการจัดให้มีการต่อต้านพฤติกรรมเสี่ยงต่อความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ที่อาจเกิดขึ้นในพื้นของตน เช่น พฤติกรรมการเสพสารเสพติด พฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดปัญหาอาชญากรรม และปัญหาความไม่สงบ  เป็นต้น (5) การมีส่วนร่วมของประชาชนกับกำนัน และผู้ใหญ่บ้านในการจัดกิจกรรมหรือโครงการด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาอาชญากรรมและปัญหาความไม่สงบจากการขบวนสร้างความไม่สงบของผู้ก่อการร้าย เช่น โครงการเพื่อนบ้านเตือนภัย เป็นต้น 4)  การมีส่วนร่วมของประชาชนกับกำนัน และผู้ใหญ่บ้านร่วมค้นหาวิธีการแก้ไขปัญหาความไม่สงบ หรืออาชญากรรมทั่วไปด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในตำบลเรียง วิธีการแก้ไขปัญหาความไม่สงบหรืออาชญากรรมทั่วไปด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในตำบลเรียงดังนี้ (1) เมื่อทางการอำเภอ หรือหน่วยงานอื่นๆ ของรัฐที่เกี่ยวข้องให้กำนัน และผู้ใหญ่บ้านในตำบลเรียงดำเนินการแจ้งให้ผู้ที่มีความคิดต่างจากรัฐ หรือผู้มีรายชื่อในบัญชีดำของทางการที่มีประวัติทางอาชญากรรม หรือก่อเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ที่มีต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ให้มามอบตัวที่หลบหนีคดีดังกล่าว โดยให้ทางกำนัน และผู้ใหญ่บ้าน ติดต่อ และประสานงานกับผู้ปกครอง หรือญาติสนิท หรือผู้ที่สามารถไว้วางใจได้ เพื่อเจราจาพามามอบตัวต่อทางการอำเภอ หรือหน่วยงานอื่นๆ ของรัฐที่เกี่ยวข้อง โดยมีเงื่อนไขว่าจะให้ความเป็นธรรมและความยุติธรรมต่อทุกฝ่าย ส่วนใหญ่ในพื้นที่ตำบลเรียงไม่ปรากฏผู้มีรายชื่อเกี่ยวกับบุคคลที่มีคดีความมั่นคงที่ทางการต้องการ เนื่องจากการมีส่วนร่วมของประชาชนด้วยการสนับสนุนกำนัน และผู้ใหญ่บ้านในการปฏิบัติหน้าที่ดูแลความสงบเรียบร้อยอยู่ในระดับดีพอสมควร โดยมีการจัดตั้งทีมงานที่ดีในการรักษาความสงบให้ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน และใช้กระบวนการสันติวิธีเป็นหลักในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบด้านความปลอดภัยที่มีต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
(2) เมื่อเกิดปัญหาอาชญากรรมทั่วไปที่มีต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในพื้นที่ตำบลเรียง โดยประชาชนมีส่วนร่วมกับกำนัน และผู้ใหญ่บ้านในการค้นหาวิธีการจัดการปัญหาดังกล่าว เช่น การลักทรัพย์ไม่ว่าจะเป็นวัว แพะ ขี้ยาง ยางแผ่น การทำร้ายร่างกาย และการทำลายทรัพย์ของบุคคลอื่น เป็นต้น หากจับกุมผู้กระทำความผิดอาญาดังกล่าวได้ ซึ่งประชาชนมีส่วนร่วมกับกำนัน และผู้ใหญ่บ้านในการแก้ปัญหาดังกล่าว ด้วยวิธีการประนีประนอมยอมความกันระหว่างผู้กระทำความผิดกับผู้เสียหาย ซึ่งผู้นำทั้งสองตำแหน่งดังกล่าวจะไม่นำส่งให้แก่เจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือพนักงานสอบสวนและสืบสวนดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย แต่จะดำเนินการตามขั้นตอนแบบชุมชนในหมู่บ้านและตำบลร่วมกันแก้ปัญหาดังกล่าวด้วยกระบวนการสันติวิธี ได้แก่ การเจราจา ไกล่เกลี่ย และตกลงให้ชดใช้ค่าเสียหาย หรือค่าสินไหมทดแทนให้กับผู้เสียหายตามความเหมาะสมและใช้หลักความยุติธรรมให้กับทั้งสองฝ่ายโดยหลีกเลี่ยงกระบวนการของศาลยุติธรรมทางอาญา ซึ่งปัญหาดังกล่าวจะได้รับการแก้ปัญหาให้เรียบร้อยโดยการใช้กระบวนการที่ยอมรับทั้งคู่กรณี จึงเป็นที่มาส่วนหนึ่งของความร่วมมือ ความศรัทธา และความไว้วางใจของประชาชนต่อกำนัน และผู้ใหญ่บ้านในหมู่บ้าน และตำบลในพื้นที่ดังกล่าว
5)  ปัจจัยที่ทำให้การมีส่วนร่วมของประชาชนกับกำนัน และผู้ใหญ่บ้านมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในตำบลเรียง อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส การที่ทำให้การมีส่วนร่วมของประชาชนกับกำนัน และผู้ใหญ่บ้านมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในตำบลเรียง เนื่องจากปัจจัยภายนอกของกำนันและผู้ใหญ่บ้าน คือการนำนโยบายของรัฐบาลที่มีต่อการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และนโยบายของหน่วยงานภาครัฐที่เปลี่ยนแปลงตามผู้บังคับบัญชา และความร่วมมือ ความศรัทธา และความไว้วางใจของประชาชน มาเป็นฐานและการใช้ประโยชน์ในการแก้ปัญหาในพื้นที่ปกครองของตนเอง เป็นต้น และปัจจัยภายในของกำนันผู้ใหญ่บ้านเอง คือนำความรู้ความสามารถทางการศึกษา ทักษะในการปกครอง ภาวะความเป็นผู้นำในการปกครอง และความมั่นใจ ความเชื่อมั่นของตนเองและความกล้าของผู้นำทั้งสองในการตัดสินใจในการแก้ปัญหาดังกล่าว
ปัจจัยภายในและภายนอกดังกล่าวที่มีผลกระทบต่อประสิทธิผลและประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่ของกำนันและผู้ใหญ่บ้านตามอำนาจหน้าที่ที่กำหนดไว้ในกฎหมาย และประชาชนกับกำนัน และผู้ใหญ่บ้านมองว่าเจ้าหน้าที่หน่วยงานของรัฐไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ และทหาร ที่ไปปฏิบัติหน้าที่ในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนตามนโยบายของหน่วยงานของตนเองในเขตพื้นที่การปกครองของกำนันและผู้ใหญ่บ้านที่มีเหตุการณ์ความไม่สงบ และอาชญากรรมทั่วไปเกิดขึ้นที่มีต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในพื้นที่ของตนนั้น ทำให้สมารถคลี่คลายและแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้อย่างรวดเร็ว และสะดวกมากขึ้น อันนำมาซึ่งสถานการณ์ปกติของพื้นที่ โดยการมีส่วนร่วมของประชาชนด้วยการสนับสนุนกำนัน และผู้ใหญ่บ้านสร้างความไว้วางใจ ประสานงาน บูรณาการในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในพื้นที่ของตนกับเจ้าหน้าที่ดังกล่าว อีกทั้ง ไม่ได้ทำให้อำนาจหน้าที่ของกำนันและผู้ใหญ่บ้านได้รับผลกระทบในการแสดงบทบาทของตนเองในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนแต่อย่างใด

  1. ข้อเสนอแนะ 2.1 ข้อเสนอแนะในการนำผลโครงการไปใช้ 1) เมื่อเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบหรืออาชญากรรมทั่วไปขึ้น กำนันและผู้ใหญ่บ้านในทุกพื้นที่ควรใช้กระบวนการสันติวิธีในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวที่เกิดขึ้นกับผู้กระทำผิด โดยหลีกเลี่ยงการใช้กระบวนการทางศาลยุติธรรมทางอาญาเป็นการแก้ปัญหาดังกล่าวแทน
    2) การปรากฏภาพของการเกิดความเข้มแข็งของประชาชนในตำบลเรียงเกิดจากทั้งสองฝ่ายระหว่างกำนันและผู้ใหญ่บ้านกับประชาชนในหมู่บ้านและตำบลเกิดความร่วมมือ และการประสานงานกันได้ดี
    3) การมีส่วนร่วมของประชาชนกับกำนันและผู้ใหญ่บ้านในทุกพื้นที่ควรมีมาตรการหรือแนวทาง และสร้างเสริมความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนให้เกิดขึ้น หรืออาจมีกระบวนการสร้างเสริมความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนโดยมีขั้นตอน ลำดับและรูปแบบของการดำเนินงาน หรือการจัดกิจกรรมสร้างเสริมความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนที่ยึดหลักการร่วมแรงร่วมใจกันหรือการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นพื้นฐานสำคัญ เพื่อผลประโยชน์ของความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนเป็นสำคัญ ไม่ให้ได้รับอันตรายจากปัญหาความไม่สงบ และอาชญากรรมต่างๆ เป็นต้น
    4) กำนันและผู้ใหญ่บ้านในในทุกพื้นที่ควรแก้ไขสถานการณ์ความไม่สงบ หรือเหตุรุนแรงในเขตพื้นที่ดังกล่าวได้ หรือสามารถคลี่คลายและหลีกเลี่ยงต่อการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในหมู่บ้านและตำบลได้  ด้วยการมีส่วนร่วม ความร่วมมือ และความไว้วางใจของประชาชน ที่มีต่อกำนันและผู้ใหญ่บ้าน อันเป็นเครื่องมือสำคัญในช่วยในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในพื้นที่ได้ เพื่อนำพาสู่สถานการณ์ภาวะปกติโดยเร็วที่สุด 5) การที่ทำให้การมีส่วนร่วมของประชาชนกับกำนันและผู้ใหญ่บ้านมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในทุกพื้นที่ กำนันผู้ใหญ่บ้านควรต้องปรับใช้ปัจจัยภายนอก คือการนำนโยบายของรัฐบาลที่มีต่อการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคภาคใต้ และนโยบายของหน่วยงานภาครัฐที่เปลี่ยนแปลงตามผู้บังคับบัญชา และความร่วมมือ ความศรัทธา และความไว้วางใจของประชาชน มาเป็นฐานและใช้ประโยชน์ในการแก้ปัญหาในพื้นที่ปกครองของตนเอง เป็นต้น รวมทั้งปรับปัจจัยภายในของกำนันและผู้ใหญ่บ้านเอง คือนำความรู้ความสามารถทางการศึกษา ทักษะในการปกครอง ภาวะความเป็นผู้นำในการปกครอง และความมั่นใจ ความเชื่อมั่นของตนเองและความกล้าของผู้นำทั้งสองตำแหน่งในการตัดสินใจในการแก้ปัญหาดังกล่าวอย่างปรากฏภาพในพื้นที่ของตน 6) กำนันและผู้ใหญ่บ้านในทุกพื้นที่ต้องให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชนกับการสร้างความไว้วางใจ ประสานงาน ตลอดจนบูรณาการในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในพื้นที่ของตนกับเจ้าหน้าที่ของรัฐทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การแก้ไขปัญหาความไม่สงบด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนมีประประสิทธิผลและประสิทธิภาพขึ้น
circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 51 คน จากที่ตั้งไว้ 51 คน
ประกอบด้วย

ประชาชนในหมู่บ้านจากหมู่ที่ 1 บ้านสะแนะ หมู่ที่ 3 บ้านบาโงปูโละ หมู่ที่ 4 บ้านซือเลาะ หมู่ที่ 5 บ้านลอ และหมู่ที่ 8 บ้านกำปงบารู ชุมชนเรียง ตำบลเรียง ในอำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส เนื่องจากเป็นประชาชนที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากปัญหาความไม่สงบด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนสู่สังคมสันติสุขในจังหวัดนราธิวาส ซึ่งหมู่บ้านละ จำนวน 9 คน เป็นจำนวน 45 คน และผู้ใหญ่บ้านจากหมู่บ้านดังกล่าว จำนวน 5 คน และกำนัน ในตำบลเรียง 1 คน รวมจำนวนทั้งหมด 51 คน

กิจกรรมเวทีประชุมสนทนากลุ่มครั้งที่ 3 และการประชุมคณะกรรมการโครงการฯ3 พฤศจิกายน 2560
3
พฤศจิกายน 2560รายงานจากพื้นที่ โดย เปอร์มูเดอร์เบิร์ดอิลมู
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กิจกรรมเวทีประชุมสนทนากลุ่มครั้งที่ 3 และการประชุมคณะกรรมการโครงการฯ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

(4) การมีส่วนร่วมของประชาชนกับกำนัน และผู้ใหญ่บ้าน ได้มีมาตรการในการจัดโครงการสร้างเสริมความปลอดภัยในหมู่บ้านตำบลดังกล่าวของตนเองให้มีความปลอดภัยในทุกๆ ด้าน ดังตัวอย่างของโครงการให้ความปลอดภัยหมู่บ้าน ซึ่งเป็นโครงการสร้างเสริมความปลอดภัยของหมู่บ้านที่กำหนดพื้นที่ความปลอดภัยจากปัญหาความไม่สงบ อาชญากรรมทั่วไป และปัญหาสารเสพติด เป็นต้น โดยมีการดำเนินงานในรูปแบบของจัดตั้งจุดตรวจความไม่ปลอดภัยและเป็นจุดเสี่ยงต่อการเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบ และกระทำความผิดต่อกฎหมายอาญาและกฎหมายอื่นๆ เป็นต้น 4) การมีส่วนร่วมของประชาชนกับกำนัน และผู้ใหญ่บ้านค้นหาวิธีการแก้ไขความไม่สงบ หรืออาชญากรรมทั่วไปด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในหมู่บ้าน ตำบลเรียง จากการสัมภาษณ์ด้วยการสนทนากลุ่มกับประชาชน กำนัน และผู้ใหญ่บ้าน ตำบลเรียง อำเภอรือเสาะ พบว่าวิธีการแก้ไขความไม่สงบหรืออาชญากรรมทั่วไปด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในหมู่บ้าน ตำบลเรียง อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส ดังนี้ (1) เมื่อทางการอำเภอ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐที่เกี่ยวข้องให้กำนัน และผู้ใหญ่บ้านในหมู่บ้าน ตำบลเรียง ดำเนินการแจ้งให้ผู้ที่มีความคิดเห็นต่างจากรัฐ หรือผู้มีรายชื่อในบัญชีดำของทางการที่มีประวัติทางอาชญากรรม หรือปัญหาความไม่สงบที่มีต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในหมู่บ้าน ตำบลเรียง ให้มามอบตัวที่หลบหนีคดีดังกล่าวซ่อนตัวในหมู่บ้าน ตำบลเรียง โดยประชาชนมีส่วนร่วมกับกำนัน และผู้ใหญ่บ้าน ติดต่อ และประสานงานกับผู้ปกครอง หรือญาติสนิท หรือผู้ที่สามารถไว้วางใจได้ เพื่อเจราจาพามามอบตัวต่อทางการอำเภอ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐที่เกี่ยวข้อง โดยมีเงื่อนไขว่าจะให้ความเป็นธรรมและความยุติธรรมทุกฝ่าย แต่ทางกำนัน และผู้ใหญ่บ้านดำเนินการแจ้งและติดประกาศที่ทำการของผู้นำทั้งสองตำแหน่งดังกล่าวให้ประชาชนในหมู่บ้าน ตำบลเรียง ทราบโดยทั่วกัน และส่วนใหญ่บุคคลที่อยู่ในขบวนการก่อการความไม่สงบในพื้นที่ของตนไม่ปรากฏชื่อแต่ผู้ใด และไม่พบพฤติกรรมของความเคลื่อนไหวของบุคคลที่เป็นปัญหาความไม่สงบแต่อย่างใด แต่อาจมีอาชญากรรมทั่วไป เช่น ลักทรัพย์ ทำลายทรัพย์ และอื่นๆ เป็นต้น มีให้พบเห็นเกิดขึ้นนานๆ ครั้ง ซึ่งจะเป็นบุคคลภายนอกไม่ใช่บุคคลภายในหมู่บ้าน ตำบลเรียง เนื่องด้วยประชาชนมีส่วนร่วมกับกำนัน และผู้ใหญ่บ้านจะดูแลความสงบเรียบร้อยโดยมีการจัดตั้งทีมงานที่ดีในการรักษาความสงบให้ปลอดภัยและใช้กระบวนการสันติวิธีเป็นหลักในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบ ด้านความปลอดภัยที่มีต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในหมู่บ้าน ตำบลเรียง (2) เมื่อเกิดปัญหาอาชญากรรมทั่วไปที่มีต่อความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในหมู่บ้าน ตำบลเรียง ซึ่งเป็นความผิดอาญาทั่วไป เช่น การลักทรัพย์ และการทำลายทรัพย์ของบุคคลอื่น เป็นต้น หากจับกุมผู้กระทำความผิดอาญาดังกล่าวได้ ซึ่งทางกำนัน และผู้ใหญ่บ้านร่วมกับประชาชนจะแก้ปัญหาดังกล่าว ด้วยวิธีการประนีประนอมยอมความกันระหว่างผู้กระทำความผิดกับประชาชนผู้เสียหาย ซึ่งผู้นำทั้งสองตำแหน่งดังกล่าวจะไม่นำส่งให้แก่เจ้าหน้าที่ตำรวจหรือพนักงานสอบสวนดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย แต่จะดำเนินการตามขั้นตอนกระบวนการสันติวิธีในหมู่บ้านดังกล่าว โดยร่วมกันแก้ปัญหาดังกล่าวด้วยการการเจราจา ไกล่เกลี่ย ตกลงให้ชดใช้ค่าเสียหาย หรือค่าสินไหมทดแทนให้กับผู้เสียหายตามความเหมาะสมและใช้หลักความยุติธรรมให้เกิดความยุติธรรมทั้งสองฝ่าย ซึ่งปัญหาดังกล่าวจะได้รับการแก้ปัญหาและเยียวยาให้เรียบร้อยโดยการประนีประนอมด้วยการใช้กระบวนการสันติวิธี จึงเป็นที่มาส่วนหนึ่งของความร่วมมือ การยอมรับ ความศรัทธาและความไว้วางใจของประชาชนต่อกำนัน และผู้ใหญ่บ้านในหมู่บ้าน ตำบลเรียง อย่างกรณีปัญหาอาชญากรรมซึ่งจากการสัมภาษณ์กำนัน และผู้ใหญ่บ้านและประชาชนทั่วไปในหมู่บ้าน ตำบลเรียง พบว่าผู้ต้องหาเป็นคนในหมู่บ้านตำบลอื่น เป็นผู้บุกรุกบริเวณสถานที่ของบุคคลอื่นเวลากลางคืนหลังเที่ยงเข้าไปในคอกวัวของผู้เสียหายคือประชาชนในหมู่บ้านตำบลเรียง อำเภอรือเสาะ โดยเจตนาเอาทรัพย์สินอันมีค่า คือวัวที่เลี้ยงไว้จำนวน 3 ตัวทั้งตัวผู้และตัวเมียของผู้เสียหาย จากจำนวนวัวดังกล่าว 10 ตัว จากไปของผู้เสียหาย โดยไม่ทราบว่าเป็นผู้ใดกระทำความผิดอาญาฐานลักทรัพย์ในเวลากลางคืน คือลักวัวดังกล่าวของผู้เสียหายไปในคอก  ซึ่งในขณะนั้นทีมชุดร่วมกับประชาชนรักษาความปลอดภัยหมู่บ้านดังกล่าวเห็นผู้ต้องหาจูงวัวของผู้เสียหายในเวลากลางคืนเพื่อหลบหนีออกไปจากหมู่บ้านตำบลดังกล่าว ซึ่งมีพฤติการณ์ผิดสังเกตและมีท่าทางพิรุธ ทีมชุดร่วมกับประชาชนรักษาความปลอดภัยหมู่บ้านดังกล่าวจึงได้เข้าไปสอบถามผู้ต้องหาสองคนดังกล่าว ซึ่งได้คำตอบอย่างมีพิรุธและน่าสงสัย ในที่สุดจึงปรากฏข้อเท็จจริงว่าผู้ต้องหาได้ลักวัวของประชาชนผู้เสียหายในหมู่บ้านตำบลดังกล่าวมา แล้วทำการจับตัวผู้ต้องหาได้หนึ่งคนและอีกคนหนึ่งหนีได้ เรื่องปัญหาอาชญากรรมดังกล่าวจึงแจ้งแก่กำนันและผู้ใหญ่บ้านเพื่อช่วยแก้ปัญหาเรื่องดังกล่าว ทางกำนันและผู้ใหญ่บ้านร่วมกับประชาชนได้ประสานกับผู้ปกครอง หรือบุคคลที่ใกล้ชิดและไว้วางใจของผู้ต้องหาดังกล่าว แล้วผู้นำทั้งสองดังกล่าวได้ใช้หลักการของกระบวนการสันติวิธี ด้วยการอาศัยการเจราจา ไกล่เกลี่ย และพิจารณาด้วยเหตุและผลตามลำดับขั้นตอนที่เหมาะสมและให้ความยุติธรรมทั้งสองฝ่าย จนในที่สุดประชาชนผู้เสียหายกับผู้ปกครอง หรือบุคคลที่ใกล้ชิดและไว้วางใจของผู้ต้องหายอมความกันโดยให้ฝ่ายผู้ต้องหาคืนทรัพย์ดังกล่าวให้แก่ประชาชนผู้เสียหาย รวมทั้งไม่เอาความทางคดีดังกล่าวแต่อย่างใด และส่วนผู้ต้องหายอมตกลงจะไม่เข้าหมู่บ้านตำบลนี้อีก อันเป็นการหลีกเลี่ยงกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของผู้นำทั้งสองในการตัดสินปัญหาดังกล่าว 5)  ปัจจัยที่ทำให้การมีส่วนร่วมของประชาชนกับกำนันและผู้ใหญ่บ้านมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบด้านความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในหมู่บ้าน ตำบลเรียง อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส จากการสัมภาษณ์ด้วยการสนทนากลุ่มกับประชาชน ตำบลเรียง อำเภอรือเสาะ พบว่า เนื่องด้วยพระราชบัญญัติความมั่นคง ระดับความรู้ทางการศึกษา ภาวะความเป็นผู้นำ ไม่เลือกปฏิบัติในการตัดสินปัญหา และการมีส่วนร่วมของประชาชนให้ความร่วมมือต่อกำนันและผู้ใหญ่บ้าน เป็นต้น ปรากฏข้อเท็จจริงว่าประชาชนในพื้นที่ดังกล่าวมองว่ากำนันและผู้ใหญ่บ้านถือว่าเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐส่วนกลางผ่านราชการส่วนภูมิภาคเป็นกลุ่มเดียวกันกับหน่วยงานของความมั่นคงของรัฐ คือเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ และทหาร ในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนส่งผลต่อการเกิดความไว้วางใจของประชาชนทั่วไปส่วนหนึ่งและประชาชนที่มีความคิดเห็นต่างจากรัฐต่อกำนันและผู้ใหญ่บ้านเกิดความหวาดระแวงและความไม่เข้าใจกันต่อกำนันและผู้ใหญ่บ้านเอง และเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารในพื้นที่ดังกล่าว
ปัจจัยภายนอกของกำนันและผู้ใหญ่บ้าน คือการนำนโยบายของรัฐบาลที่มีต่อการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และนโยบายของหน่วยงานภาครัฐที่เปลี่ยนแปลงตามผู้บังคับบัญชา และความร่วมมือ ความศรัทธา และความไว้วางใจของประชาชน มาเป็นฐานและการใช้ประโยชน์ในการแก้ปัญหาในพื้นที่ปกครองของตนเอง เป็นต้น และปัจจัยภายในของกำนันผู้ใหญ่บ้านเอง คือนำความรู้ความสามารถทางการศึกษา ทักษะในการปกครอง ภาวะความเป็นผู้นำในการปกครอง และความมั่นใจ ความเชื่อมั่นของตนเองและความกล้าของผู้นำทั้งสองในการตัดสินใจในการแก้ปัญหาดังกล่าว
ปัจจัยภายในและภายนอกดังกล่าวคือผลกระทบทางบวกต่อประสิทธิผลและประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่ของกำนันและผู้ใหญ่บ้านตามอำนาจหน้าที่ที่กำหนดไว้ในกฎหมาย และเนื่องด้วยเจ้าหน้าที่หน่วยงานของรัฐไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ และทหาร ที่ไปปฏิบัติหน้าที่ในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนตามนโยบายของหน่วยงานของตนเองในเขตพื้นที่การปกครองของกำนันและผู้ใหญ่บ้านที่มีเหตุการณ์ความไม่สงบ และอาชญากรรมทั่วไปเกิดขึ้นที่มีต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในพื้นที่ตำบลเรียง อำเภอรือเสาะนั้น โดยมีบุคคลผู้หวังดีแจ้งในพื้นที่ดังกล่าวให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ และททหารทราบต่อเหตุการณ์ดังกล่าว จึงทำให้อำนาจหน้าที่ของกำนันและผู้ใหญ่บ้านไม่ได้รับผลกระทบในการแสดงบทบาทของตนเองในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ซึ่งประชาชนกับกำนันและผู้ใหญ่บ้านยังมองอีกว่าการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ และทหารไม่ได้ไปทับซ้อนอำนาจหน้าที่ของตนเอง จึงเกิดความไว้วางใจ ประสานงาน บูรณาการในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ระหว่างกำนันและผู้ใหญ่บ้านและเจ้าหน้าที่ตำรวจ และททหาร ด้วยความเข้าใจกันหลายๆ ประการ จึงเป็นที่มาของการทำงานที่มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพของกำนันและผู้ใหญ่บ้านในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในพื้นของตน และทำให้สมารถคลี่คลายและแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้อย่างรวดเร็ว และสะดวกมากขึ้น อันนำมาซึ่งสถานการณ์ปกติของพื้นที่ โดยการมีส่วนร่วมของประชาชนกับกำนันและผู้ใหญ่บ้านสร้างความไว้วางใจ ประสานงาน บูรณาการในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในพื้นที่ของตนกับเจ้าหน้าที่ดังกล่าว อีกทั้ง ไม่ได้ทำให้อำนาจหน้าที่ของกำนันและผู้ใหญ่บ้านได้รับผลกระทบในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนแต่อย่างใด

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 51 คน จากที่ตั้งไว้ 51 คน
ประกอบด้วย

ประชาชนในหมู่บ้านจากหมู่ที่ 1 บ้านสะแนะ หมู่ที่ 3 บ้านบาโงปูโละ หมู่ที่ 4 บ้านซือเลาะ หมู่ที่ 5 บ้านลอ และหมู่ที่ 8 บ้านกำปงบารู ชุมชนเรียง ตำบลเรียง ในอำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส เนื่องจากเป็นประชาชนที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากปัญหาความไม่สงบด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนสู่สังคมสันติสุขในจังหวัดนราธิวาส ซึ่งหมู่บ้านละ จำนวน 9 คน เป็นจำนวน 45 คน และผู้ใหญ่บ้านจากหมู่บ้านดังกล่าว จำนวน 5 คน และกำนัน ในตำบลเรียง 1 คน รวมจำนวนทั้งหมด 51 คน

กิจกรรมเวทีประชุมสนทนากลุ่มครั้งที่ 2 และการประชุมคณะกรรมการโครงการฯ19 ตุลาคม 2560
19
ตุลาคม 2560รายงานจากพื้นที่ โดย เปอร์มูเดอร์เบิร์ดอิลมู
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กิจกรรมเวทีประชุมสนทนากลุ่มครั้งที่ 2 และการประชุมคณะกรรมการโครงการฯ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. การมีส่วนร่วมของประชาชนกับกำนันและผู้ใหญ่บ้านในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนสู่สังคมสันติสุขในตำบลเรียง อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส 3.1  การมีส่วนร่วมของประชาชนกับกำนันและผู้ใหญ่บ้านในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนสู่สังคมสันติสุขในตำบลเรียง อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส 1)  บทบาททั่วไปของกำนัน และผู้ใหญ่บ้านที่ต้องรับผิดชอบต่อประชาชนในหมู่บ้าน ตำบลเรียง อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส จากการสัมภาษณ์ด้วยการสนทนากลุ่มกับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และประชาชน ในการสนทนากลุ่ม ๆ ละ 8-9 คน พบว่ากำนัน และผู้ใหญ่บ้าน เป็นคนในพื้นที่มีความรู้ความเข้าใจปัญหาในหมู่บ้าน ตำบลเรียงได้ดี ปฏิบัติหน้าที่ของตนในการตักเตือน กำชับบิดามารดา หรือผู้ปกครองของเด็กและเยาวชนให้ช่วยกันดูแลบุตรหลาน ให้ห่างไกลจากการเสพยาเสพติด สอดส่องและดูแลพฤติกรรมของประชาชน เฝ้าระวังความเคลื่อนไหวของบุคคลภายนอกที่เข้ามาภายในหมู่บ้านและตำบล รวมทั้งส่งเสริมการประกอบอาชีพ การศึกษาของประชาชนที่มีการพัฒนาตามศักยภาพของตน โดยเฉพะอย่างยิ่งประเด็นการดูแลความสงบเรียบร้อยของกำนันและผู้ใหญ่บ้าน โดยให้ความสำคัญกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาความไม่สงบด้านความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในหมู่บ้าน ตำบลเรียง ดังกรณีเมื่อกำนันและผู้ใหญ่บ้านทราบว่ามีการก่ออาชญากรรมทั่วไป เช่น การลักทรัพย์ การทำลายทรัพย์สิน หรือกระทำผิดกฎหมายอย่างอื่นที่เกิดขึ้น หรือการค้ายาเสพติดที่จะเข้ามาระบาด เช่น ใบกระท่อม ยาบ้า ยาประเภทอื่น เป็นต้น อันเป็นสาเหตุส่วนหนึ่งจากหลากหลายสาเหตุของการเกิดของปัญหาความไม่สงบและอาชญากรรมทั่วไปด้านความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน จะดำเนินการจับกุมผู้กระทำความผิดดังกล่าวได้ พร้อมกับการแก้ไขปัญหาดังกล่าวด้วยการอาศัยวิธีการประนีประนอมยอมความกันระหว่างผู้กระทำความผิดและผู้เสียหาย ซึ่งผู้นำทั้งสองในตำแหน่งดังกล่าวจะไม่นำส่งให้แก่เจ้าพนักงานตำรวจดำเนินการตามขั้นตอนตามกฎหมาย แต่จะดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวด้วยการการเจราจา ไกล่เกลี่ย ตลอดจนตกลงให้ชดใช้ค่าเสียหาย หรือค่าสินไหมทดแทนให้กับผู้เสียหายตามความเหมาะสมและใช้หลักความยุติธรรม เป็นต้น ทั้งนี้ กำนันและผู้ใหญ่บ้านได้จัดการให้มีทีมงานในการปฏิบัติงานด้วยกันเป็นทีมและเป็นสื่อเป็นตาให้กับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะการสอดส่องและกำชับประชาชนให้ห่างไกลยาเสพติดในหมู่บ้านและตำบลดังกล่าว ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ในพื้นที่ให้ความร่วมมือกับกำนัน และผู้ใหญ่บ้านในเรื่องดังกล่าวเป็นอย่างดี ถือได้ว่ากำนัน และผู้ใหญ่บ้านใช้อำนาจหน้าที่ร่วมกับประชาชนของตนที่จะนำไปสู่การป้องกัน และการแก้ไขปัญหาความไม่สงบด้านความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน และความสงบเรียบร้อยภายในหมู่บ้านและตำบลเรียงได้เป็นอย่างดี
    2) การมีส่วนร่วมของประชาชนกับกำนัน และผู้ใหญ่บ้านในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบ หรืออาชญากรรมทั่วไปด้านความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในหมู่บ้าน ตำบลเรียง อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส จากการสัมภาษณ์ด้วยการสนทนากลุ่มกับประชาชนในตำบลเรียง อำเภอรือเสาะ พบว่ากำนัน ผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้นำซึ่งเป็นบุคคลที่นับถือและชี้นำประชาชน ปกครอง ดูแลความเรียบร้อย ในหมู่บ้าน ตำบลเรียง ได้ เมื่อเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบหรืออาชญากรรมทั่วไปในพื้นที่ส่งผลต่อความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในหมู่บ้านและตำบลเรียง ซึ่งทางกำนัน และผู้ใหญ่บ้านจะดำเนินการหาข้อยุติเหตุการณ์ดังกล่าว ร่วมกับประชาชนและผู้นำอื่นๆ ที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ เช่น อิหม่าม คณะกรรมการประจำมัสยิดและผู้นำกลุ่มอื่น ๆ ในการตัดสินปัญหาดังกล่าวนั้น  โดยใช้กระบวนการสันติวิธีด้วยการอาศัยในการไกล่เกลี่ยตามวิถีชีวิตของท้องถิ่นตามลักษณะของปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อป้องกันและแก้ไขการสร้างสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ตามมาที่ไม่อาจคาดหมายภายหลังได้ ดังนั้น ประชาชนกับกำนัน และผู้ใหญ่จึงมีบทบาทสำคัญในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบ และอาชญากรรมทั่วไป รวมถึงปัญหายาเสพติด เป็นต้น มิให้มีหรือบรรเทาปัญหาดังกล่าวให้ลดลงหรือให้น้อยที่สุดในหมู่บ้านและตำบลดังกล่าว ซึ่งเป็นการหลีกเลี่ยงความรุนแรงของปัญหาที่จะนำมาซึ่งปัญหาความไม่สงบพื้นที่ หรือการสร้างสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ดังกล่าวได้ อันมีผลต่อความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในหมู่บ้านและตำบลเรียงได้  ฉะนั้น การมีส่วนร่วมของประชาชนกับกำนัน และผู้ใหญ่บ้านในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบ หรืออาชญากรรมทั่วไปด้านความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในหมู่บ้าน ตำบลเรียงจะมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลนั้น จึงต้องพิจารณาจากการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการแสดงบทบาทของผู้นำทั้งสองตำแหน่งดังกล่าวในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ความไม่สงบ หรือเกิดเหตุรุนแรงในเขตพื้นที่ดังกล่าวได้ หรือให้คลี่คลายและหลีกเลี่ยงต่อการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในหมู่บ้านและตำบลเรียงได้  สู่สถานการณ์ภาวะปกติโดยเร็วด้วยภาวะความเป็นผู้นำทั้งสองตำแหน่งดังกล่าว โดยใช้หลักการของกระบวนการสันติวิธี อันเป็นเครื่องมือสำคัญในช่วยในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบด้านความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในพื้นที่ได้
    ทั้งนี้ การดำรงตำแหน่งของการเป็นกำนันและผู้ใหญ่บ้าน จึงต้องมีภาวะความเป็นผู้นำ ความกล้าของการตัดสินใจ ความเป็นธรรมและยุติธรรม และทักษะในการไกล่เกลี่ยปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในหมู่บ้าน ตำบลเรียง ไม่ว่าจะเป็นปัญหาความไม่สงบ และปัญหาอาชญากรรมทั่วไป เช่น ปัญหาการลักทรัพย์ การทำร้ายร่างกาย และการทำลายทรัพย์สินของผู้อื่น เป็นต้น จากปัญหาดังกล่าวกำนันและผู้ใหญ่บ้านจะใช้กระบวนการสันติวิธี โดยใช้ทักษะในการไกล่เกลี่ยและประนีประนอมในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวที่เกิดขึ้นกับผู้กระทำความผิดนั้น และหากการกระทำความผิดดังกล่าวนั้นเกี่ยวกับกฎหมายแพ่งอันเกี่ยวเนื่องคดีอาญาที่เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สิน หรือชีวิตของประชาชนในพื้นที่ของตนแล้ว กำนันและผู้ใหญ่บ้านจะใช้ภาวะความเป็นผู้นำในการเจรจาหาข้อยุติที่ยอมรับกันทั้งสองฝ่าย โดยให้ผู้กระทำความผิดต้องรับผิดในการชดใช้ค่าเสียหายแทนที่อย่างเหมาะสมและเกิดความยุติธรรมให้กับประชาชนที่เป็นผู้เสียหาย หรือทั้งสองฝ่าย เป็นต้น 3)  การมีส่วนร่วมของประชาชนกับกำนัน และผู้ใหญ่บ้านร่วมกันหามาตรการของป้องกันปัญหาความไม่สงบ หรืออาชญากรรมทั่วไปด้านความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในหมู่บ้าน ตำบลเรียง อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส จากการสัมภาษณ์ด้วยการสนทนากลุ่มกับประชาชน กำนัน และผู้ใหญ่บ้าน ตำบลเรียง อำเภอรือเสาะ พบว่า มาตรการของการป้องกันปัญหาความไม่สงบ หรืออาชญากรรมทั่วไปด้านความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในหมู่บ้าน ตำบลเรียงดังนี้ (1) การมีส่วนร่วมของประชาชนกับกำนัน และผู้ใหญ่บ้าน ในเรื่องการจัดทีมชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้านร่วมกับประชาชนที่มีจิตอาสา ซึ่งเป็นวิธีการที่มุ่งช่วยเป็นหูเป็นตาแทนกันในระหว่างที่ประชาชนทำธุระที่อื่น หรือต่างถิ่น โดยเฉพาะเมื่อไม่มีคนดูแลบ้าน ซึ่งนอกจากประชาชนเพื่อนบ้านจะเป็นหลักในการช่วยเอาใจใส่ดูแลเคหสถานแล้ว ยังสามารถร้องขอทีมชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน เพื่อสนับสนุนการดูแลของประชาชนเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะการเกิดปัญหาเหตุการณ์สร้างสถานการณ์หรือความรุนแรงขึ้น หรือการลักทรัพย์สินขึ้นบ้านในเวลากลางคืน เป็นต้น เพื่อป้องกัน คลี่คลายและแก้ไขความไม่สงบและอาชญากรรมทั่วไปด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในหมู่บ้านตำบลของตนเอง และเพื่อการยับยั้งผู้ที่มีแนวโน้มจะกระทำการให้เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบและอาชญากรรมทั่วไป เนื่องจากความเกรงกลัวการจับกุมของทีมชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้านตำบลตามคำสั่งของกำนันและผู้ใหญ่บ้าน ฉะนั้น การจัดทีมชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้านร่วมกับประชาชนที่มีจิตอาสาในหมู่บ้าน ตำบลเรียง โดยการตรวจหมู่บ้านตำบลดังกล่าวตามคำสั่งกำนันและผู้ใหญ่บ้านโดยสม่ำเสมอต่อเนื่องจากการกำหนดพื้นที่รับผิดชอบของกำนันและผู้ใหญ่บ้านในการป้องกันความไม่สงบและอาชญากรรมทั่วไปด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน (2) การมีส่วนร่วมของประชาชนกับกำนัน และผู้ใหญ่บ้าน ได้มีมาตรการให้มีสายตรวจของฝ่ายปกครองร่วมกับประชาชนที่อายุ 20 ปี ขึ้นไปดูแลความสงบเรียบร้อยในหมู่บ้าน ตำบลเรียง โดยจัดให้มีขึ้นในการจัดการหมุนเวียน เพื่อรับผิดชอบตรวจตราในเขตพื้นที่ของตน นอกจากการทำหน้าที่สายตรวจบ้านเรือน เคหสถาน หรือสถานที่ที่ผิดจากสภาวะปกติแล้ว สายตรวจฝ่ายปกครองร่วมกับประชาชนดูแลความสงบเรียบร้อยในหมู่บ้าน ตำบลเรียง ในแต่ละวันใช้เวลาในการดูแลเป็น 3 ช่วงๆ ละ 8 ชั่วโมง ได้แก่ ช่วงเช้า ช่วงเย็น และช่วงกลางคืน ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวจะให้อำนวยความสะดวกความเรียบร้อยแก่ประชาชนในหมู่บ้าน ตำบลเรียง โดยมีเป้าหมายร่วมกันของสายตรวจของฝ่ายปกครองร่วมกับประชาชนดูแลความสงบเรียบร้อยในหมู่บ้าน ตำบลเรียง คือช่วยให้มีความปลอดภัยจากปัญหาความไม่สงบและอาชญากรรมทั่วไปที่มีต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนมากที่สุด ทั้งนี้ ทำให้เกิดการส่งเสริมความสัมพันธ์ และความอบอุ่นภายในหมู่บ้าน ตำบลเรียง ดังนั้น เมื่อสายตรวจของฝ่ายปกครองร่วมกับประชาชนดูแลความสงบเรียบร้อยในหมู่บ้านและตำบลดังกล่าวได้ตรวจพบสถานการณ์ที่น่าสงสัยเกิดขึ้นในบริเวณใดจะแจ้งเหตุดังกล่าวให้กับกำนัน และผู้ใหญ่บ้าน โดยไม่ชักช้า หลังจากนั้นกำนัน และผู้ใหญ่บ้าน จะเร่งมาถึงสถานที่เกิดเหตุพร้อมรับการให้ข้อมูลดังกล่าวของฝ่ายปกครองดูแลความสงบเรียบร้อยในหมู่บ้าน เพื่อให้ผู้นำทั้งสองได้มีการตัดสินใจร่วมกับประชาชนในการแก้ปัญหาไปในทิศทางใดแล้ว ฝ่ายปกครองดูแลความสงบเรียบร้อยในหมู่บ้าน จะดำเนินการตามแผนและขั้นตอนที่ได้มีการตัดสินใจของผู้นำทั้งสองร่วมกับประชาชน เพื่อให้เกิดความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในหมู่บ้าน ตำบลเรียง เป็นสำคัญ (3) การมีส่วนร่วมของประชาชนกับกำนัน และผู้ใหญ่บ้าน ได้มีมาตรการให้ประชาชนเพื่อนบ้านแจ้งเหตุไม่ปกติและภัยกันเอง เป็นมาตรการหนึ่งจากหลายมาตรการของการป้องกันความไม่สงบ หรืออาชญากรรมทั่วไปด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในหมู่บ้าน ตำบลเรียง ที่อาศัยความร่วมมือร่วมใจของประชาชนในหมู่บ้าน ช่วยกันสอดส่องและแจ้งเหตุไม่ปกติและภัยพฤติกรรมบุคคล และยานพาหนะที่ต้องสงสัย ไปยังประชาชน และกำนัน และผู้ใหญ่บ้านในหมู่บ้าน ตำบลของตนเอง ด้วยวิธีการทางโทรทรัพย์ หรือไลน์  ดังนั้น ประชาชนเพื่อนบ้านจะแจ้งเหตุไม่ปกติและเตือนภัยจึงช่วยเพิ่มความเข้าใจและความร่วมมือระหว่างประชาชนกับกำนัน และผู้ใหญ่บ้านในการป้องกันความปลอดภัยแก่ทรัพย์สินตลอดจนชีวิต ร่างกายของประชาชนในหมู่บ้าน ตำบลเรียง ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเสริมสร้างความสามัคคีระหว่างกัน และการดำเนินกิจกรรมที่มีเป้าหมายร่วมกัน และเพื่อป้องกันและแก้ไขความไม่สงบและอาชญากรรมทั่วไปด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในหมู่บ้าน ตำบลเรียงได้
circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 51 คน จากที่ตั้งไว้ 51 คน
ประกอบด้วย

ประชาชนในหมู่บ้านจากหมู่ที่ 1 บ้านสะแนะ หมู่ที่ 3 บ้านบาโงปูโละ หมู่ที่ 4 บ้านซือเลาะ หมู่ที่ 5 บ้านลอ และหมู่ที่ 8 บ้านกำปงบารู ชุมชนเรียง ตำบลเรียง ในอำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส เนื่องจากเป็นประชาชนที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากปัญหาความไม่สงบด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนสู่สังคมสันติสุขในจังหวัดนราธิวาส ซึ่งหมู่บ้านละ จำนวน 9 คน เป็นจำนวน 45 คน และผู้ใหญ่บ้านจากหมู่บ้านดังกล่าว จำนวน 5 คน และกำนัน ในตำบลเรียง 1 คน รวมจำนวนทั้งหมด 51 คน

กิจกรรมเวทีประชุมสนทนากลุ่มครั้งที่ 1 และการประชุมคณะกรรมการโครงการฯ1 ตุลาคม 2560
1
ตุลาคม 2560รายงานจากพื้นที่ โดย เปอร์มูเดอร์เบิร์ดอิลมู
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กิจกรรมเวทีประชุมสนทนากลุ่มครั้งที่ 1 และการประชุมคณะกรรมการโครงการฯ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จากตาราง 1 แสดงรายละเอียดได้ดังนี้คือ เพศ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 68.6 รองลงมาคือเพศหญิง ร้อยละ 31.4 ตามลำดับ สถานภาพ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรส ร้อยละ 82.4 รองลงมาคือโสด ร้อยละ 7.8 หย่าร้าง ร้อยละ 5.9 และอื่นๆ ได้แก่ แยกกันอยู่ เป็นต้น น้อยที่สุด ร้อยละ 3.9 ตามลำดับ ระดับความรู้ทางสามัญ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่สำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ร้อยละ 29.4 รองลงมาคือสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีขึ้นไป ร้อยละ 25.5 สำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ร้อยละ 23.5 และสำเร็จการศึกษาในระดับประถมศึกษา น้อยที่สุด ร้อยละ 21.6 ตามลำดับ ระดับความรู้ทางศาสนา กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่สำเร็จการศึกษาในระดับอิสลามตอนปลาย (ซานาวีห์) ร้อยละ 47.1 รองลงมาคือสำเร็จการศึกษาในการศึกษาระดับอิสลามตอนกลาง (มุตาวะซิตห์) ร้อยละ 29.4 สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี (กุลลียะห์) ร้อยละ 15.7 สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโทขึ้นไป ร้อยละ 9.9 และสำเร็จการศึกษาในระดับอิสลามตอนต้น (อิบติดาอีห์) น้อยที่สุด ร้อยละ 7.9 ตามลำดับ
การดำรงตำแหน่งอื่นในเขตชุมชน กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่ได้ดำรงตำแหน่งอื่นใดอีกในชุมชน ร้อยละ 41.1 รองลงมาคือดำรงตำแหน่งอื่นๆ ได้แก่ ครูสอนตาดีกา ชุดรักษาความสงบหมู่บ้าน ประธานกรรมการชุมชน คณะกรรมการชุมชน และเจ้าหน้าที่ทำงานในองค์กรบริหารส่วนตำบลเรียง ร้อยละ 39.2 ครูโรงเรียนเอกชนสอนศาสนา ร้อยละ 13.7 สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล น้อยที่สุด ร้อยละ 3.9 ตามลำดับ อาชีพ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง ร้อยละ 45.1 รองลงมาคือประกอบอาชีพอื่นๆ ได้แก่ กรีดย่าง ทำธุรกิจส่วนตัว ทำไร่ และทำสวนร้อยละ 33.3 ประกอบอาชีพค้าขาย ร้อยละ 17.6 และประกอบอาชีพราชการน้อยที่สุด ร้อยละ 3.9 ตามลำดับ อายุ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุมากที่สุด 65 ปี รองลงมาคืออายุน้อยที่สุด 22 ปี ตามลำดับ ฐานะทางเศรษฐกิจหรือรายได้ต่อเดือนจากการประกอบอาชีพ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีรายได้จากการประกอบอาชีพที่เป็นรายเดือนและกรณีที่ไม่มีรายได้ต่อเดือนโดยประมาณการ มากที่สุดประมาณ 30,000 บาท และรองลงมาคือน้อยที่สุดประมาณ 4,000 บาท ตามลำดับ

  1. ภูมิหลังของกำนัน และผู้ใหญ่บ้านกับการได้รับตำแหน่งในตำบลเรียง อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส คณะผู้บริหารโครงการได้ทำการสัมภาษณ์กำนัน และผู้ใหญ่บ้านเกี่ยวกับภูมิหลังในตำบลเรียง อำเภอรือเสาะ พบว่า ตำบลเรียง อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส ถูกกำหนดเขตพื้นที่สีแดงโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือหน่วยงานความมั่นคง ได้แก่ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) ภาค 4 ส่วนหน้าและศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ คือเป็นพื้นที่ที่มีปัญหาและมีเหตุปัญหาความไม่สงบด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน เจ้าหน้าที่ของรัฐและสถานที่ราชการในจังหวัดนราธิวาส เรียกว่า หมู่บ้านและตำบลที่เป็น "พื้นที่มีปัญหาความไม่สงบและความไม่ปลอดภัย"
    ตำบลเรียง เป็น 1 ใน 9 ตำบลของอำเภอรือเสาะ เดิมมี 6 หมู่บ้าน ต่อมาในปี 2535 ได้มีการแยกหมู่บ้านเพิ่มเติมอีก 2 หมู่บ้าน ได้แบ่งเขตการปกครอง เป็นจำนวน 8 หมู่บ้าน ประกอบด้วยหมู่บ้าน หมู่ที่ 1 บ้านสะแนะ หมู่ที่ 2 บ้านสุเปะ หมู่ที่ 3 บ้านบาโงปูโละ หมู่ที่ 4 บ้านซือเลาะ หมู่ที่ 5 บ้านลอ หมู่ที่ 6 บ้านดาระ หมู่ที่ 7 บ้านตือโล๊ะบาเละ และหมู่ที่ 8 บ้านกำปงบารู และตำบลเรียงประกอบมีสภาพเป็นพื้นที่ราบ มีแม่น้ำสายบุรีไหลผ่าน มีประชากรทั้งหมด 6,433 คน และมีจำนวนหลังคาเรือน 1,251 หลังคาเรือน ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพในการทำสวน ทำนา และเลี้ยงสัตว์ รวมทั้งการค้าขายด้วย และคณะผู้บริหารโครงการได้ทำการสัมภาษณ์ด้วยการสนทนากลุ่มในรายละเอียดของประเด็นเพิ่มเติมดังนี้
    2.1  ด้านประวัติส่วนตัวของกำนัน และผู้ใหญ่บ้าน  และประชาชนผู้สนับสนุนให้ได้รับตำแหน่งดังกล่าวในตำบลเรียง อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส จากการสัมภาษณ์ด้วยการสนทนากลุ่มกำนัน และผู้ใหญ่บ้าน เกี่ยวกับประวัติส่วนตัวของกำนัน และผู้ใหญ่บ้าน  และประชาชนผู้สนับสนุนให้ได้รับตำแหน่งดังกล่าว พบว่า กำนันเป็นคนในพื้นที่ มีความสนใจในการพัฒนาท้องถิ่นเป็นพื้นฐาน เมื่อตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 3 บ้านบาโงปูโละ ว่างลง กำนันจึงถือโอกาสนี้ลงรับสมัครการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านก่อน จนได้รับตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านจากการเลือกตั้งของประชาชนโดยตรงในหมู่บ้านดังกล่าว ต่อมากำนันได้ลงสมัครรับการเลือกตั้งกำนันโดยการเลือกของผู้ใหญ่บ้านกันเองทั้ง 8 หมู่บ้านดังกล่าวข้างต้น จนได้รับการเลือกเป็นกำนันของตำบลเรียง อำเภอรือเสาะ อันเป็นการเลือกกำนันโดยทางอ้อมมิใช่การเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนตนเอง ถือเป็นได้รับการความไว้วางใจจากผู้ใหญ่บ้านกันเอง และการสัมภาษณ์ผู้ใหญ่บ้านหลายท่านเกี่ยวกับประวัติส่วนตัว และประชาชนผู้สนับสนุนให้ได้รับตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน พบว่า ผู้ใหญ่บ้านหลายท่านเป็นคนในพื้นที่นี้โดยกำเนิด มีเครือญาติพอสมควร โดยส่วนตัวของผู้ใหญ่บ้านหลายท่านชอบช่วยเหลือปัญหาต่าง ๆ ของประชาชนในหมู่บ้านแล้ว เมื่อตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านว่างลงจึงได้มีโอกาสลงรับสมัครผู้ใหญ่บ้านในหมู่บ้านดังกล่าว จนได้รับการเลือกตั้งจากประชาชนโดยตรงในพื้นที่ดังกล่าวในตำแหน่งดังกล่าว ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากญาติของตนเองส่วนหนึ่งและได้รับการไว้วางใจจากประชาชนในหมู่บ้านให้เป็นผู้ใหญ่บ้านจนถึงปัจจุบัน
    2.2  บทบาทก่อนรับตำแหน่งกำนัน และผู้ใหญ่บ้านในหมู่บ้าน ตำบลเรียง        อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส จากการสัมภาษณ์ด้วยการสนทนากลุ่มกำนัน และผู้ใหญ่บ้านหลายท่าน ตำบลเรียง อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส เกี่ยวกับบทบาทในหมู่บ้านก่อนรับตำแหน่งดังกล่าว พบว่าก่อนได้รับตำแหน่งดังกล่าวมีบางท่านไม่ได้ดำรงตำแหน่งอะไร และบางท่านเคยดำรงตำแหน่งหลากหลายตำแหน่ง เช่น ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล ผู้ใหญ่บ้าน และหัวหน้าชุดรักษาความฝ่ายรักษา บางท่านทำธุรกิจส่วนตัว บางท่านทำสวนและทำไร่ เป็นต้น แต่ชอบช่วยเหลือเพื่อนบ้าน ซึ่งเป็นบุคคลที่มีลักษณะเข้ากับประชนชนง่าย โดยเฉพาะเมื่อเยาวชน หรือวัยรุ่นประชาชนทั่วไปขอความช่วยเหลือเรื่องประการใดแล้ว จะรีบดำเนินการตามความปรารถนาและให้เป็นไปตามปกติอย่างถูกต้อง ตลอดจนจะแจ้งเรื่องข่าวคราวทั่วไปและเรื่องที่มีผลกระทบต่อหมู่บ้านและตำบลให้เยาวชนและประชาชนทั่วไปได้รับทราบตลอดมา รวมทั้งมีเวลาให้กับประชาชนเมื่อมาขอความช่วยเหลือเสมอ และการได้รับตำแหน่งกำนันและผู้ใหญ่บ้านนั้นได้รับความไว้วางใจและการศรัทธาจากเยาวชน วัยรุ่น เครือญาติ และประชาชนในหมู่บ้านลงคะแนนให้ได้รับตำแหน่งดังกล่าว 2.3  ความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนกับกำนันและผู้ใหญ่บ้านในหมู่บ้าน ตำบลเรียง อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส จากการสัมภาษณ์ด้วยการสนทนากลุ่มกับประชาชน กำนันและผู้ใหญ่บ้านในหมู่บ้านและตำบลเรียง อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างกำนันและผู้ใหญ่บ้านในเขตปกครองเดียวกัน พบว่าบทบาทและภารกิจหน้าที่ของกำนันและผู้ใหญ่บ้านจะมีลักษณะค่อนข้างกว้างขวางเกี่ยวข้องกับประชาชน เป็นภารกิจหน้าที่ที่ไม่มีเวลาจำกัด เช่น ประชาชนเจ็บป่วย หรือเกิดปัญหาในเวลากลางค่ำกลางคืน และมาขอความช่วยเหลือจากกำนัน และผู้ใหญ่บ้าน ทุกครั้ง ดังนั้น ความสัมพันธ์ระหว่างกำนันและผู้ใหญ่บ้านกับประชาชนในหมู่บ้านตำบลเรียง พบว่ากำนันไม่ค่อยจะเข้าถึงเพราะประชาชนมีจำนวนมากและมีพื้นที่กว้างพอสมสวร จึงทำให้ไม่สามารถที่จะทำความรู้จักประชาชนทั่วไปได้ได้อย่างครอบคลุม แต่มีประการใดจะถามทุกข์สุขของประชาชนผ่านผู้ใหญ่บ้านเสมอ เรื่องอะไรประการใดที่ประชาชนเดือดร้อนก็จะให้ผู้ใหญ่บ้านดำเนินการแทน หากมีเวลาว่างจะดำเนินการให้การช่วยเหลือด้วยตนเองเสมอ สำหรับความสัมพันธ์กำนันกับผู้ใหญ่บ้านโดยภาพรวมแล้วจะสนิทสนมมีอะไรจะปรึกษากันตลอด เพราะเข้าใจการทำงานของผู้ใหญ่บ้าน เนื่องจากประสบการณ์ของตนเองที่ผ่านมานั้น ส่วนใหญ่ผู้ใหญ่บ้านในตำบลมีอะไรประการใดจะบอกกำนันมาโดยตลอด ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน อีกทั้งให้เกรียติซึ่งกันและกัน ถึงแม้อายุกำนันจะน้อยกว่าผู้ใหญ่ก็ตาม ทั้งนี้ การเป็นผู้นำหมู่บ้านและตำบลในตำแหน่งดังกล่าว จึงมีความสัมพันธ์ระหว่างกันทั้งเชิงอำนาจและความเป็นส่วนตัว ในฐานะผู้ปกครองประชาชนของตนต้องทำความเข้าใจและให้ประชาชนมีทัศนคติที่ดีกับทางราชการ
circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 51 คน จากที่ตั้งไว้ 51 คน
ประกอบด้วย

ประชาชนในหมู่บ้านจากหมู่ที่ 1 บ้านสะแนะ หมู่ที่ 3 บ้านบาโงปูโละ หมู่ที่ 4 บ้านซือเลาะ หมู่ที่ 5 บ้านลอ และหมู่ที่ 8 บ้านกำปงบารู ชุมชนเรียง ตำบลเรียง ในอำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส เนื่องจากเป็นประชาชนที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากปัญหาความไม่สงบด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนสู่สังคมสันติสุขในจังหวัดนราธิวาส ซึ่งหมู่บ้านละ จำนวน 9 คน เป็นจำนวน 45 คน และผู้ใหญ่บ้านจากหมู่บ้านดังกล่าว จำนวน 5 คน และกำนัน ในตำบลเรียง 1 คน รวมจำนวนทั้งหมด 51 คน